kong
นาย ก้องเกียรติ เติมเกษมศานต์

ทันตกรรมในเด็กเล็ก : เริ่มเจอฟันผุในเด็กแล้ว ทำไงดี ???


การทำฟันในเด็กเล็กต้องอาศัยความสัมพันธ์ทั้ง 3 อย่างก็คือตัวเด็กเอง ผู้ปกครอง และทันตแพทย์ ซึ่งทั้งสามส่วนต้องมีความสัมพันธ์กันเป็นอย่างดี

   การพบฟันผุในเด็กเล็ก ทันตแพทย์จะพบใน 3 กรณีคือ

  1. ผู้ปกครองที่เอาใจใส่ ตรวจฟันให้ลูก หรือพาลูกไปหาหมอฟัน จะพบฟันผุในช่วงแรก ๆ เด็กยังไม่มีอาการปวดฟันหรืออาหารติดที่รูฟันผุ
  2. ในผู้ปกครองที่ไม่ค่อยเอาใจใส่ หรือไม่มีเวลา จะพบฟันลูกผุก็ต่อเมื่อมีอาการแล้ว ซึ่งก็มีหลายระดับ เนื่องจากเด็กเล็กมักบอกอาการอาการไม่ได้ ไม่ว่าจะมีอาการอาหารติด เสี่ยวฟัน ปวดฟัน หรือบวมเป็นตุ่มหนอง หรือจนกระทั้งหน้าบวม ทั้งนี้เด็กบางคนปวด เสียวฟันจนเป็นความเคยชิน ผู้ปกครองกว่าจะรู้ว่าเด็กมีปัญหาฟันผุ ก็คือบวมแล้ว
  3. ในผู้ปกครองที่รู้ว่าลูกฟันผุแล้ว แต่ก็ยังไม่พาลูกไปหาหมอ  จนกระทั้งลูกทนไม่ไหว (พ่อ แม่ทนไม่ไหวด้วย) จึงจะพามาหา

**** ซึ่งทันตแพทย์ต้องการประเภทที่มาเมื่อยังไม่มีฟันผุมากกว่า แต่ในกรณีที่ผุแล้ว ทันตแพทย์ต้องการพบเด็กกรณีที่ 1 มากกว่า แต่ส่วนมากจะพบประเภทที่ 3 ***** 

แล้วทีนี้เมื่อพบเด็กที่มีการผุ ทันตแพทย์มีวิธีการอย่างไร.....

  • ประการแรกดูลักษณะของการผุ และอาการปวด บวม รวมทั้งโรคประจำตัว การแพ้ยา สุขภาพร่างกาย
  • ประการที่สองดูพฤติกรรมเด็ก ว่ายอมหรือไม่ยอม (มักขึ้นอยู่กับอายุเด็ก และพื้นฐานอารมณ์เด็ก แต่อย่างไรก็ตามความกลัวของเด็กอาจมีอิทธิพลเหนือสิ่งอื่นใด เด็กที่ปวดฟันหรือบวม รู้แน่ ๆ ว่าต้องโดนทำฟัน หรือเด็กที่โดนขู่มาก ๆ จะกลัวการทำฟันมากกว่า) 
  • ประการที่สาม ดูว่าผู้ปกครองมีพฤติกรรมอย่างไร ซึ่งพฤติกรรมผู้ปกครองมีตั้งแต่ ปกป้องลูกมากเกินไป จนถึง ไม่สนใจลูกเลย ซึ่งวิธีการที่ทันตแพทย์จะนำมาวางแผนการรักษาย่อมแตกต่างกันไป
  • ประการสุดท้ายดูที่ตัวทันตแพทย์เอง  หมอมีความพร้อมที่จะทำฟันให้เด็กหรือไม่ ไม่ว่าจะเป็นความเชี่ยวชาญ  ความพร้อมของเคื่องมือ และผู้ช่วย

           การให้การรักษา เมื่อทันตแพทย์พิจารณาทั้ง 4 ประการแล้ว ก็จะบอกถึงการวางแผนการรักษา ซึ่งส่วนมากทันตแพทย์จะวางแผนการรักษาให้ครบทั้งปาก โดยทำเป็นส่วน ๆ  เช่นฟันหลังบน / ล่าง /ซ้าย/ขวา , ฟันหน้าบน/ล่าง เป็นต้น  ซึ่งผู้ปกครองมีสิทธิ์ไม่ทำตามก็ได้ ซึ่งอยู่กับการพูดของทันตแพทย์ และพื้นฐานของผู้ปกครองเอง

           สำหรับในส่วนของแนวทางการรักษาทันตแพทย์แต่ละท่านจะมีแนวทางที่คล้ายกันแต่ก็ไม่เหมือนกัน สำหรับตัวผมเอง มักจะดูที่อาการปวดของเด็ก และพฤติกรรมของเด็กเป็นสำคัญ

  • เด็กที่มีฟันผุ  และยอมให้ทำ จะทำให้ทุกกรณี 
  • เด็กไม่มีอาการปวด และพฤติกรรมไม่ยอม จะยังไม่บังคับให้ทำ แต่จะใช้วิธีการสร้างความคุ้นเคย เช่นให้มาหาหลาย ๆ ครั้ง จนสนิทคุ้นเคย จนสามารถทำการรักษาได้
  • หากเด็กมีอาการปวดแล้ว และพฤติกรรมไม่ยอม ต้องดูว่าฟันผุมากขนาดไหน หากผุบางซี่อาจต้องใช้วิธี เช่น การปรับพฤติกรรม การจับให้ทำ หรืออื่น ๆ  แต่ถ้าหากผุทั้งปาก ทำครั้ง สองครั้งไม่เสร็จ อาจต้องคุยถึงเรื่องการดมสลบทำ    (ดูข้อมูลเกี่ยวกับการดมยาสลบในการทำฟันเด็กจาก              

การทำฟันเด็กโดยการวางยาสลบ ขั้นการเตรียมการ

การทำฟันเด็กโดยการวางยาสลบ (ข้อดีของการเลือกวิธีนี้)

การทำฟันเด็กโดยการวางยาสลบ (ข้อเสียของการเลือกวิธีนี้)

การทำฟันเด็กโดยการวางยาสลบ (ก่อนการทำฟัน)

การทำฟันเด็กโดยการวางยาสลบ (การทำฟัน)

      อย่างไรก็ตาม การทำฟันในเด็กเล็กต้องอาศัยความสัมพันธ์ทั้ง 3 อย่างก็คือตัวเด็กเอง  ผู้ปกครอง และทันตแพทย์ ซึ่งทั้งสามส่วนต้องมีความสัมพันธ์กันเป็นอย่างดี  ................ ความสำเร็จจะเกิดขึ้นจากการที่ทันตแพทย์ทำฟันเด็กได้แต่เด็กและผู้ปกครองไม่ประทับใจ  จะถือว่าเป็นความสำเร็จที่แท้จริงไม่ได้ ................. ขอบคุณครับ

หมายเลขบันทึก: 158861เขียนเมื่อ 12 มกราคม 2008 11:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 01:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

มาเยี่ยม...

จากฟันผุ...เห็นความเชื่อมโยงในทุกสิ่งนะครับ...

เด็กที่ชอบทานของเปรี้ยว  จะทำให้เคลือบฟันบางไหมคะ
ลูกคนแรกอายุ 3 ขวบกว่า มีฟันผุแล้วค่ะกลุ้มใจมากเป็นฟันข้างหน้าบน 3 ซี่ทางซ้ายไม่รู้ว่าเกิดจากการดูดขวดนมทางนั้นหรือเปล่าแต่บังคับให้แปรงฟันเองได้แล้ว คนเล็กอายุ1.8ขวบ ฟันข้างหน้าเริ่มไปเหมือนกันกำลังพยายามให้แปรงฟันอยู่ตอนนี้ต้องบังคับเช็ดฟันให้มีคำแนะนำหรือเปล่าค่ะ

สวัสดีครับคุณKong

                   ผู้ใหญ่ก็นำไปใช้ได้ครับ ผมเพิ่งไปถอนมาเมื่อวาน ๑ ซี่ ปล่อยไว้นานจนต้องถอนทิ้ง หมอบอกต้องรักษาอีก ๒ จุด กลัวฟันหมดปากเลยต้องไปตามหมอนัดครับ

                                             ขอบคุณครับ

    สวัสดีครับทุกท่าน

  • ทุกสิ่งมีความเชื่อมโยงกันครับ   ขึ้นอยู่กับว่าสิ่งใดเสริมให้สิ่งใดดีขึ้นหรือเลวลงครับ
  • ทานของเปรี้ยว ซึ่งมีฤทธิ์เป็นกรด จะทำให้ฟันกร่อนได้ครับ เนื้อฟันอาจบางลง
  •  เด็กต้องเริ่มเลิกดูดนมขวด และใช้ดื่ม หรือดูดจากกล่องเมื่ออายุประมาณ 6 เดือน และเลิกได้เมื่ออายุ 1- 1.5 ปี  ที่สำคัญควรจะดูดนมจืด
  • การแปรงฟันเป็นสิ่งที่สำคัญ  เคยเจอเด็กที่ดูดนมขวด แต่ฟันไม่ผุ เพราะแม่แปรงฟันได้ดี และครบทุกส่วน
  • การพบทันตแพทย์เป็นประจำ  ไม่ใช่ไปพบเมื่อมีปัญหาแล้วเป็นสิ่งจำเป็น หาทันตแพทย์ประจำตัว และไปพบเป็นประจำ เพื่อความคุ้นเคยก็ดีนะครับ  ..... แล้วอย่าลืมไปตามนัดละครับ

ลูกสาวอายุ 1 ขวบ 5 เดือน ฟันล่างและฟันบนขึ้นอย่างละ 4 ซี่ ฟันกรามกำลังขึ้น ตอนนี้มัปัญหาฟันล่างเหยืนครอบฟันบนแล้วฟันล่างที่เหยินก็ไปกัดโดนของเหงือกด้ายข้างบนด้วยค่ะ บางครั้งเลือดออก และไม่ค่อยทานข้าวคะต้องทำไงบ้างคะ

สวัสดีค่ะหมอก้องอยากทราบว่าแล้วในกรณีขณะแปรงฟันแล้วมีเลือดออกมาเมื่อแปรงโดนบริเวณนั้นจะร้องด้วยความเจ็บในเด็กอายุ1.6เดือนจะต้องรักษาอย่างไรค่ะหมอ

ต้องดูก่อนแปรงแข็งไปไหม ถ้าไม่วิธีแปรงถูกต้องไหม ถ้าถูก เหงือกเป็นแผลอักเสบไหม


ลูก2ขวบ6เดือน มีฟันผุทั้งปากแล้วมีหนองทีาเหงือกบวม ต้องทำยังไงดีค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท