แบบเรียนประวัติศาสตร์เมียนมา เกรด ๑๐ ได้กล่าวถึงบทบาทของกองทัพแห่งชาติในการปกครองประเทศในยุคแนวทางสังคมนิยม จำแนกเป็น ๒ สมัย คือ สมัยรัฐบาลสภาปฏิวัติ และสมัยรัฐบาล
ประวัติศาสตร์พม่าสมัยสังคมนิยม
แบบเรียนประวัติศาสตร์เมียนมา
เกรด ๑๐
ได้กล่าวถึงบทบาทของกองทัพแห่งชาติในการปกครองประเทศในยุคแนวทางสังคมนิยม
จำแนกเป็น ๒ สมัย คือ สมัยรัฐบาลสภาปฏิวัติ
และสมัยรัฐบาลสาธารรัฐสังคมนิยมแห่งสหภาพเมียนมา
รายละเอียดมีดังต่อไปนี้
(ก)
รัฐบาลสภาปฏิวัติ
จากการที่เกิดสถานการณ์เลวร้ายในสหภาพเมียนมา
กองทัพจึงได้เข้าแบกรับภารกิจ และได้ตั้งสภาปฏิวัติในวันที่ ๒ มีนาคม
๑๙๖๒ นับแต่นั้นมาจึงได้เข้าสู่สมัยสังคมนิยม
ในเบื้องแรก
สภาปฏิวัติได้ยกเลิกสภาผู้แทน(xj]u,oN)อันประกอบด้วยสภาประชาชน(exPNl^h]9Ng9kN)
และสภาชนชาติ(]^,y7bt06]9Ng9kN) พร้อมกับมอบอำนาจนิติบัญญัติ
อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการให้กับสภาปฏิวัติ
ในเดือนกรกฎาคม ๑๙๖๒ ได้ตั้งพรรคแนวทางสังคมนิยมเมียนมา
พรรคที่ตั้งขึ้นในรูปแบบนี้มีคณะแกนนำ(ve,7g9xj9u)ที่ใช้ระบบการบริหารจากส่วนกลาง(rs6bFt0ut0o0N)
หลังจากตั้งคณะแกนนำแล้ว
ได้มีการเผยแพร่เอกสารเกี่ยวกับอุดมการณ์อันเป็นพันธกิจของมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมซึ่งบอกถึงวิสัยทัศน์และอุดมการณ์ของพรรคแนวทางสังคมนิยม
เพื่อให้ผู้ใช้แรงงานและประชาชนได้ทราบอุดมการณ์ของพรรค ในปี ๑๙๖๔
ได้ดำเนินการขยายงานสร้างเอกภาพในระดับพื้นฐานโดยได้ก่อตั้งหน่วยงานพรรคในระดับอำเภอ
ในการสร้างสังคมมนุษย์ในแบบสังคมนิยมนั้น ได้กำหนดชนชั้นรากฐานเป็น ๒
ชนชั้น คือชนชั้นชาวไร่ชาวนา และชนชั้นกรรมกร
สภาปฏิวัติพยายามที่จะให้เกิดความสามัคคีในหมู่ชนชั้นชาวไร่ชาวนาและชนชั้นกรรมกร
โดยได้จัดให้มีการสัมมนาชาวไร่ชาวนาที่โองตอ ดูยา โปปา ขะบอง
และย่างกุ้ง และจัดสัมมนากรรมกรที่เมืองย่างกุ้ง และเมืองเช้าก์
ในปี ๑๙๖๘
ได้ก่อตั้งสภาผู้ใช้แรงงานของประชาชน(exPNl^hv]6xNl,ktgdk'N0u) ซึ่งมี
๓ ระดับคือ ระดับล่าง(vge--") ระดับอำเภอ(1,bhopN)
และระดับศูนย์กลาง(rs6b) และในปี ๑๙๖๙
นั้นได้แต่งตั้งสภาผู้ใช้แรงงานของประชาชนในทั้ง ๓ ระดับ คือ
กลุ่มหมู่บ้าน อำเภอ และศูนย์กลาง
สภาปฏิวัติได้พยายามอย่างเต็มความสามารถเพื่อในสถานการณ์ทางการเมืองสู่ความสงบ
ในปี ๑๙๖๒ นายพลเนวินประธานสภาปฏิวัติได้พบปะกับผู้นำพรรคการเมือง
อาทิ พรรคสันนิบาตอิสรภาพต่อต้านฟาสซิสต์ พรรคสหภาพ
และพรรคทหารประชาชน ถึง ๓ ครั้ง
เพื่อหารือให้เข้าร่วมแนวทางสังคมนิยมอย่างพร้อมเพียง
และยังได้เปิดเจรจาสันติภาพโดยขอให้กลุ่มใต้ดินถืออาวุธหันมาเข้าร่วมในแนวทางสู่สังคมนิยม
อย่างไรก็ตาม
สามารถเจรจาประสบความสำเร็จได้เพียงกับกลุ่มปฏิวัติกะเหรี่ยงเท่านั้น
ในปี ๑๙๖๘
ผู้นำทางการเมืองฝ่ายขวาผู้หนึ่งได้ก่อตั้งพรรคสภาประชาธิปไตย(xj]u,oNmu,6bdgi0u)ขึ้นในประเทศ
มีการตั้งกองกำลังผสมอิสรภาพแห่งชนชาติ(]^,y7bt06]:9Nge,kdNgit9xNgxj'Nt06)
อันประกอบด้วยกองกำลัง KNU ของกะเหรี่ยง
และกองกำลังพรรคมอญใหม่(,:oNexPNl0Nxj9u)
แล้วประกาศว่าจะช่วยกู้ประเทศพร้อมทั้งสะสมกำลังคน และอาวุธ
อย่างไรก็ตาม กองกำลังผสมทั้ง ๓ ฝ่ายไม่สามารถทำงานได้สำเร็จ
ในเดือนกรกฎาคม ๑๙๖๓ ได้มีการตั้งสถาบันศูนย์กลางทางการเมือง
(rs6bO6b'N'"gitlbx»"gdyk'Nt) เพื่อถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับอุดมการณ์
การเมือง เศรษฐกิจ และเอกภาพ
ส่วนคณะกรรมการเพื่อการศึกษาในกองทัพเองก็จัดให้มีการเรียนการสอนด้วย
ในปี ๑๙๗๑ มีการประชุมพรรคเป็นครั้งแรก
ในการประชุมครั้งนั้นได้กำหนดแผนงานของพรรคที่จะดำเนินต่อไปในด้านการก่อตั้งประเทศ
สังคมนิยมประชาธิปไตย การสร้างความสมานฉันท์ระหว่างชนชาติต่างๆให้ถาวร
และการดำเนินนโยบายต่างประเทศที่อิสระอย่างแท้จริง
และได้เปลี่ยนระบบพรรคแกนนำแบบรวมศูนย์อำนาจไปเป็นระบบพรรคแกนที่เป็นประชาธิปไตย
ในการสร้างประเทศสังคมนิยมประชาธิปไตยซึ่งกำหนดเป็นแผนสำหรับอนาคตจากการประชุมพรรคครั้งแรกนั้น
ได้ร่างรัฐธรรมนูญแห่งชาติฉบับใหม่เพื่อมอบอำนาจอธิปไตยของชาติคืนสู่มือประชาชน
จากนั้นสภาปฏิวัติได้จัดให้มีการลงคะแนนเสียงสนับสนุนจากประชาชนเมื่อวันที่
๓ มกราคม ๑๙๗๔
หลังจากนั้นได้จัดให้มีการเลือกตั้งสภาประชาชน(exPNl^h]9Ng9kN)และองค์กรประชาชน(exPNl^hgdk'N0u)โดยลำดับขึ้นเป็นครั้งแรกในระหว่างเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์
๑๙๗๔
(ข)
สาธารณรัฐสังคมนิยมแห่งสหภาพเมียนมา
การประชุมสภาประชาชน(exPNl^h]9Ng9kN)เริ่มเป็นครั้งแรกในวันที่
๒ มีนาคม ๑๙๗๔
ในวันนั้นหัวหน้าคณะปฏิวัติแห่งสหภาพเมียนมา(exPNg5k'N06e,oN,kO6b'N'"g9kN]aoNgitgdk'N0u)ได้มอบอำนาจให้กับสภาประชาชนตามรัฐธรรมนูญ
เมื่อมีการมอบอำนาจให้กับสภาประชาชน
จึงประกาศยุบคณะปฏิวัติแห่งสหภาพเมียนมา
จากนั้นสภาประชาชนจึงเลือกรัฐบาลแห่งชาติ(O6b'N'"g9kNgdk'N0u)ของสาธารณรัฐสังคมนิยมแห่งสหภาพเมียนมา
(exPNg5k'N06C6biapN]0Nl,Á9e,oN,kO6b'N'"g9kN) จำนวน ๒๘ คน
นอกจากนี้ยังได้เลือกตั้งคณะศูนย์กลางอำนาจ(rs6bvkIkx6b'N)
อีกทั้งคณะกรรมการการปกครองและรักษาความปลอดภัยได้มอบอำนาจให้กับองค์กรประชาชนทั่วประเทศโดยลำดับ
พรรคแนวทางสังคมนิยมเมียนมา
ได้ตั้งองค์กรกลางยุวชนสามัคคีร่วมแนวทาง(],Nt0fN]^'pN0PNtU6"tgitrs6bgdkN,9u)
ในเดือนสิงหาคม ๑๙๗๑ เพื่อให้เยาวชนเป็นกำลังหนุนต่อพรรค
และให้เป็นผู้สร้างและปกป้องระบอบสังคมนิยม
ได้มีการตั้งกลุ่มยุวชนระดับต่างๆจากการเคลื่อนไหวรวมพลังของคณะกรรมการดังกล่าว
องค์กรกลางยุวชนสามัคคีร่วมแนวทางค่อยๆเติบโตมาโดยลำดับจนถึงระดับประเทศ
มีการกำหนดให้ชาวไร่ชาวนาและกรรมกรเป็นชนชั้นรากฐานของพรรคแนวทางสังคมนิยม
และได้ตั้งสมาพันธ์ชาวไร่ชาวนา และสมาพันธ์กรรมกรขึ้นโดยลำดับ
ในการสร้างประเทศในระบอบสังคมนิยมประชาธิปไตยให้ประสมผลสำเร็จเป็นรูปธรรมตามความมุ่งหมายนั้น
ได้มีการตั้งคณะอดีตข้าราชการทหาร กลุ่มนักประพันธ์
คณะกิจกรรมภาพยนตร์ คณะกิจกรรมคีตศิลป์ และคณะกิจกรรมนาฏศิลป์
ในเดือนพฤษภาคม ๑๙๘๐
ได้จัดการประชุมพระสงฆ์ทุกนิกายเพื่อมุ่งหมายให้ชำระพุทธศาสนาของชาติให้บริสุทธิ์และมั่นคง
ในการประชุมพระสงฆ์ครั้งนั้น ได้มีการผ่านธรรมนูญสำหรับสงฆ์
ตลอดจนกระบวนการตัดสินปัญหาการกระทำผิดด้านวินัยของฝ่ายสงฆ์
มีการมอบเกียรติคุณให้กับผู้ที่ทำประโยชน์ต่อประเทศในการเรียกร้องเอกราชโดยมิเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน
มีการประกาศนิรโทษกรรมแก่กลุ่มการเมืองและกองกำลังต่างๆทั้งในประเทศและต่างประเทศให้คืนสู่มาตุภูมิ
พร้อมกับได้จัดหาที่พำนักให้กับผู้กลับใจอย่างเป็นที่เป็นทาง
ในการประชุมสภาประชาชนครั้งที่ ๒
ได้ผ่านร่างกฎหมายเงินบำนาญด้านการเมือง
เพื่อให้บุคคลที่เคยทำคุณประโยชน์ทางการเมืองต่อประเทศได้รับบำนาญเป็นรายเดือนเมื่อมีอายุเกิน
๖๐ ปีไปแล้ว และยังได้มีการร่างและผ่านกฎหมายประชาชนขึ้นใหม่
ในด้านสภาวการณ์โลก
ได้ดำเนินนโยบายไม่ฝักใฝ่กับกลุ่มอำนาจการเมืองและกลุ่มอำนาจการทหารใดๆ
โดยยึดนโยบายเป็นกลางและเป็นอิสระ
กระนั้นก็เข้าร่วมในสหประชาชาติอย่างสมบทบาท
ประเทศเมียนมาได้ดำเนินความพยายามเพื่อสร้างสันถวไมตรีอันดีกับนานาประเทศ
ผู้นำประเทศได้มีโอกาสพบปะกับผู้นำของประเทศต่างๆเพื่อเจรจาและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน
อีกทั้งมีความสัมพันธ์อันดีกับประเทศเพื่อนบ้านโดยสันติ
วิรัช นิยมธรรม แปล