รัฐและมณฑล


ในการแบ่งเขตการปกครองระดับท้องถิ่นของประเทศพม่านั้น ได้มีการเปลี่ยนแปลงกันเรื่อยมานับแต่อดีต จากสมัยราชวงศ์ สมัยอังกฤษ สมัยญี่ปุ่น สมัยเอกราช และสมัยสังคมนิยม จนถึงปัจจุบันสหภาพพม่าประกอบด้วย ๑๔ เขตการปกครอง แบ่งเป็น ๗ มณฑล
รัฐและมณฑล
ในการแบ่งเขตการปกครองระดับท้องถิ่นของประเทศพม่านั้น ได้มีการเปลี่ยนแปลงกันเรื่อยมานับแต่อดีต จากสมัยราชวงศ์ สมัยอังกฤษ สมัยญี่ปุ่น สมัยเอกราช และสมัยสังคมนิยม จนถึงปัจจุบันสหภาพพม่าประกอบด้วย ๑๔ เขตการปกครอง แบ่งเป็น ๗ มณฑล หรือ ตาย(96b'Nt) และ ๗ รัฐ หรือ ปะหยี่แหน่(exPNopN) โดยแต่ละมณฑลและรัฐจัดลำดับหน่วยการปกครองท้องถิ่นจากใหญ่ไปเล็ก คือ ขะหย่าย (-U6b'N) มโยะแหน่(1,bhopN) ยะแกวะ(ixNd:dN) และ ย-หว่า (U:k) กล่าวคือเป็นจังหวัด/อำเภอ อำเภอ/ตำบล เขต(ย่าน) และหมู่บ้านตามลำดับ ในจำนวนหน่วยการปกครองดังกล่าว เรื่องน่าสนใจอยู่ที่ความเป็นมาของการใช้หน่วยการปกครองระดับ ตาย และระดับ ขะหย่าย
ตาย (96b'Nt) ซึ่งปัจจุบันคือมณฑล ภาค หรือ Division นั้น เป็นคำเก่าที่ใช้มาตั้งแต่สมัยราชวงศ์ กล่าวคือ ประเทศพม่าเคยมีการเรียกพื้นที่ต่างๆเป็น ๘ ตาย ได้แก่ สุนาปรันตะ(l6okxioµ96b'Nt)อยู่ด้านตะวันตกเฉียงเหนือของแม่น้ำอิรวดี ตัมปะทีปะ(9,»mux96b'Nt)อยู่ด้านตะวันออกเฉียงใต้ของแม่น้ำอิรวดี สีรีเขตตะรามะ(luiug-9µik,96b'Nt)อยู่ทางเมืองแปร ไชยวัฒณะ(g=py;ÂI96b'Nt)อยู่แถบตองอู รามัญญะ(ik,P96b'Nt)ประกอบด้วยพะสิม พะโคและเมาะตะมะ สุวรรณภุมิ(l6;I³46,Áb96b'Nt)อยู่แถบเมืองสะเทิมซึ่งอาจเรียกว่าฉาน ๕๗ เมือง (ia,Nt *) 1,bh) กัมโพจะ(dg,¾k=96b'Nt)อยู่ไปทางเขตฉานก่อนถึงตองจี และเซ่ง(0b,NH96b'Nt)หรือเขตจีนจะอยู่ทางพะมอทางใต้ของเขตกะฉิ่นติดแดนจีนลงมาถึงโมเมะ(,6bt,b9N)ในเขตฉาน
ส่วนคำว่า ขะหย่าย(-U6b'N)นั้น ในอดีตพบว่าใช้เรียกพื้นที่แถบเจ้าก์แซ ว่า แล-ตวีง ๙ ขะหย่าย (]pN9:'Nt + -U6b'N) ส่วนในสมัยเจ้าญองยาง(gPk'Ni,Nt,'Nt9iktWdut) เรียกเมืองเชียงใหม่ว่า ซีงแม ๕๗ ขะหย่าย (='Nt,pN *) -U6b'N)เป็นต้น ขะหย่ายจึงหมายกลุ่มเมืองที่เรียกรวมกัน แต่พอหลังยุคอังวะ-ญองยางแล้ว การเรียกชื่อพื้นที่เป็นขะหยายก็ค่อยๆเลือนลางไป
ในยุคคองบอง มิปรากฎคำเรียก ตาย หรือ ขะหย่าย อย่างไรก็ตามในปลายยุคคองบองสมัยเจ้าธีบอกลับมีการใช้ขะหย่ายสำหรับแบ่งเขตการปกครองราชอาณาจักรออกเป็น ๑๐ ขะหย่าย โดยไม่รวมเขตฉาน พร้อมกับมีการแต่งตั้งเจ้าขะหย่าย (-U6b'N;oN) ไปปกครองพื้นที่ดังกล่าว อันได้แก่ ปฐมฐานะ(x5,{ko) ทุติยฐานะ(m69bp{ko) ตติยฐานะ(99bp{ko) ตองดวีงจี(g9k'N9:'NtWdut) เอ้าก์มยิจซีง(gvkdNe,0N0fN) ปะคังจี(x6-oNtWdut) ชิงดวีง(-y'Nt9:'Nt)  สะกาย(00Nd6b'Nt) สิงฆะ(lbS§) อะญามยิจซีง(vPke,0N0fN)
พอในสมัยอาณานิคมอังกฤษ มีการแบ่งแผ่นดินพม่าเป็นพม่าตอนบน(v5dNe,oN,kexPN) และพม่าตอนล่าง(gvkdNe,oN,kexPN)โดยแบ่งเขตพม่าแต่ละตอนออกเป็นภาค(Division)ต่างๆ กล่าวคือ พม่าตอนล่างหรือที่เรียกว่า พม่าของอังกฤษ(wrb9blYe,oN,kexPN) นั้นแบ่งออกเป็น ๔ ภาค คือ ภาคยะไข่(i-6b'N) ภาคตะนาวศรี(9ol§kiu) ภาคพะโค(xc-^t) และภาคอิรวดี(Vik;9u) พออังกฤษยึดพม่าตอนบนได้แล้ว จึงแบ่งเขตปกครองพม่าตอนบนออกเป็น ๔ ภาค คือ ส่วนเหนือ(ge,kdNx6b'Nt) ส่วนกลาง(v]pNx6b'Nt) ส่วนใต้(g9k'Nx6b'Nt) และส่วนตะวันออก(vgiahx6b'Nt) โดยไม่นับรวมเขตฉาน ต่อมาในปี ค.ศ. ๑๘๙๗ จึงเปลี่ยนชื่อภาคพม่าตอนบนเป็น ภาคมัณฑะเล(,Oµg]t) ภาคสะกาย(00Nd6b'Nt) ภาคมะเกว(,gd:t) และภาคมิตถิลา(,b9¶u]k) ตามลำดับ ดังนั้นในสมัยอาณานิคมอังกฤษพม่าจึงแบ่งพื้นที่การปกครองเป็น ๘ ภาคดังกล่าว 
ในแต่ละภาคจะแบ่งเขตย่อยๆเป็นอำเภอ(District) โดยผู้ปกครองในระดับภาคเรียกว่า Division Commissioner  หรือ ข้าหลวง และในระดับอำเภอเรียกว่า Deputy Commissioner หรือ ผู้ตรวจการ (vgitx6b'N) อย่างไรก็ตาม สมัยนั้นอาจเทียบ Division เท่ากับ ขะหย่าย ส่วนคำว่า ตาย นั้นยังไม่ได้มีการกำหนดใช้
คำว่า ตาย และ ขะหย่าย เพิ่งมีการใช้ในสมัยฟาสซิสต์ญี่ปุ่น  โดยในปี ค.ศ. ๑๙๔๔ มีการประกาศเขตการปกครองประเทศพม่าเป็น ๔ ตาย หรือ มณฑล ได้แก่ มณฑลอุดร(f9µi96b'Nt) มณฑลประจิม(x0b©,96b'Nt) มณฑลทักษิณ(md¢bI96b'Nt) และมณฑลกัมโพชะ(dg,¾k=96b'Nt)  โดยแต่ละมณฑลจะแบ่งพื้นที่ย่อยออกเป็นขะหย่าย
ภายหลังที่พม่าได้รับเอกราช ได้มีการแบ่งเขตเป็น ๘ มณฑล ได้แก่ มณฑลมัณฑะเล(,Oµg]t) มณฑลสะกาย(00Nd6b'Nt) มณฑลมะเกว(,gd:t) มณฑลมิตถิลา(,b9¶u]k) มณฑลพะโค(xc-^t) มณฑลอิรวดี(Vik;9u) มณฑลยะไข่(i-6b'N) มณฑลตะนาวศรี(9ol§iu) และเขตพิเศษฉิ่น(-y'Nt) แต่ละ ตาย ประกอบด้วย ขะหย่าย ในตอนนี้ตายจึงเทียบได้กับ Division ส่วน ขะหย่าย เทียบได้กับ District ของสมัยอาณานิคมอังกฤษ  
ในสมัยสังคมนิยม มีการยกเลิกขะหย่ายเมื่อปี ค.ศ. ๑๙๗๒ แต่กำหนดเป็นมโยะแน(1,bhopN)ซึ่งแปลว่า township แทน แต่มาถึงสมัยรัฐบาลทหารชุดปัจจุบัน  กลับหันมาใช้ขะหย่ายดังแต่ก่อน โดยแต่ละขะหย่ายจะประกอบด้วยมโยะแน และแต่ละมโยะแนประกอบด้วยหมู่บ้าน โดยสรุป ตาย : ขะหย่าย : มะโยะแน : ย-หว่า อาจเทียบได้กับมณฑล : จังหวัด : อำเภอ : หมู่บ้าน หรือ มณฑล : อำเภอ : ตำบล : หมู่บ้าน ตามแต่จะเลือกเทียบเอา ส่วนภาษาอังกฤษนั้นจะใช้ว่า Division : District : township : village ตามลำดับ
ตอนที่พม่าได้รับเอกราชนั้น พม่ามี ตาย  ๘ มณฑล กับรัฐเพียง ๔ รัฐ ที่เป็นตายได้แก่ มณฑลสะกาย(00Nd6b'Nt96b'Nt) มณฑลมัณฑะเล(,Oµg]t96b'Nt) มณฑลมะเกว(,gd:t96b'Nt)มณฑลพะโค(xc-^t96b'Nt) มณฑลเอยาวดี(Vik;9u96b'Nt) มณฑลตะนาวศรี(9ol§kiu96b'Nt)มณฑลยะไข่(i-6b'N96b'Nt) และมณฑลพิเศษฉิ่น(-y'Nt;bgll96b'Nt)
ส่วนที่เป็นรัฐ(exPNopN)นั้น ได้แก่ รัฐกะฉิ่น(d-y'NexPNopN) รัฐฉาน(ia,NtexPNopN) รัฐคะยา(dpktexPNopN) และรัฐกะเหรี่ยง(di'NexPNopN) รัฐกระเหรี่ยงเคยใช้ชื่อว่ารัฐก่อทูเล(gdkNl^tg]) ก่อนเปลี่ยนชื่อภายหลัง
ต่อมาในปี ค.ศ. ๑๙๗๔ รัฐธรรมนูญฉบับสังคมนิยม ได้กำหนดให้มี ๗ มณฑล และ ๗ รัฐ โดย แยกมณฑลพะโคด้านใต้ให้เป็นมณฑลย่างกุ้ง(ioNd6oN96b'Nt) ยกระดับมณฑลพิเศษฉิ่นให้เป็นรัฐฉิ่น(-y'NtexPNopN) เปลี่ยนมณฑลยะไข่ให้เป็นรัฐยะไข่(i-6b'NexPNopN) และกำหนดให้มณฑลตะนาวศรีตอนบนให้เป็นรัฐมอญ(,:oNexPNopN) ส่วนมณฑลตะนาวศรีตอนล่างนั้นให้คงเป็นมณฑลตะนาวศรีดังเดิม
ปัจจุบันประเทศสหภาพพม่าจึงประกอบด้วย ๑๔ เขตการปกครอง แบ่งเป็นมณฑล(ตาย) ๗ มณฑล และรัฐ(ปะหยี่แหน่) ๗ รัฐ ได้แก่ มณฑลสะกาย(00Nd6b'Nt) มณฑลมัณฑะเล(,Oµg]t) มณฑลมะเกว(,gd:t) มณฑลพะโค(xc-^t) มณฑลย่างกุ้ง(ioNd6oN) มณฑลอิรวดี(Vik;9u) มณฑลตะนาวศรี(9ol§kiu) ส่วนรัฐได้แก่ รัฐกะฉิ่น(d-y'N)คะยา(dpkt) รัฐกะเหรี่ยง(di'N) รัฐฉิ่น(-y'Nt) รัฐมอญ(,:oN) รัฐยะไข่(i-6b'N) และรัฐฉาน(ia,Nt) และบนผืนธงชาติของพม่าก็ประกอบด้วยดาว ๑๔ ดาวในขนาดเสมอกัน เพื่อแสดงถึงเขตการปกครองทั้ง ๑๔ เขตดังกล่าว

วิรัช นิยมธรรม
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 15603เขียนเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2006 19:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 20:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท