เขตส่งเสริมการเกษตร 5 : กำหนดกลยุทธ์การทำงานในภาคสนาม (2)


          ต่อจากบันทึกนี้ 
          หลังจากที่ได้แบ่งกลุ่มเพื่อระดมความคิด และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการทำงาน ออกเป็น 4 กลุ่ม โดยแต่ละกลุ่มมีทั้งนักส่งเสริมการเกษตร และนักพัฒนาที่ดิน ที่จะลงไปทำงานร่วมกันในภาคสนาม  ให้อยู่กระจายกันในทุกๆ กลุ่ม   ทุกกลุ่มจะได้ประเด็นคำถามหรือคำสั่งเพื่อช่วยกันคิดต่อ คือ

กลุ่มที่ 1 

          คำถามคือ "ท่านคิดว่า ข้อมูลของชุมที่จำเป็นจะต้องใช้ในการทำงานครั้งนี้ มีอะไรบ้าง และแบบจัดเก็บที่ได้ยกร่างไว้ ยังขาดหรือต้องเพิ่มเติม/ปรับปรุงอย่างไร ?"

กลุ่มที่ 2

          คำถาม "ขั้นตอน / แนวทางการปฏิบัติงานโครงการฐ ที่ได้ยกร่างไว้ ท่านคิดว่าจะต้องเพิ่มเติมหรือปรับปรุงอะไรบ้าง?"

กลุ่มที่  3 และ 4 (ต้องใช้ 2 กลุ่ม เพราะเป็นประเด็นสำคัญฯ)

           คำถาม " กลยุทธ์ / วิธีที่จะทำให้การทำงานประสบความสำเร็จ ? "

 

          ผลจากการระดมความคิดเห็นของแต่ละกลุ่ม ทั้ง 4 กลุ่ม สรุปได้ดังนี้

กลุ่มที่ 1 เพื่อสรุปข้อมูลในระดับชุมชนที่จะเป็นต้องใช้ (จัดเก็บ) คือ

  1. ข้อมูลทางการเกษตร ประกอบไปด้วย  ดิน,น้ำ,ทุน,ความรู้,การจัดการและการตลาด
  2. การจัดการข้อมูลจะต้องสอดคล้องกับพื้นที่ที่จะเข้าไปดำเนินการ (โดยเน้นการกำหนดหรือคัดเลือกพื้นที่ที่ใกล้เคียงกัน อาจจะเป็นชุมชนเดียว-หมู่บ้านเดียว)
  3. การจัดเก็บข้อมูลพื้นฐานการเกษตร  ประกอบไปด้วย ข้อมูลพื้นที่ถือครอง (ทั้งหมด-การเกษตรกร), ข้อมูลปราชญ์ชาวบ้าน (ทั้งหมด-การเกษตร), ข้อมูลกิจกรรมการเกษตร (พืช-สัตว์-ประมง-แปรรูป) , ข้อมูลแหล่งน้ำ (ในเขต-นอกเขตชลประทาน) , ข้อมูลเกี่ยวกับองค์กรณ์-สถาบัน (วิสาหกิจชุมชน-กลุ่มพ่อ-กลุ่มแม่-กลุ่มลูก-อื่นๆ),  กองทุนต่างๆ, ความเหมาะสมของดิน, วิธีการปฏิบัติของแต่ละกิจกรรม เป็นต้น

 กลุ่มที่ 2    ได้ร่วมกันตรวจสอบและปรับปรุงกระบวนการ/ขั้นตอนการทำงานร่วมกันได้ดังนี้

 

          สรุปขั้นตอน / แนวทางการปฏิบัติงานโครงการปรับเปลี่ยนการใช้ประโยชน์ที่ดินฯ
 
 
 
กระบวนการ/ขั้นตอน
วัตถุประสงค์
เครื่องมือที่ใช้/ผู้ปฏิบัติ/เวลา
1. การศึกษาข้อมูลแบบเร่งด่วน
 * เพื่อศึกษาข้อมูลเบื้องต้น
 * เจ้าหน้าที่ภาคสนาม ใช้แบบ
 
 * ทราบข้อมูล/สถานการณ์
1-5 และ แบบรายบุคคล/แผนที่
 
 
 * ศึกษาข้อมูลมือ 2 
 
 
 * ก่อนการจัดเวทีชุมชน
2. การจัดเวทีชุมชน
 * ตรวจสอบ-เพิ่มเติมข้อมูล
 * GIS / ผลการการวิเคราะห์ 
 
 * ชี้แจงสร้างความเข้าใจ
 * การสนทนากลุ่ม
 
 * คัดเลือกเกษตรที่สนใจ
 * นำเสนอข้อมูลของชุมชน/บุคคล
3. การจัดเวทีกลุ่มย่อย
 * วิเคราะห์ข้อมูล / ปัญหา
 - ข้อมูลชุมชน / รายบุคคล
  ( เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการทดลอง)
 * หาแนวทางพัฒนา/ปรับปรุง
 - ข้อมูลทางเลือก
 
 * กำหนดกิจกรรม (พืช,สัตว์,ประมง
    แปรรรูป)
 
4. การประเมินผลแบบมีส่วนร่วม
 * เพื่อทราบผลการปฏิบัติ
 - การประเมิบแบบมีส่วนร่วม
 
 * แนวทางพัฒนา/ปรับปรุง
 -  ระหว่าง - หลังการปฏิบัติงาน
 
 * พิจารณาโครงการในปีต่อไป
 
5. การแลกเปลี่ยนประสบการณ์
 *  รายงานผลการปฏิบัติงาน
 * เวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของ
   การทำงาน
 * แลกเปลี่ยนประสบการณ์
   เจ้าหน้าที่ผุ้ปฏิบัติงานภาคสนาม
 
 * ข้อเสนอแนะในการปฏิบัติงาน
 * กระตุ้นการปฏิบัติงาน
 * ผู้ปฏิบัติงานทุกคน
 
 
 * ประชุมทุก 1 - 2 เดือน/ครั้ง
 * ในการประชุมประจำเดือนเกษตรกอำเภอ(MM)
 * การสัมมนานักส่งเสริมการเกษตร (DW)

กลุ่มที่ 3  เพื่อกำหนดกลยุทธ์ในการทำงาน (1)

          เพื่อที่จะสร้างการยอมรับ  และเกิดการปรับเปลี่ยน จะต้องดำเนินการดังนี้

  1. การเตรียมทีมงาน   เพื่อการบูรณาการในพื้นที่  จะต้องจัดเตรียมข้อมูลและเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
  2. การสำรวจและวิเคราะห์ข้อมูลแบบมีส่วนร่วม เช่นการวิเคราะห์ข้อมูลแผนที่ ข้อมูลหมู่บ้านเป้าหมาย  หามติเพื่อสรุปพื้นที่หรือขอบเขตในการทำงาน  ศักยภาพในการผลิต  คัดเลือชนิดพืชและเลือกคน(เกษตรกรอาสา) เป็นต้น
  3. การให้ความรู้แก่เกษตรกร   เพื่อให้เกษตรกรได้มีความรู้และความเข้าใจ เช่นการอบรม หรือการศึกษาดูงานเกษตรกรที่ประสบความสำเร็จ หรือศึกษากิจกรรมใหม่ๆ เป็นต้น
  4. การจัดทำแปลงทดสอบทดลอง เพื่อให้เกิดการยอมรับ และปรับเปลี่ยน ตามความเหมาะสมและศักยภาพการผลิตในพื้นที่
  5. การให้คำแนะนำ กำกับดูแลให้การปฏิบัติของเกษตรกรตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงการเก็บเกี่ยวผลผลิต (V&C system ของท่าน อ.บางทราย)
  6. การสรุปและประเมินผลร่วมกัน เพื่อเรียนรู้จากความสำเร็จ-ไม่สำเร็จ  และปัญหาหรืออุปสรรคที่เกิดขึ้น
  7. การขยายผลกิจกรรมนี้ไปสู่เกษตรกรรายอื่นๆ

กลุ่มที่ 4  เพื่อกำหนดกลยุทธ์การทำงาน (2)

          กลุ่มนี้ได้กำหนดกลุยุทธ์ ทั้งเหมือน-ต่างกัน ได้ดังนี้

  1. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ พูดคุยกันระหว่างเจ้าหน้าที่ที่จะลงไปปฏิบัติการภาคสนาม หรือเจ้าหน้าที่กับเกษตรกร หรือเกษตรกรกับเกษตรกร  ในกลุ่มพื้นที่เป้าหมาย/ พืชเป้าหมาย / ดินเป้าหมาย  เน้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแล้วสรุปเป็นแผนชุมชน 
  2. การอบรม เพื่อให้ความรู้แก่เกษตรกรตามแผนชุมชนที่ได้มาจากเวทีชุมชน  การทำ Zoning รวมถึงการกำหดนแผนการผลิต  แผนการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่  และแผนการสนับสนุนเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน
  3. การศึกษาดูงานเกษตรกรที่ประสบความสำเร็จ เพื่อสร้างแรงจูงใจ เกี่ยวกับกิจกรรมการบริหารจัดการกลุ่ม  การจัดการด้านการตลาด  การผลิตที่ดีและเหมาะสม  การจัดการพื้นที่ และการจัดการทรัพยากร
  4. การบูรณาการการทำงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น หน่วยงานที่เกี่ยวกับการผลิต  การตลาด และการพัฒนาที่ดิน เป็นต้น
  5. ค้นหาพืชหรือกิจกรรมที่กลุ่มมีความต้องการ   โดยการสอบถามถึงชนิดพืชหรือกิจกรรมที่เกษตรกรชอบปลูก  ที่คิดว่าจะสอดคล้องกับชุดดิน-ศักยภาพของดิน  ตลอดจนถึงปัจจัยการผลิตต่างๆ
  6. การทำแปลงทดสอบ-ทดลอง แบบมีส่วนร่วม
  7. การประเมินผล ก่อน-ระหว่าง-หลังการทำงาน เพื่อสรุป ปรับปรุงแก้ไข และการขยายผลต่อไป

          นอกจากนี้ กลุ่มที่ 1 ได้ช่วยกำหนดกลยุทธ์ในการที่จะทำงานให้ประสบผลสำเร็จไว้เพิ่มเติม (3) คือ

  • การเก็บรวบรวมข้อมูล ทั้งรายบุคคลและแผนที่
  • การวิเคราะห์ข้อมูลและสรุป
  • จัดทำประชาพิจารณ์ เพื่อตรวจสอบข้อมูล(ครั้งที่ 1)
  • การจัดทำประชาพิจารณ์ (ครั้งที่ 2) เกี่ยวกับ สภาพปัญหา  เสนอความต้องการ  เสนอแนวทาง กำหนดวิธีปฏิบัติ(กลยุทธ์) และ การจัดหาวัสดุ/อุปกรณ์สนับสนุน

        หลังจากนี้ไป ผมและทีมงานสนับสนุนในระดับจังหวัด ก็จะประมวลสรุปผลการสัมมนา จัดทำเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานในภาพรวม เพื่อให้เจ้าหน้าที่ภาคสนามใช้เป็นแนวทางในการทำงานต่อไป  และทีมงานภาคสนามของแต่ละอำเภอ ก็จะกลับไปวางแผนการปฏิบัติงาน และแจงให้ทีมสนับสนุนทราบ เพื่อที่จะได้วางแผนและประสานแผนในการปฏิบัติงานกันต่อไปในพื้นที่

บันทึกมาเพื่อการ ลปรร.

วีรยุทธ  สมป่าสัก  16  มกราคม  2551 

หมายเลขบันทึก: 159482เขียนเมื่อ 16 มกราคม 2008 08:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 พฤษภาคม 2012 16:50 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท