โค้ชส้ม Citrus
Miss. ปรีดิ์ฤทัย โค้ชส้ม ตั้งจิตญาณพัฒน์

น้ำหยดแรกสู่แผ่นดินไทย ฯ ในงาน SCG วาดอนาคต ภาคสอง


ในส่วนที่เป็นเนื้อหาสาระในงานยังมีเรื่องราวที่ได้จากการเสวนาของบุคคลสำคัญหลายท่านที่ช่วยกันอนุรักษ์น้ำ และสิ่งแวดล้อม

ในภาคสองของงาน SCG วาดอนาคตที่จัดขึ้น เป็นเวทีเสวนาของบุคคลสำคัญ 4 ท่าน โดยมีคุณกิตติ สิงหาปัตย์มาเป็นผู้ดำเนินรายการ

ภาพวงเสวนาเรื่องน้ำ

        ดร.เมธา รัชตะปิติ  ครูศรีนวล (บ้านสามขา), คุณติ๊ก เจษฎาภรณ์, คุณโรส  มูลนิธิกระต่ายในดวงจันทร์   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal">ดร.เมธา เชี่ยวชาญทำฝนเทียม ในโครงการฝนหลวง  จุดเริ่มต้นของฝนหลวง ย้อนหลังไป ห้าสิบกว่าปี  14 พ.ย.  ในปี พ.ศ. 2498  ภาพที่เห็นเจนตา เจนใจคือ พระองค์ ถือแผนที่ สะพายกล้อง มีสมุดคอยจดบันทึก  ปัญหาที่พบมากคือขาดแคลนน้ำอุปโภค บริโภค   เกิดความเสียหายทางการเกษตร  บางที่ในภาคอิสานเสียหายทั้งน้ำท่วม ฝนแล้งพร้อมๆ กัน  คนยากจนมาก  หลายโครงการเกิดจากแนวพระราชดำริ  ที่คิดแว่บว่าจะแก้พร้อมกันทั้งสองปัญหาได้ยังไง </p><p>       ฝายแม้วเกิดจากภูมิปัญญาชาวบ้าน   ทำไงให้เมฆบนท้องฟ้ารวมตัวกัน ตกมาเป็นฝน  ท่านคิดว่าน่าจะทำได้ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ช่วงแรกที่เริ่มต้น ประทับใจที่เห็นแนวคิดการแก้ไขปัญหาของพระองค์ที่ทำสองอย่างในเวลาเดียวกัน  ฝนหลวง เกษตรกรยอมรับมากที่สุด คนความรู้สูงกลับคัดค้านว่าเป็นไปไม่ได้ เป็นเรื่องโคมลอย ไม่มีทางทำได้  พระองค์ทรงทุ่มเท สละเวลา ศึกษาถึง 5 ปีในการพัฒนาเทคโนโลยี  และทำการทดลองอยู่ตลอดเวลา แนวคิดแก้ไขภัยแล้งและน้ำท่วม เป็นความคิดที่เราคิดไม่ถึงว่าจะทำได้ในเวลาเดียวกัน </p><p>     ครูศรีนวล : ชาวบ้านสามขาคิดทำฝาย  เพราะสามขา เป็นป่าต้นน้ำ พื้นที่ติดเขาเป็นขั้นบันได  ขาดน้ำอย่างรุนแรง  ขาดตั้งแต่ มี.ค.- ก.ค. ปี 2544-2545 อ่างเก็บน้ำไม่มีน้ำเหลืออยู่เลย  ปรึกษา ปูนลำปาง  ได้รับคำแนะนำให้ไปดูห้วยห้องไคร้   กลับมาคิดว่าน่าจะทำได้ ลองทำดูแบบง่ายๆ  ใช้กลุ่มเยาวชน เด็กๆ ไปชวนพ่อแม่ พี่น้องให้มาช่วยกัน เด็กเล็กขนหินก้อนเล็ก หรือโยนหินลงมา  ฝายแม้ว ต้องสร้างในที่ไม่มีน้ำให้มีน้ำ  ฝายภูมิปัญญาจะสร้างในที่มีน้ำแล้วทดน้ำเข้าฝาย  ฝายแม้วจะไปสร้างที่สูงในที่ไม่มีน้ำ  สร้างไว้ 5 แห่ง  หน้าฝายมีตะกอน ช่วงแรกที่ตกอาจจะเก็บน้ำไว้ไม่ได้ ต้องรอรอบต่อๆ ไป  ผ่านไป 5 ปีมีน้ำ  ชาวบ้านในชุมชนช่วยกันสร้างและรู้สึกเป็นเจ้าของ ทำให้เกิดความรักที่จะดูแลรักษาไม่ให้ใครมาทำลาย</p><p>      ติ๊ก : ฝายช่วยกักน้ำไว้ไม่ให้ไหลผ่านไป เก็บไว้บนเขา ช่วยทำให้เกิดความชุ่มชื้นในป่า   ต้องเข้าไปทำในป่าที่ลึกมาก  ปัจจุบันผืนป่าลดลงเรื่อยๆ เพราะชาวบ้านบุกรุกทำการเกษตร  สัตว์ป่าก็หายไป หายากขึ้น  ทำให้ป่าแห้งแล้งมากขึ้นจากการที่ป่าถูกทำลาย  ขาดการดูแลที่ดี  อยากให้เยาวชนช่วยกันอนุรักษ์ธรรมชาติ  การทำรายการโทรทัศน์ navigator  ช่วยอะไรบ้าง  ช่วยให้ชุ่มชื่นหัวใจ  เห็นความมีน้ำใจของชาวบ้านต่างจังหวัด ชาวเขา  เกิดมิตรภาพ  ขณะนี้เห็นว่าชาวเขาตื่นตัวเรื่องฝายชะลอน้ำกันมาก</p><p>     โรส วริศรา ลี้ธีรกุล: สนใจเรื่องสิ่งแวดล้อม  ก่อตั้งมูลนิธิกระต่ายในดวงจันทร์  ตัวเองไม่เคยเข้าป่าเลย  ไปเที่ยวป่าสวนผึ้ง เกิดแรงบันดาลใจเมื่อพบลุงคนนึงที่เดือดร้อนจากไฟป่า  เพื่อนๆ หาทางช่วยเหลือ เปลี่ยนทัศนคติ แนวคิด ให้หันมาสนใจสิ่งแวดล้อมมากขึ้น  เริ่มกิจกรรมตั้งแต่ปี 2539 ทำกิจกรรมให้คนหันมาให้ความสำคัญกับธรรมชาติ รักธรรมชาติ จดทะเบียนมูลนิธิ  2543 ช่วยปลุกจิตสำนึกในเด็กจะง่ายกว่าในผู้ใหญ่  ทำโครงการกับเด็ก  ที่จังหวัดราชบุรี โรงเรียน สินแร่สยามตั้งแต่อนุบาลถึง ประถมหก สอนอย่างต่อเนื่อง นักเรียนกะเหรี่ยง ให้กลับไปสอนคนในพื้นที่  ส่วนโครงการ key camp  ให้เด็กคิดโครงการและทำเอง โดยมาเรียนและฝึกกับมูลนิธิ 1 ปี ให้กลับไปพัฒนาชุมชน  ปล่อยให้เด็กคิดเอง ทำเอง ทำโครงการเพื่อชุมชนเพื่อให้เกิดความยั่งยืน มีความรู้สึกเป็นเจ้าของ  </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal">ในรอบสองของการเสวนา แต่ละท่านได้ฝากข้อคิดกับพวกเราไว้อย่างน่าสนใจ</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal">ดร.เมธา อยากเห็นองค์กรต่างๆ ช่วยกันบริหารน้ำจากฟ้า  อย่าปล่อยให้ไหลลงทะเลไป  ด้วยศักยภาพของประเทศไทย  น่าจะช่วยกันเก็บกักให้มากขึ้น ปัจจุบันได้เพียง 10 เปอร์เซ็นต์   บางปีอ่างเก็บน้ำเกิดวิกฤต มีปัญหาแห้งแล้งมาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พยายามใช้เทคโนโลยีฝนหลวงพิเศษ เพื่อดับไฟป่า ทำลายหมอกควัน  ป้องกันพายุลูกเห็บ ที่นครสวรรค์</p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal">ติ๊ก ให้ข้อคิดสำหรับคนรุ่นใหม่  ทุกคนล้วนแต่ปฏิบัติตามพระราชดำรัสของในหลวงอยู่แล้ว  คนในเมืองหลวง น่าจะช่วยเป็นสื่อที่ดี  ถึงคนทั่วทุกภูมิภาค  เราใช้ทรัพยากรต่างๆ อย่างคุ้มค่าหรือยัง  ควรเริ่มจากตัวเอง  แสดงความจงรักภักดีต่อในหลวง  ควรทำความดีถวายพระองค์ท่าน</p><p>         โรส  เราทุกคนโชคดีที่มีในหลวง และราชินีที่ทรงห่วงใยพสกนิกร  เวลาใช้สิ่งที่ท่านเตรียมไว้ให้ ควรใช้อย่างรู้คุณค่า ชาญฉลาด อย่างพอเพียง  พวกเราเหมือนเป็นพี่น้องกัน  ควรผูกมิตรกับธรรมชาติ และกับเพื่อนร่วมโลกด้วยกัน </p><p> </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal">ครูศรีนวล  หันไปดูคนที่อยู่ป่าต้นน้ำบ้าง  เพิ่งทำมา 5 ปีถือว่ายังเล็กน้อยมาก  ยังเห็นความมหัศจรรย์ของป่า  และคน  ฝายสร้างคน   เครื่องมือใดที่ช่วยสร้างคนในองค์กรให้รักการเรียนรู้ แล้วเขาก็จะหันมาใส่ใจ รักษาสิ่งแวดล้อม เรื่องธรรมชาติ ปัญหาใกล้ตัว สิ่งที่จะส่งผลกระทบกับปัญหาของผู้อื่น</p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">         สำหรับคนในองค์กร อยากให้ช่วยกันประหยัด  เป็นกำลังใจ ให้ข้อแนะนำ เพราะชาวบ้าน ชาวเขา ขาดความรู้ กระบวนการในหลายเรื่อง  ขอพลังของคนที่มีศักยภาพไปช่วยเหลือสนับสนุนบ้าง</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">        เรื่องราวการเสวนาที่สรุปมานี้แม้ว่าจะจบลง แต่โครงการต่างๆ ยังคงดำเนินต่อไป สิ่งต่างๆ ที่ทำจะเกิดผลดีต่อชีวิตของพวกเราได้ ก็ต้องอาศัยความร่วมแรง ร่วมใจ ของทุกส่วน ทุกฝ่าย เพราะเราคือส่วนหนึ่งของธรรมชาติ ถ้าเราทำลายธรรมชาติ ก็เท่ากับว่าเราได้ทำลายชีวิตตัวเองลงไปด้วย</p>

หมายเลขบันทึก: 149984เขียนเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2007 18:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:35 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

 P

การอนุรักษ์ป่าและสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งสำคัญ

แหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้เป็นทุนในการดำรงชีวิตได้อย่างดี นั่นก็คือแหล่งปลา และพืชยา-อาหาร ในขณะเดียวกันก็สั่งสมทุนอื่นๆ ทั้งที่จับต้องได้และไม่ได้ เช่น เครื่องมือจับปลา, ภูมิปัญญา, การจัดการทางสังคม และวัฒนธรรม ที่เอื้อต่อการใช้ทุนธรรมชาติที่อยู่ใกล้ตัวดังกล่าว

สวัสดีค่ะ พี่

 P

จริงทีเดียวค่ะ ทุกอย่างถ้าดูให้ดี พวกเราอยู่ในระบบปิด ที่ทำอะไรแล้วส่งผลกระทบโยงใยเป็นลูกโซ่ถึงกันหมด  ถ้าทำส่วนหนึ่งดี ส่วนอื่นที่เกี่ยวข้องกันก็จะดีตามไปด้วย  แต่หากทำไม่ดี ผลโดยรวมก็เสียหายไปกันหมดค่ะ

อยากได้ คลิปอ่ะค่ะ ช่วยหน่อยนะคะ

รายการ วาดอนาคต

ตอนรักษ์เพื่ออนาคต

ออกอากาศ วันที่ 12 ตุลาคม 2549

ความยาว 3.00 นาที

คะ ไม่ทราบว่ายังมีคลิปนี้อยู่มั้ยคะ จะเอาไปทำรายงานอ่ะค่ะ พยายามหามากๆเลยอ่ะค่ะ แต่ไม่เจอซะที เลยขอร้องมาทางนี้อ่ะค่ะ นะคะ ขอก่อนวันที่ 6 มกราคม 2551 ค่ะ จพรายงานวันที่ 7 อ่ะค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท