ปัจจัยที่มีผลต่อการใช้งานระบบสารสนเทศ อปพร. ของสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในเขตพื้นที่ภาคใต้


ระบบสารสนเทศ , อปพร. , บรรเทาสาธารณภัย
           ปัจจุบันในยุคของโลกาภิวัฒน์เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามีบทบาทและเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตประจำวันและการดำเนินชีวิตประจำวันและการทำงานของคนเราเป็นอย่างมากเทคโนโลยีสารสนเทศ  ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนางานในมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้นรวมถึงการบริหารทรัพยากรบุคคลที่นับว่าเป็นงานที่สำคัญที่สุดงานหนึ่งในองค์กรในปัจจุบันเกือบทุกองค์กรต้องอาศัยเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์และระบบสารสนเทศที่เหมาะสมในการพัฒนาเพื่อผลสำเร็จต่อเป้าหมายขององค์กรผู้วิจัยจึงได้ ศึกษา วิเคราะห์ ระบบสารสนเทศฐานข้อมูล อปพร.ของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทยโดยในบทนี้จะกล่าวถึงรายละเอียดที่เกี่ยวข้องดังนี้
1.1      ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
ในปีพ.ศ. 2522 รัฐสภาได้ตราพระบัญญัติขึ้น ชื่อว่า พระราชบัญญัติป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน พ.ศ.2522 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 22มีนาคม 2522ซึ่งกำหนดให้มีการจัดตั้งหน่วยอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.)ขึ้นทุกเขตในกรุงเทพมหานคร และทุกอำเภอทั่วราชอาณาจักรเพื่อช่วยเหลือในการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน
กระทรวงมหาดไทย ได้ร่วมกับจังหวัด อำเภอ และเทศบาลต่างๆเพื่อเริมมีการฝึก อปพร. เรื่อยมาจนถึงปี พ.ศ. 2530 ได้มีสมาชิก อปพร.ทีผ่านการฝึกอบรมเพียง 13,390 คนทำให้ไม่เพียงพอในการปฏิบัติภารกิจในการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนให้ครอบคลุมทั่วถึงทุกพื้นที่
ในปี พ.ศ. 2531 กระทรวงมหาดไทยจึงได้กำหนดระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยหน่วยอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนพ.ศ. 2531 ขึ้น และได้ประกาศใช้เมือวันที่ 13 ตุลาคม 2531จึงทำให้การดำเนินงานเกี่ยวกับ อปพร.เป็นไปอย่างมีต่อเนื่องและมีกฎหมายรองอย่างถูกต้อง และ พรบ. ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 และกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกระทรวงมหาดไทย2545มีผลให้ หน่วยงานอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนไปสังกัดกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และได้ออกระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยหน่วยอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน พ.ศ. 2547ซึ่งมีผลใช้บังคับมาถึงปัจจุบัน
เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าในโลกทุกวันนี้ต้องเผชิญกับสาธารณภัยบ่อยครั้งทั้งภัยที่เกิดจากธรรมชาติซึ่งเป็นภัยที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้และภัยที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ และจากผลของรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540ในการกระจายอำนาจการบริหารราชการสู่ส่วนท้องถิ่นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้แก่ เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบลมีภาระหน้าที่ ด้านป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในพื้นที่ดังนั้นจึงมีหน้าต้องจัดเตรียมหรือฝึกอบรม อปพร.ให้พร้อมการปฏิบัติงาน และตามนโยบายของกระทรวงมหาไทย ในปี พ.ศ. 2548ที่ผ่านมามีเป้าหมายให้มี อปพร. ไม่น้อยกว่า ร้อยละสองของประชากรในประเทศไทยซึ่งจากข้อมูลของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยสำรวจว่า ในปี พ.ศ. 2547มีผู้ผ่านการอบรม อปพร.แล้วกว่าสามแสนคน และตั้งเป้าหมายในสิ้นปี พ.ศ.2549 จะมีผลผ่านการอบรมได้ไม่น้อยกว่าหกแสนคนจึงเห็นได้ว่าเป็นกลุ่มบุคคลที่มีความสำคัญและมีจำนวนที่เพิ่มขี้นอย่างต่อเนื่องตามนโยบายรัฐบาลทั้งนี้ยังไม่มีระบบบริหารและจัดการข้อมูลของบุคลาแต่อย่างใด
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย มีอำนาจหน้าที่กำหนด นโยบายแนวทางการบริหารกิจการ อปพร. ทั่วราชอาณาจักรจึงมีโครงการจัดทำระบบสารสนเทศฐานข้อมูล อปพร.ขึ้นเพื่อสนับสนุนการบริหารและจัดการ ดังกล่าว
ดังนั้นผู้ศึกษาจึงมีความสนใจที่จะศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการใช้งานระบบสารสนเทศอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนอปพร. ของสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในเขตพื้นที่ภาคใต้
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 15990เขียนเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2006 14:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 กันยายน 2018 09:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท