พงศาวดารเป็นหลักฐานสำคัญสำหรับงานเขียนทางประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะในยุคจารีตที่มีกษัตริย์และราชสำนักเป็นศูนย์กลางของรัฐ
พงศาวดารพม่า
พงศาวดารเป็นหลักฐานสำคัญสำหรับงานเขียนทางประวัติศาสตร์
โดยเฉพาะในยุคจารีตที่มีกษัตริย์และราชสำนักเป็นศูนย์กลางของรัฐ
เนื้อหาส่วนใหญ่ของพงศาวดารเกี่ยวข้องกับกิจกรรมที่กระทำโดยกษัตริย์และราชวงศ์
ประเพณีในราชสำนัก สงครามแผ่ขยายบรมเดชานุภาพ
ฯลฯ มากกว่าจะมุ่งเน้นบันทึกเรื่องราวทั่วไปของบ้านเมือง
ทั้งนี้เพราะโดยประเพณีแล้วพงศาวดารเป็นผลผลิตของราชสำนัก
มิใช่งานเขียนของสามัญชนโดยทั่วไป
ภาษาพม่าเรียกพงศาวดารว่า ยาสะวิน ( Yazawin )
แปลความหมายตรงตัวว่า วงศ์ของกษัตริย์
( Genealogy of Kings )
ยาสะวินจึงเป็นบันทึกว่าด้วยพระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์พม่า
เรียงลำดับตามรัชกาล
ยาสะวินที่เป็นที่ยอมรับของนักวิชาการพม่าว่าน่าเชื่อถือเกี่ยวกับเหตุการณ์อดีต
มีอยู่ด้วยกัน ๗ ฉบับดังต่อไปนี้
๑. พงศาวดารฉบับเฉลิมพระเกียรติ ( The Celebrated
Chronicle of king ) เรียกชื่อพม่าว่า
Yazawinkyaw
เขียนโดยพระภิกษุชาวพม่าชื่อ Shin Thilawuntha
เมื่อปี ค.ศ. ๑๕๒๐ จุดมุ่งหมายงานเขียนนี้ก็คือ
เชื่อมโยงความสัมพันธ์ของราชวงศ์พม่าเข้ากับพุทธวงศ์ คือ
ศากยวงศ์ของเจ้าชายสิทธัตถะ ผู้ต่อมาคือ
สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
๒. พงศาวดารว่าด้วยพระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์
(Ancient Action of Kings )
หรือที่เรียกว่า Yaza Mu Huang
ผู้แต่งคือ Zambu Kungya
ซึ่งเป็นพระอาจารย์ของรัชทายาทในสมัยครึ่งหลังของคริสตศวรรษที่
๑๔
๓. พงศาวดารว่าด้วยพระราชดวงชะตา ( The Chronicle
of Royal Horoscopes ) มีชื่อเรียกเป็นภาษาพม่าว่า
Zatatawbon Yazawin
บันทึกฉบับนี้ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง
แม้ว่าจะเป็นงานรวบรวมดวงพระชะตาของพระมหากษัตริย์หลายราชวงศ์
ซึ่งน่าจะเป็นผลงานของโหราจารย์ที่มีความถนัดในการอ่านความหมายของตัวเลข
ในบันทึกฉบับนี้ยังมีตัวเลขอื่นๆที่น่าสนใจเช่น
จำนวนชายฉกรรจ์ที่ถูกเกณฑ์มารบและเป็นแรงงานอื่นๆ
ที่มาจากเมืองและหมู่บ้านต่างๆในราชอาณาจักร
จำนวนเมืองและหมู่บ้านที่ปลอดจากการถูกเกณฑ์แรงงาน
เป็นต้น ข้อมูลเหล่านี้ให้ภาพสังคมพม่าในยุคต้นๆได้ดี
แม้ว่าการให้ข้อมูลในลักษณะนี้จะไม่ใช่จุดมุ่งหมายโดยตรงของเอกสารก็ตาม
๔.พงศาวดารฉบับอูกะลา ( The Great Chronicle
of Kings ) มีชื่อเป็นภาษาพม่าว่า Mahayazawingyi
พงศาวดารนี้มีลักษณะพิเศษในกรณีที่ผู้เขียนคือ
อูกะลา เป็นสามัญชนเชื้อสายอินเดียที่มีฐานะดี
ได้ทำการเขียนพงศาวดารขึ้นโดยอิสระปราศจากการอุปถัมภ์ของราชสำนัก
เมื่อประมาณปี ค.ศ. ๑๗๑๔-๑๗๓๓ ในสมัยของพระเจ้า
Taninganwe แห่งราชวงศ์อังวะ ยุคที่สอง
งานเขียนของเขาเรียกชื่อราชวงศ์พม่าตามชื่อเมืองหลวง เช่น
ราชวงศ์พุกาม อังวะ ตองอู อังวะยุคที่สอง
และราชวงศ์คองบอง
ทั้งนี้เพราะดินแดนที่สถิตราชวงศ์เหล่านี้ล้วนถือว่าศักดิ์สิทธิ์
เนื่องจากได้รับพุทธทำนายว่าจะเป็น ที่ประทับของพระมหากษัตริย์
พงศาวดารฉบับนี้มีขอบเขตของเนื้อหากว้างขวาง
ครอบคลุมทั้งการค้า การเมือง การปกครอง
การทหาร ต่างประเทศ เศรษฐกิจและสังคม
๕. พงศาวดารฉบับใหม่ ( The New Chronicle
of Myanmar ) เขียนขึ้นโดย
Twinthintaikwun Maha Cansu
ในรัชกาลของพระเจ้าปะดุง ประมาณปี ค.ศ. ๑๘๐๐
ภาษาพม่าที่ใช้เรียกชื่อพงศาวดารฉบับนี้คือ Myanmar
Yazawinthit จุดมุ่งหมายของการแต่งพงศาวดารฉบับใหม่
มหาสีตูต้องการแก้ไขข้อบกพร่องของฉบับอูกะลา
เนื่องจากไม่สอดคล้องกับความในศิลาจารึก และงานวรรณกรรม
งานเขียนของมหาสีตู
แม้จะดำรงจุดมุ่งหมายดั้งเดิมของประเพณีการเขียนพงศาวดารที่ให้ความชอบธรรมแก่สถาบันต่างๆที่มีอยู่
แต่ความรอบรู้ของเขาและความรอบคอบในการใช้หลักฐาน
ทำให้ยาสะวินฉบับนี้มีลักษณะใกล้เคียงกับงานวิชาการทางประวัติศาสตร์
กล่าวคือ
ในแง่ของเนื้อหามิได้จำกัดอยู่เพียงแวดวงของกษัตริย์และราชสำนัก
แต่ยังครอบคลุมไปถึงกิจกรรมของชาติและประชาชน
ส่วนในแง่ของวิธีการใช้หลักฐาน
ก็ได้แสดงความรอบคอบที่จะตรวจสอบความถูกต้อง
๖.พงศาวดารฉบับหอแก้ว ( The Great
Royal Chronicle of the
Glass Palace ) มีชื่อเรียกเป็นภาษาพม่าว่า
Hmannan Mahayazawindawgyi
หรือเรียกเป็นทางการว่า Pahtama
Mahayazawindawgyi ( The
First Royal Chronicle )
พงศาวดารฉบับนี้เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไป
เพราะเป็นฉบับแรกที่นำมาเผยแพร่ให้ชาวต่างประเทศรู้จัก
ชาวไทยเรารู้จักพงศาวดารฉบับนี้ในภาคภาษาไทยชื่อ “พระราชพงศาวดารพม่า”
ผู้แปลคือ พระบรมวงศ์เธอพระนราธิปประพันธ์พงศ์
ผู้แต่งพงศาวดารฉบับนี้
ได้แก่กลุ่มราชบัณฑิตในราชสำนักของพระเจ้ามินดง
พระองศ์ทรงโปรดให้ชำระพงศาวดารฉบับนี้เพื่อให้ทันสมัย
การชำระในครั้งนี้ ภาคแรกมีอยู่ด้วยกัน ๗ เล่ม
เสร็จสิ้นลงในปี ค.ศ. ๑๘๕๔ และภาคที่ ๒ มีทั้งหมด ๓
เล่ม สำเร็จในปี ค.ศ. ๑๘๖๙
ทั้งสองภาคถูกนำมารวมกันและให้ชื่อว่า Dutiya
Yazawindawgyi (The Second
Royal Chronicle) หลังจากอังกฤษผนวกพม่าในปี
ค.ศ.๑๘๘๖ เชื่อกันว่ามีอีกกลุ่มหนึ่งของราชบัณฑิต
ได้ทำการขยายเนื้อหาของทุติยะยาสะวิน
ไปจนถึงเหตุการณ์ในปี ค.ศ. ๑๘๘๕
อันได้แก่การล่มสลายของระบบกษัตริย์พม่า
๗.พงศาวดารฉบับราชวงศ์คองบอง (The
Great Royal Chronical
of the Konbaung Dynasty)
ผู้แต่งคือ อูทิน
ฉบับนี้ได้รวบรวมข้อมูลต่างๆเกี่ยวกับราชวงศ์อลองพญาเท่าที่มีปรากฏในฉบับหอแก้วและทุติยะยาสะวิน
อูทินให้ชื่อพงศาวดารนี้ว่า Konbaungset
Mahayazawindawgyi (คองบองแซะมหายาสะวิน)
ซึ่งตีพิมพ์ครั้งแรกในปี ค.ศ. ๑๙๐๕
นับว่าเป็นพงศาวดารฉบับสุดท้ายที่เขียนขึ้นตามจารีตของการเขียนพงศาวดาร
ฉบับตีพิมพ์ครั้งที่ ๒ เผยแพร่ในปี ค.ศ. ๑๙๒๒
อูทินขยายเนื้อหาให้ทันสมัยโดยจบเหตุการณ์
เมื่อพระเจ้าธีบอ กษัตริย์องศ์สุดท้ายสิ้นพระชนม์ในปี
ค.ศ. ๑๙๑๖ ที่อินเดีย
หมายเหตุท้องเรื่อง
ข้อเขียนชิ้นนี้เก็บรวบรวมและเรียบเรียงจากบทความทางวิชาการชื่อ
Burmese Historiography - Chronicals (
Yazawin ) เขียนโดยนักวิชาการชาวพม่าชื่อ
Michael Aung - Thwin
เสนอต่อที่ประชุมนักประวัติศาสตร์แห่งเอเชีย ครั้งที่ ๑๔
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๓๙
จิตราภรณ์
สถาปนะวรรธนะ