ประวัติศาสตร์พม่า สมัยเอกราช


สหภาพพม่าในยุคหลังจากการที่ได้รับเอกราชคืนมานั้น ถือเป็นยุคแห่งการทดลองระบอบประชาธิปไตย มีระยะเวลานานประมาณ ๑๔ ปี
ประวัติศาสตร์พม่าสมัยเอกราช
สหภาพพม่าในยุคหลังจากการที่ได้รับเอกราชคืนมานั้น ถือเป็นยุคแห่งการทดลองระบอบประชาธิปไตย มีระยะเวลานานประมาณ ๑๔ ปี คือในช่วงปี ค.ศ. ๑๙๔๘ ถึง ๑๙๖๒ ในสมัยนี้อาจจำแนกรัฐบาลที่ปกครองได้เป็น ๓ ช่วงรัฐบาล คือ รัฐบาลสันนิบาตอิสรภาพต่อต้านฟาสซิสต์ที่นำโดยอูนุ รัฐบาลรักษาการที่นำโดยนายพลเนวิน และรัฐบาลสหภาพที่อูนุได้กลับมาเป็นผู้นำอีกครั้ง แบบเรียนประวัติศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นปีที่ ๑๐ (มัธยมปลาย) ได้ให้รายละเอียดไว้ดังนี้
(๑) รัฐบาลสันนิบาตอิสรภาพต่อต้านฟาสซิส์(ค.ศ.๑๘๔๘–๑๙๕๘)
ประเทศเมียนมากลับมาเป็นประเทศเอกราชในวันที่ ๔ มกราคม ๑๙๔๘ เป็นต้นมา และจากการที่คณะรัฐบาลในระหว่างปี ๑๙๔๘ ถึง ๑๙๕๘ นั้นมีพรรคสันนิบาตอิสรภาพต่อต้านฟาสซิสต์ (zdNC0NCoNhdy'NgitexPNl^h]:9N]xNgitvz:ch หรือเรียกโดยย่อว่า zCx] ) เป็นแกนนำ จึงได้เรียกสมัยการปกครองในช่วงนี้ว่าสมัยรัฐบาลเอกราชต่อต้านฟาสซิสต์ (zCx]g-9N)
ตามรัฐธรรมนูญการปกครองในช่วงนั้น จะต้องให้จัดมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาทุก ๔ ปี จากการเลือกตั้งสมาชิกสภาในปี ๑๙๕๒ และ ๑๙๕๖ นั้น พรรคสันนิบาตอิสรภาพต่อต้านฟาสซิสต์ได้รับเลือกมากที่สุด จึงได้ตั้งรัฐบาลเอกราชต่อต้านฟาสซิสต์ขึ้น แต่จากการที่พรรคสันนิบาตอิสรภาพต่อต้านฟาสซิสต์ประกอบด้วยสมาชิกพรรคที่มีแนวคิดหลากหลายทางการเมือง อาทิ คอมมิวนิสต์ สังคมนิยม และกลุ่มทหารเพื่อประชาชน (exPNl^hicg4kN)  เป็นอาทิ ท้ายสุดได้ส่งผลให้เกิดความแตกแยก
ในสมัยรัฐบาลเอกราชต่อต้านฟาสซิสต์ได้เกิดการขบวนการก่อการร้ายขึ้นภายในประเทศ  กลุ่มก่อการร้ายในช่วงแรกคือคอมมิวนิสต์ ถึงแม้พวกคอมมิวนิสต์จะเข้าแทรกอยู่ในพรรคสันนิบาตอิสรภาพต่อต้านฟาสซิสต์ก็ตาม แต่ระดับผู้นำกลุ่มก็ยังมีความคิดไม่ลงรอยกัน  กลุ่มของตะขิ่นโซ (l-'N06bt) ที่ยึดแนวทางต่อสู่เพื่อเอกราชโดยใช้กำลัง กับกลุ่มของตะขิ่นตานทูน(l-'NloNt5:oNt) ที่เข้าร่วมกับพรรคสันนิบาตอิสรภาพต่อต้านฟาสซิสต์ในการเรียกร้องเอกราชนั้น ได้แตกแยกกันตั้งแต่เดือนมีนาคม ๑๙๔๖ แล้วทำให้เกิดเป็นพรรคคอมมิวนิสต์พม่าธงแดงที่นำโดยตะขิ่นโซ กับพรรคคอมมิวนิสต์พม่าธงขาวที่นำโดยตะขิ่นตานทูน ในปี ๑๙๔๖ พรรคคอมมิวนิสต์ธงแดงเป็นกลุ่มแรกที่หนีเข้าป่าเพื่อดำเนินการก่อการร้าย ส่วนพรรคคอมมิวนิสต์ธงขาวยังคงเข้าร่วมกับพรรคสันนิบาตอิสรภาพต่อต้านฟาสซิสต์ต่อไป อย่างไรก็ตาม เมื่อเหล่าผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์พม่าได้เข้าร่วมประชุมที่จัดขึ้นที่เมืองกัลกัตตาเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ๑๙๔๘ ซึ่งมีมติยอมรับผลจากการประชุมพรรคคอมมิวนิสต์สากลที่จัดขึ้นที่กรุงวอซอในปี ๑๙๔๗ ที่เห็นว่าแนวทางการต่อสู้เท่านั้นที่จะนำเอกราชคืนมาได้อย่างแท้จริง คอมมิวนิสต์พม่าจึงได้หันมาต่อต้านพรรคสันนิบาตอิสรภาพต่อต้านฟาสซิสต์แล้วหลบเข้าป่าในเดือนมีนาคม ๑๙๔๘ พวกคอมมิวนิสต์พม่าได้ยึดเปียงมะนา ไว้เป็นฐานปฏิบัติการ แล้วเข้าโจมตีในพื้นที่พะโค ตองอู เมียงฉั่ง และพะสิม มีการทำลายทางรถไฟ และกระทำการยึดเสบียงจากชาวบ้าน และอีกไม่นานต่อมาได้ถอยไปจากตัวเมืองหันมาตั้งเป็นกองกำลังรบแบบกองโจร
กลุ่มทหารเพื่อประชาชนเป็นกำลังสำคัญที่สนับสนุนพรรคสันนิบาตอิสรภาพต่อต้านฟาสซิสต์อย่างเป็นระบบในขณะเมื่อนายพลอองซานยังมีชีวิตอยู่ โดยตั้งเป็นกองกำลังถืออาวุธที่มีฐานปฏิบัติการอยู่ในย่างกุ้งพร้อมกับจัดตั้งกองกำลังอยู่ทุกเมือง บรรดาผู้นำของกลุ่มทหารเพื่อประชาชนต่างมีตำแหน่งเป็นสมาชิกสภา แต่กระนั้นกลุ่มดังกล่าวกลับเอนเอียงไปทางฝ่ายซ้ายในเวลาต่อมา แม้จะต้องมีการยุบกองทัพทหารเพื่อประชาชนในวันที่ ๔ มกราคมเมื่อได้รับเอกราชก็ตาม แต่ด้วยตะขิ่นนุ(l-'NO6)ยอมผ่อนปรนจึงได้เลื่อนเวลาไปเป็นเดือนเมษายน ๑๙๔๘ กลุ่มทหารเพื่อประชาชนบางส่วนได้พยายามรวมตัวกันเพื่อตั้งกองกำลัง ในขณะเดียวกันฝ่ายที่ต้องการเป็นนักการเมืองก็พยายามเข้าร่วมกับฝ่ายสังคมนิยมเพื่อตั้งเป็นกลุ่มพันธมิตรมารค์ซิสต์ (Marxist League) บางส่วนมีความเห็นที่จะแยกตัวออกมาตั้งเป็นกลุ่มพันธมิตรอองซาน (Aung San League) อย่างไรก็ตามความคิดดังกล่าวก็ล้มเลิกไป ต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ ๑๙๔๘ กลุ่มทหารเพื่อประชาชนได้แตกออกเป็น ๒ ฝ่าย คือกลุ่มทหารขาว (icg4kNez&) และกลุ่มทหารเหลือง (icg4kN;j) กลุ่มทหารเหลืองยอมรับข้อตกลง ๑๔ ข้อ จาก ๑๕ ข้อตามข้อตกลงสมานซ้าย (]dN;cPuP:9Ngit) ของนายกรัฐมนตรีตะขิ่นนุ แต่กลุ่มทหารขาวนั้นได้เชิญพวกคอมมิวนิสต์ที่หลบอยู่ในป่ามาปรึกษาและมีมติไม่ยอมรับข้อตกลงสมานซ้ายของนายกฯตะขิ่นนุ กลุ่มทหารขาวนั้นนำโดย โบละหย่อง (r6b]N]gik'N) กับโบโพกูน (r6b]Nz6btd:oNt) ส่วนกลุ่มทหารเหลืองมีโบมูอ่อง (r6b]N,a&tgvk'N) กับโบเส่งหมั่ง (r6b]N0boN,aoN) เป็นผู้นำ กลุ่มทหารขาวเริ่มปฏิบัติการต่อต้านรัฐบาลในเดือนกรกฎาคม ๑๙๔๘ ทำการยึดคลังหลวงและทรัพย์สินที่จะนำไปช่วยเหลือราษฎรในพื้นที่เมืองพะสิม มะอูปีง แปร และพะโค ในช่วง ๒ สัปดาห์ที่กลุ่มทหารขาวก่อกบฏนั้น ทหารจากกองทัพบางส่วนได้หลบเข้าป่าไปด้วย เหตุเพราะการโฆษณาชวนเชื่อของฝ่ายคอมมิวนิสต์ในกองทัพ
พวกกะเหรี่ยงได้ก่อตั้งองค์กรกลางกะเหรี่ยง (di'Nrs6bvz:ch) หรือ KCO (Karen Central Organization)และเข้าร่วมกับพรรคสันนิบาตเอกราชต่อต้านฟาสซิสต์ อย่างไรก็ตาม นับจากปี ๑๙๔๗ ได้เกิดการแตกแยกภายในกลุ่ม KCO จากนั้นมานบะข่าย(,oNt4-6b'N)และมานวีงหม่อง(,oNt;'Ntg,k'N ภายหลังรับตำแหน่งประธานาธิบดีคนที่ ๓)ได้ตั้งองค์กรยุวชนกะเหรี่ยง (di'N]^'pN,yktvz:ch) หรือ KYO (Karen Youth Organization) และเข้าร่วมกับพรรคสันนิบาตอิสรภาพต่อต้านฟาสซิสต์ต่อไป ต่อมาซอบะอูจี (g0k4FtWdut) และกะเหรี่ยงส่วนใหญ่ได้ตั้งองค์กรสหภาพชนชาติกะเหรี่ยง หรือ KNU (Karen National Union) แล้วได้ถอนตัวออกจากพรรคสันนิบาตอิสรภาพต่อต้านฟาสซิสต์ KYO และ KNU ต่างช่วงชิงกันในพื้นที่ ฝ่าย KNU คว่ำบาตรสภาประชาชน มีเฉพาะฝ่าย KYO เท่านั้นที่ยังอยู่ในสภา นายกฯตะขิ่นนุก็ได้ทำตามที่ให้สัญญาไว้ จึงแต่งตั้งนายพลสมิทดูน (r6b]N-y7xN0,0Nm:oNt  หรือ Smith Dun) ซึ่งเป็นชาวกะเหรี่ยง เป็นผู้นำกองทัพ แต่กระนั้น KNU ก็ยังไม่พอใจ กลับตั้งกองกำลังถืออาวุธ คือ KNDO (Karen National Defence Organization) พร้อมกับเรียกร้องที่จะตั้งรัฐกะเหรี่ยงโดยขอรวมพื้นที่มณฑลเอยาวดี มณฑลตะนาวศรี จังหวัดตองอู จังหวัดหงสาวดี และอีงเซง ให้เป็นส่วนหนึ่งของรัฐกะเหรี่ยงด้วย ในช่วงที่กลุ่มทหารเพื่อประชาชนปฏิบัติการในป่านั้น กองกำลัง KNDO ได้เริ่มเคลื่อนไหวแล้ว และเริ่มก่อกบฏในเดือนกรกฎาคม ๑๙๔๘ และได้ต่อสู้กับรัฐบาลอย่างรุนแรงในช่วงเดือนธันวาคม ๑๙๔๘ ถึงเดือนมกราคม ๑๙๔๙ และในช่วงมกราคม-กุมภาพันธ์ ๑๙๔๙ นั้น กะเหรี่ยงที่อยู่ในกองตำรวจและทหารของรัฐบาลได้หันไปเข้ากับ KNDO จากสถานการณ์นั้นรัฐบาลจึงปลดนายพลสมิทดูนและแต่งตั้งนายพลเนวิน(r6b]N-y7xNgo;'Nt)เข้ารับตำแหน่งแทน และยังได้ปลดรัฐมนตรีที่เป็นกะเหรี่ยงออกจากคณะรัฐมนตรีอีก ๒ ตำแหน่ง  ในช่วงแรกผู้ก่อการร้ายกะเหรี่ยงได้รับชัยชนะ โดยสามารถยึดได้เมืองสำคัญ อาทิ เมมะโยะ มัณฑะเล ตองอูและอีงเซงเป็นต้น แต่เมืองเหล่านั้นก็หลุดมือไปในภายหลัง
ในมณฑลตะนาวศรี กลุ่ม MNDO (Mon National Defence Organization) ได้ก่อความไม่สงบ มีชาวปะโอบางส่วนได้เข้าร่วมในการก่อความไม่สงบในครั้งนั้นด้วย ส่วนในพื้นที่ยะไข่ก็มีกลุ่มมูจาฮิด (Mujahid)ได้ก่อความไม่สงบขึ้นเช่นกัน
กลุ่มก่อการร้ายที่ร่วมก่อการในครั้งนี้ ถูกเรียกรวมว่ากบฏหลากสี(gik'N06"l^x6oN) กระนั้นกลุ่มก่อการร้ายต่างฝ่ายต่างแยกก่อเหตุไม่สงบ และท้ายที่สุดกบฏทั้งหลายก็ถูกรัฐบาลปราบปรามลงได้
นอกจากเกิดกบฏหลากสีในประเทศแล้ว ยังเกิดภัยจากภายนอกขึ้นอีก คือการรุกรานของพวกจีนขาวก๊กมินตั๋ง (KMT = Kuomintang) ที่เกิดขึ้นในปี ๑๙๔๙ ฝ่ายคอมมิวนิสต์ได้อำนาจในประเทศจีน และรัฐบาลก๊กมินตั๋งซึ่งเป็นฝ่ายตรงข้ามได้ถอยหลบหนีไปยังเกาะไต้หวัน กองกำลังก๊กมินตั๋งที่ตกค้างอยู่ในยูนนานได้รุกเข้ามาในแผ่นดินเมียนมาเมื่อปี ๑๙๕๐ ทัพก๊กมินตั๋งเหล่านั้นมีนายพล Li Mi เป็นผู้นำ การรุกล้ำเข้ามาของก๊กมินตั๋งนี้สร้างปัญหาใหญ่ให้กับประเทศเมียนมา รัฐบาลเมียนมาไม่อาจผลักดันกองกำลังดังกล่าวได้เต็มที่ เพราะยังต้องปราบปรามการก่อการร้ายภายในอยู่ ทหารก๊กมินตั๋งร่วม ๒ หมื่นคนได้รุกเข้าไปถึงเชียงตุง (dy7b'Nt96") และข่มเหงประชาชน ในเดือนพฤษภาคม ๑๙๕๐ ยังเข้าตีเมืองจู่โก๊ะ (Ed&d69N) ซึ่งอยู่ทางชายแดน รัฐบาลเมียนมาได้ยื่นคำขาดให้กองกำลังก๊กมินตั๋งวางอาวุธมอบตัว หรือ จะยอมให้ส่งตัวไปยังเกาะไต้หวัน แต่ฝ่ายก๊กมินตั๋งกลับไม่ยอมรับแล้วยังปฏิบัติการสู้รบต่อไป ในช่วงปี ๑๙๕๐–๑๙๕๑ พวกก๊กมินตั๋งมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ส่วนทางไต้หวันนั้นก็ยังได้ให้ความช่วยเหลือด้านการฝึกทหาร อาวุธ และเสบียง ดังนั้นในเดือนมกราคม ๑๙๕๒ รัฐบาลเมียนมาจึงได้ร้องเรียนกรณีการรุกล้ำของทัพก๊กมินตั๋งยังที่ประชุมทั่วไปของสหประชาชาติ เมื่อปัญหากลับเลวร้ายลงในเดือนเมษายน ๑๙๕๓ รัฐบาลเมียนมาจึงได้ประณามการล่วงล้ำดังกล่าวในการประชุมสหประชาชาติอีกครั้ง พร้อมกับเรียกร้องให้ยุติการรุกล้ำนั้น แต่รัฐบาลอเมริกันคัดค้านข้อเรียกร้องดังกล่าว ในที่สุดจึงเปลี่ยนจากการเรียกก๊กมินตั๋งเป็นกองกำลังต่างชาติถืออาวุธ แต่ไม่ว่ารัฐบาลก๊กมินตั๋งที่เกาะไต้หวันจะไม่มีเจตนาที่จะถอนกองกำลังนั้นออกจากเมียนมา  หรือทั้งอเมริกันและไทยจะสนับสนุนให้ยุบกองกำลังดังกล่าวก็ตาม กองทัพเมียนมาก็ได้ทำศึกกับฝ่ายก๊กมินตั๋งจนถึงที่สุด จึงสามารถยุติกองกองกำลังในประเทศเมียนมาลงได้ในเดือนกันยายน ๑๙๕๓
พรรคสันนิบาตอิสรภาพต่อต้านฟาสซิสต์ได้เอนเอียงจากแนวทางสังคมนิยมที่เคยมุ่งหมายไว้ในตอนแรก พรรคสันนิบาตอิสรภาพต่อต้านฟาสซิสต์กลับมุ่งมั่นแค่เพียงการคงอยู่ในอำนาจ และมิได้กระทำเพื่อประโยชน์ของประชาชน  ในช่วงใกล้เลือกตั้งได้ให้สัญญากับประชาชนต่างๆนานาเพื่อให้ได้คะแนนเสียง แต่พอการเลือกตั้งจบลงและได้รับชัยชนะ กลับเฉยเมยต่อสัญญาที่เคยให้ไว้ และแทนที่จะดูแลประโยชน์สุขของประชาชนกลับใส่ใจเฉพาะผลประโยชน์ของตน ในคณะรัฐบาลเองก็มีความประพฤติฉ้อฉล ไม่ลงรอยกัน และใช้จ่ายเงินของรัฐอย่างไม่สมเหตุผล กลไกการปกครองจึงพลอยเสียหายไปพร้อมกับการสูญเสียเงินของชาติ จากการที่ให้โอกาสเฉพาะพ่อค้าที่สนับสนุนพรรคสันนิบาตอิสรภาพต่อต้านฟาสซิสต์ และให้โอกาสพิเศษกับผู้นำพรรคและเจ้าของกิจการผู้ลงทุน รูปลักษณ์การปกครองจึงเป็นการเอื้อประโยชน์ต่อพวกนายทุน ดังนั้นจึงเป็นการเหินห่างจากจุดมุ่งหมายที่จะก่อตั้งประเทศสังคมนิยม และกลับไปให้ความสำคัญเฉพาะความผาสุขของคนเพียงกลุ่มเดียว
ในช่วงแรกของการได้เอกราชนั้น พรรคสันนิบาตอิสรภาพต่อต้านฟาสซิสต์เป็นพรรคการเมืองที่มีพลังมากที่สุด แต่แม้จะจัดตั้งรัฐบาลได้ก็ตาม แต่ภายหลังกลับมีความแตกแยกในระดับผู้นำพรรค โดยเฉพาะในการประชุมพรรคครั้งที่ ๓ ในช่วงเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ ๑๙๕๘ ความแตกแยกยิ่งมีความชัดเจนยิ่งขึ้น เพราะความไม่ราบรื่นในเรื่องตัวบุคคลและกิจในพรรคดังมีมาก่อน พอถึงปัญหาการมอบตำแหน่งเลขาธิการพรรคในเดือนเมษายน ๑๙๕๘ ได้ทำให้พรรคแตกออกเป็น ๒ ฝ่ายอย่างชัดเจน ในการแตกเป็น ๒ ฝ่ายนั้น เรียกกลุ่มที่นำโดยอูนุ(FtO6)และตะขิ่นตี่งว่า กลุ่มนุ-ตี่ง หรือกลุ่มสะอาด (loNhia'NtzCx]) และเรียกกลุ่มที่นำโดยอูบะส่วยและอูจ่อเยงว่า กลุ่มส่วย-เยง หรือกลุ่มยืนหยัด (9PNw,czCx]) ทั้งสองฝ่ายพยายามที่จะมีอิทธิพลต่อคณะรัฐบาล และแข่งขันชิงดีกันอย่างรุนแรง ในเดือนมิถุนายน ๑๙๕๘ รัฐบาลอูนุไม่ได้รับความไว้วางใจ กลุ่มยืนหยัดจึงเสนอให้มีการประชุมวิสามัญเพื่อโหวดเสียง หลังจากนับคะแนนกลุ่มสะอาดเป็นฝ่ายชนะ เหตุแห่งชัยชนะเช่นนั้นเป็นด้วยเพราะกลุ่มสะอาดได้ให้คำมั่นสัญญาต่อกลุ่มชนชาติยะไข่สามัคคี (i-6b'Nv,y7btlktPuL:9N) และกองกำลัง National United Front ( NUF หรือ x,P9) จึงยังคงได้รับการสนับสนุน จากนั้นอูนุได้ประกาศให้มีการเลือกตั้งทั่วไปในเดือนพฤศจิกายน ๑๙๕๘
การที่พรรคสันนิบาตอิสรภาพต่อต้านฟาสซิสต์แตกเป็น ๒ ฝ่าย ได้เป็นข่าวแพร่ไปทั่วประเทศ และต่างฝ่ายต่างก็โจมตีให้ร้ายกัน กลุ่มสะอาดได้ออกคำสั่งอภัยโทษผู้หลบหนีเข้าป่าทุกคนในวันที่ ๑ สิงหาคม ๑๙๕๘ ซึ่งเป็นเกมส์การเมืองอย่างหนึ่งของกลุ่มสะอาด ไม่เพียงเหล่าผู้ก่อการร้ายที่ได้รับอภัยโทษแต่ยังรวมถึงผู้กระทำผิดกฎหมายทั้งหลายอีกด้วย ผู้ก่อการร้ายบางส่วนได้เข้ามอบตัว กลุ่มทหารเพื่อประชาชนกลุ่มเก่าซึ่งเข้ามอบตัวก็หันมาตั้งพรรคทหารประชาชนเป็นพรรคภายใต้กฎหมายและเตรียมเข้าร่วมการเลือกตั้งในเดือนพฤศจิกายน พรรคคอมมิวนิสต์บางส่วนเข้ามอบตัวในวันที่ ๑๕ สิงหาคม ขณะเดียวกันฝ่ายคอมมิวนิสต์ที่คงอยู่ในป่าได้พยายามเจรจากับรัฐบาล และด้วยเหตุที่การเมืองขาดความมั่นคง จึงส่งผลให้การผลิตและการค้าตกต่ำลง
เมื่อสถานการณ์ทางการเมืองสั่นคลอน นายกรัฐมนตรีอูนุจึงเลื่อนการเลือกตั้งที่จะจัดในเดือนพฤศจิกายน ๑๙๕๘ ไปเป็นเดือนเมษายน ๑๙๕๙ พร้อมกับได้ขอลาออกจากตำแหน่ง แล้วประกาศมอบอำนาจการปกครองให้กับนายพลเนวินเมื่อวันที่ ๒๖ กันยายน ๑๙๕๘
ในด้านความสัมพันธ์กับต่างประเทศในสมัยพรรคสันนิบาตอิสรภาพต่อต้านฟาสซิสต์นั้น รัฐบาลได้ใช้นโยบายวางตัวเป็นกลาง หลังจากที่ได้เอกราชมานั้น ได้เข้าร่วมในองค์การสหประชาชาติในวันที่ ๑๙ เมษายน ๑๙๔๘ เพื่อพยายามผูกมิตรกับนานาประเทศ เมียนมาเป็นประเทศแรกในกลุ่มประเทศที่ไม่ฝักใฝ่คอมมิวนิสต์ที่รับรองสาธารณรัฐประชาชนจีนซึ่งเกิดใหม่เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๑๙๔๙ และเมียนมายังได้ช่วยอินโดนีเชียในการเรียกร้องอิสรภาพ พออินโดนีเซียได้เอกราชในวันที่ ๒๗ ธันวาคม ๑๙๔๙ รัฐบาลเมียนมาก็ได้ให้การรับรองในทันที และประเทศเมียนมายังเป็นประเทศแรกที่อยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ทำสัญญาสงบศึกกับญี่ปุ่นในเดือนพฤศจิกายน ๑๙๕๔
นายกรัฐมนตรีอูนุเดินทางไปเจริญสัมพันธไมตรีกับจีน สหรัฐอเมริกา อังกฤษ และญี่ปุ่น ได้เดินทางไปเยือนประเทศยูโกสลาเวีย และในเดือนตุลาคม ๑๙๕๕ ยังได้ไปเยือนรัสเซียและประเทศในยุโรปตะวันออกบางประเทศ อีกทั้งยังได้เดินทางไปเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้านอีกด้วย
ในเดือนเมษายนถึงพฤษภาคมของปี ๑๙๕๔ ประเทศเมียนมาได้เข้าร่วมประชุมหารือเกี่ยวกับประเด็นความสัมพันธ์กับนานาประเทศในการประชุมโคลัมโบโดยร่วมประชุมกับอินเดีย ปากีสถาน อินโดนีเซีย และศรีลังกา จากความพยายามของ ๕ ประเทศที่ร่วมประชุมโคลัมโบครั้งนั้น ได้ทำให้เกิดมีการประชุมประเทศเอเชียและแอฟริกาที่เมืองบันดุง ประเทศอินโดนีเซียในเดือนเมษายน ๑๙๕๕ ก่อนที่จะมีการประชุมในครั้งนี้นายกรัฐมนตรีอูนุของเมียนมาได้ทำข้อตกลงเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติกับนายกรัฐมนตรีเนห์รูของอินเดียและนายกรัฐมนตรีโจวเอินไหลของจีนและได้มีมติยอมรับข้อตกลงดังกล่าวในที่ประชุมบันดุง ข้อตกลงดังกล่าว ได้แก่
๑) แต่ละประเทศจะเคารพในอธิปไตยของกันและกัน
๒) จะไม่มีการล่วงล้ำดินแดนของอีกประเทศหนึ่ง
๓) จะไม่เข้าแทรกแซงกิจการภายในของอีกประเทศหนึ่ง
๔) จะกระทำการที่เอื้อประโยชน์ต่อกัน และ
๕) จะอยู่ร่วมกันโดยสันติ
เมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ ๒ ได้เกิดการแข่งขันกันของประเทศมหาอำนาจ ๒ ฝ่าย คือฝ่ายโลกตะวันตกนำโดยสหรัฐอเมริกา และฝ่ายโลกตะวันออกนำโดยรัสเซีย อเมริกาได้ร่วมมือกับประเทศปากีสถาน ตลอดจนฟิลิปปินส์ และไทย ซึ่งอยู่ในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ก่อตั้งองค์กรซีโต้ (SEATO = South East Asia Treaty Organization) ประเทศเมียนมามิได้เข้าร่วมกับกลุ่มใดๆ และได้ยึดนโยบายวางตัวเป็นกลางสืบมา และยอมรับเฉพาะความร่วมมือในด้านเศรษฐกิจและความช่วยเหลือด้านความชำนาญการที่ไม่ส่งผลกระทบต่ออธิปไตยของประเทศตน
(๒) รัฐบาลรักษาการ (ค.ศ. ๑๙๕๘–๑๙๖๐)
เพื่อให้สามารถรักษาสถานการณ์อันสั่นคลอนไว้ได้ นายพลเนวินจึงเข้ารับผิดชอบในหน้าที่จัดตั้งรัฐบาลรักษาการโดยรับมอบอำนาจสืบจากนายกรัฐมนตรีอูนุ มีการเรียกประชุมสภาสมัยวิสามัญขึ้นในวันที่ ๒๘ ตุลาคม ๑๙๕๘ เพื่อจัดตั้งคณะรัฐบาลรักษาการ ในคณะรัฐบาลนั้น นายพลเนวินเข้ารับตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี พร้อมกับแต่งตั้งบุคคลสำคัญผู้ทรงเกียรติที่มิได้เป็นนักการเมืองอีก ๑๔ คนเข้าร่วมรัฐบาล
มีการกำหนดเรื่องที่รัฐบาลรักษาจะต้องดำเนินการไว้ ดังนี้
๑. การรักษาความสงบเรียบร้อยและการรักษาอำนาจทางกฎหมาย
๒.หลังจากที่อำนาจทางกฎหมายคืนสู่ภาวะปกติ และได้รับความร่วมมือจากพรรคการเมือง ก็จะจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาโดยอิสระและเป็นธรรมภายใน ๖ เดือน
๓. การทำให้ค่าครองชีพลดลง
๔. การแก้ไขความล้มเหลวทางเศรษฐกิจของประเทศให้ฟื้นคืนมา
รัฐบาลรักษาการประสบผลสำเร็จเป็นพิเศษในการรักษาความสงบเรียบร้อยและการรักษากฎหมาย คำสั่งอภัยโทษถูกยกเลิกและให้การปราบปรามผู้ก่อการร้ายดำเนินต่อไป นอกจากจะปราบปรามผู้ก่อการร้ายด้วยกำลังทหารแล้ว ยังได้มีการใช้วิธีตรวจสอบจิตสำนึก จึงทำให้ประสบผลสำเร็จยิ่งขึ้น ผู้ก่อการร้ายเสียชีวิตประมาณ ๒๐๐๐ คน ได้รับบาดเจ็บประมาณ ๒๐๐๐ คน และอีกกว่า ๓๐๐๐ คนวางอาวุธเข้ามอบตัว มีการจัดพื้นที่อาศัยให้กับผู้กลับใจเป็นกลุ่มๆ และยังได้ให้การดูแลความสะดวกสบายในด้านความเป็นอยู่ มีการจัดประชุมเพื่อกำหนดแผนงานสำหรับการรักษาความสงบเรียบร้อย ณ โรงละครของกองทัพ ถนนอูวิสาระ เมืองย่างกุ้ง  และในเดือนพฤศจิกายน ๑๙๕๘ ได้ตั้งคณะกรรมการความมั่นคงในระดับต่างๆ เพื่อดำเนินงานต่างๆให้เป็นรูปธรรม
ในการลดค่าครองชีพนั้น รัฐบาลรักษาการได้กำหนดอัตราราคาสินค้าให้เป็นระบบ ค่าครองชีพที่เคยสูงขึ้นในปี ๑๙๕๗ กลับลดลงอย่างเห็นได้ชัดในปี ๑๙๕๙ โดยเฉพาะราคาสินค้าประเภทเครื่องบริโภคและเครื่องนุ่งห่ม
รัฐบาลรักษาการได้ทำให้การปกครองรัฐฉานสอดคล้องกับระบอบประชาธิปไตย เพราะตั้งแต่ที่ได้รับเอกราชมาเจ้าฟ้าในรัฐฉานยังยึดรูปแบบการปกครองในระบบขุนนาง โดยในเดือนเมษายน ๑๙๕๙ เจ้าฟ้าทั้งหลายได้ลงนามสละอำนาจ  และให้มีการปกครองรัฐฉานในรูปแบบเดียวกับแผ่นดินหลัก(มณฑลพม่าทั้งหลาย) คือ ให้แบ่งการปกครองเป็นจังหวัด อำเภอ ตำบล และได้แต่งตั้งรัฐมนตรีกำกับกิจการรัฐแต่ละรัฐสำหรับรัฐกะฉิ่น รัฐคะยา รัฐกะเหรี่ยง และเขตปกครองพิเศษของฉิ่น และยังได้จัดสรรเงินงบประมาณเพื่อกำกับดูแลความสะดวกสบายด้านการคมนาคม การพัฒนาเศรษฐกิจ การยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชน ในปี ๑๙๕๙ นั้น ได้ก่อตั้งกลุ่มจั้งข่ายเย หรือ กลุ่มมั่นคง  (Wd"h-6b'Ngitvz:ch) ที่มิใช่กลุ่มการเมืองให้ทำหน้าที่ช่วยเหลืองานด้านการดูแลความสะอาด งานสุขภาพ และการปลูกจิตสำนึกอันแข็งแกร่งให้กับประชาชน
ในเดือนมกราคม ๑๙๖๐ มีการลงนามในข้อตกลงร่วมกันกับนายกรัฐมนตรีโจวเอินไหลแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนจีนเกี่ยวกับกรณีปัญหาเขตแดนระหว่างจีนกับเมียนมา ด้วยเหตุนี้ ในสมัยรัฐบาลรักษาการ ปัญหาชายแดนระหว่างจีนกับเมียนมาที่มีขึ้นต่อเนื่องมาจึงได้รับการคลี่คลายไปด้วยดี
แม้คาดไว้ว่าจะมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาภายใน ๖ เดือนหลังจากที่รัฐบาลรักษาการได้มอบอำนาจนั้นก็ตาม แต่ในช่วงที่ต้องรับผิดชอบในบทบาทนั้นเข้าจริง จึงเห็นว่าการที่จะจัดให้มีการเลือกตั้งอย่างเป็นธรรมภายใน ๖ เดือนนั้นเป็นไปไม่ได้ ในเดือนกุมภาพันธ์ ๑๙๕๙ ที่จะครบ ๖ เดือนนั้น นายพลเนวินได้ยื่นใบลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เหตุเพราะตามรัฐธรรมนูญการปกครองสหภาพเมียนมา มาตราที่ ๑๑๖ ระบุว่าหากนายกรัฐมนตรีมิได้มาจากสมาชิกสภา จะมิอาจอยู่ในตำแหน่งได้เกิน ๖ เดือน ด้วยเหตุดังนี้ ในวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์จึงได้แก้ไขรัฐธรรมนูญการปกครอง มาตรา ๑๑๖ เสีย จากนั้นในวันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ นายพลเนวินยังคงได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติภารกิจเป็นนายกรัฐมนตรีต่อมาอีก
รัฐบาลรักษาการซึ่งได้รับการยืดอายุต่อมา ได้จัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาโดยอิสระและเป็นธรรมในเดือนกุมภาพันธ์ ๑๙๖๐ แล้วรัฐบาลรักษาการได้มอบอำนาจการปกครองคืนให้กับพรรคสันนิบาตอิสรภาพต่อต้านฟาสซิสต์กลุ่มสะอาดซึ่งชนะการเลือกตั้งในครั้งนั้น รัฐบาลรักษาการซึ่งได้ปฏิบัติภารกิจเป็นระยะเวลา ๑๗ เดือนกว่านั้น สามารถดำเนินการหลายอย่างเพื่อให้ประเทศพัฒนาขึ้นอย่างมากมาย
(๓) รัฐบาลสหภาพ ( ค.ศ. ๑๙๖๐–๑๙๖๒)
ในการเลือกตั้งที่จัดในเดือนกุมภาพันธ์ ๑๙๖๐ นั้น กลุ่มสะอาดของพรรคสันนิบาตอิสรภาพต่อต้านฟาสซิสต์ได้รับชัยชนะ และได้เปลี่ยนชื่อพรรคของตนเป็นพรรคสหภาพ ดังนั้นรัฐบาลที่ตั้งขึ้นจากพรรคนี้จึงถูกเรียกว่ารัฐบาลสหภาพ (exPNg5k'N06 หรือเรียกโดยย่อว่า x50)
ในเดือนเมษายน ๑๙๖๐ รัฐบาลรักษาการได้โอนอำนาจให้กับรัฐบาลสหภาพ ในการตั้งรัฐบาลสหภาพนั้น อูนุได้เป็นนายกรัฐมนตรีและได้แต่งตั้งรัฐมนตรีร่วมคณะรัฐบาล ๑๓ คน พร้อมกันนี้ยังได้แต่งตั้งคณะที่ปรึกษา ๕ คนเพื่อคอยให้คำปรึกษาตามที่นายกรัฐมนตรีมีความประสงค์ ในช่วงแข่งขันหาเสียงเลือกตั้งครั้งนั้น อูนุได้ให้สัญญากับประชาชนไว้ว่าจะให้พุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ อูนุจึงได้รับการสนับสนุนจากประชาชน ดังนั้นพอได้อำนาจ จึงได้ตั้งคณะทำงานเพื่อการสถาปนาให้พุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ ในทำนองเดียวกัน จากการที่ได้ให้สัญญาว่าจะให้ตั้งรัฐยะไข่และรัฐมอญ จึงได้ตั้งคณะทำงานเพื่อการนี้อีกเช่นกัน นอกจากนี้ยังได้แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษาการปรับปรุงรูปแบบการปกครองให้เหมาะสม ตั้งคณะทำงานการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย และตั้งคณะกรรมการร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจ ๔ ปี
แม้รัฐบาลสหภาพจะได้กำหนดแนวทางทางการเมืองขึ้นใหม่ไว้แล้วก็ตาม แต่ภายในพรรคกลับมีการแบ่งพวกแบ่งฝ่ายขึ้นมาอีก นับตั้งแต่การก่อตั้งกลุ่มสะอาดขึ้นนั้น ได้เกิดกลุ่มตะขิ่น (l-'Nv6xN06) ซึ่งรวมผู้มีประสบการณ์ทางการเมือง แล้วก็เริ่มแยกตัวนับแต่ตั้งเป็นพรรคสหภาพ ส่วนอีกฝ่ายหนึ่งคือทหารที่เคยร่วมต่อต้านฟาสซิสต์ ได้ตั้งเป็นกลุ่มทหาร (r6b]Nv6xN06) และเข้าร่วมกับฝ่ายข้าราชการเก่าและกลุ่มทนาย ซึ่งเรียกว่ากลุ่มอู (Ftv6xN06) เป็นอีกฝ่ายหนึ่ง พรรคสหภาพจึงแตกเป็น ๒ ฝ่าย คือกลุ่มตะขิ่น และกลุ่มทหารและข้าราชการ เมื่อ ๑ ปีผ่านไป อูนุประกาศลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรค ทั้งสองฝ่ายจึงแย่งชิงกันเพื่อที่จะให้มีอำนาจในพรรคเหนืออีกฝ่าย ดังนั้นการเมืองจึงไม่ราบรื่น
ภัยผู้ก่อการร้ายที่เคยลดลงในสมัยของรัฐบาลรักษาการนั้นได้หวนกลับมารุนแรงขึ้นอีก ปัญหาก๊กมินตั๋งก็กลับหนักหนา ในเดือนพฤศจิกายน ๑๙๖๐ กองกำลังก๊กมินตั๋งได้บุกถึงเขตเชียงตุง และจากการที่รัฐบาลเมียนมาได้ทราบว่าอเมริกาให้การช่วยเหลือกองกำลังนั้น จึงฟ้องถึงองค์การสหประชาชาติ และยังได้เรียกร้องต่อรัฐบาลอเมริกาอีกด้วย
ส่วนในการกำหนดให้พุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติก็ต้องพบกับความยุ่งยาก เพราะต้องเสนอต่อสภาฯให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ การที่พุทธศาสนาจะเป็นศาสนาประจำชาตินั้นได้ทำให้ประชาชนที่นับถือศาสนาอื่นมีความกังวล ดังนั้นจะต้องให้อิสรภาพในการนับถือศาสนาอื่นๆด้วย จึงจักต้องให้มีการเพิ่มมาตราในรัฐธรรมนูญเพื่อให้ได้รับการคุ้มครอง กรณีเรื่องศาสนาจึงได้ทำให้มีการแตกแยกทางความคิดขึ้นมาอีก
ในเดือนกรกฎาคม ๑๙๖๑ ซัตฉ่วยไต้(0xNgU­l6bdN)และซัตขุนโฉ่(0xN-:oN-yb7)ผู้นำในกลุ่มเจ้าฟ้าฉาน ได้เป็นผู้นำในการจัดประชุมผู้แทนประชาชน ณ เมืองตองจี ในการประชุมครั้งนั้นได้มีการกล่าวกระทบกระเทือนถึงเอกภาพของชนในชาติ เพราะได้มีการเสนอประเด็นความต้องการมีอำนาจอธิปไตยในรัฐต่างๆ หากไม่ได้อำนาจนั้นก็จะขอแยกตัวจากสหภาพ ตามระบอบสหพันธรัฐ(Federal)ที่พวกเขาต้องการนั้น มณฑลพม่าจะมีสถานภาพเป็นเพียงรัฐหนึ่ง จะต้องให้อำนาจแก่สภาทั้ง ๒ สภาเท่าเทียมกัน ต้องให้จำนวนผู้แทนในสภาชนชาติ(]^,y7bt06]­9Ng9kN) ของแต่ละรัฐมีจำนวนเท่ากัน รัฐต่างๆจะกำหนดขอบเขตอำนาจของรัฐบาลกลางตามความต้องการของรัฐ และต้องมอบอำนาจส่วนที่เหลือให้รัฐดูแลกันเอง รัฐบาลสหภาพมิได้ให้คำตอบที่ชัดเจนเกี่ยวกับประเด็นสหพันธรัฐที่เสนอในที่ประชุมเมืองตองจี เพียงแต่ให้คำตอบที่ฟังดูนุ่มนวลว่าจะรับเรื่องไว้พิจารณาตามวิถีประชาธิปไตย และต่อมาในวันที่ ๑ มีนาคม ๑๙๖๒ จึงได้มีการประชุมเพื่อหารือในเรื่องสหพันธรัฐในเมืองย่างกุ้ง อีกเช่นเคยฝ่ายอดีตเจ้าฟ้าฉานทั้งหลายได้ประกาศอย่างชัดเจนว่า หากไม่ได้ระบอบสหพันธรัฐก็จะขอแยกตัวออกจากสหภาพ
ดังนั้นเพื่อที่จะควบคุมสถานการณ์ในสหภาพเมียนมาที่กำลังเลวร้ายลงอย่างที่สุด กองทัพเมียนมาจึงต้องเข้าแบกรับภารกิจ
วิรัช นิยมธรรม แปล

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 15527เขียนเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2006 18:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 17:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท