ธงชาติและเพลงชาติ


มีเนื้อหาบอกถึงความเป็นนิรันดรของประเทศเมียนมา มองประเทศชาติคือมรดกอันมีค่าและแท้จริงจากบรรพชน และชาวเมียนมาทุกคนมีหน้าที่ต้องพิทักษ์และปกป้องประเทศชาติถึงต้องพลีชีพ เนื้อความของเพลงชาติพม่ามีดังนี้
ธงชาติและเพลงชาติ
เพลงชาติของพม่า หรือ ไหน่หงั่งด่อ-ตะชีง(O6b'N'"g9kNlu-y'Nt) มีเนื้อหาบอกถึงความเป็นนิรันดรของประเทศเมียนมา มองประเทศชาติคือมรดกอันมีค่าและแท้จริงจากบรรพชน และชาวเมียนมาทุกคนมีหน้าที่ต้องพิทักษ์และปกป้องประเทศชาติถึงต้องพลีชีพ เนื้อความของเพลงชาติพม่ามีดังนี้
หากโลกไม่สลาย ต้องมีประเทศเมียนมา
เราจักรักและเทอดทูนให้สมเป็นมรดกอันแท้จริงจากบรรพชนของเรา
เราจักพร้อมพลีชีพเพื่อปกป้องสหภาพ
ประเทศของเรา แผ่นดินของเรา ดินแดนที่เราครอบครอง
เราจักพร้อมใจพิทักษ์ผลประโยชน์ของประเทศของเราและแผ่นดิน
ของเรา
นี่คือ….หน้าที่ของเรา
เพื่อผืนแผ่นดินอันสูงค่า
ส่วนธงชาตินั้น หรือ ไหน่หงั่งด่อ-อะหลั่ง (O6b'N'"g9kNv]") ของสหภาพพม่าที่ใช้อยู่ในปัจจุบันเป็นธงชาติที่ได้ใช้มาตั้งแต่สมัยสังคมนิยม นั่นคือหลังจากที่มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับสังคมนิยมเมื่อปี ค.ศ. ๑๙๗๔ เป็นต้นมา  แม้ปัจจุบันพม่าจะยกเลิกระบอบสังคมนิยมไปแล้ว แต่พม่าก็มิได้เปลี่ยนรูปลักษณ์ของธงชาติให้ต่างไปจากเดิม
ในแบบเรียนการอ่านภาษาเมียนมา เกรด ๒ ได้กล่าวถึงการเคารพธงชาติและความหมายของสัญลักษณ์ที่ปรากฏอยู่บนผืนธงชาติไว้ดังนี้
บนเสาธงที่ตั้งอยู่หน้าโรงเรียนของผม ธงชาติจะโบกสะบัดอยู่ทุกวันเมื่อเป็นเวลาเปิดเรียน ในตอนเช้าขึ้นเรียนครูและนักเรียนทั้งหลายจะทำความเคารพธงชาติ พอได้ยินเสียงตีระฆังขึ้นเรียน นักเรียนจะยืนเข้าแถวอย่างสงบอยู่หน้าเสาธง จากนั้น เมื่อครูใหญ่ออกคำสั่งให้เคารพธงชาติ ทุกคนก็จะแสดงความเคารพอย่างพร้อมเพรียง
ธงชาติมีสีพื้นเป็นสีแดง มุมบนด้านซ้ายของธงชาติเป็นรูปสี่เหลี่ยมสีน้ำเงิน ในพื้นที่สี่เหลี่ยมนั้น มีดาวขนาดเท่ากันจำนวน ๑๔ ดวงล้อมรอบรวงข้าวและฟันเฟือง
รวงข้าวเป็นสัญลักษณ์ของชาวไร่ชาวนา ฟันเฟืองเป็นสัญลักษณ์ของกรรมกร ชาวไร่ชาวนาและกรรมกรถือเป็นชนชั้นรากฐานของการก่อตั้งระบอบสังคมนิยม
ดวงดาว ๑๔ ดวงที่มีขนาดเท่ากันนั้น สื่อความหมายถึงความเสมอภาคและความสามัคคีของรัฐและมณฑล ๑๔ แห่ง
สีขาวในธงชาติหมายถึงความสะอาดบริสุทธิ์ สีแดงหมายถึงความกล้าหาญเด็ดเดี่ยว
สีน้ำเงินบนมุมบนด้านซ้ายของธงชาติหมายถึงสันติภาพและความสุขุม
พวกเราเคารพธงชาติโดยจะรำลึกอยู่เสมอว่าจะช่วยกันดำรงสัจจะต่อชาติและร่วมกันปกป้องเอกราช
รูปลักษณ์ของธงชาติพม่าสะท้อนรูปแบบของการปกครองและอุดมการณ์ของชาติ กล่าวคือธงชาติได้สื่อความหมาย “สาธารณรัฐสังคมนิยมแห่งสหภาพเมียนมา” โดยกำหนดดวงดาว ๑๔ ดวงให้มีขนาดเท่ากันรวมตัวอยู่บนผืนธง เพื่อแสดงถึงความเป็นหนึ่งเดียวและความเท่าเทียมกันของรัฐ ๗ รัฐซึ่งเป็นพื้นที่อาศัยดั้งเดิมของชนชาติส่วนน้อย และมณฑล ๗ มณฑลซึ่งเป็นที่อาศัยของชนชาติพม่าซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ และธงชาติยังสะท้อนภาพสังคมชาวนาและกรรมกรให้เป็นชนชั้นรากฐานของสังคมในรูปของรวงข้าวกับฟันเฟือง อย่างไรก็ตามในปัจจุบันพม่ามิได้เน้นความสำคัญของชนชั้นรากฐานดังกล่าวอีกแล้ว เพราะระบอบสังคมนิยมกำลังถูกแทนที่ด้วยระบอบประชาธิปไตยในแนวทางที่รัฐบาลทหารจะกำหนด
สำหรับสีของธงชาติพม่านั้นจะใช้สื่อความหมายทางจิตใจ กล่าวคือการมีจิตใจอันบริสุทธิ์หมดจดอย่างชาวพุทธ การมีความกล้าหาญเด็ดเดี่ยวอย่างนักรบที่ร่วมสร้างชาติและกอบกู้เอกราช และการมีความรักในสันติภาพ เพื่อชนทุกเผ่าพันธุ์จักได้อาศัยร่วมแผ่นดินเดียวกันอย่างสงบสุข
ในปัจจุบันพม่าได้เปลี่ยนรูปแบบการปกครองจากระบอบสังคมนิยมมาเป็นระบอบข้าราชการที่มีกองทัพเป็นกลไกหลัก ผู้นำสูงสุดได้เปลี่ยนจากประธานาธิบดีมาเป็นประธานประเทศ พร้อมกับยกเลิกรูปลักษณ์ของการเป็นสาธารณรัฐในวิถีสังคมนิยม หันมาเน้นความเป็นเอกภาพในรูปแบบสหภาพ นอกจากนี้อุดมการณ์ของชาติก็เน้นเรื่องจิตใจรักชาติและเผ่าพันธุ์ และจิตสำนึกแห่งสหภาพ เพื่อให้เป็นหัวใจของชาติ
ในการแสดงความเคารพธงชาติ หรือ อะเล-ปยุ(vg]t1x) ชาวพม่าจะยืนตรงโดยมือทั้งสองวางแนบกายพร้อมกับค้อมศีรษะเล็กน้อย สำหรับบางโรงเรียน การทำความเคารพธงชาติหน้าเสาธงจะกระทำเฉพาะในวันสำคัญเท่านั้น มิได้มีการยืนเข้าแถวหน้าเสาธงทุกเช้า โรงเรียนบางแห่งนักเรียนจะต้องร้องเพลงชาติวันละ ๒ หน คือ ในเวลาเช้าก่อนเข้าเรียนและในเวลาเย็นก่อนเลิกเรียน โดยอาจร้องพร้อมกันในห้องเรียนทุกชั้น ส่วนการเชิญธงขึ้นหรือลงจะมีนักเรียนทำหน้าที่ชักธงที่สนามหน้าโรงเรียน และหลังจากร้องเพลงชาติในตอนเช้าก็จะต้องท่องบทสวดพุทธคุณด้วย ส่วนในโรงภาพยนตร์นั้น จะมีการเปิดเพลงชาติก่อนเริ่มแสดงเช่นกันและทุกคนจะต้องยืนตรงจนกว่าเพลงชาติจะจบลง
เคยลองถามความเห็นจากชาวพม่าว่า ในเวลาร้องเพลงชาติทุกเช้า ทำไมโรงเรียนบางแห่งจึงไม่ให้นักเรียนยืนเข้าแถวพร้อมกันหน้าเสาธงในสนาม มีคำตอบว่าหากยืนชุมนุมกันเช่นนั้นทุกวัน อาจเป็นช่องทางก่อเหตุไม่สงบโดยฝ่ายต่อต้านรัฐบาล  และผู้บริหารโรงเรียนก็คงจะอุ่นใจกว่า นับเป็นเหตุผลที่ฟังแล้วน่าเห็นใจคนพม่า นี่อาจเป็นเพราะการคุมเข้มของรัฐมีมากเกินไป จนทำให้ชาวบ้านชอบตีความเรื่องต่างๆให้เป็นการเมืองไปหมด
วิรัช นิยมธรรม
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 15599เขียนเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2006 19:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 22:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่าน


ความเห็น

ช่วยย่อให้สั้นกว่านี้หน่อย

งง  อ่านม่ายรู้เรื่องเลยอ่ะจ่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท