ความตายและพิธีศพ


ชาวพม่ามักพูดถึงความตายว่า คนเรานั้นเกิดมาเพียงเพื่อตายและความตายคือที่สุดของเส้นทางชีวิต
ความตายและพิธีศพ
ชาวพม่ามักพูดถึงความตาย(gl C6"t glC6"t d"d6oN d:pN]:oN\ vob0¨gikdN) ว่า คนเรานั้นเกิดมาเพียงเพื่อตาย (glz6bhv9:dN g,:tz:kt]k-cH) และความตายคือที่สุดของเส้นทางชีวิต (]^h4;/gokdNC6"t-iut) อีกทั้งมองว่าการไปทำบุญที่วัด ๑๐ ครั้งยังไม่เท่าไปงานศพเพียงครั้งเดียว เพราะจากงานศพนั้น เราได้ครบทั้งทาน ศีล และภาวนา โดยเฉพาะกับญาติมิตรผู้สูงอายุจะได้ตระหนักถึงความไม่เที่ยงของชีวิต และหากมีการตายเกิดขึ้นเพื่อนบ้านมักต้องช่วยเหลือกันด้วยน้ำใจ ดังมีคำกล่าวสะท้อนความเอื้ออาทรที่มีต่อผู้ตายและญาติผู้สูญเสียไว้ว่า เพื่อนบ้านดี ศพย่อมงาม (vb,Nout-y'Ntgdk'Nt vg]k'Nt]a)
พม่าจำแนกการตายเป็น ๒ แบบ ได้แก่ ตายปกติ(U6btU6btgl) และตายโหง(v0b,Ntgl) ตายปกติคือตายเพราะความชราหรือโรคภัยทั่วไป (พม่าเรียกว่าโรค ๙๖) ส่วนตายโหงคือตายเพราะอุบัติภัยหรือฆาตกรรม รวมถึงตายเพราะโรคระบาด สัตว์ร้ายขบ งูพิษกัด ถูกประหาร หรือคลอดลูกตาย การตายเช่นนี้ จะไม่มีการนำศพกลับเข้าหมู่บ้าน ดังอาจเห็นโลงศพตั้งไว้ริมทางก็มี และจะไม่นิยมตั้งศพนั้นข้ามคืน คือมักฝังหรือเผากันในวันตายทันที
คำว่า “ศพ” พม่าจะใช้ว่า อสุภะ (vl64)  และเรียกงานศพว่า อสุภะบแว(vl64x:c ) อสุภะเป็นคำบาลี แปลว่า “ไม่งาม” ภาษาพม่าจะใช้ว่า มะต่า(,lk) ในความหมายที่เหมือนกัน หรือจะใช้ว่า อะลอง(vg]k'Nt) ซึ่งเป็นคำพื้นๆ ก็ได้
ในการตั้งศพและวันเผา นิยมตั้งศพทำพิธีได้ ๑ วัน  ๓ วัน หรือ ๕ วัน คือ จะถือเอาจำนวนวันเลขคี่นับจากวันตาย อาทิ หากตายในวันที่ ๑๐ ก็จะเผาได้ในวันที่ ๑๐ วันที่ ๑๓ หรือวันที่ ๑๕  ในวันตายจะมีการนิมนต์พระ ๑ รูป เพื่อถวายอาหารอุทิศแก่ผู้ตาย แต่ถ้าตายในช่วงบ่ายหรือกลางคืนก็จะนิมนต์พระมาในวันถัดไป ในช่วงเวลาตั้งศพนั้น มักต้องเปิดประตูบ้านทิ้งไว้ทั้งวันทั้งคืน เพราะเชื่อว่าวิญญาณผู้ตายจะยังคงวนเวียนเข้าออกบ้านของตัว
ก่อนนำศพลงโลงมักอาบน้ำศพ จะสวมเสื้อให้ผู้ตายโดยกลับหน้าไปด้านหลัง แล้วผูกนิ้วหัวแม่มือและหัวแม่เท้าสองข้างไว้ด้วยกัน ในอดีตมีการสอดเงินไว้ในปากผู้ตาย เรียก ค่าเรือข้ามฟาก หรือ กะโด๊ะคะ(d^t9b6h-) และมีการพันศพด้วยผ้าขาวโดยเว้นไว้เฉพาะใบหน้า ส่วนในช่วงตั้งศพจะวางหม้อน้ำดินเผาและจุดไฟไว้ที่ปลายเท้าของผู้ตาย แล้ววางอาหารไว้ข้างโลงโดยจะเปลี่ยนอาหารให้ใหม่ตามเวลาอาหารปกติ
พอถึงวันเผาหรือฝังศพ ตอนที่แห่ศพออกจากบ้าน จะเทน้ำและโยนหม้อน้ำดินเผาให้แตกตรงที่หน้าประตูบ้าน และล้างบ้านตรงที่วางศพด้วย ในวันเคลื่อนศพนี้จะนิมนต์พระมาเช่นกัน โดยพระจะสวดสรณคุณ(liI86")อาจที่บ้านหรือที่ป่าช้า การแห่ส่งศพพม่าจะใช่ว่า อสุภะ-โป๊ะ(vl64x6bh) การฌาปนกิจ จะใช้ว่า อสุภะ-ชะ(vl64-y) ส่วนการพิจารณาศพ ใช้คำว่า อสุภะชุ่(vl64UA)
ส่วนเหตุที่ล้างพื้นเรือนนั้น อาจมีที่มาจากนิทาน เรื่องมีว่า พระราชาองค์หนึ่ง เมื่อมเหสีแสนรักของพระองค์สิ้นชีวิต พระองค์กลับไม่ยอมนำศพไปเผา ยังคงเก็บศพมเหสีไว้ในวัง พระฤาษีร้อนใจจึงเข้าเฝ้า แล้วใช้อิทธิฤทธิ์เชิญวิญญาณมเหสีมาพบ มเหสีทูลพระราชาว่าตนไปเกิดใหม่แล้วเป็นแมงขี้วัว(O:ktg-yt56btx6bt) และอยู่กินกับสามีใหม่อย่างมีสุข ทั้งนางไม่ปรารถนาชายใดเป็นคู่ครองอีก พอพระราชาได้ยินเช่นนั้น เลยเตะโลงมเหสีไสไปพ้นวัง แล้วสั่งให้รื้อหิ้งตั้งศพแล้วล้างพื้นเสีย
ในการแห่ศพออกจากเรือนจะเอาด้านเท้าผู้ตายออก หากเป็นบ้านนอก มักนิยมใช้รถม้าขนศพไป หากเป็นในเมืองจะใช้รถยนต์ส่งศพ เรียกว่า นิพพานยาน(obr¾koNpkfN) พม่าเรียกป่าช้าว่า ตีงชาย (l-§y7b'Nt) หรืออาจเรียก สุสาน(l6lkoN) ป่าช้ามักจะอยู่นอกเมือง หรือห่างจากหมู่บ้าน ปกติการแห่ศพจะต้องหันหัวขบวนมุ่งไปนอกหมู่บ้าน ห้ามมุ่งไปทางทิศที่ตั้งหมู่บ้าน ไม่ว่าจะเป็นหมู่บ้านของผู้ตายหรือไม่ก็ตาม อีกทั้ง ห้ามรีรอหรือหยุดขบวนแห่ที่หน้าบ้านผู้อื่นเป็นอันขาด
ก่อนนำศพลงหลุม จะมีการโยกโลงไปมาหน้าหลัง ๓ ครั้ง เพื่อบอกอำลาโลก แล้วญาติมิตรจะช่วยกันโยนก้อนดินลงปิดหลุมเป็นการขอขมา ท้ายสุดญาติคนหนึ่งจะนำดินหน้าหลุมกลับบ้านเพื่อทำบุญ ๗ วัน ดินนั้นแทนที่สิงวิญญาณของผู้ตายเพื่อพากลับบ้านมาฟังธรรม หากผู้ตายเป็นข้าราชการหรือพนักงาน หน่วยงานจะเขียนจดหมายเพื่อบอกผู้ตายทำนองว่า ท่านหมดภาระหน้าที่ในหน่วยงานนั้นแล้ว และมีอิสระที่จะไปไหนได้ตามปรารถนา แล้วมอบจดหมายนั้นเผาไปพร้อมกับผู้ตายด้วย
สำหรับพื้นที่ในเมืองใหญ่ๆอย่างย่างกุ้งนั้นมักจะเผามากกว่าฝัง และมักเป็นการเผาในเตาเผารวมของเทศบาล เถ้ากระดูกจึงปะปนกัน แต่สำหรับผู้มีตำแหน่งฐานะอาจแยกเผา และทำพิธีลอยอังคารด้วย ส่วนของที่นำวิญญาณกลับบ้านจะเป็นดอกไม้จากกระเช้า(]:,Ntl^hxoNte-'Nt)ที่ประดับไว้หน้าโลง ของแจกในงานศพจะเป็นพัด(pxNg9k'N)จารึกคติธรรมหรือหนังสือธรรมะ(9ikt0kv6xN) ส่วนผู้มาร่วมงานไม่ต้องบริจาคเงิน
เมื่อครบ ๗ วัน จะนิมนต์พระจำนวนคี่ อาจเป็น ๕ รูปหรือ ๗ รูป มาทำบุญที่บ้านเพื่อบอกหนทางให้ผู้ตายไปสู่สุคติ(gdk'Ntik46"4;) เรียกวันนี้ว่า วันทำบุญเจ็ดวัน (idN]PNC:,Nt) โดยจะเชิญญาติมิตรมาร่วมงาน โดยไม่นิยมกล่าวคำเสียใจ แต่อาจพูดปลอบใจด้วยคติธรรม
ส่วนสัปเหร่อนั้น พม่าเรียกว่า  อสุภราชา (vl64ik=k) หรือ มักเรียกสั้นลงว่า สุภราชา (l64ik=k) คำว่าสัปเหร่อในภาษาไทยก็น่าจะเพี้ยนมาจากคำนี้  อสุภ แปลว่า “ไม่งาม” หมายถึง “ซากศพ” อสุภราชาจึงหมายถึง “เจ้าแห่งอสุภะ” ที่พำนักของสัปเหร่อจะอยู่ไม่ห่างจากป่าช้านัก สัปเหร่อมีหน้าที่เผาศพ(,utUAbh) ฝังศพ (ge,e,Ë7xN) และทำโลงศพ(g-j'Nt9]kt) แต่ไม่รับทำพวงหรีด (xoNtg-:) ซึ่งคนทำอาชีพนี้มีต่างหาก
ในสมัยสังคมนิยมนั้น เป็นยุคของการยึดกิจการเอกชนมาเป็นของรัฐ อาชีพสัปเหร่อในเมืองใหญ่ๆก็ถูกกระทบเช่นกัน โดยรัฐบาลได้ยึดงานสัปเหร่อในด้านการเผาและฝังมาเป็นงานรัฐกิจ หรือ ปยีตู่ป่าย (exPNl^x6b'N) คงไว้เฉพาะการต่อโลงเท่านั้นที่สัปเหร่อยังทำได้ต่อไป ส่วนสัปเหร่อตามชนบทนั้นไม่โดนกระทบ
ในเมืองย่างกุ้งมีสุสาน ๒ แห่ง ได้แก่ เหย่เว(gig;tl-§y7b'Nt)ที่เขตอุกกะลาปะเหนือ และ เถ่งปิ่ง(5boNx'Nl-§y7b'Nt) ที่หมู่บ้านชเวตะกอ (gU­9gdk) ในเขตหล่ายตายา สุสานเถ่งปิ่งนั้นเป็นสุสานใหม่ที่ย้ายมาจากสุสานจั่งตอ(Ed"g9k)ในเขตเมือง เดิมเรียกว่าสุสานชเวตะกอ แต่ชาวบ้านคัดค้านไม่ยอมให้ใช้ชื่อหมู่บ้านเป็นชื่อสุสาน จึงเปลี่ยนเป็นเถ่งปิ่ง  สำหรับที่เหย่เวนั้นเป็นสุสานรวมทุกศาสนา ไม่ว่าจะเป็นพุทธ คริสต์ ฮินดู หรือ อิสลาม ส่วนที่เมืองมัณฑะเลนั้น คือ จ่านีกั่ง (EdkoudoN) สุสานนี้ตั้งอยู่ทางด้านเหนือบนเส้นทางไปยังเมืองโมโกะ(,6btd69N) ที่สุสานจะมีบริการโลงเย็นสำหรับเก็บศพรอวันเผาหรือฝัง
คนพม่าเวลามาเมืองไทย มักสะดุดใจเกี่ยวกับเรื่องงานศพของไทยอย่างการตั้งศพในวัด พม่าถือว่ามีแต่ศพระดับเจ้าอาวาสเท่านั้นที่ตั้งในวัดได้ และรู้สึกไม่สบายใจที่เห็นเขตวัดเป็นที่ตั้งศพและมีเมรุ ส่วนการเก็บอัฐิของผู้ตายไว้ในเจดีย์นั้น พม่าไม่ถือเป็นธรรมเนียม แม้พม่าจะเคยมีเจดีย์อนุสรณ์(]:,Ntg09u)สำหรับเจ้านายก็ตาม แต่ปัจจุบันเจดีย์ถือเป็นที่บรรจุพระธาตุเท่านั้น ชาวพม่าที่ไม่คุ้นเคยกับประเพณีไทย พอเห็นเจดีย์บรรจุอัฐิคนทั่วไป อาจเผลอสักการะเพราะคิดว่าเป็นพระธาตุเจดีย์
วิรัช นิยมธรรม
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 15604เขียนเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2006 19:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 08:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่าน


ความเห็น
อยากจะรู้เกี่ยวกับการเเสดงของประเทศพม่า วิธีการเเสดง เครื่องดนตรีที่ใช้ในการบรรเลง ขอความช่วยเหลือหน่อยนะค่ะ ต้องส่งงานเเล้ววันจันทร์ค่ะ ขอบคุณค่ะที่ให้ความช่วยเหลือ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท