ข้อเสนอในการจัดทำวาระสื่อเพื่อส่งเสริมการศึกษาและการเรียนรู้สำหรับเด็ก เยาวชน และครอบครัว


สถานการณ์ด้านรายการโทรทัศน์เพื่อส่งเพื่อส่งเสริมการศึกษาและการเรียนรู้สำหรับเด็ก เยาวชน และครอบครัว

     ๑.     ในปี พ.ศ.๒๕๓๙ กรมประชาสัมพันธ์ได้จัดทำประกาศสำนักงานเจ้าพนักงานผูออกใบอนุญาต กรมประชาสัมพันธ์ เรื่องกำหนดสัดส่วนเวลาออกอากาศรายการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ โดยได้กำหนดให้สถานีวิทยุโทรทัศน์ต้องบรรจุรายการออกอกาศสำหรับเด็กและเยาวชน (กล่าวคือ รายการประเภท ป และ ด)ในช่วงเวลา ๑๖.๓๐ น. ถึง ๑๘.๓๐ น. อย่างน้อยวันละ ๓๐ นาที ของวันจันทร์ถึงศุกร์ ยกเว้นวันเสาร์ และอาทิตย์ หรือ คิดเป็นร้อยละ ๒๕ ของช่วงเวลาดังกล่าว

       ๒.     ต่อมาในวันที่ ๔ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๔๖ คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบในการใช้สื่อของรัฐเพื่อส่งเสริมการศึกษาและการเรียนรู้สำหรับเด็ก เยาวชนและครอบครัว โดยกำหนดให้มีรายการโทรทัศน์เพื่อส่งเสริมการศึกษาและการเรียนรู้สำหรับเด็ก เยาวชนและครอบครัวเป็นเวลา ๑ ชั่วโมง ถึง ๑.๕ ชั่วโมง คิดเป็นร้อยละ ๑๕ ในช่วงเวลาดี (prime time) กล่าวคือ ๑๖.๐๐ น. -๒๒.๐๐ น.

     ๓.     ในเดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๕๕๐ คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบในการพัฒนาปรับปรุงระบบการจัดระดับความเหมาะสมของรายการโทรทัศน์ในประเด็นหลัก ๔ ประเด็น กล่าวคือ (๒) ให้การจัดระดับความเหมาะสมของรายการโทรทัศน์ประกอบด้วย การประเมินคุณภาพเนื้อหาและการจำแนกเนื้อหาตามช่วงอายุ (๒) การพัฒนากลในการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการจัดระดับความเหมาะสมของรายการโทรทัศน์

    ๔.     ในขณะเดียวกันจากการศึกษาการศึกษาของคณะอุนกรรมการประสานงานการจัดระดับความเหมาะสมของรายการโทรทัศน์ โดยโครงการวิจัยและพัฒนาระบบการจัดระดับความเหมาะสมของรายการโทรทัศน์ที่ได้ทำการศึกษาวิจัยสถานการณ์ของรายการโทรทัศน์สำหรับเด็กปฐมวัย (รายการ ป สำหรับผู้ชมอายุระหว่าง ๓ ปี -๕ ปี) และ รายการโทรทัศน์สำหรับเด็ก (รายการ ด สำหรับผู้ชมอายุระหว่าง ( ๖ ปี – ๑๒ ปี) ในเดือน กันยายน พ.ศ.๒๕๕๐ ถึง พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๐ ในช่วงเวลา ๑๖.๓๐ น. ถึง ๑๘.๓๐ น. พบว่า รายการ ป และ ด มีสัดส่วนน้อยกว่าที่กรมประชาสัมพันธ์กำหนดกล่าวคือในเดือนกันยายน เดือนตุลาคม และเดือนพฤศจิกายน มีสัดส่วนของรายการทั้งสองประเภท เป็น ๐ , ๗.๗๗ และ ๑๐.๑๐ ตามลำดับ

     ๕.     ในขณะที่ การศึกษาของคณะอุนกรรมการประสานงานการจัดระดับความเหมาะสมของรายการโทรทัศน์ โดยโครงการวิจัยและพัฒนาระบบการจัดระดับความเหมาะสมของรายการโทรทัศน์ หากพิจารณารายการโทรทัศน์ส่วนใหญ่ในช่วงเวลา ๑๖.๐๐ น. -๒๒.๐๐ น. พบว่า ร้อยละ ๙๖  ของเวลาในการนำเสนอเป็นรายการประเภท ทั่วไป (รายการ ท ที่เหมาะสมสำหรับผู้ชมทุกวัย) และ รายการที่ผู้ปกครองหรือผู้ใหญ่ควรให้คำแนะนำ (รายการ น) ในขณะที่ สัดส่วนรายการเด็ก เยาวชน หรือ รายการประเภท ป และ ด มีเพียงร้อยละ ๓ ถึง ร้อยละ ๔ เท่านั้น

    ๖.     ซึ่งหากพิจารณาจากสัดส่วนจำนวนประชากรในวัยเด็ก และ เยาวชน กล่าวคือ จำนวนประชากรในช่วงอายุ ๓ – ๕ ปี คิดเป็น ๒,๓๖๒,๑๑๔ คน และช่วงอายุ ๖-๑๒ ปี คิดเป็น ๗.๔๑๑,๐๕๘ คน โดยคิดเป็นร้อยละ ๑๕.๕๕ ของประชากรทั้งประเทศ

    ๗.    ผลการศึกษาวิจัยของภาควิชาการชี้ไปในทิศทางเดียวกันว่า สาเหตุที่สื่อสร้างสรรค์สำหรับเด็ก เยาวชน และครอบครัวมีจำนวนน้อยมาจากสาเหตุสำคัญ ๓ ประการ กล่าวคือ

      (๑) นโยบายของสถานีที่มุ่งผลิตรายกาเพื่อการแข่งขันทางการตลาด

      (๒) ความเคยชินของผู้รับสื่อที่นิยมด้านบันเทิงเนื่องจากมีโอกาสเลือกจำกัด และ

      (๓) ข้อจำกัดด้านเงินทุนในการผลิตรายการ ทั้งในกระบวนการของการวิจัยการผลิต การพัฒนากระบวนการผลิต โดยเฉพาะต้นทุนการผลิต เช่นการผลิตรายการโทรทัศน์คุณภาพดีพอสมควรจะมีค่าใช้จ่ายสูง ประมาณ ๓๐๐,๐๐๐ บาท – ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท ต่อชั่วโมง

    ๘.     ในเดือนมกราคม พ.ศ.๒๕๕๐ ทางคณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบในการจัดทำวาระเด็ก เยาวชนในประเด็นหลัก ๔ ประเด็นกล่าวคือ (๑) การสนับสนุนให้เกิดกองทุนสื่อสร้างสรรค์สำหรับเด็ก เยาวชนและครอบครัว (๒) การสนับสนุนให้เกิดจังหวัดน่าอยู่ (๓) สนับสนุนให้เกิด

     ๙.     อย่างไรก็ตาม แนวทางในการส่งเสริมให้เกิดกองทุนสื่อสร้างสรรค์สำหรับเด็ก เยาวชนและครอบครัวเป็นมาตรการที่จำเป็นต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องในระยะยาว ในขณะที่สถานการณ์ด้านรายการสำหรับเด็ก เยาวชนและครอบครัวจำเป็นที่จะต้องได้รับการพัฒนาอย่างเร่งด่วน

ข้อเสนอในการพิจารณา

    ๑.     ให้กรมประชาสัมพันธ์ จัดประชุมร่วมกับรัฐวิสาหกิจในการดำเนินการพิจารณาหาแนวทางในการสนับสนุนรายการเพื่อส่งเสริมการศึกษาและการเรียนรู้สำหรับเด็ก เยาวชนและครอบครัวเพื่อให้เกิดรายการโทรทัศน์เพื่อส่งเสริมการศึกษาและการเรียนรู้สำหรับเด็ก เยาวชนและครอบครัว ในกลุ่ม +๖ (ระบบการประเมินคุณภาพเนื้อหา) ให้ได้ตามสัดส่วนตามระเบียบกรมประชาสัมพันธ์ และ มติ คณะรัฐมนตรีฉบับวันที่ ๔ พฤศจิกายนพ.ศ.๒๕๔๖

    ๒.     ให้กรมประชาสัมพันธ์ดำเนินการจัดตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อดำเนินการให้เกิดการพัฒนาระบบการจัดระดับความเหมาะสมของรายการโทรทัศน์อย่างต่อเนื่อง๓.     เสนอให้กระทรวงการคลังจัดทำมาตรการทางภาษีในการส่งเสริมการประกอบการด้านสื่อเพื่อส่งเสริมการศึกษาและการเรียนรู้สำหรับเด็ก เยาวชนและครอบครัว 
หมายเลขบันทึก: 156773เขียนเมื่อ 31 ธันวาคม 2007 20:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 22:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท