การจัดการความรู้ (Knowledge Management)


การจัดการความรู้ Knowledge Management

การจัดการความรู้
(Knowledge Management)

 อนุชา เทวราชสมบูรณ์
ศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ทางการศึกษา

ความหมาย
        ความรู้ (Knowledge) หมายถึง สิ่งที่สั่งสมมาจากการศึกษาเล่าเรียน การค้นคว้าหรือประสบการณ์ รวมทั้งความสามารถเชิงปฏิบัติ และทักษะ ความเข้าใจ หรือ สารสนเทศที่ได้รับมาจากประสบการณ์ สิ่งที่ได้มาจากการได้ยิน ได้ฟัง การคิดหรือการปฏิบัติองค์วิชาในแต่ละสาขา
        การจัดการความรู้ (Knowledge Management) หมายถึง กระบวนการที่ดำเนินร่วมกันโดยผู้ปฏิบัติงานในองค์กร หรือหน่วยงานย่อยขององค์กร เพื่อสร้างและใช้ความรู้ในการทำงานให้เกิดผลสัมฤทธิ์ดีกว่าเดิม มีเป้าหมายในการพัฒนางานและคนโดยใช้ความรู้และการจัดการความรู้เป็นเครื่องมือ

กระบวนการจัดความรู้ (Knowledge Management Process)
        1. ค้นหาความรู้ (Knowledge Identification) โดยการค้นหาความรู้ที่องค์กรจำต้องมี และมีการวิเคราะห์แหล่งความรู้ที่มีอยู่นำมาใช้ประโยชน์
        2. การสร้างและแสวงหาความรู้ (Knowledge Creation and Acquisition) โดยการสร้างแหล่งต่าง ๆ ที่กระจัดกระจายทั้งภายใน / ภายนอก เพื่อจัดทำเนื้อหาให้ตรงกับความต้องการ
        3. การจัดความรู้ให้เป็นระบบ (Knowledge Organization) โดยการแบ่งชนิดและประเภทของความรู้ เพื่อจัดทำระบบให้ง่าย สะดวกต่อการค้นหา และใช้ปฏิบัติงาน
        4. การประมวลและกลั่นกลองความรู้ (Knowledge Codification and Refinement) โดยการจัด
รูปแบบและ"ภาษา"ให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วทั้งองค์กร ปรับปรุง เรียบเรียงเนื้อหาให้ทันสมัยและตรงกับความต้องการ
        5. การเข้าถึงความรู้ ((Knowledge Access) โดยใช้ความสามารถในการเข้าถึงความรู้ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ในเวลาที่ต้องการ
        6. การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ (Knowledge Sharing) โดยจัดทำเอกสาร ฐานความรู้ ชุมชนนักปฏิบัติ ระบบพี่เลี้ยง (Mentoring) และการสับเปลี่ยนงาน (Job Relation)   
        7. การเรียนรู้ (Learning) โดยนำความรู้ไปใช้ในการตัดสินใจ แก้ปัญหาและปรับปรุงองค์กร
                                                                        
กระบวนการบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลง (Change Management Process) 
        1. การเตรียมความพร้อมและเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม (Transition and Behavior Management)
            1.1 การเตรียมความพร้อม โดยการมีส่วนร่วมและสนับสนุนจากผู้บริหาร โครงสร้างขององค์กร ทีม/หน่วยงานที่รับผิดชอบ มีระบบการติดตามประเมินผล และกำหนดปัจจัยแห่งความสำเร็จ
            1.2 การปรับพฤติกรรม โดยทำให้คน "อยากคิดอยากทำ" ผู้บริหารเป็นแบบอย่างที่ดี ใช้กฎระเบียบและความยืดหยุ่น สร้างบรรยากาศที่เปิดกว้างให้โอกาสบุคลากรแสดงความคิดเห็น
        2. การสื่อสาร (Communication) โดยทำให้ทุกคนเข้าใจถึงสิ่งที่องค์กรต้องทำ ประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับทุกคน แต่ละคนมีส่วนร่วมอย่างไร "อยากทำหรือให้ความร่วมมือ" 
        3. กระบวนการและเครื่องมือ โดยช่วยกันค้นหา เข้าถึง ถ่ายทอด และแลกเปลี่ยนความรู้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น เช่น จัดทำ KM Web เพื่อเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยน พัฒนาองค์ความรู้ใน KM Web เป็นต้น
        4. การฝึกอบรมและการเรียนรู้ โดยสร้างความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญและหลักการของการจัดความรู้ด้านเนื้อหา กลุ่มเป้าหมาย วิธีการ ประเมินผลและปรับปรุง 
        5. การวัดผล (Measurement) โดยให้ทราบว่าการดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งหรือไม่ นำผลการวัดมาใช้ในการปรับปรุงแผนและการดำเนินงานให้ดียิ่งขึ้น เห็นประโยชน์ของการจัดความรู้
        6. การยกย่องชมเชยและให้รางวัล โดยสร้างแแรงจูงใจให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและการมีส่วนร่วมของบุคลากรในทกระดับ

องค์ประกอบสำคัญการจัดการเรียนรู้
        1. คน  ถือว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุด เป็นแหล่งความรู้ และเป็นผู้นำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์
        2. เทคโนโลยี   เป็นเครื่องมือเพื่อให้คนสามารถค้นหา จัดเก็บ แลกเปลี่ยน นำความรู้ไปใช้อย่างง่ายดายและรวดเร็วขึ้น
        3. กระบวนการรู้  เป็นการบริหารจัดการเพื่อนำความรู้จากแหล่งความรู้ไปให้ผู้ใช้ เพื่อทำให้เกิดการปรับปรุงและนวัตกรรม

ศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ทางการศึกษา
สำนักผู้ตรวจราชการ ประจำเขตตรวจราชการที่ 2
อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก 65000

นายวีระ จำนงค์ ผู้อำนวยการศูนย์ 
นายอนุชา เทวราชสมบูรณ์ และคณะ บรรณาธิการ

หมายเลขบันทึก: 15950เขียนเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2006 22:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 01:20 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท