เข้าไปสืบหาธรรมชาติของความรู้ในสมอง


Relation among neuronal circuit systems

A, B, C, เป็น "วงจรนิวโรน"    และต่างก็เป็น "ระบบ"  (ดูที่ http://gotoknow.org/file/wk84sal/mind13.bmp

A อาจจะมีข่าวสารเกี่ยวกับ "เจ้าด่างตัวนี้"  หรือ "บวก, + "   B อาจจะมีข่าวสารเกี่ยวกับ "เจ้าตูบตัวนั้น"  หรือ " ลบ, - "   C  อาจจะมีข่าวสารเกี่ยวกับ  "เจ้าโต้งตัวโน้น"  หรือ  " คูณ, x "  ฯลฯ

A  กระตุ้น  B,   C  กระตุ้น  B, เราจะกล่าวว่า  สามระบบย่อยนี้ "เชื่อมต่อ" กันก็ได้  หรือ "โยงสัมพันธ์" (Associate) กัน ก็ได้

สมมุติให้ "พื้นสีเขียว" เป็น "เซเรบรัลคอร์เท็กซ์" (Cerebral cortex) ซึ่งนิวโรนเหล่านั้นฝังตัวอยู่  และขณะนี้นิวโรนเหล่านั้นไม่ได้แสดงกิจกรรม หรือแสดงกิจกรรมอยู่ในระดับที่ต่ำมาก เช่นในขณะหลับ

ข่าวสาร(Information)ที่ A, B, C, " อม " เอาไว้นั้น เป็น "ความจำ" (Memory)  หรือ "ความรู้" (Knowledge)

ถ้า  A, B, C, นี้แสดงกิจกรรม ก็จะ "เกิดความรู้สึก" จำว่า "สิ่งที่อม"เอาไว้นั้น  คืออะไร  ภาวะเช่นนี้คือ " จิต " (Mind)

อนึ่ง  ข้อความข้างบนนี้ทั้งหมดเป็น "การคาดเดา" ด้วยความคิดเชิงเหตุผล  จึงจัดเป็น "สมมุติฐาน" (Hypothesis)  แต่เป็นการคาดเดาถึง "สิ่ง" ที่ "สังเกตโดยตรงไม่ได้" ดังนั้น "สิ่งนั้น" จึงเป็น "ทฤษฎี"  ฉะนั้น ข้อความทั้งหมดเหล่านั้นจึงเป็นข้อความประเภท " สมมุติฐานเชิงทฤษฎี" หรือ " Theoretical  Hypotheses "

นั่นคือ  วันนี้  เราได้เข้าไป "สืบหา" ธรรมชาติของ "ความรู้" ในระดับ "ทฤษฎี"  แล้ว !

หมายเลขบันทึก: 158607เขียนเมื่อ 10 มกราคม 2008 22:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:41 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท