ทศพิธราชธรรมเป็นหลักในการนำ


นำโดยธรรม

มนุษย์เป็นสัตว์สังคม จำเป็นต้องอยู่เป็นหมู่คณะ การรวมกันเป็นหมู่คณะย่อมมีความแตกต่างหลากหลาย ดังนั้นการอยู่ร่วมกันต้องอาศัยการนำ เพื่อประสานความกระจัดกระจายให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน กระบวนการนำ มี 2 ส่วน คือส่วนผู้นำ กับผู้ตาม  ผู้นำมีหน้าที่ประสานความกระจัดกระจายให้มาอยู่รวมกันเพื่อไปสู่จุดหมาย โดยให้แต่ละคนได้ปฏิบัติตามหน้าที่ที่ตนต้องรับผิดชอบ  ส่วนผู้ตามมีหน้าที่สนับสนุน การกระทำตามภารกิจที่ตนได้รับมอบหมายให้สำเร็จสมบูรณ์ตามเป้าหมาย  ซึ่งความสำเร็จจะเกิดขึ้นได้ก็ด้วยความสมดุลย์ของทั้ง 2 ส่วน  ผู้นำต้องนำทั้งตนเอง  ผู้ตามและภาระหน้าที่ไปพร้อมๆกันโดยธรรม ซึ่งมีเครื่องมือท่ใช้สำหรับนำคือ ภาวะผู้นำ ซึ่งมีคุณสมบัติที่มีอยู่ในตัวของผู้นำ เช่น สติปัญญา ความรู้ ความดีงาม ความสามารถ ฯลฯ

ผู้นำ ต้องใช้อำนาจและอิทธิพลในการจูงใจให้ผู้ที่ตนเองนำยอมรับ ซึ่งถ้าใช้ไม่ถูกต้องและไม่เป็นธรรมก็จะนำความไม่สงบสุขมาสู่คณะ

ธรรมสำหรับผู้นำคือทศพิธราชธรรม   ซ่งเป็นธรรมสำหรับพระมหากษัตริย์ใช้เป็นหลักในการปกครองพสกนิกร ก็หลักทศพิธราชธรรมก็สามารถนำไปประยุกต์ใช้สำหรับผู้นำทั่วไปได้เช่น เดียวกัน ทั้งนี้รายละเอียดในการนำโดยธรรม จะมีจากหนังสือซึ่งจัดพิมพ์เนื่องในงานพระราชทานเพลิงศพเป็นกรณีพิเศษ  นางหงั้น  ทองชัย  ซึ่งเรียบเรียง โดย ผศ.ดร.เหม  ทองชัย  เป็นประโยชน์และน่าสนใจมากนะคะ

คำสำคัญ (Tags): #นำโดยธรรม
หมายเลขบันทึก: 154840เขียนเมื่อ 19 ธันวาคม 2007 22:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 19:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท