ไหว้เจดีย์


พม่ามีคำกล่าวว่า พึ่งเจดีย์ อายุยืน พึ่งธรรมะ โทสะหาย
ไหว้เจดีย์
พม่ามีคำกล่าวว่า พึ่งเจดีย์ อายุยืน พึ่งธรรมะ โทสะหาย(46iktzdNg9kH vldNiaPN  9iktzdNg9kH v,ydNgex|) ชวนให้นึกถึงพระนางชินสอบู กษัตรีมอญที่พม่ายกย่องว่าเป็นผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระศาสนา จนเป็นอานิสงส์ให้พระนางมีพระชนม์ถึง ๗๙ ชันษา  ในบั้นปลายของชีวิต พระนางได้อยู่ใกล้ชิดพระเจดีย์ชเวดากอง ไหว้สาพระเจดีย์ซึ่งถือเป็นองค์แทนพระพุทธเจ้าจนจบวาระสุดท้าย
ชาวพม่านิยมเรียกเจดีย์(g09u)ว่า พยา (46ikt) หรือ พยาเซดี (46iktg09u) คำว่า พยา เป็นคำที่พบใช้บ่อยๆ และเป็นคำยืมจากภาษาสันสกฤตว่า วร (;i) หรืออาจมาจาก ปูชห (x^=s) คำว่า พยา ยังรวมถึง วิหาร(กู่) พุทธรูป และพระพุทธเจ้าซึ่งหยั่งรู้อริยสัจ พม่าถือว่าเจดีย์เป็นที่ประดิษฐานพระบรมธาตุ(Tk9Ng9kN)หรือเครื่องอุปโภค(g,:g9kN)ของพระพุทธเจ้า ดังนั้น พยา จึงหมายถึงพระธาตุ หรือ พุทธเจดีย์ โดยมิรวมสถูปที่เก็บอัฐิของคนธรรมดา และชาวพม่าเองก็ไม่นิยมสร้างเจดีย์เก็บอัฐิสามัญชนอย่างไทยเรา ในการดูแลเจดีย์มักต้องมีสัปปุรุษคอยทำหน้าที่ ซึ่งเรียกว่า พยาลูจี (46ikt]^Wdut) ในสมัยโบราณมีการถวายข้าพระเพื่อรับใช้พระเจดีย์อีกด้วย เรียกว่า พยาจูน (46iktd°oN) แต่ในปัจจุบันไม่พบธรรมเนียมถวายข้าพระอีกแล้ว
พยา ในความหมายพระพุทธรูปนั้น จะนิยมเรียกว่า พยาซีงตุ๊ด่อ (46iktC'Nt96g9kN) ส่วน พยา ในความหมายพระพุทธเจ้า จะนิยมใช้ว่า มยัตซวาพยา (e,9N0:k46ikt) ซึ่งเทียบได้กับ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า บางครั้งอาจใช้ว่า พยาตะขี่ง (46iktl-'N) แต่คำนี้อาจหมายถึงพระเจ้าของศาสนาอื่นได้ด้วย หากเป็นพระโพธิสัตว์ จะเรียกว่า พยาลอง (46iktg]k'Nt) คำว่าง ลอง (g]k'Nt) หมายถึง “ว่าที่” พบใช้ในชื่ออื่นๆ เช่น อลองพยา (vg]k'Nt46ikt) หรือ พระเจ้าโพธิสัตว์ ผู้เป็นปฐมกษัตริย์ของราชวงศ์คองบอง เป็นต้น
ส่วนวัดนั้นพม่าเรียกว่า จอง (gdyk'Nt) แต่ก็มักจะใช้ว่า พยาจอง (46iktgdyk'Nt) หรือ โพงจีจอง (46oNtWdutgdyk'Nt) คำว่า โพงจี (46oNtWdut) แปลว่า “พระสงฆ์” หากเป็นโบสถ์คริสต์ จะใช้ว่า พยาชิโคจอง (46iktiab-6btgdyk'Nt) คำว่า ชิโค (iab-6bt)นั้น แปลว่า “กราบไหว้” หากเป็นโบสถ์พราหมณ์ เรียกว่า กะลาพยาจอง (d6]kt46iktgdyk'Nt) ถ้าเป็นวัดแขกมุสลิม จะเรียกว่า บะลีจอง (r]ugdyk'Nt) และถ้าเป็นวัดจีนจะเรียกว่า ตะโยะโบ่งจอง (U69N46"gdyk'Nt)
พม่ามีธรรมเนียมในการเดินทางไปไหว้พุทธเจดีย์ตามศาสนสถานต่างๆเพื่อแสวงบุญ ซึ่งเรียกว่า พยาพู (46iktz^t) หากกราบไหว้พระเจดีย์จะใช้ว่า พยาชิโค (46iktiab-6bt) แต่ถ้าสักการะด้วยเครื่องบูชา จะใช้ว่า พยาปูซอ (46iktx^g=kN) ส่วนการแสวงบุญนิยมกระทำในช่วงที่มีงานฉลองพระเจดีย์ ซึ่งเรียกว่า พยาบะแว(46iktx:c)
พม่ายังคงมีธรรมเนียมการไหว้พระเจ้า ๙ องค์ ที่เรียกว่า พยาโกซู (46iktd6btC^) พระเจ้าทั้ง ๙ องค์ ได้แก่ พระพุทธเจ้า ๑ กับพระอรหันต์อีก ๘  คือ ชินราหุล (ia'Niks6]k) ชินโกณฑัญญะ (ia'NgdkòP) ชินเรวตะ (ia'Ngi;9) ชินสาริบุตตรา (ia'Nlkibx69µik) ชินอุปาลิ () ชินอานันทา (ia'NvkoO·k) ชินควัมปติ(ia'N8;,»9b) และชินโมคคัลลัน(ia'Ng,k8¤]ÅoN) พม่าเชื่อว่าการบูชายาโกซูจะช่วยให้มีชีวิตสุขสบาย และนิยมบูชาในเวลาขึ้นบ้านใหม่ ซึ่งเป็นความปนเปของพุทธกับไสย
คำว่า พยา ยังเป็นคำลงท้ายอย่างสุภาพ ใช้ในเวลาพูดกับพระสงฆ์ เทียบได้กับ “พระเจ้าข้า” หรือ “ขอรับ”  และยังพบใช้เป็นคำอุทานในเวลาตกใจ หรือ หวั่นไหว โดยจะอุทานว่า พยา..พยา (46ikt46ikt) เทียบได้กับ “คุณพระช่วย” ในสังคมพม่าการอุทานถึงพระพุทธเจ้า ยังคงมีให้ได้ยินได้ฟังอยู่เสมอ พยาจึงเป็นคำพูดติดปากคนพม่าเพราะต้องกราบไหว้กันทุกวัน
ภาษาพม่ามีคำภาษิตและคำพังเพยที่เกี่ยวข้องกับ พยา หรือ เจดีย์ อยู่มาก อาทิ อักษร ๑ ตัว เจดีย์ ๑ องค์ (0k90N]6"t 46ikt90NC^) เป็นโวหารเพื่อยกย่องตัวอักษรพม่าว่ามีค่าเสมือนองค์พระเจดีย์ เวลาครูสอนนักเรียนจึงสอนให้เคารพภาษาพม่าและเวลาเขียนรูปอักษรจะให้ลากเส้นตามทักษิณาวรรต(เวียนขวา)อย่างเดินรอบองค์เจดีย์; เจดีย์เสร็จ รื้อนั่งร้าน (46iktwxut e',NtzydN) หมายความว่า พอสมประโยชน์ ก็มองไม่เห็นค่า โวหารนี้มีที่มาจากเรื่องอำมาตย์ราชสงกรัน(ik=lWd§oN)ที่เคยช่วยพระเจ้านรสีหปเต๊ะให้ได้ครองบัลลังก์ แต่กลับมิได้รับการเหลียวแล เหมือนนั่งร้านที่ถูกรื้อทิ้งเมื่อสร้างเจดีย์เสร็จ; ทีเจดีย์ไม่ยกฉัตร กลับยกฉัตรให้ศาลา (46ikt5ut,9'N =ixN5ut9'N) หมายความว่า ไม่ทำในสิ่งที่ควร แต่กลับทำในสิ่งที่ไม่ควร; เจดีย์ในหมู่บ้าน ชาวบ้านไม่เคารพ (U:k46ikt U:klkt,U6bgl) หมายถึง ไม่ให้ความสำคัญกับสิ่งที่อยู่แค่เอื้อม แต่กลับหลงใหลให้ค่ากับสิ่งที่อยู่ไกล; เจดีย์ก็ไหว้ ไข่เต่าก็ขุด (46ikt]PNtz^t ]bxNf]PNt9^t) เป็นการทำกิจพร้อมกัน ๒ อย่างในขณะเดียว  เปรียบกับชายหนุ่มที่ไปไหว้เจดีย์ แล้วยังใช้เวลานั้นเกี้ยวสาว
ส่วนภาษิตเกี่ยวกับ พยา ในความหมายพระพุทธเจ้า มีเช่น ปากก็ว่าคุณพระ แต่มือแบ(xjt0xNd 46ikt46ikt ]dNd dktiktdktikt) หมายถึง พูดอย่าง แต่กลับทำอีกอย่าง เหมือนเอ่ยถึงพระพุทธเจ้า แต่กลับไม่พนมมือ ใช้เปรยว่าคนปากอย่างใจอย่าง หรือเอาแต่พูดกลับไม่ทำจริง;เอาพระไว้ล่าง วางลิงไว้บน(46iktdktgvkdN g,ykdNdktv5dN) หมายถึงให้ความสำคัญกับสิ่งไม่ควร หรือไม่รู้สูงรู้ต่ำ
พม่ายังมีเรื่องน่ากลัวเกี่ยวกับ พยา ในการสร้างเจดีย์อาจมีการจารึกคำสาปหรือเจงส่า(dyboN0k)ไว้ด้วย อาทิ ที่เจดีย์ธัมมะยังจีในเมืองพุกาม มีจารึกคำสาปไว้ว่า “หากเจดีย์มีอันถูกทำลาย ขอให้ผู้กระทำอย่าได้หลุดพ้นวัฏสงสารในทุกชาติแม้นจะได้พบพระพุทธเจ้าองค์ใดก็ตาม และขออย่าให้ได้พบพระศรีอาริยเมตไตรยที่จะเสด็จมาในภายหน้า”   ชาวพม่าถือว่าคำสาปเช่นนี้น่าสะพรึงกลัวที่สุด และหากต้องคำสาป จะเรียกว่า พยาซู (46ikt0^t) แปลว่า “พระสาป” มีข้อสังเกตว่า ในเวลาเช้าตรู่ ผู้เฒ่าผู้แก่มักจะนั่งสวดมนต์อยู่หน้าหิ้งพระประจำบ้าน พออธิษฐานพรก็มักจะกล่าวเสียงดังจนได้ยินกันทั่วบ้าน พรที่มักขอคือ “ขอให้เกิดเป็นคนในทุกชาติ และขอให้เกิดทันยุคพระศรีอาริยเมตไตรย” ความเชื่อที่มีต่อคำสาปและคำวิงวอนได้สะท้อนความหวั่นไหวในภพชาติซึ่งมักปรากฏอยู่ในใจของชาวพม่า และยังสะท้อนความหวังที่จะสืบภพชาติที่ดีไปจนกว่าจะสิ้นกรรม
วิรัช นิยมธรรม
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 15600เขียนเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2006 19:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 เมษายน 2012 17:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่าน


ความเห็น

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท