เมืองใหญ่


ในอดีตเมืองสำคัญของพม่าที่เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจมีอยู่ ๓ เมือง คือ ย่างกุ้ง ,มัณฑะเล,และเมาะลำไย
เมืองใหญ่
ในอดีตเมืองสำคัญของพม่าที่เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจมีอยู่ ๓ เมือง คือ ย่างกุ้ง (ioNd6oN) มัณฑะเล (,oµg]t) และเมาะลำไย(g,kN]1,b'N)พม่ามีคำกล่าวอยู่ว่า หากเอ่ยถึงอาหารต้องเมืองเมาะลำไย (g,kN]1,b'N v0kt) หากเอ่ยถึงภาษาต้องเมืองมัณฑะเล (,oµg]t 0dkt) และหากเอ่ยถึงความหรูหราน่าโอ้อวดก็ต้องเมืองย่างกุ้ง (ioNd6oN vEd:kt) ย่างกุ้งเป็นเมืองหลวงและเป็นเมืองใหญ่ลำดับหนึ่ง รองลงมาคือมัณฑะเล และเมาะลำไยตามลำดับ
เมืองเมาะลำไย(Mawlamyine) หรือที่ไทยเคยเรียกว่า เมาะลำเลิง หรือที่ฝรั่งเรียกว่า เมาะละแหม่ง(moulmein) นั้น เป็นเมืองท่าสำคัญของพม่ามาตั้งแต่ยุคอาณานิคม คือตั้งแต่อังกฤษยึดครองพื้นที่ตอนล่างของพม่าหลังสงครามพม่า-อังกฤษครั้งแรก (ค.ศ.๑๘๒๔) เมาะลำไยจึงเป็นเมืองหนึ่งที่ได้รับความเจริญแบบตะวันตกในช่วงแรกของยุคอาณานิคม ส่วนเหตุที่เมาะลำไยมีชื่อเสียงด้านอาหารการกินนั้น ก็เพราะเป็นเมืองท่าเก่าแก่ที่ตั้งอยู่ริมทะเล จึงมีอาหารทะเลให้เลือกมาก และเป็นชุมทางของสินค้าทางเรือ อีกทั้งเมาะลำไยยังขึ้นชื่อว่ามีผลไม้รสดี และยังเคยมีชื่อว่าเป็นเมืองสาวงาม เมาะลำไยมีอากาศดีและอาหารดี ชาวเมืองเมาะลำไยมีทั้งพม่า มอญ ยะไข่ กะเหรี่ยง ปะโอ ชาน แขก และจีน แต่ใช้ภาษาพม่าเป็นภาษากลาง สำเนียงพูดของชาวพม่าจากเมาะลำไยอาจหาฟังได้ไม่ยากหากไปเยือนแม่สอด
มัณฑะเล(Mandalay)เป็นราชธานีเมื่อปี ค.ศ. ๑๘๕๗ ในสมัยพระเจ้ามินดง และเป็นราชธานีสุดท้ายก่อนสิ้นยุคราชวงศ์ของพม่า ชาวพม่าถือว่าสำเนียงมัณฑะเลเป็นสำเนียงภาษาพม่าที่แท้และดั้งเดิม เพราะมัณฑะเลอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงกับราชธานีโบราณอื่นๆของพม่า อาทิ พุกาม อังวะ รัตนะสิงฆ์(ชเวโบ) และอมรปุระ ในอดีตชาวมัณฑะเลไม่ค่อยมีคนต่างเผ่าเข้ามาอาศัยปะปนมากนัก แต่พอมัณฑะเลขยายตัวในฐานะศูนย์กลางทางการค้าและการคมนาคมของพม่าตอนเหนือ คนมัณฑะเลจึงเริ่มพูดกันหลายสำเนียง และมีจำนวนไม่น้อยที่พูดภาษาพม่าไม่ชัดด้วยซ้ำ มัณฑะเลจึงเริ่มกลายเป็นชุมชนของชนหลายชาติพันธุ์ เหตุนี้คำกล่าวที่ว่าสำเนียงมัณฑะเลเป็นสำเนียงพม่าขนานแท้จึงเริ่มลดความขลังลงไปมาก
ส่วนย่างกุ้ง(Yangon)นั้นเป็นเมืองหลวงของพม่า และเป็นศูนย์กลางทางการปกครอง เศรษฐกิจ การศึกษา และเทคโนโลยีสมัยใหม่มาตั้งแต่สมัยอาณานิคม (ค.ศ.๑๘๕๒–๑๙๔๘) สิ่งแปลกใหม่จึงเข้าสู่พม่าผ่านย่างกุ้ง และสินค้าจากท้องถิ่นต่างๆของพม่าก็ไหลเวียนมารวมตัวอยู่ ณ ย่างกุ้งก่อนจะกระจายไปยังพื้นที่อื่นหรือส่งยังต่างประเทศ และแม้แต่ผู้ยึดอาชีพทางศิลปะการแสดงสาขาต่างๆต่างมุ่งหน้ามาทำมาหากินกันที่ย่างกุ้ง ย่างกุ้งจึงเปรียบเป็นหัวใจของแผ่นดินพม่า มีผู้ตั้งข้อสังเกตุว่าก่อนที่พระเจ้าอลองพญาของพม่าจะยึดย่างกุ้งได้ในปี ค.ศ. ๑๗๕๕ ชาวย่างกุ้งน่าจะพูดภาษามอญเป็นหลักมาก่อน และหลังจากที่อังกฤษเข้ายึดครองย่างกุ้งในปี ค.ศ. ๑๘๕๒ ภาษาย่างกุ้งซึ่งอยู่ในพื้นที่ตอนล่างจึงค่อยๆยกระดับเป็นสำเนียงมาตรฐานข่มชาวมัณฑะเลเจ้าของสำเนียงพม่าดั้งเดิม ปัจจุบันสำเนียงมัณฑะเลจึงเป็นเพียงสำเนียงชาวบ้านสำเนียงหนึ่ง ในขณะที่สำเนียงย่างกุ้งที่เชื่อว่าปนน้ำเสียงมอญนั้นได้กลายเป็นสำเนียงชาวเมืองแทน
อย่างไรก็ตาม ชาวมัณฑะเลมักภาคภูมิใจและนิยมในท้องถิ่นตน บ้างมองว่าชาวย่างกุ้งขี้อวด ชอบทำตัวนำสมัย ใช้ของฟุ่มเฟือย ต่างจากมัณฑะเลที่มีสายเลือดพม่าแท้ๆ มีสำเนียงไพเราะนุ่มนวล สุภาพอ่อนโยน ช่างโอภาปราศรัย ไม่พูดห้วนอย่างคนย่างกุ้ง ที่เป็นเมืองสุมผู้คนไร้หลักแหล่ง (xy"dy1,bh) จึงยุ่งเหยิง คนมักแล้งน้ำใจ บ้างว่าคนย่างกุ้งเอาแต่แต่งตัวและปล่อยบ้านช่องให้รกรุงรัง อย่างไรก็ตามขณะนี้ต่างยอมรับกันว่ามัณฑะเลก็เริ่มจะมีสภาพไม่ต่างไปจากย่างกุ้งมากขึ้นเรื่อยๆเพราะคนต่างถิ่นต่างเผ่าเข้ามาอาศัย กระนั้นก็ภูมิใจที่มัณฑะเลคือเมืองแห่งราชสำนักในอดีต ส่วนชาวย่างกุ้งอาจภูมิใจว่าเป็นเมืองแห่งความทันสมัย และเมาะลำไยนั้นคือประตูสู่ทักษิณที่ยังมีชื่อด้านอาหารการกินเช่นเดิม
หากถามว่าสิ่งใดคือเอกลักษณ์ท้องถิ่นของเมืองอื่นๆในพม่าบ้างเล่า ชาวพม่าอาจจะเคยนึกถึงเจดีย์และพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ประจำเมืองเป็นลำดับแรก แต่หลังจากที่พม่าเปลี่ยนวิถีเศรษฐกิจจากระบบสังคมนิยมมาเป็นระบบตลาด พร้อมกับได้มีความพยายามพัฒนาการเกษตร การชลประทาน การคมนาคมขนส่ง ตลอดจนความปลอดภัยในชีวิต ผลิตภัณฑ์จากท้องถิ่นจึงถูกกล่าวถึงไม่แพ้ศาสนสถาน ทั้งนี้เพราะระบบตลาดเปิดซึ่งมิได้ผูกขาดโดยรัฐอีกต่อไปและการคมนาคมที่สะดวกขึ้นกว่าเดิมได้ทำให้การค้าในระดับท้องถิ่นมีการขยายตัวมากขึ้น หลายเมืองกลายเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจด้วยภาพลักษณ์ของสินค้าท้องถิ่นที่แตกต่างกันไป
สินค้าท้องถิ่นที่ส่งขายไปทั่วประเทศได้ทำให้เมืองต่างๆมีเอกลักษณ์ของตัว อาทิ ย่าม(]:pNvb9N)จากตองจี, โสร่ง(x6C6bt)จากเมืองยอและยะไข่, รองเท้า(zboxN)จากมัณฑะเล, ร่ม(5ut)จากพะสิม แป้งตะนาคา(loxN-jt)จากชเวโบและฉี่งมะตอง, กะปิปลาร้า('jtxb)และน้ำปลา('"exkiPN)จากมะริด ทะวาย และยะไข่, ทุเรียน(m^ti'Nt) เงาะ(EddNg,kdNlut) และมังคุด(,'Nt8:9N) จากเมาะลำไย, มะม่วงอกร่อง(i'Nd:c)จากมัณฑะเล, กล้วยหอม(lutg,;­t)จากตองอู, น้อยหน่า(El=klut)จากหม่อซาที่เมืองแปร, สับปะรด(oko9N)จากมะเย่าก์อูที่รัฐยะไข่, ส้ม(]bg,ÁkN)จากอ่องปาง(gvk'NxoNt)ที่เมืองตองจี, มะเขือเทศจากทะเลสาปอีงเลในรัฐฉาน, ส้มโอ (dc°gdklut)จากไต้จี(96bdNEdut)ในภาคย่างกุ้งและเมืองเมาะลำไย, แตงโม(ziclut)จากได้อู(m6bdNFt)ในภาคพะโค เป็นต้น
ปัจจุบัน สินค้าท้องถิ่นจึงช่วยให้เมืองหลายเมืองมีชื่อในทางเศรษฐกิจ   และสินค้าท้องถิ่นที่เห็นวางจำหน่ายในพม่านั้น ก็บอกถึงแหล่งผลิตและเส้นทางขนส่งที่โยงใยเมืองสำคัญไว้ และที่น่าสนใจ เอกลักษณ์ท้องถิ่นของเมืองต่างๆในพม่าได้รวมเอาสินค้าจากท้องถิ่นไว้ด้วย นอกเหนือจากเจดีย์และพระพุทธรูปสำคัญ
วิรัช นิยมธรรม
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 15597เขียนเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2006 19:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 12:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท