ลายสัก
ในสมัยก่อนผู้ชายพม่านิยมสักลาย โดยนิยมสักที่เอวจนถึงหัวเข่า สีที่ใช้สักมักจะเป็นสีดำหรือสีน้ำเงินเข้ม และมีบ้างที่ใช้สีแดง พม่าเรียกลายสักว่า โท-กวีง ( 5b6td:'Nt) แปลตามศัพท์ว่า “วงสัก”หรืออาจเรียกว่า มีงจ่อง ( ,'NgEdk'N) แปลว่า “ ลายหมึก” หากสักไว้รอบเอวจะรียกว่า คาจ่อง (-jtgEdk'N ) ส่วนคำสำหรับ “ยันต์” ซึ่งนิยมสักไว้บนกายเช่นกันนั้น พม่าจะใช้ว่า อีง ( v'Nt )
มีตำนานเล่าว่าการสักนี้มีมาแต่สมัยศรีเกษตร เกิดจากนิมิตของพระสงฆ์นามว่า อูอุตมะสีรีมะเถร พระรูปนี้ฝันว่าได้พบอักขระในหนังสือบุดสัมฤทธิ์ ซึ่งได้มาจากท้องจรเข้ อักษรที่บันทึกนั้นเป็นอักษรวิเศษ จึงได้มีการลอกอักษรเหล่านั้นลงบนเนื้อหนังของคนด้วยสีแดงและดำ จนมาถึงในสมัยพุกาม พระนอกรีดฝ่ายอเยจีได้สักลายอักขระดังกล่าวให้กับชาวบ้าน ซึ่งเชื่อว่าได้กลายเป็นธรรมเนียมที่นิยมสืบต่อกันมา นอกจากนี้ข้อเขียนที่ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ จองตาตะดีงส่า ในปี ค.ศ. ๑๙๔๐ กล่าวไว้ว่า การสักลายของพม่าพบในสมัยพระเจ้าโพด่อพญา ( ค.ศ.๑๑๔๓ – ๑๑๘๑ ) วิธีสักลายนิยมสักจากเอวจนถึงหัวเข่า ส่วนเหตุที่ชาวพม่านิยมสักลายกันนั้น เป็นเพราะในสมัยก่อน เวลาทำนาหรือออกรบผู้ชายมักจะต้องนุ่งผ้าถกเขมร ลายสักจึงถือเป็นเครื่องแสดงความเป็นลูกผู้ชาย และถือว่าผู้มีลายสักเป็นผู้ที่มีความอดทนและกล้าหาญ ดังนั้นผู้ชายที่ไม่สักลายมักจะถูกดูแคลน นั่นหมายรวมถึงอาจไม่เป็นที่หมายปองของหญิงสาวอีกด้วย
ในการสักลายนั้น นอกจากสักที่เอวจนถึงเข่าแล้ว ผู้ชายพม่ายังนิยมสักบนร่างกายส่วนอื่นอีก เช่น ที่ต้นคอ ไหล่ ท้ายทอย บางคนสักไว้ตามจุดสำคัญทั่วตัว เริ่มจากหัวจรดเท้า ด้วยเชื่อว่าเป็นการป้องกันอันตราย ทั้งยังอยู่ยงคงกระพัน และมีอำนาจจิต แบบที่พม่าเรียกว่า กายสิทธิ์ ( dkplbmbT ) และปิยสิทธิ (xuplbmbT ) นั่นคือสามารถทนไม้ ( 969Nexut ) ทนดาบ ( Tktwxut ) และทนโรค ( gik8jwxut ) ได้ ถ้าหากสักที่บริเวณปาก เชื่อว่าจะช่วยป้องกันพิษที่อาจจะติดมากับอาหารได้ด้วย และหากสักเป็นรูปแมวจะมีความคล่องแคล่วว่องไว เป็นต้น
สีสำหรับสักมีข้อแตกต่างกันที่ตำแหน่งสัก สีแดงจะสักบริเวณร่างกายตอนบนแถวหน้าอก คอและต้นแขน เป็นการสักเพื่อป้องกันงู ช่วยให้หนังเหนียว รวมถึงเพื่อความงาม รูปที่สักนิยมเป็นรูปเทพ นาค ครุฑ ยักษ์และกินรา หากเป็นสีดำจะสักจากบริเวณเอวลงมาถึงข้อเท้า โดยจะสักเป็นลายไม้เถา ในสมัยอังวะพบว่ามีการใช้สีดำสักบริเวณส่วนบนของร่างกาย
ในอดีต หนุ่มพม่าทุกคนจะต้องสักลายบนร่างกาย เล่ากันว่าในเวลาสักนั้น ผู้ถูกสักจะพยายามไม่แสดงสีหน้าเจ็บปวดและจะไม่ร้องโอดโอย เพราะกลัวถูกเย้ยหยันและน่าอับอาย ดังนั้นในเวลาสัก ผู้ถูกสักจึงต้องขบลูกหมากไว้ที่กรามเพื่อช่วยข่มอาการเจ็บปวด มีผู้บรรยายความรู้สึกจากการสักไว้ว่า “พอถึงย้อยก้นแทบอยากก่นหมอ” การสักลายจึงเป็นเรื่องทรมานกายมิใช่น้อย หากผ่านได้ก็ย่อมมีใจฮึกเหิม
ปัจจุบันการสักลายที่เอวจนถึงหัวเข่าไม่ค่อยเป็นที่นิยมของชาวพม่านัก การสักเป็นบางที่เพื่อคุ้มกันตัวนั้นยังคงมีสืบมาจนปัจจุบัน โดยมากยังนิยมในหมู่ชายฉกรรจ์ หรือแม้แต่พระสงฆ์ นอกจากนี้การสักเพื่อความงามหรือเพื่อความโก้เก๋ก็เป็นที่นิยมในหมู่วัยรุ่นบางกลุ่ม ปัจจุบันการบริการสักลายยังสามารถพบเห็นได้ในงานวัด แต่เป็นวิธีสักด้วยมอเตอร์ ผู้รับบริการสามารถเลือกลวดลายได้มากและใช้เวลาในการสักไม่นานนัก
ความนิยมการสักยันต์ยังพบมากในพื้นที่ชนบท โดยเฉพาะในพื้นที่ของรัฐฉาน และพบว่าผู้ชายพม่าที่อายุเกิน ๕๐ ไปแล้ว มักมีรอยสักไม่ที่ใดก็ที่หนึ่ง นั่นอาจเป็นเพราะเมื่อราว ๓๐ – ๔๐ ปีก่อน การสักยังคงเป็นที่นิยม และมักสักเป็นรูปสัตว์ อาทิ งู นาค แมว นกคุ้ม และจิ้งจก ทั้งยังพบว่ามีการสักเป็นรูปองค์เจดีย์และพระพุทธรูปหรืออาจเป็นคาถาหรืออักษร อาทิ อรหัง (vis" ) หรือ สัตติ (l9b9 ) เป็นต้น สำหรับรูปพระและเจดีย์นั้น เข้าใจว่าสักกันเมื่อตอนบวชเป็นพระ สัญลักษณ์ทางพุทธศาสนาจึงได้กลายเป็นยันต์ไปด้วย
สำหรับในกรณีที่สักเป็นรูปจิ้งจกนั้น มีเรื่องเล่าว่า ในอดีตมีจอมขโมยหรืออาจเรียกว่าจอมโจรผู้หนึ่ง นามว่า งะแต๊ะปยา ('9dNexkt ) ชายผู้นี้เป็นขโมยชั้นยอดจนถูกขนานนามว่า ขโมยแห่งราชสำนัก(ooNt9:'Ntl^-b6t ) งะแต๊ะปยาสามารถเหาะเหินและกระโดดไปมาได้ไกลอย่างจิ้งจก และชอบที่จะขโมยสิ่งของจากผู้ที่คดโกงหรือเศรษฐีขี้เหนียว เพื่อมาแจกจ่ายให้กับคนยากจน เหตุที่จอมขโมยผู้นี้มีฤทธิ์มาก ก็เนื่องเพราะที่ตนมีลายสักรูปจิ้งจกไว้ที่หน้าขาทั้งสองข้าง ขาข้างหนึ่งสักเป็นรูปจิ้งจกหันหัวขึ้น ส่วนอีกข้างหนึ่งเป็นรูปจิ้งจกหันหัวลง เวลาจะกระโดดขึ้นก็จะตบที่หน้าขาตรงที่จิ้งจกหันหัวขึ้น เวลาจะกระโดดลงก็จะตบที่หน้าขาอีกด้าน งะแต๊ะปยา จึงเปรียบเป็นโรบินฮูดของพม่า หากแต่ว่างะแต๊ะปยาเป็นคนมีร่างผอม ขี้ริ้วและจมูกแหลม พอปัจจุบัน เมื่อเอ่ยถึง งะแต๊ะปยา ชาวพม่ามักจะนึกไปถึงพวกหัวขโมยมากกว่าจอมโจร ดังนั้นคนที่สักลายจิ้งจกแบบงะแต๊ะปยาจึงอาจถูกล้อและท้าให้แสดงฤทธิ์อย่างงะแต๊ะปยา แถมยังแช่งชักว่าเวลาตบที่ลายจิ้งจกหัวลง ตัวจะหล่นฮวบทะลุดินจ่มดิ่งถึงนรก การล้อเลียนผู้ที่มีลายสักจึงมีส่วนลดความเชื่อถือในฤทธิ์หรือเสน่ห์ของลายสักลงไปมาก
วิรัช นิยมธรรม
ในสมัยก่อนผู้ชายพม่านิยมสักลาย โดยนิยมสักที่เอวจนถึงหัวเข่า สีที่ใช้สักมักจะเป็นสีดำหรือสีน้ำเงินเข้ม และมีบ้างที่ใช้สีแดง พม่าเรียกลายสักว่า โท-กวีง ( 5b6td:'Nt) แปลตามศัพท์ว่า “วงสัก”หรืออาจเรียกว่า มีงจ่อง ( ,'NgEdk'N) แปลว่า “ ลายหมึก” หากสักไว้รอบเอวจะรียกว่า คาจ่อง (-jtgEdk'N ) ส่วนคำสำหรับ “ยันต์” ซึ่งนิยมสักไว้บนกายเช่นกันนั้น พม่าจะใช้ว่า อีง ( v'Nt )
มีตำนานเล่าว่าการสักนี้มีมาแต่สมัยศรีเกษตร เกิดจากนิมิตของพระสงฆ์นามว่า อูอุตมะสีรีมะเถร พระรูปนี้ฝันว่าได้พบอักขระในหนังสือบุดสัมฤทธิ์ ซึ่งได้มาจากท้องจรเข้ อักษรที่บันทึกนั้นเป็นอักษรวิเศษ จึงได้มีการลอกอักษรเหล่านั้นลงบนเนื้อหนังของคนด้วยสีแดงและดำ จนมาถึงในสมัยพุกาม พระนอกรีดฝ่ายอเยจีได้สักลายอักขระดังกล่าวให้กับชาวบ้าน ซึ่งเชื่อว่าได้กลายเป็นธรรมเนียมที่นิยมสืบต่อกันมา นอกจากนี้ข้อเขียนที่ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ จองตาตะดีงส่า ในปี ค.ศ. ๑๙๔๐ กล่าวไว้ว่า การสักลายของพม่าพบในสมัยพระเจ้าโพด่อพญา ( ค.ศ.๑๑๔๓ – ๑๑๘๑ ) วิธีสักลายนิยมสักจากเอวจนถึงหัวเข่า ส่วนเหตุที่ชาวพม่านิยมสักลายกันนั้น เป็นเพราะในสมัยก่อน เวลาทำนาหรือออกรบผู้ชายมักจะต้องนุ่งผ้าถกเขมร ลายสักจึงถือเป็นเครื่องแสดงความเป็นลูกผู้ชาย และถือว่าผู้มีลายสักเป็นผู้ที่มีความอดทนและกล้าหาญ ดังนั้นผู้ชายที่ไม่สักลายมักจะถูกดูแคลน นั่นหมายรวมถึงอาจไม่เป็นที่หมายปองของหญิงสาวอีกด้วย
ในการสักลายนั้น นอกจากสักที่เอวจนถึงเข่าแล้ว ผู้ชายพม่ายังนิยมสักบนร่างกายส่วนอื่นอีก เช่น ที่ต้นคอ ไหล่ ท้ายทอย บางคนสักไว้ตามจุดสำคัญทั่วตัว เริ่มจากหัวจรดเท้า ด้วยเชื่อว่าเป็นการป้องกันอันตราย ทั้งยังอยู่ยงคงกระพัน และมีอำนาจจิต แบบที่พม่าเรียกว่า กายสิทธิ์ ( dkplbmbT ) และปิยสิทธิ (xuplbmbT ) นั่นคือสามารถทนไม้ ( 969Nexut ) ทนดาบ ( Tktwxut ) และทนโรค ( gik8jwxut ) ได้ ถ้าหากสักที่บริเวณปาก เชื่อว่าจะช่วยป้องกันพิษที่อาจจะติดมากับอาหารได้ด้วย และหากสักเป็นรูปแมวจะมีความคล่องแคล่วว่องไว เป็นต้น
สีสำหรับสักมีข้อแตกต่างกันที่ตำแหน่งสัก สีแดงจะสักบริเวณร่างกายตอนบนแถวหน้าอก คอและต้นแขน เป็นการสักเพื่อป้องกันงู ช่วยให้หนังเหนียว รวมถึงเพื่อความงาม รูปที่สักนิยมเป็นรูปเทพ นาค ครุฑ ยักษ์และกินรา หากเป็นสีดำจะสักจากบริเวณเอวลงมาถึงข้อเท้า โดยจะสักเป็นลายไม้เถา ในสมัยอังวะพบว่ามีการใช้สีดำสักบริเวณส่วนบนของร่างกาย
ในอดีต หนุ่มพม่าทุกคนจะต้องสักลายบนร่างกาย เล่ากันว่าในเวลาสักนั้น ผู้ถูกสักจะพยายามไม่แสดงสีหน้าเจ็บปวดและจะไม่ร้องโอดโอย เพราะกลัวถูกเย้ยหยันและน่าอับอาย ดังนั้นในเวลาสัก ผู้ถูกสักจึงต้องขบลูกหมากไว้ที่กรามเพื่อช่วยข่มอาการเจ็บปวด มีผู้บรรยายความรู้สึกจากการสักไว้ว่า “พอถึงย้อยก้นแทบอยากก่นหมอ” การสักลายจึงเป็นเรื่องทรมานกายมิใช่น้อย หากผ่านได้ก็ย่อมมีใจฮึกเหิม
ปัจจุบันการสักลายที่เอวจนถึงหัวเข่าไม่ค่อยเป็นที่นิยมของชาวพม่านัก การสักเป็นบางที่เพื่อคุ้มกันตัวนั้นยังคงมีสืบมาจนปัจจุบัน โดยมากยังนิยมในหมู่ชายฉกรรจ์ หรือแม้แต่พระสงฆ์ นอกจากนี้การสักเพื่อความงามหรือเพื่อความโก้เก๋ก็เป็นที่นิยมในหมู่วัยรุ่นบางกลุ่ม ปัจจุบันการบริการสักลายยังสามารถพบเห็นได้ในงานวัด แต่เป็นวิธีสักด้วยมอเตอร์ ผู้รับบริการสามารถเลือกลวดลายได้มากและใช้เวลาในการสักไม่นานนัก
ความนิยมการสักยันต์ยังพบมากในพื้นที่ชนบท โดยเฉพาะในพื้นที่ของรัฐฉาน และพบว่าผู้ชายพม่าที่อายุเกิน ๕๐ ไปแล้ว มักมีรอยสักไม่ที่ใดก็ที่หนึ่ง นั่นอาจเป็นเพราะเมื่อราว ๓๐ – ๔๐ ปีก่อน การสักยังคงเป็นที่นิยม และมักสักเป็นรูปสัตว์ อาทิ งู นาค แมว นกคุ้ม และจิ้งจก ทั้งยังพบว่ามีการสักเป็นรูปองค์เจดีย์และพระพุทธรูปหรืออาจเป็นคาถาหรืออักษร อาทิ อรหัง (vis" ) หรือ สัตติ (l9b9 ) เป็นต้น สำหรับรูปพระและเจดีย์นั้น เข้าใจว่าสักกันเมื่อตอนบวชเป็นพระ สัญลักษณ์ทางพุทธศาสนาจึงได้กลายเป็นยันต์ไปด้วย
สำหรับในกรณีที่สักเป็นรูปจิ้งจกนั้น มีเรื่องเล่าว่า ในอดีตมีจอมขโมยหรืออาจเรียกว่าจอมโจรผู้หนึ่ง นามว่า งะแต๊ะปยา ('9dNexkt ) ชายผู้นี้เป็นขโมยชั้นยอดจนถูกขนานนามว่า ขโมยแห่งราชสำนัก(ooNt9:'Ntl^-b6t ) งะแต๊ะปยาสามารถเหาะเหินและกระโดดไปมาได้ไกลอย่างจิ้งจก และชอบที่จะขโมยสิ่งของจากผู้ที่คดโกงหรือเศรษฐีขี้เหนียว เพื่อมาแจกจ่ายให้กับคนยากจน เหตุที่จอมขโมยผู้นี้มีฤทธิ์มาก ก็เนื่องเพราะที่ตนมีลายสักรูปจิ้งจกไว้ที่หน้าขาทั้งสองข้าง ขาข้างหนึ่งสักเป็นรูปจิ้งจกหันหัวขึ้น ส่วนอีกข้างหนึ่งเป็นรูปจิ้งจกหันหัวลง เวลาจะกระโดดขึ้นก็จะตบที่หน้าขาตรงที่จิ้งจกหันหัวขึ้น เวลาจะกระโดดลงก็จะตบที่หน้าขาอีกด้าน งะแต๊ะปยา จึงเปรียบเป็นโรบินฮูดของพม่า หากแต่ว่างะแต๊ะปยาเป็นคนมีร่างผอม ขี้ริ้วและจมูกแหลม พอปัจจุบัน เมื่อเอ่ยถึง งะแต๊ะปยา ชาวพม่ามักจะนึกไปถึงพวกหัวขโมยมากกว่าจอมโจร ดังนั้นคนที่สักลายจิ้งจกแบบงะแต๊ะปยาจึงอาจถูกล้อและท้าให้แสดงฤทธิ์อย่างงะแต๊ะปยา แถมยังแช่งชักว่าเวลาตบที่ลายจิ้งจกหัวลง ตัวจะหล่นฮวบทะลุดินจ่มดิ่งถึงนรก การล้อเลียนผู้ที่มีลายสักจึงมีส่วนลดความเชื่อถือในฤทธิ์หรือเสน่ห์ของลายสักลงไปมาก
วิรัช นิยมธรรม