จุดหักเหของงานบริการที่ห้องเจาะเลือดผู้ป่วยนอก


เชื่อมโยงงานของผู้รับบริการกับงานของเราให้เป็นงานต่อเนื่องกัน ให้เป็นเนื้อเดียวกัน

  <table border="0"><tr>

   ห้องเจาะเลือดผู้ป่วยนอก (เรียกกันติดปากที่พยาธิว่า OPD lab) เป็นส่วนงานของภาควิชาพยาธิ ที่เป็นด่านหน้า ในการรับสิ่งส่งตรวจจากผู้ป่วยนอก แบ่งทีมทำงานออกเป็น 3 ส่วนคือ ส่วนลงทะเบียนรับ order ที่แพทย์ส่งมา  ส่วนเจาะเลือด และ ส่วนจัดและขนส่งสิ่งส่งตรวจไปให้ห้องปฏิบัติการ  การทำงานในช่วงปี สองปีที่ผ่านมา  มีการพัฒนาปรับปรุงงานอย่างคึกคัก   จุดหักเหสำคัญอันหนึ่ง ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างเด่นชัด คือการที่ได้คุณนุชจิเรศ แซ่ตั้ง ซึ่งเป็นผู้ช่วยพยาบาล ย้ายมาประจำงานที่นี่เต็มเวลา เธอนำมุมมองในฐานะที่เธอเคยเป็นผู้รับบริการจากห้อง lab มาปรับปรุงงานของ OPD lab ได้อย่างดียิ่ง ทำให้แนวทางการพัฒนางาน เป็นบริการที่ใส่ใจในผู้รับบริการ (customer focus) ไม่ว่าจะเป็นผู้รับบริการภายใน หรือผู้รับบริการภายนอก ก็คือผู้ป่วยและญาติ

</tr></table><p>      วันนี้ ในระหว่างพูดคุยหารือการพัฒนางานร่วมกันระหว่าง lab จุลชีวะ กับ OPD lab เธอเผยวิธีการสอนงานเจ้าหน้าที่ OPD lab ให้สามารถรับและจัดเก็บสิ่งส่งตรวจให้ถูกต้องและครบถ้วน  เธอบอกว่า  ทุกคน (จุดลงทะเบียน และเจาะเลือด) จะต้องทราบว่า แต่ละวัน มีคลินิกพิเศษอะไรบ้าง เช่น คลินิกหัวใจ คลินิกโรคปอด ฯลฯ แล้วในแต่ละคลินิกพิเศษนั้น มักจะส่งตรวจการทดสอบอะไรบ้าง ผู้ลงทะเบียนรับ order (online) ก็ให้ดูว่า order นั้นมาจากคลินิกใด ส่งการทดสอบครบไหม เป็นการช่วยคัดกรองความครบถ้วนของการทดสอบได้ระดับหนึ่ง ส่วนในจุดเจาะเลือด การรู้ล่วงหน้าว่าวันนี้ จะมีการทดสอบพิเศษอะไร ก็จะได้คำนึงถึงวิธีการเก็บให้ถูกต้อง จะช่วยลดความผิดพลาดในวิธีการเก็บ หรือความครบถ้วนในการเก็บอีกต่อหนึ่งด้วย (ซึ่งมักเกิดกับการทดสอบที่ส่งไม่บ่อย)  และในบางการทดสอบ ก็ให้เตรียม container สำหรับ test พิเศษนั้นไว้ล่วงหน้าเลย</p>

     ฟังแล้ว รู้สึกทึ่งในวิธีการของเธอมาก เป็นวิธีที่ไม่ยากเลย เพียงแต่ เชื่อมโยงงานของผู้รับบริการกับงานของเราให้เป็นงานต่อเนื่องกัน ให้เป็นเนื้อเดียวกัน ก็จะเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพงานได้มาก  ที่เธอคิดวิธีการแบบนี้ได้ นั่นเพราะเธอมีจิตสำนึกการบริการที่เอาผู้รับบริการเป็นจุดศูนย์กลางนั่นเอง  

หมายเลขบันทึก: 15948เขียนเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2006 22:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ผมตีความว่า นี่เป็นการประยุกต์ใช้หลักการ value stream ของ  Lean Principle  คือต้องไม่แค่คิด/มีความรู้ เฉพาะจุดงานของตน   แต่ต้องรู้/เอาใจใส่ ตลอดสายธารของงาน    โปรดอ่าน The Toyota Way ตอนที่ ๑๐ ครับ

วิจารณ์ พานิช

ดีใจที่มีคนกล้าคิด กล้าทำค่ะ

 จริงครับ พี่นุชเป็นตั้งใจทำงานจริงๆ เวลามีปัญหาอะไรระหว่างห้อง lab กับ OPD LAB พี่แกจะเข้าถามสาเหตุและหาวิธีแก้ปัญหาโดยทันทีโดยไม่ปล่อยให้ปัญหานั้นให้เกิดขึ้นอีก ผมก็เห็นการเปลี่ยนแปลงเหมือนกันครับ และขอชื่นสำหรับการทำงานของพี่นุช ให้คะแนน เต็ม 10 เลยครับ
 ก็ขอชื่นชมด้วยค่ะเพราะนี่เป็นการพัฒนางานซึ่งเป็นงานด่านหน้าของภาควิชา  ซึ่งเป็นการสอนหน้างานกับผู้ปฏิบัติงานโดยตรง

นี่แค่เริ่มต้นนะ ดูนานๆหนอ่ยแล้วค่อยมาว่ากัน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท