พัฒนาทักษะวิทย์และการคิดด้วยโครงงาน ตอนที่ 3


สมมติฐาน นิยามเชิงปฏิบัติการ ตัวแปร นั้นเป็นฉันใด

จะเริ่มต้นสอนให้ผู้เรียนทำโครงงานวิทยาศาสตร์ได้อย่างไร (ต่อ)

    ขั้นที่ 4...........ฝึกให้ผู้เรียนรู้จักการตั้ง "สมมติฐาน"   สำหรับโครงงานประเภทสำรวจ  "นิยามเชิงปฏิบัติการ"  "ตัวแปร" สำหรับโครงงานประเภททดลองนะคะ

        ปัญหา : เปลือกส้มตากแห้งอัดแท่งสามารถไล่ยุงได้หรือไม่

        สมมติฐาน : เขียนในลักษณะเป็นการคาดคะเน หรือคาดการณ์ไว้ล่วงหน้าเกี่ยวกับสิ่งที่ผู้เรียนสนใจจะศึกษา อาจถูกหรือผิดก็ได้  เป็นข้อความที่ให้เห็นแนวทางในการทดสอบได้ (การคาดเดาผลการทดลอง) เช่น เปลือกส้มอัดแท่งสามารถไล่ยุงได้

        นิยามเชิงปฏิบัติการ : การกำหนดความหมายของคำต่าง ๆ ที่ผู้เรียนจะศึกษาค้นคว้า  เพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจตรงกัน (มักจะเอาคำที่อยู่ในสมมติฐาน หรือ ตัวแปร อย่างน้อย 2 คำ) เช่น 1) เปลือกส้มอัดแท่ง หมายถึง เปลือกส้มเขียวหวานที่นำไปตากแห้ง หั่นฝอยผสมกาว ขี้เลือ่ย นำไปปั้นเป็นแท่งยาว 2) ความสามารถในการไล่ยุง หมายถึง  เมื่อนำเปลือกส้มอัดแท่งจุดไฟไปในที่ที่มียุงชุม ยุงจะบินหนีไป

        ตัวแปร : ตัวแปรต้น - สิ่งที่เป็นสาเหตุของปัญหา เช่น เปลือกส้มอัดแท่ง

                        ตัวแปรตาม - ผลที่เกิดจากสิ่งที่เป็นปัญหา เช่น ความสามารถของเปลือกส้มอัดแท่งในการไล่ยุง

                        ตัวแปรควบคุม - เราต้องจัดให้เหมือนกันในการทดลอง เช่น ปริมาณของเปลือกส้มตากแห้ง จำนวนใบตอง

       ขั้นที่ 5..............การฝึกให้ผู้เรียน(กลุ่ม 3 คน)ออกแบบการทดลอง

        วิธีการทดลองที่ 1

                 วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ 1) เปลือกส้มเขียวหวาน 2) กาวลาเท๊กซ์ 3) ขี้เลื่อย

                 การทดลอง 1) นำเปลือกส้มเขียวหวานมาหั่นฝอยแล้วตากให้แห้ง 2) นำมาโขลกให้ละเอียดผสมกับขี่เลื่อย และกาว ในอัตราส่วนต่าง ๆ กัน 3) นำมาปั้นเป็นแท่งยาวสำหรับจุดไฟไล่ยุง

        วิธีการทดลองที่ 2

                 วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ 1) เปลือกส้มเขียวหวาน 2) ใบตะไคร้หอม3) ใบตอง

                 การทดลอง 1) นำเปลือกส้มเขียวหวานมาหั่นฝอยแล้วตากให้แห้ง 2) นำใบตะไคร้หอมมาหั่นฝอยผสมกับเปลือกส้มหั่นฝอยห่อใบตองตากแห้งให้แน่นนำไปจุดไฟไล่ยุง

          ขั้นที่ 5............ให้ผู้เรียนร่วมกันออกแบบตารางบันทึกผลการทดลอง (จากตัวแปรต้น และตัวแปรตาม) เช่น

                               ตารางบันทึกผลการทดลองที่ 1


สูตรที่ 1 เปลือกส้ม (กรัม)  ขี้เลื่อย (กรัม)  กาว (ส่วน)      ผลการทดลอง


     1              2   กรัม            2   กรัม            1   ส่วน       ไม่ติดไฟ

     2              2   กรัม            1    กรัม           1   ส่วน        ติดไฟไม่มี

                                                                                          กลิ่นไล่ยุง

                                                                                          ไม่ได้


                       ตารางบันทึกผลการทดลองที่ 2


สูตรที่2 เปลือกส้ม(กรัม)ใบตะไคร้หอม(กรัม) ใบตอง(ใบ)ผลการทดลอง


    1           2 กรัม              2 กรัม                    1 ใบ         ติดไฟ มีกลิ่น

                                                                                       หอม ไล่ยุงได้

    2          2 กรัม               1 กรัม                    1 ใบ         ติดไฟ มีกลิ่น

                                                                                       หอม ควันมาก

                                                                                       ไล่ยุงได้มาก

                                                                                        ที่สุด


       ขั้นที่ 6............ฝึกให้ผู้เรียนออกแบบการนำผลงานไปทดลองใช้

              เช่น       ตารางการทดลองใช้เปลือกส้มเขียวหวานไล่ยุง

สูตรที่ 1   เวลาที่จุด (นาที)    ปริมาณยุงที่ไล่ได้(ตัว)    ผลการทดลอง 

สูตรที่ 2    .............................................................................................

        ขั้นที่ 7...........การสรุปผลการทดลองจากตารางบันทึกผลการทดลองเป็นความเรียง

..............เป็นอย่างไรบ้างค่ะ การสอนให้ผู้เรียนเริ่มต้นทำโครงงานอย่างง่าย ๆ โดยฝึกให้คิดแก้ปัญหาด้วยตนเองของผู้เรียนระดับประถมศึกษา........สามารถคิดออกแบบการทดลองได้ด้วยตนเอง.......และคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบแผงโครงงานจากเศษวัสดุ/ทำเป็นแผ่นพับ พร้อมเตรียมนำเสนอให้เพื่อนๆ ในชั้นได้ชื่นชมผลงานด้วยความภาคภูมิใจ...................ถ้าเป็นผู้เรียนช่วงชั้นที่ 3-4 อย่าลืมให้ผู้เรียนทำ"เค้าโครงของโครงงานวิทยาศาสตร์"ส่งให้ครูตรวจสอบความเป็นไปได้ ความถูกต้อง และความเหมาะสม"    นะคะ

            สรุป......การออกแบบการทดลอง  ประกอบด้วย  1) สมมติฐาน 2) ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม ตัวแปรควบคุม 3) นิยามเชิงปฏิบัติการ 4)ตารางบันทึกผลการทดลอง 5) วิธีการทดลอง (ขั้นตอน) ..................

              พบกันตอนที่ 4 .......เป็นเรื่อง การทำผลงานทางวิชาการ  "การสอนแบบโครงงานทุกช่วงชั้น" จะทำอย่างไร ............จะทำนวัตกรรมอะไร.......เพราะการสอนแบบโครงงานช่วยส่งเสริมและพัฒนาทักษะกระบวนการคิดระดับสูงให้แก่ผู้เรียน  อย่าลืมติดตาม                นะคะ ............ขอเวลาเคลียร์งานนิดหน่อยค่ะ

           

หมายเลขบันทึก: 153464เขียนเมื่อ 14 ธันวาคม 2007 00:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

สวัสดีค่ะ..อ.นราวัลย์

  • ชื่นชมค่ะ...ในการนำเสนอเรื่องยากให้เข้าใจง่าย
  • การจัดการเรียนรู้ด้วยโครงงาน..สุดยอดของการเรียนรู้ที่ฝึกทักษะการคิดเลยนะคะ
  • อยากให้คุณครูวิทยาศาสตร์เข้ามาเยี่ยมเยอะ ๆ นะคะ..เพราะเป็นเรื่องที่มีประโยชน์มากค่ะ
  • ให้กำลังใจค่ะ...เราจะก้าวไปด้วยกันนะคะ

 

 

  • กราบขอบพระคุณท่านที่กรุณาให้เกียรติแวะไปเยี่ยมชมบล็อคนะคะ ดิฉันได้ตอบคำถามท่านในบล็อคแล้ว
    ส่วนตัวดิฉันเองแวะมาเยี่ยมชมบล็อคนี้ทีไร
    ได้รับประโยชน์และได้นำไปใช้ทุกครั้ง
     ยอดเยียม ชืนชมท่านมากค่ะ
นางชนธัญ เอี่ยมอนันต์เจริญ
เวบไซต์ของคุณมีประโยชน์มากๆเลยค่ะ อยากขอคำแนะนำและรูปแบบการฝึกก่อนที่จะเริ่มเรียนโครงงานค่ะ
กำลังฝึกให้นักเรียนทำโครงงานเหมือนกันครับ  แต่พบปัญหาคือนักเรียนไม่คิดเอง  เช่น  ให้ตั้งคำถามก็ไม่สามารถตั้งคำถามเชิงวิทยาศาสตร์ได้  ให้คิดหาปัญหาก็ไม่สามารถคิดได้ครับ  ช่วยแนะวิธีสอนให้เด็กคิดด้วยครับ  ขอบคุณครับ
คนที่ศึกษาโครงงาน

ทำไมไม่เขียนรายละเอียดให้มากกว่านี้

ไม่ต้องรู้หรอก .. อิอิ 5555555555555555555555+

ไม่มีไรหรอกอะ

อยากดูจัง...

ไม่ต้องรู้ก็ได้ 555

กวนตีนเล่นสะงั้ง

sghgurjigiljseroijgjiyoeroop]

rmdngkre

้น้อยเองจ้า

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท