ประวัติศาสตร์พม่า สมัยราชวงศ์


ประวัติศาสตร์พม่าสมัยราชวงศ์

อาณาจักรพุกาม

ชาวเมียนมาซึ่งมีเชื้อสายทิเบต-เมียนมาได้เคลื่อนจากด้านเหนือเข้าสู่แผ่นดินเมียนมาตอนกลาง แล้วจึงตั้งอาณาจักรพุกาม(x68")ขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ ๙
พุกามตั้งอยู่ในพื้นที่ตอนล่างจากจุดบรรจบของสายน้ำอิระวดีและชิดวินลงมาเล็กน้อย พุกามยังมีนามอีกว่า อริมัททนะปูระ(vib,m·ox^i)  มีความหมายว่า “เมืองที่สามารถกำราบผองภัย” ตามพงสาวดารเมียนมากล่าวว่าพุกามตั้งขึ้นโดย เจ้าปยีงปยา(xyfNexk,'Nt) ในปี ๘๔๙ หลักฐานสำหรับช่วงสมัยปยีงปยามีงถึงอโนรธา(vgokNi5k)นั้นมีไม่ชัดแจ้ง แต่พบหลักฐานแน่นอนเป็นศิลาจารึกนับแต่สมัยอโนรธาเป็นต้นมา จากศิลาจารึกเหล่านั้นระบุถึงกษัตริย์พุกามดังนี้
อโนรธา (vgokNi5k)                                               ๑๐๔๔–๑๐๗๗
ซอลู (g0k]^t)                                                           ๑๐๗๗–๑๐๘๔
จางสิตตา (dyoN00Nlkt)                                            ๑๐๘๔–๑๑๑๓
อะลองสี่ตู (vg]k'Nt0PNl^)                                     ๑๑๑๓–๑๑๖๒
นรตู (oil^)                                                             ๑๑๖๒–๑๑๖๕
                                                                                ๑๑๖๕–๑๑๖๘ (ไม่พบหลักฐาน)
นรปติสี่ตู (oix9b0PNl^)                                          ๑๑๖๘–๑๒๑๑
นาตองมยา (oktg9k'Nt,ykt)                                      ๑๒๑๑–๑๒๓๑
นรสิงขอุชนา (oilb-§f=ok)                                      ๑๒๓๑–๑๒๓๕
จะซวา (dy0:k)                                                          ๑๒๓๕–๑๒๔๙
อุชนา  (f=ok)                                                          ๑๒๔๙–๑๒๕๖
มีงยีง (,'NtpfN)                                                        ๑๒๕๖
นรสีหปเต๊ะ (oilusxg9H)                                      ๑๒๕๖–๑๒๘๗
จ่อซวา (gdykN0:k)                                                      ๑๒๘๗–๑๒๙๘
ซอนิจ (g0ko0N)                                                         ๑๒๙๘–๑๓๓๔
(ก) อโนรธา (๑๐๔๔–๑๐๗๗)
ในปี ๑๐๔๔ ในสมัยของพระเจ้าอโนรธาอาณาจักพุกามมีอาณาเขตกว้างใหญ่ พบพระพิมพ์จารึกชื่อของอโนรธานับแต่หมู่บ้านงะโอบนฝั่งน้ำชเวลีซึ่งอยู่ทางเหนือไปจนถึงมะริดทางด้านใต้ พื้นที่ที่พบพระพิมพ์เหล่านั้นบ่งบอกถึงเขตในพระราชอำนาจของอโนรธา ในสมัยอโนรธา พุกามมีอาณาเขตด้านเหนือจรดน่านเจ้า ตะวันออกจรดอาณาจักรขอมของพวกเขมร ด้านใต้จรดเกาะกระ ณ แหลมตะลีงเจในคาบสมุทรมลายู และด้านตะวันตกจรดมิจฉคีริ (เทือกเขายะไข่)
อโนรธาสามารถตีได้เมืองปราการของพวกน่านเจ้าที่อยู่บนฝั่งแม่น้ำชเวลี ส่วนในประเทศเมียนมาตอนล่างนั้น เมื่อพวกเขมรมาตีเมืองพะโคของพวกมอญ ก็ได้ส่งกองทัพนำโดยจันสิตตาไปช่วยฝ่ายมอญตีต้านเขมร
ในปี ๑๐๕๗ ชาวมอญเมืองพะโคและสะเทิมแตกสามัคคีกัน จึงได้ฉวยจังหวะนั้นตีเมืองสะเทิม และรับเอาพระไตรปิฎกและประเพณีพุทธศาสนามาจากสะเทิม
หลังจากตีสะเทิมไว้ได้ จึงได้ครองพื้นที่ริมทะเลทำให้มีโอกาสติดต่อกับอินเดีย สิงหล และคราบสมุทรมลายู ตอนที่กษัตริย์โจละจากอินเดียด้านใต้ยกทัพมาตีสิงหล วิชยพาหุกษัตริย์สิงหลได้ขอความช่วยเหลือจากอโนรธา จึงได้ส่งทหารไปช่วยรบในปี ๑๐๖๐ นอกจากนี้ จากการสงครามกับพวกโจละ สิงหลจึงประสบกับความทุกข์ยากและพุทธศาสนาก็พลอยเสื่อมถอย ดังนั้นกษัตริย์สิงหลจึงขอความช่วยเหลือเพื่อฟื้นฟูพระศาสนา อโนรธาจึงได้ส่งคณะสงฆ์ไปสิงหลในปี ๑๐๗๑
หลังจากที่อโนรธายึกครองสะเทิม พะโค ยะไข่ และเขตเมียนมาด้านเหนือได้แล้ว จึงปกครองรวมเป็นแผ่นดินเดียว ได้ตั้งเมืองพัน เมืองร้อยขึ้นในประเทศ พอเกิดศึกสงครามก็รวบรวมกำลังพลจากเมืองดังกล่าวตามสัดส่วน มีการตั้งเมืองปราการไว้ ๔๓ แห่งเพื่อป้องกันอันตรายจากน่านเจ้าและภัยที่อาจมีขึ้น อีกทั้งยังได้ตั้งกองลาดตระเวนขึ้นในเมืองเหล่านั้น
ในสมัยอโนรธา มีการสร้างคลองชลประทานในพื้นที่เกษตรกรรม ในแม่น้ำปางลองมีฝายกีงตา งะนาย ปยองมยา และกูแม ในแม่น้ำซอจีมีฝายนัวแต๊ะ กวมเซ และคูต่อ
อโนรธาดำเนินการให้พุทธศาสนานิกายเถรวาทเป็นที่แพรหลายด้วยความช่วยเหลือของฉี่งอรหัน ทรงสร้างเจดีย์ชเวซังด่อ มยีงกะบา โลกนันทา และชเวซีโข่ง
(ข) ซอลู (๑๐๗๗–๑๐๘๔)
หลังจากที่อโนรธาสวรรคต ราชบุตรซอลูได้ขึ้นครองบัลลังค์ต่อมา ในสมัยซอลูพวกมอญนำโดยงะระมาน('i,oNt)ก่อกบฎ ประเทศจึงไม่สงบสุข ในขณะที่รบกับทัพของงะระมานที่เกาะปยีด่อตาใกล้เมืองมีงละ(เหนือ) พระองค์ถูกจับเป็นเชลย จากการที่ซอลูตกไปอยู่ในมือของงะระมาน จันสิตตาจึงรวบรวมผู้คนกำราบกบฎงะระมาน แล้วสืบราชบัลลังก์พุกามในปี ๑๐๘๔
(ค) จันสิตตา (๑๐๘๔–๑๑๑๓)
ก่อนที่จันสิตตาจะมาเป็นกษัตริย์นั้น พระองค์เคยปกครองเขตทีลาย แม้ว่าพงศาวดารจะระบุว่าจันสิตตาเป็นโอรสของอโนรธาก็ตาม แต่กลับไม่พบหลักฐานเป็นศิลาจารึก
จันสิตตาได้รื้อฟื้นเอกภาพให้กับพุกามซึ่งเสื่อมทรามไปด้วยความไร้ศักยภาพของซอลู สามารถสร้างความสมัครสมานระหว่างมอญกับเมียนมาได้สำเร็จ ในสมัยอโนรธานั้น จันสิตตาเคยยกทัพไปช่วยพะโค จึงมีความสนิทสนมกับชาวมอญ เมื่อขึ้นครองบัลลังก์ พระองค์ได้แต่งตั้งนักปราชญ์มอญเป็นอำมาตย์ในราชสำนัก พระองค์ให้การส่งเสริมภาษา วรรณคดี และประเพณีมอญ และยังทรงให้สร้างศิลาจารึกเป็นภาษามอญ ในจารึกชเวซีโข่งในปี ๑๐๙๐ จารึกไว้ว่าพระองค์เองจะปกครองโดยเล็งถึงประโยชน์ของประชาชน
หลังจากที่จันสิตตากำราบงะระมานได้แล้ว พระองค์ได้ยกธิดาของพระองค์ให้กับเจ้าชายมอญนามว่านาคสมัน(ok8l,oNt)ด้วยเล็งเห็นสัมพันธไมตรีระหว่างมอญกับเมียนมา ทรงแต่งตั้งอะลองซีตูผู้เป็นโอรสที่เกิดจากทั้งสองพระองค์นั้นขึ้นเป็นอุปราช ถึงแม้พระองค์จะมีโอรสนามราชกุมาร(ik=d6,kiN)อันเกิดจากพระนางสัมพูละ(l,¾&])ก็ตาม แต่เข้าใจว่าพระองค์คงต้องการรักษาเชื้อพระวงศ์ทางฝ่ายมอญจึงตั้งให้พระนัดดาสืบราชบัลลังก์ แล้วทรงตั้งให้ราชกุมารไปกินเมืองธญวดี(TP;9u)แทน
ในสมัยจันสิตตาแผ่นดินมีแต่ความสงบสุขและเศรษฐกิจก็ราบรื่น ในปี ๑๑๐๑ มีการสร้างวังขึ้นใหม่โดยฝีมือช่างศิลป์เมียนมาและมอญ  ในศิลาจารึกมีกล่าวถึงเจ้าเชื้อสายมอญและการบรรเลงเพลงและดนตรีมอญในพิธีปลูกสร้างราชวัง พระองค์โปรดให้ขุดสระมรกตที่เชิงเขาตูยวง ทรงสร้างศาสนสถาน อาทิ เจดีย์อะแปรัตนา อานันทา และคูนี อีกทั้งยังได้สืบงานสร้างเจดีย์ชเวซีโข่งที่อโนรธาเริ่มค้างไว้
ในสมัยจันสิตตาความสัมพันธ์กับต่างประเทศมีความราบรื่น นอกจากจะมีความสัมพันธ์กับอินเดียใต้แล้ว พระองค์ยังได้ส่งคนไปช่วยบูรณะสิ่งปลูกสร้างในพุทธคยาของประเทศอินเดีย นอกจากนี้พระองค์ยังได้ส่งคณะทูตไปยังเมืองจีนในปี ๑๑๐๖
ในปี ๑๑๑๖ จันสิตตาทรงประชวร ราชกุมารผู้เป็นราชบุตรได้ประกอบกุศลให้กับพระบิดาพร้อมกับสร้างศิลาจารึกไว้ จารึกราชกุมารรู้จักกันในนามจารึกคูปะเย่าก์จี ในจารึกกล่าวถึง เมื่อพระมารดาของราชกุมารสิ้นพระชนม์ได้มอบข้าทาส ๓ หมู่บ้านและทรัพย์สินที่พระบิดาเคยมอบให้กับพระนางคราเมื่อยังทรงพระชนม์ให้กับตน จารึกนั้นยังได้กล่าวถึงการสร้างพระพุทธรูปทองคำด้วยทรัพย์สินเหล่านั้น การมอบทาส ๓ หมู่บ้านให้เป็นข้าพระ จารึกนี้เขียนบนหลักศิลา ๔ ด้าน เป็นภาษาเมียนมา มอญ บาลี และปยูอย่างละด้าน จารึกราชกุมารมิเพียงเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญ ยังช่วยให้สามารถศึกษาภาษาปยูอีกด้วย
(ฆ) อลองซีตู (๑๑๑๓–๑๑๖๒)
พอจันสิตตาสวรรคต อลองซีตูผู้เป็นนัดดาได้สืบต่อราชสมบัติ พุกามในสมัยของอลองซีตูยังคงรุ่งเรือง มีการขุดคลองชลประทาน มีการกำหนดการชั่ง ตวง วัดให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ทรงสร้างเจดีย์สัพพัญญู ชเวคูจี และเจดีย์อื่นๆ ในปี ๑๑๖๒ พระองค์ถูกโอรสนามนรสูสังหาร
(ง) นรสู (๑๑๖๒–๑๑๖๕)
หลังจากนรสูได้บัลลังก์โดยสังหารพระบิดาในปี ๑๑๖๒ นั้น ก็ยังได้สังหารมีงฉี่งซอซึ่งเป็นพระเชษฐาของพระองค์ นรสูเป็นคนโมโหร้าย ทนงตน และโหดเหี้ยม ในสมัยนี้ไม่มีความสุขสงบ พระองค์ถูกเรียกขานว่า กุลามีงจะ (เจ้าแขกปลด) เพราะถูกพวกแขกปฏิกกราสังหารสิ้นพระชนม์ในปี ๑๑๖๕ ในสมัยนั้นได้สร้างเจดีย์ธัมมยังจีซึ่งยิ่งใหญ่และแปลกเด่น
(จ) นรปตีซีตู (๑๑๖๘–๑๒๑๑)
นรปตีซีตู ได้หวนรื้อฟื้นอาณาจักรพุกามให้กลับดี ในสมัยของนรปตีซีตู พระองค์ได้เสด็จประพาสไปในราชอาณาจักร พร้อมกับสร้างเมืองใหม่ มีการรวมและแยกหมู่บ้านตามสภาพการ มีการปรับปรุงเจ้าก์แซ และสร้างเหมือง ๓ แห่งในเมืองมิตถีลา ขุดสระและคลองในเขตซะลีง และขุดสระน้อยใหญ่ในบริเวณเมืองพุกาม
สำหรับความปลอดภัยในราชวังนั้น พระองค์ได้ตั้งกองทหารรักษาพระองค์ พร้อมกับมอบเสบียงและสิ่งอุปโภคบริโภคให้กับข้าราชการ มีการจัดเก็บภาษีอย่างเป็นระบบ ได้แก่ ภาษีช้างม้า ภาษีเรือรับจ้าง ภาษีสิ่งทอ และภาษีแร่ธาตุ อันมี ภาษีทอง เงิน อำพัน ทับทิม ทองแดง ทองขาว และเหล็ก  มีการกำหนดการชั่งตวงวัดให้เป็นมาตรฐาน ทรงสร้างเจดีย์จูฬามณิ
คอเต๊าะปะลีง นอกจากนี้ยังมีการติดต่อกับสิงหลอีกด้วย
(ฉ) นาตองมยา (๑๒๑๑–๑๒๓๑)
พอนรปตีซีตูสิ้นพระชนม์ในปี ๑๒๑๑ ราชบุตรนาม ชัยสิงข์ ได้สืบต่อราชสมบัติ แต่ในจารึกจะปรากฏนามพระองค์ว่า นาตองมยา
นาตองมยาทรงสืบงานสร้างเจดีย์คอเต๊าะปะลีงที่พระบิดาเริ่มไว้จนแล้วเสร็จ อีกทั้งยังได้ทรงสร้างเจดีย์มหาโพธิ และเจดีย์ติโลกมีงคลา
(ช) นรสิงขอุชนา (๑๒๓๑–๑๒๓๕)
ใน ๑๒๓๑ นรสิงขอุชนาสืบบัลลังก์ ครองราชไปจนถึงปี ๑๒๓๕ จะซวาผู้เป็นอนุชาได้ครองราชย์ต่อมา
(ฌ) จะซวา (๑๒๓๕–๑๒๔๙)
หลังจากที่พระองค์ขึ้นครองราชย์ในปี ๑๒๓๕ ทรงได้พยายามสร้างความเจริญให้กับอาณาจักร ทรงให้สร้างเสาหินติดประกาศคำสั่งปราบปรามเหล่าร้ายทั้งหลาย ทรงให้บูรณะสระมรกตที่จันสิตตาขุดไว้แต่เดิม
(ญ) อุชนา (๑๒๔๙–๑๒๕๖)
หลังจากที่จะซวาสวรรคต อุชนาได้ขึ้นครองบัลลังก์ต่อในปี ๑๒๔๙ พระองค์สวรรคตในขณะที่เสด็จไปคล้องช้างที่เมืองทะละในปี ๑๒๕๖
(ฏ) มีงยีง (๑๒๕๖)
หลังจากสิ้นอุชนา ราชบุตรมีงยีงได้สืบราชสมบัติเพียงชั่วคราว มีงยีงถูกลอบสังหาร นรสีหปเต๊ะ ซึ่งเป็นราชบุตรอีกองค์หนึ่งของอุชนาขึ้นครองบัลลังก์
(ฐ) นรสีหปเต๊ะ (๑๒๕๖–๑๒๘๗)
นรสีหปเต๊ะทรงสร้างเจดีย์มีงคลา พระองค์เชื่อว่าหากสร้างเจดีย์นี้เสร็จอาณาจักรก็จะมีอันเป็นไป จึงสร้างให้ค้างทิ้งไว้ แต่เมื่อได้ฟังคำเทศนาของพระอาจารย์ปั้งตะกูจึงทรงสร้างจนแล้วเสร็จ ในสมัยของพระองค์นั้น ทรงต้องหนีภัยจากพวกมองโกออกไปจากพุกาม เมื่อทัพของมองโกถอยออกไปในปี ๑๒๘๗ พระองค์จึงเสด็จกลับพุกาม และในขณะนั้นเองก็ถูกสีหตูเจ้าเมืองแปร ผู้เป็นโอรสสังหาร  หลังจากสีหตูตีเมืองพะสิมได้แล้ว ก็สิ้นชีวิตลงในขณะที่มาตีเมืองทะละ จากนั้นจ่อซวาเจ้าเมืองทะละจึงได้สืบบัลลังก์พุกามในปี ๑๒๘๗
(ฑ) จ่อซวา (๑๒๘๗–๑๒๙๘)
เมื่อจ่อซวาได้ราชบัลลังก์ กษัตริย์ฉาน ๓ พี่น้อง นามราชสิงจัง อสิงขยา และสีหตู กำลังเติบใหญ่ในอำนาจ ดังนั้นจ่อซวากษัตริย์พุกามจึงผูกมิตรกับพวกมองโกเพื่อให้สามารถเผชิญกับกษัตริย์ฉานทั้ง ๓ นั้นได้ แต่เหตุนี้ทำให้ราษฎรไม่พอใจจึงชักจูงให้กษัตริย์ฉานมาตีพุกามแล้วนำจ่อซวาไปไว้ ณ เมืองเมียงซาย จากนั้นก็ตั้งให้ซอนิจราชบุตรจ่อซวาเป็นกษัตริย์พุกามองค์ต่อมา ฝ่ายกษัตริย์ฉาน ๓ พี่น้องนั้นต่างก็ครองอยู่ ณ เมียงซาย มักขรา และปีงแล
เมื่อกษัตริย์ฉาน ๓ พี่น้องปลดจ่าซวาจากบัลลังก์ กองทัพมองโกกลับยกมาอีกครั้งและล้อมเมียงซายไว้ กองทัพทั้ง ๒ ฝ่ายต่างอ่อนล้า ทัพมองโกจึงขอเจรจาสงบศึก และตกลงกันให้เมียงซายส่งบรรณาการ พอสงบศึกทัพมองโกได้ถอยกลับในปี ๑๓๐๑
(ฒ) ซอนิจ (๑๒๙๘–๑๓๓๔)
ซอนิจปกครองพุกามตั้งแต่ปี ๑๒๙๘ ต่อมาในปี ๑๓๓๔ ราชบุตรซอมวนนิจได้สืบราชสมบัติต่อจากซอนิจ กษัตริย์ทั้ง ๒ ไม่มีพระราชอำนาจอันใด เจ้าในเขตต่างๆ อันมี เมียงซาย และมักขรา เป็นอาทิ ต่างมีอำนาจเป็นของตน
(แปลจากแบบเรียนประวัติศาสตร์เมียนมา เกรด ๙ หน้า ๑๘–๒๘)

อาณาจักรหงสาวดี

(ก) กำลังฝ่ายตองอูแข็งแกร่งขึ้นมา

ในช่วงที่อังวะกับหงสาวดีมีศึก ๔๐ ปีนั้นกำลังของฝ่ายตองอูก็ดีขึ้นมา จากการที่ตองอูอยู่ไกลจากเส้นทางศึกหงสาวดีจึงได้กลายเป็นสถานพักพิงที่พ้นจากภัยสงครามสำหรับผู้คน ในเวลานั้นตองอูยังอยู่ใต้อำนาจของอังวะโดยมีเพียงเจ้าเมืองปกครอง เมื่ออังวะเสื่อมลงด้วยภัยจากพวกฉานตองอูจึงมีกำลังดียิ่งขึ้น ผู้ประสบภัยจากพวกมอชานต่างได้หลบหนีจากสักกายและปีงยะมาสู่ตองอูกันมากมาย ด้วยเหตุนี้ตองอูจึงมีกำลังแข็งแกร่งขึ้นมา
(ข) มีงจีโหญ่ (๑๔๘๕–๑๕๓๑)
มีงจีโหญ่เริ่มครองราชย์ในศักราช ๑๔๘๕ นับแต่สมัยของพระองค์ตองอูมีกำลังแข็งแกร่งมากขึ้น อาศัยโอกาสที่อังวะกำลังเกิดความยุ่งยากและอ่อนด้วยกำลังมีงจีโหญ่จึงเข้ายึดครองแขวงยะมีตีงกับเหย่หล่วยงา เมื่อมีงจีโหญ่อภิเษกสมรสกับราชธิดาของฉ่วยนันเจ๊าะฉี่งกษัตริย์อังวะนั้นพระองค์ได้เขตเจ้าก์แซเป็นสินสมรสจากฉ่วยนันเจ๊าะฉี่ง จากการที่มีงจีโหญ่ได้เจ้าก์แซซึ่งเป็นกุญแจสำคัญทางเศรษฐกิจของอังวะจึงทำให้เศรษฐกิจของตองอูเจริญรุ่งเรืองขึ้น พอพวกฉานยึดอังวะไว้ได้ในศักราช ๑๕๒๗ บรรดาผู้นำฝ่ายเมียนมาได้หลบเข้ามายังตองอูเป็นจำนวนมาก ตองอูจึงมีกำลังเข้มแข็งยิ่งขึ้น ในช่วงที่มีงจีโหญ่กำลังคิดการณ์ที่จะไปตีหงสาวดีพระองค์ก็เสด็จสวรรคต
(ค) ตะเบงชเวตี้ (๑๕๓๑–๑๕๕๐)
ราชบุตรนามตะเบงชเวตี้สืบราชสมบัติต่อจากมีงจีโหญ่ ในสมัยของพระองค์นั้นได้เข้าตีหงสาวดี ในช่วงนั้นหงสาวดีกำลังเสียความสมัครสมาน พะสิม มยองเมียะ เมาะลำไย และเมาะตะมะต่างก็แตกแยกกัน ดังนั้นตะเบงชเวตี้จึงสามารถเอาชนะหงสาวดี ทัพฝ่ายหงสาวดีถอยล่นไปจนถึงเมืองแปร แล้วตั้งค่าย ณ ฝากหนึ่งของหน่องโย เพื่อที่จะสงบทัพเหล่านั้นตะเบงชเวตี้จึงนำทัพเรือและให้จ่อถี่งนอรธาผู้เป็นพระพี่เขยนำทัพราบ พอถึงหน่องโยจ่อถี่งนอรธาก็ให้ผูกแพข้ามฟาก พอถึงฝั่งก็ให้ทำลายแพเพื่อให้ทหารมีจิตใจกล้าแกร่งและเข้าตีทัพหงสาวดีอย่างห้าวหาญ ทหารฝ่ายหงสาวดีแตกทัพถอยไป จากนั้นตะเบงชเวตี้ได้เข้าตีเมืองแปร แม้ว่าเจ้าเมืองแปรจะรวมกำลังกับยะไข่และอังวะต้านทานตะเบงชเวตี้ก็ตาม แต่ท้ายที่สุดก็พ่ายแพ้ กษัตริย์อังวะกังวนไม่หายที่เห็นตองอูมีกำลังแกร่งกล้าขึ้นมาพระองค์จึงร่วมมือกับพวกฉานจากเมืองโมเม็ต โมญีง เตงนี บะมอ ญองฉ่วย และโมแน เพื่อหมายตีเอาเมืองแปรคืน แต่กระนั้นด้วยความจัดเจนในกลศึกของตะเบงชเวตี้แผนการของกษัตริย์อังวะและพวกฉานจึงล้มเหลว จากนั้นตะเบงชเวตี้จึงทวนลำน้ำอิรวดีไล่ตีต่อไปจนถึงซะลีงและพุกาม อย่างไรก็ตามตะเบงชเวตี้ก็หาได้ยึดอังวะไว้
ในศักราช ๑๕๔๘ ฝ่ายโยดะยาได้เข้ามาประชิดเมืองชายฝั่งตะนาวศรี จึงให้ละกวนอิน เจ้าเมืองเมาะตะมะนำทัพยกเข้าทำศึก หลังจากทัพฝ่ายเมียนมายึดทะวายกลับคืนมาจึงได้ยกทัพผ่านเส้นทางเจดีย์สามองค์สู่โยดะยาในศักราช ๑๕๔๙ ทัพฝ่ายโยดะยาต้านทานจากในตัวเมืองอยุธยาอย่างแน่นหนา ฝ่ายเมียนมาจึงไม่อาจยึดราชธานีได้ ท้ายที่สุดกษัตริย์โยดะยาและตะเบงชเวตี้จึงได้เจรจากันและทั้งสองฝ่ายก็เลิกลากันไป ทัพเมียนมาจึงถอยจากโยดะยา
ในสมัยตะเบงชเวตี้มีความพยายามสร้างความกลมเกลียวระหว่างมอญกับเมียนมา มีการย้ายราชธานีจากตองอูไปยังหงสาวดี นอกจากนี้ยังได้รับธรรมเนียมมอญมาปฏิบัติ อาทิ การตัดทรงผมและพิธีราชาภิเษกอย่างมอญ เป็นต้น อีกทั้งมีการแต่งตั้งเจ้านายฝ่ายมอญให้รับตำแหน่งและเครื่องยศอย่างเหมาะสม
จากการที่ตะเบงชเวตี้คบหากับชาวโปรตุเกสผู้หนึ่งพระองค์จึงหันไปนิยมในเหล้ายาสาโท พระองค์ถูกปลงพระชนม์ในขณะที่ดื่มสุราเมรัยอย่างขาดสติ หลังจากที่ตะเบงชเวตี้สวรรคตเมืองบริวารทั้งหลายก็ต่างแยกตัว เจ้าเมืองที่เคยพึ่งในพระราชอำนาจก็เป็นกบฏตีตัวออกห่าง
(ง) บุเรงนอง จ่อถี่งนอรธา (๑๕๕๐–๑๕๘๑)
หลังจากที่ตะเบงชเวตี้สวรรคต ผู้ช่วยให้สถานการณ์สงบลงได้ท่ามกลางความยุ่งเหยิงของกิจการบ้านเมืองก็คือบุเรงนองจอถี่งนอรธาผู้เป็นพระพี่เขย เริ่มด้วยบุเรงนองได้เข้าตียึดตองอูไว้ หลังจากที่ตีได้ตองอูแล้วก็เข้าตีเมืองแปร แต่ด้วยเจ้าเมืองแปรต้านทานอย่างเต็มที่บุเรงนองถึงถอนทัพที่ล้อมเมืองแปรหันไปตียึดเอาบ้านเล็กเมืองน้อยตลอดลำน้ำอิรวดี ฝ่ายเมืองมะเยแท แหล่กาย มะลวน สะกุ เมียงกวน มีงดง ต่ายตา และมีงตัตซา ต่างก็เข้ามาอ่อนน้อมต่อบุเรงนอง พระองค์มอบกำลังคนที่รวบรวมได้ให้กับบรรดาพระอนุชาเพื่อตั้งมั่นอยู่ที่เมืองมะเยแทแล้วก็กลับคืนสู่ตองอู จากนั้นพอทราบว่าเมืองแปรอ่อนกำลังลงจึงยกทัพไปตีเมืองแปรเป็นครั้งที่สอง และยึดเมืองแปรไว้ได้
หลังจากที่บุเรงนองยึดเมืองแปรไว้ได้แล้วก็เข้าตียึดพุกามและซะเลต่อไป ตีหงสาวดีได้สำเร็จในศักราช ๑๕๕๒ หลังจากได้หงสาวดีแล้วเจ้าบ้านเจ้าเมืองต่างๆแถบเมาะตะมะทางตะวันออกต่างก็มาอ่อนน้อม ด้วยเหตุนี้บุเรงนองจึงสามารถยึดบรรดาบ้านเมืองตลอดแนวตะวันออกที่ตะเบงชเวตี้เคยครอบครองให้กลับคืนมาอยู่ในพระราชอำนาจ
หลังจากที่บุเรงนองได้หงสาวดีก็เพียรยึดอังวะให้ได้อีก แต่ด้วยฝ่ายอังวะได้รับความช่วยเหลือจากเจ้าฟ้าโองบอง เจ้าฟ้าบะมอ เจ้าฟ้าโมกอง และเจ้าฟ้าโมญีง จึงต้องต่อตีถึงสองครั้งสองครากว่าจะได้อังวะในศักราช ๑๕๕๕
หลังจากที่บุเรงนองยึดได้เมืองในพื้นที่ตอนกลางของเมียนมาและดินแดนในเขตชิดวินแล้ว ก็เข้าตีในแดนของเจ้าฟ้าฉานทางด้านเหนือที่เคยได้ความช่วยเหลือจากเจ้าเมืองอังวะ ในศักราช ๑๕๕๖ จึงได้เมืองในเขตฉาน อาทิ โมญีง โมกอง โมเม็ต พร้อมด้วย มณีปุระ เชียงใหม่และล้านช้าง และในศักราช ๑๕๖๒ ยังสามารถยึดเมืองมายหม่อและเมืองจันทาได้อีกด้วย
จากกรณีขอช้างเผือก ๔ เชือกจากกษัตริย์โยดะยา จึงได้เกิดสงครามระหว่างสองแผ่นดิน ในคราวยกทัพไปโยดะยานั้นได้ใช้กำลังพลที่ยิ่งใหญ่และเป็นระบบยิ่งกว่าคราวยกทัพโดยตะเบงชเวตี้ ฝ่ายเมียนมาได้สร้างป้อมที่สูงกว่ากำแพงเมืองอยุธยา แล้ววางปืนใหญ่บนป้อมนั้นยิงกระสุนเข้าสู่ตัวเมืองไม่เว้นวันจนชาวเมืองต่างเสียขวัญ ในที่สุดกษัตริย์โยดะยาจึงขอเจรจากับฝ่ายเมียนมา บุเรงนองได้นำจักรพรรดิกษัตริย์โยดะยาพร้อมด้วยราชบุตรราชธิดาและช้างเผือก ๔ เชือกมายังหงสาวดีในเดือนเมษายนของศักราช ๑๕๖๓
กษัตริย์โยดะยาองค์เดิมซึ่งผนวชเป็นพระที่หงสาวดีขอกลับอยุธยาโดยอ้างว่าจะไปไหว้พระ(แสวงบุญ) ทันทีที่ถึงอยุธยาก็ร่วมมือกับพระมหินทรผู้เป็นราชบุตรก่อการกระด่างกระเดื่อง
อย่างชัดแจ้ง เหตุนั้นจึงต้องยกทัพมา ดังนั้นในศักราช ๑๕๖๘ บุเรงนองจึงยกทัพมาโยดะยาเป็นครั้งที่ ๒ เพื่อปราบกบฏ ในครั้งนี้อีกเช่นกันฝ่ายเมียนมาได้ชัยชนะ แล้วแต่งตั้งให้พระมหาธรรมราชาผู้เป็นเขยของกษัตริย์โยดะยาปกครองแผ่นดินโยดะยา นับแต่นั้นเป็นต้นมาจนเมื่อบุเรงนองสวรรคตโยดะยาจึงตกอยู่ใต้อำนาจเมียนมาและมีสัมพันธ์โดยราบรื่น ด้วยเหตุนี้บุเรงนองจึงสามารถก่อตั้งมหาอาณาจักรอันยิ่งใหญ่และกว้างขวาง
นอกจากนี้บุเรงนองยังได้ปรับปรุงธรรมเนียมต่างๆที่ไม่เหมาะควรมาแต่อดีต ทรงห้ามฆ่าควาย วัว ไก่ หมู ในพิธีบูชาผีนัตตามพื้นที่ต่างๆ อาทิ พุกาม ยวาตา ปะคังแหง่ งะตะเย่าก์ ตูยวงต่าย และเจ้าก์ปางตอง เป็นต้น ทรงห้ามประเพณีการฆ่าทาสชายหญิงให้ตายตกตามเจ้าเชื้อนายตนในเมืองโมกอง โมญีง โมเม็ต สีป้อ และในดินแดนของพวกฉาน
(จ) นันทบุเรง (งาซูทายกา) (๑๕๘๑–๑๕๙๙)
หลังจากที่บุเรงนองสวรรคต นันทบุเรงผู้เป็นราชบุตรได้สืบราชสมบัติต่อมา ในสมัยของนันทบุเรงนั้นอาณาจักรหงสาวดีที่ตะเบงชเวตี้และบุเรงนองก่อตั้งไว้พลันพินาศ พอนันทบุเรงครองราชย์ได้ไม่นานบรรดาเมืองขึ้นต่างก็ตั้งตัวเป็นกบฏและตีตัวออกห่าง เริ่มด้วยเจ้าเมืองจันทาและเจ้าเมืองตองตวดก่อกบฏ ตะโดมีงซอกษัตริย์อังวะชักชวนฝ่ายตองอู แปรและเชียงใหม่เพื่อโจมตีหงสาวดี ฝ่ายของตะโดมีงซอได้ความช่วยเหลือจากเจ้าเมืองแถบด้านเหนือ ส่วนฝ่ายของนันทบุเรงมีกษัตริย์ตองอูและญองญางเข้าร่วมรบ
ฝ่ายโยดะยาได้ก่อกบฏโดยอาศัยจังหวะที่อังวะกับหงสาวดีเป็นปฏิปักษ์ต่อกัน ดังนั้นนันทบุเรงจึงยกทัพมาปราบโยดะยาถึง ๕ ครั้ง แต่ไม่สำเร็จ ในศักราช ๑๕๙๙ กษัตริย์ตองอูร่วมกับยะไข่ยกทัพมาโจมตีหงสาวดี กษัตริย์ตองอูยึดได้หงสาวดีและนำนันทบุเรงไปยังตองอู กษัตริย์ยะไข่ได้เผาทำลายเมืองราชธานีหงสาวดี ส่วนนันทบุเรงซึ่งอยู่ที่ตองอูก็ถูกนัตฉี่งหน่อง ราชบุตรของกษัตริย์ตองอูสังหารสิ้นพระชนม์ในศักราช ๑๖๐๐
ด้วยเหตุนี้ราชธานีหงสาวดีซึ่งก่อตั้งโดยตะเบงชเวตี้และบุเรงนองก็ล่มสลายลง ในสมัยของตะเบงชเวตี้และบุเรงนองนั้นสามารถก่อตั้งราชอาณาจักรอันกว้างใหญ่ และกองทัพเมียนมานับเป็นกองทัพที่ไร้คู่เปรียบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จุดเด่นข้อหนึ่งของการศึกแห่งราชอาณาจักรหงสาวดีก็คือการใช้อาวุธยุทโธปกรณ์อย่างเป็นระบบนั่นเอง
(แปลจากแบบเรียนประวัติศาสตร์เมียนมา เกรด ๙ หน้า ๓๙–๔๖)

อาณาจักรอังวะ

(ก) เจ้าญองยาง (๑๕๙๙–๑๖๐๕)
เมื่อหงสาวดีล่มลง ได้เกิดประเทศราชเล็กๆที่ปกครองด้วยอนุราชา(,'Nt'pN) อาทิ แปร ตองอู เมาะตะมะ ยะไข่ ตลอดจนประเทศราชที่ปกครองด้วยเจ้าฟ้า(g0kN4:kt) อาทิ โมญีง โมกอง เตงนี และสีป้อ ส่วนที่เมืองสิเรียม(loN]y'N)นั้น ดีบริตโต หรือ งะซีงกา ทหารรับจ้างชาวโปรตุเกส ได้สร้างป้อมปราการเข้มแข็งแล้วยกตนขึ้นเป็นกษัตริย์ ผู้ที่สามารถรักษาเอกภาพของประเทศเมียนมาที่กำลังแตกสลายอยู่ในขณะนั้นให้กลับคืนมา คือ มีงแยนันทมิต(,'NticoO¹,b9N) ราชบุตรของพระเจ้าบุเรงนองจ่อถี่งนรธา ในสมัยของพระบิดาและพระเชษฐานันทบุเรงนั้น มีงแยนันทมิต ได้เคยปกครองเมืองญองยาง พระองค์จึงมักได้รับการขานพระนามว่า เจ้าชายญองยาง
ในขณะที่ตองอูและเชียงใหม่เป็นกบฏต่อหงสาวดีนั้น มีงแยนันทมิตได้ตั้งมั่นอยู่ ณ เมืองญองยาง เมื่อสะสมพละกำลังได้พร้อมเพรียง พระองค์จึงได้ย้ายมาประทับอยู่ ณ อังวะ ฝ่ายเมืองที่อยู่แถบอังวะและข้าราชบริพารของเจ้าหงสาวดีต่างมาสวามิภักดิ์ต่อมีงแยนันทมิต
ฝ่ายเจ้าเมืองแปรและเจ้าเมืองตองอูยังคงวางแผนกำจัดอำนาจของมีงแยนันทมิตซึ่งครองอยู่อังวะ  แต่เนื่องจากเจ้ายันหน่ายซาผู้เป็นพระพี่เลี้ยงได้สังหารเจ้าเมืองแปรแล้วขึ้นครองบัลลังค์แทน ทำให้แผนการณ์ดังกล่าวต้องเสียไป พอพ้นสมัยเจ้าเมืองแปร ทหารของฝ่ายเจ้าเมืองแปรต่างก็เข้ามาสวามิภักดิ์ต่อมีงแยนันทมิต
ในปี ๑๖๐๐ มีงแยนันทมิตได้ขึ้นครองราชย์ ณ อังวะ และมีพระนามว่ามหาสีหสูระ(,sklusl^i) แม้จะได้เฉลิมพระนามว่ามหาสีหสูระก็ตาม แต่ก็เป็นพระนามที่ไม่โดดเด่นในประวัติศาสตร์เมียนมา เท่าพระนามเจ้าชายญองยาง
ในช่วง ๗ เดือนแรกหลังครองราชบัลลังค์ โปรดให้อุปราชยกทัพไปยึดเอาเมืองยะมีตีง(i,PNtl'Nt) ซึ่งตกอยู่ใต้กษัตริย์ตองอูในขณะนั้น เสร็จจากนั้น เจ้าชายญองยางได้ยกทัพไปตีเมืองญองฉ่วย โมกอง พะมอ และโมแน ด้วยพระองค์เอง เมื่อพระองค์กลับคืนสู่ราชธานีอังวะเจ้าฟ้าโมแนและเจ้าฟ้าโมกองก็กลับก่อกบฏขึ้นใหม่ ดังนั้นจึงทรงส่งทหารยกไปยังโมแนและโมกอง สามารถยึดเมืองโมแนไว้ได้โดยง่ายเนื่องด้วยเจ้าฟ้าโมแนหลบหนีไปก่อน ฝ่ายเจ้าฟ้าโมกองนั้นปักหลักสู้อย่างเข้มแข็ง แม้ยึดได้ก็ยากยิ่งนัก
ในปี ๑๖๐๕ เจ้าชายญองยางได้ส่งกองทหารนำทัพโดยพระโอรสซึ่งเป็นอุปราชไปตีโมเม็ต ส่วนพระองค์เองยกทัพไปเมืองสีป้อ สามารถตีได้เมืองโมเม็ตและสีป้อได้อย่างง่ายดาย อุปราชยังยกทัพต่อไปตีได้เมืองเตงนี ในตอนนั้นเจ้าชายญองยางทรงพระประชวร จึงยกทัพกลับราชธานีแต่ก็สิ้นพระชนม์ในระหว่างทางนั้น เจ้าชายญองยางนับเป็นผู้ที่ฟื้นเอกภาพภายในประเทศเมียนมากลับคืนมาได้หลังจากที่หงสาวดีมีอันต้องล่มสลายลง
(ข) อะเน่าก์แพะลวนมีง (๑๖๐๕–๑๖๒๘)
หลังจากสิ้นเจ้าชายญองยาง ราชบุตรผู้รับตำแหน่งอุปราชได้ขึ้นครองราชย์ทรงพระนามว่า มหาธัมมราชา พระนามมหาธัมมราชานั้นไม่เด่นนักในประวัติศาสตร์ หากมักเป็นที่รู้จักกันในนามว่า อะเน่าก์แพะลวนมีง (เจ้าผู้สิ้นพระชนม์ ณ ตำหนักหลัง) เหตุเพราะในตอนที่ทรงประทับอยู่ ณ ตำหนักฝ่ายหลังของหงสาวดีเป็นกาลชั่วคราวนั้น พระองค์ถูกราชบุตรมีงแยทิพพะลอบสังหารสิ้นพระชนม์ จึงได้พระนามตามนั้น
ในสมัยของอะเน่าก์แพะลวนมีง พระองค์ไปสืบต่อการยกทัพไปตีเมืองต่างๆสืบราชกิจที่กระทำค้างไว้แต่ในสมัยของพระราชบิดา ในปี ๑๖๐๗ ทรงยกทัพไปตีเมืองแปร เจ้าเมืองแปรรั้งเมืองไว้อย่างเต็มที่ ดังนั้นอะเน่าก์แพะลวนมีงจึงจัดแจงทัพอย่างดีบุกเข้าตีอย่างที่สุด ท้ายที่สุดเมืองแปรก็แตกพร้อมกับจับเจ้าเมืองแปรไว้ได้ ต่อมาในปี ๑๖๐๙ ได้ยกทัพไปตีตองอูด้วยกำลังพล ม้า และช้างอย่างมากมาย เนื่องจากตองอูต้านทานอย่างกล้าหาญ จึงล้อมตีอย่างยากลำบาก เมืองตองอูมีกำแพงเมืองและประตูเมืองที่แข็งแกร่งจึงล้อมตีเฉพาะจากภายนอก จนนานเข้าในตัวเมืองจึงเกิดภาวะขาดแคลนอาหาร ฝ่ายพระสงฆ์จึงถวายเทศนาต่อเจ้าเมืองตองอูแล้วขอร้องให้ย้อมแพ้เสีย จึงยึดตองอูไว้ได้ พอยึดตองอูได้ อะเน่าก์แพะลวนมีงจึงได้คืนเมืองให้กับกษัตริย์ตองอูแล้วเสร็จนิวัตสู่อังวะ
หลังจากที่หงสาวดีแตก มีงราชาจี(~มหาราชา) กษัตริย์ยะไข่ ได้มอบหมายให้ดีบริตโต แม่ทัพทหารอาสาชาวโปรตุเกสดูแลเมืองสิเรียมต่อมา แล้วพระองค์ก็กลับคืนยะไข่ ชาวเมียนมามักเรียกดีบริตโตว่า ซวงกา หรือ งะซีงกา งะซีงกาตั้งตนเป็นกษัตริย์พร้อมกับสร้างป้อมปราการที่เมืองสิเรียมไว้อย่างแน่นหนา พยายามครอบครองพื้นที่ริมฝั่งทะเลตั้งแต่เมาะตะมามาจนถึงพะสิม โดยเรียกเก็บภาษีจากเรือสินค้า จึงมีกำลังทรัพย์เข้มแข็ง และเพื่อที่จะครอบครองได้นานต่อไปจึงผูกมิตรเป็นเขยเป็นพ่อตากับพญาทะละเจ้าเมืองเมาะตะมะ พร้อมกับส่งผู้แทนไปสวามิภักดิ์ต่อผู้สำเร็จราชการของโปรตุเกสประจำเมืองกัว จากการที่ได้รับความช่วยเหลือด้านอาวุธและกำลังคนจากผู้สำเร็จราชการโปรตุเกส ณ เมืองกัวนั้น กองกำลังของโปรตุเกสที่งะวีงกาคุมอยู่นั้นจึงเข้มแข็ง เมื่องะวีงกามีกำลังดีขึ้น จึงไม่ยอมอยู่ใต้อำนาจของกษัตริย์ยะไข่อีกต่อไป จึงได้แยกตัวตั้งตนเป็นกษัตริย์ปกครองโดยอิสระ มีงราชาจีปรารถนาที่จะกำจัดกำลังอำนาจของงะซีงกา จึงส่งราชบุตรนามมีงขะมองไปตีเมืองสิเรียม แต่มิเพียงพราดท่าเสียที หนำซ้ำมีงขะมองกลับตกไปอยู่ในมือของงะซีงกา มีงราชาจีต้องนำเงินและทองไปไถ่ตัวมีงขะมอง
งะซีงกาทำลายสถูปเจดีย์ในเมืองสิเรียมแล้วเอาพระธาตุและของมีค่าไป พร้อมกับชักชวนผู้คนในพื้นที่สิเรียมให้หันมานับถือศาสนาคริสต์ งะซีงกาเป็นผู้คิดการณ์ใหญ่ผู้หนึ่ง แม้จะยึดครองพื้นที่เมียนมาด้านใต้ได้แล้วยังไม่พอใจ กลับยังคิดที่จะครอบครองเมียนมาทั้งประเทศ ดังนั้น ในปี ๑๖๑๒ งะซีงกาจึงได้ร่วมมือกับพญาทะละเจ้าเมืองเมาะตะมะยกทัพมาตีตองอูพร้อมกับเผาทำลายวัง วัด และบ้าน
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 15526เขียนเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2006 18:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 21:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
อยากรู้ประวัติศาสตร์พม่าสมัยราชวงศ์คองบอง

ขอ coppy ไปให้ผู้ที่สนใจศึกษาหน่อยนะครับ

ขอบคุณครับ..

ขอ coppy ไปศึกษาต่อไปหน่อยนะคะ

ขอบคุณค่ะ..

อยากรู้จัง พม่าเรียกพงศาวดารของตนว่าอะไร

ใครรู้บอกทีนะคะ

ต้องตอบ

เด็ก KKW

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท