R&D / TECHNOLOGY vs THEORY


R&D ที่กล่าวมาข้างต้นถือว่าเป็นฝ่าย "สสาร"  ผมยังไม่ได้กล่าวถึง R&D  ที่เป็นฝ่าย "อสสาร" ด้าน จิตวิทยา  หรือด้านสังมศาสตร์  รวมทั้งครั้งนี้ด้วย

จาก R&D  ที่เกี่ยวกับเครื่องบินที่ยกตัวอย่างมาในบันทึกก่อน  จะเห็นว่า "ผู้ทำการ R&D "  จะ "คิดลึก"ไปถึงระดับ "โมเลกุล"  ระดับ "อะตอม" หรือระดับ "อนุภาค"   ซึ่งระดับที่เล็กมากๆเหล่านี้  ต้องใช้มาตรวัดที่ละเอียดมากระดับ Nanoscale ทีเดียว  เช่น  การ R&D เกี่ยวกับ "การตัดต่อพันธุกรรม" เป็นต้น  ซึ่ง  ถ้า"ไม่มอง"ถึงระดับเล็กๆมากๆเหล่านั้นแล้ว  การแข่งขันก็จะแพ้แก่ผู้ที่มองระดับที่ลึกกว่า

อนึ่ง การ R&D  ก็จัดเป็นพวก Technology   และถ้ามองในระดับลึกมากๆดังกล่าวก็จะเป็น เทคโนโลยีระดับสูง เช่นที่เรียกว่า   Nanotechnology

คณะวิชาที่รับผิดชอบเกี่ยวกับเรื่องนี้โดยตรงก็คือ  คณะวิชาที่ชื่อ "เทคโนโลยี" ทั้งหลาย  หรือบางแห่งก็เป็นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ก็มี  สถาบันเหล่านี้จะต้อง "ผลิต" นักศึกษาระดับดุษฎีบัณฑิตให้ถึงระดับนี้ได้จึงจะพอช่วยให้วงการอุตสาหกรรมของเราพอจะแข่งขันได้ในโลกของการแข่งขัน

อ้อ -- ยังไม่พอครับ  นักศึกษาดังกล่าวจะต้อง "คิดสร้างสรรค์"สูงด้วย มิฉะนั้นแล้ว  ก็จะได้แค่"ผู้เรียนจบหลักสูตร"  ที่ทำได้เพียง "ลอกแบบ"งานของคนอื่นก็ได้

การมองที่"ระดับลึกมากๆ"เช่นนี้  ถ้า"มุ่ง"ที่ผลผลิตของงานเพื่อ"การใช้สอย" เป็นสำคัญ  ก็จัดเป็น Technology  แต่ถ้า "มุ่งค้นหาความรู้ใหม่ๆ"เป็นสำคัญแล้ว  ก็จะเป็น Theorist  หาใช่ Technologist ไม่

พวก Technologists จะอยู่ในคณะวิชาทางเทคโนโลยี  ส่วนพวก Theorists  หรือพวก Pure scientists  ก็จะอยู่ในคณะวิทยาศาสตร์

เมื่อราวเดือนที่ผ่านมา  ผมอ่านข่าวจากหนังสือพิมพ์บางฉบับรายงานว่า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เอาจริงกับเรื่องนี้เป็นทางการแล้ว  จึงเป็นข่าวที่น่ายินดีอย่างยิ่ง  แต่ถ้ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีเพิ่งจะกล่าวอย่างนี้บ้าง  ก็เป็นเรื่องที่น่าสงสัย?!

คำสำคัญ (Tags): #technology vs pure science
หมายเลขบันทึก: 154321เขียนเมื่อ 17 ธันวาคม 2007 22:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 22:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

อาจารย์ ดร.ไสว...

อ่านเรื่อง  R&D ของอาจารย์แล้ว อาตมาก็คิดขำๆ ว่า อาตมาก็จัดเป็นนัก R&D เหมือนกัน แต่เป็นเพียงแค่ R&D ตัวเองเท่านั้น โดยมีโลกนี้เป็นห้องทดลอง...

หลังจากวิจัยและพัฒนามา (น่าจะ) เกินครึ่งหนึ่งของชีวิตแล้ว รู้สึกว่าผลของการวิจัยยังไม่มีคำตอบสุดท้าย การพัฒนาก็ยังไปไม่ถึงไหน ได้เพียงแต่การเก็บข้อมูล และตอนนี้ข้อมูลใหม่ๆ ก็ไม่ค่อยจะได้เก็บ เพราะรู้สึกหน่ายกับการเก็บข้อมูลเหลือเกินแล้ว...

ตอนนี้ ว่างๆ ก็เพียงแต่ไปรื้อค้นข้อมูลเก่าๆ มาจัดระเบียบอีกครั้ง และบางอย่างก็นำมาเปิดเผยต่อสาธารณะว่า อาตมาก็มีข้อมูลนี้อยู่...เท่านั้น

เจริญพร 

 

นมัสการพระคุณเจ้า

เมื่อใครคนหนึ่ง "เห็นดินสีดำชุ่มน้ำ มีหญ้าขึ้นต้นอ้วน สมบูรณ์ปกคลุมที่ดินนั้นหนาทึบ ดูเขียวสดชื่น"  แล้วคนนั้นก็เปล่งวาจาว่า "ดินดีเพราะหญ้าปก"  ข้อความตอนแรกบรรยายถึง "ข้อมูล"  เช่น ดินสีดำ  ชุ่มน้ำ  ต้นหญ้า  เป็นต้น  ที่ใครๆก็เห็น  ใครๆก็จำได้  ใครๆก็รู้จัก  แต่"ข้อความตอนหลัง"ที่ว่า "ดินดีเพราะหญ้าปก"นั้น  เป็น"ความคิด"  เป็น "คิดสรุป"  จัดเป็น "ปัญญา"  ภาษาตลาดใหม่เรียกว่า "มุมมอง"  เป็นผลจากคิดแบบ "เหตุผล" ที่น่าจะเป็นว่า (ละเอาไว้) "เพราะว่า หญ้าปกคลุม  เพราะฉะนั้น ดินจึงดี" 

หลายคนเห็นข้อมูลนั้น  แต่มีบางคนเท่านั้น ที่คิดอย่างข้อความหลัง!

พระคุณเจ้าคิดเช่นนั้น ก็กำลังจะเป็น(หรือเป็นแล้ว)เหมือนคนที่กล่าวข้อความหลังนั้น ครับ  ผมคิดเช่นนันครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท