เมียนมา : นามใหม่ของพม่าในทัศนะเชิงชาตินิยม


Burma เป็นชื่อประเทศพม่าที่รู้จักกันเป็นอย่างดีในระดับสากล แต่เมื่อประเทศพม่าได้ปรับเปลี่ยนแนวทางจากระบอบสังคมนิยมที่ปกครองประเทศมาเป็นระยะเวลาร่วม ๓ ทศวรรษ
เมียนมา : นามใหม่ของพม่าในทัศนะเชิงชาตินิยม
Burma เป็นชื่อประเทศพม่าที่รู้จักกันเป็นอย่างดีในระดับสากล แต่เมื่อประเทศพม่าได้ปรับเปลี่ยนแนวทางจากระบอบสังคมนิยมที่ปกครองประเทศมาเป็นระยะเวลาร่วม ๓ ทศวรรษ มาสู่ระบบเศรษฐกิจกึ่งเสรีภายใต้การกำกับดูแลของรัฐบาลพม่าอย่างใกล้ชิดนั้น พม่าได้บอกให้โลกเรียกนามประเทศของตนเสียใหม่ว่า Myanmar พร้อมกับให้เหตุผลเชิงต่อต้านอำนาจจากต่างชาติว่า ชื่อ Burma ที่ใช้อยู่นั้น เป็นชื่อที่ชาวตะวันตกกำหนดเอาตามชอบ หาใช่นามที่พม่าควรต้องยอมรับ จึงดูประหนึ่งว่าพม่าต้องการประกาศให้โลกตระหนักว่าพม่าต้องการก้าวไปในแนวทางของตน โดยไม่ประสงค์ให้มีการแทรกแซงจากภายนอก เหมือนที่พม่าเคยประสบมาแต่อดีต ในบทนี้จึงขอเสนอข้อเท็จจริงจากมุมมองของพม่า ที่อ้างถึงความเป็นมาของชื่อใหม่นี้ นัยว่าเป็นนามเดิมของประเทศตนก่อนที่จะมีการเรียกผิดเพี้ยนเป็นสำเนียงต่างด้าวตามที่เป็นอยู่
หากย้อนถอยหลังไปเมื่อปีพ.ศ.๒๕๓๒ (ค.ศ.๑๙๘๙) ได้มีประกาศในจดหมายข่าวของราชบัณฑิตยสถานของไทย ประจำเดือนมิถุนายนของปีนั้น แถลงถึงนามใหม่ของประเทศพม่า ความว่า เมื่อกลางปี พ.ศ. ๒๕๓๒ สถานเอกอัครราชทูตพม่าประจำประเทศไทยได้มีหนังสือแจ้งมายังกระทรวงการต่างประเทศของไทย ถึงการเปลี่ยนแปลงชื่อประเทศพม่าจากเดิมคือ The Union of Burma เป็น The Union of Myanmar นั่นคือให้เปลี่ยนจาก สหภาพพม่า เป็น สหภาพเมียนมานั่นเอง แต่ราชบัณฑิตยสถาน โดยคณะกรรมการบัญญัติศัพท์ภาษาไทยเห็นว่า คนไทยรู้จักและมีความสัมพันธ์ทางประวัติศาสตร์กับประเทศนี้ในชื่อว่า พม่า มาแต่โบราณกาล จึงเห็นควรให้คงเรียกชื่อประเทศดังกล่าวในภาษาไทยอย่างเป็นทางการว่า "สหภาพพม่า" ตามที่เคยใช้มาแต่เดิม เช่นเดียวกับที่เรียกชื่อประเทศอื่นๆอีกมากมายโดยไม่ตรงกับชื่อภาษาอังกฤษของประเทศนั้น เช่น จีน (China) ญี่ปุ่น (Japan) โปรตุเกส (Portugal) อังกฤษ (England) ฝรั่งเศส (France) นั่นคือราชบัณฑิตยสถานมิได้บัญญติคำใหม่สำหรับชื่อ Myanmar ในภาษาไทย หากให้คงใช้ว่า "พม่า" ตามเดิม
ที่จริงประเทศพม่าได้เปลี่ยนชื่อประเทศของตนมาแล้ว ๒ - ๓ ครั้ง ครั้งแรกเมื่อประเทศพม่าได้เอกราชในปีพ.ศ.๒๔๙๑ (ค.ศ. ๑๙๔๘) เคยใช้ชื่อว่า The Union of Burma (สหภาพพม่า) ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๑๗ (ค.ศ.๑๙๗๔) รัฐบาลพม่าได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญตามแนวทางสังคมนิยมอย่างเป็นทางการ พร้อมกับประกาศเปลี่ยนชื่อประเทศเป็น The Socialist Republic of the Union of Burma (สาธารณรัฐสังคมนิยมแห่งสหภาพพม่า) พม่าใช้ชื่อนี้เรื่อยมา จนเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๑ (ค.ศ.๑๙๘๘) จึงได้กลับไปใช้ชื่อเดิมเหมือนเมื่อครั้งได้รับเอกราช คือ The Union of Burma คือตัดคำ "สาธารณรัฐสังคมนิยม"ออกไป ทั้งนี้เป็นด้วยเพราะพม่าได้ยกเลิกแนวทางเศรษฐกิจสังคมนิยม หันมาดำเนินนโยบายเศรษฐกิจตามกลไกตลาด ที่เปิดเสรีทางการค้ามากขึ้น แต่ในปีถัดมา คือ พ.ศ. ๒๕๓๒ (ค.ศ. ๑๙๘๙) พม่ากลับประกาศชื่อประเทศใหม่อีกเป็นครั้งล่าสุดเป็น The Union of Myanmar ในช่วงแรกนั้นได้มีข้อกังขาอยู่มากเกี่ยวกับการเปลี่ยนชื่อใหม่ของประเทศพม่าครั้งนี้ อาทิ ไม่ทราบว่ารัฐบาลสล็อร์กของพม่าได้ชื่อนี้มาอย่างไร มี ข้อเท็จจริงอะไรสนับสนุนให้ต้องกำหนดชื่อประเทศเป็นเมียนมา และทำไมต้องเลิกใช้ Burma ที่เคยใช้มาก่อนนั้น เพื่อความชัดเจนในประเด็นนี้ การสอบค้นข้อมูลทางฝ่ายพม่าโดยตรงจะช่วยให้ความกระจ่างในการเปลี่ยนชื่อประเทศตามกล่าว
เมียนมากับชื่อบ้านนามเมืองที่แปรเปลี่ยน
จากการเรียกร้องประชาธิปไตยครั้งใหญ่ในพม่าเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๑ (ค.ศ.๑๙๘๘)นั้น มีผลให้พม่าได้ยกเลิกระบอบสังคมนิยมและมีการจัดระเบียบใหม่โดยสภาฟื้นฟูกฎระเบียบแห่งรัฐ หรือสล็อร์ก (SLORC) พร้อมกับมีความพยายามโดยรัฐในการปลุกสำนึกร่วมของชนในชาติ ดังในวันที่ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๓๒ (ค.ศ.๑๙๘๙) สล็อร์กได้ประกาศว่าจะเปลี่ยนชื่อประเทศพม่าที่เป็นภาษาอังกฤษให้ถูกต้องเหมาะสม ให้ตรงตามชื่อเดิมในภาษาพม่า โดยสล็อร์กได้ตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณาปรับเปลี่ยนชื่อเฉพาะ ตามคำสั่งที่ ๐๒๓/๐-๑ ลงวันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๓๒ มีอูจ่อซาน เป็นประธาน ต่อมาในวันที่ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๓๒ สล็อร์กได้ผ่านข้อกำหนดว่าด้วยการปรับเปลี่ยนถ้อยคำ (The Adaptation of Expressions Law) และในวันที่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๓๒ รัฐบาลพม่าได้ประกาศอย่างเป็นทางการผ่านวิทยุและโทรทัศน์ให้ใช้ชื่อประเทศพม่าในส่วนที่เป็นภาษาอังกฤษเสียใหม่ จากเดิมที่เขียนว่า Burma นั้น ให้เปลี่ยนมาใช้ Myanmar เป็นการถาวรสืบไป ทั้งนี้ด้วยเหตุผลที่ว่า คำว่า Burma นั้นเป็นชื่อที่ชาวต่างชาติเรียกกันผิดเพี้ยนมาตลอด ตามความพอใจของอังกฤษซึ่งเป็นเจ้าอาณานิคม สล็อร์กกล่าวว่าชาวพม่าได้หลงใช้ชื่อนี้ในระดับสากลมานาน จนแทบไม่ให้ความสำคัญต่อชื่อเมียนมา ซึ่งเป็นนามจริงของพม่า และยังใช้เป็นนามประเทศอย่างเป็นทางการในภาษาพม่ามาจนถึงปัจจุบัน
นอกจากประกาศชื่อประเทศใหม่แล้ว พม่ายังได้แก้ไขชื่อชนชาติ ชื่อรัฐ ชื่อเมือง ชื่อแม่น้ำบางชื่อเสียใหม่ให้ตรงตามสำเนียงพม่า อาทิ ชนเชื้อสายพม่าเปลี่ยนจาก Burman เป็น Bamar (r,k), แก้ไขชื่อรัฐกะเหรี่ยงที่เดิมเรียกว่า Karen เป็น Kayin(di'N) และเปลี่ยนชื่อรัฐอาระกันที่เดิมเรียกว่า Arakan เป็น Rakhine (i-6b'N) ซึ่งใกล้เคียงกับที่ไทยเรียกว่ารัฐยะไข่หรือระไข่ ชื่อเมืองสำคัญที่กำหนดเรียกใหม่ให้ถูกต้องได้แก่ เมืองร่างกุ้ง จากเดิมเรียกว่า Rangoon ให้เปลี่ยนเป็น Yangon (ioNd6oN) ซึ่งออกเสียงใกล้เคียงกับย่างกุ้งในภาษาไทย, แก้ไขชื่อเมืองพะโคหรือหงสาวดีจากเดิมว่า Pegu เป็น Bago (xc-^t), แก้ไขชื่อเมืองพุกามจากเดิม Pagan เป็น Bagan (x68"), แก้ไขชื่อเมืองเมาะละแหม่งจากเดิมว่า Moulmein เป็น Mawlamyine (g,kN]1,b'N) ซึ่งใกล้เคียงกับที่ไทยรู้จักในนามเมาะลำไยหรือเมาะลำเลิง, แก้ไขชื่อเมืองพะสิมจากเดิมว่า Bassein เป็น Pathein (x6lb,N), แก้ไขชื่อเมืองแปรจากเดิมว่า Prome เป็น Pyi (exPN), เปลี่ยนชื่อเมือง Akyab เมืองหลวงของรัฐยะไข่เป็น Sittwe (00Ng9:), เปลี่ยนชื่อเมือง Maymyo เมืองตากอากาศที่อังกฤษสร้างไว้ กลับไปใช้ชื่อเดิมเป็น Pyin Oo Lwin (ex'NFt]:'N) และเปลี่ยนชื่อเมือง Amherst เป็น Kyaikami (dy7bdข,u) เป็นอาทิ สำหรับชื่อแม่น้ำสายสำคัญที่แก้ไขใหม่ได้แก่ ชื่อแม่น้ำอิระวดีจากเดิมที่ฝรั่งเขียนว่า Irrawaddy เปลี่ยนเป็น Ayeyarwady (Vik;9u) แก้ไขชื่อแม่น้ำสาละวินจากเดิมว่า Salween เป็น Thanlwin (l"]:'N) แก้ไขชื่อแม่น้ำสะโตงจากเดิม Sittang เป็น Sittoung (00Ng9k'Nt) และแหลมวิคตอเรีย ที่ตั้งของเมืองเกาะสอง (gdkHglk'N) เปลี่ยนเป็นแหลม Bayinnaung (บุเรงนอง) นอกจากนี้ถนนและสถานที่ต่างๆที่มีชื่อเป็นฝรั่งก็ให้เปลี่ยนเป็นชื่อพม่าจนสิ้น
ชื่อใหม่เหล่านี้เป็นชื่อที่เปลี่ยนให้ตรงตามสำเนียงภาษาพม่า จึงไม่มีปัญหาสำหรับชาวพม่า เพราะเป็นชื่อที่ใช้กันอยู่แล้วเป็นส่วนใหญ่ ชื่อพม่ากับชื่อสากลจึงสอดคล้องกันมากขึ้น และนับว่าดีในแง่ที่จะได้สัมผัสกับสำเนียงพม่าที่แท้จริง เพราะที่ผ่านมามักเรียกกันตามฝรั่ง อย่างชื่อเมืองหลวงย่างกุ้งนั้น ฝรั่งว่าแรงกูน พม่าเองฟังดูไม่เป็นภาษาพม่า หลายชื่ออ่านยากสำหรับชาวพม่า โดยเฉพาะชื่อที่มีเสียง r ชาวพม่าทั่วไปออกเสียงนี้ได้ไม่ค่อยชัด มักกลายเป็น y หรือ l เว้นแต่ชาวพม่าที่มีการศึกษาจึงจะออกเสียงดังกล่าวได้ ดังนั้นชื่อรัฐกะเหรี่ยง (Karen) เมืองร่างกุ้ง (Rangoon) เมืองแปร (Prome) และอิระวดี (Irrawaddy) ซึ่งมีอักษร r ปรากฏอยู่ จึงให้เปลี่ยนมาสะกดตามสำเนียงพม่าด้วยอักษร y แทน ส่วนเหตุที่ชื่อในภาษาอังกฤษต่างไปจากสำเนียงพม่านั้น เป็นเพราะอังกฤษมักใช้การถ่ายเสียงตามอักษรพม่า ปนเปกับการถ่ายตามเสียงพูด พม่าจึงมีชื่อประเทศ ชื่อเมือง ชื่อแม่น้ำ ชื่อชนเผ่า เป็นชื่อสำเนียงท้องถิ่นอย่างหนึ่ง และเป็นชื่อที่อังกฤษกำหนดไว้อย่างหนึ่ง
จากความพยายามของสล็อร์กที่ต้องการให้เลิกใช้ชื่อที่อังกฤษตั้งไว้ และกลับมาใช้ชื่อใหม่ตามสำเนียงพม่านั้น เชื่อว่าในไม่ช้าชื่อเฉพาะต่างๆในพม่าที่เป็นชื่อที่เรียกตามฝรั่งตะวันตก โดยเฉพาะอังกฤษ ก็คงจะสูญหายไปจากแผนที่พม่าจนหมดสิ้น
จาก "เมียนมา" เพี้ยนเป็น "เบอร์ม่า"
อันที่จริงพม่ามีชื่อประเทศของตนว่า "เมียนมา" หรือ "มยันมา" มาเนิ่นนานแล้ว ปัจจุบันจะเขียนว่า e,oN,k (มรน์มา) หลักฐานแรกเริ่มมีมาตั้งแต่สมัยพุกามในจารึกภาษามอญ เมื่อปี พ.ศ. ๑๖๔๕ (ค.ศ. ๑๑๐๒) ตรงกับสมัยของพระเจ้าจันสิตตา เนื่องจากคำจารึกนั้นเป็นภาษามอญจึงสะกดตามแบบมอญเป็น ,bUมk (มิรมา) หรือ ,biN,k (มิร์มา) สำหรับการสะกดชื่อเมียนมาอย่างปัจจุบันเป็น e,oN,k นั้น พบครั้งแรกในศิลาจารึกต่องคูนี (g9k'N8^ou) ที่เมืองพุกาม จารึกไว้ในปี พ.ศ.๑๗๓๓ (ค.ศ. ๑๑๙๐) ต่อมาในช่วงสมัยสะกาย ปีงยะ และอังวะ คือในราว พ.ศ. ๑๙๑๑ (ค.ศ. ๑๓๖๘) ถึง พ.ศ. ๒๑๒๑ (ค.ศ.๑๕๗๘) จนถึงสมัยคองบอง มีการจารึกชื่อเมียนมาโดยสะกดไว้หลายแบบ ได้แก่ e,oN,k (มรน์มา) , e,",k (มรํมา) และ e,,มk (มรมฺมา) สำหรับการสะกดแบบหลังสุดนั้น มีการใช้อักษรเชิง ,ม ซึ่งเชื่อว่าเป็นด้วยอิทธิพลของภาษาบาลี ดังมีปรากฏในจารึกกัลยาณี (d]ykIugdykdN0k) เป็นต้น หรือแม้ในพงศาวดารพม่า อาทิ พงศาวดารฉบับหอแก้ว (มังนันยาซะวีง) ได้กล่าวถึงกลุ่มชน ๓ เผ่าคราเมื่ออาณาจักรศรีเกษตรล่มสลายลง คือ ชนเผ่าเมียนมา (e,oN,k) ชนเผ่าปยู (xy&) และชนเผ่ากางยัง (d,Ntp") ดังนั้นคำว่าเมียนมาจึงเป็นคำที่พม่าใช้เรียกตนเองกันเรื่อยมา มีหลักฐานบันทึกเริ่มแต่ยุคพุกาม ทั้งในศิลาจารึก (gdykdN0k) หนังสือหมึกจาน (,'N0k) หนังสือใบลาน (gx0k) และพงศาวดาร (ik=;'N) เพียงแต่เขียนแตกต่างคลาดเคลื่อนไปบ้างเล็กน้อยตามยุคตามสมัย จนมาถึงสมัยอาณานิคมประเทศพม่าจึงเริ่มเป็นที่รู้จักในหมู่ชาวตะวันตกที่มาค้าขายและมาล่าเมืองขึ้น ชื่อของพม่าจึงได้รับการรับรู้และบันทึกเป็นอักษรโรมันด้วยสำเนียงที่ต่างไปจากชื่อเมียนมาซึ่งเป็นชื่อเดิมของชาวพม่า
เค้าเงื่อนของความคลาดเคลื่อนในชื่อเมียนมาจึงน่าจะเริ่มในยุคอาณานิคม โดยก่อนที่พม่าจะตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษนั้น ได้มีหมอสอนศาสนาจากยุโรปเข้ามาเผยแพร่คริสตศาสนาในพม่า และมีความพยายามที่จะทำตัวพิมพ์ภาษาพม่า จนในปี พ.ศ. ๒๓๑๙ (ค.ศ. ๑๗๗๖) มีการตีพิมพ์หนังสือเล่มหนึ่งที่กรุงโรม ประเทศอิตาลี ชื่อว่า Alphabetum Barmanorum ของ Carpan จึงอาจเป็นครั้งแรกที่มีชื่อพม่าเขียนเป็นอักษรโรมัน และน่าจะเป็นหลักฐานแรกๆในการเรียกชื่อพม่าผิดเพี้ยนไปจากชื่อที่ชาวพม่าท้องถิ่นใช้เรียกตนเองกลายเป็น Barma ก่อนที่จะเป็น Burma ในภายหลัง และคราวเมื่อพม่ารบกับอังกฤษครั้งแรก ได้มีการลงนามสัญญายันตโบ (iOตx6b0k-y7xN) ในวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๓๖๗ (ค.ศ. ๑๘๒๔) ในสัญญานั้นปรากฏคำว่า Burman Government นับเป็นหลักฐานเก่าแก่ที่มีการบันทึกชื่อพม่าเป็นภาษาอังกฤษอย่างเป็นทางการ
ในยุคแรกๆที่พม่าเริ่มติดต่อกับชาติตะวันตกนั้น หมอสอนศาสนาผู้หนึ่งคือด็อกเตอร์ อโดนิราม จัดสัน (Dr.Adoniram Judson) ได้เดินทางมาเผยแพร่คริสตศาสนาในพม่าเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๕๖ (ค.ศ. ๑๘๑๓) และได้ศึกษาเรียนรู้ภาษาพม่า พร้อมกับได้จัดทำพจนานุกรมพม่า-อังกฤษขึ้นสำเร็จ โดยเริ่มเผยแพร่ที่อินเดียในปี พ.ศ. ๒๓๖๙ (ค.ศ. ๑๘๒๖) และหลังจากที่ ด็อกเตอร์จัดสันเสียชีวิตไปราว ๒ ปี จึงได้มีการตีพิมพ์พจนานุกรมดังกล่าวในประเทศพม่า ณ เมืองเมาะละแหม่ง เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๙๕ (ค.ศ. ๑๘๕๒) ต่อจากนั้นยังได้มีการปรับปรุงพจนานุกรมเล่มนี้เรื่อยมา คำเรียกพม่าในพจนานุกรมของมิสเตอร์จัดสันฉบับปี พ.ศ. ๒๔๙๖ (ค.ศ. ๑๙๕๓) ได้ใช้คำว่า Burman ว่าหมายถึงชาวพม่า ใช้คำว่า Burma หมายถึงประเทศพม่า และ Burmese หมายถึงภาษาพม่า ชาวตะวันตกได้ใช้คำเหล่านี้เรียกชาวพม่า ประเทศพม่า และภาษาพม่ามาจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ยังมีพจนานุกรมอีกเล่มหนึ่งเป็นพจนานุกรมอังกฤษ-พม่า ตีพิมพ์ในปี พ.ศ. ๒๓๘๔ (ค.ศ. ๑๘๔๑) ที่เมืองกัลกัตตา ประเทศอินเดีย พจนานุกรมฉบับนี้เรียบเรียงโดย มักขราเมงตาจี (,dขik,'NtlktEdut) เขาอาศัยการเรียนรู้ภาษาอังกฤษจากพ่อค้าชาวอังกฤษ และมีมิสเตอร์ชาร์ลเลน (Mr Charles Lane) ช่วยเป็นบรรณาธิการ ในคำปรารภของพจนานุกรมกล่าวว่า มิสเตอร์ชาร์ลเลนได้แปลคำว่า ชาวพม่า เป็น Burman People แปลคำว่าภาษาพม่าเป็น Burman Language ไม่ได้ใช้ Burmese Language อย่างพจนานุกรมของด็อกเตอร์จัดสัน ที่ใช้ตรงกันจึงมีเฉพาะคำที่เป็นชื่อพลเมืองและชื่อประเทศ
ในยุคอาณานิคมนั้น ฝรั่งได้เริ่มเรียกประเทศพม่าว่า Burma จนที่สุดก็ใช้เป็นชื่อที่เรียกประเทศพม่ากันอย่างสากล และชาวพม่าเองก็ยอมรับชื่อนี้ด้วยเช่นกัน ด้วยมีคำในภาษาพม่าออกเสียงใกล้กับ Burma คือคำว่า r,k แต่คำนี้อ่านว่า บะมา ไม่ได้อ่านว่า เบอร์ม่า ตามอย่างฝรั่ง และเห็นชัดว่าจนถึงสมัยที่พม่าได้รับเอกราชแล้วก็ตาม ชื่อ r,k นี้ยังนิยมใช้ทั่วไปในหนังสือพิมพ์ วารสาร คำโฆษณา ชื่อกลุ่มการเมือง หรือแม้แต่ในเนื้อเพลงชาติของพม่าก็ปรากฏคำนี้ใช้อยู่ด้วย อย่างไรก็ตามเมื่อพม่าได้เอกราชในปี พ.ศ. ๒๔๙๑ (ค.ศ. ๑๙๔๘) นั้น ชื่อประเทศพม่าที่เขียนเป็นทางการจะใช้คำว่า เมียนมา (e,oN,k) เรียกเต็มๆ ว่า ปยีถ่องซุเมียนมาไนงังด่อ (exPNg5k'N06e,oN,kO6b'N'"g9kN) หากแต่เขียนเป็นภาษาอังกฤษว่า Union of Burma จะพบว่าคนพม่าใช้ชื่อทั้งสอง คือ e,oN,k (เมียนมา) ซึ่งเป็นชื่อเดิม และ r,k (บะมา) ซึ่งเป็นชื่อที่น่าจะเรียกตามฝรั่งในยุคอาณานิคม
เหตุแห่งความผิดเพี้ยน
เหตุที่ฝรั่งเรียกเมียนมาเพี้ยนเป็น Burma นั้น มีเพียงข้อสันนิษฐานเท่านั้น ทางหนึ่งว่าน่าจะมาจากเสียงรัวๆของแขกอินเดีย บ้างก็ว่าอาจพูดตามสำเนียงชาวยะไข่ และบ้างก็ว่าน่าจะมาจากเสียงห้วนๆของพม่าปักษ์ใต้ แล้วฝรั่งก็รับไปใช้ถ่ายเป็นอักษรโรมันว่า Burma ฝ่ายที่ว่าน่าจะมาจากสำเนียงแขกนั้น มองว่าอังกฤษที่มาปกครองอินเดียคงจะเรียกพม่าตามพวกแขก เพราะแขกเรียกพม่าว่า บระมา แขกพูดเพี้ยนอยู่แล้ว อังกฤษรับมาจึงเพี้ยนหนักเข้าไปอีก จนกลายเป็นเบอร์ม่า ที่น่าสนใจคือยังคงอักษร r หรือ ร ทั้งในภาษาแขกและภาษาอังกฤษ ดูจะคล้อยตามอักษร ร รูปตัวเชิง ( e  ) ในคำ e,oN,k (มรน์มา) คือมี ร เป็นอักษรควบกล้ำอยู่ด้วย หากแต่ชาวพม่าจะออกเสียง ร เป็น ย เท่านั้น ในขณะที่แขกออกเสียง ร ในคำนี้ได้ชัดเจน
บ้างเชื่อว่าหากฝรั่งไม่ได้เรียกพม่าตามแขกก็อาจจะพูดตามชาวพม่าสำเนียงยะไข่ที่อยู่ในรัฐอาระกัน (รัฐยะไข่) เพราะเมื่อชาวโปรตุเกสเข้ามาติดต่อกับพม่าในปลายคริสตศตวรรษที่ ๑๗ ได้จ้างชาวยะไข่เป็นล่ามภาษาพม่า ฝรั่งจึงเรียกพม่าตามสำเนียงท้องถิ่นยะไข่ และเมื่ออังกฤษเข้ามาสัมพันธ์กับพม่าในต้นศตวรรษที่ ๑๙ จึงอาจจะเรียกพม่าตามฝรั่งโปรตุเกสอีกทอดหนึ่ง
ส่วนฝ่ายที่เชื่อว่าคำฝรั่งที่ว่า Burma นั้นมาจากภาษาพม่าสำเนียงปักษ์ใต้ ให้ความเห็นว่าน่าจะเป็นการเลียนตามสำเนียงพม่าที่เมืองทะวายในจังหวัดตะนาวศรี เพราะชาวพม่าที่นั่นมักจะพูดแบบแปรเสียงและกร่อนเสียง พยัญชนะควบกล้ำ มร/มย มักจะออกเสียงเป็น บย/บ ดังเช่นคำว่า e,'Nt (มรง์) แปลว่า "ม้า" ชาวพม่าทั่วไปจะอ่านว่า มยีง์ แต่พม่าปักษ์ใต้จะว่า บยีง์ คำว่า 1,bh แปลว่า "เมือง" แทนที่จะอ่านว่า มโยะ แต่พม่าปักษ์ใต้จะอ่านว่า บโยะ คำว่า e,b9Nหมายถึงเมืองมะริดนั้น พม่าทั่วไปจะเรียกว่า เมืองมเยะ แต่พม่าปักษ์ใต้กลับเรียกว่า เมืองบิต จะพบว่าเมื่อใดก็ตามหาก ม ควบกับ ร พม่าปักษ์ใต้จะออกเสียง ม เป็น บ นอกจากนี้คำหลายพยางค์ในสำเนียงพม่าปักษ์ใต้มักจะมีการกร่อนเสียงพยางค์แรกเป็นแบบพยางค์นำ ดังนั้นคำว่า มรน์มา, มยันมา หรือ เมียนมา จึงกลายเป็น บะมา และเขียนเป็นภาษาพม่าว่า r,k เมื่อฝรั่งมาติดต่อค้าขายกับชาวพม่าทางแถบตะนาวศรีจึงพลอยเรียกเมียนมาเพี้ยนไป ซึ่งน่าจะเป็นที่มาของคำว่า Burma ได้อีกทางหนึ่ง
ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตามข้อสันนิษฐานดังกล่าวต่างสนับสนุนว่า Burma เป็นเสียงที่เพี้ยนมาจากคำว่า เมียนมา (e,oN,k) อย่างไรก็ตามเหตุผลที่มีหลักวิชาการสนับสนุนไว้อย่างน่าสนใจ เป็นเหตุผลที่กล่าวว่า Burma ได้มาจากการฟังเสียงสำเนียงพม่าปักษ์ใต้ ผู้ให้ทรรศนะนี้ไว้ เป็นอดีตหัวหน้ากองโบราณคดีของพม่านาม อูโพลัต (Ftz6bt]9N) ตามกล่าวไว้ในหนังสือว่าด้วยที่มาของศัพท์พม่า พิมพ์ในปี ค.ศ. ๑๙๖๓
"พม่า" ก็เพี้ยนมาจาก "เมียนมา"
หากจะสันนิษฐานต่อไปว่าเพราะเหตุใดไทยเราจึงเรียกเมียนมาเป็นพม่า อาจคาดเดาได้หลายทางเช่นกัน จากการที่ไทยเรารู้จักพม่าก่อนพวกฝรั่ง ไทยจึงอาจจะรับคำพม่านี้โดยผ่านชาวพม่าปักษ์ใต้ เพราะมีการแปรเสียงกร่อนเสียงตามที่กล่าวมาแล้ว ทำให้คำว่า มรน์มา กลายมาเป็น บะมา แต่เหตุที่ไทยเลือกใช้ พ ในคำพม่าแทนที่จะเลือกใช้ บ ตามสำเนียงของพม่าปักษ์ใต้นั้น อาจสันนิษฐานได้อีกทางว่าไทยเราอาจรับชื่อพม่าผ่านทางภาษาเขียนของฝ่ายมอญ เพราะมอญปัจจุบันเขียนพม่าเป็น r,k เทียบอักษรไทยได้ว่า พมา (ไม่มีไม้เอก) แต่ทางมอญจะอ่านคำนี้ว่า เปียะเมี่ย หรืออีกทางหนึ่งไทยอาจจะรับคำนี้จากภาษาเขียนของพม่าโดยตรงในสมัยที่พม่าได้ติดต่อกับชาวยุโรปบ้างแล้ว คือหลังจากที่ e,oN,k เพี้ยนเสียงเป็น r,k / Burma แล้วนั่นเอง
นอกจากชื่อพม่าที่เรารู้จักกันดีแล้ว ไทยทางฝ่ายเหนือมักคุ้นเคยกับชื่อพม่าในนาม ม่าน ซึ่งเป็นชื่อที่เรียกตามชาวไทใหญ่ คำว่า ม่าน จึงอาจเพี้ยนมาจากพยางค์แรกของคำ มรน์มา หรือ เมียนมา และอีกทางหนึ่งอาจหมายถึงชื่อย่อของเมืองมัณฑะเล ซึ่งพม่านิยมเรียกสั้นๆว่า มาน (,oNt) พบเขียนเช่นนี้ทั้งที่ป้ายรถไฟและป้ายรถประจำทาง แต่ทรรศนะนี้ยังไม่เคยมีการกล่าวถึง ส่วนในเอกสารทางประวัติศาสตร์ของไทยมักเรียกพม่าควบกับคำว่า รามัญ ซึ่งเป็นชื่อเรียกมอญโบราณ และบางที่ก็สะกดพม่าเป็น พะม่า ดังนั้นไทยจึงรู้จักพม่าในนามว่า พะม่า พม่ารามัญ และม่าน นอกเหนือจากคำว่าพม่า
ในปัจจุบันพม่าเปลี่ยนชื่อประเทศเป็น Myanmar เรามักเห็นหนังสือพิมพ์ภาษาไทยเขียนว่า เมียนมาร์ บ้าง เมียนมา (ไม่มี ร์) บ้าง แต่ส่วนใหญ่มักมี ร์ ซึ่งเป็นการถ่ายตามรูปอักษรภาษาอังกฤษ ที่จริงแล้วคำนี้ในภาษาพม่าจะเขียนแบบไม่มี ร์ คำว่า e,oN,k (มรน์มา) นั้นจะอ่านว่า มยันมา โดยที่เสียง ม(,) กับ ย( e  ) จะควบกันสนิท แต่ด้วยเหตุที่ภาษาไทยไม่มีเสียง ย ควบกล้ำอย่างพม่า จึงออกเสียงเป็น สระเอียแทน ดังนั้น มยัน จึงกลายเป็น เมียน เช่นเดียวกับคำว่า มโยะ(1,bh) แปลว่า "เมือง" ชาวไทยแถบชายแดนไทย-พม่ามักจะออกเสียงเป็น เมียว ดังคำว่า เจ้าเมือง พม่าว่า มโยะซา(1,bh0kt) ไทยจะว่า เมียวซา และเมืองเมียววดีของพม่าที่ตั้งอยู่ตรงข้ามกับอำเภอแม่สอดนั้นเพี้ยนมาจาก มยะวดี(e,;9u) คำพม่าที่ไทยรับมาจะมีเสียงเพี้ยนไปบ้างเล็กน้อย ดังนั้นคำว่า มยันมา จึงกลายเป็น เมียนมา ตามลิ้นคนไทย จะเห็นว่าไทยเรายังคงอ่านชื่อใหม่ของพม่าเพี้ยนไปเล็กน้อยอยู่ดี ทั้งนี้เป็นเพราะข้อจำกัดของอักขรวิธีภาษาไทยและเสียงสำเนียงไทยซึ่งต่างจากพม่า
"เมียนมา" กับคำเรียกที่แตกต่าง
อันที่จริงการที่พม่าถูกเรียกกันไปต่างๆนานาไม่เหมือนกับที่ชาวพม่าแท้ๆเรียกนั้น ถือว่าเป็นเรื่องปกติ เพราะไม่มีชนเผ่าใดพูดจาภาษาอื่นได้ชัดเจนเท่ากับเจ้าของภาษาได้ในทันที และเป็นธรรมดาอีกเช่นกันที่ชนชาติหนึ่งๆมักมีชื่อเรียกหลายชื่อขึ้นอยู่ว่าชนชาติใดเป็นผู้เรียกขาน อย่างเช่นไทยเรียกพวกไทใหญ่ว่าเงี้ยว ส่วนพม่าจะเรียกไทใหญ่ว่าชาน(ฉาน) แต่ไทใหญ่จะเรียกตนเองว่า ไต ในทำนองเดียวกัน ชาวเขาเผ่ามูเซอเรียกตนเองว่า ละหู่, อีก้อ เรียกตนเองว่า อะข่า, แม้วเรียกตนเองว่า ม้ง, เย้าเรียกตนเองว่า เมี่ยน พม่าก็เช่นเดียวกัน มีชื่อที่ตนเองเรียกชื่อหนึ่งและมีชื่อที่ผู้อื่นเรียกเป็นอีกชื่อหนึ่ง อาทิ มอญเรียกพม่าว่า ฮแม, แขกเรียกพม่าว่า บระมา, ไทใหญ่เรียกพม่าว่า ม่าน, จีนเรียกพม่าว่า เมี้ยน, กะฉิ่นและมะยูเรียกพม่าว่า มะเยน, กะเหรี่ยงเรียกพม่าว่า ปิหย่อง หรือ ปะยอ และฉิ่นเรียกพม่าว่า กอล์ ชื่อสำหรับเรียกพม่าที่กล่าวมานี้ส่วนใหญ่จะมีเค้ามาจากคำว่า เมียนมา แม้แต่ชื่อพม่าที่ไทยใช้และเบอร์ม่าที่ว่าตามฝรั่ง ต่างก็มีเค้ามาจาก เมียนมา ทั้งสิ้น ยกเว้นคำว่า กอล์ และ ปิหย่อง/ปะยอ ที่พวกฉิ่นและกะเหรี่ยงใช้เรียกพม่านั้นน่าจะมีที่มาต่างออกไป ความผิดเพี้ยนในการเรียกชื่อชนต่างเผ่าถือเป็นเรื่องธรรมดา จึงไม่แปลกที่ฝรั่งจะเรียกเมียนมาเพี้ยนเป็น Burma และไทยจะเรียกชนกลุ่มนี้ว่า พม่า เพียงแต่ยืนยันให้ได้ว่าเป็นชื่อเรียกชนกลุ่มเดียวกัน และไม่ใช่คำที่แฝงนัยดูแคลน พม่าก็ควรจะรับได้
"เมียนมา" กับความหมายเชิงชาตินิยม
เมื่อพิจารณาความหมายของคำว่าเมียนมาหรือมยันมา (e,oN,k) นักปราชญ์ของพม่าก็ได้พยายามตีความหารากเดิมของศัพท์ไปต่างๆกัน บ้างก็ว่าคำว่าเมียนมาน่าจะมาจากคำว่า พรหมา (ersมk) ผู้ให้นิยามนี้เป็นสงฆ์พม่าอย่างน้อย ๒ รูป คือ โมงยะเวซยาด่อ และซลีงซยาด่อ นับเป็นการว่าไปตามตำนานที่เชื่อว่าพม่ามีชาติกำเนิดสืบมาแต่ศากยวงศ์ ซึ่งเป็นด้วยอิทธิพลทางพุทธศาสนา บ้างก็ตีความว่าเมียนมาน่าจะเป็นคำประสมระหว่างคำว่า e,oN (มรน์ หรือ เมียน) กับ คำว่า ,k (มา) คำแรกอาจมาจากคำว่า e,oN (มรน์) อ่านว่า มยัน์ แปลว่า "รวดเร็ว" หรืออาจเพี้ยนมาจากคำว่า e,'Nt (มรง์) อ่านว่า มยีง์ แปลว่า "ม้า" ความหมายนี้สอดคล้องกับคำว่า กอล์ ที่พวกฉิ่นใช้เรียกพม่า ซึ่งพบความหมายเฉพาะในภาษานาคาแปลว่า "ม้า" เช่นกัน ส่วนคำหลังคือ ,k (มา) น่าจะแปลว่า "แข็งแรง" หรือมาจากคำว่า ]b,มk แปลว่า "เก่ง,ชำนาญ" เลยได้ความหมายของเมียนมาว่า "ชำนาญปราดเปรียว", "เข้มแข็งฉับไว" หรือไม่ก็อาจมีความหมายว่า "ม้าที่องอาจ" จึงนับเป็นความหมายที่สอดคล้องกับความเก่งกล้าของพม่าใน การสงคราม และชื่อเสียงของกองทัพม้าอันเกรียงไกรในอดีต ถือเป็นความสำเร็จของนักปราชญ์พม่าที่หาความหมายในด้านดี ตรงกับความภาคภูมิใจของชนร่วมชาติที่มีต่อนักรบผู้เก่งกล้าของตน ผู้เริ่มจำแนกคำเมียนมาเพื่อหารากศัพท์เดิมเป็นสงฆ์พม่า นามว่า ทุติยจ่ออ่องซังทาซยาด่อ (ค.ศ. ๑๗๖๙) ส่วนผู้กล่าวถึงความหมายของคำดังกล่าวในเชิงชาตินิยมคือ อูโพลัต (ค.ศ. ๑๙๖๓) เหตุผลในการเปลี่ยนนามประเทศของพม่านั้น จึงดูคล้ายกับการวิจารณ์ถึงชื่อสยาม (เริ่มปี พ.ศ.๒๔๘๒) ที่ไทยมีทัศนะว่าเป็นคำที่ต่างชาติใช้เรียกแผ่นดินไทย ขณะเดียวกันก็ตีความหมายของคำว่า "ไทย" ให้เป็นนามมงคล ว่าหมายถึง "อิสระเสรี" หรือ "ไม่เป็นทาส" นับเป็นการสะท้อนการรับใช้อุดมการณ์ชาตินิยม ที่สร้างความรู้สึกภาคภูมิใจในชาติตนเช่นเดียวกับพม่า
ในปัจจุบันคำว่า Myanmar หรือ เมียนมาร์ หรือ เมียนมา (ไม่มี ร์) หรือที่ภาษาพม่าเขียนว่า e,oN,k นั้น หมายถึง ประเทศและประชาชนทั้งปวงทุกเผ่าพันธุ์ อันได้แก่ พม่า ฉาน กะฉิ่น ฉิ่น ยะไข่ คะยา กะเหรี่ยง มอญและชนส่วนน้อยอื่นๆที่อาศัยอยู่ในประเทศนี้ และกำหนดคำว่า Bamar หรือ บะมา ให้ตรงกับคำพม่าว่า r,k (บะมา) โดยจะใช้บ่งชี้เฉพาะชนเชื้อชาติพม่าแท้ๆเท่านั้น ซึ่งเดิมทีนั้นเคยใช้คำว่า Burman ส่วนภาษาพม่าให้เขียนว่า Bamar Language, Myanmar Language หรือ Myanmese Language โดยเปลี่ยนจากเดิมที่ใช้ว่า Burmese Language ดังนั้นคำที่พม่าขอให้เลิกใช้ คือ Burma Burman และ Burmese ให้ใช้เฉพาะ Myanmar และ Bamar แทน
"เมียนมา" คำเก่านิยามใหม่
คำว่า เมียนมา (e,oN,k) ยังมีความหมายค่อนข้างกำกวม บางทีก็เป็นไวพจน์กับบะมา (r,k) บางทีก็มีความหมายแตกต่างจากบะมา ชาวพม่าเองก็ค่อนข้างสับสนและใช้คำว่าเมียนมาในภาษาของตนในความหมายครอบคลุมทุกอย่างที่เกี่ยวกับพม่า เช่นคำว่า ภาษาเมียนมา (มยันมา บาตา) และพจนานุกรมภาษาเมียนมา (มยันมา อบิดาน์) สองคำนี้หมายถึงภาษาพม่าแท้ๆ ซึ่งน่าจะใช้คำว่า บะมา ในขณะที่ชาวเมียนมา (มยันมา หลู่-มโย) และประเทศเมียนมา (มยันมาไหน่หงั่ง) จะกินความเกี่ยวข้องกับพลเมืองพม่าทุกเผ่าพันธุ์ จะเห็นว่าในภาษาพม่าเองก็ยังไม่ชัดเจนระหว่างคำว่า บะมา และ เมียนมา คำที่น่าจะใช้บะมากลับใช้เมียนมาได้ด้วย ส่วนคำว่าเมียนมาบางทีก็มีความหมายกว้างและบางทีก็มีความหมายแคบลงเท่ากับบะมา
หากเปิดดูความหมายของคำ r,k และ e,oN,k ในพจนานุกรมพม่าฉบับที่ตีพิมพ์ ก่อนเปลี่ยนชื่อประเทศ โดยรัฐบาลพม่าเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๑-๒๕๒๓ (ค.ศ. ๑๙๗๘-๑๙๘๐) ได้ระบุความหมายของคำทั้งสองไว้ว่า
r,k (อ่านว่า บะมา) เสียงอ่านของคำว่า e,oN,k
e,oN,k (อ่านว่า มยันมา) พลเมืองที่อาศัยอยู่ในประเทศ e,oN,k มาอย่างสืบเนื่องยาวนาน
ส่วนพจนานุกรมพม่าฉบับปี พ.ศ. ๒๕๓๔ (ค.ศ. ๑๙๙๑) ที่รัฐบาลพม่าจัดพิมพ์หลังจากการประกาศเปลี่ยนชื่อประเทศนั้น ได้นิยามความหมายของคำทั้งสองเสียใหม่ เป็นดังนี้
r,k (อ่านว่า บะมา) ชาวเมียนมาเผ่าหนึ่งที่พูดภาษาในตระกูลทิเบต-พม่า
e,oN,k (อ่านว่า มยันมา หรือ บะมา) (๑) ชื่อเรียกพลเมืองทั้งหลายที่อาศัยอยู่ในพม่า (๒) มีความหมายเหมือน r,k
พบว่าพจนานุกรมสองฉบับนี้ให้ความหมายของศัพท์ e,oN,k กับ r,k ต่างกัน ฉบับแรกชี้ให้เห็นว่าคำทั้งสองมีความหมายเหมือนกัน นั่นคือต่างก็หมายถึงพลเมืองพม่าทั้งหมด ส่วนพจนานุกรมฉบับหลังนั้นกำหนดให้คำว่า e,oN,k ออกเสียงได้ทั้ง มยันมา และ บะมา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าจะบ่งชี้ความหมายเช่นไร หากออกเสียงว่า บะมา ก็จะหมายถึงชาวพม่าแท้ๆ หากออกเสียงว่าเมียนมาก็จะหมายถึงพลเมืองพม่าทุกเผ่าพันธุ์ ส่วนคำว่า r,k มีความหมายแคบลงกว่าเดิม เท่ากับคำว่า Burman ที่ใช้อยู่เดิมในภาษาอังกฤษ ในขณะที่คำว่า e,oN,k มีความหมายกว้างกินความถึงชนทุกเผ่าพันธุ์ในประเทศของตน และยกให้ Myanmar เป็นชื่อประเทศในระดับสากลแทนคำว่า Burma จะเห็นว่ารัฐบาลพม่าไม่เพียงแต่แก้ไขชื่อประเทศในส่วนที่เป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น แต่ยังนิยามชื่อที่เกี่ยวข้องนี้ในภาษาพม่าเสียใหม่อีกด้วย นั่นคือเปลี่ยนคำว่า Burma เป็น Myanmar และเขียนเป็นภาษาพม่าว่า e,oN,k และเปลี่ยนชื่อชนเผ่าพม่าจากเดิมว่า Burman เป็น Bamar และเขียนเป็นภาษาพม่าว่า r,k คำพม่าทั้งสองนี้จึงกินความต่างกันในบางครั้ง และบางทีก็เหมือนกันได้ดังเดิม คำ e,oN,k จึงมีความสับสนและยากต่อการใช้พอควร อย่างไรก็ตาม จึงควรยึดตามนิยามตามพจนานุกรมฉบับปี ค.ศ. ๑๙๙๑ เพราะถือได้ว่าถูกต้องอย่างเป็นทางการ
สำหรับคำว่า Myanmar นั้นบางครั้งก็พบว่าสะกดแบบไม่มี r เป็น Myanma ก็มี ดังพบในหนังสือพิมพ์ The New Light of Myanmar ของรัฐบาลพม่า เช่นคำว่า Myanma proverbs และ Myanma tatmadaw (กองทัพพม่า) เป็นต้น แต่คำว่า "ประเทศเมียนมา" เป็นภาษาอังกฤษจะเขียนว่า Myanmar Naing-Ngan จะเห็นได้ว่าพม่าจำแนกคำให้ต่างระหว่าง Myanmar กับ Myanma อีกด้วย คำแรกเป็นคำนาม ส่วนคำหลังมักจะใช้อย่างคุณศัพท์ หรือแสดงนัยเป็น เจ้าของ ซึ่งจะออกเสียงสั้นลงเป็น เมียนมะ
สำหรับไทยเรานั้นควรใช้คำว่า"พม่า" เฉพาะในการบ่งชี้ "ภาษาพม่า" เหมือนดังเดิมดูจะดีกว่าที่จะเรียกว่า "ภาษาเมียนมา" ซึ่งกินความกว้างกว่าชนเผ่าพม่าแท้ๆ และหากจะใช้คำว่าเมียนมาก็ควรใช้ในคำว่า "ชาวเมียนมา" และ "ประเทศเมียนมา" เพื่อสื่อความหมายที่เกี่ยวกับพลเมืองและแผ่นดินประเทศพม่าโดยรวม อย่างไรก็ตามราชบัณฑิตยสถานฝ่ายไทยได้กำหนดให้ใช้ "พม่า" ตามเดิม ด้วยเหตุผลดังกล่าวมาแต่ต้น
นานาทรรศนะต่อ "เมียนมา"
ตามที่รัฐบาลสล็อร์กได้เปลี่ยนชื่อประเทศของตนเสียใหม่นั้น มีการวิจารณ์กันหลายทรรศนะ บ้างก็ว่าเป็นเพราะนายพลเนวินอดีตผู้นำพม่าในสมัยสาธารณรัฐสังคมนิยมแห่ง สหภาพพม่า เชื่อตามคำทำนายของหมอดูที่แนะให้เปลี่ยนชื่อประเทศเสียใหม่เพื่อเป็น การแก้เคล็ดในการสืบต่ออำนาจ เท็จจริงอย่างไรเป็นเรื่องที่ยากจะสืบสาว และอาจเป็นเพียงตลกล้อการเมืองที่หนังสือพิมพ์ต่างประเทศเสาะหามาให้เป็นข่าว
ส่วนฝ่ายต่อต้านรัฐบาลพม่าให้เหตุผลว่า การเปลี่ยนชื่อประเทศครั้งนี้เป็นเพียงความพยายามของสล็อร์กที่จะกลมกลืนชนทุกเผ่าพันธุ์ให้เป็นพม่า เพราะแท้จริงแล้วประเทศพม่าประกอบด้วยชนหลายเผ่าพันธุ์ที่ร่วมเป็นเจ้าของแผ่นดิน ซึ่งได้แก่ พม่า ยะไข่ ฉิ่น กะฉิ่น กะเหรี่ยง คะยา มอญ ฉาน (ไทใหญ่) ปะหล่อง มูเซอ และว้า เป็นอาทิ แต่ละเผ่าพันธุ์ก็มีภาษาและวัฒนธรรมเป็นของตนเอง อีกทั้งคนทั่วไปต่างรับรู้ชื่อ Burma มานานแล้ว ที่สล็อร์กทำเช่นนี้เชื่อว่าต้องการให้ยอมรับแต่เฉพาะชนเผ่าพม่าภายใต้นามเดิมของตนคือเมียนมาเพียงกลุ่มเดียวเท่านั้น ถือเป็นทรรศนะที่ตอบโต้รัฐบาลพม่าค่อนข้างรุนแรง ส่วนฝ่ายรัฐบาลสล็อร์กและฝ่ายที่เห็นด้วยจะมองว่าเป็นการสมควรที่ได้เปลี่ยนชื่อประเทศเสียให้ถูกต้อง เพราะชาวพม่าควรจะเป็นผู้กำหนดชื่อประเทศของตนเอง ไม่ใช่แขกหรือฝรั่งพอใจจะเรียกพม่าอย่างไรก็สุดแท้ และที่สำคัญประเทศพม่านั้นได้รับเอกราชพ้นจากการเป็นทาสอาณานิคมมานานแล้วถึงครึ่งศตวรรษ แต่ชื่อประเทศของตนนั้นชาวพม่ากลับไม่มีสิทธิ์ที่จะกำหนดใช้ได้เอง อังกฤษนั้นเคยกดขี่พม่าให้เป็นทาสมาก่อน และพวกแขกอินเดียก็เคยฉกฉวยโอกาสตักตวงผลประโยชน์จากแผ่นดินพม่า สิ่งนี้ได้สร้างความเจ็บปวดให้กับชาวพม่าไม่ใช่น้อย และความสับสนวุ่นวายทั้งหลายทั้งปวงที่เกิดสืบเนื่องมานั้น กล่าวว่าเป็นเพราะอิทธิพลจากภายนอก การเปลี่ยนชื่อประเทศจาก Burma เป็น Myanmar จึงเป็นการประกาศศักดิ์ศรีของคนร่วมชาติร่วมแผ่นดินที่ไม่ยอมให้ชาวต่างชาติมา
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 15531เขียนเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2006 18:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 21:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

อยากรู้ว่าใครเป็นนายกรัฐนมตรีของพม่าที่พิมพมาเป็นความจริงหรอ

ยาวไปอ่านไม่หมดตัวหนังสือก็ตัวเล็ก

ตัวหนังสือเล็กมากๆ

งงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงง แต่ก็ดี

น่าสนใจมาก ขอบคุณมากๆ ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท