พม่าเรียกเส้นผมว่า สะบีง ผู้หญิงพม่าจะให้ความสำคัญต่อเรือนผมเพราะถือว่าเป็นสิ่งบ่งถึงความงามอย่างหนึ่งเช่นเดียวกับผิวพรรณ
ผมและทรงผม
พม่าเรียกเส้นผมว่า
สะบีง ( C"x'N )
ผู้หญิงพม่าจะให้ความสำคัญต่อเรือนผมเพราะถือว่าเป็นสิ่งบ่งถึงความงามอย่างหนึ่งเช่นเดียวกับผิวพรรณ
ชาวพม่าถือว่าผมที่งามจะต้องมีสีดำขลับดุจแมลงภู่ หรือบะโดง (
xb96oNt) และเรือนผมที่จัดว่าสวยจะปล่อยยาวจนถึงน่องหรือข้อเท้า
ผู้หญิงที่มีผมงามจะถูกขนานนามว่า แม่เกศาวดี (gdlk;9u ) หรือเกศามรกต
(w,gdlk ) แม้ปัจจุบันจะเริ่มมีความนิยมตัดผมสั้นกันบ้างแล้ว
แต่ผู้หญิงพม่าจำนวนไม่น้อยยังมีความเห็นว่าผู้หญิงที่ไว้ผมยาวจะดูงามสมหญิงกว่าไว้ผมสั้น
และสำหรับผู้หญิงที่มีอาชีพครูนั้น
ส่วนมากจะนิยมไว้ผมยาวและมุ่นมวยผมจนดูเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของครูพม่า
ส่วนผู้ชายพม่านั้น เดิมเคยนิยมไว้ผมยาวเช่นกัน
โดยมุ่นผมเป็นมวยบนศรีษะและโพกด้วยผ้า
การมุ่นมวยผมแบบผู้ชายจะเรียกว่า หย่อง ( glYk'N )
ส่วนการเกล้ามวยผมอย่างผู้หญิงนั้นจะเรียกว่า สะโดง ( C"5"6t )
คำเรียกมวยผมซึ่งต่างกันนั้นได้กลายเป็นโวหารแสดงชายและหญิงดังมีถ้อยคำว่าหย่อง-เน้าก์–สะโดง–ป่า
( glYk'NgokdNC"5"6txj) แปลว่า “ตามหลังหย่องคือสะโดง”
ตีความได้ว่าฝ่ายหญิงต้องตามไปอยู่บ้านฝ่ายชายหลังแต่งงาน
พอมาถึงยุคอาณานิคม
ทรงผมสำหรับผู้ชายก็เริ่มเปลี่ยนมานิยมไว้รองทรงอย่างฝรั่ง
และเรียกทรงผมแบบนี้ว่า โบ่เก่ ( 4b6gd X คำว่า โบ่ Z 4b6 X
เป็นคำใช้สำหรับเรียกพวกอังกฤษ ส่วน เก่Z gd Xแปลว่า “ทรงผม”มาจากคำ
เกสา Z gdlk Xในภาษาบาลี พอผู้ชายหันมานิยมผมสั้น
ก็เลยไม่จำเป็นต้องโพกศรีษะอย่างเดิม
อย่างไรก็ตามผ้าโพกศรีษะนั้นก็พัฒามาเป็นเครื่องแต่งกายประจำชาติ
ที่เรียกว่า กองบองZ g-j'Ntgxj'Nt X
การสวมกองบองมักจะปล่อยชายผ้าไว้ด้านขวา แต่ถ้าเป็นนักแสดงแล้ว
ชายผ้าจะต้องอยู่ด้านซ้ายเสมอ เพราะในเวลาแสดงสีหน้า
นักแสดงมักจะหันหน้าด้านขวาให้กับผู้ชม และชายผ้าจะไม่บังใบหน้า
ปัจจุบันวัยรุ่นพม่าเริ่มนิยมทรงผมในหลายสไตร์
ส่วนมากจะเลียนแบบทรงผมจากดารา นักร้อง หรือคนดัง
ทรงผมที่ผู้ชายนิยมกันในตอนนี้เป็นรองทรงสั้นแบบพระเอกภาพยนตร์เช่นทรงด่วย
(gm:tgd X หรือแบบนักร้องชายเช่น ทรงสี่ตู่-ลวีง Z0PNl^]:'Ngd)
ส่วนผู้หญิงก็นิยม ทรงไดอะนา Z Diana gd X ทรงโซเมียะนันดาZ
0b6tw,9NoOmkgd X เป็นต้น
ซึ่งส่วนใหญ่ดารานักร้องของพม่าก็มักเลียนแบบทรงผมจากดารานักร้องวัยรุ่นของไทย
ในการดูแลผิวพรรณนั้น สาวพม่านิยมใช้แป้งตะนะคา (loxN-jtX
ส่วนเรือนผมจะใช้สมุนไพรที่เรียกว่า ตะหย่อ-กี่งมูน คำว่า
กี่งมูน Zd'Nx:oNt X หมายถึงส้มป่อย และตะหย่อ Z 9gikN X
เป็นเปลือกใม้ชนิดหนึ่งที่ช่วยให้เกิดฟอง
กรรมวิธีการทำก็โดยนำสมุนไพร ๒
อย่างนี้มาผสมกันและแช่น้ำทิ้งไว้
ยาสระผมชนิดนี้อาจหาซื้อได้ทั่วไป
ขายบรรจุถุงพลาสติกขนาดถุงกาแฟ ราคาถุงละ ๕-๘ จั๊ต
ยาสระผมชนิดนี้เก็บได้เพียง ๓-๔ วันเท่านั้น
ชาวพม่าเชื่อว่าการสระผมด้วยสมุนไพรดังกล่าวจะช่วยให้ไม่ร้อนศรีษะ
ทำไห้ผมแข็งแรง ไม่ร่วงง่าย
นอกจากนี้ชาวพม่ายังนิยมใช้น้ำมันมะพร้าวหรือ โองสี่ ( v6oNtCu X
ทาเส้นผมอีกด้วย เพื่อให้ผมเป็นมัน มีกลิ่นหอม
และจัดทรงง่าย
ในการสระผมนั้น ชาวพม่ากำหนดไว้ว่าควรสระในเวลาสาย บ่าย
หรือในเวลาที่มีแดด และห้ามสระในเวลาพลบค่ำหรือกลางคืน
หรือเวลาที่เพิ่งโดนแดดกลับมา เพราะจะทำให้ไม่สบายได้ง่าย
ส่วนวันตัดผมนั้น ชาวพม่ามีความเชื่อว่า ไม่ควรตัดผมในวันจันทร์
วันศุกร์และวันเกิดของตน
หากกล่าวถึงร้านตัดผมหรือ สั่งต้ะส่าย ( C"lCb6'NXในประเทศพม่านั้น
มีทั้งร้านตัดผมระดับชาวบ้าน และร้านตัดผมแบบมีระดับ
นอกจากนี้พม่ายังมีช่างตัดผมเร่
ซึ่งจะเที่ยวเดินหาลูกค้าไปตามละแวกบ้าน
หรือคอยบริการลูกค้าบนทางเท้าในย่านตัวเมือง
ช่างตัดผมเร่มักจะสะพายย่ามหรือหิ้วกล่องไม้ใส่เครื่องมือตัดผมไม่มากชิ้น
อาทิ กรรไกร หวี และไม้ปั่นหู คิดราคาค่าบริการไม่กี่จั๊ต
ส่วนการตัดผมตามร้านนั้น หากเป็นร้านระดับชาวบ้าน
มักจะทำเป็นเรือนหรือห้องเล็กๆอยู่ตามย่านชุมชน
หรือไม่ก็ตั้งเป็นซุ้มอยู่ใต้ร่มไม้ ค่าบริการตกหัวละ ๘;-๑;; จั๊ต (
ราว ๘-๑; บาท) แต่ถ้าเป็นร้านมีระดับและติดแอร์จะตกราคาหัวละ ๕;;- ๘;;
จั๊ต ( ราว ๕;-๘; บาท)บางร้านมีบริการสระผมและนวดตัวด้วย
ชาวบ้านทั่วๆไปมองว่าคนที่ใช้เงินมากเกินควรในการตัดผมเป็นคนชอบความสำราญหรือ
เส่งขั่ง ( =b,N-"X
จึงพอเห็นได้ว่าพม่าส่วนใหญ่ยังต่อต้านการบริโภคที่ฟุ่มเฟือยหรือใช้จ่ายเกินความจำเป็น
ในส่วนของความเชื่อที่เกี่ยวกับผมนั้น พม่ามีหลายเรื่อง เช่น
ห้ามผู้หญิงสยายผมออกนอกบ้านในเวลาค่ำคืน
หากกินข้าวก่อนผู้ใหญ่ผมจะหงอกเร็ว
การถอนผมหงอกยิ่งจะทำให้มีผมหงอกมากขึ้น
นอกจากนี้ผู้หญิงพม่ายังนิยมถวายผมให้กับพระพุทธรูปและพระเจดีย์เพื่อกุศล
แต่ทราบว่าผู้หญิงมักจะถวายผมเมื่อถึงคราวเจ็บป่วย
ดังพบแขวนเป็นปอยผมไว้ใกล้ๆกับองค์พระ บางคนที่บวชชี
จะตัดผมถวายวัดโดยเก็บไว้ในตู้กระจก
ส่วนคนที่อยากมีผมสวยในภพหน้านั้น
กลับไม่นิยมเพียงถวายผมกับองค์พระ แต่ยังถวายไม้กวาดอีกด้วย
นับเป็นการสร้างกุศลอีกแบบเพื่อความงาม
วิรัช
นิยมธรรม