ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับ "การปฏิบัติธรรม"


บางคนเข้าใจผิด คิดว่าการ ปฏิบัติธรรม คือการบังคับกาย บังคับใจ

เข้าใจไปว่าเป็นการทำใจให้สงบ เป็นการนั่งหลับตา ฟังเทศน์ฟังธรรม

บางคนมองว่าเป็นเรื่องที่เสียเวลาจึงไม่เห็นคุณค่าของการปฏิบัติธรรม

ไม่เข้าใจว่าการปฏิบัติธรรม คือการฝึก ตามรู้ ตามดูกาย ตามดูใจ

ไม่รู้ว่าการปฏิบัติธรรม คือการเรียนรู้ที่ทำให้เราเข้าใจใน ธรรมชาติ

ไม่รู้ว่าการปฏิบัติธรรม จะทำให้เราเห็นทุกอย่างได้ ตามที่มันเป็น

เห็นความเป็น ธรรมดา สามัญ และเห็น ความเป็นเช่นนั้น นั่นเอง. 

หมายเลขบันทึก: 154835เขียนเมื่อ 19 ธันวาคม 2007 22:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 22:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)

สวัสดีค่ะ อ.ประพนธ์

  • ดิฉันยังสงสัยไม่หาย...ทำไมคนที่เริ่มเข้าวัดจึงมีพฤติกรรมแปลกๆคะ  ดิฉันเห็นน้องๆในที่ทำบางคนงานจับกลุ่มกันคุย  ชวนกันทำบุญ...แจกซองมากเหลือเกิน...ว่างก็ขอแวบออกไป เช้าก็มาทำงานสายเพราะแวะไปทำบุญ  เที่ยงก็ออกไปหาพระอาจารย์....การงานเริ่มเสีย  ไม่สนใจช่วยเหลือเพื่อนดูแลผู้ป่วย...ใครเตือนก็โกรธ...
  • ....ดิฉันเคยบอกว่าให้ค่อยเป็นค่อยไป  เธอบอกว่าอยากหลุดพ้น  นิพพานไวๆ....แล้วดูท่าจะชวนกันเป็นกลุ่มที่มากขึ้นๆน่ะค่ะ...เป็นห่วง(คนไข้)จังเลย
  • สวัสดีครับท่าอาจารย์
  • ผมเองไม่ปฏิบัติธรรมครับ เข้าวัดบ้าง ทำบุญบ้าง บริจาคทานบ้าง พยายามละกรรมชั่วครับ
  • เห็นคำถามของพี่กฤษณา สำเร็จแล้ว คันปากอยากตอบครับ เพราะผมเองก็เคยเจอเหตุการณ์ในลักษณะเดียวกัน เดี๋ยวนี้เลยเสียเพื่อนไปคนหนึ่งครับ ขออนุญาตแสดงความคิดเห็นหน่อยนะครับ มีพระอาจารย์ท่านหนึ่งเคยบอกผมว่าการกระทำดังกล่าวเขาเรียกว่า "หลงกระพี้" คือมุ่งจะเข้าหาแก่น แต่ว่าเจอเปลือกนอกหรือกระพี้ของธรรม ที่เหมือนกับน้ำหวานคือความสบายอกสบายใจซะก่อนเลยยึดติดกับสิ่งพวกนั้น ไม่มุ่งมั่นที่จะเข้าหาแก่นของธรรม
  • ขอบคุณครับ

ขออนุโมทนาสาธุกับบันทึกของอาจารย์ครับ

ผมเคยอ่านข้อเขียนที่ใดแล้วก็นึกไม่ออก เขาเขียนทำนองว่า การตามรู้ตามดูกายใจของเรา ก็คือการเรียนรู้ธรรมชาติ เพราะเราก็คือส่วนหนึ่งของธรรมชาติ เมื่อเราเข้าใจธรรมชาติมากขึ้น เราก็เข้าใจตัวเองมากขึ้น

ขอบคุณครับ

สวัสดีค่ะ

 สาธุ กับธรรมะของท่านค่ะ การปฏิบัติธรรม ใครทำ ใครได้จริงๆค่ะ

สวัสดีครับ

  มารับธรรม..ครับ

  ผมก็กำลังเรียนรู้วิธีการปฏิบัติอยู่ครับอาจารย์

 ถูกบ้างผิดบ้าง ตามกรรมและกำลังปัญญา..ครับ

 

เห็นด้วยกับอาจารย์ประพนธ์เต็มร้อยครับ และเห็นพฤติกรรมแบบคุณติ๋วว่าเหมือนกัน และเห็นคนเข้าวัดนุ่งขาวห่มขาวแล้วยังนินทาชาวบ้าน ไม่พอใจคนโน้นคนนี้แล้วรู้สึกว่า นุ่งผ้าขาวทำไม...เพื่อเป็นสัญลักษณ์แค่นั้นหรือ เราเอาแต่เปลือก...ใช่ไหม...

อ่าน Comment ของท่านทั้งหลาย ทำให้นึกได้ถึงคำกล่าวของท่านอาจารย์พุทธทาสที่ว่า . . .  

              หาธรรมเพื่อชีวิตเถิด

แสวงหาธรรมะ เพื่อดับทุกข์ในชีวิตเถิด

อย่าเพื่อความปราชญ์

หรือแม้เพื่อความเป็นพระอรหันต์กันเลย

จะหลงทางมากไกลออกไปเปล่าๆ.

เห็นด้วยค่ะอาจารย์ว่าการปฏิบัติธรรมนั้นไม่ใช่การบังคับ..

ทำให้นึกถึงเรื่องการเรียนการสอน หรือการทำอะไรต่างๆ...  

นักเรียน(ถูกบังคับโดยระบบ)ให้มาเรียนเพื่อให้ได้ใบปริญญา..การเรียนก็ไม่ได้ความรู้อะไร เพราะผู้เรียนไม่ได้ใส่ใจอยากเรียนสักเท่าใด แต่อยากจบการศึกษาเพื่อไปทำงาน

สำหรับคนทำงาน หากไม่ได้รักงานที่ตัวเองทำ ก็เหมือนถูกบังคับทำ..ไม่ทำก็ไม่ได้ เพราะจะไม่มีเงินเดือนใช้..ถ้าเป็นแบบนี้ผลงานจะดีก็คงยาก..

สรุปแล้ว..หากไม่ได้ปฏิบัติธรรมหรือปฏิบัติอะไรๆ ก็ตามด้วยความเข้าใจ  ผลที่ได้รับก็คงไม่ดีและไม่ยั่งยืนแน่ๆ ค่ะ

ขอบคุณอาจารย์สำหรับบันทึกดีๆ เสมอนะคะ 

ดีใจที่อาจารย์เข้ามา comment . . . เพราะไม่ได้เห็นอาจารย์ใน beyondKM นานแล้วเหมือนกัน . . . ขอบคุณเช่นกันครับ

การปฏิบัติธรรมนั้นควรเป็นไปอย่างโปร่งเบา สบาย ไม่เคร่งเครียดนะคะ จุดหมายคือการเจริญสติ เพื่อนำไปสู่การเกิดปัญญาในการดับทุกข์

คนส่วนมากสร้างกุศลแค่การทำไปทำบุญเข้าวัด มีแต่ศรัทธา แล้วแถมไปติดหล่มอย่างที่อาจารย์กล่าว ไปไม่ถึงปัญญา น่าเสียดายนะคะ

        หลวงพ่อชา เคยเทศน์ว่า เรานั่ง ไม่ต้องฟังและไม่ต้องคิด  ให้ยกส่วนใดส่วนหนึ่งขึ้นมาพิจารณา เช่นอานาปานสติ คือ หายใจเข้านึกว่า พุท หายใจออกนึกว่า โธ ในเวลาที่เรากำหนดลมอยู่นั้นท่านไม่ให้ส่งจิตไปทางอื่น ให้กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกอย่างเดียว ไม่ต้องอยากรู้อะไรมาก ไม่ต้องอยากเห็นอะไรต่อไป ให้จิตของเรารู้เฉพาะลมที่มันเข้าหรือมันออก เรียกว่าการกำหนดลมเป็น อานาปานสติ

ขอขอบคุณทุกท่านที่ได้กรุณาให้ความกระจ่างเรื่องการปฏิบัติธรรม . . . ผมเชื่อว่ายังมีคนจำนวนมากที่เข้าใจผิด หรือไปติดสิ่งที่ไม่ใช่ "ทางสายเอก"

แต่การปฏิบัติธรรมนั้นมีเทคนิคหรือกุศโลบายมากมายหลายอย่าง การแชร์เทคนิคต่างๆ ทำให้เราเห็นกว้างขึ้น แต่ประเด็นที่สำคัญคือต้องจะต้องปฏิบัติ ต้องหัดทำ ถ้าไม่ทำ ก็ไม่เห็นธรรม

สาธุ

คนเราทำบุญ มาไม่เท่ากัน  ...  ก็ต้องมี บ้าง ที่ "เมาบุญ"

การทำงานคือการปฏิบัติธรรมค่ะ

ศรนารายณ์ ปิ่นแก้ว

ขอถาม ปัญหา ผลของวิถีทางปฎิษัติตามหลักความไม่รู้อริยสัจจ ๔ อย่างไร

แพรวขวัญ โพธิ์ทองธนพร

การบังคับเด็กให้ปฎิบัติธรรมบาปเราบาปหรือเปล่าคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท