ความร่วมมือ..ความรัก.. ความสามัคคี และเรื่องราวน้องพีช จากตำบลวังท่าดี


ดิฉันเชื่อว่าทุกคนที่ร่วมออกหน่วยฯ มีความภูมิใจในตนเองทุกคน ถึงแม้ว่าเดินทางของหน่วยบริการเคลื่อนที่ฯ ในแต่ละครั้งจะมีอุปสรรคบ้างเล็กน้อย แต่ทุกคนก็ยังดั้นด้นที่จะไป เพราะนึกถึงสิ่งที่รออยู่ข้างหน้า นึกถึงความรับผิดชอบ นึกถึงการมีน้ำใจให้กับเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน

จากการห่างหายจากการเขียน Blog ไปนาน ทำให้ดิฉันนิ่งคิด เริ่มต้น ที่จะเขียนอยู่พักหนึ่งทีเดียว  แต่เรื่องนี้ถ้าไม่เขียนคงไม่ได้ เพราะเป็นประสบการณ์โดยตรงจากการออกหน่วยบริการเคลื่อนที่เพื่อพัฒนาสุขภาพและอาชีพประชาชน (Mobile Unit) มหาวิทยาลัยนเรศวร  เมื่อเดือนธันวาคม 2550  ซึ่งเป็นปีผ่านมานี่เอง 

 ในช่วงเดือนสุดท้ายของปี 2550  หน่วยบริการเคลื่อนที่ฯ  ได้ออกให้บริการ ณ  โรงเรียนบ้านกลาง ตำบลวังท่าดี อำเภอหนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์  ระหว่างวันที่ 15-16 ธันวาคม 2550                  <h2 style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal"> การออกหน่วยเป็นไปอย่างราบรื่น  พื้นที่ได้ให้ความร่วมมือเป็นอย่างมาก  ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานต่างๆ  ในพื้นที่  รวมไปถึงประชาชนที่เข้ามารับบริการในคณะต่างๆ  อากาศค่อนข้างเย็นสบาย  มีน้องๆ นักเรียนของโรงเรียนช่วยในการประสานงานกับประชาชนในคณะต่างๆ ด้วย ถือว่าเป็นความร่วมมือ และเป็นน้ำใจ ของเด็กๆ ที่น่ารัก และแสนบริสุทธิ์ จริงๆ (คณะ Mobile ขอขอบคุณน้องๆ ทุกคนค่ะ รวมไปถึงอาจารย์ของโรงเรียนบ้านกลาง ที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้สถานที่ของโรงเรียนเป็นอย่างดีค่ะ) ดิฉันขอตั้งชื่อภาพเหล่านี้ว่า ความร่วมมือ น้ำใจ และความสามัคคีค่ะ </h2><p>   </p><p>ภาพการรอเข้าคิวของคณะสหเวชฯ</p><p> </p><p>สอนทำกรอบรูป กิจกรรมคณะวิทยาศาสตร์ </p><p>  </p><p>เร็วๆ เข้า ต้องรีบไปอบรมเพาะเห็ดของคลินิกเทคโนโลยี ม.นเรศวร   </p><p>  </p><p>คุณหมอคนสวย กับการตรวจโรคทางผิวหนัง</p><p>  </p><p>กว่าจะได้ภาพนี้แบบเต็มๆ ใช้เวลาไปเกือบสิบห้านาที เหอๆ แต่ไม่เป็นค่ะเพราะคนถ่ายอยู่ในร่ม อิอิ</p><p>  </p><p></p><p> </p><p>สังเกตที่วงกลมสีแดงค่ะ</p><p>  </p><p> </p><p>น้องๆ โรงเรียนบ้านกลาง ใจจริงๆ ค่ะ</p><p>  </p><p></p><p>  </p><p></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal"></p><p>               </p><p>                มาเข้าเรื่องประสบการณ์ตรงที่ดิฉันเกริ่นไว้ดีค่ะ ….  เราทุกคนคงเคยผ่านการเป็นเด็กมาทุกท่าน  คงทราบดีว่าเมื่อครั้งยังเด็ก เราต้องการวิ่ง..เราต้องการเดิน…เราอยากจะเล่นน้ำ (บ่อยครั้ง ดิฉันเคยแอบหนีพ่อกับแม่ไปเล่นน้ำคลอง กลับมาก็โดนตีตามธรรมเนียมค่ะ)  เช้าวันที่ 15 ธันวาคม  เราให้บริการตามปกติ พลันสายตาเหลือบไปเห็นท่านอาจารย์ พิทักษ์  ปานเปรม และคุณเกียรคิศักดิ์  จันทรสิน  คณะวิทยาการจัดการฯ  สมาชิก Mobile Unit  กำลังคุยกับพี่ผู้ชายที่เข็นรถเข็นเด็กอ่อนอยู่คนหนึ่ง  นี่เป็นจุดเริ่มต้นของเรื่องราวที่ดิฉันตั้งใจนำมาให้ทุกท่านได้รับรู้..เป็นเรื่องราวของเด็กหญิงคนหนึ่งซึ่งทั้งชีวิต โดยรวมๆ แล้วประมาณ  6  ปี ที่เท้าน้อยๆ ของเธอไม่เคยได้แตะพื้นดินด้วยขาทั้งสองข้างของเธอเองเลย   เธอชื่อ น้องพีช ค่ะ  ชื่อเต็มๆ ว่า น้องนุชบา  มาณะวัง  ปัจจุบันอายุ 6 ขวบ  วันนี้ดิฉันโทรไปหาคุณพ่อของน้องพีช (คุณพร มาณะวัง) ได้ทราบว่าตั้งแต่วันนั้นที่เราไปออกหน่วยฯ  น้องพีชยังไม่ได้ไปโรงเรียนศึกษาพิเศษ ซึ่งเป็นโรงเรียนสำหรับคนพิการ ในจังหวัดเพชรบูรณ์เลย  นับเป็นเวลา 1 เดือนมาแล้ว  สาเหตุเนื่องจากภาระหน้าที่ทางด้านการงานของคุณพ่อและแม่ของน้องพีช  ที่ต้องทำงานรับจ้าง และการทำอาชีพทางเกษตรกรรม  จากการเดินทางไปที่บ้านของน้องพีช ของทีมงานของ Mobile Unit ซึ่งประกอบไปด้วย ผศ.ดร.เสมอ  ถาน้อย (ผอ.สถาบันบริหารการวิจัยและพัฒนา,  อ.พิทักษ์  ปานเปรม, คุณเกียรคิศักดิ์  จันทรสิน, พี่ยุทธนา สงนรินทร์ และดิฉัน เราทั้งหมดได้เห็นสภาพการเป็นอยู่ของน้องพีชและครอบครัว ซึ่งนับว่าเป็นการเป็นอยู่ที่แทบจะใช้จ่ายอะไรสุรุ่ยสุร่ายในวันๆ หนึ่ง ไม่ได้เลย  การใช้จ่ายต้องซื้อเฉพาะของใช้ที่จำเป็นเท่านั้น ถ้าให้เรียกง่ายๆ คือมีฐานะค่อนข้างยากจนนั่นเองค่ะ  น้องพีชมีร่างกายสมบูรณ์ทุกอย่าง แต่ที่เป็นปัญหาในชีวิตของน้องคือ การมีภาวะกระดูกเปราะบาง หรือเป็นโรคกระดูกเปราะ (Osteogenesis  Inperfeca)  น้องพีชมีกระดูกที่ไม่สมบูรณ์ เปราะและหักง่าย โดยรวมๆ แล้ว 6 ปีที่ผ่านมา น้องพีชกระดูกหักมาแล้วกว่า 200 ครั้ง  น้องพีชถือกำเนิดมาด้วยการผ่าตัด จากการที่คุณแม่ของน้องพีช (คุณดวงนภา มาณะวัง)  ไม่มีน้ำนมแม่ น้องพีชจึงเติบโตมาด้วยนมกระป๋องแทน  น้องพีชเป็นเด็กผู้หญิงที่มีดวงตาสวยมากๆ ขนตางอนยาว วันที่เราไปเยี่ยมที่บ้านนั้น น้องไม่พูดอะไรกับเราสักคำเดียว มีเพียงสายตาที่มองมาด้วยแววตาเฉยเมย และมีแววสงสัยในบางครั้ง  จากการสอบถามคุณพร (คุณพ่อ) น้องจะพูดและเล่นด้วยเฉพาะกับคนที่คุ้นเคยด้วยเท่านั้น แม้แต่เด็กๆ ที่มาเล่นกับน้องพีช ถ้ามีท่าทางซนๆ หรือเคยแกล้งน้องพีชมาก่อน ถ้าเข้ามาใกล้ๆ น้องพีชจะมีทีท่ากลัว และพูดว่า   </p><p>อย่าเข้ามาใกล้นะ……   เพราะกลัวว่าจะมาโดนแขนและขาของตัวเองซึ่งไม่แข็งแรง……………………………        </p><p>        ผศ.ดร.เสมอ และอ.พิทักษ์ กำลังคุยกับคุณพ่อน้องพีช      </p><p>   </p><p></p><p>                               บ้านน้องพีช</p><p>   </p><p></p><p>น้องพีช  นุชบา มาณะวัง</p><p>   </p><p></p><p> ผศ.ดร.เสมอ ถาน้อย พูดคุยกับคุณพ่อและคุณแม่น้องพีช       คุณเกียรคิศักดิ์และ อ.พิทักษ์ บันทึกภาพไว้เพื่อจัดทำวีดีทัศน์ช่วยเหลือน้องพีช</p><p> </p><p>ภาพถ่าย x-ray โครงสร้างกระดูกของน้องพีช  </p><p>                   ผศ.ดร.เสมอ ,  อ.พิทักษ์ และคุณเกียรคิศักดิ์  ซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการดำเนินการครั้งนี้  ได้ถ่ายทำบันทึกวิดีทัศน์ และถ่ายภาพ น้องพีช และครอบครัว เพื่อจัดทำเป็นเรื่องราวของน้องพีช ในการนำเสนอให้สื่อต่างๆ ได้นำเรื่องราวไปเผยแพร่ในการหาธารน้ำใจในการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ เนื่องจากน้องพีชต้องไปพบแพทย์เฉพาะทางที่กรุงเทพฯ ซึ่งการเดินทางแต่ละครั้งต้องใช้เงินในจำนวนไม่น้อยเลย  </p><p>                  การนำเรื่องมาเขียนลงบล็อกในครั้งนี้ อย่างน้อยก็เป็นช่องทางหนึ่งที่เรื่องราวของน้องพีชจะทำให้หลายคนรับรู้ถึงชีวิตน้อยๆ ที่ยังมีความหวังว่าสักวันเธอจะหาย และวิ่งได้เป็นปกติเหมือนเด็กคนอื่นๆ   เรื่องราวของน้องทำให้ดิฉันคิดอะไรได้หลายอย่าง  ในขณะที่เรากำลังมีความสุขสบาย หรือมีความทุกข์สุดๆ  ยังมีเพื่อนมนุษย์อีกหลากหลายคนที่ต้องทุกข์ยิ่งกว่า และรอคอยหวังไว้ว่าสักวันเขาจะมีความสุขเฉกเช่นเดียวกับมนุษย์คนอื่นๆ  จากการเดินทางในเส้นทางสายเดียวกันกับหน่วยบริการเคลื่อนที่ฯ  ไปยังที่ต่างๆ ดิฉันพบผู้คนหลากหลาย เจอเรื่องราวมากมาย อยากจะเขียน อยากจะเล่า แต่หลายครั้งก็ต้องติดพันในภาระหน้าที่การงานประจำ ทำให้สิ่งที่อยากจะบอก อยากจะเล่า ไม่ได้บันทึกมาในบล็อก  แต่ก็ยังจำทุกเรื่องราวได้เป็นอย่างดีค่ะ  </p><p>               ต้องขอขอบคุณ หน่วยบริการเคลื่อนที่ฯ ของมหาวิทยาลัยที่ทำให้ดิฉันและหลายคน  ในช่วงชีวิตประมาณ 100 ปีที่เกิดขึ้น ได้ทำสาธารณประโยชน์ให้กับผู้คนได้  ดิฉันเชื่อว่าทุกคนที่ร่วมออกหน่วยฯ มีความภูมิใจในตนเองทุกคน ถึงแม้ว่าเดินทางของหน่วยบริการเคลื่อนที่ฯ ในแต่ละครั้งจะมีอุปสรรคบ้างเล็กน้อย แต่ทุกคนก็ยังดั้นด้นที่จะไป  เพราะนึกถึงสิ่งที่รออยู่ข้างหน้า นึกถึงความรับผิดชอบ นึกถึงการมีน้ำใจให้กับเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน  ดิฉันเชื่อว่า หน่วยบริการเคลื่อนที่ฯ ในปี 2551  ซึ่งจะออกให้บริการในจังหวัดพิษณุโลก และจังหวัดอุทัยธานี ปีนี้  ทุกคนคงจะอยู่กันพร้อมหน้า และดิฉันก็เชื่อว่าทุกคนรู้สึกเหมือนกับดิฉันค่ะ</p><p>อย่าลืม...มาร่วมงาน Meeting Mobile ประจำปี 2551 วันที่ 30 มกราคม 2551  ณ ห้อง Main Conference นะคะ </p><p>ทีมงาน Mobile ทุกคนรออยู่ค่ะ ..... สวัสดีปี 2551 ค่ะ  ^_^ </p>

หมายเลขบันทึก: 159939เขียนเมื่อ 18 มกราคม 2008 09:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
 ผู้ที่มีความประสงค์จะบริจาคเงินสามารถโอนเงินเข้าบัญชีเลขที่ 346-1-28591-4 ชื่อบัญชี มหาวิทยาลัยนเรศวร (หน่วยบริการเคลื่อนที่ฯ ปี 51) สาขา ม.นเรศวร  หรือบัญชีเลขที่ 641-003-7597 ชื่อบัญชี นายพร มาณะวัง ธนาคารกรุงไทย สาขาหนองไผ่ ค่ะ
ขออนุโมทนาบุญแด่ทุกท่านค่ะ

อยากได้เบอร์โทรของบ้านน้องเค้าอะค่ะ พอดีอยากไปช่วยเหลือ จะสอบถามว่ามีอะไรขาดเหลือรึเปล่าจะได้ช่วยได้

แล้วก้อจาได้ไปบ้านน้องเค้าถูกด้วยค่ะ

รบกวนโทรมาเบอร์นี้ด้วยนะค่ะ 089-5679638 เอื้อมค่ะ

ขอบคุณมากๆค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท