นาข้าวทำให้โลกร้อนมากแค่ไหน??


สภาวะโลกร้อน นาข้าวปล่อยก๊าซมีเทน

ขอเล่าเรื่องสภาวะโลกร้อนต่อนะคะ  ตอนนี้เรื่องนาข้าวที่เขาบอกกันว่าทำให้เกิดสภาวะเรือนกระจกนั้น  มันเกี่ยวข้องกับเราโดยตรง  เราต้องมีข้อมูลเรื่องนี้ไว้เพื่ออธิบายต่อ...

    ข้อมูลจาก SGSEE (บัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม)บอกว่ากรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน รายงานข้อมูลในปี2546 ว่าประเทศไทยปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่บรรยากาศประมาณ 344 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซค์เทียบเท่า  คิดเป็นการปล่อยจากภาคพลังงานร้อยละ 56  รองลงมาจากภาคเกษตรกรรมร้อยละ 24  จากขยะมูลฝอยและของเสียร้อยละ 8  จากป่าไม้และการใช้ที่ดินร้อยละ 7 และจากกระบวนการอุตสาหกรรมร้อยละ 5

      ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากนาข้าว คิดเป็นประมาณร้อยละ 10 ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดของประเทศ หรือประมาณ 40 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า  ซึ่งนับว่าน้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับภาคพลังงาน....  โดยก๊าซเรือนกระจกที่ถูกปล่อยจากนาข้าวส่วนใหญ่คือ ก๊าซมีเทน  ซึ่งเกิดจากการย่อยสลายสารอินทรีย์โดยจุลินทรีย์ที่อยู่ในดินนาในสภาพไร้อากาศ  (นาข้าวมีสภาพน้ำท่วมขัง)  จุลินทรีย์จะย่อยสารอินทรีย์ที่ต้นข้าวและรากข้าวมากที่สุดช่วงต้นข้าวออกดอก  ออกรวง ผลจากการย่อยสลายในสภาพที่ขาดออกซิเจนนี้จะเกิดก๊าซมีเทนขึ้นและก๊าซนี้จะปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศผ่านทางช่องว่างในลำต้นข้าว

    ก๊าซมีเทนเป็นก๊าซเรือนกระจกตัวหนึ่งที่มีอิทธิพลมากซึ่งสามารถอยู่ในบรรยากาศได้นานถึง 11 ปี  ก่อผลในการกักเก็บความร้อนให้ชั้นบรรยากาศของโลกมีอุณหภูมิสูงกว่า คาร์บอนไดออกโซค์ถึง 21 เท่า  ดังนั้นจะพบว่าหากมีการปล่อยก๊าซมีเทน 1 ตันจะเท่ากับปล่อยคาร์บอนไดออกไซค์ 21 ตัน

       มีข้อคิดว่า การลดก๊าซมีเทนจากการทำนาข้าว  ต้องอยู่บนพื้นฐานที่ไม่กระทบต่อวิถีชีวิตชาวนา เนื่องจากการปลูกข้าวเป็นพื้นฐานของการดำรงชีวิต  แนวทางการลดก๊าซมีเทนจากนาข้าวคือ  การจัดการน้ำในนา  ให้ปล่อยน้ำออกจากนาในช่วงที่ต้นข้าวกำลังออกดอก ออกรวงเนื่องจากเป็นช่วงที่ต้นข้าวปล่อยก๊าซมีเทนมากที่สุด   เป็นการทำให้เกิดสภาพอากาศในดินให้มีออกซิเจน จะไม่เกิดก๊าซมีเทน    จากนั้นจึงสูบน้ำกลับเข้านาภายใน 3 วัน   เขาบอกว่าวิธีแบบนี้จะลดการปล่อยก๊าซมีเทนได้ประมาณร้อยละ 30-40 จากปริมาณการปล่อยเดิม

       อ่านแล้ว คิดยังไงคะ...สงสารชาวนานะ...จนแล้วเขายังหาว่ามีส่วนทำให้เกิดสภาวะโลกร้อนอีก..

หมายเลขบันทึก: 159937เขียนเมื่อ 18 มกราคม 2008 09:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 09:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ขอบคุณค่ะ น้องอ้อ

  • ที่ทำให้ครูอ้อย เข้าใจว่า  นาข้าวทำให้โลกร้อน ได้อย่างไร
  • สงสาร ชาวนาจริงๆค่ะ..
  • แต่เอ...เมืองไทย เราเป็น นาข้าวมาตั้งแต่บรรพบุรุษ นะคะ
  • อาการ โลกร้อนมากๆ เพิ่งจะเป็นระยะหลังๆๆ นี้ต่างหากค่ะ

 

ครูอ้อยขา..

   เขาหาแพะคะ..นาข้าวไทยปล่อยก๊าซน้อยมากคะ

มีข้อมูลเพิ่มเติม ของ IRRI ซึ่งเป็นสถาบันวิจัยข้าวนานาชาติตั้งอยู่ประเทศฟิลิปปินส์.. รายงานตัวเลขของปริมาณการปล่อยก๊าซมีเทนจากนาข้าวของประเทศผู้ปลูกข้าวที่สำคัญ ในปี 2543 ดังนี้คะ

  1. จีน  6 ล้านตันต่อปี

   2. อินเดีย  4 ล้านตันต่อปี

   3. อินโดนีเซีย 2 ล้านตันต่อปี

   4. ฟิลิปปินส์  1 ล้านตันต่อปี

  5. ไทย  0.2 ล้านตันต่อปี

อ้าวววว

  • หรอกเหรอคะ  ชาวนากลายเป็นแพะ  แบ๊ะแบ๊ะ  เสียแล้ว
  • น่าสงสารจังเลย  แล้ว  จะมีคนไปแก้ข่าวไหมล่ะคะ

สวัสดีครับ

          เป็นไปได้ไม๊ยครับที่ว่ากาซมีเทนที่เกิดจากการทำนานั้น        คำนวณมาจากพื้นที่ปลูกข้าวทั้งหมด แต่แท้จริงแล้วบางพื้นที่ ่ไม่ได้มีน้ำขังในนาข้าวตลอดเวลา อันนี้เป็นหัวข้อที่น่าศึกษาเพื่อ นำไปเขียนวิทยานิพนธ์และดุษฎีนิพนธ์ได้เป็นอย่างดี เพราะโลกร้อน กำลังมาแรงในศตวรรษนี้

ขอบคุณครับ

วัชรพล ฯ

ขอร่วมแสดงความเห็นครับ

มองในแง่ของชาวนาแล้ว เรื่องที่ว่ามีความเป็นไปได้น้อยมากหากการผลักดันให้ลดการเกิดก๊าซมีเทนด้วยวิธีดังกล่าว

1.ประเทศเรามีระบบการจัดการน้ำ แต่ใช้ได้ผลรึไม่ดูจากข่าวน้ำท่วมเถอะครับ

2.หากการจัดการน้ำใช้ได้จริง แต่น้ำมีปริมาณมากถ้าไม่ให้ท่วมนาข้าวซึ่งเป็นพื้นที่นอกเมือง น้ำก็คงล้นไปท่วมเมืองหละครับ อันนี้ประสบการณ์ตรงครับเพราะท่วมเมืองคนในเมืองเดือดร้อนตอนน้ำท่วมไม่ได้ แต่ปล่อยให้ท่วมนาข้าวเดือดร้อนชาวนาก็เอาเงินไปลง แต่พอข้าวออกมาน้อนก็เดือดร้อนกันทั้งประเทศหรือทั้งโลกก็ว่าได้

3.ถ้าไม่เกิดทั้งสองอย่างแรกจัดการน้ำได้ดีมาก ค่าสูบน้ำเอามาจากไหนหละครับ ค่าปุ๋ยชีวภาพก็กระสอบละ500แล้วครับ

ในกรณีแบบนี้เรื่องที่ผมว่าควรมองข้ามไปซะคือเรื่องนาข้าว แต่ควรมาไฮไลท์ที่ภาคพลังงานแทน ก็ไม่มีข้าวกินอดตาย การใช้พลังงานน้อยลงจึงน่าจะเป็นคำตอบที่ดีที่สุด ก็เดี๋ยวนี้เราใช้พลังงานสนองความอยากมากกว่าจำเป็นนี่ครับ

วรวิทย์ มหาสารคาม

แต่ยังน้อยกว่าภาคการขนส่งครับ

(ทุกวันนี้ผมว่าโลกร้อนขึ้นนอกจากก๊าซเรือนกระจกแล้วผมเห็นพื้นซีเมนต์ด้วยครับ เพราะไม่มีพื้นหญ้าให้ปรับสภาพของอากาศ ทำให้ให้เสริมแรงมากเข้าไปอีก... ความคิดส่วนตัวไม่มีทฤษฎีไหนยืนยันอ่ะ...ฮิ ๆ )

วิธีการระบายเป็นแนวคิดที่ดี แต่ทางปฏิบัติคงยากเหมือนกับความคิดเห็นข้างบน เป็นเรื่องที่นักวิชาการการเกษตรต้องตระหนักเหมือนกัน จะผ่าน ๆ ไปคงไม่ได้แล้ว ช่วยกันคนละไม้คนละมือดีกว่า

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท