ดร.กฤษฎา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กฤษฎา สังขมณี

ดร.กฤษฎา


ส่งงานทุกครั้งหลังเลิกเรียน

ส่งงานทุกครั้งหลังเลิกเรียน

หมายเลขบันทึก: 149908เขียนเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2007 14:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 11:21 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (204)
นันทพร ไวทย์เลิศสกุล

ทราบแล้วค่ะ

ความหมายของสินเชื่อ

สินเชื่อมีความหมายคล้ายเงินตราที่เราใช้เป็นตัวแทนวัดมูลค่าสิ่งของที่จะซื้อหาแลกเปลี่ยนระหว่างกัน  โดยมีสมมุติฐานว่า  เมื่อฝ่ายหนึ่งส่งมอบสินค้าหรือบริการให้อีกฝ่ายหนึ่งซึ่งก็คือลูกหนี้แล้ว   ผู้ส่งมอบหรือเจ้าหนี้ย่อมคาดหวังว่า  ลูกหนี้จะปฏิบัติตามข้อตกลงต่อกัน ว่าจะชำระราคาให้ตามวัน  เวลา  สถานที่  และจำนวนตามที่ได้ตกลงกัน 

ความสำคัญของสินเชื่อในระบบเศรษฐกิจ

การที่คนๆ  หนึ่งเมื่อเรียนหนังสือจนสำเร็จการศึกษาและเริ่มเข้าสู่ตลาดแรงงาน  ในฐานะลูกจ้าง  หรือมนุษย์เงินเดือน  ย่อมเป็นไปได้ยากมากที่จะเป็นเจ้าของปัจจัย  4  รวมถึงสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ  ที่คนนั้นต้องการได้  บางคนแม้ความสามารถสูงก็ต้องเก็บเงินเกือบทั้งชีวิต  เพื่อที่จะได้เป็นเจ้าของบ้านสักหลังซึ่งอยู่บริเวณชานเมือง  โดยไม่สามารถมีรถยนต์ส่วนตัวไว้ใช้สอย    ซึ่งชี้ให้เห็นว่าคนนั้นหรือสังคมแห่งนั้น  ยังไม่มีมาตรฐานการครองชีพที่ดี   ผู้ประกอบการก็เช่นเดียวกัน  การทำการค้าแบบเงินสดแต่เพียงอย่างเดียวเพื่อได้กำไรมาขยายกิจการต่อไป  ยิ่งเป็นไปได้ยากเพราะจะทำได้ช้ามาก  สินเชื่อจึงเป็นทางแก้ปัญหาดังกล่าว  เพื่อสนองความต้องการของมนุษย์และสร้างความเจริญสะดวกสบายให้กับสังคม  ซึ่งการที่จะมีสินเชื่อก็จะต้องควบคู่ไปกับการที่มีผู้ออมเงินในระบบเศรษฐกิจ 

สรุป

จะเห็นว่าการให้สินเชื่อมีประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจ  ทั้งในแง่ประชาชนผู้รับสินเชื่อ       ธุรกิจที่ได้สินเชื่อเพื่อการค้าและผู้ให้สินเชื่อ  คือธนาคารหรือผู้ขายสินค้า  ในแง่ผู้ให้สินเชื่อจะต้องมีการบริหารจัดการอย่างดี  กำหนดขั้นตอนการปฏิบัติงานให้เข้าใจกันในทุกระดับขององค์กร    และมีวัตถุประสงค์ ในการให้สินเชื่อที่ชัดเจน  โดยเฉพาะถ้าเป็นกิจการธนาคารหรือสถาบันการเงิน        จะต้องคำนึงถึงองค์ประกอบภายนอกที่กำกับดูแลอยู่ด้วย   เพื่อปฏิบัติให้ถูกต้องและบรรลุวัตถุประสงค์ของธนาคารต่อไป           

ขอให้นักศึกษาที่รักทุกคนส่งการบ้านบทนี้ข้อ 2 ,8,10  ก่อน21.00 น. วันพฤหัสบดีที่ 8  ธันวาคม 2550  ครับ

ศิริรัตน์ บุยเจริญรุ่งเรือง (49473120071)

 คำถามประจำบทที่1

1. ตอบ มีบ้างเล้กน้อย คือ

- ถ้าข้อมูลการวิเคราะห์เเละการตัดสินใจอนุมัตืสินเชื่อไม่ทันต่อเหตุการณ์ ไม่ครบถ้วน หรืออาจไม่ตรงกับความเป็นจริง ก้ออาจจะทำให้ตัดสินใจไปบนข้อมูลที่ไม่มีความเหมาะสม

-ปัญหาเกี่ยวกับการปรับองค์กร วิธีการทำงาน เเนวทางเเก้ไขคือ พนักงานสินเชื่อต้องทำการตลาด เพื่อเเสวงหาโอกาสในธุรกิจ เเละต้องท่ำงานอย่างมีระบบ มิใช่อยู่เฉยๆให้ลูกค้าเข้ามา คือต้องทำความรู้จักกับตลาดเป็นอย่างดี

การควบคุมเเละการบริหารสินเชื่อให้เป็นไปตามเงื่อนไข คือ ถ้าไม่ควบคุมให้ดี ก็จะมีปัญหา โดยหลักการคือ ถ้าคิดว่าไม่สามารถควบคุมลูกค้าให้อยู่ในกรอบไม่ได้ ก้ไม่ควรจะเป็นสินเชื่อที่ได้รับการอนุมัติตั้งเเต่เริ่ม

 

 

8. ตอบ ไม่ต่างกัน เพราะ มีความสัมพันธ์กันทั้ง2 ด้าน ทั้งประชาชน เเละธุรกิจ คือเพื่อสนองความต้องการของมนุษย์เเละสร้างความเจริญสะดวกสบายให้กับสังคม ซึ่งการที่จะมีสินเชื่อก็จะต้องควบคู่ไปกับการที่มีผู้ออมเงินในระบบเศรษฐกิจ ดังนั้นก็จะทำให้สังคมได้รับประโยชน์ทั้ง 2 ด้าน คือ ประชาชนรู้จักการออมเเละมีวินัยในการชำระคืนหนี้สินที่ได้ก่อขึ้นมา

 

 

10. ตอบ  ให้ เพราะ ธนาคารไทยพานิชย์จะเป็นธนาคารที่ให้ความสนใจในเรื่องของคุณภาพสินทรัพย์ ถ้าพนักงานสินเชื่อไม่สามารถควบคุมความเสี่ยงได้ ธนาคารก็จะเกิดปัญหาไม่มีเงินฝากใหม่เข้ามาให้ปล่อยสินเชื่อใหม่ได้

 

 

นายทักษ์ดนัย ธนหิรัญพัฒน์ (49473120029)

คำถามบทที่1

2.ตอบ มีข้อเสีย คือ

-ปัญหาการที่ระบบสินเชื่อขาดความรู้ความเข้าถึงภาวะต่างๆในขณะที่มีปัญหาทางเศรษฐกิจอยู่  เช่น ผลเสียจากการปล่อยสินเชื่อน้อยเกินไปในคณะที่เศรษฐกิจเกิดภาวะเงินฝืด เพราะในช่วงภาวะเงินฝืดช่วงนี้เป็นช่วงที่ธุรกิจเกิดการซบเซาทำให้ผุ้ประกอบการต่างๆต้องการเงินเพื่อไปหมุนเวียนในกิจการทำให้ต้องหาทางเพื่อเปลี่ยนสินค้าให้เป็นเงินทำให้เกิดปัญหาหนี้เสียและการปล่อยสินเชื่อที่ลดลงอยู่แล้วลดลงไปอีกเป็นทำให้ภาคธุรกิจต้องปิดตัวลง ประชาชนไม่มีเงินจับจ่ายซื้อสินค้าอีกด้วย

-ปัญหาที่เกิดจากการที่ปล่อยสินเชื่อโดยขาดข้อมูลที่ถูกต้อง ผู้ปล่อยสินเชื่อทำงานไม่รอบคอบขาดความรู้ทางด้านการปล่อยเงินกู้   ระบบการปล่อยสินเชื่อที่เก่าล้าสมัย เป็นผลทำให้เกิดหนี้เสียทำให้เศรษฐกิจเกิดเกิดการเติบโตล้าช้าประชาชนเป็นหนี้มากขึ้น ธนาคารมิสามารถเรียกเก็บหนี้ได้

-แนวทางแก้ไข การควบคุมตัวองค์กรในการปล่อยเชื่อให้มีการใช้ข้อมุลที่ทันสมัยทันต่อเหตุการณ์ต่างๆมีการวางแผนที่ชัดเจนเพื่อที่จะให้บรรลุถึงวัตถุประสงค์ตามที่ว่างไว้ การพัฒนาตัวบุคคลให้มีความรู้ความสามารถให้มากขึ้นการส่งเสริมการปล่อยสินเชื่อที่มีประโยชน์ทางเศรษฐกิจ สังคม และประชาชน ให้มากขึ้น 

8.ตอบ ต่างกัน คือ การปล่อยสินเชื่อทางธุรกิจกับการปล่อยสินเชื่อบุคคลต่างกันตรงที่การปล่อยสินเชื่อทางธุรกิจนั้นอาจมีความเสี่ยงสูงมากกว่าการปล่อยสินเชื่อบุคคล  การปล่อยสินเชื่อทางธุรกิจนั้นเป็นการขอสินเชื่อให้วงเงินที่สูงส่วนใหญ่จะไว้หมุนเวี่ยนกับกิจการของตนจึงมีความเสียงที่สูงมากเมื่อกิจการนั้นล้มลงหรือไม่สามารถใช้หนี้ได้ ต่างกับการที่ปล่อยสินเชื่อกับบุคคลที่ส่วนใหญ่จะปล่อยสินเชื่อให้กับการกู้ซื้อ บ้าน รถ เครื่องใช้ต่างๆภายในบ้านที่มีวงเงินกู้ที่ต่ำกว่าและมีความเสี่ยงน้อยกว่า

10.ตอบ สนับสนุนในการให้สินเชื่อ เพราะการให้สินเชื่อกับประชาชนเป็นรากฐานในทางเศรษฐกิจพื้นฐานเมื่อประชาชนขอสินเชื่อเพื่อการลงทุนก็เท่ากับว่าส่งเสริมให้ธุรกิจมีการเจริญเติบโตทำให้ธนาคารมีเงินไหลเวียนในระบบมากขึ้นเมื่อมีเงินไหลเวียนธนาคารก็มีรายได้จากการปล่อยกู้ยืมเงินและเมื่อมีการลงทุนประชาชนก็มีรายได้และนำเงินมาฝากกับธนาคาร ธนาคารก็นำเงินฝากของประชาชนปล่อยกู้สินเชื่อต่อไปได้อีกในที่สุดก็เป็นผลดีต่อทั้งธนาราคพาณิชย์เองและกับประชาชนด้วย

 

นางสาว เนตรนภา เอิบอิ่ม

คำถามบทที่1

2.ตอบ   มีข้อเสีย

ปัญหาการที่เกิดจากการปล่อยสินเชื่อโดยขาดข้อมูลที่ไม่ถูกต้องทำให้เกิดผลเสีย เช่น   ผลเสียกรณีสินเชื่อการเกษตรที่ธนาคารไมสามารถควบคุมลูกค้าได้ทำให้การเรียกเก็บหนีได้ยากเป็นผลเสียทำให้เศรษฐกิจเติบโตได้ช้า

แนวทางในการแก้ปัญหาคือในการปล่อยสินเชื่อนั้นต้องมีข้อมูลที่ถูกต้องและทันต่อเหตุการณ์มีการวางแผนที่ดีการจัดบุคคลให้ตรงกับสายงานและมีความรู้ความสามารถก็จะสามารถควบคุมองค์กรการปล่อยสินเชื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ได้

8.ตอบ ต่างกันคือการปล่อยสินเชื่อธุรกิจเป็นธุรกิจนขาดใหญ่ต้องใช้เงินทุนในการหมุนเวียนมากความเสี่ยงจึงมีมากขึ้นถ้าหากกิจการเกิดล้มลงต่างกับการปล่อยสินเชื่อบุคคลมีวงเงินที่น้อยกว่าและความเสี่ยงก้อมีน้อยด้วย

10.ตอบ สนับสนุนการให้สินเชื่อเพราะการให้สินเชื่อกับประชาชนเป็นการทำให้เศรษฐกิจเจริญเติบโตมากขึ้นและการให้สินเชื่อนั้นจะทำให้ประชาชนรู้จักออมเงินไว้กับธนาคารเพื่อที่ตัวเองจะได้มาขอสินเชื่อไปใช้ในการทำกิจการเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับตัวเองและการฝากเงินของประชาชนธนาคารก็สามารถเอาเงินนี้ไปใช้ในการปล่อยเงินกู้ได้อีกทำให้เกิดผลดีต่อธนาคารและประชาชนและทำให้เศรษฐกิจเจริญต่อไป

น.ส.ศรีสุภางค์ แก้วผ่อง รหัส 49473120037

คำถามบทที่1

คำตอบมีดังนี้

1.มีผลดีต่อระบบเศรษฐกิจและประชาชนคือช่วยสนองความต้องการของมนุษย์และสร้างความเจริญความสะดวกสะบายให้กับสังคม ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น พ่อค้านักธุรกิจมียอดขายสินค้าหรือบริการมากขึ้น มีกำไรมากขึ้น ระบบเศรษฐกิจก็มีความเจริญแข็งแกร่งขึ้น

2. ผลเสียก็มีอยู่บ้างคือ มีการกูไปเพื่อการเก็งกำไร ใช้จ่ายฟุ่มเฟื่อย แล้วไม่สามารถชำระคืนได้ตามสัญญา ก็จะเกิดวิกฤตการณ์ที่เลวร้ายต่อระบบเศรษฐกิจ ดังที่กรณีวิกฤตการณ์ทางการเงินในภมิภาคเอเชียในปี    พ.ศ.2540 เป็นต้น

3.หน้าที่ในการจัดการสินเชื่อ มีความเหมือนกับหน้าที่ในองค์กรธรุกิจอื่น คือ มีการวางแผน การจัดองค์กร การจัดอัตรากำลังคน การจัดสายการบังคับบัญชา และมีการควบคุม

4.มีแนวทางในการปฏิบัติงาน คือ จะต้องมีความรอบคอบ  กระตือรือร้น ซื่อสัตย์ ต้องได้รับการอบรมความรู้ในงานอย่างสม่ำเสมอ คำนึงถึงจริยธรรมทั้งต่อองค์กร ต่อผู้ร่วมอาชีพเดียวกัน ต่อลูกค้า ต่อส้งคมส่วนรวม และมีคุณธรรม

5. คิดว่า ปัจจุบันน่าจะเหมาะสมมากกว่า เพราะเป็นข้อมูลที่ทันต่อเหตุการณ์ ไม่ล้าสมัย

6. กิจการค้าปลีกและค้าส่งมีวัตถุประสงค์ในการให้สินเชื่อที่ไม่ต่างกัน เพราะต่างก็มุ่งเพิ่มปริมาณการขาย ซึ่งส่งผลให้มีกำไรเพิ่มขึ้นด้วย

7. ปัจจัยภายนอกที่มีผลต่อการกำหนดนโยบายการให้สินเชื่อ ได้แก่ กฎหมาย  เงินทุนจดทะเบียนของธนาคาร  ความเสี่ยงจากหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้  ลักษณะของผู้ฝากกับธนาคาร  ภาวะเศรษฐกิจโดยรวมทั้งในระดับโลกและระดับประเทศ  นโยบายของภาครัฐ

8. ไม่ต่างกัน เพราะการพิจารณาสินเชื่อทั้งของธรุกิจ และของบุคคลนั้นต่างต้องให้ความสนใจมากในเรื่องของคูฃุณภาพสินทรัพย์  ข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์และตัดสินใจอนุมัติสินเชื่อต้องทันเหตุการณ์ ครบถ้วนเหมาะสม ต้องมีหลักประกัน ต้องมีการเจรจาต่อรอง     และดำรงจุดยืนของธนาคาร

9. จะแสวงหาลูกค้ารายใหม่ จากงานเปิดตัวสินค้าหรือบริการของธุรกิจใหม่ที่เข้ามาสู่ตลาดเศรษฐกิจ ซึ่งในงานก็จะมีผู้ที่ประกอบธุรกิจอื่นๆเข้ามาร่วมด้วย  แล้วเรก็จะไปพูดคุยกับพวกเขา

10.  คิดว่าสนับสนุน  เพราะต้องการให้ประชาชนได้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ได้นำเงินไปใช้จ่าย ไปลงทุนทำธุรกิจต่างๆ ระบบเศรษฐกิจก็จะมีเงินหมุนเวียนมากขึ้น เศรษฐก็จะดีขึ้น

นางสาวศิรินภา สุขแก้ว

คำถามบทที่  1

ข้อ  2  ตอบ  มีบ้างคือ

-ผลเสียของระบบสินเชื่อที่ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจทำให้ในเศรษฐกิจมีการกู้ยืมสินเชื่อกันมากขึ้นส่งผลให้มีเงินสะพัดมากกว่าที่ควรจะเป็น ทำให้ค่าเงินบามมีสภาวะที่แข็งตัว(เกิดสภาวะเงินเฟ้อ) ส่งผลให้เศรษฐกิจมีความชะลอตัวถึงกับหยุดชะงัก ทำให้ประเทศต้องเผชิญกับสภาวะที่ขาดดุล สิ่งนี้จะเห็นได้ชัดจากเหตุการณ์ที่ผ่านมานี้เองซึ่งประเทศไทยได้ประสบกกับปัญหาค่าเงินบาทแข็งค่า

-ผลเสียที่มีต่อประชาชน ที่เห็นได้ชัดก็เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจที่ซบเซาลงทำให้บางบริษัทต้องปิดกิจการ ทำให้ประชาชนตกงานเป็นจำนวนมาก  มีอัตราการว่างงานเพิ่มมากขึ้น  สินค้าและบริการมีราคาเพิ่มมากขึ้น แต่เงินหายากทำให้บางครอบครัวมีรายได้ที่ลดน้อยลง ส่งผลให้เกิดอาชญากรรมและมีผลต่อประเทศต่อไป

แนวทางแก้ไข   การแก้ไขนั้นอาจทำได้ไม่ยากถ้าทั้งภาครัฐและภาคเอกชนมีการชะลอการปล่อยสินเชื่อ หรือไม่ก็ปล่อยสินเชื่อในกรณีเท่าที่จำเป็น คือปล่อยเท่าที่เห็นสมควร การปล่อยสินเชื่อก็นึกถึงประชาชนและประเทศชาติบ้างไม่ควรปล่อยมากจนเกินไปและควรรักษาเสถียรภาพของค่าเงินบาทด้วยเช่นกัน

ข้อ 8  ตอบ  ต่างกัน คือสินเชื่อธุรกิจอาจจะปล่อยกับภาคธุรกิจ เช่น ปล่อยกับบริษัทที่ขาดเงินทุนหมุนเวียน แต่ สินเชื่อบุคคลอาจจะปล่อยเป็นรายบุคคลซึ่งไม่จำเป็นต้องมีธุรกิจ แต่อย่างไรก็ตามการปล่อยสินเชื่อก็ต้องนึกถึงหลักความจริงคือปล่อยแต่เท่าที่สมควร

ข้อ 10  ตอบ  สนับสนุน  เพราะจากเท่าที่เห็นมาธนาคารพาณิชน์มีการปล่อยสินเชื่อกันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นสินเชื่อที่อยู่อาศัย  สินเชื่อเพื่อการลงทุน เป็นต้น ซึ่งทำให้ประชาชนในปัจจุบันมีการขอสินเชื่อกันมากขึ้น ทำให้ธนาคารพาณิชย์ออกมาให้บริการด้านการเงินกันมากขึ้น

น.ส.สุดาทิพย์ พลับลับโพธิ์ (49473120090)

2.ตอบ มีผลเสีย เพราะการที่ปล่อยสินเชื่อไปโดยขาดความรู้และข้อมูลที่แท้จริงจะทำให้เกิดปัญหาหนี้เสียตามมาได้ เช่นการปล่อยวงเงินสินเชื่อให้กับนักลงทุนที่ทำธุรกิจแล้วธุรกิจเกิดปัญหาไม่สามารถนำเงินมาชำระหนี้ได้ทำให้เกิดปัยหาหนี้เสียตามมา

แนวทางการแก้ไข คือการจะปล่อยสินเชื่อนั้นจะต้องมีความรู้และข้อมูลที่ถูกต้องมาประกอบกับการพิจารณาการให้สินเชื่อในแต่ละครั้งเพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดขึ้นมาได้

8.ตอบ ต่างกัน เพราะการปล่อยสินเชื่อธุรกิจจะมีความเสี่ยงมากกว่าการปล่อยสินเชื่อบุคคล เพราะสินเชื่อธุรกิจจะต้องใช้วงเงินกู้มากกว่า  ส่วนการปล่อยสินเชื่อให้กับบุคคลนั้นจะมีความเสี่ยงน้อยกว่า เพราะโดยทั่วไปแล้วสินเชื่อบุคคลจะกู้เงินไปเพื่อซื้อบ้านที่อยู่อาศัย และรถยนต์เป็นต้น วงเงินการปล่อยสินเชื่อก็จะน้อยกว่าสินเชื่อธุรกิจ

10.ตอบ สนับสนุนการให้สินเชื่อ  เพราะต้องการให้เศรษฐกิจของประเทศมีความเจริญเติบโตและขยายตัวไปในทางที่ดีขึ้น และต้องการให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น มีเงินหมุนเวียนภายในประเทสมากยิ่งขึ้น

นางสาวทัศนีย์ ภูศรีฤทธิ์ 49473120015

1.ตอบ มีผลดีเพื่อได้สนองความต้องการของประชากรสร้างความเจริญสะดวกสบายให้กับสังคม  ประชาชนรู้จักการออมเพื่อประกอบธุรกิจต่างๆ  ในระบบเศรษฐกิจก็มีการขยายตัวมีสภาพคล่องมีกำไรมากขึ้น

2. ตอบ มีข้อเสีย คือ ถ้าระบบเศรษฐกิจและประชาชนเกิดนำเงินกู้ไปเพื่อการเก็งกำไร  ใช้จ่ายฟุ่มเฟื่อยและไม่สามารถชำระคืนเงินได้ ก็ส่งผลเสียต่อสถาบันการเงินเป็นอย่างมาก ธุรกิจไม่มีการการขยายตัวเศรษฐกิจย้ำแย่  ข้าวยากหมากแพงส่งผลกระทบต่อประชาชนเป็นอย่างมาก

3. ตอบ มีความเหมือนกันกับหน้าที่ในองค์กรธุรกิจอื่น เพราะมีการวางแผน  มีการจัดหาบุคลากร มีการควบคุม มีการประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ มีการรับผิดชอบงาน เพื่อให้ได้มาซึ่งความประสบผลสำเร็จในเป้าหมายที่เราได้ตั้งไว้ในองค์กรของเรา

4. ตอบ มีแนวทางในการปฏิบัติงานคือ จะต้องมีใจรักงาน มีความซื่อสัตย์ต่อองค์กร มีความรอบคอบ มีความคล่องแคล่วว่องไว  มีความรู้ที่ตรงกับสายงาน มีความใจเมตตา  ยุติธรรมและสุจริต

5. ตอบ ปัจจุบันควรมีการควบคุมสินเชื่อให้ดีมากกว่าเพราะช่วงนี้เศรษฐกิจก็อยู่ในช่วงที่ไม่ได้อยู่ในวิกฤต ถ้าเรามีการควบคุมสินเชื่อไม่ปล่อยกู้มากเกินความสามารถของผู้กู้ มีกฎหมายเข้ามาควบคุมดูแล ก็จะทำให้เศรษฐกิจเป็นไปอย่างเหมาะสม

6. ตอบ สองกิจการนี้มีวัตถุประสงค์ในการให้สินเชื่อที่ไม่แตกต่างกันเพราะกิจการทั้งสองนี้ต่างก็มุ่งที่จะแสวงหาผลกำไรเหมือนกัน

7. ตอบ ปัจจัยภายนอกที่มีผลต่อการกำหนดนโยบายการให้สินเชื่อคือ กฎหมาย  เงินทุนจดทะเบียนของธนาคาร  ความเสี่ยงจากหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้  ลักษณะผู้ฝากเงินกับธนาคาร  ภาวะเศรษฐกิจโดยรวมทั้งในระดับโลกและระดับประเทศ  นโบยภาครัฐบาล

8. ตอบ ต่างกันเพราะสินเชื่อธุรกิจต้องพิจารณาถึงความเสี่ยงจากหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้อย่างรอบคอบเนื่องจากธุรกิจมีขนาดใหญ่กว่าบุคคลอาจจะต้องมีหลักฐานมีหลักประกันที่นำมาวิเคราะห์มากกว่าเพราะธุรกิจมีขนาดใหญ่อาจส่งผลเสียต่อสถาบันการเงินมากกว่าบุคคล

9. ตอบ ก็จะมีการกำหนดอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำสำหรับผู้ที่กู้ยืม ผ่อนนาน สำหรับผู้ที่ฝากปรจำก็ให้ดอกเบี้ยสูง มีการจัดการด้านการบริการที่ดีไม่ว่าจะเป็นพนักงานเครื่องดื่มของแถมแจกช่วงจัดรายการต่างๆ มีโปรโมชั่นโดยมีสิ่งของสมนาคุณให้เพื่อจูงใจลูกค้าให้มากขึ้น

10. ตอบ คิดว่าสนับสนุนการให้สินเชื่อต่อประชาชนไม่ว่าจะเป็นการปล่อยสินเชื่อมากขึ้นดอกเบี้ยต่ำ  การปล่อยสินเชื่อกู้ยืมโครงการสร้างบ้าน  การปล่อยสินเชื่อ หนึ่งหมู่บ้านหนึ่งล้านบาทเพื่อกระจายสภาพคล่องทางการเงินสู่ชนบท

น.ส. อัญชลี อำพันพงษ์

ข้อ2.

ผลเสียของระบบสินเชื่อต่อระบบเศรษฐกิจและประชาชนมีบ้างหรือไม่ ถ้ามีจงยกตัวอย่างที่เป็นรูปธรรม และโปรดเสนอแนวทางแก้ไข

ตอบ    ผลเสียของสินเชื่อที่มีต่อระบบเศรษฐกิจของไทยคือ  ปริมาณการหมุนเวียนของเงินในระบบเศรษฐกิจที่สร้างปัญหา   อาทิเช่น    ธนาคารปล่อยสินเชื่อในปริมาณที่มาก  ในสภาวะที่ประเทศกำลังก่อตัวสู่สภาวะเงินเฟ้อหรือกำลังเฟ้อในระดับปานกลาง  5%  พอธนาคารได้ปล่อนสินเชื่อในปริมาณที่มาก  เพื่อผลประโยชน์ของธนาคาร   แต่กลับสร้างปัญหาให้ระบบเศรษฐกิจ  และประชาชนโดยรวม   คือจากเงินเฟ้อที่ในอยู่ในระดับปานกลางกลับก่อตัวเพิ่มขึ้นในระดับรุนแรง    มากกว่า  5%   ขึ้นไป    สร้างปัญหาในระบบเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก  อาทิเช่น   ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคมีราคาสูงมาก   เพราะค่าเงินบาทลดลง  เนื่องจากมีเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจมากเกินไป    วิธีที่จะแก้ไขได้ก็คือ  รัฐบาลควรออกพันธบัตรออกจำหน่ายเพิ่มขึ้น   เพื่อเป็นการลดปริมานเงินในระบบเศรษฐกิจให้ลดลง     ,   รัฐบาลควรเพิ่มอัตราเงินสดสำรองของธนาคารพาณิชย์   เพื่อลดปริมาณเงินสดสำรองส่วนเกินให้น้อยลง  เป็นการลดปริมาณการให้สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์   และรัฐบาลควรตรวจสอบการให้สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์อีกทางหนึ่งด้วย      

ส่วนกรณีปัญหาของสภาวะเงินฟืด  คือมีปริมาณการหมุนเวียนของเงินในระบบเศรษฐกิจน้อยเกินไป   อาทิเช่น   เหตุการณ์วิกฤตการณ์ ปี 40  หรือภาวะฟองสบู่แตก  คือเหตุการณ์ในตอนนั้นเกิดจากการลงทุนในตลาดหุ้น    และหลายๆปัจจัยร่วมกัน คือในตลาดหุ้นมีการปล่อยข่าวลือเกี่ยวกับหุ้น   และมีการปั่นหุ้น  ทำให้ราคาหุ้นสูงขึ้น    พอราคาหุ้นสูงขึ้นมากก็ทำให้ฟองสบู่แตก   คือชาวต่างชาติที่มาลงทุนหุ้นในประเทศไทยรีบขายหุ้นกันหมด  เพราะว่ากลัวขาดทุนมาก   และประชาชนในประเทศไทยก็พากันขายหุ้นออกหมดเหมือนกัน  เลยทำให้ปริมาณเงินลงทุนภายในประเทศลดลงเป็นจำนวนมหาศาล  ทำให้เงินในระบบเศรษฐกิจมีการหมุนเวียนในระดับที่น้อยลงเป็นอย่างมาก   ในส่วนของระบบสินเชื่อก็ลดการปล่อยสินเชื่อน้อยลง  เพราะประชาชนฝากเงินน้อยลง  เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยต่ำ และสถาการณ์ในขณะนั้น  ธนาคารก็มีเงินในระบบน้อยลง  และเกรงว่าจะเกิดหนี้สูญ   เนื่องจากค่าแรงงานก็ต่ำลง   ประชาชนตกงานเป็นจำนวนมาก   พอเกิดปัญหาในระบบเศรษฐกิจอยู่แล้ว  ก็ยิ่งเพิ่มความรุนแรงของปัญหาในระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นอีก   เนื่องจากธนาคารไม่ยอมปล่อยสินเชื่อเพิ่มขึ้น     วิธีแก้ไขปัญหาภาวะเงินฝืดคือ  รัฐบาลควรซื้อคืนพันธบัตรรัฐบาล    เพื่อให้มีปริมาณการหมุนเวียนของเงินเพิ่มมากขึ้น     ,  รัฐบาลควรลดอัตราเงินสดสำรอง    เพื่อให้ธนาคารมีเงินสดสำรองส่วนเกินเพิ่มมากขึ้น   เพื่อให้ธนาคารปล่อยสินเชื่อสู่ระบบเพิ่มขึ้น   และธนาคารควรสนับสนุนให้ธนาคารปล่อยสินเชื่อแก่ระบบเศรษฐกิจในจำนวนมากขึ้น   เพื่อให้เกิดการกระตุ้นการลงทุนภายในประเทศ และ มีเงินหมุนเวียนภายในระบบเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน  

ข้อ8.

ท่านคิดว่าการพิจารณาสินเชื่อธุรกิจกับสินเชื่อบุคคลต่างกันหรือไม่ จงอภิปราย

ตอบ   การพิจารณาสินเชื่อธุรกิจจะต่างจากการพิจารณาสินเชื่อบุคคล   เพราะว่าการปล่อยสินเชื่อธุรกิจ   เป็นการส่งเสริมให้เกิดการลงทุนภายในระบบเศรษฐกิจ    ทำให้ระบบเศรษฐกิจมีการลงทุนเพิ่มมากขึ้น   มีเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นเช่นกัน   ในส่วนนี้รัฐบาลจะส่งเสริมการปล่อยสินเชื่อมาก  โดยเฉพาะธุรกิจการค้า   อุตสาหกรรม   และการท่องเที่ยว  แต่จะเน้นให้ปล่อยสินเชื่อให้น้อยลงในที่ธุรกิจเน้นการเก็งกำไร  ที่ไม่ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจให้ดีขึ้น   และธุรกิจที่มีภาพลักษณ์ไม่ดีต่อสังคม     

ส่วนการพิจารณาสินเชื่อธุรกิจบุคคลจะเป็นการปล่อยสินเชื่อให้แก่ประชาชนโดยทั่วไป   เพื่อการอุปโภคบริโภค    ซึ่งทำให้ปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจเพิ่มมากขึ้น   มีธุรกรรมการซื้อขายเพิ่มขึ้น    เป็นการช่วยกระตุ้นให้เกิดธุรกรรมการซื้อขายภายในระบบเศรษฐกิจขึ้น    มีเงินหมุนเวียนในระบบเพิ่มขึ้นเช่นกัน    รัฐบาลไม่ค่อยสนับสนุนเท่าไหร่   เพราะเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนใช้เงินเกินตัว    แต่ธนาคารกลับชอบเพราะผลประโยชน์ที่จะได้รับนั่นก็คือดอกเบี้ย   โดยเฉพาะสินเชื่อบัตรเครดิตที่ธนาคารจะได้รับค่าธรรมเนียมหรือค่าบริการรวมถึงดอกเบี้ยด้วย  ซึ่งเป็นจำนวนที่มาก   ทำให้ธนาคารปล่อยสินเชื่อในส่วนนี้มาก แต่สินเชื่อก็มีอัตราความเสี่ยงที่สูงเช่นกัน     แต่ธนาคารก็จะพิจารณาที่ละเอียด     เพราะความน่าเชื่อถือจะต่างจากสินเชื่อธุรกิจ   กิจการธุรกิจจะมีความน่าเชื่อถือที่มากกว่า  เพราะมีการจดทะเบียนนิติบุคคล    มีสถานที่ตั้งที่แน่นอน  ส่วนสินเชื่อบุคคล       ส่วนใหญ่หนี้สูญจะเกิดจากการขอสินเชื่อบุคคล    เพราะฉะนั้นธนาคารจึงพิจารณาอย่างละเอียดก่อนการปล่อยสินเชื่อทุกครั้ง

ข้อ3.

ท่านคิดว่าธนาคารพาณิชย์ในปัจจุบันสนับสนุนการให้สินเชื่อต่อประชาชนหรือไม่อย่างไร

อบ    ธนาคารพาณิชย์ให้การสนับสนุน    จะเห็นได้จากการลดอัตราดอกเบี้ยให้น้อยลง   ซึ่งเป็นการช่วยกระตุ้นให้ประชาชนหันมาขอสินเชื่อเพิ่มมากขึ้น    ทำให้ประชาชนมีเงินมาใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคมากขึ้น    ทำให้ในระบบเศรษฐกิจเกิดธุรกรรมการซื้อขายในปริมาณเพิ่มขึ้น    ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้มีปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบเพิ่มมากขึ้น     ทำให้เศรษฐกิจกระเตื้องขึ้นเป็นอย่างมาก

น.ส. อัญชลี อำพันพงษ์

ข้อสุดท้าย  ที่พิมพ์ว่าข้อ 3.   คือข้อ10.    พิมพ์ผิดค่ะ!

น.ส. สุภาวรรณ จิแอ (49473120020)

1.การมีระบบสินเชื่อมีผลดีต่อระบบเศรษฐกิจและประชาชน คือ ทำให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น นักธุรกิจมียอดขายสินค้าหรือบริการมากขึ้น ตลาดมีการขายยตัวเพิ่มขึ้น

2.ผลเสีย การปล่อยสินเชื่อโดยการขาดความรู้นั้นจะทำให้เกิดปัญหาหนี้เสียมากขึ้น

3.ต่างจากองค์กรอื่น คือ ผู้ให้สินเชื่อจะพิจารณาลูกค้าเพื่ออนุมัติสินเชื่อให้ลูกหนี้ มีการตามเก็บหรือรับชำระหนี้ทั้งเงินต้น ดอกเบี้ย ค่างวด รวมถึงเอกสารสำคัญติดต่อกับหน่วยงานภายในและภายนอก

4.ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้านายไปก่อน ให้ทำอะไรก็ทำแต่ต้องดูว่างานที่สั่งนั้นดีหรือไม่ดี ควรพิจารณาก่อนด้วย

5.ในปัจจุบันมีการควบคุมสินเชื่อได้ดีกว่า เพราะการพิจารณาสินเชื่อในปัจจุบันธนาคารจะพิจารณาลูกค้าทุกรายจากสำนักงานใหญ่เท่านั้น เพื่อไม่ให้เกิดวิกฤติทางเศรรษฐกิจเหมือนปี 2540อีก

6.กิจการค้าปลีกและค้าส่งไม่ต่างกันทั้ง 2 กิจการก็มุ่งที่เพิ่มปริมาณการขาย ซึ่งส่งผลให้กิจการมีกำไรเพิ่มขึ้น

7.กฎหมาย  เงินทุนจดทะเบียนของธนาคาร  ความเสี่ยงจากหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้  ลักษณะผู้ฝากเงินกับธนาคาร  ภาวะเศรษฐกิจโดยรวมทั้งในระดับโลกและระดับประเทศ  นโบยภาครัฐบาล

8.ต่างกัน คือ สินเชื่อธุรกิจ พนักงานสินเชื่อจะไปพบลูกค้าที่สถานประกอบกิจการของลูกค้า เพื่อสัมภาษณ์ขอหลักฐานทางการเงิน ผลการดำเนินงานที่จำเป็นในทางกฏหมายมาพิจารณาสินเชื่อ  ส่วนสินเชื่อบุคคล มักจะเป็นลูกค้ารายย่อย จะกรอกข้อมูลส่วนตัว ฐานะทางการเงิน เพื่อขอซื้อบ้านหรือทำการค้าขนาดเล็กๆ เพื่อตรวจสอบประวัติและพิจารณา

9.หาลูกค้ารายใหม่โดย ลูกค้า walk in ให้พนักงานสินเชื่อทำงานด้านการตลาดสินเชื่อเพื่อเสนอบริการสู่ลูกค้าเป้าหมาย

10.ปัจจุบันธนาคารพานิชย์ให้การสนับสนุนการให้สินเชื่อต่อประชาชน ธนาคารมีการให้สินเชื่อที่หลากหลายสำหรับประชาชน เช่น สินเชื่อที่อยู่อาศัย รถยนต์ เป็นต้น

นางสาวจิราวรรณ ใจประสิทธิ์ รหัส49473120004

ข้อ2  ตอบ...มี ถ้าการบริหารจัดการไม่มีประสิทธิภาพ ก็ส่งผลเสียต่อระบบเศรษฐกิจและประชาชน เช่น การที่ธนาคารปล่อยสินเชื่อให้กับลูกค้ามากเกินไป โดยไม่ได้ศึกษารายละเอียดประวัติของลูกค้าให้ดี รวมไปถึงความสามารถในการผ่อนส่งเงินคืน เช่นธนาคารปล่อยสินเชื่อให้กับลูกค้าไปลงทุนในธุรกิจ แต่ธุรกิจไม่มีความสามารถในการบริหารจัดการที่ดี ก็ทำให้ขาดทุน และไม่สามารถชำระเงินแกทางธนาคาร ธนาคารเกิดหนี้สูญ ถ้าเกิดเหตุการณ์แบบนี้กับลูกค้าหลายๆราย ธนาคารก็จะประสบปัญหาขาดทุน  อาจต้องไปกู้หนี้ยืมสินจากต่างประเทศ  เหมือนกับคั้งที่ประเทศไทยเคยประสบปัญหานี้มาแล้วเมื่อปี40  เกิดปัญหาเศรษฐกิจ ข้าวยาหมากแพงส่งผลกระทบต่อประชาชนโดยรวมอย่างแน่นอน

 แนวทางแก้ไข ต้องควบคุมตัวองค์กรในการปล่อยเชื่อให้มีการใช้ข้อมุลที่ทันต่อเหตุการณ์ต่างๆมีการวางแผนที่ชัดเจนเพื่อที่จะให้บรรลุถึงวัตถุประสงค์ตามที่ว่างไว้ การพัฒนาตัวบุคคลากรในองค์กรให้มีความรู้ความสามารถให้มากขึ้นการส่งเสริมการปล่อยสินเชื่อที่มีประโยชน์ทางเศรษฐกิจ สังคม และประชาชน ให้มากขึ้น 

 ข้อ8 ต่างกันตรงสินเชื่อธุรกิจความเสี่ยงค่อนข้างที่จะสูงกว่า เพราะขอไปทำธุรกิจ ถ้าเกิดบริหารจัดการไม่ดีก็อาจประสบปัญหาขาดทุนได้  ส่วนสินเชื่อบุคคลส่วนใหญ่เป็นการกู้เงินเพื่อไปซื้อบ้านซื้อรถ เน้นไปทางปัจจัย4 ความเสี่ยงจะน้อยกว่า

ข้อ10 สนับสนุนในการให้สินเชื่อ เพราะการให้สินเชื่อกับประชาชนเป็นรากฐานในทางเศรษฐกิจ รวมไปถึงเป็การระจายรายได้ ประชาชนขอสินเชื่อเพื่อการลงทุนก็เท่ากับว่าส่งเสริมเศรษฐกิจให้มีการเจริญเติบโตทำให้ธนาคารมีเงินไหลเวียนในระบบมากขึ้น ธนาคารก็มีรายได้จากการปล่อยกู้ยืมเงินและเมื่อมีการลงทุนประชาชนก็มีรายได้และนำเงินมาฝากกับธนาคาร ธนาคารก็นำเงินฝากของประชาชนปล่อยกู้สินเชื่อต่อไปได้อีกในที่สุดก็เป็นผลดีต่อทั้งธนาราคพาณิชย์เองและกับประชาชน รวมไปถึงเศรษฐกิจของประเทศ

นางสาวนิภาวรรณ บุญวงศ์ 49473120018

2.ตอบ มีข้อเสีย คือ การที่พนักงานปล่อยสินเชื่อทำงานโดยที่ขาดความรู้ความสามารถและข้อมูลที่ถูกต้องเช่นถ้าปล่อยสินเชื่อให้กับลูกค้ามากๆและเมื่อถึงเวลาชำระหนี้ลูกค้าไม่สามารถชำระหนี้ได้อาจทำให้เกิดหนี้เสียหรือหนี้สูญและอาจส่งผลถึงการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจได้

แนวทางแก้ไขคือทางธนาคารหรือธุรกิจการปล่อยสินเชื่อต้องจัดบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถที่ตรงกับสายงานและก่อนที่จะปล่อยสินเชื่อพนักงานควรตรวจสอบข้อมูลและความถูกต้องให้ชัดเจนเพื่อจะได้ไม่ทำให้เกิดผลเสียขึ้น

8.ตอบ ต่างกัน เพราะในการปล่อยสินเชื่อทางธุรกิจจะมีความเสี่ยงมากกว่าการปล่อยสินเชื่อบุคคลเพราะการกู้ของสินเชื่อธุรกิจจะกู้ในวงเงินที่มากซึ่งเมื่อธุรกิจไม่สามารถชำระเงินได้ก็จะทำให้เกิดผลเสียมากกว่าสินเชื่อบุคคลที่มักจะกู้ในวงเงินที่น้อยส่วนมากก็จะกู้เพื่อซื้อบ้านหรือรถยนต์เป็นต้น

10.ตอบ สนับสนุนการให้สินเชื่อกับประชาชนสังเกตุจากการที่ธนาคารจะลดอัตราดอกเบี้ยเช่นการปล่อยสินเชื่อมากดอกเบี้ยต่ำซึ่งจะกระตุ้นให้ประชาชนกู้เงินกับแบงค์มากขึ้นจึงส่งผลให้แบงค์มีเงินหมุนเวียนมากซึ่งส่งผลดีให้ทั้งกับธนาคารเองและเศรษฐกิจด้วย

นายวสันต์ พิหูสูตร

คำถามบทที่ 1

ข้อ 2 ตอบ

       -ผลเสียของระบบสินเชื่อที่ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจทำให้ในเศรษฐกิจมีการกู้ยืมสินเชื่อกันมากขึ้นส่งผลให้มีเงินสะพัดมากกว่าที่ควรจะเป็น ทำให้ค่าเงินบามมีสภาวะที่แข็งตัว(เกิดสภาวะเงินเฟ้อ) ส่งผลให้เศรษฐกิจมีความชะลอตัวถึงกับหยุดชะงัก ทำให้ประเทศต้องเผชิญกับสภาวะที่ขาดดุล สิ่งนี้จะเห็นได้ชัดจากเหตุการณ์ที่ผ่านมานี้เองซึ่งประเทศไทยได้ประสบกกับปัญหาค่าเงินบาทแข็งค่า

      -ผลเสียที่มีต่อประชาชน ที่เห็นได้ชัดก็เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจที่ซบเซาลงทำให้บางบริษัทต้องปิดกิจการ ทำให้ประชาชนตกงานเป็นจำนวนมาก  มีอัตราการว่างงานเพิ่มมากขึ้น  สินค้าและบริการมีราคาเพิ่มมากขึ้น แต่เงินหายากทำให้บางครอบครัวมีรายได้ที่ลดน้อยลง ส่งผลให้เกิดอาชญากรรมและมีผลต่อประเทศต่อไป

ข้อ 8 ตอบ

       ต่างกัน เพราะในการปล่อยสินเชื่อทางธุรกิจจะมีความเสี่ยงมากกว่าการปล่อยสินเชื่อบุคคลเพราะการกู้ของสินเชื่อธุรกิจจะกู้ในวงเงินที่มากซึ่งเมื่อธุรกิจไม่สามารถชำระเงินได้ก็จะทำให้เกิดผลเสียมากกว่าสินเชื่อบุคคลที่มักจะกู้ในวงเงินที่น้อยส่วนมากก็จะกู้เพื่อซื้อบ้านหรือรถยนต์เป็นต้น

ข้อ 10 ตอบ

         สนับสนุนในการให้สินเชื่อ เพราะการให้สินเชื่อกับประชาชนเป็นรากฐานในทางเศรษฐกิจพื้นฐานเมื่อประชาชนขอสินเชื่อเพื่อการลงทุนก็เท่ากับว่าส่งเสริมให้ธุรกิจมีการเจริญเติบโตทำให้ธนาคารมีเงินไหลเวียนในระบบมากขึ้นเมื่อมีเงินไหลเวียนธนาคารก็มีรายได้จากการปล่อยกู้ยืมเงินและเมื่อมีการลงทุนประชาชนก็มีรายได้และนำเงินมาฝากกับธนาคาร ธนาคารก็นำเงินฝากของประชาชนปล่อยกู้สินเชื่อต่อไปได้อีกในที่สุดก็เป็นผลดีต่อทั้งธนาราคพาณิชย์เองและกับประชาชนด้วย

น.ส.สุทิศา เนกขัมม์ 49473120032

ข้อ 2)  ตอบ

   ผลเสียต่อประชาชน  คือ  ทำให้ประชาชนเป็นคนฟุ่มเฟือย  ไม่พอใจในสิ่งที่ตนเองมีอยู่  ไม่มีมาตราฐานในการครองชีพ  และเมื่อทำการกู้ยืมแล้วไม่สามารถชำระได้ตามสัญญาก็จะส่งผลให้เกิดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้  ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ต่อระบบเศรษฐกิจไทย

ข้อ  8)  ตอบ

   สินเชื่อธุรกิจ(Business Credit)  เป็นสินเชื่อที่องค์กรธุรกิจกู้มาเพื่อใช้ในการทำการค้า  การลงทุน  การอุตสาหกรรมต่างๆ

   หลักการพิจารณาที่ควรดู  คือ  ธุรกิจนั้นมีความต้องการของตลาดมากน้อยเพียงใด  กระทำการอันผิดกฎหมายหรือไม่  ให้ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อมมากน้อยเพียงใด

   สินเชื่อบุคคล  ส่วนใหญ่จะใช้ในการอุ)โภคบริโภค (Consumer Credit)  เพื่อใช้ในการดำรงชีวิต  เช่น  ปัจจัย 4  และเครื่องอำนวยความสะดวกต่างๆ 

   หลักการพิจารณา  คือ  มีความสามารถในการชำระหนี้ได้ตรงต่อเวลาหรือไม่  มีบุคคลคำประกันหรือเปล่า

ข้อ  10)  ตอบ 

   ในปัจจุบันธนาคารพาณิชย์ทุกแห่งต่างก็ยกกลเม็ดในการให้สินเชื่อไม่ว่าจะเป็น  การให้บริการที่ประทับใจ  เสนอดอกเบี้ยในราคาที่ตำ  และให้วงเงินกู้  100  %

 

น.ส.ศิรัญญา ยอดแก้ว

คำถามประจำบทที่ 1

ข้อ1.ตอบ การมีระบบสินเชื่อมีผลดีต่อระบบเศรษฐกิจช่วยแก้ปัญหามาตรฐานการครองชีพของประชาชนเพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์และสร้างความสะดวกสบายให้กับสังคม

ข้อ2.ตอบ มี ยกตัวอย่างเช่น ในช่วงสภาวะที่ระบบเศรษฐกิจกำลังชะลอตัวถ้าหากธนาคารปล่อยสินเชื่อมากเกินไปอาจมีประชาชนที่หวังผลจากการขอสินเชื่อไปเพื่อการใช้จ่ายที่ฟุ่มเฟือยหรือการเก็งกำไรแต่อาจเกิดปัญหาทางการเงินทำให้ไม่สามารถชำระคืนตามสัญญากะบธนาคารได้แนวทางแก้ไขคือ การอนุมัติให้สินเชื่อในแต่ละครั้งควรพิจารณาให้รอบคอบรวมทั้งความมั่นคงทางการเงินของลูกค้า

ข้อ3.ตอบ หน้าที่ในการจัดการสินเชื่อมีความเหมือนกับองค์กรธุรกิจในด้านการจัดการมีวัตถุประสงค์เดียวกันคือการทำกำไรเข้าองคืกรให้ได้มากที่สุดื แต่การจัดการสินเชื่อจะต่างกับองคืกรธุรกิจคือการดำเนินงานที่จะให้ได้มาซึ่งกำไรจะต้องสังเกตสภาพแวดล้อมควบคู่กับดูข้อมูลกค้าก่อนที่จะให้สินเชื่อ

ข้อ4. ตอบ จะต้องมีการวางแผนกำหนดแนวทางในการปฏิบัติงานที่ดีโดยใช้หลักนโยบายของธนาคาร ซึ่งนโยบายแต่ละอย่างก็ควรที่จะหาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อให้ทันกับสภาพแวดล้อมทั้งภายในและนอกองค์กร

ข้อ5. ตอบ มี ปัจจุบันเนื่องจากภาวะของระบบเศรษฐกิจในปีปัจุบันมีความแตกต่างจากปี 2539 ซึ่งเป็นช่วงที่มีวิกฤติทางการเงินและเนื่องจากปีปัจจุบันประชาชนมีระบบการเงินที่มั่นคงขึ้น ดังนั้นการควบคุมสินเชื่อของธนาคารก็เป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น

ข้อ6. ตอบ

  1. กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย
  2. ปริมาณการให้สินเชื่อ
  3. ระยะเวลาและความสามารถในการชำระหนี้

ข้อ7. ตอบ  กฎหมาย  เงินทุนจดทะเบียนของธนาคาร  ความเสี่ยงจากหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้  ลักษณะผู้ฝากเงินกับธนาคาร  ภาวะเศรษฐกิจโดยรวมทั้งในระดับโลกและระดับประเทศ  นโบยภาครัฐบาล

ข้อ8. ตอบ ถ้าสินเชื่อธุรกิจ  ต้องพิจารณาจากข้อมูลหลายๆแหล่งและต้องดูสภาพเศรษฐกิจปัจจุบันและหาข้อมูลที่สำคัญเพื่อนำมาพิจารณาการให้สินเชื่อ แต่สินเชื่อบุคคลจะต้องมาดูข้อมูลประวัติของบุคคลซึ่งอาจจะเป็นข้อมูลไม่ซับว้อนและยุ่งยาก

ข้อ9. ตอบ จากแหล่งท้องถิ่นของลูกค้ารายเก่า หรือในท้องถิ่นของธนาคารคู่แข่ง

ข้อ10. ตอบ สนับสนุน เพราะว่าจะทำให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ส่งผลให้ธุรกิจการขายและบริการสูงขึ้นดังนั้นก็จะทำให้ระบบเศรษฐกิจมีผลดีตามไปด้วยเช่นกัน

น.ส.อัจฉรา อินทนนท์ (49473120091)

ข้อ2.ตอบ

     ผลเสียของระบบสินเชื่อจะมีผลต่อระบบเศรษฐกิจและประชาชนถึงการให้สิ่นเชื่อจะทำให้เกิดประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจแต่การให้สินเชื่อจะต้องคำนึงถึงหลายๆด้าน เช่น สภาพเศรษฐกิจในขณะนั้น เพราะการให้สินเชื่อจะมีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจดังนั้นถ้าหากมีการให้สินเชื่อที่ไม่เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจในขณะนั้นก็จะส่งผลกระทบต่อสภาพคล่องของเศรษฐกิจ ตัวอย่างเช่น  หากธนาคารพาณิชย์มีการให้สินเชื่อกับธุรกิจในปริมาณมากในภาวะเงินเฟ้อก็จะส่งผลให้ยิ่งมีเงินในระบบเศรษฐกิจเพิ่มมากขึ้นก็จะยิ่งทำให้ภาวะเงินเฟ้อมีเพิ่มมากขึ้น  หรือถ้าหากมีการให้สินเชื่อที่น้อยเกินไปก็จะส่งผลให้ระบบเศรษฐกิจไม่มีการขยายตัว

     แนวทางการแก้ไข ให้คำนึงถึงสภาพของเศรษฐกิจในขณะนั้นว่ามีสภาพคล่องมากน้อยเพียงใดจะสามารถให้สินเชื่อได้มากน้อยเพียงใด

 

ข้อ 8. ตอบ

     ต่างกันการให้สินเชื่อกับธุรกิจจะมีความเสี่ยงสูงเนื่องจากการทำธุรกิจจะต้องใช้เงินจำนวนมากส่วนการให้สินเชื่อบุคคลจะมีความเสี่ยงน้อยกว่าเพราะจะนำไปใช้ในการซื้อรถ ซื้อบ้าน จำนวนเงินน้อยกว่า

 

ข้อ 10. ตอบ

       ธนาคารพาณิชย์ในปัจจุบันให้การสนับสนุนการให้สินเชื่อต่อประชาชนจะเห็นได้จากการลดอัตราดอกเบี้ยและจะส่งผลให้ระบบเศรษฐกิจมีการขยายตัวเนื่องจากประชาชนมีการใช้จ่ายมากขึ้น

นางสาวอนุสรา เอี๋ยวประเสริฐ รหัส 49473120033

คำถามประจำบทที่ 1

1. ตอบ มีผลดีต่อประชาชน เพราะบางครั้งประชนชนที่ยังขาดแคลนกำลังทรัพย์ประชาชนยังสามารถที่ใช้ระบบสินเชื่อได้เพื่อที่จะสร้างความมั่นคงให้กับตนเองได้

2. ตอบ มี เช่น ถ้าทางธนาคารเกิดการปล่อยสินเชื่อมากเกินไป ก็อาจจะทำให้ประชาชนเกิดความเคยตัวใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือย ก็อาจทำให้ประชาชนไม่สามารถชำระคืนตามสัญญาก็เป็นได้

3. ตอบ หน้าที่ที่เหมือนกันก็คือต่างหวังผลกำไรด้วยกันทั้งคู่ แต่การจัดการสินเชื่อจะต่างกับองค์กรธุรกิจคือ การดำเนินงานที่จะให้ได้มาด้วยกำไรต้องศึกษาข้อมูลและสังเกตสภาพแวดล้อมไปด้วย

4. ตอบ เราอาจจะทำตามนโยบายของธนาคาร และเราก็ควรวางแผนงานกำหนดแนวทางที่ดีในการปฏิบัติงานเพื่อผลลัพท์ที่ดีต่อองค์กรและตัวเรา

5. ตอบ ปัจจุบันเพราะเนื่องจางสภาพเศรษฐกิจของ ปี 2539 นั้นอยู่ในช่วงเกิดปัญหาทางเศรฐกิจ แต่ปัจจุบันประชาชนมีฐานะทางการเงินที่มั่นคงขึ้นทำให้ควบคุมสินเชื่อได้ง่ายขึ้น

6. ตอบ คิดว่าน่าจะเป็นกลุ่มเป้าหมาย และปริมาณระยะเวลาในการให้สินเชื่อ

7. ตอบ กฎหมาย เงินทุน ลักษณะผู้ฝากเงิน นโยบายของรัฐบาล บุคลากร

8. ตอบ สินเชื่อธุรกิจอาจจะต้องพิจารณาจากหลายๆอย่าด้วยกัน แต่สินเชื่อบุคคลจะพิจารณาจากประวัติบุคคลหรือตัวบุคคลนั้นๆ

9. ตอบ อาจจะให้ลูกค้ารายเก่าช่วยแนะนำเพื่อนหรือคนในท้องถิ่นให้ หรืออาจจะเป็นในท้องถิ่นของเราเอง

10. ตอบ สบับสนุนเพราะทางธนาคารเองก็หวังจะให้ความเป็นอยู่ของประชาชนและเศรษฐกิจดีขึ้นและก็หวังความเจริญขององค์กรด้วย

นางสาวพิมศิริ ลาภโสภา รหัส 49473120024

คำถามบทที่ 1

1.การมีระบบสินเชื่อมีผลดีต่อระบบเศรษฐกิจและประชาชน คือ ทำให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น นักธุรกิจมียอดขายสินค้าหรือบริการมากขึ้น ตลาดมีการขายยตัวเพิ่มขึ้น

2.ผลเสีย การปล่อยสินเชื่อโดยการขาดความรู้นั้นจะทำให้เกิดปัญหาหนี้เสียมากขึ้น

3.ต่างจากองค์กรอื่น คือ ผู้ให้สินเชื่อจะพิจารณาลูกค้าเพื่ออนุมัติสินเชื่อให้ลูกหนี้ มีการตามเก็บหรือรับชำระหนี้ทั้งเงินต้น ดอกเบี้ย ค่างวด รวมถึงเอกสารสำคัญติดต่อกับหน่วยงานภายในและภายนอก

4. คิดว่าควรทำตามนโยบายองค์ให้ดีที่สุด มีแนวทางในการแก้ไขอย่างรอบคอม เพื่อจุดมุ่งที่ดีสำหรับองค์กร

5. คิดว่าปัจจุบันดีกว่า เพราะช่วง 2539 เป็นช่างวิกฤตเศรณฐกิจไทย ทำให้การให้สินเชื่อเป็นไปได้ลำบาก

6. คิดว่าน่าจะเป็นกลุ่มเป้าหมาย และปริมาณระยะเวลาในการให้สินเชื่อ

7. กฎหมาย  เงินทุนจดทะเบียนของธนาคาร  ความเสี่ยงจากหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้  ลักษณะผู้ฝากเงินกับธนาคาร  ภาวะเศรษฐกิจโดยรวมทั้งในระดับโลกและระดับประเทศ  นโบยภาครัฐบาล

8. ต่างกัน สินเชื่อธุรกิจจะพิจารณาจากหลายๆด้านแต่สินเชื่อบุคคลจะพิจารณาจากประวัติของบุคคลนั้นๆ

9. อาจจะเป็นเพื่อนของลูกค้ารายเก่าหรือคนในท้องถิ่นของเรา

10. สนันสนุนเพราะทางธนาคารเองก็อยากให้ความเป็นอยู่ของประชาชนดีขึ้น และเป็นผลดีขององค์กร

น.ส.อรัญญา นันทพรสิริพงศ์ รหัส 49473120038

2. ตอบ  ผลเสียของระบบสินเชื่อต่อระบบเศรษฐกิจและประชาชน คือ การที่ประชาชนมีความฟุ้งเฟ้อมากขึ้น ใช้จ่ายโดยไม่คำนึงถึงรายได้ของตนเอง เพราะคิดว่ามันผ่อนจ่ายได้ ประชาชนขาดจิตสำนึก อยากได้อยากมี ธนาคารพาณิชย์ก็จะขาดสภาพคล่องทางการเงิน เพาระเกิดหนี้สูญ ลูกค้าไม่สามารถจ่ายชำระเงินได้ ประเทศชาติก็จะไม่พัฒนาเพราะไม่มีเงินทุนหมุนเวียน

    ทางแก้คือ ให้ผู้ที่ปล่อยสินเชื่อมีนโยบายควบคุมการปล่อยสินเชื่อที่มีประสิทธิภาพ ไม่ปล่อยสินเชื่อหรืออนุมัติการให้สินเชื่อโดยไม่ตรวจสอบข้อมูลของลูกค้าให้ดี

8.ตอบ  ต่างกัน คือ สินเชื่อธุรกิจเป็นสินเชื่อที่องค์กรกู้มาเพื่อทำการลงทุน ทำการค้า ซึ่งจะใช้เงินในการใสนเชื่อมากกว่าสินเชื่อบุคคลเพราะสินเชื่อบุคคลนั้นส่วนใหญ่กู้มาเพื่อการดำรงชีวิต เช่น บ้าน รถยนต์ เป็นต้น ดังนั้นการพิจารณาสินเชื่อของธุรกิจจึงจำเป็นต้องพิจารณาให้ถี่ถ้วน รอบคอบมากกว่าสินเชื่อบุคคล

10.ตอบ ปัจจุบันธนาคารพาณิชย์ให้การสนับสนุนการให้สินเชื่อต่อประชาชนอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการแข่งขันการโฆษณา การลดอัตราดอกเบี้ย ให้สวัสดิการ ยืดระยะเวลาการกู้ให้ยาวนานขึ้น หรือแม้แต่การให้ความสะดวกสบายประหยัดเวลาในการไปขอสินเชื่อ เป็นต้น

นางสาวนิษา สังสำราญ 49473120017

2)ผลเสียของระบบสินเชื่อต่อระบบเศรษฐกิจและประชาชน

     1.การที่ประชาชนเกิดการใช้ระบบสินเชื่อมากขึ้น  ประชาชนจะมีความฟุ่มเฟือยไม่มีการวางแผนในการใช้งานที่ดีก่อให้เกิดหนี้  เศรษฐกิจก็มีผลเสียตามไปด้วย

      แนวทางแก้ไข  ประชาชนควรมีแผนในการดำเนินชีวิตที่ดี  มีการวางแผนในการใช้เงินที่ดี

      2.ผลเสียของระบบสินเชื่อ  ที่เกิดจากการบริหารของฝ่ายสินเชื่อที่ธนาคารให้สินเชื่อแก่ประชาชนมากเกินไป  เมื่อลูกค้าได้สินเชื่อมากและไม่มีความสามารถในการชำระหนี้  ทำให้ประชาชนเป็นหนี้และไม่สามารถชำระคืนได้

        แนวทางแก้ไข  ระบบของธนาคารควรมีแผนการบริหารและตรวจสอบสินเชื่อให้ดีก่อนจะปล่อยสินเชื่อให้กับประชาชนและการปล่อยสินเชื่อควรคำนึงถึงผลประโยชน์ให้มากที่สุด

8)  การพิจารณาสินเชื่อธุรกิจกับสินเชื่อบุคคลทั่วไปต่างกัน

     - สินเชื่อธุรกิจจะมีความเสี่ยงสูง  แต่มีประโยชน์ในการส่งเสริมให้เกิดการลงทุนในเศรษฐกิจของประเทศ  ทำให้เกิดการขยายการลงทุน

   -สินเชื่อธุรกิจของบุคคลจะมีความเสี่ยงน้อยกว่า เพราะส่วนใหญ่จะเป็นการกู้ซื้อบ้าน  ที่อยู่อาศัย ทำให้มีความเสี่ยงน้อยกว่า

 10) ธนาคารพาณิชย์ในปัจจุบันมีการสนับสนุนการให้สินเชื่อต่อประชาชน  เพราะในปัจจุบันธนาคารพาณิชย์มีการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น  มีการนำเงินจากสินเชื่อไปลงทุนส่งผลดีต่อเศรษฐกิจ และในปัจจุบันก็มีประเภทของสินเชื่อที่หลากหลายมากขึ้น

 

น.ส.ภูริดา เลาฉัตติกุล รหัส 49473120078

 คำถามบทที่1

ข้อ 2.  ผลเสียของระบบสินเชื่อต่อระบบเศรษฐกิจและประชาชนมีบ้างหรือไม่  ถ้ามีจงยกตัวอย่างที่เป็นรูปธรรม  และโปรดเสนอแนวทางแก้ไขตอบ มี  ตัวอย่างเช่น กรณีของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรได้อนุมัติสินเชื่อประเภท ระยะสั้น (Short Term) กับกลุ่มลูกค้าที่เป็นเกษตรกรเพื่อนำไปลงทุนเกี่ยวกับเกษตรกรรมจากนั้นเกิดปัจจัยภายนอกที่ไม่สามารถควบคุมได้ เช่น อุทกภัย หรือโรคระบาดต่างๆที่เกษตรกรเหล่านี้ไม่สามารถที่จะควบคุมปัจจัยเหล่านี้ได้ ซึ่งเมื่อถึงช่วงฤดูการเก็บเกี่ยวเกษตรกรไม่สามารถที่จะเก็บเกี่ยวได้ตามความเป็นจริงที่ได้ลงทุนไปและเมื่อถึงระยะเวลาในการชำระสินเชื่อกลุ่มเกษตรกรเหล่านี้จึงไม่สามารถที่จะชำระหนี้ได้ตามกำหนด ซึ่งในระยะยาวอาจทำให้เกิด หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ( NPL ) ซึ่งจะทำให้มีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศแนวทางแก้ไข ในกรณีที่จะมีการอนุมัติสินเชื่อให้กับกลุ่มเกษตรกรเหล่านี้ผุ้อนุมัติจะต้องดูวัตถุประสงค์และประเภทของการขอสินเชื่อว่าเหมาะสมกับการที่จะไปลงทุนหรือไม่ และเมื่อครบกำหนดระยะเวลาชำระสินเชื่อกลุ่มเกษตรกรไม่สามารถที่จะชำระหนี้ได้ตามกำหนด ธนาคารจะต้องติดตามการเก็บชำระหนี้และให้คำปรึกษากับกลุ่มเกษตรกรโดยอาจจะผ่อนชำระหนี้เป็นรายเดือนหรือว่ารายปีหรือว่าพักการชำระหนี้ชั่วคราวและทางธนาคารจะต้องมีการตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญเพิ่มขึ้น ข้อ 8.ท่านคิดว่าการพิจารณาสินเชื่อธุรกิจกับสินเชื่อบุคคลต่างกันหรือไม่   จงอภิปรายตอบ ต่างกัน คือ การพิจารณาสินเชื่อธุรกิจนั้นจะต้องมีหลักทรัพย์ค้ำประกันแต่สินเชื่อบุคคลนั้นไม่ต้องมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน         - การวิเคราะห์สินเชื่อธุรกิจสิ่งที่ทางผู้ให้สินเชื่อนั้นจะต้องดู คือ อายุการเปิดธุรกิจ ประเภทของการทำธุรกิจ และงบการเงินต่างๆรวมทั้งหลักทรัพย์ที่ใช้ในการค้ำประกัน         - การวิเคราะห์สินเชื่อบุคคลสิ่งที่ทางผู้ให้สินเชื่อนั้นจะดู คือ เอกสารทางการเงิน เช่น สลิปเงินเดือน การตรวจสอบที่อยู่และที่ทำงานของลูกค้าว่ามีตัวตนจริงหรือไม่ เอกสารรายได้ที่ส่งมาเป็นจริงหรือไม่ ตรวจสอบข้อมูลเครดิตบูโรแห่งชาติ NCB ( National Credit Bureau ) ข้อ10.ท่านคิดว่าธนาคารพาณิชย์ในปัจจุบันสนับสนุนการให้สินเชื่อต่อประชาชนหรือไม่อย่างไรตอบ สนับสนุน เพราะ ในอดีตไม่มีสินเชื่อบุคคล แต่ในปัจจุบันประชาชนสามารถเข้าถึงแหล่งสินเชื่อได้ง่ายขึ้นและไม่จำเป็นที่จะต้องไปถึงธนาคารเพราะในปัจจุบันมีบริษัทเงินทุนต่างๆที่ไม่ใช่ธนาคาร ( Non – Bank ) ได้เปิดดำเนินธุรกิจให้บริการสินเชื่อกับลูกค้ามากขึ้น เช่น Easy buy , Citi loan เป็นต้น

2. ตอบ  ผลเสีของระบบสินเชื่อก็มีอยู่ เช่น การกู้เงินเพื่อเก็งกำไร และใช้จ่ายฟุ่มเฟื่อย ในที่สุดก็ไม่มีเงินมาชำระคืน แนวทางแก้ไข คือ รู้จักการอดออม ลดการใช้จ่ายฟุ่มเฟื่อย

8. ตอบ  ต่างกัน เพราะ การพิจารณาสินเชื่อธุรกิจจะพิจารณาเกี่ยวกับธุรกิจที่ลูกค้าทำอยู่ว่ามีความเสี่ยงมากเพียงใด ควรอนมัติหรือไม่ ส่วนสินเชื่อบุคคลจะต้องพิจารณาว่าเงินที่ลูกค้าขอสินเชื่อไปนั้นนำไปลงทุนในเรื่องใดและมีความสารถในการชำระหนี้มากน้อยแหน

10. ตอบ  ธนาคารพาณิชย์มีการสนับสนุนในด้านสินเชื่อให้กับประชาชนในปัจจุบันอย่างมาก  อาทิ  มีการให้สินเชื่อที่มีวงเงินกู้สูง  ดอกเบี้ยต่ำ ทำให้ประชาชนหันมากู้เงินมากขึ้น

นางสาวพรรษสิริ นามมัน
แบบฝึกหัดบทที่ 1ข้อ 1.สินเชื่อมีผลดีต่อระบบเศรษฐกิจเป็นอย่างมากช่วยสร้างความเจริญ ความสะดวกสบายและประชาชนเกิดกาออมขึ้น สินเชื่อทำให้ความเป็นอยู่ดีขึ้น มีส่วนแบ่งทางการตลาด ภาคการเงินมีเงินรับฝากและนำไปปล่อยกู้ต่อได้ดอกเบี้ย ส่วนลด ค่าธรรมเนียมจะส่งผลต่อกำไรและระบบเศรษฐกิจมีความเข้มแข็งขึ้นข้อ 2. มีผลเสีย อาทิว่ามีการกู้เพื่อนำไปเก็งกำไร จ่ายฟุ่มเฟือย ตัวอย่างในปี 2540 ที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจขึ้น  ผู้ปล่อยสินเชื่อโดยการขาดความรู้ความเข้าใจและความชำนาญจะทำให้เกิดหนี้ NPL ขึ้น แล้วเกิดการขาดสภาพคล่องทางเศรษฐกิจข้อ 3.ต่างกัน เพราะผู้ให้สินเชื่อก่อนจะให้จะต้องมีการพิจารณาผู้ขอสินเชื่อหรือสินทรัพย์ก่อนจึงจะอนุมัติได้มีการเก็บและชำระทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย ค่างวด ทั้งเอกสารสำคัญติดต่อกับหน่วยงานภายในและภายนอกข้อ 4.ต้องทำหน้าที่ของตนให้สุดความสามารถ ซึ่งต้องประกอบด้วยความขยันหมั่นเพียร  ความอดทน และขาดไม่ได้กับผู้ทำงานด้านนี้คือ ความซื่อสัตย์ ไม่เอารัดเอาเปรียบประชาชน น้อบน้อมถ่อมตน ปฏิบัติตามคำสั่งเจ้านายแต่ต้องพิจารณาความถูกผิดด้วย ข้อ 5.ปัจจุบันนั้นต้องมีการควบคุมให้ดีกว่าถึงดีที่สุด และควรจะเอาวิกฤตปี 2540 มาเป็นบทเรียนในการอนุมัติสินเชื่อและการบริหารสินเชื่อให้มีความเข้มงวดในการให้สินเชื่อ  แต่ปัจจุบันส่วนมากนั้นธนาคารสำนักงานใหญ่จะเป็นผู้อนุมัติสินเชื่อเองเพราะกลัวว่าประวัติศาสตร์จะซ้ำรอยข้อ 6.ทั้งกิจการค้าปลีกและกิจการค้าส่งมีวัตถุประสงค์ที่ไม่แตกต่างกันเพราะต่างคนก็ต่างมุ่งให้สินเชื่อเพื่อทำกำไรสูงสุดให้กับธุรกิจตน   มีการเพิ่มยอดขายของธุรกิจ เพื่อให้ลูกค้าพึงพอใจในธุรกิจและมาใช้บริการกับธุรกิจของตนข้อ 7. คู่แข่งเพราะต่างคนก็ต้องการทำผลประโยชน์ ให้กับธุรกิจตน  กฎหมาย  ความเสี่ยงจาก NPL เงินทุนจดทะเบียนของธนาคาร นโยบายภาครัฐ  การเมือง  สภาวะเศรษฐกิจของระดับโลกและระดับประเทศข้อ 8. ต่างกัน เพราะสินเชื่อธุรกิจ พนักงานสินเชื่อจะไปพบลูกค้าที่สถานประกอบการของลูกค้า เพื่อสัมภาษณ์และขอหลักฐานทางการเงิน ผลการดำเนินงานที่จำเป็นในทางกฏหมายมาพิจารณาสินเชื่อ  ส่วนสินเชื่อบุคคล มักเป็นลูกค้ารายย่อย ซึ่งจะมีการกรอกข้อมูลส่วนตัว ฐานะทางการเงิน เพื่อขอซื้อบ้านหรือทำการค้าขนาดเล็กๆ เพื่อตรวจสอบประวัติและพิจารณาการให้สินเชื่อแก่ลูกค้าข้อ 9.จะต้องทำการ walk in เพื่อหาลูกค้าที่มีความสนใจที่จะขอสินเชื่อกับทางธุรกิจตน เป็นการให้พนักงานทำงานด้านการตลาดสินเชื่อเพื่อที่จะนำเสนอการบริการทางด้านสินเชื่อและบริการลุกค้าให้ถึงที่ พูดจาดี มีไมตรีจิต ลูกค้าเป้าหมายก็อยู่แค่เอื้อมแล้วข้อ 10. ในปัจจุบันธนาคารพานิชย์แทบทุกธนาคารมีการสนับสนุนการให้สินเชื่อแก่ประชาชนอยู่แล้ว และธนาคารควรมีการให้สินเชื่อที่มีความหลากหลายแก่ประชาชนเพื่อเป็นทางเลือก มีการปล่อยสินเชื่อมากขึ้นโดยคิดดอกเบี้ยต่ำ การให้สินเชื่อที่อยู่อาศัย การให้สินเชื่อหนึ่งหมู่บ้านหนึ่งล้านบาทเพื่อกระจายสภาพคล่องทางการเงินสู่ชนบทเพราะชาวชนบทนั้นมีความซื่อสัตย์และตรงต่อเวลา..ค่ะ
นางสาวพรรษสิริ นามมัน รหัส 49473120060 บริหารฯ(การเงิน)

แบบฝึกหัดบทที่ 1

 

ข้อ 1.สินเชื่อมีผลดีต่อระบบเศรษฐกิจเป็นอย่างมากช่วยสร้างความเจริญ ความสะดวกสบายและประชาชนเกิดกาออมขึ้น สินเชื่อทำให้ความเป็นอยู่ดีขึ้น มีส่วนแบ่งทางการตลาด ภาคการเงินมีเงินรับฝากและนำไปปล่อยกู้ต่อได้ดอกเบี้ย ส่วนลด ค่าธรรมเนียมจะส่งผลต่อกำไรและระบบเศรษฐกิจมีความเข้มแข็งขึ้น

 

ข้อ 2. มีผลเสีย อาทิว่ามีการกู้เพื่อนำไปเก็งกำไร จ่ายฟุ่มเฟือย ตัวอย่างในปี 2540 ที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจขึ้น  ผู้ปล่อยสินเชื่อโดยการขาดความรู้ความเข้าใจและความชำนาญจะทำให้เกิดหนี้ NPL ขึ้น แล้วเกิดการขาดสภาพคล่องทางเศรษฐกิจ

 

ข้อ 3.ต่างกัน เพราะผู้ให้สินเชื่อก่อนจะให้จะต้องมีการพิจารณาผู้ขอสินเชื่อหรือสินทรัพย์ก่อนจึงจะอนุมัติได้มีการเก็บและชำระทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย ค่างวด ทั้งเอกสารสำคัญติดต่อกับหน่วยงานภายในและภายนอก

 

ข้อ 4.ต้องทำหน้าที่ของตนให้สุดความสามารถ ซึ่งต้องประกอบด้วยความขยันหมั่นเพียร  ความอดทน และขาดไม่ได้กับผู้ทำงานด้านนี้คือ ความซื่อสัตย์ ไม่เอารัดเอาเปรียบประชาชน น้อบน้อมถ่อมตน ปฏิบัติตามคำสั่งเจ้านายแต่ต้องพิจารณาความถูกผิดด้วย

 

 

ข้อ 5.ปัจจุบันนั้นต้องมีการควบคุมให้ดีกว่าถึงดีที่สุด และควรจะเอาวิกฤตปี 2540 มาเป็นบทเรียนในการอนุมัติสินเชื่อและการบริหารสินเชื่อให้มีความเข้มงวดในการให้สินเชื่อ  แต่ปัจจุบันส่วนมากนั้นธนาคารสำนักงานใหญ่จะเป็นผู้อนุมัติสินเชื่อเองเพราะกลัวว่าประวัติศาสตร์จะซ้ำรอย

 

ข้อ 6.ทั้งกิจการค้าปลีกและกิจการค้าส่งมีวัตถุประสงค์ที่ไม่แตกต่างกันเพราะต่างคนก็ต่างมุ่งให้สินเชื่อเพื่อทำกำไรสูงสุดให้กับธุรกิจตน   มีการเพิ่มยอดขายของธุรกิจ เพื่อให้ลูกค้าพึงพอใจในธุรกิจและมาใช้บริการกับธุรกิจของตน

 

ข้อ 7. คู่แข่งเพราะต่างคนก็ต้องการทำผลประโยชน์ ให้กับธุรกิจตน  กฎหมาย  ความเสี่ยงจาก NPL เงินทุนจดทะเบียนของธนาคาร นโยบายภาครัฐ  การเมือง  สภาวะเศรษฐกิจของระดับโลกและระดับประเทศ

 

ข้อ 8. ต่างกัน เพราะสินเชื่อธุรกิจ พนักงานสินเชื่อจะไปพบลูกค้าที่สถานประกอบการของลูกค้า เพื่อสัมภาษณ์และขอหลักฐานทางการเงิน ผลการดำเนินงานที่จำเป็นในทางกฏหมายมาพิจารณาสินเชื่อ  ส่วนสินเชื่อบุคคล มักเป็นลูกค้ารายย่อย ซึ่งจะมีการกรอกข้อมูลส่วนตัว ฐานะทางการเงิน เพื่อขอซื้อบ้านหรือทำการค้าขนาดเล็กๆ เพื่อตรวจสอบประวัติและพิจารณาการให้สินเชื่อแก่ลูกค้า

 

ข้อ 9.จะต้องทำการ walk in เพื่อหาลูกค้าที่มีความสนใจที่จะขอสินเชื่อกับทางธุรกิจตน เป็นการให้พนักงานทำงานด้านการตลาดสินเชื่อเพื่อที่จะนำเสนอการบริการทางด้านสินเชื่อและบริการลุกค้าให้ถึงที่ พูดจาดี มีไมตรีจิต ลูกค้าเป้าหมายก็อยู่แค่เอื้อมแล้ว

 ข้อ 10. ในปัจจุบันธนาคารพานิชย์แทบทุกธนาคารมีการสนับสนุนการให้สินเชื่อแก่ประชาชนอยู่แล้ว และธนาคารควรมีการให้สินเชื่อที่มีความหลากหลายแก่ประชาชนเพื่อเป็นทางเลือก มีการปล่อยสินเชื่อมากขึ้นโดยคิดดอกเบี้ยต่ำ การให้สินเชื่อที่อยู่อาศัย การให้สินเชื่อหนึ่งหมู่บ้านหนึ่งล้านบาทเพื่อกระจายสภาพคล่องทางการเงินสู่ชนบทเพราะชาวชนบทนั้นมีความซื่อสัตย์และตรงต่อเวลา..ค่ะ
นางสาวพรระวี แซ่อั้ง รหัส 49473120043

1.มีผลดีต่อระบบเศรษฐกิจและประชาชน ในส่วนของด้านเศรษฐกิจนั้น มีผลดีคือ ช่วยให้มีระบบการหมุนเวียนของเงินตราที่ดี ทำให้เศรษฐกิจมีความเจริญรุ่งเรืองมากขึ้น ส่วนในด้านของประชาชน มีผลดีก็คือ ช่วยให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศที่กำลังพัฒนา ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยียังไม่เจริญมาก ประชาชนจึงประสบกับปัญหาความยากจน เมื่อมีระบบสินเชื่อนั้น ทำให้ประชาชนสามารถดำรงชีวิตได้ดีขึ้นในอีกขั้นหนึ่ง

  2.การมีระบบสินเชื่อนั้น มีผลเสียต่อระบบเศรษฐกิจและประชาชน ในส่วนของระบบเศรษฐกิจนั้น มีผลเสียคืออาจทำให้เกิดความเสี่ยงในการลงทุน เกิดการขาดทุนแล้วไม่สามารถนำเงินมาใช้ได้ ทำให้เกิดปัญหาหนี้สินตามมาอีกด้วย ส่วนในด้านของประชาชน มีผลเสียคือ ทำให้ประชาชนไม่ตระหนักถึงการใช้เงิน เนื่องจากมีการปล่อยสินเชื่อให้แก่ประชาชนจำนวนมาก ประชาชนจึงใช้เงินอย่างฟุ่มเฟือย เกิดหนี้สินในที่สุด อย่างที่เห็นได้ชัดเจนเลยคือ การใช้บัตรเครดิต ส่วนแนวทางแก้ไขคือ ก่อนที่จะปล่อยสินเชื่อให้แก่บุคคล ควรที่จะพิจารณา

ก่อนว่าควรให้สินเชื่อมากน้อยเพียงใด เพื่อความปลอดภัยทั้งผู้ให้สินเชื่อและผู้ขอสินเชื่อ

  3.หน้าที่ในการจัดการสินเชื่อกับหน้าที่ในองค์กรธุรกิจเหมือนกัน คือ หน้าที่ในการจัดการสินเชือมีการพิจารณาลูกค้าก่อนที่จะให้สินเชื่อหรือให้เครดิตแก่ลูกค้า เพื่อความปลอดภัยของผู้ให้สินเชื่อ ส่วนหน้าที่ในองค์กรธุรกิจก็เปรียบเหมือนการคัดสรรบุคลากรมาทำงานในองค์กร ซึ่งต้องมีการพิจารณาก่อนว่าคุณลักษณะใดที่เราต้องการ เพื่อเป็นประโยชน์แก่ธุรกิจมากที่สุด

 

 

4.ศึกษาผลงานต่าง ๆ ที่ผ่านมาของเจ้าหน้าที่สินเชื่อ เพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบระเบียบแล้วนำมาประยุกต์ใช้กับประสบการณ์ที่ผ่านมาของตนเอง

  5.ในปัจจุบันเหมาะแก่การควบคุมสินเชื่อมากกว่า เพราะปัจจุบันเกิดปัญหาต่าง ๆ มากมายในด้านการเงิน เช่นปัญหาค่าเงินบาทที่ผ่านมา ทำให้ต้องมีการควบคุมสินเชื่อมากขึ้น ในปี 2539 ธุรกิจด้านการเงินมีความเจริญไม่ประสบปัญหาร้ายแรงเหมือนเช่นในปัจจุบัน จึงไม่ตอบมีการควบคุมสินเชื่อมากนัก  

6.กิจการค้าปลีก มักจะมีการให้สินเชื่อน้อย เพราะสินค้าเป็นการขายปลีก ซึ่งราคาเป็นราคาต่อหน่วยเท่านั้นส่วนกิจการค้าส่ง มักจะมีการให้สินเชื่อมาก เพราะสินค้าเป็นการขายยกลัง ซึ่งราคามักจะสูง จึงทำให้มีการให้สินเชื่อโดยมีวันกำหนดจ่ายและเพื่อเป็นการให้เครดิตแก่ลูกค้าด้วย

  7.--เศรษฐกิจ คือ ถ้าเศรษฐกิจดี ธนาคารพาณิชย์ก็จะให้สินเชื่อมากขึ้น เกิดความเสี่ยงน้อยลง แต่ถ้าเศรษฐกิจไม่ดี ก็จะเกิดความเสี่ยงอย่างมาก--สังคม คือ ในปัจจุบันเกิดปัญหาต่าง ๆ มากมาย เช่น ปัญหาอาชญากรรม การปล้นทรัพย์ ทำให้ธนาคารพาณิชย์เกิดการหวั่นกลัวในการให้สินเชื่อ--การเมือง คือ ในขณะนี้ ปัญหาการเมืองยังเป็นปัญหาที่ยังแก้ไม่ขาด ประชาชนเกิดความยากจน ธนาคารพาณิชย์จึงต้องตระหนักถึงการให้สินเชื่อ เพื่อลดความเสี่ยงของธนาคารเอง  8.การพิจารณาสินเชื่อธุรกิจกับสินเชื่อบุคคลต่างกัน คือ สินเชื่อธุรกิจ เป็นการมองภาพรวมของธุรกิจว่าเป็นอย่างไร เหมาะแก่การให้สินเชื่อมากน้อยเพียงใด ส่วนสินเชื่อบุคคล เป็นการมองเพียงบุคคลว่ามีฐานะเป็นอย่างไรควรให้สินเชื่อแก่บุคคลนั้นหรือไม่  9.ถ้าธนาคารมีคู่แข่งมากขึ้นในท้องถิ่น ธนาคารควรแสวงหาลูกค้ารายใหม่โดยการให้บริการลูกค้าอย่างดีที่สุดให้ลูกค้าประทับใจกับบริการของธนาคาร เพื่อเป็นการมัดใจลูกค้าให้เป็นสมาชิกกับธนาคาร  10.ให้การสนับสนุนพอสมควร เพราะว่าลูกค้าที่ดีนั้นมีเพียงบางราย คือ ชำระเงินภายในเวลาที่กำหนดได้ แต่ก็มีลูกค้าบางรายที่ไม่สามารถชำระเงินภายในเวลากำหนดได้ จึงทำให้ธนาคารต้องเกิดปัญหาหนี้เสียตามมา  
น.ส.ดวงฤทัย แสงสุวรรณ์ รหัส 49473120003

ข้อ 2 ตอบ ผลเสียของระบบสินเชื่อต่อระบบเศรษฐกิจและประชาชนก็มีอยู่หลายแง่ เช่น การที่การให้สินเชื่อมากจนเกินไปทำให้มีเงินมากจนเกินไปในระบบเศรษฐกิจก่อให้เกิดภาวะเงินเฟ้อได้หรือการที่สถาบันการเงินให้สินเชื่อแก่ประชาชนมากจนเกินไปก็อาจทำให้ประชาชนไม่มีระเบียบวินัยซึ่งอาจก่อให้เกิดการใช้จ่ายที่ฟุ่มเฟือยและเป็นหนี้มากขึ้นในที่สุดหรือการที่สถาบันการเงินไม่มีระเบียบวินัยในการให้สินเชื่อแก่ธุรกิจโดยไม่มีการพิจารณาคุณสมบัติให้ถี่ถ้วนจนทำให้เกิดหนี้เสียมากขึ้นในระบบเศรษฐกิจอันก่อให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจดังเช่นในปี2540ที่ผ่านมา

แนวทางแก้ไข ควรที่จะมีการพิจารณาให้สินเชื่อในธุรกิจที่จำเป็นต่อส่วนรวมก่อน และควรควบควมหรือชะลอสินเชื่อที่มีความเสี่ยงออกไปก่อนเพื่อเป็นรักษาเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจในประเทศ

ข้อ 8 ตอบ ต่างกันเพราะการพิจารณาสินเชื่อธุรกิจนั้นเป็นไปเพื่อการลงทุนในภาคธุรกิจมีวงเงินค่อนข้างสูงมีควาเสี่ยงมากต้องพิจารณาอย่างถี่ถ้วนรอบคอบ ส่วนการพิจารณาสินเชื่อบุคคลนั้นเป็นไปเพื่อปัจจัย 4ของแต่ละบุคคล เพื่อการดำรงชีวิตเช่น ที่อยู่อาศัย ซึ่งความเสี่ยงก็จะน้อยกว่า

ข้อ 10 ตอบ ในปัจจุบันธนาคารพาณิชย์ต่างๆได้มีการสนับสนุนในเรื่องของการให้สินเชื่อต่อประชาชนมากขึ้นโดยแต่ละธนาคารก็มีกลยุทธ์ต่างมาโน้มน้าวประชาชนเช่น การให้วงเงินกู้สูงดอกเบี้ยต่ำ หรือกู้ได้100%ของหลักทรัพย์ค้ำประกันซึ่งทำให้ประชาชนมีการกู้เงินกับธนาคารพาณิชย์มากขึ้น

 

นางสาว พนิดา ศรีสกุล ( 49473120002 )

2. ตอบ มีผลดีต่อระบบเศรษฐกิจและประชาชน คือช่วยสนับสนุน ความต้องการของมนุษย์ และความเจริญเติบโตของเศรษฐกิจของไทย ทำให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ทำให้มีนักธุรกิจกล้าลงทุนในประเทศ มีระบบหมุนเวียนเงินที่ดีขึ้น ช่วยให้ระบบเศรษฐกิจมีความเจริญเติบโตเต็มที่

8.ตอบ ต่างกันเพราะการปล่อยสินเชื่อทางธุรกิจ จะมีความเสี่ยงมากกว่าการปล่อยสินเชื่อบุคคล ในการกู้สินเชื่อธุรกิจจะให้เงินมากกว่าสินเชื่อบุคคล และมีระยะเวลาในการชำระหนี้มากกว่าสินเชื่อบุคคล

10. ตอบ สนับสนุนเพราะว่า จะทำให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น อย่างเห็นได้ชัดจากการลดอัตราดอกเบี้ยส่งผลให้ระบบเศรษฐกิจมีการขยายตัวดีขึ้น

น.ส.ชุธิมา เหมือนงิ้ว รหัส 49473120025

1. ระบบสินเชื่อมีผลดีต่อระบบเศรษฐกิจคือช่วยพัฒนาเศรษฐกิจให้เจริญขึ้นทั้งในภาคอุตสาหกรรมและภาดเกษตรกรรม และมีผลดีต่อประชาชนคือช่วยให้ประชาชนมีเงินในการใช้ซื้อสิ่งของอุปโภคปริโภคและสิ่งของต่างที่ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น

2. ผลเสียของระบบสินเชื่อต่อระบบเศรษฐกิจและประชาชนมีอยู่หลายอย่างเช่น การปล่อยสินเชื่อมากเกินไปทำให้มีเงินเฟ้อมากเกินไปในระบบเศรษฐกิจ หรือการปล่อยสินเชื่อแต่ในเมืองใหญ่ทำให้ไม่มีการกระจายตัวของระบบสินเชื่อลงสู่ชนบท

แนวทางแก้ไข ควรมีการจำกัดสินเชื่อที่จำเป็นต่อประชน และควรมีการกระจายระบบสื่นเชื่อลงสู่ชนบทให้มากอย่างขึ้น

10. ในปัจจุบันธนาคารมีการปล่อนสินเชื่อให้กับประชาชนมากยิ่งขึ้น เช่น การปล่อนสินเชื่อเพื่อการซื้อที่อยู่อาศัย และสิ่งของที่จำเป็นต่อประชาชน โดยธนาคารพาณิชย์จะใช้กลยุทธ์ต่างให้ประชาขนมาขอสินเชื่อกับธนาคาร

น.ส.วริศรา สวนสุข 49473120080

ข้อ2 ตอบ มีผลเสีย จะเห็นได้จากวิกฤตเศรษฐกิจปี40ที่ผ่านมาก็เกิดจากการให้สินเชื่อมากเกินไปทำให้เเกดผลเสียต่อระบบเศรษฐกิจไทยรวมทั้งประชาชนก็ต่างเดือดร้อนกันทั่วหน้า

แนวทางการแก้ไข ควรมีการพิจารณาให้สินเชื่อที่เป็นระบบมากกว่าเดิม มีการพิจารณาที่ถี่ถ้วนก่อนที่จะอนุมัติสินเชื่อเพื่อไม่เกิดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้

ข้อ8 ตอบ ต่างกัน คือ การพิจารณาให้สินเชื่อแก่ธุรกิจมีขั้นตอนที่ยุ่งยาก และมีวงเงินที่มากกว่าการพิจารณาให้สินเชื่อแก่บุคคลที่วงเงินน้อยกว่ามีความเสี่ยงน้อยกว่า

ข้อ 10 ตอบ มีการโฆษณาเพื่อสนับสนุนในการให้สินเชื่อกันมากขึ้นเช่น เงินกู้สูง ดอกเบี้ยต่ำ

น.ส.พาฝัน โหเทพา 49473120058

ข้อ 2 ตอบ มีทั้งผลดีผลเสีย คือผลดีคือทำให้มีเงินหมุนเวียนในประเทศมากขึ้น ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนดีขึ้น ส่วนผลเสียคือถ้ามีการให้สินเชื่อมากเกินไปก็อาจทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อ ค่าเงินบาทแข็งตัว ส่งผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจเช่นภาคส่งออก รวมถึงส่งผลกระทบต่อประชาชนในเรื่องที่ว่าอาจจะตกงานมากขึ้น

แนวทางแก้ไข ควรมีการให้สินเชื่อในภาคธุรกิจหรือเอกชนที่จำเป็นมากก่อนเพื่อจะได้ไม่ก่อให้เกิดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้

ข้อ 8 ตอบ ต่างกัน เพราะสินเชื่อธุรกิจมีความเสี่ยงมากกว่าการให้สินเชื่อบุคคล มีรายละเอียดการพิจารณาที่ใช้เอกสารมากกว่าสินเชื่อบุคคล

ข้อ10 ตอบ มีการสนับสนุนมากขึ้นทั้งนี้ก็มีการจูงใจประชาชนโดยโฆษณาว่า จะให้กู้ได 100%ของหลักประกัน

น.ส.หทัยภัทร อินทร์ปัญญา รหัส49473120059

ข้อ2ตอบ มีผลเสียอยู่บ้าง อย่างที่เห็นได้ชัดก็คือถ้าปล่อยสินเชื่อมากเกินไปโดยไม่มีการพิจารณาที่ดีแล้วก็อาจก่อให้เกิดภาวะเงินเฟ้อ หรือถ้าหนักกว่านั้นก็เกิดค่าเงินบาทลอยตัว อย่างเมื่อปี2540ที่ผ่านมาส่งผลให้ไทยมีสภาพเศรษฐกิจที่แย่มากในช่วงนั้น โรงงาน บริษัท ธนาคารหลายแห่งต้องปิดตัวลงไปมากมาย

แนวทางแก้ไข ควรมีการชะลอและควบคุมการให้สินเชื่อในปัจจุบันให้มากขึ้นเพื่อไม่ให้เกิดภาวะวิกฤตอย่างที่ผ่านมาอีก

ข้อ8 ตอบ ต่างกัน คือ สินเชื่อธุรกิจวงเงินมากกว่าและมีความเสี่ยงมากกว่าสินเชื่อบุคคลที่ขอสินเชื่อเพื่อนำไปใช้เกี่ยวกับปัจจัย 4

ข้อ10 ตอบ มีการสนับสนุนเกี่ยวการให้สินเชื่อแก่ประชาชนมากมายพร้อมมีข้อเสนอเพื่อจูงใจ เช่น ให้วงเงินกู้ที่สูง ดอกเบี้ยต่ำ กู้ได้100%ของหลักทรัพย์

น.ส.นพรัตน์ เสมอตระกูล รหัส 49473120041

คำถามบทที่1

ข้อ2.)ผลเสียของระบบสินเชื่อต่อระบบเศรษฐกิจและประชาชนมีบ้างหรือไม่ ถ้ามีจงยกตัวอย่างที่เป็นรูปธรรม และโปรดเสนอแนวทางแก้ไข

 - ผลเสียของระบบสินเชื่อที่มีต่อระบบเศรษฐกิจ กล่าวคือ การที่ธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงิน ทำการปล่อยสินเชื่อที่มากจนเกินไปนั้น ทำให้เกิดผลเสียต่อระบบเศรษฐกิจคือ ทำให้มีการกู้ยีมเงินมากจนเกินไป จนเกิดการขยายตัวของเงินทุนที่มีมากจนเกินไป ทำให้เกิดสภาวะเงินเฟ้อเกิดขึ้น และทำให้ระบบเศรษกิจเกิดปัญหา ส่งผลทำให้เกิดการชลอตัวทางเศรษฐกิจได้ และถ้าหากว่าพนักงานที่ทำหน้าที่อนุมัติสินเชื่อ ยังไม่มีประสบการณ์และขาดความรู้ในการอนุมัติสินเชื่อ เมื่อปล่อยสินเชื่อไปมากๆ ถ้าลูกค้าไม่มีความสามารถในการชำระหนี้คืนได้ อาจทำให้เกิดหนี้เสียเกิดขึ้น จะทำให้เกิดผลกระทบในด้านต่างๆตามมา

แนวทางแก้ไข ธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินต่างๆ ควรมีมาตรการหรือข้อกำหนดในการปล่อยสินเชื่อในแต่ละปี ในอัตราที่ไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อระบบเศรษฐกิจ และควรคำนึงถึงสภาพเศรษกิจในขณะนั้นๆด้วยว่ามีสภาพเป็นอย่างไร เหมาะแก่การที่จะปล่อยสินชื่อในปริมาณเท่าใดที่จะไม่ให้ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ

-ผลเสียของระบบสินเชื่อที่มีต่อประชาชน

1.(จากการให้สินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภค) ถ้าประชาชนได้รับเงินสินเชื่อมาแล้ว แต่ขาดวินัยในการใช้สอยในชีวิตประจำวัน ก็จะทำให้เกิดการใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟีอย และอาจทำให้เกิดการขาดแคลนในภายหลังจนไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนดเวลา

2.ในทางระบบเศรษฐกิจที่มีการปล่อยสินเชื่อที่มากเกินไป ส่งผลกระทบต่อประชาชนคือ จะทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อ ค่าเงินจะแข็งตัว ราคาสินค้าก็จะมีราคาแพงขึ้นเนื่องจากมีเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจที่มากเกินไป ทำให้ประชาชนต้องเสียค่าครองชีพที่เพื่มขึ้น ในขณะที่รายได้ยังเท่าเดิม

ข้อ8) ท่านคิดว่าการพิจารณาสินเชื่อธุรกิจกับสินเชื่อบุคคลต่างกันหรือไม่ จงอภิปราย

-ต่างกัน คือ การปล่อยสินเชื่อทางธุรกิจกับการปล่อยสินเชื่อบุคคลต่างกันตรงที่ การปล่อยสินเชื่อทางธุรกิจนั้นเป็นการทำให้เกิดการลงทุนภายในระบบเศรษฐกิจ ระบบเศรษฐกิจจะมีการลงทุนเพิ่มมากขึ้น แต่ความเสี่ยงก็จะเกิดสูงมากกว่าการปล่อยสินเชื่อบุคคล  การปล่อยสินเชื่อทางธุรกิจนั้นเป็นการขอสินเชื่อให้วงเงินที่สูงส่วนใหญ่จะไว้หมุนเวี่ยนกับกิจการของตนจึงมีความเสียงที่สูงมากเมื่อกิจการนั้นไม่เกิดกำไรและยุบตัวลงจะทำให้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ และจะเกิดการเสียหายที่รุนแรงกว่า  ต่างกับการที่ปล่อยสินเชื่อกับบุคคลที่ส่วนใหญ่จะปล่อยสินเชื่อให้กับการกู้ซื้อ บ้าน รถ เครื่องใช้สอยภายในบ้านที่มีวงเงินกู้ที่ต่ำกว่าและมีความเสี่ยงน้อยกว่า การเสียหายก็จะเกิดน้อยกว่า

ข้อ10)ท่านคิดว่าธนาคารพาณิชย์ในปัจจุบันสนับสนุนการให้สินเชื่อต่อประชาชนหรือไม่อย่างไร

-ให้การสนับสนุน เพราะโดยส่วนใหญ่แล้วธนาคารพาณิชย์ในปัจจุบันนั้นดำเนินกิจการอยู่ได้เพราะดอกเบี้ยเงินกู้จากการให้สินเชื่อต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสินเชื่อที่อยู่อาศัย  สินเชื่อเพื่อการลงทุน สินเชื่อเพื่อการเกษตร ทำให้เกิดประโยชน์กันทั้งสองฝ่าย และการให้สินเชื่อกับประชาชนนั้น ทำให้เป็นการหมุนเวียนทางระบบเศรษฐกิจ ทำให้เศรษฐกิจเติบโตมากขึ้น

น.ส.ศิริทิพย์ ร่มโพธิ์ภัคดิ์ รหัส 49473120040

แบบฝึกหัดบทที่1

2.ตอบผลเสียของระบบสินเชื่อจะมีผลต่อระบบเศรษฐกิจและประชาชนถึงการให้สิ่นเชื่อจะทำให้เกิดประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจแต่การให้สินเชื่อจะต้องคำนึงถึงหลายๆด้าน เช่น สภาพเศรษฐกิจในขณะนั้น เพราะการให้สินเชื่อจะมีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจดังนั้นถ้าหากมีการให้สินเชื่อที่ไม่เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจในขณะนั้นก็จะส่งผลกระทบต่อสภาพคล่องของเศรษฐกิจ ตัวอย่างเช่น  หากธนาคารพาณิชย์มีการให้สินเชื่อกับธุรกิจในปริมาณมากในภาวะเงินเฟ้อก็จะส่งผลให้ยิ่งมีเงินในระบบเศรษฐกิจเพิ่มมากขึ้นก็จะยิ่งทำให้ภาวะเงินเฟ้อมีเพิ่มมากขึ้น  หรือถ้าหากมีการให้สินเชื่อที่น้อยเกินไปก็จะส่งผลให้ระบบเศรษฐกิจไม่มีการขยายตัว

     แนวทางการแก้ไข ให้คำนึงถึงสภาพของเศรษฐกิจในขณะนั้นว่ามีสภาพคล่องมากน้อยเพียงใดจะสามารถให้สินเชื่อได้มากน้อยเพียงใด

8.ตอบ ต่างกัน เพราะในการปล่อยสินเชื่อทางธุรกิจจะมีความเสี่ยงมากกว่าการปล่อยสินเชื่อบุคคลเพราะการกู้ของสินเชื่อธุรกิจจะกู้ในวงเงินที่มากซึ่งเมื่อธุรกิจไม่สามารถชำระเงินได้ก็จะทำให้เกิดผลเสียมากกว่าสินเชื่อบุคคลที่มักจะกู้ในวงเงินที่น้อยส่วนมากก็จะกู้เพื่อซื้อบ้านหรือรถยนต์เป็นต้น

10.ตอบ สนับสนุนในการให้สินเชื่อ เพราะการให้สินเชื่อกับประชาชนเป็นรากฐานในทางเศรษฐกิจ รวมไปถึงเป็การระจายรายได้ ประชาชนขอสินเชื่อเพื่อการลงทุนก็เท่ากับว่าส่งเสริมเศรษฐกิจให้มีการเจริญเติบโตทำให้ธนาคารมีเงินไหลเวียนในระบบมากขึ้น ธนาคารก็มีรายได้จากการปล่อยกู้ยืมเงินและเมื่อมีการลงทุนประชาชนก็มีรายได้และนำเงินมาฝากกับธนาคาร ธนาคารก็นำเงินฝากของประชาชนปล่อยกู้สินเชื่อต่อไปได้อีกในที่สุดก็เป็นผลดีต่อทั้งธนาราคพาณิชย์เองและกับประชาชน รวมไปถึงเศรษฐกิจของประเทศ

นงสาวสุปราณี แสนทวีสุข

แบบฝึกหัดบทที่ 1

1.มีผลดีต่อระบบเศรษฐกิจ คือทำให้เศรษฐกิจมีความเจริญเติบโตมีความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจมากยิ่งขึ้นและประชาชนก็จะรู้จักการออมและมีวินัยในการชำระหนี้สินที่ได้ก่อขึ้นมา

2. มีผลเสีย คือ การปล่อยสินเชื่อผิดวัตถุประสงค์และไม่ระมัดระวะงก็จะทำให้เกิดวิกฤตการณ์ทางเงินส่งผลต่อเศรษฐกิจ ควรมีการจัดการสินเชื่อการให้สินเชื่อควรดูความเหมาะสมพิจารณาด้วยความรอบคอบ

3.การจัดการสินเชื่อต่างจากองค์กรธุรกิจอื่นเพราะหน้าที่ของการจัดการสินเชื่อคือต้องพิจารณาลูกค้าเพื่ออนุมัติสินเชื่อให้เป็นลูกหนี้ที่ดี

4.ปฏิบัติตามกฎของธนาคารทำหน้าที่ที่ได้รับมอหมายให้ดีที่สุด ซื่อสัตย์ต่ออาชีพที่ทำ

5.ในปัจจุบันเพราะสวาะเศรษฐกิจในปัจจุบันกำลำงซบเซาการที่จะให้สินเชื่อก็ควรพิจารณาถึงสถานการณ์ทางเศรษฐกิจในตอนนี้จึงควรมีควบคุมการให้สินเชื่อ

6.กิจการค้าปลีกและค้าส่งไม่แตกต่างกันเพราะมีการเน้นการมีกำไรสูงสุดเหมือนกันมีการเพิ่มยอดขายของธุรกิจให้มีมากขึ้นและเป็นที่พึงพอใจของลูกค้าเหมือนกัน

7.ปัจจัยที่มีในการกำหนดนโยบายในการให้สินเชื่อคือ กฎหมาย เงินลงทุนจดทะเบียนของธนาคาร ความเสี่ยงจากหนี้ที่ไมก่อให้เกิดรายได้  นโยบายของรัฐ

8.ต่างกันตรงที่การพิจารณาการให้สินเชื่อธุรกิจต้องพิจารณาถึงขนาดของธุรกิจ วงเงิน  หลักประกัน ส่วนการพิจารณาสินเชื่อบุคลต้องพิจารณาถึงคุณสมบัติที่จะขอสินเชื่อ ฐานะทางการเงิน

9.ต้องทำงานในเชิงรุกเข้าสู่กลุ่มเป้าหมาย เช่น ติดต่อลูกค้ารายเดิมที่มีการชำหนี้เป็นประจำเพื่อที่จะได้ยื่นข้อเสนอวงเงินใหม่ๆและนอกจากหนี้ลูกค้าเดิมยังเป็นแหล่งข้อมูลให้รู้ถึงผู้เกี่ยวข้องอื่นด้วย

10.มีการสนับสนุนการให้สินเชื่อกับประชาชนเพื่อต้องการอำนวยสะดวกให้แก่ประชาชนและจะได้สนับสนุนให้ประชาชนรู้จักการออมและมีวินัยในการชำระหนี้สินที่ได้ก่อขึ้นมาอีกด้วย

นางสาวสุปราณี แสนทวีสุข รหัส 49473120014

แบบฝึกหัดบทที่ 1

1.มีผลดีต่อระบบเศรษฐกิจ คือทำให้เศรษฐกิจมีความเจริญเติบโตมีความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจมากยิ่งขึ้นและประชาชนก็จะรู้จักการออมและมีวินัยในการชำระหนี้สินที่ได้ก่อขึ้นมา

2. มีผลเสีย คือ การปล่อยสินเชื่อผิดวัตถุประสงค์และไม่ระมัดระวะงก็จะทำให้เกิดวิกฤตการณ์ทางเงินส่งผลต่อเศรษฐกิจ ควรมีการจัดการสินเชื่อการให้สินเชื่อควรดูความเหมาะสมพิจารณาด้วยความรอบคอบ

3.การจัดการสินเชื่อต่างจากองค์กรธุรกิจอื่นเพราะหน้าที่ของการจัดการสินเชื่อคือต้องพิจารณาลูกค้าเพื่ออนุมัติสินเชื่อให้เป็นลูกหนี้ที่ดี

4.ปฏิบัติตามกฎของธนาคารทำหน้าที่ที่ได้รับมอหมายให้ดีที่สุด ซื่อสัตย์ต่ออาชีพที่ทำ

5.ในปัจจุบันเพราะสวาะเศรษฐกิจในปัจจุบันกำลำงซบเซาการที่จะให้สินเชื่อก็ควรพิจารณาถึงสถานการณ์ทางเศรษฐกิจในตอนนี้จึงควรมีควบคุมการให้สินเชื่อ

6.กิจการค้าปลีกและค้าส่งไม่แตกต่างกันเพราะมีการเน้นการมีกำไรสูงสุดเหมือนกันมีการเพิ่มยอดขายของธุรกิจให้มีมากขึ้นและเป็นที่พึงพอใจของลูกค้าเหมือนกัน

7.ปัจจัยที่มีในการกำหนดนโยบายในการให้สินเชื่อคือ กฎหมาย เงินลงทุนจดทะเบียนของธนาคาร ความเสี่ยงจากหนี้ที่ไมก่อให้เกิดรายได้  นโยบายของรัฐ

8.ต่างกันตรงที่การพิจารณาการให้สินเชื่อธุรกิจต้องพิจารณาถึงขนาดของธุรกิจ วงเงิน  หลักประกัน ส่วนการพิจารณาสินเชื่อบุคลต้องพิจารณาถึงคุณสมบัติที่จะขอสินเชื่อ ฐานะทางการเงิน

9.ต้องทำงานในเชิงรุกเข้าสู่กลุ่มเป้าหมาย เช่น ติดต่อลูกค้ารายเดิมที่มีการชำหนี้เป็นประจำเพื่อที่จะได้ยื่นข้อเสนอวงเงินใหม่ๆและนอกจากหนี้ลูกค้าเดิมยังเป็นแหล่งข้อมูลให้รู้ถึงผู้เกี่ยวข้องอื่นด้วย

10.มีการสนับสนุนการให้สินเชื่อกับประชาชนเพื่อต้องการอำนวยสะดวกให้แก่ประชาชนและจะได้สนับสนุนให้ประชาชนรู้จักการออมและมีวินัยในการชำระหนี้สินที่ได้ก่อขึ้นมาอีกด้วย

น.ส.สุพรรษา มานุช 49473120079

2.ตอย   ผลเสียก็คือการจะเน้นในการให้สินเชื่อเพื่อในการเก็งกำไร และอาจจะทำให้มีปัญหาต่างๆตามมา  ภ้าไม่มีการพิจารณาอย่างรอบคอบและละเอียดถี่ถ้วน  ตัวอย่างเช่น  ในปี2540เกิด  วิกฤตการณ์  ฟองสบู่แตก  หรือค่าเงินบาทเกิดความแข็งตัวมากยิ่งขึ้น  แนวทางแก้ไข้  ต้องนำเงินที่เป็นของต่าประเทศที่อยู่ในไทยออกไปนอกประเทศให้มากยิ่งขึ้น  เพื่อจะได้ทำให้ค่าเงินในประเทศไทยเกิดการอ่อนตัวลง  จึงทำให้ประเทศไทยผ่านวิกฤตการณ์เช่นนั้นมาได้

8.ตอบ  ต่างกันตรงที่สินเชื่อธุรกิจจะมีความเสี่ยงมากว่าเพราะว่าต้องใช้วงเงินที่สูงกว่าสินเชื่อส่วนบุคคลและจะพิจาณาหลายๆอย่าง   สินเชื่อบุคคลจะมีความทันสมัยมากยิ่งขึ้นและมีความปลอดภัยมากกว่า  วงเงินที่ให้อาจจะน้อยกว่าวงเงินของสินเชื่อธุรกิจและจะพิจารณาจากประวัติของบุคคลนั้นว่ามีความสามารถในการชำระหนี้หนี้ในมากน้อยเพียงใด

10.ตอบ  มีการให้สินเชื่อแก่ประชาชน   โดยการใช้แนวทางในการที่ลดดอกเบี้ยเป็นแรงจูงใจให้ประชาชนทุกคนเกิดความมั่นในในธนาคารของเรา  และทำให้คิดว่ามากู้เงินที่ธนาคารไทยพาณิชย์เกิดความสบายใจมากยิ่งขึ้นและมีความสามารถในการชำระหนี้ตามระยะเวลาที่ทางธนาคารได้กำหนดกับทางเราขึ้นมา 

นาย สัญชัย สุวรรณวงค์ รหัส 49473120072

 1.  มีผลเสีย คือ ทำให้กิจการหรือประชาชนมีการใช้จ่ายเงินที่ฟุ่มเฟือย ทำให้มีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ มีการปล่อยสินเชื่อมากเกินไปทำให้เกิดหนี้สินภายในประเทศเพิ่มมากยิ่งขึ้น

      แนวทางการแก้ไข การปล่อยสินเชื่อต้องปล่อยสินเชื่อให้เหมาะสมกับกิจการ ไม่ควรปล่อยสินเชื่อมากเกินไป ควรปล่อยสินเชื่อให้กับธุรกิจหรือกิจการที่จะช่วยพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ

8. ต่างกัน คือ การปล่อยสินเชื่อธุรกิจจะมีความเสี่ยงสูงกว่า มีวงเงินที่สูงกว่าการปล่อยสินเชื่อบุคคล การปล่อยสินเชื่อธุรกิจจะสามารถช่วยพัฒนาระบบเศรษฐกิจของประเทศได้มากกว่า  ส่วนการปล่อยสินเชื่อบุคคลมุ่งเน้นไปที่การดำรงชีวิต ปล่อยสินเชื่อเพื่อให้บุคคลมีความสะดวกสบายมากขึ้น

10. ธนาคารพานิชย์สนับสนุนการให้สินเชื่อให้กับบุคคลรายย่อยเพิ่มมากขึ้น ปล่อยสินเชื่อให้กับเกษตรกรเพิ่มมากขึ้น  โดยมีการลดอัตราดอกเบี้ย และให้วงเงินกู้เพิ่มมากขึ้น

น.ส.พวงเพ็ชร กะการดี

ข้อ2  ผลเสียคือมีการกู้ยืมเพื่อการนำไปเก็งกำไร  โดยการนำไปปล่อยให้กู้ในอัตราดอกเบี้ยที่สูงเกินไป และทำให้เกิดปัญหาต่างๆตามมา

แนวทางแก้ไข การปล่อยให้กู้แต่ละครั้งควรตรวจสอบรายละเอียดของผู้กู้ให้ถูกต้อง ข้อสำคัญควรสอบถามด้วยว่ากู้เพื่อไปทำอะไร  เพื่อป้องกันการกู้เพื่อไปเก็งกำไร

ข้อ8  ต่างกันคือการพิจารณาสินเชื่อธุรกิจจะพิจารณาว่าธุรกิจนี้ทำเกี่ยวกับเรื่องอะไร มีความมั่นคงมากน้อยแค่ไหนและเป็นที่ต้องการหรือไม่      การให้สินเชื่อบุคคลจะพิจารณาถึงประวัติส่วนตัวว่าบุคคลนี้มีสินเชื่อที่ดีหรือไม่   มีความน่าเชื่อถือมากน้อยแค่ไหนสามารถที่ชำระหนี้ภายในกำหนดได้หรือไม่

ข้อ10 มีการสนับสนุนให้สินเชื่อแก่ประชาชนเพื่อต้องการให้ประชาชนได้นำเงินไปลงทุน  และเพื่อต้องการให้ประชาชนได้มีรายได้จากการนำไปลงทุน

นางสาว สมจิตร ประมาพงค์ รหัส 49473120086

1.ตอบ  สินเชื่อช่วยให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นและมีเงินทุนในการประกอบธุรกิจ  รู้จักการออมและมีวินัยในการชำระคืนหนี้สินที่ได้ก่อขึ่น  สถาบันการเงินมีการรับฝากและนำไปปล่อยกู้และระบบเศษฐกิจมีความเจริญแข็งแกร่ง

2.ตอบ ผลเสียก็คือการไม่ชำระหนี้ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้จึงทำให้ขาดสภาพคล่องและระบบเศษฐกิจก็ไม่มีการเจริญเติบโตเท่าที่ควร

4.ตอบ ต้องทำตามตำแหน่งหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายให้ดีและทำอย่างเต็มที่เต็มความสามารถ ให้เกีรยติเพื่อนร่วมงาน  มีความซื่สัตย์สุจริต ไม่เอาเปรียบคนอื่น

5.ตอบ ปัจจุบันดีกว่าเพราะมีการตรวจสอบอย่างเข้มงวดและมีการควบคุมดูแลและให้คำปรึกษาแก้ลูกค้าในการปฏิบัติหน้าที่สำหรับการเป็นลูกค้าสินเชื่อที่ดี

นางสาว สุขศิริ อาสา

2.  มีผลเสีย  คือการที่ประชาชนมีหนี้สินจากการรกู้เงิน และการให้สินเชื่อแก่ธุรกิจมากจนเกินไปทำให้มีเงินในระบบเศรษฐกิจมากเกินไปทำให้เกิดสภาวะเงินเฟ้อ

    แนวทางการแก้ไข  ควรที่จะมีการปล่อยสินเชื่อแต่พอประมาณกับความต้องการของประชาชนและควรมีการพิจารณาอย่างรอบคอบในการปล่อยสินเชื่อให้กับแต่ละธุรกิจเพื่อป้องกันปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจมากเกินไป

8.  ต่างกัน เพราะการให้สินเชื่อบุคคลต้องพิจารณาในแต่ละกรณีไปอาจจะมีความแตกต่างในด้านของการนำไปลงทุนที่มีขนาดเล็กกว่า  การให้สินเชื่อธุรกิจซึ่งมีขนาดใหญ่และต้องมีการพิจารณาให้สินเชื่อที่ยุ่งยากและใช้ความรอบคอบมากกว่า

10.สนันสนุน เพราะจะเห็นได้ว่าธนาคารพานิชย์ในปัจจุบันมีการแข่งขันสูงซึ่งแต่ละแห่งได้มีการปล่อยสินเชื่อในหลายด้านด้วยมีสิ่งล่อใจในการกำหนดอัตราดอกเบี้ยที่แตกต่างกัน ทำให้ประชาชนสามารถเลือกใช้บริการสินเชื่อที่ให้ผลประโยชน์ตอบแทนสูงสุดจากธนาคารพานิชย์

นาย ชัยวัฒน์ จันทสนธิ์

 2.  มีผลเสีย ที่เห็นได้ชัดก็คือ การที่ประชาชนต้องเป็นหนี้แก่สถาบันการเงินหรือธนาคารพานิชย์มากขึ้นทำให้ความเป็นอยู่ของประชาชนมีความลำบากมากขึ้นจากการมีหนี้สิน

  แนวทางการแก้ไข ก่อนที่ประชาชนจะมีการไปขอใช้บริการสินเชื่อควรมีการศึกษาหาข้อมูลวางแผนว่าจะนำเงินมาลงทุนในธุรกิจใดจะเสี่ยงต่อการขาดทุนหรือไม่

8. ต่างกัน เพราะสินเชื่อบุคคลจะมีการพิจารณาที่ซับซ้อนน้อยกว่าสินเชื่อธุรกิจที่อาจจะประกอบด้วยกลุ่มบุคคลที่มีจำนวนมากและมีระบบการทำงานที่เป็นขั้นตอนที่ยุ่งยาก ใช้เวลาในการพิจารณามากกว่า

10.สนันสนุน โดยที่ธนาคารพานิชย์ในปัจจุบันมุ่งเน้นปล่อบสินเชื่อให้แก่บุคคลรายย่อยเพิ่มมากขึ้น และมีการลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อช่วยเหลือประชาชน ทำให้ประชาชนมีทางเลือกมากขึ้น

การพิจารณาหลักประกัน

คุณสมบัติของผู้ประเมินราคาหลักทรัพย์

1.  มีพื้นฐานความรู้และประสบการณ์ในด้านการประเมินราคาหลักทรัพย์2.  เป็นผู้มีความละเอียด  รอบคอบ  ช่างสังเกต3.  จะต้องเป็นผู้ที่มีความรอบรู้ในสาขาวิชาของตน  ซึ่งได้มาจากการศึกษา  ฝึกฝน  การหาความรู้ด้วยตนเองและประสบการณ์4.  มีการพัฒนาตนเองและศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมสม่ำเสมอ  และสามารถถ่ายทอดวิชาความรู้ไปยังรุ่นหลังๆ  ได้5.  เป็นผู้ที่มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี  สามารถใช้ทักษะในการปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่นๆ  ได้ทุกระดับ6.  ติดตามและศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับข่าวสารความเคลื่อนไหวต่างๆ  เกี่ยวกับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์7.  มีศิลปะในการพูด  ศิลปะในการติดต่อกับบุคคลภายนอกในการติดตามและค้นหาข้อมูลประกอบการปฏิบัติงาน8.  มีความรู้และข้อเสนอแนะที่ดีและมีประโยชน์ในการปฏิบัติงาน9.  รู้จักการใช้ความรู้  ปฏิภาณไหวพริบในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าในการปฏิบัติงาน10.  ปฏิบัติระเบียบและข้อบังคับหรือคำสั่งของผู้บังคับบัญชาโดยเคร่งครัด11.  มีความซื่อตรงและสุจริตในการปฏิบัติหน้าที่

 

การประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์  แยกพิจารณาหลักทรัพย์ออกเป็นประเภทต่างๆ  ดังนี้1.  การประเมินราคาที่ดิน2.  การประเมินราคาสิ่งปลูกสร้าง3.  การประเมินราคาอาคารชุด  4.  การสำรวจแบบประเมินราคาสิทธิการเช่าการประเมินราคาที่ดินการประเมินราคาที่ดินนั้นขึ้นอยู่กับประโยชน์การใช้ที่ดินเป็นสำคัญ  ซึ่งเป็นเรื่องของเศรษฐศาสตร์  ดังนั้นผู้ประเมินจะต้องรู้หลักเบื้องต้นทางเศรษฐศาสตร์  ซึ่งเป็นหลักพื้นฐานซึ่งจะช่วยให้เข้าใจในวัตถุประสงค์  เทคนิค  และวิธีการประเมินราคาต่อไป  อันได้แก่1.  หลักอุปสงค์และอุปทาน2.  หลักการเปลี่ยนแปลง3.  หลักการทดแทน4.  หลักการใช้ประโยชน์สูงสุด  และดีที่สุด5.  หลักความพอดี6.  หลักการแข่งขัน7.  หลักการคาดคะเน

 

กระบวนการประเมินราคา

การประเมินราคาที่ดินนั้นมิใช่ทำได้โดยง่าย  เช่นเดียวกับการประเมินราคาทรัพย์สินอื่นที่มีราคาตายตัว  ฉะนั้นในการประเมินราคาที่ดินนั้นต้องทำเป็นขั้นตอน  และมีรูปแบบแผนในการทำ  เพื่อให้ได้ทราบชัดถึงราคา  หรือมูลค่าของที่ดินอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ

ขั้นตอนการประเมินราคา  มีดังต่อไปนี้

1.  กำหนดวัตถุประสงค์ในการประเมิน2.  การตรวจสอบเอกสารสิทธิ์3.  การสำรวจที่ตั้งและตรวจสอบความถูกต้อง4.  การหาข้อมูล5.  การรวบรวมข้อมูล  และวิเคราะห์ราคา

                          6.  ทำแผนที่  และรายงาน

สรุป

การพิจารณาหลักทรัพย์เพื่อใช้ค้ำประกันสินเชื่อ  ผู้ประเมินราคาต้องทำอย่างผู้รู้จริงในการประกอบวิชาชีพ  มีความเข้าใจกฎหมายหลายฉบับ  ทั้งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  กฎหมายที่ดิน  ผังเมือง  โดยส่วนใหญ่หลักทรัพย์ที่มักรับเป็นหลักประกันมักเป็น  ที่ดิน  หรือที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง  ผู้ประเมินจึงต้องรู้ถึงการตรวจสอบเอกสารสิทธิ์  ทำการสำรวจที่ตั้ง  และตรวจสอบความถูกต้อง  หาข้อมูลที่เชื่อถือได้  รวบรวมข้อมูล  วิเคราะห์ราคาและทำแผนที่เสนอรายงานต่อไป 

ขอให้นักศึกษาที่รักทุกคนส่งการบ้านข้อ 4,5,6 และ 7 ก่อนวันเสาร์ ที่ 8 ธันวาคม  2550  เวลา  20.00 น.

 วันอังคาร  ที่ 11 ธันวาคม  2550  งดเรียน  เนื่องจากอาจารย์จะไปเก็บข้อมูลที่ สระบุรี  และลพบุรี  ครับ

 

วิกานต์ดา  ประภา  ประภาพรรณ  สราพร  วรรณพร  อภิวันทน์  จิราพร  พวกคุณส่งงานครั้งแรกหรือยังครับ ?

การส่งงานทุก ๆ ครั้ง  กรุณาใส่รหัสประจำตัวนักศึกษาด้วย  ตั้งใจทำให้มากกว่าครั้งแรกนะครับ  บางคนตอบสั้นมาก ๆ เป็นสิ่งที่ต้องแก้ไข

ควรใส่รูปของนักศึกษามาด้วย  ผมจะได้จำได้มากขึ้น

สราพร สิงหพงษ์ 49473120039

ส่งงานเก่าค่ะ

2.มีผลเสีย ระบบสินเชื่อจะมีผลต่อระบบเศรษฐกิจและประชาชน  มีการปล่อยสินเชื่อที่มากเกินไปเป็นในการแข่งขันกันในแต่ละธนาคารมีการให้ดอกเบี้ยต่ำแย่งลูกค้ากันมาก   จึงทำให้ประชาชนอยากจะกู้ยืมเงินจากธนาคารและจนทำให้เกิดผลเสียประชาชนใช้เงินเกินผลจึงก่อให้เกิดหนี้ 
แนวทางการแก้ไขธนาคารควรจะพิจารณาการปล่อยสินเชื่อที่เข้มงวดมากขึ้นเพื่อไม่ให้ประชาชนเป็นหนี้มากเกินตัวและธนาคารเองก็ไม่ควรจะปล่อยเงินกู้เพื่อแข่งกับคู่แข่งเพื่อแค่จะทำยอดเพิ่มลูกค้า
8.ต่างกัน  การให้สินเชื่อสำหรับบุคคลธรรมดาจะให้เกี่ยวกับการซื้อที่ดิน  บ้าน รถ  ใม่ใช่เป็นการลงทุนและดิฉันคิดว่าผู้ขอสินเชื่อน่าจะมีความรับผิดชอบสูงเพราะเป็นสิ่งที่เค้าอยู่และใช้จึงไม่ค่อยมีความเสี่ยงมากส่วนการให้สินเชื่อธุรกิจจะเกิดความเสี่ยงสูงและใช้วงเงินในการขอสินเชื่อเป็นเงินจำนวนมาก การทำธุรกิจอาจไม่ได้กำไร อย่างที่หวังไว้ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยที่ทำให้เกิดความเสี่ยงสูงเช่น  สถานที่ทำธุรกิจเป็นแหล่งไม่เจริญสินค้าไม่เป็นที่นิยม และไม่นานธุรกิจก็ล้มลงจนทำให้ไม่มีเงินส่งธนาคารแต่การให้สินแชื่อบุคคลเป็นคนที่มีรายได้ทุกๆเดือนจึงไม่ค่อยเสี่ยง
10.ปัจจุบันธนาคารพาณิชย์มีการสนับสนุนการให้สินเชื่อแก่ประชาชนมากขึ้น ดูจากการเติบโตของเศรษฐกิจเพราะประชาชนมีบ้าน  มีรถเป็นของตัวเองมากขึ้น และธนาคารต่างๆได้มีการแข่งขันกันสูงขึ้นในการให้ดอกเบี้ยที่ต่ำจึงเป็นทางหนึ่งที่ช่วยให้ประชาชนขอสินเชื่อแยอะและยังเปิดโอกาสให้กับผู้ที่ไม่มีเงินลงทุนสามารถเปิดธุรกิจเป็นของตัวเองได้อีก

นางสาว เนตรนภา เอิบอิ่ม

4.ต้องทำหน้าที่ตนเองให้ดีที่สุดมีความขยันต่องานที่ได้รับมอบหมาย ทำงานอย่างรอบคอบควรศึกษาข้อมูลต่างๆเกี่ยวกับการปล่อยสินเชื่อให้ดี เพื่อป้องกันการผิดพลาดต้องซื่อสัตยืกับตนเองและผู้ร่วมงานมีความนอบน้อมจะทำงานประสบผลสำเร็จ

5.ควบคุมสินเชื่อในปัจจุบันให้ดีที่สุดเพราะปัจจุบันมีปัญหาเกิดขึ้นมากเราควรทำให้ดีกว่าปีที่ผ่านมาควรมีการวางแผนที่ดีต้องมีความรอบคอบทุกด้านต้องตรวจสอบข้อมูลของผุ้ขอสินเชื่อให้ละเอียดก่อนที่เราจะอนุมัติสินเชื่อออกไปจะได้ไม่มีปัญหาได้

6.กิจการทั้งสองอย่างมีวัตถุประสงค์ไม่แตกต่างกันเพราะมุ่งให้สินเชื่อเพื่อต้องการกำไรให้กับกิจการของตนเองเสมอจะทำให้ลูกค้าพึงพอใจในการบริการกิจการของตนเองกิจการมีการพัฒนา เพื่อต้องการเพิ่มรายได้ให้กับกิจการต่อไป

7.ปัจจัยภายนอกมีผลในการกำหนดนโยบายการให้สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์คือ เศรษฐกิจในปัจจุบัน  ถ้าเศรษฐกิจดีนาคารก็สามารถปล่อยสินเชื่อได้มากเพราะความเสี่องมีน้อย  แต่เศรษฐกิจไม่ดีนาคารก็ต้องพิจารราการปล่อยสินเชื่อและดูว่าผู้ขอสินเชื่อสามารถจ่ายเงินที่ขอไปได้หรือไม่และต้องดุ่แข่งด้วย

นางสาว สมจิตร ประมาพงค์ รหัส49473120086

4. ต้องทำตามตำแหน่งหน้าที่ที่ตัวเองได้รับมอบหมายให้ดีที่สุดและทำเต็มความสามารถของตัวเองค้นคว้าหาข้อมูลใหม่ๆเพื่อจะได้นำข้อมูลนั้นมาปรับปรุงแก้ไขข้อผิดพลาดของตัวเองและต้องมีความซื่อสัตย์สุจริต ไม่เอาเปรียบเพื่อนร่วมงาน

5. ปัจจุบันดีกว่าเพราะปัจจุบันมีการตรวจสอบข้อมุลลูกค้าอย่างเข้มงวดและพนักงานก็มีประสบการมากขึ้นสามารถวางแผนและแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพเพราะเมื่อปี2539สภาพเศรษฐกิจของประเทศไทยเกิดวิกฤติเงินบาทอ่อนค่า

6.กิจการค้าปลีกและกิจการค่าส่งไม่แตกต่างกันนักเพราะทั้งกิจการมีวัตถุประสงค์ในค้าเหมือนกันและต้องการทำกำไรเหมือนกันแตกต่างกันเฉพาะวิธีการขายเท่านั้น

7.สภาพเศรษฐกิจ ซึ่งถือว่าเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญมากเพราะถ้าปีใดมีการเจริญเติบโตของเศษฐกิจน้อยก็จะมีนโยบายการปล่อยสินเชื่อก็จะมากขึ้นนอกจากนี้ก็จะมีบริษัทคู่แข่งว่าเขามีการเปลี่ยนแปลงนโยบายอย่างไรและการเปลี่ยนแปลงทางสังคมด้วย

นางสาวนิษา สังข์สำราญ 49473120017
ตอบคำถามบทที่94) เพราะเหตุใดการจัดแบ่งระวาง  จึงมักกำหนดศูนย์กลางเป็นสถานที่ๆมีความสูงตอบ เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศไทยเป็นที่ราบจึงต้องใช้ที่สูงเป็นจุดสังเกตุและยึดเป็นหลักในการแบ่งระวางอย่างเช่นในกรุงเทพมหานคร   และ    จังหวัดใกล้เคียง ได้กำหนดยอดเจดีย์ภูเขาทองเป็นหลัก   แต่ก็ยังมีบางพื้นที่ที่ต้องใช้ที่ราบเป็นหลักเช่นอยุธยา ใช้ อ.มหาราชเป็นหลักเนื่องจากในอยุธยามีวัดและเจดีย์เป็นจำนวนมากอยู่แล้วจึงต้องใช้ที่ราบกว้างแทนที่สูง 5)กรณีที่ต้องไปสำรวจและประเมินราคาที่ดินเชิงสะพานติณสูลานนท์  ซึ่งถูกน้ำท่วมท่านจะต้องนำอุปกรณ์ชนิดใดบ้างติดตัวไปในครั้งนี้ตอบ   1. เข็มทิศ   เป็นสิ่งจำเป็นในการที่จะหาที่ตั้งของที่ดินเพื่อตรวจสอบที่ดินว่ามีความถูกต้องตามโฉนดหรือไม่       2. ไม้บรรทัด ใช้วัดขนาดของที่ดินจากรูปแผนที่หลังโฉนดของที่ดินเชิงสะพานติณสูลานนท์  โดยการถอดมาตราส่วน          3. เทปวัด  ใช้วัดที่ดินขนาดจริงของที่ดินเชิงสะพานติณสูลานนท์          4.  ดินน้ำมัน  เป็นสิ่งสำคัญในการประเมินราคาที่ดินเชิงสะพานติณสูลานนท์  ซึ่งถูกน้ำท่วมเป็นอย่างมาก  เนื่องจากดินน้ำมันมีไว้เพื่อกดหัวหลักเขตที่ดินที่จมอยู่ใต้น้ำ  ซึ่งผู้สำรวจไม่สามารถอ่านหมายเลขได้จึงต้องใช้ดินน้ำมันเป็นอุปกรณ์ช่วยในการอ่าน           5.  กล้องถ่ายรูป    จำเป็นต้องมีทุกครั้งที่ไปสำรวจเนื่องจากต้องใช้ภาพประกอบในการขอสินเชื่อ และเพื่อให้ผู้พิจารณาเห็นสภาพที่ดินไดชัดเจนขึ้น 6.) ในการตรวจแผนที่โฉนดจากเอกสารถ่ายสำเนา   เพราะเหตุใดจึงไม่ให้ถ่ายสำเนาแบบย่อหรือขยายตอบ   เนื่องจากในสำเนามีมาตราส่วนของขนาดของที่ดินอยู่ถ้าย่อหรือขยายเอกสาร   จะทำให้ข้อมูลผิดจากความเป็นจริง  เราจึงต้องถ่ายสำเนาขนาดเดียวกัยโฉนดแผ่นจริงเพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นจริงมากที่สุด 7.)บริเวณตรงข้ามสถานที่ราชการ   ธนาคาร     หรือ บริษัทขนาดใหญ่  ในบางครั้งที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างจะมีราคาต่ำกว่าที่ดินที่อยู่เยื้องออกไปเล็กน้อย  ท่านคิดว่าข้อความดังกล่าวเป็นจริงหรือไม่เพราะเหตุใดตอบ  เป็นจริง  เนื่องมาจากเป็นความเชื่อส่วนบุคคลที่ว่าหน้าสถานที่ราชการ  ธนาคาร หรือบริษัทใหญ่ๆ จะมีครุฑ อยู่ด้านหน้าแล้วด้านตรงข้ามจะเหมือนต้องเผชญหน้าอยู่ตลอดเวลาจะไม่ดี   ต้องแก้ด้วยการนำกระจกมาติดให้สะท้อนกลับ   แต่ถ้าคิดในทางตรงกันข้ามครุฑจะปกป้องดูแลเรา  แต่เนื่องจากความเชื่อทำให้ที่ดินและทรัพย์สินที่อยู่เยื้องกับสถานที่ราชการ  ธนาคาร  หรือบริษัท ใหญ่ๆ จะมีราคาดีเพราะทำเลที่ตั้งและความเจริญมีอยู่ครบถ้วน
น.ส.พวงเพ็ชร กะการดี 49473120084

4.ทำตามนโยบายของธนาคาร ควรเชื่อฟังและเคารพคำสั่งของผู้ใต้บังคับบัญชา เขาสั่งให้ทำอะไรเราก็ควรทำตาม ควรมีความซื่อสัตย์ในการทำงาน ทำตัวเป็นนักสินเชื่อที่ดี  ทำงานอย่างมีระเบียบและรอบคอบควรศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับการปล่อยสินเชื่อให้ละเอียดถี่ถ้วน

5.ปัจจุบันเหมาะสมในการควบคุมสินเชื่อมากกว่าเพราะปัจจุบันมีการตรวจสอบข้อมูลอย่างเป็นระบบและมีแบบแผน เหมาะในการควบคุมสินเชื่อมากกว่าปี พ.ศ.2539 เพราะได้ข้อมูลที่มีประสิทธิภาพและชัดเจนมากกว่ากัน

6.แตกต่างกันที่ปริมาณสินค้า กิจการค้าปลีกเน้นการเอาใจลูกค้ามากกว่ากิจการค้าส่งเพราะกิจการค้าส่งเน้นที่การส่งสินค้าจำนวนมาก แต่มีวัตถุประสงค์เดียวกันคือต้องการกำไรเหมือนกัน

7.สภาพเศรษฐกิจและการเมือง เพราะถ้าเศรษฐกิจและการเมืองดีก็จะทำให้ธนาคารปล่อยสินเชื่อได้มากขึ้นเพราะมีความเสี่ยงน้อยและการปล่อยสินเชื่อต้องดูคู่แข่งขันด้วย

น.ส.พรระวี แซ่อั้ง 49473120043

ข้อ 4

เนื่องจากพื้นที่ในประเทศไทยเป็นพื้นที่ราบ  จึงต้องมีการใช้ที่สูงเป็นตัวกำหนดศูนย์กลางในการจัดแบ่งระวาง เช่น ในจังหวัดภูเก็ตก็วางศูนย์กำเนิดขึ้นในจังหวัดภูเก็ตแห่งเดียวเท่านั้น ที่ตั้งคือ บนเขาแปดลาวเศียร ซึ่งเป็นที่ราบสูงเหมาะแก่การจัดแบ่งระวาง

 

ข้อ 5

1.เข็มทิศ  ใช้ในการหาที่ตั้งของดินตามโฉนดกับที่ดินที่ลูกค้านำสำรวจว่าอยู่ตรงกันหรือไม่

2.ไม้บรรทัด  ใช้วัดขนาดของที่ดินจากรูปแผนที่หลังโฉนดโดยการถอดมาตราส่วน

3.เทปวัด  ใช้วัดขนาดจริงของที่ดินหลังจากถอดมาตราส่วนออกมาแล้ว

4.ดินน้ำมัน  มีไว้เพื่อกดหัวหลักเขตที่ดินที่จมอยู่ใต้น้ำ ซึ่งผู้สำรวจไม่สามารถที่จะอ่านหมายเลขได้ จึงต้องใช้ดินน้ำมันช่วย ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากสำหรับสถานที่ที่น้ำท่วม

5.กล้องถ่ายรูป  ใช้ถ่ายรูปสภาพของที่ดินขณะสำรวจ เพื่อติดประกอบในแบบสำรวจหลักทรัพย์ ทำให้ผู้พิจารณาเครดิตเห็นสภาพที่ดินได้ชัดเจนขึ้นและเป็นประโยชน์สำหรับผู้สำรวจครั้งต่อไป

ข้อ 6

เนื่องจากในใบโฉนดที่ดินได้มีการกำหนดมาตราส่วนที่เป็นจริงแล้ว  ถ้าเราไปย่อหรือขยายใบโฉนดที่ดิน ก็จะทำให้ข้อมูลมาตราส่วนเกิดความผิดพลาด ไม่ตรงกับความเป็นจริง เพราะฉะนั้นเมื่อเวลาจะถ่ายสำเนาใบโฉนดที่ดินควรที่จะถ่ายตามฉบับจริง เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นจริงและเที่ยงธรรมมากที่สุด

ข้อ 7

เป็นจริง เพราะว่าเป็นความเชื่อที่ว่าหน้าสถานที่ราชการ ธนาคาร หรือบริษัทขนาดใหญ่ จะมีตราครุฑติดไว้อยู่ด้านหน้า ซึ่งด้านฝั่งตรงข้ามที่มีตราครุฑติดไว้อยู่นั้น ถือว่าไม่ดี ต้องแก้ไขโดยการนำกระจกมาติดเพื่อให้สะท้อนกลับไป แต่ถ้ามองในทางตรงกันข้ามแล้วนั้น ตราครุฑจะเป็นสิ่งที่ปกป้องดูแลเรา ซึ่งจากความเชื่อนี้นั้น ทำให้ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่อยู่บริเวณตรงข้ามจะมีราคาต่ำกว่าที่ดินที่อยู่เยื้องออกไปเล็กน้อย เพราะทำเลที่ตั้งมีความเจริญมากกว่าและครบถ้วน

นางสาวอนุสรา เอี๋ยวประเสริฐ รหัส 49473120033

คำถามบทที่ 9

1. เพราะว่าประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นที่ราบการกำหนดระวางในที่สูงจะช่วยให้เห็นพื้นที่ต่างๆ ในระยะใกล้เคียง

2. 1.เข็มทิศ ใช้ในการหาที่ตั้งของที่ดิน 2. ไม้บรรทัดใช้วัดขนาดของที่ดินจากรูปแผนที่หลังโฉนดโดยการถอดมาตราส่วน 3. เทปวัด ใช้วัดขนาดจริงของที่ดินหลังจากถอดมาตราส่วนออกมาแล้ว 4. ดินน้ำมัน ใช้เพื่อกดหลักเขตที่จมอยู่ใต้น้ำ 5. กล้องถ่ายรูป ใช้ถ่ายสภาพของที่ดินขณะสำรวจ

3. เนื่องจากสำเนามีมาตราส่วนของขนาดที่ดินอยู่ถ้าย่อหรือขยายอาจจะทำให้ข้อมูลผิดพลาดได้

4 จิง เพราะที่ดินที่อยู่ตรงข้ามกับ ธนาคารหรือสถานที่ราชการนี้ เป็นสิ่งที่ดูยิ่งใหญ่มีอำนาจ อาจทำให้ที่ที่เราจะอยู่หมองลงไปได้ เพราะเราไปอยู่ตรงข้ามกับสิ่งที่ยิ่งใหญ่

 

นางสาวพิมศิริ ลาภโสภา รหัส 49473120024

1. เพื่อที่จะได้เห็นพื้นที่ในระยะใกล้เคียงกับที่ของเราได้ชัดเจนว่ามีสภาพเปงอย่างไร

2.1.เข็มทิศ  ใช้ในการหาที่ตั้งของดินตามโฉนดกับที่ดินที่ลูกค้านำสำรวจว่าอยู่ตรงกันหรือไม่

2.ไม้บรรทัด  ใช้วัดขนาดของที่ดินจากรูปแผนที่หลังโฉนดโดยการถอดมาตราส่วน

3.เทปวัด  ใช้วัดขนาดจริงของที่ดินหลังจากถอดมาตราส่วนออกมาแล้ว

4.ดินน้ำมัน  มีไว้เพื่อกดหัวหลักเขตที่ดินที่จมอยู่ใต้น้ำ ซึ่งผู้สำรวจไม่สามารถที่จะอ่านหมายเลขได้ จึงต้องใช้ดินน้ำมันช่วย ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากสำหรับสถานที่ที่น้ำท่วม

5.กล้องถ่ายรูป  ใช้ถ่ายรูปสภาพของที่ดินขณะสำรวจ เพื่อติดประกอบในแบบสำรวจหลักทรัพย์ ทำให้ผู้พิจารณาเครดิตเห็นสภาพที่ดินได้ชัดเจนขึ้นและเป็นประโยชน์สำหรับผู้สำรวจครั้งต่อไป

3. เพราะถ้าถ่ายแบบที่ไม่ใช่ขนาดจริงอาจทำให้ข้อมูลของโฉนดผิดพลาดได้

4. จิง เพราะที่ที่เรามีที่ดินติดกับสิ่งปลูกสร้างที่ใหญ่โตแบบนี้ อาจจะไม่เป็นผลดีกับที่ของเรามากนัก เพราะเหมือนกับว่าเราต้องไปสู้กับสิ่งมีอำนาจเหล่านี้ตลอดเวลา

นายทักษ์ดนัย ธนหิรัญพัฒน์ (49473120029)

ข้อ.4

 เพราะประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบการที่จะกำหนดจัดแบ่งระวางจะต้องมีจุดศูนย์กลางเพื่อเป็นหลักวัดพื้นที่ดังนั้นการใช้ที่สูงจึงเป็นสิ่งที่มองหาได้ง่ายและง่ายต่อการสังเกตุอีกด้วยเช่น การใช้เจดีย์เป็นจุดศูนย์กลาง เป็นต้น

ข้อ.5

1.เข็มทิศ ใช้ในการหาที่ตั้งของที่ดิน ใช้หาที่ตั้งของที่ดินตามโฉนด 2.ไม้บรรทัดใช้วัดขนาดของที่ดินจากรูปแผนที่หลังโฉนดโดยการถอดมาตราส่วน 3. เทปวัด ใช้วัดขนาดจริงของที่ดินหลังจากถอดมาตราส่วนออกมาแล้ว 4. ดินน้ำมัน ใช้เพื่อกดหลักเขตที่จมอยู่ใต้น้ำ ซึ่งผู้สำรวจไม่สามารถมองหาหลักได้เนื่องจากจมอยู่ในน้ำ5. กล้องถ่ายรูป ใช้ถ่ายสภาพของที่ดินขณะสำรวจ ทำให้ผู้พิจารณาเห็นถึงสภาพที่ดินได้ชัดเจนขึ้น

 

ข้อ.6

เนื่องจากสำเนาโฉนดที่ดินมีมาตราส่วนของขนาดที่ดินอยู่ถ้าย่อหรือขยายเวลาที่วัดออกมาขนาดอาจจะไม่ตรงกับความเป็นจริงได้และเป็นสาเหตุให้เกิดความผิดพลาดต่อการพิจารณาปล่อยสินเชื่อได้ดังนั้นเราไม่ควรย่อหรือขยายโฉนดที่ดินเป็นอันขาด

ข้อ.7

เป็นจริง เพราะว่าเป็นความเชื่อที่ว่าหน้าสถานที่ราชการ ธนาคาร หรือบริษัทขนาดใหญ่ จะมีตราครุฑติดไว้หรือเป็นเทพองค์ต่างๆ ซึ่งถ้าด้านฝั่งตรงข้ามมีสิ่งเหล่านี้อยู่ จึงมีความเชื่อว่าการที่มีสิ่งเหล่านี้อยู่ด้านหน้าจะทำให้ทำกินไม่ขึ้นหรือไม่ดีต่อผู้พักอาศัยภายในที่ดินนั้น ซึ่งจากความเชื่อนี้ ทำให้ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่อยู่บริเวณตรงข้ามจะมีราคาต่ำกว่าที่ดินที่อยู่เยื้องออกไปเล็กน้อย

น.ส.นพรัตน์ เสมอตระกูล รหัส 49473120041

ตอบคำถามบทที่ 9

4. ข้าพเจ้าคิดว่าความสูงนั้นถ้ามองจากด้านบนลงมาแล้ว ความสูงนั้นๆมักจะเป็นจุดศูนย์กลางในการมองเห็นสิ่งต่างๆที่เราได้มองลงไป และบวกกับสภาพพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศไทยนั้นเป็นที่ราบจึงสมควรที่จะใช้ที่สูงในการกำหนดศูนย์กลางที่ใช้ในการจัดแบ่งระวาง

5.เข็มทิศ  ใช้ในการหาที่ตั้งของดินตามโฉนดกับที่ดินที่ลูกค้านำสำรวจว่าอยู่ตรงกันหรือไม่

ไม้บรรทัด  ใช้วัดขนาดของที่ดินจากรูปแผนที่หลังโฉนดโดยการถอดมาตราส่วน

เทปวัด  ใช้วัดขนาดจริงของที่ดินหลังจากถอดมาตราส่วนออกมาแล้ว

ดินน้ำมัน  มีไว้เพื่อกดหัวหลักเขตที่ดินที่จมอยู่ใต้น้ำ ซึ่งผู้สำรวจไม่สามารถที่จะอ่านหมายเลขได้ จึงต้องใช้ดินน้ำมันช่วย ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากสำหรับสถานที่ที่น้ำท่วม

กล้องถ่ายรูป  ใช้ถ่ายรูปสภาพของที่ดินขณะสำรวจ เพื่อติดประกอบในแบบสำรวจหลักทรัพย์ ทำให้ผู้พิจารณาเครดิตเห็นสภาพที่ดินได้ชัดเจนขึ้นและเป็นประโยชน์สำหรับผู้สำรวจครั้งต่อไป

6. การที่เราใช้เอกสารที่เป็นแบบย่อ หรือขยายนั้นอาจจะทำให้ข้อมูลเหล่านั้นผิดเพี้ยนไปจากความเป็นจริง ยิ่งถ้าเป็นโฉนดที่ดินด้วยแล้วจะทำให้ตัวแปนรูปที่ดินต่างจากโฉนดจริง ซึ่งอาจจะทำให้เกิดผลเสียต่อการวิเคราะห์ได้

7. อาจเป็นได้ทั้ง จริง และ ไม่จริง ขึ้นอยู่กับความเชื่อของแต่ละบุคคล ซึ่งถ้าเป็นจริงแล้ว เหตุผลนั้นคือ เป็นความเชื่อส่วนบุคคลที่ว่าหน้าสถานที่ราชการ  ธนาคาร หรือบริษัทใหญ่ๆ จะมีครุฑ อยู่ด้านหน้าแล้วด้านตรงข้ามจะเหมือนต้องเผชญหน้าอยู่ตลอดเวลาจะไม่ดี   ต้องแก้ด้วยการนำกระจกมาติดให้สะท้อนกลับ   แต่ถ้าคิดในทางตรงกันข้ามครุฑจะปกป้องดูแลเรา  แต่เนื่องจากความเชื่อทำให้ที่ดินและทรัพย์สินที่อยู่เยื้องกับสถานที่ราชการ  ธนาคาร  หรือบริษัท ใหญ่ๆ จะมีราคาดีเพราะทำเลที่ตั้งและความเจริญมีอยู่ครบถ้วน

น.ส.อัจฉรา อินทนนท์ (49473120091)

4.ตอบ เนื่องจากสภาพภูมิประเทศไทยเป็นที่ราบการกำหนดระวาง จึงมักใช้สถานที่ที่มีความสูงเพื่อความสะดวกในการมองเห็น

5.ตอบ 1. เข็มทิศ เพื่อใช้ในการหาที่ตั้งของที่ดิน

            2. ไม้บรรทัด เพื่อใช้วัดขนาดที่ดินจากแผนที่หลังโฉนดโดยการถอดมาตราส่วน

            3. เทปวัด ใช้วัดขนาดจริงของที่ดินหลังการถอดมาตราส่วน

            4. ดินนำมันเพื่อใช้กดหัวหลักเขตที่จมนำอยู่

            5. กล้องถ่ายรูป เพื่อใช้ถ่ายรูปสภาพของที่ดินเพื่อให้เห็นสภาพที่ดินได้ชัดเจนขึ้น

6.ตอบ เพราะเนื่องจากแผนที่ในโฉนดที่ดินมีการวัดมาตราส่วนจาดที่ดินจริงถ้ามีการย่อหรือขยายจะทำให้มาตราส่วนผิดไปจากเดิม

7ตอบ. จริง เพราะเนื่องจากมีความเชื่อว่าการที่มีบ้านอยู่หน้าสถานที่ราชการหรือธนาคารซึ่งมีตราสัญลักษณ์เป็นครุฑจะทำให้รู้สึกว่าต้องสู้กับสิ่งที่มีอำนาจเหนือกว่าอาจจะทำให้การทำงานหรือการค้าขายไม่เจริญก้าวหน้าจึงทำให้ที่ดินที่อยู่ตรงข้ามมีราคาตำกว่าที่ดินที่อยู่เยื้องออกไป

น.ส. สุพรรษา มานุช 49473120079

4.  เพราะว่าเป็นที่สังเกตได่ง่ายมองจากทางไหนก็สามารถเห็นได้ว่าบ้านของเรานั้นอยู่ตรงส่วนทิศใขของศูนย์กลาง

5.  ดินน้ำมัน   เพราะว่าจะได้นำดินน้ำมันไปกดหัวหลักของเขตที่ดินที่จมอยู่ใต้น้ำเข็มทิศ   เพื่อจะได้สามารถรู้ได้ว่าบ้านแห่งนี้อยู่ทางทศใด

6.เพื่อจะได้ทราบว่าเมื่อมีการไปประเมินที่ดินนั้นจะมีการทุจริตเกิดขึ้นหรือไม่  และจะได้ทราบพื้นที่บ้านนั้นจากโฉนดอย่างแท้จริงว่ามีขนาดพื้นเท่าไร  กว้างเท่าไรยาวเท่า  ถ้ามีการถ่ายโฉนดยอเกิดขึ้นมา  อาจจะทำให้ทราบพื้นที่จากโฉนดผิดพลาดไป

7.  เป็นจริง  เพราะว่าเป็นความเชื่อของแต่ละบุคคล    สถานที่ดังกล่าวเหมือนจะมีอำนาจ  แล้วถ้าอยู่ตรงข้ามแล้วจะเหมือนเป็การท้าทายสถานที่ราชการดังกล่าว  ก็เลยทำให้สิ่งก่อสร้างดังกล่าวมีราคาที่ต่ำกว่าพื้นที่ ที่เยื้องออกไป

 

 

น.ส. ศิรัญญา ยอดแก้ว 49473120019

4.  เพราะสังเกตง่าย  เนื่องจากความสูงของสถานที่จะเป็นสิ่งที่จดจำได้ง่ายและง่ายต่อการค้นหา

5.  ดินน้ำมัน  เพื่อกดหัวหลักของที่ดินที่จมอยู่ใต้น้ำ                             เข็มทิศ  เพื่หาตำแหน่งที่ตั้งของที่ดิน

6.  เพราะต้องการแผนที่โฉนดที่เหมือนกับต้นฉบับทุกประการ  เนื่องจากอัตตราส่วนหรือรุปแบบโฉนดอาจจะบิดเบื้อนไปและทำให้ข้อมูลได้ไม่ตรงตามที่ต้องการ

7.  จริง  เพราะว่า ตามหลักการทางโหราศาสตร์หรือว่าเป็นความเชื่อของส่วนบุคคล  สถานที่ดังกล่าว  เป็นสถานที่ที่มีอำนาจและยิ่งใหญ่  แล้วถ้าเราอยู่ตรงข้ามกันก็เหมือนเป็นการท้าทายหรือลบหลุ่

น.ส.สุดาทิพย์ พลับลับโพธิ์ (49473120090)

4.ตอบ เพราะประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบที่จะกำหนดจัดแบ่งระวางจะต้องมีจุดศูนย์กลางเพื่อเป็นหลักวัดพื้นที่  ดังนั้นการที่จะใช้ที่สูงจึงเป็นสิ่งที่มองหาได้ง่ายและง่ายต่อการสังเกตุอีกด้วย เช่น การใช้วัดหรือเจดีย์เป็นจุดศูนย์กลาง เป็นต้น

5.ตอบ 1.เข็มทิศ เอาไว้ใช้ในการมองหาที่ตั้งของที่ดิน 2.ไม้บรรทัดเอาไว้ใช้วัดขนาดของที่ดินจากรูปแผนที่หลังโฉนดที่ดินโดยการถอดมาตราส่วน 3.เทปวัด เอาไว้ใช้วัดขนาดจริงของที่ดินหลังจากถอดมาตราส่วนออกมาแล้ว 4.ดินน้ำมัน เอาไว้ใช้เพื่กดหลักเขตที่จมอยู่ใต้น้ำ 5.กล้องถ่ายรูป เอาไว้ใช้ถ่ายสภาพของที่ดินขณะสำรวจ

6.ตอบ เนื่องจากในใบโฉนดที่ดินได้มีการกำหนดมาตราส่วนที่เป็นจริงแล้ว  ถ้าเราไปย่อหรือเปลี่ยนแปลงใบโฉนดที่ดินก็จะทำให้ข้อมูลมาตราส่วนผิดพลาด และไม่ตรงกับความเป็นจริง  เพราะฉะนั้นเมื่อเวลาจะถ่ายสำเนาโฉนดที่ดินก็ควรที่จะถ่ายให้เท่ากับตัวจริง เพื่อที่ข้อมูลจะได้ไม่คลาดเคลื่อน

7.ตอบ เป็นจริง เพราะว่าเป็นความเชื่อที่ว่าหน้าสถานที่ราชการ  ธนาคาร  หรือบริษัทขนาดใหญ่จะมีตราครุฑติดไว้อยู่ด้านหน้า ซึ่งฝั่งตรงข้ามที่มีตราครุฑติดไว้อยู่นั้นถือว่าไม่ดี  ต้องแก้ไขแต่ถ้ามองในทางตรงกันข้ามแล้ว ตราครุฑจะเป็นสิ่งที่ปกป้องดูแลเราซึ่งจากความเชื่อนี้ทำให้ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่อยู่บริเวณตรงข้ามจะมีราคาต่ำกว่าที่ดินที่อยู่ถัดออกไป

น.ส.ดวงฤทัย แสงสุวรรณ์ รหัส 49473120003

ตอบ ข้อ 4 เนื่องจากระวางนั้นเป็นจุดที่ถูกสมมุติขึ้นมาให้เป็นจุดศูนย์กลาง เพื่อให้ทราบว่าตำแหน่งที่ตั้งของที่ดินแปลงนั้นตั้งอยู่ที่ใด อยู่ทางทิศใด และจากสภาพภูมิประเทศของไทยส่วนใหญ่เป็นที่ราบ จึงมีการกำหนดให้สถานที่ที่เป็นที่สูงเป็นศูนย์กลางในการกำหนดจุดระวาง แต่ถ้าในบางพื้นที่ ที่มีวัดมาก เช่น จ.อยุธยา มีเจดีย์มากมาย ก็จะใช้ที่ราบที่เป็นทุ่งนา เป็นจุดศูย์กลางของระวาง

ตอบ ข้อ 5 เมื่อเราจะประเมินราคาหรือสำรวจที่ตั้งของที่ดินควรที่จะต้องเตรียมเครื่องมือ อุปกรณ์ ที่จะช่วยในการตรวจตำแหน่งที่ตั้งของที่ดินไปด้วย คือ    (1) เข็มทิศ ใช้ในการหาที่ตั้งของที่ดิน (2) ไม้บรรทัด ใช้วัดขนาดของที่ดินจากรูปแผนที่หลังโฉนดโดยการถอดมาตราส่วน (3) เทปวัด ใช้วัดขนาดจริงของที่ดิน(4)ดินน้ำมันมีไว้เพื่อกดหัวหลักของเขตที่ดินที่จมอยู่ใต้น้ำ ซึ่งกรณิที่จะประเมินที่ดินที่สะพานติณสูลานนท์ ซึ่งถูกน้ำท่วม ดินนำมันจึงจำเป็นอย่างยิ่ง (5) กล่องถ่ายรูป ใช้ถ่ายสภาพที่ดินขณะสำรวจ

ตอบ ข้อ 6 เหตุที่ไม่ให้ถ่ายสำเนาแบบย่อหรือขยายแผนที่โฉนดที่ดิน เนื่องจาก ในตัวฉนที่ดินมีมาตราส่วนที่มีมาตราที่วัแล้วจริง ถ้าเราไปย่อหรือขยายก็จะทำให้เราได้ข้อมูลที่ไม่เป๋นความจริงหรือผิดไปจากเดิม อาจเป็นสาเหตุให้เกิดความไม่เที่ยงตรง หรือไม่โปร่งใสได้ในการประเมินราคาที่ดิน

ตอบ ข้อ 7 จริง การที่ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างตั้งอยู่ตรงข้ามกับสถานที่ราชการ ธนาคาร หรือแม้กระทั่งบริษัทขนาดใหญ่ ซึ่งอาจจะมีตราครุฑ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของความมีอำนาจเหนือผู้อื่นทำให้เราดูด้อยกว่า เล็กกว่า ตามความเชี่อของคนไทยชอบคิดว่าถ้าอยู่แล้วอาจทำให้ไม่มีความสุข ทำมาค้าขายไม่ขึ้น อยู่แล้วไม่เจริญ จนเป็นสาเหตุให้ดินที่บริเวณนั้นมีราคาต่ำกว่าที่ดินที่อยู่เยื้องออกไปเล็กน้อย

นางสาวนิภาวรรณ บุญวงศ์ รหัส 49473120018

ตอบ ข้อ4. เพราะพื้นที่ในประเทศไทยส่วนใหญ่จะเป็นพื้นที่ราบดังนั้นการกำหนดระวางในประเทศไทยจึงมักจะใช้สถานที่ที่มีความสูงในการกำหนดระวางเพื่อความสะดวกในการมองเห็น

ตอบ ข้อ5. สิ่งที่จะต้องเตรียมไปคือ1.เข็มทิศเพื่อใช้ในการหาที่ตั้งของที่ดิน2.ดินน้ำมันเพื่อใช้กดหัวหลักเขตที่จมอยู่ในน้ำซึ่งกรณีนี้ดินน้ำมันจึงมีความจำเป็นอย่างมาก3.ไม้บรรทัดเพื่อใช้วัดขนาดของที่ดินจากรูปแผนที่หลังโฉนดเพื่อถอดมาตราส่วน4.กล้องถ่ายรูปใช้ถ่ายสภาพที่ดินขณะสำรวจ5.เทปวัดเพื่อใช้วัดขนาดจริงของที่ดิน

ตอบ ข้อ6. เหตุที่ไม่ให้ถ่ายสำเนาของโฉนดที่ดินแบบย่อหรือขยายนั้นเนื่งจากแผนผังในตัวโฉนดที่ดินได้มีการวัดมาตราส่วนที่เป็นจริงไว้แล้วถ้าเราถ่ายสำเนาแบบย่อหรือขยายจะทำให้มาตราส่วนนั้นคลาดเคลื่อนและผิดจากความเป็นจริงได้เพราะฉะนั้นเวลาถ่ายสำเนาโฉนดที่ดินจึงให้ถ่ายเท่าตัวจริงเพื่อที่จะได้ไม่เกิดความผิดพลาดขึ้น

ตอบ ข้อ7. เป็นจริงเนื่องจากเป็นความเชื่อว่าหน้าสถานที่ราชการ ธนาคาร หรือบริษัทใหญ่ๆมักจะมีครุฑอยู่ด้านหน้าและการที่ต้องเผชิญหน้ากับครุฑซึ่งเป็นสัตว์ใหญ่และมีอำนาจมากจะทำให้ผู้ที่อยู่อาศัยนั้นอยู่แล้วไม่มีความสุข ทำกินไม่ขึ้นจึงมักไม่ค่อยมีผู้นิยมที่ดินทีมีลักษณะและทำเลเช่นนี้จึงทำให้ที่ดินบริเวณนั้นจะมีราคาต่ำกว่าที่ดินที่อยู่เยื้องออกไป

นางสาว สุภาวรรณ จิแอ 49473120020

4. พื้นที่ในประเทศไทยเป็นพื้นที่ราบ  จึงต้องมีการใช้ที่สูงเป็นตัวกำหนดศูนย์กลางในการจัดแบ่งระวาง

5. ในพื้นที่น้ำท่วมต้องใช้ดินน้ำมันเพราะมองหลักหมุดไม่เห็น เข็มทิศ ไม้บรรทัด กล้องถ่ายรูป และเทปวัด

6. เพราะขนาดของที่ดินจะลดลงจากที่ได้จำลองแผนที่ดินเอาไว้ โฉนดที่ดินมีมาตราส่วนไว้ให้แล้ว

7.เป็นจริง เพราะเป็นความเชื่อที่ว่าหน้าสถานที่ราชการ ธนาคาร หรือบริษัทขนาดใหญ่ จะมีตราครุฑติดไว้อยู่ด้านหน้า ซึ่งฝั่งตรงข้ามที่มีตราครุฑติดไว้อยู่นั้น ถือว่าไม่ดี ในทางตรงกันข้ามแล้วนั้น ตราครุฑจะเป็นสิ่งที่ปกป้องดูแลเรา ซึ่งจากความเชื่อนี้ ทำให้ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่อยู่บริเวณตรงข้ามจะมีราคาต่ำกว่าที่ดินที่อยู่เยื้องออกไปเล็กน้อย เพราะทำเลที่ตั้งมีความเจริญมากกว่า

ศิริรัตน์ บุญเจริญรุ่งเรือง 49473120071

4 . ตอบ   เพราะในประเทศไทยเป็นพื่นที่ราบ ส่วนใหญ่ในการวางระวาง จึงควรวางจากด้วนบน  เพื่อให้ทราบว่าตำแหน่งที่ตั้งของที่ดินแปลงนั้นตั้งอยู่ที่ใด อยู่ทางทิศใด  เเละสะดวกในการมองเห็น

 

5. ตอบ  1. ดินน้ำมัน   เพื่อใช้กดหัวหลักเขตที่จมอยู่ในน้ำ  ดินน้ำมันจึงมีความจำเป็นอย่างมากในกรณีที่น้ำท่วมเช่นนี้

               2. เข็มทิศ   เพื่อใช้ในการหาที่ตั้งของที่ดิน

               3. กล้องถ่ายรูป   เพื่อใช้ถ่ายสภาพที่ดินในการสำรวจ

               4. เทปวัด ใช้วัดขนาดจริงของที่ดิน

               5. ไม้บรรทัด   เพื่อใช้วัดขนาดของที่ดินจากรูปแผนที่หลังโฉนดเพื่อถอดมาตราส่วน

 

6. ตอบ   ที่ไม่ให้ถ่ายโฉนดแบบย่อ หรือขยาย คือ เนื่งจากแผนผังในตัวโฉนดที่ดินได้มีการวัดมาตราส่วนที่เป็นจริงไว้แล้ว หากไปย่อหรือขยายก็จะทำให้เราได้ข้อมูลที่ไม่เป็นความจริงหรือผิดพลาดไปจากเดิม

 

7. ตอบ  จริง  จากความเชื่อที่ว่า หากสถานที่ใด หรือบริษัทใดมีตราครุฑติดอยู่ด้วนหน้า ไม่ควรไปตั้งบริษัทอยู่ตรงข้าม เพราะ เปรียบเหมือนว่าครุฑมีอำนาจมาก หากอยู่ใกล้เราอาจจะดูด้อยเเละต่ำกว่า จึงเป็นเหตุทำให้ที่ดินณ บริเวณนั้นมีราคาที่ต่ำกว่า

น.ส.มลิศา ธนบัตร 49473120034

ตอบ ข้อ 4  การจัดแบ่งระวางนั้นเป็นจุดสมมติให้เป็นจุดศูนย์กลางของการทำระวางแผนที่โฉนดเพื่อให้ทราบถึงทิศทาง ตำแหน่งที่ตั้งของที่ดินแปลงนั้นโดยส่วนใหญ่มักจะกำหนดให้เป็นพื้นที่ที่มีความสูงก็เพราะประเทศไทยส่วนใหญ่จะเป็นพื้นที่ราบ  บางครั้งการตรวจหาระวางบนพื้นที่ราบจะเป็นการยุ่งยากและยากต่อการตรวจหา  การที่กำหนดรรวางไว้ในที่สูงๆ ก็จะง่ายต่อการตรวจหาสังเกตและประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณนั้นก็จะรับรู้ได้ง่าย เช่นบนยอดเจดีย์ หรือบนเขา

ตอบ ข้อ 5  การสำรวจเพื่อประเมินราคาที่ดินเชิงสะพานติณสูลานนท์นั้น อุปกรณ์ที่ต้องนำไปด้วย คือ 1. เข็มทิศ  เพื่อตรวจหาที่ตั้งของที่ดินตามโฉนด  2. ดินน้ำมัน เพื่อนำมากดหัวหลักเขตที่ดินที่จมอยู่ใต้น้ำ 3. กล้องถ่ายรูป เพื่อถ่ายสภาพที่ดิน

ตอบ  ข้อ 6  การถ่ายเอกสารสำเนาโฉนดโดยไม่ให้ย่อหรือขยายก็เพราะ  การย่อสำเนาโฉนดนั้นจะทำให้แผนที่และอัตราส่วนนั้นมีขนาดเล็กลงเช่นเดียวกับการขยายก็จะทำให้โฉนดมีขนาดใหญ่ขึ้น  ซึ่งจะคลาดเคลื่อนกับความเป็นจริง  เมื่อนำมาวัดอัตราส่วนแล้วนำมาคำนวณก็จะก่อให้เกิดความผิดพลาดเป็นอย่างมาก

ตอบ ข้อ 7  จริง  เพราะที่ดินตรงส่วนนั้นเมื่อเปรียบเทียบกับที่ดินตรงข้ามที่เป็นสถานที่ราชการ ธนาคาร หรือบริษัทใหญ่ๆ  แล้วจะทำให้ดูด้อยกว่า อีกอย่างคนโบราณจะเชื่อกันว่าสถานที่เหล่านี้ที่มีตราครุฑอยู่ด้านหน้าจะแสดงถึงความมีอำนาจส่งผลถึงที่ดินที่อยู่ตรงข้ามทำให้ทำมาหากินไม่ขึ้น ทำอะไรก็ไม่ดีนัก จึงมักแก้เคล็ดด้วยการนำกระจกมาสะท้อนกลับ หรือการนำสัญลักษณ์ที่มีความเท่าเทียมกันมาติดไว้ จึงเป็นเหตุที่ทำให้ที่ดินตรงข้ามนั้นมีราคาต่ำกว่าที่ดินที่อยู่เยื้องออกไป

นางสาว เนตรนภา เอิบอิ่ม 49473120076

4.เพระประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นทีราบจึงต้องมีการกำหนดจุดศูนย์กลางให้สูงดังนั้นการใช้พื้นที่สูงเป้นจุดศูนย์กลางในการแบ่งระวางเพื่อให้ทราบตำแหน่งที่ตั้งของที่ดินอยู่ที่ใด   และสามารถมองเห็นได้ชัด

5การสำรวจที่ดินและประเมินราคาที่ดินเชิงสะพานซึ่งถูกน้ำท่วมต้องมีอุปกรณ์ติดตัวคือ   เข็มทิศใช้ในการหาที่ตั้งของที่ดิน      ไม้บรรทัด ใช้วัดขนาดของที่ดินจากรูปแผนที่หลังโฉนด    ดินน้ำมัน เพื่อกดหัวหลักเขตที่ดินที่จมน้ำ กล้องถ่ายรูป  ใช้ถ่ายสภาพของที่ดินขณะสำรวจ

6.โฉนดที่ดินไม่ควรถ่ายย่อหรือขยายเพราะโฉนดที่ดินมีขนาดที่เป็นจริงแล้วถ้าย่อหรือขยายออกไปอาจทำให้ข้อมูลผิดพลาดได้

7.เป็นจริง เพราะเป็นความเชื่อที่ว่าหน้าสถานที่ราชการ  ธนาคาร  และบริษัทขนาดใหญ่  จะมีตราครุฑติดอยู่  ถ้าด้านตรงข้ามมีสิ่งเหล่านี้อยู่ด้านหน้า  จะทำให้ไม่ดีต่อผู้อยู่อาศัยและทำกิจการใดๆไม่ขึ้น  จึงทำให้บ้านนั้นมีราคาที่ต่ำ

นางสาวศิริทิพย์ ร่มโพธิ์ภักดิ์ 49473120040

4. เพื่อให้ทราบตำแหน่งที่ตั้งของที่ดินแปลงนั้นตั้งอยู่ที่ใด

5. ดินนำมัน เข็มทิศ กล้องถ่ายรูป

6. เพราะว่าเวลาที่ถ่ายเอกสาร ย่อ หรือ ขยาย โฉนดที่ดินอาจทำให้ข้อมูลผิดเพี้ยนไปจากความเป็นจิง

7. จริง เพราะว่า อาจจะเป็นการเกี่ยวกับเรื่องฮวงจุ้ยอย่างเช่นธนาคารจะมีครุฑอยุ่หน้าอาคารทำให้มีบารมีเป็นความเชื่อสำหรับคนที่เชื่อเรื่องฮวงจุ้ยดังจุ้ยดังนั้นที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่อยุ่เยื้องจากสถานที่ดังกล่าวจึงมีราคาที่สูงกว่า

 

นางสาวจิราพร วงศ์วุฒิ รหัส 49473120085

4. ตอบ  เพราะประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นที่ราบการกำหนดระวางในที่สูง  ต้องมีจุดศูนย์กลางเพื่อเป็นหลักวัดพื้นที่ เพื่อความสะดวกในการมองเห็นและง่ายต่อการสังเกต

5. ตอบ  5.1 เข็มทิศ  ใช้ในการหาที่ตั้งของที่ดิน

              5.2 ไม้บรรทัด ใช้วัดขนาดที่ดินจากแผนที่หลังโฉนด โดยการถอดมาตราส่วน

              5.3 เทปวัด ใช้วัดขนาดจริงของที่ดินหลังการถอดมาตราส่วน

              5.4 ดินน้ำมัน เพื่อใช้กดหัวหลักเขตที่จมน้ำอยู่

              5.5 กล้องถ่ายรูป เพื่อใช้ถ่ายรูปสภาพของที่ดินเพื่อให้เห็นสภาพของที่ดินได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

6. ตอบ  เนื่องจากใบโฉนดที่ดินได้มีการกำหนดตามมาตราส่วนที่เป็นจริงแล้ว ถ้าเราไปถ่ายสำเนาแบบย่อหรือเปลี่ยนแปลงใบโฉนดที่ดินก็อาจจะทำให้ข้อมูลมาตราส่วนผิดพลาด คลาดเคลื่อนตามความเป็นจริงได้ ฉะนั้นเพื่อความถูกต้องก็ไม่ควรนำโฉนดที่ดินไปถ่ายสำเนาแบบย่อ  ควรถ่ายให้เท่าตัวจริงเท่านั้น

7. ตอบ เป็นจริง เพราะเป็นความเชื่อที่ว่าหน้าสถานที่ราชการ ธนาคาร หรือบริษ้ทขนาดใหญ่จะมีตราครุฑติดไว้อยู่ด้านหน้า ซึ่งฝั่งตรงข้ามที่มีตราครุฑติดไว้ถือว่าไม่ดี ต้องแก้ไข แต่ถ้ามองในทางตรงกันข้ามแล้ว ตราครุฑจะเป็นสิ่งที่ปกป้องที่ดูแลเราซึ่งจากความเชื่อนี้ทำให้ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ตรงข้ามจะมีราคาที่ต่ำกว่าที่อยู่ถัดออกไป

 

 

 

 

น.ส.ศรีสุภางค์ แก้วผ่อง รหัส 49473120037

คำถามประจำบทที่ 9

4. ตอบ   เหตุที่จะต้องกำหนดศูนย์กลางเป็นสถานที่ที่มีความสูงในการจัดแบ่งระวาง เพราะแผนที่ในประเทศไทยส่วนใหญ่มักจะเป็นที่ราบ การแบ่งระวางจึงต้องใช้สถานที่ที่มีความสูงในการกำหนดระวาง เพื่อที่จะได้สะดวกแกการมองเห็น เช่น ที่เชียงใหม่  ใช้ยอดเจดีย์  วัดกู่เต้า  เป็นต้น

5. ตอบ ในการสำรวจ จะต้องนำอุปกรณ์ดังต่อไปนี้ติดตัวไปด้วย

      1) เข็มทิศ ใช้ในการหาที่ตั้งของที่ดิน ใช้หาที่ตั้งของที่ดินตามโฉนดกับที่ดินที่ลูกค้านำสำรวจ ว่าอยู่ตรงกันหรือไม่ หากไม่ใช้เข็มทิศช่วยแล้ว ผู้สำรวจจะไม่สามารถทราบได้แน่นอนว่าที่ดินที่ลูกค้านำมาสำรวจกับที่ดินตามโฉนดมีที่ตั้งถูกต้องตรงกัน

     2) ไม้บรรทัด ใช้วัดขนาดของที่ดินจากรูปแผนที่หลังโฉนดโดยการถอดมาตราส่วน

     3) เทปวัด ใช้วัดขนาดจริงของที่ดินหลังจากถอดมาตราส่วนออกมาแล้ว เทปวัดมีความยาวหลายขนาด ปกติจะเป็นม้วน มีความยาวตั้งแต่ 20 – 50 เมตร

     4) ดินน้ำมัน มีไว้เพื่อกดหัวหลักเขตที่ดินที่จมอยู่ใต้น้ำซึ่งผู้สำรวจไม่สามารถที่จะอ่านหมายเลขได้ จึงต้องใช้ดินน้ำมันช่วย

       5) กล้องถ่ายรูป ใช้ถ่ายรูปสภาพที่ดินขณะสำรวจ เพื่อติดประกอบในแบบสำรวจหลักทรัพย์ ทำให้ผู้พิจารณาเครดิตเห็นสภาพที่ดินได้ชัดเจนขึ้น และเป็นประโยชน์สำหรับผู้สำรวจครั้งต่อไป จากการสำรวจครั้งก่อนจนถึงปัจจุบันที่ดินแปลงนั้น หรือบริเวณใกล้เคียงได้มีได้มีสภาพเปลี่ยนแปลงไปบ้างหรือไม่

6. ตอบ เหตุที่ไม่ให้ถ่ายสำเนาแบบย่อหรือขยาย เพราะว่าในแผนที่ดินได้มีการกำหนดมาตราส่วนของที่ดินไว้แล้วตามความเป็นจริง เช่น 1 : 5000 เป็นต้น ถ้าหากมีการถ่ายสำเนาแบบย่อหรือขยาย ก็จะทำให้มาตราส่วนขิงที่ดินที่กรมที่ดินได้ลงในแผนที่ดินไว้นั้นเกิดการบิดเบือนไปจากความเป็นจริง

7. ตอบ  คิดว่าเป็นความจริง  เพราะว่าคนไทยเรานั้นมักจะมีความเชื่อในเรื่องราวของสิ่งศักดิ์สิทธิต่างๆเป็นอย่างมาก  ในสถานที่ราชการ  ธนาคาร  หรือบริษัทขนาดใหญ่ มักจะมีตราครุฑติดอยู่  ซึ่งตราครุฑนั้นก็เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึงพลังอำนาจที่ยิ่งใหญ่เหนือกว่าสิ่งอื่นใด  ผู้คนจึงไม่นิยมที่ดินที่อยู่ตรงข้ามกับสถานที่เหล่านั้น เพราะจะทำให้รู้สึกว่าเราด้อยกว่า  ประกอบอาชีพอะไรก็ไม่เจริญ  ที่ดินตรงนั้นก็จึงมีราคาต่ำกว่าที่ที่เยื้องออกมาเล็กน้อย

นางสาวจิราพร วงศ์วุฒิ รหัส 49473120085

แบบฝึกหัดบทที่ 1

2. ตอบ  ผลเสียของระบบสินเชื่อที่มีต่อระบบเศรษฐกิจและประชาชน เช่น การปล่อยสินเชื่อให้กับประชาชนที่มากเกินไป จนทำให้ระบบเศรษฐกิจเกิดภาวะเงินเฟ้อ ดังเช่นปี 2540 ที่ผ่านมาทำให้เศรษฐกิจในช่วงนั้นแย่มากที่สุด หรือการที่สถาบันการเงินปล่อยสินเชื่อให้กับประชาชนเพื่อที่พวกเค้าต้องการนำเงินไปซื้อบ้าน หรือรถยนต์ ทำให้เป็นหนี้มากขึ้น ถึงแม้ว่าจะมีสถาบันการเงินต่างๆที่แข่งขันกัน มีการลดดอกเบี้ยให้ถูกลงก็ถือว่าเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนหันมากู้เงินกันมากขึ้นและยิ่งทำให้พวกเค้าใช้จ่ายเงินอย่างฟุ่มเฟือย

แนวทางแก้ไขปัญหา

สถาบันการเงินต่างๆที่จะปล่อยสินเชื่อให้กับประชาชนหรือบุคคลใดก็ตาม ก็ต้องมีการพิจารณาอย่างถ่วนถี่  รอบครอบเสียก่อนที่จะให้สินเชื่อ ว่าผู้ที่กู้เงินไปแล้วนั้นจะมีความสามารถที่จ่ายเงินตามวัน เวลาที่กำหนดไว้ได้หรือไม่ เพื่อผลประโยชน์ที่ตามมาของธนาคารและควรดูสภาพเศรษฐกิจในตอนนั้นด้วยว่ามีสภาพคล่องมากน้อยเพียงใดเหมาะแก่การให้สินเชื่อนี้หรือไม่

8. ตอบ ต่างกันเพราะการให้สินเชื่อบุคคลต้องพิจารณาเป็นรายๆไปอาจมีความแตกต่างในด้านการนำเงินไปลงทุนที่มีขนาดเล็กกว่า   การให้สินเชื่อธุรกิจซึ่งมีขนาดใหญ่จึงต้องมีการพิจารณาที่ยุ่งยาก และใช้ความรอบคอบในการพิจารณามากขึ้น

10. ตอบ  สนับสนุน เพราะจะเห็นได้ว่ามีธนาคารพาณิชย์ใหม่ๆเกิดขึ้นหลายแห่งจึงทำให้มีการแข่งขันกันมากขึ้น เช่น มีการลดอัตราดอกเบี้ยให้ถูกลงเพื่อเป็นแรงจูงใจให้ประชาชนมีการกู้เงินกับธนาคารพาณิชย์มากขึ้น

 

 

 

 

 

น.ส.อรัญญา นันทพรสิริพงศ์

4..ตอบ  เนื่องจากประเทศไทยส่วนใหญ่มักจะเป็นที่ราบ ทำให้การจัดแบ่งระวางทำได้ไมม่สะดวก ดังนั้นจึงมักจะกำหนดศูนย์กลางเป็นสถานที่ๆมีความสูงเพื่อจะได้สะดวก มองเห็นงาย และยังเป็นจุดเด่นในการจักแบ่งระวางอีกด้วย

5.ตอบ 1.เข็มทิศ เพื่อจะใช้ในการหาที่ตั้งของที่ดิน หรือสิ่งที่ต้องการจะหา

             2.ไม้บรรทัด เพื่อใช้ในการวัด หรือถอดมาตราส่วนหลังโฉนด

             3.ดินน้ำมัน สำคัญมากสำหรับการที่จะไปสำรวจแถวน้ำท่วมหรือบริเวณที่มีน้ำขัง เพราะดินน้ำมันมีไว้เพื่อกดหัวหลักเขตที่ดินที่จมอยู่ใต้น้ำ ซึ่งผู้สำรวจไม่สามารถที่จะอ่านหมายเลขได้ จึงต้องใช้ดินน้ำมันช่วย

              4. กล้องถ่ายรูป มีไว้เพื่อถ่ายรูปสถานที่ สภาพที่ดินสิ่งปลูกสร้างที่เราได้สำรวจ

6.ตอบ เพราะจะทำให้เราคำนวนราคาที่ดินผิดไปจากที่เป็นจริง เพราะถ้าเราย่อก็จะทำให้สำเนาโฉนดนั้นเล็กลงทำให้ยากแก่การคำนวณหาพื้นที่ๆแท้จริง หรือถ้าเราขยายให้สำเนาโฉนดใหญ่ขึ้นก็จะทำให้เกิดความไม่ชัดเจน คำนวนยากขึ้น ดังนั้เอกสารสำเนาโฉนดจึงไม่ควรย่อหรือขยาย ควรจะใช้สำเนาที่เท่ากับของจริง

7.ตอบ เป็นจริง เพราะคนเราจะเชื่อในเรื่องโชคราง ฮวงจุ้ยกัน ดังนั้นจึงมีความเชื่อกันว่าถ้าบ้านหรือที่ดินอยู่ตรงข้ามกับธนาคาร สถานที่ราชการ หรือบริษัทขนาดใหญ่ ที่มีรูปครุฑอยู่นั้น จะทำให้ที่ดินที่อยู่ตรงข้ามจะถูกอำนาจความยิ่งใหญ่ของครุฑบดบังทำให้การทำมาค้าขายไม่ขึ้น เป็นผลทำให้ที่ดินแถบนั้นมีราคาต่ำกว่าที่ดินที่อยู่เยื้องออกไป

นางสาวเจษฏาภรณ์ วงศ์วุฒิ รหัส 49473120083

4. ตอบ เพราะในประเทศไทยเป็นพื้นที่ราบส่วนใหญ่จะเป็นพื้นที่ราบดังนั้นการกำหนดระวางจึงใช้ที่สูงในการกำหนดเพื่อความสะดวกในหารมองเห็น

5. ตอบ 1.เข็มทิศ ใช้ในการหาที่ตั้งของที่ดิน  2.ดินน้ำมันเพื่อใช้กดหัวหลักที่จมอยู่ในน้ำ   3. ไม้บรรทัดเพื่อใช้วัดขนาดของที่ดินจากรูปแผนที่หลังโฉนดเพื่อถอดมาตราส่วน   4.   กล้องถ่ายรูปใช้ถ่ายสภาพที่ดินขณะสำรวจ  5. เทปวัดเพื่อใช้วัดขนาดจริงของที่ดิน

6. ตอบ ที่ไม่ให้ถ่ายแบบย่อ คือ เนื่องจากแผนผังโฉนดที่ดินได้มีก่วัดมาตราส่วนมราเป็นจริงแล้ว หากไปย่อก็จะทำให้ข้อมูลผิดพลาดหรือคลาดเคลื่อนได้

7. ตอบ  เป็นจริงเราะจากความเชื่อที่ว่าหากสถานที่ราชการ ธนาคาร หรือบริษัท  จะมีตราครุฑติดอยู่ ถ้าด้านหน้าตรงข้ามมรสิ่งเหล่านี้อยู่ด้านหน้า  จะทำให้ไม่ดี จึงทำให้บ้านนั้นมีราคาที่ต่ำ

 

 

 

 

นางสาวศิรินภา สุขแก้ว รหัส 49473120088

ข้อ  4  ตอบ  เพราะประเทศไทยส่วนใหญ่มีพื้นที่เป็นที่ราบ ดังนั้นจึงมีการกำหนดระวางขึ้นเพื่อให้ทราบตำแหน่งที่ตั้ง และที่ที่ต้องกำหนดศูนย์กลางเป็นสถานที่สูงก็เพราะจะได้มองเห็นง่าย แต่บางที่ก็ไม่ได้กำหนดเป็นที่สูง เช่น ที่อยุธยาได้กำหนดให้ อ. มหาราชเป็นจุดกำเนิดเนื่องจากที่อยุธยามีวัดมากจะทำให้สับสนจึงเอาเป็นริเวณทุ่งนา

ข้อ  5  ตอบ  อุปกรณ์ที่จะต้องนำไปด้วยคือ

1.เข็มทิศ เพื่อใช้ในการหาพื้นที่ของดิน

2.ไม้บรรทัด เพื่อใช้วัดขนาดของที่ดิน

3.เทปวัด  เพื่อใช้วักขนาดจริงของพื้นที่

4.ดินนำมัน เพื่อใช้กดหัวหลักเขตที่ดินจมน้ำอยู่(จำเป็นมากถ้าเกิดว่าจะไปสำรวจที่ที่มีนำท่วม)

5.กล้องถ่ายรูป เพื่อใช้ถ่ายรูปสภาพของที่ดินขณะสำรวจ

ข้อ 6  ตอบ  เพราะจะทำให้บางครั้งตัวอักษรที่อยู่บนตัวโฉนดเกิดการเคลื่อนและมองเห็นเป็นตัวเลขอื่นได้จึงไม่ให้ย่อหรือขยายโฉนดเพื่อเป็นการป้องการการผิดพลาด

ข้อ  7  ตอบ  จริง  เพราะบริเวณที่อยู่ตรงข้ามสถานที่ราชการ  ธนาคาร  หรือบริษัทขนาดใหญ่ จะมีตราครุฑใหญ่ตราอยู่หน้าธนาคาร  บริษัท  ทำให้เกิดความเชื่อว่าถ้ามีบ้านอยู่บริเวณตรงข้ามนั้นจะไม่ดี เหมือนกับว่ามีอะไรมาบังหน้าอยู่(เป็นความเชื่อเรื่องฮวงจุ้ล)ทำให้บ้านบริเวณตรงข้ามนั้นมีราคาต่ำกว่าบ้านที่อยู่เยื้องๆกันไป และบริเวณที่มีราคาต่ำที่อื่นๆก็ เช่น บริเวณทางสามเพ่ง  บริเวณบ้านที่บัว หรือที่มีศาลของบรรพบุรุษ เป็นต้น

นาวสาวพรรษสิริ นามมัน 49473120060 บริหารฯ(การเงิน)

 

ข้อ 4. 

 เพราะพื้นที่ที่สูงนั้นจะเป็นที่สังเกตง่าย และดีกว่าที่จะเอาพื้นที่ราบมาเป็นพื้นที่จัดแบ่งระวางจะเป็นการที่สังเกตได้ยากมาก   ทั้งนี้ด้วยที่ว่าประเทศไทยส่วนมากเป็นพื้นที่ราบ  จึงต้องเอาพื้นที่สูงเป็สตัวกำหนดศูนย์กลางในการจัดแบ่งระวาง  เช่น การใช้เจดีย์ในการเป็นศูนย์กลาง เป็นต้น

ข้อ 5.

(1.) ใช้เข็มทิศ  ในการหตำแหน่งที่ตั้งของที่ดิน

(2.)  ใช้เทปวัด  ในการวัดขนาดจริงของที่ดินเพื่อใช้ในการประกอบรายงาน

(3.)  ใช้ไม้บรรทัด  ในการวัดขนาดของที่ดินจากรูปแผนที่ในโฉนด

(4.)  ใช้ดินน้ำมัน  ในสถานะการที่ว่าหัวหลักที่ดินนั้นจมอยู่ใต้น้ำที่ไม่สามารถมองเห็นได้ง่าย อ่านไม่ได้ จึงต้องใช้ดินน้ำมันในการกดไปที่หัวหลักเขตที่ดินเพื่ออ่านได้ ซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับสถานที่ที่มีน้ำท่วม

(5.)  ใช้กล่องถ่ายรูป  ในการถ่ายรูปสภาพที่ดินที่เราไปสำรวจ เพื่อติดประกอบในการทำแบบสำรวจหลักทรัพย์  เป็นการเพิ่มเครดิตให้กับที่ดินด้วย  อีกทั้งยังเป็นประโยชน์กับผู้สำรวจในครั้งต่อไป

ข้อ 6.

เพราะว่าการถ่ายแผนที่โฉนดเป็นสำเนาแบบย่อหรือขยายนั้น  จะทำให้พื้นที่ของทีดินเกิดความผิดพลาด  ไม่ตรงจริงตามที่เป็นในโฉนด  ยากแก่การคลาดเดาได้  ฉะนั้นการถ่ายควรจะถ่ายตามฉบับจริงไม่ควรย่อหรือขยายแผนที่โฉนด

ข้อ 7.

เป็นความจริง  เพราะว่าที่ดินที่อยู่ตรงกันข้ามกับสถานที่ราชการ  ธนาคาร  หรือบริษัทใหญ่ๆ นั้นคนไทยมีความเชื่อว่าจะมีตราครุฑติดอยู่ด้านหน้าสถานที่นั้นและที่ดินเราจะไปขม หรือเทียบเท่านั้นเป็นการไม่ดีเป็นอย่างมาก  ถือว่าไม่ดีต้องแก้โดยการติดกระจกเพื่อสะท้อนพลังกลับไปแต่ทั้งนี้ตราครูฑนั้นเป็นสิ่งที่ปกป้องเรา จึงทำให้ที่ดินที่อยู่ตรงกันข้ามกับจะมีราคาต่ำกว่าที่ดินที่อยู่เยื้องไปเพราะทำเลดูจะมีความน่าเชื่อถือและเจริญครบถ้วนมากกว่า

น.ส.พวงเพ็ชร กะการดี 49473120084

4.เพราะประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นที่ราบจึงต้องมีการกำหนดจุดศูนย์กลางให้สูงในการแบ่งระวางเพื่อให้ทราบตำแหน่งที่ตั้งของที่ดินแปลงนั้น และสะดวกในการค้นหาเพราะสามารถมองเห็นได้ชัด

5.อุปกรณ์ที่ต้องนำติดตัวไปในการสำรวงคือ

       1.เข็มทิศ เพื่อใช้ในการหาที่ตั้งของที่ดินแปลงนั้น

        2.กล้องถ่ายรูป เพื่อใช้ถ่ายรูปสภาพพื้นดินและบริเวณรอบๆ

         3.ดินน้ำมัน เพื่อใช้ในการกดหัวหลักเขตที่จมน้ำอยู่

6.เพราะถ้าถ่ายโฉนดย่อหรือขยายจะทำให้ข้อมูลมันผิดพลาดได้

7.เป็นจริง เพราะการที่บ้านเราอยู่ตรงข้ามกับสิ่งก่อสร้างที่มีขนานใหญ่จะทำให้บ้านดูไม่เด่นไม่มีราศรีทำให้ดูด้อยกว่าบ้านที่อยู่ถัดไปและทำให้การทำมาค้าขายไม่เจริญเติบโต ไม่เป็นที่นิยมของผู้คนทั่วไปจึงทำให้มีราคาต่ำ

นางสาวทัศนีย์ ภูศรีฤทธิ์

4.ตอบ  เพราะส่วนใหญ่แล้วประเทศไทยจะเป็นที่ราบจึงมักจะกำหนดการจัดแบ่งระวางเป็นสถานที่ที่มีความสูงเพื่อจะได้สะดวกในการมองเห็น อย่างเช่น ศุนย์สงขลาได้กำหนด เจดีย์บนขาตังกวน เป็นต้น

5.ตอบ  1. เข็มทิศ ใช้ในการหาที่ตั้งของที่ดิน ใช้หาที่ตั้งของที่ดินตามโฉนดกับที่ดินที่ลูกค้านำสำรวจ ว่าอยู่ตรงกันหรือไม่ หากไม่ใช้เข็มทิศช่วยแล้ว ผู้สำรวจจะไม่ทราบแน่นอนว่าที่ดินที่ลูกค้านำมาสำรวจกับที่ดินตรงในโฉนดถูกต้องตรงกัน

2. ไม้บรรทัด  ใช้วัดขนาดของที่ดินจากรูปแผนที่หลังโฉนดโดยการถอดมาตราส่วน

3. เทปวัด ใช้วัดขนาดจริงของที่ดินหลังจากถอดมาตราส่วน

4. ดินน้ำมัน มีไว้เพื่อกดหัวหลักเขตที่ดินที่จมอยู่ใต้น้ำซึ่งผู้สำรวจไม่สามารถที่จะอ่านหมายเลขได้ จึงต้องใช้ดินน้ำมันช่วย

5. กล้องถ่ายรูป ใช้ถ่ายรูปสภาพของที่ดินขณะสำรวจเพื่อติดประกอบในแบบสำรวจหลักทรัพย์

6. ตอบ เหตุที่ไม่ให้ถ่ายสำเนาแบบย่อหรือขยาย เพราะที่ดินได้มีการกำหนดมาตราส่วนที่ดินตามความเป็นจริงไว้แล้วถ้าย่อหรือขยายก็อาจจะทำให้ข้อมูลผิดไปจากความเป็นจริงได้

7. ตอบ เป็นจริง เพราะ คนมีความเชื่อว่าบ้านอยู่ตรงกันกับสถานที่ราชการ ธนาคาร หรือบริษัทขนาดใหญ่ซึ่งมีอำนาจครอบงำจากครุฑ เป็นสิ่งที่ไม่ดี ค้าขายก็ไม่ขึ้นราคาจึงต่ำกว่าที่ดินที่อยู่เยื้องออกไป

นางสาวสุปราณี แสนทวีสุข 49473120014

ข้อ 4

  เพราะพื้นที่ในประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นที่ราบจึงมีการจัดแบ่งศูนย์กลางเป็นระวางความสูงจะทำให้สามารถมองเห็นรายละเอียดได้ชัดเจน

ข้อ 5

1.  เข็มทิศ ใช้ในการหาที่ตั้งของดิน

2. ไม้บรรทัด ใช้วัดขนาดของดินในรูปของแผ่นที่

3.  เทปวัด  ใช้วัดขนาดของดินจากรูปแผ่นที่หลังโฉนด

4. กล้องถ่ายรูป ใช้ถ่ายรูปขณะสำรวจ

ข้อ 6

สำเนาโฉนดที่ดินมีมาตราส่วนของขนาดที่ที่ถูกต้องถ้าย่อหรือขยายข้อมูลอาจผิดพลาดไปจากความเป็นจริง

ข้อ7

 เป็นจริง  เพราะ  สิ่งปลูกสร้าง  สถานที่ราชการ ธนาคาร บริษัทขนาดใหญ่  สถานที่เหล่านี้ต้องมีตราครุฑ ก็สัญญาลักษณ์ของความมีอำนาจ จึงทำให้คนส่วนใหญ่เชื่อแบบนั้นจึงไม่นิยมปลูกบ้านตรงสถานที่เหล่านี้ 

นาย สัญชัย สุวรรณวงค์ รหัส 49473120072

4. เพราะจะได้เป็นที่เห็นได้ชัดเจน และเป็นจุดเด่นของพื้นที่นั้น เช่นที่จ.นครศรีธรมราช ใช้เจดีย์พระบรมธาตุฯ

5.ดินน้ำมัน เพื่อใช้ปั้มหัวเสาหลักที่จมน้ำ

    กล้องถ่ายรูป เพื่อถ่ายสภาพพื้นที่

    เข็มทิศ เพื่อหาทิศทางของหลัก

6. เพื่อที่จะได้โฉนดที่เป็นไปตามตัวจริง ไม่ผิดพลาดในการนำไปใช้งาน และจะได้ทราบอัตราส่วนที่แน่นอน

7.เป็นจริง เพราะถ้าอยู่ตรงกัน สิ่งที่เป็นสัญลักษณ์ของทางราชการ ธนาคาร หรือบริษัทต่างๆ จะมีบารมีและอำนาจที่ใหญ่กว่าทำให้มาปิดบังความเจริญก้าวหน้าทางธุรกิจการค้าต่างๆ

นาย ชัยวัฒน์ จันทสนธิ์ รหัส 49473120077

4.เพราะว่าเป็นจุดที่เด่นชัดง่ายต่อการมองเห็นและสามารถนำมาใช้เป็นจุดศูนย์กลางระวาง เช่น ที่กรุงเทพฯ ใช้ภูเขาทองเป็นจุดศูนย์กลางระวาง

5. ดินน้ำมัน เพื่อนำไปปั้มหัวเสาที่จมน้ำ                    

    ไม้บรรทัด เพื่อนำไปวัด

     เข็มทิศ  นำไปหาทิศทางของเสาหลักที่ดิน 

6. เพราะว่าได้ข้อมูลที่ทำให้ได้สัดส่วนที่แน่นอน ไม่คลาดเคลื่อนในการนำไปใช้

7. เป็นจริง เพราะสถานที่ดังกล่าวเป็นสถานที่ที่มีบุญบารมีที่แกร่งกล้าที่ใหญ่โตกว่าจึงทำให้เราดูเสื่อมบารมี

นางสาว สุขศิริ อาสา รหัส 49473120074

4.เพราะการกำหนดจุดศูนย์กลางควรที่จะกำหนดจากจุดที่เห็นได้ชัดเจนเพื่อกำหนดเป็นระวางของสถานที่นั้นๆเช่นการกำหนดระวางของกรุงเทพฯใช้ที่ยอดเจดีย์วัดภูเขาทอง ซึ่งมีความสูงและเห็นได้ชัดเจนที่สุด

5.เข็มทิศ เพื่อใช้ในการบอกทิศทางที่ตั้งของเสาหลัก

    ดินน้ำมัน เพื่อปั้มเลขบนหัวเสาในส่วนที่มิดน้ำ

    ตลับเมตร เพื่อวัดระยะเสาหลักที่จมน้ำและเหนือน้ำ

6.เพราะจะได้สัดส่วนที่ชัดเจนของพื้นที่ในโฉนดป้องกันการผิดพลาดในการนำไปใช้ต่อไป

7.เป็นจริง เพราะสิ่งปลูกสร้างได้เผชิญอยู่กับสิ่งที่มีอำนาจบารมีใหญ่กว่าตน เช่น การมีสัญลักษณ์ตราครุฑแบบนี้อยู่หน้าธนาคาร จะทำให้สิ่งปลูกสร้างดูหมดอำนาจไปและเชื่อกันว่าการทำการค้าใดๆจะทำให้ขาดความคล่องตัวไปได้

สราพร สิงหพงษ์ 49473120039

4) ตอบ  การจัดแบ่งระวาง ในพื้นที่สูงๆนั้น เพื่อจะสามารถมองเห็นพื้นที่ที่เราอยู่ เพราะสมัยก่อนยังไม่มีตึกสูง และสามารถมองเห็นได้ไกล แต่ในบางจังหวัดการกำหนดแบ่งระวาง ก็ไม่ได้มีการจัดในพื้นที่สูง เพราะจังหวัดไม่มีภูเขา และเป็นที่ราบ

5) ตอบ

    - เข็มทิศ เพื่อหาที่ตั้งของที่ดิน

    - ไม้บรรทัด เพื่อวัดขนาดของที่ดินจากรูปแผนที่ หลังโฉนด

   - ดินน้ำมัน เพื่อกดหัวหลักเขตที่ดิน ที่จมน้ำอยู่ เพราะเราไม่สามารถอ่านหมายเลขได้

   - กล้องวัดระดับ เพื่อวัดพื้นที่นั้นมีขนาดจริงเท่าไหร่ เนื่องจากปัจจุบัน พื้นที่นี้เป็นพื้นที่ต่างระดับลงไป ขนาดของที่ดินอาจจะลดลงจากโฉนดเดิม

6) ตอบ เพราะเป็นหนังสือที่ออกตามพระบรมราชโองการ จึงไม่สามารถดัดแปลงย่อ ขยายได้ ตัวเลขในโฉนดอาจผิดพลาดมองไม่เห็นหรือไม่ชัดเจน

7) ตอบ  จริง  เพราะคนไทยส่วนใหญ่ เชื่อในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และพื้นที่ที่เป็นสถานที่ราชการ ธนาคาร หรือบริษัทขนาดใหญ่ จะมีสัญลักษณ์ทางราชการ เช่น ครุฑ หมายถึง ความมีอำนาจ ความยิ่งใหญ่ ดังนั้น พื้นที่ที่อยู่ตรงข้ามสถานที่ราชการดังกล่าว จะคิดว่า เป็นการเทียบอำนาจ หรือต่อสู้กันทางธุรกิจ และจะมีราคาต่ำกว่าพื้นที่ที่เยื้องออกไป

น.ส.ชุธิมา เหมือนงิ้ว รหัส 49473120025

4. เพราะเป็นสถานที่ที่สามารถเห็นได้ชัดเจน ง่ายต่อการสังเกต เช่น ศูนย์เชียงใหม่ ยอดเจดียื วัดกู่เต้า

5. อุปรณ์ที่ต้องนำติดตัวไปมีดังนี้

1. เข็มทิศ ใช้ในการหาที่ตั้งของที่ดิน

2. ดินนำมัน ใช้เพื่อกดหัวหลักเขตที่ดินที่จมอยู่ใต้นำ

3. กล้องถ่ายรูป ใช้ถ่ายสถานที่

6. เพราะจะได้สัดส่วนที่เเน่นอนถูกต้องชัดเจน ไม่คลาดเคลื่อนต่อการนำไปจริง

7. เป็นจริง เพราะ  สถานที่ราชการ ธนาคาร หรือบริษัทใหญ่ๆ จะมีสิ่งศักด์ที่มีบารมี มีอำนาจ ทำให้บ้านที่อยู่ตรงข้ามมเสื่อมบารมีและมีอกำนาจน้อยลง

นางสาวประภาพรรณ เรืองทอง 49473120027
ส่งงานเก่าค่ะอาจารย์กฤษดาขอโทษทีนะค่ะที่ส่งล่าช้าเนื่องจากหนูเข้าเว็บนี้มาหลายวันแล้วค่ะแต่ไม่ทราบว่าจะไปหาคำสั่งที่อาจารย์สั่งที่ตรงไหน  พอมาวันนี้โทรไปถามรายละเอียดจากเพื่อนจึงทราบค่ะแบบฝึกหัดบทที่1ข้อผลเสียของระบบสินเชื่อต่อระบบเศรษฐกิจและประชาชนมีบ้างหรือไม่ ถ้ามีจงยกตัวอย่างที่เป็นรูปธรรม และโปรดเสนอแนวทางแก้ไขตอบผลเสียของระบบสินเชื่อที่ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจทำให้ในเศรษฐกิจมีการกู้ยืมสินเชื่อกันมากขึ้นส่งผลให้มีเงินสะพัดมากกว่าเกินไปจึงส่งให้เกิดสภาวะเงินเฟ้อ ส่งผลให้เศรษฐกิจถึงกับหยุดชะงัก ทำให้ประเทศเจอกับสภาวะที่ขาดดุล แนวทางการแก้ไข ควรให้ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนมีการชะลอการปล่อยสินเชื่อ และปล่อยสินเชื่อในกรณีเท่าที่จำเป็นเท่าที่เห็นว่าเหมาะสม ข้อ8. ท่านคิดว่าการพิจารณาสินเชื่อธุรกิจกับสินเชื่อบุคคลต่างกันหรือไม่ จงอภิปรายตอบการพิจารณาสินเชื่อธุรกิจจะแตกต่างจากการพิจารณาสินเชื่อบุคคล เพราะว่าการพิจารณาปล่อยสินเชื่อธุรกิจ   เป็นการส่งเสริมให้เกิดการลงทุนภายในระบบเศรษฐกิจ   ทำให้เศรษฐกิจเกิดมีการลงทุนเพิ่มมากขึ้น   มีเงินทุนไว้หมุนเวียนในเศรษฐกิจเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะธุรกิจการค้า อุตสาหกรรม และการท่องเที่ยว  แต่จะเน้นปล่อยสินเชื่อให้ธุรกิจเน้นการเก็งกำไรให้น้อยที่สุด   ส่วนการพิจารณาปล่อยสินเชื่อบุคคลต่างจากการพิจารณาปล่อยสินเชื่อธุรกิจเพราะการปล่อยสินเชื่อธุรกิจนี้จะปล่อยให้กับประชานชนเพื่อซื้อสินค้าอุปโภคและบริโภคเช่นการขอสินเชื่อซื้อบ้านซื้อรถซื้อทรัพย์สินส่วนบุคคลต่าง ข้อ 10. ท่านคิดว่าธนาคารพาณิชย์ในปัจจุบันสนับสนุนการให้สินเชื่อต่อประชาชนหรือไม่อย่างไรตอบ  ธนาคารพาณิชย์ให้การสนับสนุนในการให้สินเชื่อ เพราะการให้สินเชื่อกับประชาชน ประชาชนขอสินเชื่อเพื่อการลงทุนก็เท่ากับว่าส่งเสริมเศรษฐกิจให้มีการเจริญเติบโตทำให้ธนาคารมีเงินไหลเวียนในมากขึ้น ทำให้ธนาคารรายได้จากการปล่อยกู้ยืมเงินและการลงทุนประชาชนก็มีรายได้และจะนำเงินมาฝากกับธนาคาร ธนาคารก็นำเงินฝากส่วนนี้ไปปล่อยกู้สินเชื่อต่อไปได้อีก
นางสาวประภาพรรณ เรืองทอง 49473120027
ส่งงานเก่าค่ะอาจารย์กฤษดา

ขอโทษทีนะค่ะที่ส่งล่าช้าเนื่องจากหนูเข้าเว็บนี้มาหลายวันแล้วค่ะแต่ไม่ทราบว่าจะไปหาคำสั่งที่อาจารย์สั่งที่ตรงไหน  พอมาวันนี้โทรไปถามรายละเอียดจากเพื่อนจึงทราบค่ะ

 

แบบฝึกหัดบทที่1

 

ข้อผลเสียของระบบสินเชื่อต่อระบบเศรษฐกิจและประชาชนมีบ้างหรือไม่ ถ้ามีจงยกตัวอย่างที่เป็นรูปธรรม และโปรดเสนอแนวทางแก้ไข

 

ตอบผลเสียของระบบสินเชื่อที่ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจทำให้ในเศรษฐกิจมีการกู้ยืมสินเชื่อกันมากขึ้นส่งผลให้มีเงินสะพัดมากกว่าเกินไปจึงส่งให้เกิดสภาวะเงินเฟ้อ ส่งผลให้เศรษฐกิจถึงกับหยุดชะงัก ทำให้ประเทศเจอกับสภาวะที่ขาดดุล

 

แนวทางการแก้ไข ควรให้ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนมีการชะลอการปล่อยสินเชื่อ และปล่อยสินเชื่อในกรณีเท่าที่จำเป็นเท่าที่เห็นว่าเหมาะสม

 

ข้อ8. ท่านคิดว่าการพิจารณาสินเชื่อธุรกิจกับสินเชื่อบุคคลต่างกันหรือไม่ จงอภิปราย

 

ตอบการพิจารณาสินเชื่อธุรกิจจะแตกต่างจากการพิจารณาสินเชื่อบุคคล เพราะว่าการพิจารณาปล่อยสินเชื่อธุรกิจ   เป็นการส่งเสริมให้เกิดการลงทุนภายในระบบเศรษฐกิจ   ทำให้เศรษฐกิจเกิดมีการลงทุนเพิ่มมากขึ้น   มีเงินทุนไว้หมุนเวียนในเศรษฐกิจเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะธุรกิจการค้า อุตสาหกรรม และการท่องเที่ยว  แต่จะเน้นปล่อยสินเชื่อให้ธุรกิจเน้นการเก็งกำไรให้น้อยที่สุด   ส่วนการพิจารณาปล่อยสินเชื่อบุคคลต่างจากการพิจารณาปล่อยสินเชื่อธุรกิจเพราะการปล่อยสินเชื่อธุรกิจนี้จะปล่อยให้กับประชานชนเพื่อซื้อสินค้าอุปโภคและบริโภคเช่นการขอสินเชื่อซื้อบ้านซื้อรถซื้อทรัพย์สินส่วนบุคคลต่าง

 

ข้อ 10. ท่านคิดว่าธนาคารพาณิชย์ในปัจจุบันสนับสนุนการให้สินเชื่อต่อประชาชนหรือไม่อย่างไร

 ตอบ  ธนาคารพาณิชย์ให้การสนับสนุนในการให้สินเชื่อ เพราะการให้สินเชื่อกับประชาชน ประชาชนขอสินเชื่อเพื่อการลงทุนก็เท่ากับว่าส่งเสริมเศรษฐกิจให้มีการเจริญเติบโตทำให้ธนาคารมีเงินไหลเวียนในมากขึ้น ทำให้ธนาคารรายได้จากการปล่อยกู้ยืมเงินและการลงทุนประชาชนก็มีรายได้และจะนำเงินมาฝากกับธนาคาร ธนาคารก็นำเงินฝากส่วนนี้ไปปล่อยกู้สินเชื่อต่อไปได้อีก
นายอภิวันทน์ บุบผา (49473120073)

2.ตอบ มีข้อเสีย
ปัญหาที่เกิดจากการที่ปล่อยสินเชื่อโดยขาดข้อมูลที่ถูกต้อง ผู้ปล่อยสินเชื่อทำงานไม่รอบคอบขาดความรู้ทางด้านการปล่อยเงินกู้   ระบบการปล่อยสินเชื่อที่เก่าล้าสมัย เป็นผลทำให้เกิดหนี้เสียทำให้เศรษฐกิจเกิดเกิดการเติบโตล้าช้าประชาชนเป็นหนี้มากขึ้น ธนาคารมิสามารถเรียกเก็บหนี้ได้
ในคณะที่เศรษฐกิจเกิดภาวะเงินฝืด เพราะในช่วงภาวะเงินฝืดช่วงนี้เป็นช่วงที่ธุรกิจเกิดการซบเซาทำให้ผุ้ประกอบการต่างๆต้องการเงินเพื่อไปหมุนเวียนในกิจการทำให้ต้องหาทางเพื่อเปลี่ยนสินค้าให้เป็นเงินทำให้เกิดปัญหาหนี้เสียและการปล่อยสินเชื่อที่ลดลงอยู่แล้วลดลงไปอีกเป็นทำให้ภาคธุรกิจต้องปิดตัวลง ประชาชนไม่มีเงินจับจ่ายซื้อสินค้าอีกด้วย
เเละมีปัญหาตามามากมาย


8.ตอบ ต่างกัน

เพราะการปล่อยสินเชื่อธุรกิจจะมีความเสี่ยงมากกว่าการปล่อยสินเชื่อบุคคล เพราะสินเชื่อธุรกิจจะต้องใช้วงเงินกู้มากกว่า  ส่วนการปล่อยสินเชื่อให้กับบุคคลนั้นจะมีความเสี่ยงน้อยกว่า เพราะโดยทั่วไปแล้วสินเชื่อบุคคลจะกู้เงินไปเพื่อซื้อบ้านที่อยู่อาศัย และรถยนต์เป็นต้น วงเงินการปล่อยสินเชื่อก็จะน้อยกว่าสินเชื่อธุรกิจ


10. ตอบ สนับสนุน

เพราะว่าจะทำให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ส่งผลให้ธุรกิจการขายและบริการสูงขึ้นดังนั้นก็จะทำให้ระบบเศรษฐกิจมีผลดีตามไปด้วยเช่นกัน

นายอภิวันทน์ บุบผา (49473120073)

4.ต้องทำหน้าที่ตนเองให้ดีที่สุดมีความขยันต่องานที่ได้รับมอบหมาย ทำงานอย่างรอบคอบควรศึกษาข้อมูลต่างๆเกี่ยวกับการปล่อยสินเชื่อให้ดี เพื่อป้องกันการผิดพลาดต้องซื่อสัตยืกับตนเองและผู้ร่วมงานมีความนอบน้อมจะทำงานประสบผลสำเร็จ

5. ปัจจุบันดีกว่าเพราะปัจจุบันมีการตรวจสอบข้อมุลลูกค้าอย่างเข้มงวดและพนักงานก็มีประสบการมากขึ้นสามารถวางแผนและแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพเพราะเมื่อปี2539สภาพเศรษฐกิจของประเทศไทยเกิดวิกฤติเงินบาทอ่อนค่า

ควบคุมสินเชื่อในปัจจุบันให้ดีที่สุดเพราะปัจจุบันมีปัญหาเกิดขึ้นมากเราควรทำให้ดีกว่าปีที่ผ่านมาควรมีการวางแผนที่ดีต้องมีความรอบคอบทุกด้านต้องตรวจสอบข้อมูลของผุ้ขอสินเชื่อให้ละเอียดก่อนที่เราจะอนุมัติสินเชื่อออกไปจะได้ไม่มีปัญหาได้
6.แตกต่างกันที่ปริมาณสินค้า กิจการค้าปลีกเน้นการเอาใจลูกค้ามากกว่ากิจการค้าส่งเพราะกิจการค้าส่งเน้นที่การส่งสินค้าจำนวนมาก แต่มีวัตถุประสงค์เดียวกันคือต้องการกำไรเหมือนกัน

7.เป็นจริง เพราะว่าเป็นความเชื่อที่ว่าหน้าสถานที่ราชการ ธนาคาร หรือบริษัทขนาดใหญ่ จะมีตราครุฑติดไว้อยู่ด้านหน้า ซึ่งด้านฝั่งตรงข้ามที่มีตราครุฑติดไว้อยู่นั้น ถือว่าไม่ดี ต้องแก้ไขโดยการนำกระจกมาติดเพื่อให้สะท้อนกลับไป แต่ถ้ามองในทางตรงกันข้ามแล้วนั้น ตราครุฑจะเป็นสิ่งที่ปกป้องดูแลเรา ซึ่งจากความเชื่อนี้นั้น ทำให้ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่อยู่บริเวณตรงข้ามจะมีราคาต่ำกว่าที่ดินที่อยู่เยื้องออกไปเล็กน้อย เพราะทำเลที่ตั้งมีความเจริญมากกว่าและครบถ้วน


 

นางสาวประภา เลิศพัฒนวรกุล รหัส49473120026 การเงินการธนาคาร
ข้อ2

ตอบ มีผลเสียคือการที่ระบบสินเชื่อมีการปล่อยสินเชื่อง่ายเกินไปหรือปล่อยสินเชื่อโดยได้ข้อมูลมาไม่ถูกต้องทำให้ประชาชนหันมากู้กันมากขึ้น เป็นการกู้เพื่ออำนวยความสะดวกสบายหรือกู้เพื่อใช้จ่ายฟุ่มเฟือยซึ่งประชาชนบางกลุ่มที่มีรายได้ไม่พอกับรายจ่ายทำให้ไม่สามารถชำระเงินคืนได้ตรงตามระยะเวลาที่ธนาคารกำหนดไว้หรือเกิดภาวะหนี้สูญทำให้ประชาชนกลุ่มนี้ไม่สามารถทำธุรกรรมต่างๆที่เกี่ยวข้องกับธนาคารได้เช่น ซื้อบ้าน ซื้อรถยนต์ เป็นต้น หนี้เสียส่วนนี้จึงเป็นปัญหาต่อระบบเศรษฐกิจทำให้ระบบเศรษฐกิจเติบโตได้ไม่เต็มที่และเติบโตช้าแนวทางการแก้ไขปัญหาคือตรวจสอบรายได้ผู้กู้ให้รอบคอบก่อนการอนุมัติสินเชื่อ และอนุมัติสินเชื่อในวงเงินที่ไม่สูงจนเกินไปเพื่อทำให้ประชาชนสามารถชำระหนี้คืนได้

ข้อ8ตอบ ต่างกันสินเชื่อธุรกิจเป็นการให้สินเชื่อเพื่อนำมาลงทุนมีความเสี่ยงสูง พนักงานสินเชื่อต้องไปพบลูกค้าที่สถานประกอบการเพื่อตรวจสอบว่าประกอบกิจการประเภทอะไร ผิดกฏหมายหรือไม่และต้องพิจารณาอีกหลายๆอย่างซึ่งต่างกับสินเชื่อบุคคล สินเชื่อบุคลลเป็นลูกค้ารายย่อยที่อาจจะประกอบการค้าขนาดเล็กๆหรือเป็นพนักงาน ที่มีหลักฐานทางการเงิน พิจารณาจากประวัติส่วนตัวที่ได้ให้ไว้ซึ่งให้วงเงินที่ต่ำกว่าสินเชื่อธุรกิจข้อ10ตอบ สนับสนุนเพราะปัจจุบันธนาคารทุกธนาคารมีการแข่งขันการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น โดยให้สวัสดิการ ให้อัตราดอกเบี้ยต่ำวงเงินสูง อนุมัติไวทันใจ ซึ่งเป็นธุรกิจที่สถาบันการเงินทุกที่ให้บริการ ทำให้ประชาชนหันมากู้กันมากขึ้น

 

นางสาวประภาพรรณ เรืองทอง 49473120027

แบบฝึกหัดบที่ 9 เรื่องการพิจารณาหลักประกัน

 

ข้อ 4 เพราะเหตุใดการจัดแบ่งระวางจึงมักกำหนดศูนย์กลางเป็นสถานที่ที่มีความสูง

  

ตอบ เพราะการจัดแบ่งระวางนั้นเป็นที่จุดสมมติที่ถูกสมมติขึ้นมาให้เป็นจุดศูนย์กลางการทำระวางแผนที่ในโฉนดที่ดินของแต่ละจังหวัดที่กำหนดขึ้นจึงเป็นสถานที่ที่มีความสูงเนื่องจากจะได้เป็นจุดสังเกตในสมัยก่อนประเทศไทยจะไม่มีตึกสูง ๆ แบบในตอนนี้จึงทำให้สังเกตง่าย คนในสมัยก่อนจึงใช้ภูเขา เจดีย์เป็นจุดแบ่งระวาง

 

ข้อ 5.กรณีที่ท่านต้องไปสำรวจและประเมินราคาที่ดินเชิงสะพานติณสูลานนท์ซึ่งถูกน้ำท่วม ท่านจะต้องนำอุปกรณ์ชนิดใดติดตัวไปในครั้งนี้

 

ตอบ 1.ดินน้ำมันเป็นสิ่งสำคัญของการไปสำรวจครั้งนี้เนื่องจากน้ำท่วม เพื่อใช้ปักเสาหลักที่จมน้ำ

 

2. กล้องถ่ายรูป ใช้ในการเก็บภาพพื้นที่ที่เราจะไปสำรวจและประเมิน เพื่อติดประกอบในแบบสำรวจหลักทรัพย์

 

3. ไม้บรรทัด ใช้วัดขนาดที่ดินจากรูปแผนที่จากโฉนดโดยถอดจากมาตราส่วน

 

4. เทปวัด ใช้วัดขนาดของพื้นที่จริง

 

5. เข็มทิศ เพื่อใช้ในการหาทิศทางที่ตั้งของดิน

 

ข้อ. 6 ในการตรวจแผนที่โฉนดจากเอกสารถ่ายสำเนา เพระเหตุใดจึงไม่ให้ถ่ายสำเนาแบบย่อหรือขยาย

 

ตอบ เพราะการย่อ/ขยายโฉนดของจริงเวลาใช้ไม้บรรทัดวัดจะไม่ได้ขนาดพื้นที่ที่แท้จริงแต่จะทำให้มาตราส่วนในการวัดคลาดเคลื่อนได้

  

ข้อ 7. บริเวณตรงข้ามสถานที่ราชการ ธนาคาร หรือบริษัทขนาดใหญ่ ในบางครั้งที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างจะมีราคาที่ดินต่ำกว่าที่ดินที่อยู่เยื้องออกไปเล็กน้อย  ท่านคิดว่าข้อความดังกล่าวเป็นจริงหรือไม่ พราะเหตุใด

  ตอบ คิดว่าน่าจะเป็นจริง เพราะว่าเป็นความเชื่อจากที่หลาย ๆ คนเคยพูดที่ว่าหน้าสถานที่ราชการ ธนาคาร จะมีตราครุฑติดไว้ ซึ่งถ้าฝั่งตรงข้ามมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์นี้อยู่ จะมีความเชื่อว่าจะทำให้ทำกินไม่ขึ้น ทำมาค้าขายไม่เจริญเดี๋ยวก็ต้องปิดกิจการ หรือไม่ดีต่อผู้พักอาศัยภายในที่ดินนั้น ซึ่งที่คิดว่าเป็นจริงเพราะหน้าหมู่บ้านมีธนาคารกสิกรไทยแล้วฝั่งตรงข้ามเป็นร้านหมูกะทะเห็นเปิดไม่นานก็ปิดกิจการ ซึ่งจากความเชื่อทำให้ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่อยู่บริเวณตรงข้ามจะมีราคาต่ำกว่าที่ดินที่อยู่เยื้องออกไปเล็กน้อย
นายอภิวันทน์ บุบผา (49473120073)

4.ตอบ  เพราะส่วนใหญ่แล้วประเทศไทยจะเป็นที่ราบจึงมักจะกำหนดการจัดแบ่งระวางเป็นสถานที่ที่มีความสูงเพื่อจะได้สะดวกในการมองเห็น อย่างเช่น ศุนย์สงขลาได้กำหนด เจดีย์บนขาตังกวน เป็นต้น

5.ตอบ  1. เข็มทิศ ใช้ในการหาที่ตั้งของที่ดิน ใช้หาที่ตั้งของที่ดินตามโฉนดกับที่ดินที่ลูกค้านำสำรวจ ว่าอยู่ตรงกันหรือไม่ หากไม่ใช้เข็มทิศช่วยแล้ว ผู้สำรวจจะไม่ทราบแน่นอนว่าที่ดินที่ลูกค้านำมาสำรวจกับที่ดินตรงในโฉนดถูกต้องตรงกัน

2. ไม้บรรทัด  ใช้วัดขนาดของที่ดินจากรูปแผนที่หลังโฉนดโดยการถอดมาตราส่วน

3. เทปวัด ใช้วัดขนาดจริงของที่ดินหลังจากถอดมาตราส่วน

4. ดินน้ำมัน มีไว้เพื่อกดหัวหลักเขตที่ดินที่จมอยู่ใต้น้ำซึ่งผู้สำรวจไม่สามารถที่จะอ่านหมายเลขได้ จึงต้องใช้ดินน้ำมันช่วย

5. กล้องถ่ายรูป ใช้ถ่ายรูปสภาพของที่ดินขณะสำรวจเพื่อติดประกอบในแบบสำรวจหลักทรัพย์

6. ตอบ เหตุที่ไม่ให้ถ่ายสำเนาแบบย่อหรือขยาย เพราะที่ดินได้มีการกำหนดมาตราส่วนที่ดินตามความเป็นจริงไว้แล้วถ้าย่อหรือขยายก็อาจจะทำให้ข้อมูลผิดไปจากความเป็นจริงได้

7.เป็นจริง เพราะว่าเป็นความเชื่อที่ว่าหน้าสถานที่ราชการ ธนาคาร หรือบริษัทขนาดใหญ่ จะมีตราครุฑติดไว้อยู่ด้านหน้า ซึ่งด้านฝั่งตรงข้ามที่มีตราครุฑติดไว้อยู่นั้น ถือว่าไม่ดี ต้องแก้ไขโดยการนำกระจกมาติดเพื่อให้สะท้อนกลับไป แต่ถ้ามองในทางตรงกันข้ามแล้วนั้น ตราครุฑจะเป็นสิ่งที่ปกป้องดูแลเรา ซึ่งจากความเชื่อนี้นั้น ทำให้ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่อยู่บริเวณตรงข้ามจะมีราคาต่ำกว่าที่ดินที่อยู่เยื้องออกไปเล็กน้อย เพราะทำเลที่ตั้งมีความเจริญมากกว่าและครบถ้วน

ข้อ4ตอบ เพราะจุดศูนย์กลางนั้นต้องเป็นจุดที่เด่นชัดและสะดวกในการค้นหาจึงมีการจัดแบ่งระวางโดยการกำหนดจุดศูนย์กลางที่สูงข้อ5ตอบ- เข็มทิศใช้ในการหาที่ตั้งของที่ดินว่าอยู่ตรงกันกับโฉนดหรือไม่       -ไม้บรรทัดใช้วัดขนาดของที่ดินโดยการถอดมาตราส่วน       -เทปวัดใช้วัดขนาดจริง       -ดินน้ำมันเพื่อกดหัวหลักเขตที่ดินที่จมอยู่ใต้น้ำซึ่งผู้สำรวจไม่สามารถที่จะอ่านหมายเลขได้       -กล้องถ่ายรูปใช้ถ่ายสภาพที่ดินขณะสำรวจข้อ6ตอบ เพราะการถ่ายแบบขยายหรือย่อไม่เหมือนโฉนดจริงทำให้ไม่ได้มาตราส่วนตามที่กำหนดไว้อาจทำให้การวัดคาดเคลื่อนได้และอาจทำให้เห็นตัวเลขในโฉนดไม่ชัดเจนด้วยข้อ7ตอบ จริงเพราะสถานที่ราชการ  ธนาคาร หรือบริษัทขนาดใหญ่ มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่มีอำนาจ บารมีซึ่งคนไทยมีความเชื่อว่าบ้านที่อยู่ตรงข้ามจะถูกครอบงำทำให้ค้าขายไม่เจริญรุ่งเรือง
นางสาวประภา เลิศพัฒนวรกุล รหัส49473120026 การเงินการธนาคาร
ข้อ4

ตอบ เพราะจุดศูนย์กลางนั้นต้องเป็นจุดที่เด่นชัดและสะดวกในการค้นหาจึงมีการจัดแบ่งระวางโดยการกำหนดจุดศูนย์กลางที่สูง

 ข้อ5ตอบ - เข็มทิศใช้ในการหาที่ตั้งของที่ดินว่าอยู่ตรงกันกับโฉนดหรือไม่       - ไม้บรรทัดใช้วัดขนาดของที่ดินโดยการถอดมาตราส่วน       - เทปวัดใช้วัดขนาดจริง       - ดินน้ำมันเพื่อกดหัวหลักเขตที่ดินที่จมอยู่ใต้น้ำซึ่งผู้สำรวจไม่สามารถที่จะอ่านหมายเลขได้

       - กล้องถ่ายรูปใช้ถ่ายสภาพที่ดินขณะสำรวจ

 ข้อ6

ตอบ เพราะการถ่ายแบบขยายหรือย่อไม่เหมือนโฉนดจริงทำให้ไม่ได้มาตราส่วนตามที่กำหนดไว้อาจทำให้การวัดคาดเคลื่อนได้และอาจทำให้เห็นตัวเลขในโฉนดไม่ชัดเจนด้วย

 ข้อ7ตอบ จริงเพราะสถานที่ราชการ  ธนาคาร หรือบริษัทขนาดใหญ่ มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่มีอำนาจ บารมีซึ่งคนไทยมีความเชื่อว่าบ้านที่อยู่ตรงข้ามจะถูกครอบงำทำให้ค้าขายไม่เจริญรุ่งเรือง
นางสาวจิราวรรณ ใจประสิทธิ 49473120004

4.   ตอบ....เพราะเป็นสถานที่ที่สามารถเห็นได้ชัดเจน ง่ายต่อการสังเกต เช่น ศูนย์เชียงใหม่ ยอดเจดียื วัดกู่เต้า

5.   ตอบ.....-ดินน้ำมัน เพื่อใช้ปั้มหัวเสาหลักที่จมน้ำ

                   -กล้องถ่ายรูป เพื่อถ่ายสภาพพื้นที่

                   - เข็มทิศ เพื่อหาทิศทางของหลัก

6.   ตอบ....เพราะจะได้สัดส่วนที่ชัดเจนของพื้นที่ในโฉนดป้องกันการผิดพลาดในการนำไปใช้ต่อไป

7.   ตอบ....เป็นจริง เพราะสิ่งปลูกสร้างได้เผชิญอยู่กับสิ่งที่มีอำนาจบารมีใหญ่กว่าตน เช่น การมีสัญลักษณ์ตราครุฑแบบนี้อยู่หน้าธนาคาร จะทำให้สิ่งปลูกสร้างดูหมดอำนาจไปและเชื่อกันว่าการทำการค้าใดๆจะทำให้ขาดความคล่องตัวไปได้

คำถามบทที่  9

4.เพราะเหตุใดการจัดแบ่งระวาง   จึงมักกำหนดศูนย์กลางเป็นสถานที่ที่มีความสูง

      เพราะเป็นจุดที่สังเกตได้ง่าย    ทำให้สามารถกำหนดเส้นทางที่จะเดินทางไปยังจุดมุ่งหมายได้ง่ายขึ้น  เนื่องจากพื้นที่ในประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบ    ทำให้ต้องกำหนดการจัดแบ่งระวางเป็นสถานที่ที่มีความสูง   ให้แตกต่างจากพื้นที่ราบโดยรวมของประเทศไทย    แต่ก็ยังมีบางจังหวัดที่ใช้พื้นที่ราบเป็นศูนย์กลางในการจัดแบ่งระวาง   ซึ่งก็คือ  จังหวัดอยุธยา     จะใช้ทุ่งนา  อ.มหาราช    เป็นศูนย์กลางในการจัดแบ่งระวาง   เพราะจังหวัดอยุธยามีวัดและเจดีย์เป็นจำนวนมาก   จึงต้องใช้ที่ราบกว้าง    ซึ่งเป็นทุ่งนาแทนที่สูง      เพื่อหาจุดความแตกต่างที่ต่างจากเจดีย์วัดโดยรวม    เพื่อกำหนดเป็นจุดเด่นที่ง่ายต่อการกำหนดเส้นทางเดินทางไปยังจุดมุ่งหมาย 

5.กรณีที่ท่านต้องไปสำรวจและประเมินราคาที่ดินเชิงสะพานติณสูลานนท์    ซึ่งถูกน้ำท่วม    ท่านจะต้องนำอุปกรณ์ชนิดใดบ้างติดต้วไปในครั้งนี้

    - เข็มทิศ   จำเป็นต้องนำติดตัวไป   เพื่อตรวจสอบที่ตั้งของที่ดิน   ว่ามีความถูกต้องตามโฉนดหรือไม่     

    -ไม้บรรทัด   เพื่อใช้วัดขนาดของที่ดินจากโฉนดที่ดิน  โดยการถอดมาตราส่วน         

    - เทปวัด     เพื่อใช้วัดที่ดินขนาดจริง     ที่ได้ทำการถอดมาตราส่วนจากโฉนดที่ดินแล้ว  

    - กล้องถ่ายรูป    ควรนำติดตัวไปทุกครั้งที่ทำการสำรวจ   เพราะต้องใช้รูปประกอบในการขอสินเชื่อ   และเพื่อให้เห็นถึงสภาพที่ดินได้ชัดเจนขึ้น

    - ดินน้ำมัน  มีประโยชน์ในการไปสำรวจพื้นที่ที่ถูกน้ำท่วม      เพราะดินน้ำมันมีไว้เพื่อกดหัวหลักเขตที่ดินที่จมอยู่ใต้น้ำ  ซึ่งผู้สำรวจไม่สามารถอ่านหมายเลขได้จึงต้องใช้ดินน้ำมันเป็นอุปกรณ์ช่วยในการอ่านตัวเลขที่อยู่ตรงหัวหลักเขตที่ดินที่จมอยู่ใต้น้ำ  

6.ในการตรวจแผนที่โฉนดจากเอกสารถ่ายสำเนา    เพราะเหตุใดจึงไม่ให้ถ่ายสำเนาแบบย่อหรือขยาย

      เพราะในการถอดมาตราส่วน    จะถอดจากขนาดจริงตามโฉนดที่ได้มีการเทียบมาตราส่วนไว้แล้ว    ถ้านำโฉนดไปย่อหรือขยาย    จะทำให้การถอดมาตราส่วนจากโฉนดผิดส่วนไป      ส่งผลให้ที่ดินขนาดจริงผิดส่วนตามไปด้วย

7.บริเวณตรงข้ามสถานที่ราชการ   ธนาคาร    หรือบริษัทขนาดใหญ่     ในบางครั้งที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างจะมีราคาที่ต่ำกว่าที่ดินที่อยู่เยื้องออกไปเล็กน้อย    ท่านคิดว่าข้อความด้งกล่าวเป็นจริงหรือไม่    เพราะเหตุใด

    เป็นจริง   เพราะการประเมินที่ดิน   โดยส่วนใหญ่  จะใช้หลักฮวงจุ้ยเข้ามาเกี่ยวข้องเสมอ   เพราะความเชื่อของคนส่วนใหญ่  เชื่อว่าบ้านหรือที่ดินที่อยู่ตรงข้ามกับหน่วยงานทางราชการ  หรือหน่วนงานที่มีตราครุฑติดอยู่ที่ตึกของหน่วยงาน   จะไม่ดี  เพราะตราครุฑ คือสัญลักษณ์ของผู้มีอำนาจสูงมาก    ถ้าเราซื้อบ้านหรือที่ดินที่ตั้งอยู่ตรงข้าม    ซึ่งเปรียบเสมือนเราต้องเผชิญหน้ากับผู้มีอำนาจสูง    ทำให้เราต้องเผชิญกับอุปสรรคต่างๆมากมาย  ที่ได้รับอิทธิพลมาจากผู้มีอำนาจ    คนส่วนใหญ่จะไม่นิยมซื้อที่ดินนี้    เพราะฉะนั้นที่ดินบริเวณจึงมีราคาที่ถูก    ส่วนบ้าน  หรือที่ดินที่อยู่เยื้องออกไปเล็กน้อยจากสถานที่ราชการ   ธนาคาร   หรือบริษัทขนาดใหญ่  ที่ติดตราครุฑ   จะมีราคาดี   ราคาจะแพง    เพราะตามหลักฮวงจุ้ยเชื่อว่า    บ้านหรือที่ดินบริเวณนี้เป็นที่ดินที่ดี   เพราะเปรียบเสมือนเราเป็นบริวารของผู้มีอำนาจสูง    ซึ่งผู้มีอำนาจสูงจะช่วยดูแล   เกื้อหนุน   อุปถัมภ์  เรา  ให้เราดีขึ้น    ถ้ามองในหลักความเป็นจริงจะเห็นว่า   การที่ธนาคารไปตั้ง    จะบ่งบอกถึงความเจริญของสถานที่นั้น        

โทษน่ะค่ะ     ส่งช้าหน่อย    เพราะไม่รู้ว่ามีการบ้านทางเน็ต     ตอนที่อาจารย์บอกในห้อง   นึกว่าเป็นการบ้านอันเก่าค่ะ   

วิกานต์ดา ศรีเพ็ชร 49473120016

:-D   ขอโทษนะค่ะอาจารย์ที่ส่งช้า

ตอบคำถามบทที่ 1   (2) มีผลเสีย ตัวอย่างเช่น การที่ประชาชนกู้เงินมาได้จะทำให้ประชาชนเป็นคนที่ฟุ่มเฟือย และถ้าประชาชนไม่สามารถชำระหนี้ได้ปัญหาที่ตามมาก็จะส่งผลกับตัวสถาบันการเงินเองและก็จะส่งผลต่อสภาวะเศรษฐกิจของประเทศเนื่องจากการปล่อยกู้ในปริมาณมาก ๆ จะทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อ แล้วก็จะส่งผลกลับไปยังตัวประชาชนอีก ทำให้ประชาชนต้องมากู้เงินจากสถาบันการเงินอีกเรื่อย ๆ เนื่องจากภาวะเงินเฟ้อ ข้าวของเครื่องใช้มีราคาสูงขึ้น

(8) ต่างกัน เพราะการปล่อยสินเชื่อให้กับธุรกิจนั้น สถาบันการเงินมีความเสี่ยงสูงและใช้วงเงินค่อยข้างมากกว่าการปล่อยสินเชื่อให้กับประชาชน ซึ่งการปล่อยสินเชื่อให้กับประชาชนจะเป็นวงเงินที่น้อยและมีความเสี่ยงต่ำ เนื่องจากสถาบันการเงินจะมีการดูประวัติ ความเป็นมาและความสามารถในการชำระคืน

(10)  สนับสนุนนการให้สินเชื่อกับประชาชน เนื่องจากในปัจจุบันเศรษฐกิจไม่ค่อยแน่นอน สินเชื่อก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่เปิดโอกาศให้กับผู้ที่จะนำเงินไปลงทุน และยังเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนอีก และธนาคารพาณิชย์ยังช่วยส่งเสริมนโยบายให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

 

วิกานต์ดา ศรีเพ็ชร 49473120016

ตอบคำถามบทที่ 9

(4) การกำหนดศูนย์กลางในการจัดแบ่งระวางให้อยู่ในที่สูงนั้น เนื่องจากจะได้เป็นที่รู้กันของประชาชนในจังหวัดนั้น ๆ รวมถึงบุคคลทั่วไปก็สามารถที่จะไปที่กำเนิดระวางได้ง่าย เพราะเป็นที่ที่สูงและมีลักษณะที่โดดเด่นกว่าพื้นที่อื่นๆ

(5)  ดินน้ำมัน จะเป็นอุปกรณ์อย่างดีในกรณีหัวหลักเขตที่ดินจมอยู่ใต้น้ำ

       กล้องถ่ายรูป  เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญที่ต้องพกพาไปสำรวจที่ทุกครั้งเนื่องจากต้องถ่ายภาพประกอบ เพื่อพิจารณาในปล่อยสินเชื่อ

        ไม้บรรทัด   จะใช้วัดขาดของที่ดินในโฉนด เพื่อถอดมาตราส่วน

          เทปวัด เพื่อที่จะใช้ในการวัดขนาดจริงของที่ดิน

(6)  การถ่ายสำเนาโฉนดนั้น ไม่สมควรที่จะย่อหรือขยาย เนื่องจากในโฉนดที่ดินจะมีมาตราส่วนไว้ให้เปรียบเทียบกับขนาดจริงจากกับรูปแผนที่ที่ดิน และจะสามาถวัดได้กับแผนที่ในโฉนด

(7) จริง เนื่องจากสถานที่ราชการหรือไม่ว่าจะเป็นสำนักงานใด ก็มักจะมีสิ่งที่แสดงความมีอำนาจไว้อยู๋ที่ด้านหน้า เช่น รูปครุฑ ใครที่มีบ้านอยู่ตรงข้ามสถานที่ทีมีรูปครุฑจะเหมือนกันว่า จะต้องโดนอำนาจของครุฑ ซึ่งเป็นความเชื่อส่วนบุคคล ถ้าเราอยู่เยื้องออกไปบ้างก็จะเหมือนว่าเราอาศัยอำนาจช่วยให้ปกป้องคุ้มครอง ความเชื่อนี้ก็เลยส่งผลให้ราคาที่ดินแตกต่างกัน 

น.ส.ภูริดา เลาฉัตติกุล (49473120078)

 งานชิ้นที่ 2

4. เพราะเหตุใดการจัดแบ่งระวาง  จึงมักกำหนดศูนย์กลางเป็นสถานที่ๆมีความสูงตอบ  เนื่องจากพื้นที่ที่สูงจะเป็นจุดสังเกตและยึดเป็นหลักในการแบ่งระวางที่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน เพื่อเป็นจุดที่ง่ายแก่การทำการสำรวจของ  แต่บางพื้นที่ก็ต้องใช้ที่ราบเป็นหลักเช่นอยุธยา ใช้ อ.มหาราชเป็นจุดศูนย์กลางเนื่องจากในอยุธยามีวัดและเจดีย์เป็นจำนวนมากจึงต้องใช้ที่ราบกว้างแทนที่สูง  5.กรณีที่ต้องไปสำรวจและประเมินราคาที่ดินเชิงสะพานติณสูลานนท์  ซึ่งถูกน้ำท่วมท่านจะต้องนำอุปกรณ์ชนิดใดบ้างติดตัวไปในครั้งนี้ตอบ  1.เข็มทิศ  ใช้ในการหาที่ตั้งของดินตามโฉนดกับที่ดิน ที่ลูกค้านำมาประเมินว่าอยู่ตรงกันหรือไม่2.ไม้บรรทัด  ใช้วัดขนาดของที่ดินจากรูปแผนที่หลังโฉนดโดยการถอดมาตราส่วน3.เทปวัด  ใช้วัดขนาดจริงของที่ดินหลังจากถอดมาตราส่วนออกมาแล้ว4.ดินน้ำมัน  มีไว้เพื่อกดหัวหลักเขตที่ดินที่จมอยู่ใต้น้ำ ซึ่งผู้สำรวจไม่สามารถที่จะอ่านหมายเลขได้ จึงต้องใช้ดินน้ำมันช่วย ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากสำหรับสถานที่ที่น้ำท่วม5.กล้องถ่ายรูป  ใช้ถ่ายรูปสภาพของที่ดินขณะสำรวจ เพื่อติดประกอบในแบบสำรวจหลักทรัพย์ ทำให้ผู้พิจารณาเครดิตเห็นสภาพที่ดินได้ชัดเจนขึ้นและเป็นประโยชน์สำหรับผู้สำรวจครั้งต่อไป6.) ในการตรวจแผนที่โฉนดจากเอกสารถ่ายสำเนา   เพราะเหตุใดจึงไม่ให้ถ่ายสำเนาแบบย่อหรือขยายตอบ  เพราะ การถ่ายสำเนาแบบย่อหรือขยายอาจทำให้มาตราส่วนที่ถูกกำหนดมาบิดเบือนไปจากมาตราส่วนจริง และเป็นสาเหตุก่อให้เกิดความผิดพลาดต่อการพิจารณาในการปล่อยสินเชื่อ ดังนั้นเราจึงไม่ควรย่อหรือขยายโฉนดที่ดินเป็นอันขาด 7.) บริเวณตรงข้ามสถานที่ราชการ   ธนาคาร     หรือ บริษัทขนาดใหญ่ ในบางครั้งที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างจะมีราคาต่ำกว่าที่ดินที่อยู่เยื้องออกไปเล็กน้อย ท่านคิดว่าข้อความดังกล่าวเป็นจริงหรือไม่เพราะเหตุใด

ตอบ  มีความเป็นไปได้  ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความเชื่อส่วนบุคคล เนื่องจากมีความเชื่อว่า สถานที่ราชการ ธนาคาร หรือแม้กระทั่งบริษัทขนาดใหญ่มักจะมีสัญลักษณ์เป็นตราครุฑ ซึ่งทำให้ดูมีพลังและอำนาจมาก จึงทำให้เกิดความเชื่อตามมาว่าถ้าเราต้องเผชิญหน้ากับสิ่งที่ดูว่าแข็งแกร่งและยิ่งใหญ่อาจทำให้เราทำกิจการใดๆแล้วไม่เจริญรุ่งเรือง ผู้คนจึงนิยมที่ดินที่เยื้องๆออกไปจึงทำให้ที่ดินฝั่งตรงข้ามสถานที่เหล่านั้นมีราคาที่ต่ำลง

การวิเคราะห์สินเชื่อ

นโยบาย  6 C’s  เพื่อการวิเคราะห์สินเชื่อ

1.  ดูคุณสมบัติผู้ขอสินเชื่อ  (Character)  2.  ความสามารถในการชำระหนี้  (Capacity)  3.  เงินทุน  (Capital)  4.  หลักประกัน  (Collateral)  5.  สภาพทางเศรษฐกิจ  (Condition)  6.  ประเทศที่ติดต่อด้วย  (Country)   

นโยบาย  3 Ps  เพื่อการวิเคราะห์สินเชื่อ

1.  การชำระคืน  (Payment)  

2.  วัตถุประสงค์  (Purpose)  

3.  การป้องกันความเสี่ยง  (Protection)  

นอกจากนั้นยังต้องคำนึงถึงการวิเคราะห์สิ่งต่อไปนี้

วิเคราะห์ภาระหนี้สินในปัจจุบันและอนาคต

การวิเคราะห์เปรียบเทียบกับคู่แข่งขัน

 

ความสำคัญของการประมาณการต่อการวิเคราะห์สินเชื่อ ต้องคำนึงถึงปัจจัยต่อไปนี้

ปัจจัยภายในกิจการเอง  ได้แก่1.  โอกาสของการสูญเสียผู้บริหารคนสำคัญ  อันเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินกิจการ2.  วัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์และบริการของกิจการ  สั้นเกินไปหรือมีลักษณะเป็นแฟชั่นหรือไม่3.  ความเหมาะสมของการขยายกำลังการผลิต  ก่อให้เกิดการประหยัดหรือเป็นอุปสรรคต่อการบริหารกิจการ4.  นโยบายส่วนผสมผลิตภัณฑ์ทั้งส่วนกว้าง  และส่วนลึก  เหมาะสมกับกิจการหรือไม่5.  การนัดหยุดงาน  การหมุนเวียนของพนักงาน  และโอกาสการขาดแคลนบุคลากรของกิจการ6.  การขาดสภาพคล่อง  เนื่องจากการบริหารการเงินที่ผิดพลาด7.  ความยืดหยุ่น  ทันสมัยของเครื่องจักร  และปัจจัยการผลิตอื่นๆ  มีเพียงใด

ปัจจัยภายนอกกิจการ  ได้แก่

1.  ภาวะเศรษฐกิจ  อัตราดอกเบี้ยในและต่างประเทศ  การเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนและภาวะการเงินในประเทศ

2.  แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมผู้บริโภค  ปัจจัยด้านประชากรศาสตร์  ตลอดจนวัฒนธรรมและค่านิยมในสังคม  อันอาจส่งผลต่อยอดขายของกิจการ3.  กฎหมายข้อกำหนดต่างๆ  ของรัฐบาล  ตลอดจนนโยบายการค้าของต่างประเทศ  ซึ่งเป็นตลาดของกิจการลูกค้า4.  ภาวะแวดล้อม  และความแปรปรวนทางธรรมชาติ  ที่จะส่งผลกระทบต่อการดำเนินการ  เช่น  ภาวะน้ำท่วม  ดินฟ้าอากาศที่กระทบต่อวัตถุดิบ  หรือการประกอบธุรกิจตามปกติของกิจการ5.  โอกาสของการเกิดสินค้าทดแทน  และความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีใหม่ๆ  ที่จะทำให้ผลิตภัณฑ์หรือบริการ  ของกิจการมีความต้องการน้อยลง6.  การขาดแคลนวัตถุดิบ  หรือแหล่งพลังงานสำคัญของกิจการ7.  กลยุทธ์และโอกาสทางการตลาดของคู่แข่งขัน  รวมถึงแนวโน้มพัฒนาการของคู่แข่งขันและการเข้าตลาดของคู่แข่งรายใหม่

 จากเนื้อหานี้  รวมทั้งที่นักศึกษาฟังการบรรยาย  ท่านคิดว่าจะมีมุมมองในการวิเคราะห์สินเชื่อธุรกิจ Logistics ได้อย่างไรบ้าง  กรุณาให้ความเห็นให้ครบถ้วน  และส่งภายในวันศุกร์ ที่  21  ธันวาคม 2550  ก่อนเวลา  21.00 น. ครับ
น.ส. วิกานต์ดา ศรีเพ็ชร 49473120016

การวิเคราะห์สินเชื่อประเภทนี้ ต้องดูที่ความมั่นคงของธุรกิจว่ามีภาระหนี้สินมากน้อยเพียงใดและเป็นสินค้าประเภทใด เพราะจะสามารถช่วยวิเคราะห์ให้ทราบถึงขนาดและเครือข่ายของธุรกิจที่แท้จริง แล้วยังได้รับรู้ว่าสินค้าเป็นที่นิยมมากน้อยเพียงใด ถ้าเป็นสินค้าที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากหรือเป็นสินค้าที่คนในสังคมใช้กันอยู่ทั่วไป ก็แสดงว่าธุรกิจนี้มีโอกาสที่จะขยายกิจการหรือผลิตสินค้าตัวใหม่ออกมา เป็นสิ่งที่ช่วยให้การให้สินเชื่อของธนาคารมีมากขึ้น เนื่องจากความเสี่ยงมีน้อยและโอกาสในการชำระหนี้ก็มีมากขึ้นเช่นกัน

น.ส.ดวงฤทัย แสงสุวรรณ์

ถ้าพิจารณาถึงภาพรวมเศรษฐกิจในปีนี้ จะพบว่าเป็นปีที่ต้องใช้ความระมัดระวังค่อนข้างมาก ในการดำเนินธุรกิจและวางกลยุทธ์ทางการแข่งขัน เนื่องจากมีปัจจัยภายนอกส่งผลกระทบอย่างรุนแรงหลายประการ โดยเฉพาะราคาน้ำมันที่ยังคงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ถือเป็นปัจจัยหลักทำให้สินค้าต้องปรับราคาสูงขึ้น หลายบริษัทพยายามแก้ไขปัญหาด้วยการปรับปรุงรูปแบบผลิตภัณฑ์และบริการให้มีความหลากหลายเพื่อช่วยลดต้นทุน นับตั้งแต่การลดปริมาณสินค้าแต่ราคาเท่าเดิม ขายเป็นแพ็กคู่ เพิ่มราคาเพิ่มปริมาณ การจ้างผู้อื่นผลิตแทน (Outsource) เป็นต้น

ธุรกิจโลจิสติกส์ หมายถึง กิจกรรมที่มีการเคลื่อนย้าย จัดเก็บเอกสาร สินค้าสำเร็จรูปวัตถุดิบ และอื่นๆ จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งจากคำจำกัดความดังกล่าว จะเห็นได้ว่ากิจกรรมในอุตสาหกรรม โลจิสติกส์ครอบคลุมกิจกรรมตาม ISIC ประเภท I การขนส่ง ดังนั้น โลจิสติกส์และ การขนส่งจึงเป็นคำที่ใช้ทดแทนกันโดยทั่วไป

กิจกรรมหลักในการจัดการโลจิสติกส์ เช่น งานบริการลูกค้า วางแผนเกี่ยวกับตำแหน่งที่ตั้งของอาคารโรงงาน คลังสินค้า การพยากรณ์และวางแผนอุปสงค์ จัดซื้อจัดหา จัดการสินค้าคงคลังและวัตถุดิบ เคลื่อนย้ายวัตถุดิบ บรรจุหีบห่อ ดำเนินการตามคำสั่งซื้อ ขนของและจัดส่ง จัดการรับคืนสินค้า จัดการช่องทางจัดจำหน่าย กระจายสินค้า และเก็บสินค้าเข้าคลัง จัดจราจรและขนส่ง การแปรรูปเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ (รีไซเคิล) และระบบรักษาความปลอดภัย

ในมุมมองของข้าพเจ้าเกี่ยวกับเรื่องการวิเคราะห์สินเชื่อในธุรกิจLogistic มีดังนี้คือ

1.ควรมีการวิเคราะห์ในเรื่องคุณสมบัติซึ่งในที่นี้ก็ควรจะดูภาพรวมของธุรกิจที่จะขอสินเชื่อว่ามีคุณสมบัติที่เหมาะสมที่จะให้สินเชื่อหรือไม่

2.มีการหาข้อมูลของธุรกิจดังกล่าวเกี่ยวกับความสามารถในการชำระหนี้จากแหล่งต่างๆ เช่น จากแหล่งธุรกิจเอง หรือแหล่งภายนอกอื่น

3.รวมทั้งมีการขอดูข้อมูลต่างๆจากธุรกิจ เช่นงบการเงิน งบกำไรขาดทุน งบดุล เพื่อที่จะวิเคราะห์ในเรื่องของเงินทุนของธุรกิจ ควรจะมี ทรัพย์สินมากกว่าหนี้สิน และควรที่จะมีสภาพคล่องตลอดจนความสามารถในการทำกำไร

4.การที่จะให้สินเชื่อแก่ธุรกิจขนส่งนี้ ควรพิจารณาในเรื่องของหลักประกันของธุรกิจด้วย เนื่องธุรกิจนี้มีความไม่แน่นอน

5.ในการที่จะให้สินเชื่อแก่ธุรกิจlogisticนี้ควรที่จะพิจารณาถึงสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันเพื่อก่อให้เกิดความเสี่ยงน้อยที่สุด

6.ตามความเห็นของข้าพเจ้าคิดว่าการที่จะมีการพิจารณาให้สินเชื่อกับธุรกิจlogistic (ธุรกิจขนส่ง) ภายในประเทศหรือนอกประเทศ หรือจะให้กับธุรกิจที่ติดต่ดกับประเทศใดนั้นควรพิจารณาให้ถี่ถ้วน เพราะอาจจะเกิดความเสี่ยงสูงได้ถ้าจะให้สินเชื่อกับธุรกิจlogisticที่ติดต่อกับประเทศที่มีความเสี่ยงในปัจจัยหลายๆปัจจัย

จากการที่จะวิเคราะห์ให้สินเชื่อกับธุรกิจ logistic ก็ควรมีการวิเคราะห์ในภาพรวมและเจาะลึกอีกครั้งเพื่อไม่ให้เกิดความเสี่ยงและเกิดหนี้สูญ ในอนาคต

 

นางสาวดวงฤทัย แสงสุวรรณ์ 49473120003
ลือพิมพ์รหัสค่ะ
น.ส.ศรีสุภางค์ แก้วผ่อง รหัส 49473120037

 ตอบ 

โลจิสติกส์ หมายถึง กระบวนการวางแผนการดำเนินการเพื่อควบคุมประสิทธิภาพการไหลเวียนสินค้า/บริการ ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบ การจัดการคลังสินค้า บริหารต้นทุน การขนส่ง ห่วงโซ่แห่งคุณค่า ไปจนถึงจุดที่มีการใช้งานหรือถึงมือผู้บริโภค

ข้าพเจ้ามีมุมมองในการวิเคราะห์สินเชื่อธุรกิจ Logistics คือจะมีการนำนโยบาย 6 C's และนโยบาย 3 P's เข้ามาใช้ในการวิเคราะห์สินเชื่อธุรกิจ Logistics นี้ คือจะต้องดูว่าธุรกิจนี้มีคุณสมบัติเป็นอย่างไร สามารถที่จะชำระหนี้ให้ได้หรือไม่ มีเงินทุนในการทำธุรกิจอยู่มากน้อยเพียงใด  สภาพทางเศรษฐกิจของธุรกิจในขณะนี้เป็นอย่างไร กำล้งย่ำแย่หรือเปล่า ประเทศที่ธุรกิจได้ทำการติดต่อทำธุรกิจร่วมกันนั้นมีความน่าเชื่อถือได้มากน้อยเพียงใด นอกจากนี้เรายังต้องดูว่าเมื่อเราจะให้สินเชื่อกับธุรกิจนั้นแล้วจะต้องกำหนด วัน เวลา การชำระคืน และธุรกิจนั้นจะต้องชำระคืนให้ตรงตามกำหนดนั้นด้วย และเราจะต้องดูว่าวัตถุประสงค์ของธุรกิจที่ขอสินเชื่อนั้นสมควรจะให้สินเชื่อหรือไม่ และจะต้องดูว่าธุรกิจที่มาขอสินเชื่อนั้นมีความเสี่ยงมากเพียงใดที่จะเกิดความล้มเหลว เราจึงควรที่จะวิเคราะห์อย่างลึกซึ้งเพื่อที่จะทำให้สินเชื่อที่ให้ไปไม่เกิดการสูญเปล่าได้ในอนาคต 

นางสาวพรรษสิริ นามมัน 49473120060 บริหารฯ(การเงิน)
ตอบ  การที่เราจะวิเคราะห์การให้สินเชื่อกับธุรกิจของโลจิสติกส์นั้นก่อนอื่นเราจะต้องพิจารณาถึงเครติดของธุรกิจนั้นว่าเป็น อย่างไร   มีฐานะทางการเงินเป็นอย่างไร  ให้สินเชื่อไปธุรกิจจะสามารถชำระให้กับเราได้ไหม  คิดว่าในอนาคตถ้าให้สินเชื่อกับธุรกิจนี้จะมีความเสี่ยงมากน้อยเพียงใด  แต่ก็ต้องระมัดระวังให้มากเพราะในธุรกิจแบบนี้มีการแข่งขันกันสูงมากและปัจจัยในการเอื้อมต่อการดำเนินการก็มีราคาแพง  เช่น  น้ำมันนั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นในการทำธุรกิจด้านนี้ก็ต้องมีการปรับราคาสินค้าขึ้นเพื่อให้ธุรกิจของตนเองอยู่รอดได้ซึ่งก็มีต้นทุนสูงมาก  มีการเพิ่ม  Promotion กับสินค้าบ้างอย่าง หลักในการจัดการโลจิสติกส์ประกอบด้วย   งานบริการลูกค้า การวางแผนเกี่ยวกับตำแหน่งที่ตั้งของอาคารโรงงาน คลังสินค้า การพยากรณ์และการวางแผนอุปสงค์ การจัดซื้อจัดหา การจัดการสินค้าคงคลัง การจัดการวัตถุดิบ การเคลื่อนย้ายวัตถุดิบ การบรรจุหีบห่อ การดำเนินการกับคำสั่งซื้อ การขนของและการจัดส่ง การจัดการรับคืนสินค้า การจัดการช่องทางจัดจำหน่าย การกระจายสินค้า คลังสินค้าและการเก็บสินค้าเข้าคลัง การจราจรและการขนส่ง กิจกรรมการแปรรูปเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ และการรักษาความปลอดภัย โลจิสติกส์ หมายถึง กระบวนการวางแผนการดำเนินการเพื่อควบคุมประสิทธิภาพการไหลเวียนสินค้า/บริการ ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบ การจัดการคลังสินค้า บริหารต้นทุน การขนส่ง ห่วงโซ่แห่งคุณค่า ไปจนถึงจุดที่มีการใช้งานหรือถึงมือผู้บริโภค 

1. มีการวิเคราะห์ในเรื่องคุณสมบัติซึ่งในที่นี้ก็ควรจะดูภาพรวมของธุรกิจ

 

2.ขอดูข้อมูลต่างๆจากธุรกิจ เช่นงบการเงิน งบกำไรขาดทุน งบดุล เพื่อที่จะวิเคราะห์ในเรื่องของเงินทุนของธุรกิจ ว่าธุรกิจมี ทรัพย์สินมากกว่าหนี้สิน

 

3.หาข้อมูลของธุรกิจดังกล่าวเกี่ยวกับความสามารถในการชำระหนี้

 การวิเคราะห์การให้สินเชื่อธุรกิจ Logistics ก็ต้องมีการหาข้อมูลเกี่ยวกับLogistics ให้มากเพื่อจะได้รู้ในทุกด้านของธุรกิจที่เราจะวิเคราะห์สินเชื่อ ดูในวงกว้าง สภาพค่ลองของธุรกิจการเกิด หนี้ NPV ก็ควรตรวจสอบด้วยเพื่อที่จะทำให้ไม่ผิดพลาดเพราะสภาพเศรษฐกิจใจอนาคตนั้นก็ย่อมมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอจึงต้องมองกาลไกลมากเพื่อความอยู่รอดของธุรกิจนั้นๆ   
นางสาวนิภาวรรณ บุญวงศ์ รหัส 49473120018

ธุรกิจ  Logistics หมายถึง กิจกรรมที่มีการเคลื่อนย้ายจัดเก็บเอกสาร สินค้าสำเร็จรูป วัตถุดิบและอื่นๆจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งจนไปถึงจุดที่มีการใช้งานซึ่งก็คือผู้บริโภคนั่นเอง

การวิเคราะห์สินเชื่อประเภทธุรกิจ Logistics จะต้องดูถึงรายละเอียดของธุรกิจทั้งภายนอกและภายในว่าธุรกิจนั้นมีคุณสมบัติมากน้อยเพียงใด สภาพเศรษฐกิจขณะนั้นเป็นอย่างไรและจะต้องดูที่ความมั่นคงของธุรกิจประเภทของสินค้าในธุรกิจและดูจากค่าความนิยมของสินค้าว่าสินค้าเป็นที่ต้องการของตลาดและผู้บริโภคมากน้อยเพียงใดและอีกประการหนึ่งคือเราจะต้องดูถึงความสามารถในการชำระหนี้ของธุรกิจด้วยว่ามีความสามารถในการชำระหนี้มากน้อยเพียงใดเพื่อที่จะทำให้เกิดความเสี่ยงที่น้อยที่สุด

นางสาวเนตรนภา เอิบอิ่ม รหัส49473120076

Logistics หมายถึง กระบวนการวางแผนการดำเนินการเพื่อควบคุมประสิทธิภาพการไหลเวียนสินค้า/บริการซึ่งครอบคลุมตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบ การจัดการ  คลังสินค้า บริหารต้นทุน การขนส่ง ห่วงโซ่แห่งคุณค่าไปจนถึงจุดที่มีการใช้งานหรือถึงมือผู้บริโภค

ในมุมมองของข้าพเจ้าคือ การวิเคราะห์สินเชื่อประเภทธุรกิจ Logiatics นั้นจะต้อง

1.ทราบถึงข้อมูลโดยทั่วไปทั้งข้อมูลภายในและข้อมูลภายนอกของธุรกิจว่าเป็นอย่างไร

2.ธุรกิจมีคุณสมบัติมากน้อยเพียงใด

3.ภาพรวมของธุรกิจเป็นอย่างไร

4.โอกาสการเจริญเติบโตของธุรกิจมีมากน้อยขนาดไหน

5สภาพเศรษฐกิจ ณ ขณะนั้นเป็นอย่างไร

6.ธุรกิจนั้นมีความสามารถในการชำระหนี้มากน้อยเพียงใด

ดังนั้นจึงจำเป็นต้องตรวจสอบข้อมูลต่างๆของธุรกิจอย่างละเอียดว่าเป็นอย่างไรเพื่อที่จะทำให้เกิดความเสี่ยงน้อยที่สุด

นางสาวอนุสรา เอี๋ยวประเสริฐ รหัส 49473120033

Logistics คือ กระบวนการวางแผนการดำเนินการเพื่อควบคุมประสิทธิภาพการไหลเวียนสินค้า/บริการ ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบ การจัดการคลังสินค้า บริหารต้นทุน การขนส่ง ห่วงโซ่แห่งคุณค่า ไปจนถึงจุดที่มีการใช้งานหรือถึงมือผู้บริโภค

 ข้าพเจ้า มีมุมมองในการวิเคราะห์สินเชื่อกับ logistics เราควรดูว่าธุรกิจนั้นเป็นอย่างไร มีความมั่นคงทางการเงินมากน้อยเพียงใด จะเสี่ยงไหมกับการที่เราจะให้สินเชื่อ และถ้าเราให้สินเชื่อไป เราควรที่จะมีความรอบคอบ กำหนดวันและเวลาในการรับชำระหนี้ให้ดี เราควรที่จะวิเคราะห์ให้ดีและมีความรอบคอบในการให้สินเชื่อเพื่อจะได้ไม่มีปัญหาหรือเกิดการสูญเปล่าในอนาคตได้

นางสาวมลิศา ธนบัตร รหัส 49473120034

Logistics  คือ กระบวนการวางแผนดำเนินการ เพื่อควบคุมประสิทธิภาพการไหลเวียนสินค้า/บริการ ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่จัดหาวัตถุดิบ จัดการคลังสินค้า บริหารต้นทุน ขนส่ง ห่วงโซ่แห่งคุณค่าไปจนถึงจุดที่มีการใช้งาน หรือถึงมือผู้บริโภค   โลจิสติกส์ เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการจัดการซัพพลายเชนที่ช่วยวางแผน สนับสนุน ควบคุมการไหลของกิจกรรมต่างๆ ได้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล รวมทั้งเก็บรักษาสินค้า จากจุดเริ่มต้นไปจุดสุดท้าย เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า จึงเป็นกุญแจดอกสำคัญที่จะนำธุรกิจไปสู่ความเติบโตยั่งยืนในระยะยาวกิจกรรมหลักในการจัดการโลจิสติกส์ประกอบด้วย งานบริการลูกค้า การวางแผนเกี่ยวกับตำแหน่งที่ตั้งของอาคารโรงงาน คลังสินค้า การพยากรณ์และการวางแผนอุปสงค์ การจัดซื้อจัดหา การจัดการสินค้าคงคลัง การจัดการวัตถุดิบ การเคลื่อนย้ายวัตถุดิบ การบรรจุหีบห่อ การดำเนินการกับคำสั่งซื้อ การขนของและการจัดส่ง การจัดการรับคืนสินค้า การจัดการช่องทางจัดจำหน่าย การกระจายสินค้า คลังสินค้าและการเก็บสินค้าเข้าคลัง การจราจรและการขนส่ง กิจกรรมการแปรรูปเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ และการรักษาความปลอดภัย

การวิเคราะห์สินเชื่อประเภทธุรกิจ Logistics จะต้องดูถึงความเป็นอยู่ของกิจการว่าเป็นอย่างไร สภาพเศรษฐกิจนั้นอยู่ในภาวะใดบ้าง  ประกอบกับธุรกิจที่กิจการทำอยู่เนื่องจากธุรกิจส่วนใหญ่มักจะประสบกับปัญหาการรวบรวมวัตถุดิบจากแหล่งผลิต และกระจายสินค้า ความล่าช้าในการขนส่ง คุณภาพสินค้าลดลงเมื่อถึงมือผู้ซื้อที่ปลายทาง ความพึงพอใจของผู้บริโภคอยู่ในระดับที่ต่ำลง เป็นต้นการที่ต้องศึกษาสิ่งเหล่านี้ก็เพื่อที่จะใช้ Logistics  วางแผนการดำเนินการเพื่อควบคุมประสิทธิภาพการไหลเวียนสินค้า/บริการ ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบ การจัดการคลังสินค้า บริหารต้นทุน การขนส่ง  ไปจนถึงจุดที่มีการใช้งานหรือถึงมือผู้บริโภค ได้อย่างถูกต้อง  อีกประการหนึ่งคือสภาพคล่องของกิจการ ควรตรวจสอบดูให้ดีว่ากิจการมีความสามารถในการชำระหนี้มากเท่าใดเพราะเพราะหากมีอะไรผิดพลาดจะส่งผลถึงความผิดพลาดของธุรกิจอย่างมาก

นายทักษ์ดนัย ธนหิรัญพัฒน์ (49473120029)

 การวิเคราะห์ธุรกิจ Logistics สิ่งที่ต้องการวิเคราะห์คือ

ตอบ

-Logistics หมายถึง กระบวนการวางแผนการดำเนินการเพื่อควบคุมประสิทธิภาพการไหลเวียนสินค้า/บริการ ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบ การจัดการคลังสินค้า บริหารต้นทุน การขนส่ง ห่วงโซ่แห่งคุณค่า ไปจนถึงจุดที่มีการใช้งานหรือถึงมือผู้บริโภค

-เราควรมีการวิเคราะห์ในเรื่องคุณสมบัติซึ่งโดยดูจากโครงสร้างของธุรกิจที่จะขอสินเชื่อว่ามีคุณสมบัติที่เหมาะสมที่จะให้สินเชื่อหรือไม่  โคยมีการตรวจสอบข้อมูลของธุรกิจที่จะขอสินเชื่อว่ามีความสามารถในการที่จะทำกำไรหรือการจ่ายชำระหนี้ต่างๆได้อย่างไรหลักประกันก็เป็นคุณสมบัติอีกประการที่มีความสำคัญชื่งหลักประกันที่นำมานี้ควรมีความเสี่ยงต่ำที่สุดเพื่อมีกรณีที่มีปัญหาในอนาคตหลักประกันที่มีความเสี่ยงต่ำก็สามารถที่จะทำการแปลเป็นสดได้ง่ายขึ้นและที่สำคัญอย่างมากคือสถาพเศรษฐกิจซึ่งเป็นคุณสมบัติในเชิงมหภาพผู้ให้สินเชื่อควรต้องดูว่าในคณะนั้นเศรษฐกิจมีการเคลื่อนไหวอย่างไรมีการส่งผลต่อผู้ขอสินเชื่อหรือไม่

นางสาวจิราวรรณ ใจประสิทธิ์ รหัส 49473120004

ตอบ     โลจิสติกส์ หมายถึง กระบวนการวางแผนการดำเนินการเพื่อควบคุมประสิทธิภาพการไหลเวียนสินค้า/บริการ ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบ การจัดการคลังสินค้า บริหารต้นทุน การขนส่ง ห่วงโซ่แห่งคุณค่า ไปจนถึงจุดที่มีการใช้งานหรือถึงมือผู้บริโภค

      สำหรับการวิเคราะห์สินเชื่อ ธุรกิจโลจิสติส์ต้องมองไปที่โครงสร้างของธุรกิจ ว่ามีความมั่นคงมากน้อยเพียงใด โดยการตรวจสอบข้อมูลของธุรกิจในหลายๆด้าน เช่นหลักประกัน ความสามารถในการทำกำไรของธุรกิจ  ซึ่งมีผลต่อการจ่ายชำระหนี้ อาจรวมไปถึงการพิจารณามุมมองและความสามารถของผู้บริหาร เพราะถ้าเกิดการวิเคราะห์สินเชื่อไม่รอบคอบก็จะก่อให้เกิดความเสี่ยงในอนาคต

พรระวี แซ่อั้ง 49473120043

ตอบ

 โลจิสติกส์ หมายถึง กระบวนการวางแผนการดำเนินการ เพื่อควบคุมประสิทธิภาพการไหลเวียนสินค้าและบริการ ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบ การจัดการคลังสินค้า บริหารต้นทุน การขนส่ง ห่วงโซ่แห่งคุณค่า ไปจนถึงจุดที่มีการใช้งานหรือถึงมือผู้บริโภค

 ในมุมมองของข้าพเจ้า เรื่องการวิเคราะห์สินเชื่อในธุรกิจโลจิสติกส์ คือ เราควรที่จะพิจารณาถึงธุรกิจที่จะให้สินเชื่อนั้นว่า ธุรกิจนี้มีฐานะทางการเงินเป็นเช่นไร เหมาะแ่ก่การให้สินเชื่อมากน้อยเพียงใด โดยที่เราสามารถตรวจสอบข้อมูลของธุรกิจได้ เช่น ดูถึงความสามารถในการชำระหนี้ของธุรกิจ ว่ามีความสามารถมากน้อยเพียงใด ดูถึงหลักประกัน เพื่อใช้ในกรณีที่มีปัญหาในอนาคต เราจะได้สามารถนำหลักประกันมาทดแทนได้ โดยเฉพาะที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ถือเป็นหลักประกันที่มีความเสี่ยงน้อยที่สุด เพราะฉะนั้น เมื่อเราจะให้สินเชื่อแก่ใคร ควรที่จะดูให้รอบคอบก่อนตัดสินใจ เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้

นางสาวศรัญญา ยอดแก้ว 49473120019

 

ตอบการวิเคราะห์สินเชื่อในธุรกิจLogistic

การวิเคราะห์ในเรื่องคุณสมบัติซึ่งในที่นี้ก็ควรจะดูภาพรวมของธุรกิจที่จะขอสินเชื่อว่ามีคุณสมบัติที่เหมาะสมที่จะให้สินเชื่อหรือไม่มีการหาข้อมูลของธุรกิจดังกล่าวเกี่ยวกับความสามารถในการชำระหนี้จากแหล่งต่างๆ เช่น จากแหล่งธุรกิจเอง หรือแหล่งภายนอกอื่นรวมทั้งมีการขอดูข้อมูลต่างๆจากธุรกิจ เช่นงบการเงิน งบกำไรขาดทุน งบดุล เพื่อที่จะวิเคราะห์ในเรื่องของเงินทุนของธุรกิจ ควรจะมี ทรัพย์สินมากกว่าหนี้สิน และควรที่จะมีสภาพคล่องตลอดจนความสามารถในการทำกำไรการที่จะให้สินเชื่อแก่ธุรกิจขนส่งนี้ ควรพิจารณาในเรื่องของหลักประกันของธุรกิจด้วย เนื่องธุรกิจนี้มีความไม่แน่นอนในการที่จะให้สินเชื่อแก่ธุรกิจlogisticนี้ควรที่จะพิจารณาถึงสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันเพื่อก่อให้เกิดความเสี่ยงน้อยที่สุด

 

นางสาวสุทิศา เนกขัมม์ 49473120032
ตอบเริ่มแรกเราควรมีการวิเคราะห์ในเรื่องคุณสมบัติซึ่งโดยดูจากโครงสร้างของธุรกิจที่จะขอสินเชื่อว่ามีคุณสมบัติที่เหมาะสมที่จะให้สินเชื่อหรือไม่  โคยมีการตรวจสอบข้อมูลของธุรกิจที่จะขอสินเชื่อว่ามีความสามารถในการที่จะทำกำไรหรือการจ่ายชำระหนี้ต่างๆได้อย่างไรหลักประกันก็เป็นคุณสมบัติอีกประการที่มีความสำคัญชื่งหลักประกันที่นำมานี้ควรมีความเสี่ยงต่ำที่สุดเพื่อมีกรณีที่มีปัญหาในอนาคตหลักประกันที่มีความเสี่ยงต่ำก็สามารถที่จะทำการแปลเป็นสดได้ง่ายขึ้นและที่สำคัญอย่างมากคือสถาพเศรษฐกิจซึ่งเป็นคุณสมบัติในเชิงมหภาพผู้ให้สินเชื่อควรต้องดูว่าในคณะนั้นเศรษฐกิจมีการเคลื่อนไหวอย่างไรมีการส่งผลต่อผู้ขอสินเชื่อหรือไม่

ตอบ

โลจิสติกส์ หมายถึง กระบวนการวางแผนการดำเนินการ เพื่อควบคุมประสิทธิภาพการไหลเวียนสินค้า/บริการ ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบ การจัดการคลังสินค้า บริหารต้นทุน การขนส่ง ห่วงโซ่แห่งคุณค่าไปจนถึงจุดที่มีการใช้งานหรือถึงมือผู้บริโภค

ในมุมมองของข้าพเจ้า คิดว่าธุรกิจโลจิสติกส์นั้น ควรดูถึงคุณสมบัติผู้ขอสินเชื่อว่ามีลักษณะนิสัย ความประพฤติ หรืออาชีพการงานที่มีความเสี่ยงมากน้อยเพียงใด และดูถึงสภาพทางเศรษฐกิจว่า มีการเิกิดภาวะแวดล้อม ที่ส่งผลกระทบมายังธุรกิจหรือไม่ เพื่อเป็นการป้องกันความเสี่ยงได้อีกทางหนึ่ง

น.ส.อรัญญา นันทพสิริพงศ์ รหัส49473120038

โลจิสติกส์ หมายถึงกระบวนการวางแผน การดำเนินงาน และการควบคุมการเคลื่อนย้ายทั้งไปและกลับ การเก็บรักษาสินค้า บริการ และข้อมูลที่เกี่ยวข้องอย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล ตั้งแต่จุดเริ่มต้นของการผลิตไปสู่จุดสุดท้ายของการบริโภคเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า

ดังนั้นหัวใจสำคัญของการดำเนินกิจกรรมโลจิสติกส์ คือการจัดหาสินค้าหรือบริการตามความต้องการของลูกค้า และส่งมอบสินค้าไปยังสถานที่ที่ลูกค้าระบุไว้ถูกต้องตรงตามเวลา และสินค้าอยู่ในสภาพสมบูรณ์ด้วยต้นทุนที่เหมาะสม

ข้าพเจ้ามีความคิดเห็นว่า การที่จะให้สินเชื่อกับธุรกิจโลจิสติกส์นั้นก่อนอื่นเราต้องพิจารณา สภาพคล่องทางการเงินของธุรกิจนั้น ความเสี่ยงจากการดำเนินงาน โอกาสที่ธุรกิจจะเติบโตมีมากน้อยเพียงใด การชำระหนี้เป็นอย่างไร สภาพเศรษฐกิจในขณะนั้นเป็นยังไงอีกทั้งการดูรายละเอียดของธุรกิจทั้งภายนอกและภายใน ไม่ว่าจะเป็น ความต้องการทางตลาด กระบวนการผลิตมีมาตราฐานมากน้อยเพียงใด ความต้องการของลูกค้า การส่งมอบสินค้าและการจัดเก็บนั้นเป็นอย่างไร ลูกค้ามีความพึงพอใจในสินค้านั้นมากน้อยเพียงใด เป็นต้น เพื่อที่จะได้เกิดความเสี่ยงต่อการให้สินเชื่อน้อยที่สุด

น.ส.พนิดา ศรีสกุล รหัส49473120002

กิจกรรมหลักในการจัดการโลจิสติกส์ประกอบด้วย งานบริการลูกค้า การวางแผนเกี่ยวกับตำแหน่งที่ตั้งของอาคารโรงงาน คลังสินค้า การพยากรณ์และการวางแผนอุปสงค์ การจัดซื้อจัดหา การจัดการสินค้าคงคลัง การจัดการวัตถุดิบ การเคลื่อนย้ายวัตถุดิบ การบรรจุหีบห่อ การดำเนินการกับคำสั่งซื้อ การขนของและการจัดส่ง การจัดการรับคืนสินค้า การจัดการช่องทางจัดจำหน่าย การกระจายสินค้า คลังสินค้าและการเก็บสินค้าเข้าคลัง การจราจรและการขนส่ง กิจกรรมการแปรรูปเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ และการรักษาความปลอดภัย

ข้าพเจ้ามีความคิดเห็นว่า ธุรกิจโลจีสติกนั้นการให้สินเชื่อควรจะพิจารณาในด้านของการบริหารงานของธุรกิจ ความต้องการของตลาดอีกทั้งการจัดส่งสินค้าและการส่งมอบสินค้าให้แก่ลูกค้าเป็นไปในลักษณะใดการจัดเก็บสินค้าและสภาพคล่องทางการเงินของธุรกิจมีแนวโน้มไปในทางใด ดีหรือไม่ เพื่อป้องกันให้เกิดความเสี่ยงน้อยที่สุด

นางสาวสุปราณี แสนทวีสุข รหัส 49473120014

    ธุรกิจLogistics  คือ กระบวนการวางแผนดำเนินการ เพื่อควบคุมประสิทธิภาพการไหลเวียนสินค้า/บริการ ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่จัดหาวัตถุดิบ จัดการคลังสินค้า บริหารต้นทุน ขนส่ง ห่วงโซ่แห่งคุณค่าไปจนถึงจุดที่มีการใช้งาน หรือถึงมือผู้บริโภค   โลจิสติกส์ เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการจัดการซัพพลายเชนที่ช่วยวางแผน สนับสนุน ควบคุมการไหลของกิจกรรมต่างๆ ได้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล รวมทั้งเก็บรักษาสินค้า จากจุดเริ่มต้นไปจุดสุดท้าย เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า จึงเป็นกุญแจดอกสำคัญที่จะนำธุรกิจไปสู่ความเติบโตยั่งยืนในระยะยาว

     ในการวิเคราะห์สินเชื่อประเภทธุรกิจ Logistics จะต้องดูถึงความเป็นอยู่ของกิจการว่าเป็นอย่างไร สภาพเศรษฐกิจนั้นอยู่ในภาวะใดบ้าง  ประกอบกับธุรกิจที่กิจการทำอยู่เนื่องจากธุรกิจส่วนใหญ่มักจะประสบกับปัญหาการรวบรวมวัตถุดิบจากแหล่งผลิต และกระจายสินค้า ความล่าช้าในการขนส่ง คุณภาพสินค้าลดลงเมื่อถึงมือผู้ซื้อที่ปลายทาง ความพึงพอใจของผู้บริโภคอยู่ในระดับที่ต่ำลง เป็นต้นการที่ต้องศึกษาสิ่งเหล่านี้ก็เพื่อที่จะใช้ Logistics  วางแผนการดำเนินการเพื่อควบคุมประสิทธิภาพ อีกประการหนึ่งคือสภาพคล่องของกิจการ ควรตรวจสอบดูให้ดีว่ากิจการมีความสามารถในการชำระหนี้มากเท่าใดเพราะเพราะหากมีอะไรผิดพลาดจะส่งผลถึงความผิดพลาดของธุรกิจด้วยเช่นกัน

นางสาวทัศนีย์ ภูศรีฤทธิ์ 49473120015

    ตอบ      ธุรกิจของโลจิสติกส์นั้นก่อนอื่นเราจะต้องพิจารณาถึงเครติดของธุรกิจนั้นว่าเป็น อย่างไร   มีฐานะทางการเงินเป็นอย่างไร  ให้สินเชื่อไปธุรกิจจะสามารถชำระให้กับเราได้ไหม  คิดว่าในอนาคตถ้าให้สินเชื่อกับธุรกิจนี้จะมีความเสี่ยงมากน้อยเพียงใด  แต่ก็ต้องระมัดระวังให้มากเพราะในธุรกิจแบบนี้มีการแข่งขันกันสูงมากและปัจจัยในการเอื้อมต่อการดำเนินการก็มีราคาแพง  เช่น  น้ำมันนั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นในการทำธุรกิจด้านนี้ก็ต้องมีการปรับราคาสินค้าขึ้นเพื่อให้ธุรกิจของตนเองอยู่รอดได้ซึ่งก็มีต้นทุนสูงมาก  มีการเพิ่ม  Promotion กับสินค้าบ้างอย่าง หลักในการจัดการโลจิสติกส์ประกอบด้วย   งานบริการลูกค้า การวางแผนเกี่ยวกับตำแหน่งที่ตั้งของอาคารโรงงาน คลังสินค้า การพยากรณ์และการวางแผนอุปสงค์ การจัดซื้อ

               การวิเคราะห์ในเรื่องคุณสมบัติซึ่งในที่นี้ก็ควรจะดูภาพรวมของธุรกิจ  ขอดูข้อมูลต่างๆจากธุรกิจ เช่นงบการเงิน งบกำไรขาดทุน งบดุล เพื่อที่จะวิเคราะห์ในเรื่องของเงินทุนของธุรกิจ ว่าธุรกิจมี ทรัพย์สินมากกว่าหนี้สินหาข้อมูลของธุรกิจดังกล่าวเกี่ยวกับความสามารถในการชำระหนี้ การวิเคราะห์การให้สินเชื่อธุรกิจ Logistics ก็ต้องมีการหาข้อมูลเกี่ยวกับLogistics ให้มากเพื่อจะได้รู้ในทุกด้านของธุรกิจที่เราจะวิเคราะห์สินเชื่อ ดูในวงกว้าง สภาพค่ลองของธุรกิจการเกิด หนี้ NPV ก็ควรตรวจสอบด้วยเพื่อที่จะทำให้ไม่ผิดพลาดเพราะสภาพเศรษฐกิจใจอนาคตนั้นก็ย่อมมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอจึงต้องมองกาลไกลมากเพื่อความอยู่รอดของธุรกิจนั้นๆ   

นางสาวพิมศิริ ลาภโสภา รหัส 49473120024

โลจิสติกส์ คือ กระบวนการวางแผนการดำเนินการ เพื่อควบคุมประสิทธิภาพการไหลเวียนสินค้าและบริการ ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบ การจัดการคลังสินค้า บริหารต้นทุน การขนส่ง ห่วงโซ่แห่งคุณค่า ไปจนถึงจุดที่มีการใช้งานหรือถึงมือผู้บริโภค

ในมุมมองของข้าพเจ้าเรื่องการวิเคราะห์สินเชื่อในธุรกิจโลจิสติกส์ คือ เราควรคำนึงถึง ธุรกิจนั้นๆ ว่ามีฐานะทางการเงินเป็นเช่นไรเหมาะแก่การให้สินเชื่อหรือไม่ และถ้าให้ไปแล้วจะเกิดความเสี่ยงมากน้อยแค่ไหน เราควรที่จะมีความรอบ ตรวจสอบให้แน่ใจ กำหนดวัน เวลา ในการชำระหนี้ให้แน่นอน เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต

นางสาวนพรัตน์ เสมอตระกูล รหัส 49473120041

    Logistics   คือ  กระบวนการวางแผนการดำเนินการเพื่อควบคุมประสิทธิภาพการไหลเวียนสินค้า/บริการซึ่งครอบคลุมตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบ การจัดการ  คลังสินค้า บริหารต้นทุน การขนส่ง ห่วงโซ่แห่งคุณค่าไปจนถึงจุดที่มีการใช้งานหรือถึงมือผู้บริโภค

          การวิเคราะห์สินเชื่อธุรกิจ Logistics คือจะมีการนำนโยบาย 6 C's และนโยบาย 3 P's เข้ามาใช้ในการวิเคราะห์สินเชื่อธุรกิจ Logistics นี้ คือจะต้องดูว่าธุรกิจนี้มีคุณสมบัติเป็นอย่างไร สามารถที่จะชำระหนี้ให้ได้หรือไม่ มีเงินทุนในการทำธุรกิจอยู่มากน้อยเพียงใด  สภาพทางเศรษฐกิจของธุรกิจในขณะนี้เป็นอย่างไร กำล้งย่ำแย่หรือเปล่า ประเทศที่ธุรกิจได้ทำการติดต่อทำธุรกิจร่วมกันนั้นมีความน่าเชื่อถือได้มากน้อยเพียงใด นอกจากนี้เรายังต้องดูว่าเมื่อเราจะให้สินเชื่อกับธุรกิจนั้นแล้วจะต้องกำหนด วัน เวลา การชำระคืน และธุรกิจนั้นจะต้องชำระคืนให้ตรงตามกำหนดนั้นด้วย และเราจะต้องดูว่าวัตถุประสงค์ของธุรกิจที่ขอสินเชื่อนั้นสมควรจะให้สินเชื่อหรือไม่ และจะต้องดูว่าธุรกิจที่มาขอสินเชื่อนั้นมีความเสี่ยงมากเพียงใดที่จะเกิดความล้มเหลว

น.ส.สุดาทิพย์ พลับลับโพธิ์ (49473120090)

ตอบ ธุรกิจLogistics คือ กระบวนการวางแผนดำเนินการ เพื่อควบคุมประสิทธิภาพการไหลเวียนสินค้า/บริการ ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่จัดหาวัตถุดิบ จัดการคลังสินค้า บริหารต้นทุน ขนส่ง ห่วงโซ่แห่งคุณค่าไปจนถึงจุดที่มีการใช้งาน หรือถึงมือผู้บริโภค   โลจิสติกส์ เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการจัดการซัพพลายเชนที่ช่วยวางแผน สนับสนุน ควบคุมการไหลของกิจกรรมต่างๆ ได้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล รวมทั้งเก็บรักษาสินค้า จากจุดเริ่มต้นไปจุดสุดท้าย เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า จึงเป็นกุญแจดอกสำคัญที่จะนำธุรกิจไปสู่ความเติบโตยั่งยืนในระยะยาว

ในมุมมองความคิดของข้าพเจ้านั้น เรื่องของการวิเคราะห์สินเชื่อในธุรกิจโลจิสติกส์ คือ เราควรที่จะพิจารณาถึงธุรกิจที่จะให้สินเชื่อนั้นว่า ธุรกิจนี้มีฐานะทางการเงินเป็นเช่นไร เหมาะแ่ก่การให้สินเชื่อมากน้อยเพียงใด โดยที่เราสามารถตรวจสอบข้อมูลของธุรกิจได้ เช่น ดูถึงความสามารถในการชำระหนี้ของธุรกิจ ว่ามีความสามารถมากน้อยเพียงใด ดูถึงหลักประกัน เพื่อใช้ในกรณีที่มีปัญหาในอนาคต เราจะได้สามารถนำหลักประกันมาทดแทนได้ โดยเฉพาะที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ถือเป็นหลักประกันที่มีความเสี่ยงน้อยที่สุด เพราะฉะนั้น เมื่อเราจะให้สินเชื่อแก่ใคร ควรที่จะดูให้รอบคอบก่อนตัดสินใจ เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้

นางสาวศิริทิพย์ ร่มโพธิ์ภักดิ์ 49473120040

-Logistics หมายถึง กระบวนการวางแผนการดำเนินการเพื่อควบคุมประสิทธิภาพการไหลเวียนสินค้า/บริการ ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบ การจัดการคลังสินค้า บริหารต้นทุน การขนส่ง ห่วงโซ่แห่งคุณค่า ไปจนถึงจุดที่มีการใช้งานหรือถึงมือผู้บริโภค

       การวิเคราะห์ในเรื่องคุณสมบัติซึ่งโดยดูจากโครงสร้างของธุรกิจที่จะขอสินเชื่อว่ามีคุณสมบัติที่เหมาะสมที่จะให้สินเชื่อหรือไม่  โคยมีการตรวจสอบข้อมูลของธุรกิจที่จะขอสินเชื่อว่ามีความสามารถในการที่จะทำกำไรหรือการจ่ายชำระหนี้ต่างๆได้อย่างไรหลักประกันก็เป็นคุณสมบัติอีกประการที่มีความสำคัญชื่งหลักประกันที่นำมานี้ควรมีความเสี่ยงต่ำที่สุดเพื่อมีกรณีที่มีปัญหาในอนาคตหลักประกันที่มีความเสี่ยงต่ำก็สามารถที่จะทำการแปลเป็นสดได้ง่ายขึ้นและที่สำคัญอย่างมากคือสถาพเศรษฐกิจซึ่งเป็นคุณสมบัติในเชิงมหภาพผู้ให้สินเชื่อควรต้องดูว่าในคณะนั้นเศรษฐกิจมีการเคลื่อนไหวอย่างเหมาะสมที่จะให้สินเชื่อในขณะนั้นหรือไม่

นางสาวชุธิมา เหมือนงิ้ว รหัส 49473120025

-Logistics หมายถึง กระบวนการวางแผนการดำเนินการเพื่อควบคุมประสิทธิภาพการไหลเวียนสินค้า/บริการ ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบ การจัดการคลังสินค้า บริหารต้นทุน การขนส่ง ห่วงโซ่แห่งคุณค่า ไปจนถึงจุดที่มีการใช้งานหรือถึงมือผู้บริโภค

ในมุมมองของข้าพเจ้าข้าพเจ้าคิดว่าหลักการวิเคราะห์สินเชื่อของธุรกิจ Logisticsจะต้องพิจารณาถึงธุรกิจทั้งภายนอกกิจการและภายในกิจการว่าเป็นอย่างไรภายในกิจการก็คือความมั่นคงของธุรกิจ คุณสมบัติของธุรกิจว่าเป็นอย่างไร ฐานะทางการเงินของธุรกิจ โอกาสการเจริญเติบโตของธุรกิจว่ามีมากน้อยเพียงใดและต้องดูว่ากิจการนั้นมีความสามารถในการชำระหนี้มากน้อยเพียงใดถ้ามีความสามารถในการชำระหนี้มากก็สามารถที่จะให้สินเชื่อกับธุรกิจนั้นได้ส่วนทางด้านภายนอกกิจการก็คือสภาพทางเศรษฐกิจ ณ ขณะนั้นว่าเป็นอย่างไรไม่ว่าอย่างไรก็ตามการที่จะให้สินเชื่อกับธุรกิจใดก็ตามเราควรที่จะต้องตรวจสอบข้อมูลของธุรกิจนั้นๆอย่างละเอียดถี่ถ้วนเพื่อป้องกันความเสี่ยงทำให้เกิดความเสี่ยงน้อยที่สุด

นางสาวนิษา สังสำราญ 49473120017

            โลจิสติกส์(Logistics )หมายถึง กระบวนการวางแผนการดำเนินการ เพื่อควบคุมประสิทธิภาพการไหลเวียนสินค้า/บริการ ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบ การจัดการคลังสินค้า บริหารต้นทุน การขนส่ง ห่วงโซ่แห่งคุณค่าไปจนถึงจุดที่มีการใช้งานหรือถึงมือผู้บริโภค

              ในมุมมองของข้าพเจ้าการที่เราจะวิเคราะห์ธุรกิจโลจิสติกส์Logistics  ซึ่งเราจะต้องดูจากคุณสมบัติและโครงสร้างต่างๆของธุรกิจและการนำนโยบาย 6 C's และนโยบาย 3 P's เข้ามาใช้ในการวิเคราะห์สินเชื่อธุรกิจ Logistics นี้และจะต้องมีการตรวจสอบข้อมูลต่างๆหลายๆด้านให้มีความถูกต้องให้มากที่สุด รวมถึงการคำนึงถึงสภาพคล่องของธุรกิจและความเสี่ยงต่างๆด้วย

นางสาวประภาพรรณ เรืองทอง 49473120027

ลอจิสติกส์ (Logistics) เป็นระบบที่เกี่ยวข้องกับช่องทางการจัดจำหน่าย เป็นกิจกรรมเกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายสินค้าและบริการจากผู้ผลิตไปถึงมือผู้บริโภค รวมทั้งขั้นตอนการเตรียมวัตถุดิบ และการเก็บรักษาสินค้าคงคลังอีกด้วย หรือพูดง่ายๆ ว่า ลอจิสติกส์ คือการนำสินค้าและบริการที่ลูกค้าต้องการไปยังสถานที่ที่ถูกต้องในเวลาที่เหมาะสม สร้างความพอใจสูงสุดให้ลูกค้า โดยที่กิจการจะได้รับผลกำไร หรือประหยัดค่าใช้จ่าย เนื่องจากการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพนั่นเอง 


            การบริหารจัดการระบบลอจิสติกส์อย่างมีประสิทธิภาพ ย่อมทำให้ต้นทุนในเรื่องของการเคลื่อนย้าย การขนส่ง การคลังสินค้า การรักษาสินค้าต่ำ และสามารถต่อสู้กับคู่แข่งขันยืนหยัดอยู่ในตลาดที่มีการแข่งขันรุนแรงได้หรือพูดอีกนัย การจัดการระบบลอจิสติกส์ที่ดีจะเป็นหนึ่งในหนทางแห่งความเป็นเลิศของธุรกิจนั่นเอง

 

Logistics คือ ขบวนการลำเลียงหรือการไหลของสินค้าและบริการอย่างมีประสิทธิภาพ จากจุดเริ่มต้นไปยังจุดสิ้นสุด โดยมีเป้าหมายเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าซึ่งคำว่าประสิทธิภาพนั้น มีหลายองค์ประกอบตั้งแต่การวางแผนการจัดส่ง การเคลื่อนย้ายในลักษณะต่างๆตามความเหมาะสม การจัดเก็บรักษา การกระจายสินค้า การติดต่อสื่อสาร ข้อมูลสารสนเทศที่เข้ามาและออกไป การส่งมอบจนถึงมือลูกค้าอย่างถูกเวลาและสถานที่

 การที่จะวิเคราะห์ให้สินเชื่อกับธุรกิจ logistic ก็ควรมีการวิเคราะห์ในภาพรวมและเจาะลึกอีกครั้งเพื่อไม่ให้เกิดความเสี่ยงและเกิดหนี้สูญในอนาคต
น.ส.อัจฉรา อินทนนท์ 49473120091

ตอบ  Logistics   คือ  กระบวนการวางแผนการดำเนินการเพื่อควบคุมประสิทธิภาพการไหลเวียนสินค้า/บริการซึ่งครอบคลุมตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบ การจัดการ  คลังสินค้า บริหารต้นทุน การขนส่ง ห่วงโซ่แห่งคุณค่าไปจนถึงจุดที่มีการใช้งานหรือถึงมือผู้บริโภค

  การวิเคราะห์สินเชื่อธุรกิจ logistics  ในการพิจารณาวิเคราะห์สินเชื่อ ควรจะมีการดูความสามารถของธุรกิจ คุณสมบัติของผู้ขอสินเชื่อว่ามีลักษณะนิสัยอย่างไร มีความสามารถในการชำระหนี้ตรงตามเวลาที่กำหนดไว้ได้หรือไม่รวมทั้งเงินทุนของธุรกิจว่าธุรกิจมีเงินทุนมากเพียงใด หลักประกัน รวมทั้งสภาพของเศรษฐกิจในขณะนั้นๆว่าเป็นอย่างไรเหมาะกับการทำธุรกิจนั้นๆหรือไม่เนื่องจากในปัจจุบันมีการแข่งขันทางธุรกิจค่อนข้างสูงและควรมีการวิเคราะห์งบการเงินของธุรกิจเพื่อดูความสามารถในการดำเนินงานของธุรกิจ และควรมีการตรวจสอบข้อมูลต่างๆของธุรกิจอย่างละเอียดเพื่อให้เกิดความเสี่ยงน้อยที่สุด

ประภา เลิศพัฒนวรกุล รหัส 49473120026(การเงินการธนาคาร)
ตอบ โลจิสติกส์ ( logistics) หมายถึง กิจกรรมที่มีการเคลื่อนย้าย จัดเก็บ จากอีกที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง อาจมีการจัดเก็บระยะเวลานานหรือระยะเวลาชั่วคราว เช่น เอกสาร สินค้าสำเร็จรูป วัตถุดิบ และอื่น ๆ โดยโลจิสติกส์ มีศาสตร์แขนงต่างๆที่เกี่ยวข้องอยู่ 3 ศาสตร์ โดยจะมีมุมมองที่ต่างๆกัน ดังนี้1.         วิศวกรรมศาสตร์ ซึ่ง ในส่วนวิศวกรรมศาสร์นี้จะมีสาขาที่เกี่ยวข้อง คือ สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ(Industrial Engineering) และ สาขาวิศวกรรมโยธา(Civil Engineering)โดยสาขานี้จะคำนึงถึงกิจกรรมในการเคลื่อนย้ายสินค้าเป็นหลัก เพื่อให้การขนส่งสินค้านั้น มีประสิทธิภาพสูงสุด ใช้ทรัพยากรณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเชื้อเพลิง หรือ เวลาในการขนส่งให้น้อยที่สุด 2.         บริหารธุรกิจ ซึ่ง สาขานี้จะมองในเรื่อง ของการขนส่งระหว่างประเทศโดยจะพิจารณา ภาษี กฎหมาย ค่าระวาง นโยบายหรือยุทธศาสตร์ทางด้านโลจิสติกส์ของแต่ละประเทศ และ การค้าระหว่างประเทศเพื่อนำมาประกอบ การวางแผนการขนส่งสินค้าไปยังประเทศต่างๆ

3.         การจัดการสารสนเทศ ซึ่ง จะศึกษาในส่วนของ software และ hardware นำมาควบรวมกันเป็น solution หรือ บริการ ที่จะช่วยให้การดำเนินกิจกรรมทาง โลจิสติกส์มีความคล่องตัวมากขึ้น

             การวิเคราะห์สินเชื่อโลจิสติกส์ (logistics) ขึ้นอยู่กับศักยภาพของผู้ประกอบการ ส่วนจะปล่อยสินเชื่อได้มากน้อยแค่ไหน ก็ขึ้นอยู่กับเครดิตของผู้ประกอบการแต่ละราย ส่วนอัตราดอกเบี้ยก็ขึ้นอยู่กับเครดิตของผู้ประกอบการ ส่วนหลักประกันนั้น ธนาคารอนุญาตให้ผู้ขอสินเชื่อสามารถนำหลักประกันที่มีมูลค่าน้อยกว่าวงเงินมาขอสินเชื่อได้ 
นายอภิวันทน์ บุบผา (49473120073)

ตอบ  Logistics   คือ  กระบวนการวางแผนการดำเนินการเพื่อควบคุมประสิทธิภาพการไหลเวียนสินค้า/บริการซึ่งครอบคลุมตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบ การจัดการ  คลังสินค้า บริหารต้นทุน การขนส่ง ห่วงโซ่แห่งคุณค่าไปจนถึงจุดที่มีการใช้งานหรือถึงมือผู้บริโภค

เป็นระบบที่เกี่ยวข้องกับช่องทางการจัดจำหน่าย เป็นกิจกรรมเกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายสินค้าและบริการจากผู้ผลิตไปถึงมือผู้บริโภค รวมทั้งขั้นตอนการเตรียมวัตถุดิบ และการเก็บรักษาสินค้าคงคลังอีกด้วย หรือพูดง่ายๆ ว่า ลอจิสติกส์ คือการนำสินค้าและบริการที่ลูกค้าต้องการไปยังสถานที่ที่ถูกต้องในเวลาที่เหมาะสม สร้างความพอใจสูงสุดให้ลูกค้า โดยที่กิจการจะได้รับผลกำไร หรือประหยัดค่าใช้จ่าย เนื่องจากการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพนั่นเอง
ข้าพเจ้า คิดเห็นว่า ควรดูถึงคุณสมบัติผู้ขอสินเชื่อว่ามีลักษณะนิสัย ความประพฤติ หรืออาชีพการงานที่มีความเสี่ยงมากน้อยเพียงใด และดูถึงสภาพทางเศรษฐกิจว่า มีการเิกิดภาวะแวดล้อมการที่จะให้สินเชื่อกับธุรกิจโลจิสติกส์นั้นก่อนอื่นเราต้องพิจารณา สภาพคล่องทางการเงินของธุรกิจนั้น ความเสี่ยงจากการดำเนินงาน โอกาสที่ธุรกิจจะเติบโตมีมากน้อยเพียงใด การชำระหนี้เป็นอย่างไร สภาพเศรษฐกิจในขณะนั้นเป็นยังไงอีกทั้งการดูรายละเอียดของธุรกิจทั้งภายนอกและภายใน

น.ส.ภูริดา เลาฉัตติกุล (49473120078)

 สภาพัฒนาเศรษฐกิจ ได้ให้ความหมายของ Logistics ไว้ว่า การจัดการเคลื่อนย้ายของสินค้าบริการข้อมูลข่าวสารและการเงินระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภคในเรื่องของข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับ Logistics เช่น วัตถุดิบ เคมี และ สเปกที่ต้องการ

      

วัตถุประสงค์ของ Logistics ที่นำไปใช้งานได้ ถ้าเราทราบถึง Logistics ที่ทำให้เกิดเหตุการณ์ดังต่อไปนี้
 1.
แข่งขันได้
 2.
ทำให้เกิดกำไรได้
3.
ยั่งยืนได้และมั่นคง

   เป้าหมายที่สำคัญของ Logistics
 1. ความรวดเร็วในการส่งมอบสินค้า
 2. การไหลเลื่อนของสินค้า
 3. การไหลของข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ
 4. การสร้างมูลค่าเพิ่ม
 5. ลดต้นทุนในส่วนที่เกี่ยวกับการดำเนินการเกี่ยวกับสินค้าและการดูแลและขนส่งสินค้า
 6. เพิ่มศักยภาพและประสิทธิภาพ
กิจกรรม Logistics อาจประกอบด้วย
 1. การขนส่งเคลื่อนย้ายการบรรจุภัณฑ์
 2. ตัวแทนการบริหารการจัดส่งและขนส่ง
 3. กระบวนการ Clearing สินค้าและพิธีการศุลกากร
 4. คลังสินค้าภายใน หมายถึงที่พักของสินค้าเพื่อที่จะจัดส่งไปอีกที่หนึ่งรวมถึงคลังสินค้าสาธารณะและการกระจายสินค้า
หลักการการให้สินเชื่อในธุรกิจLogistic ของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจะนำนโยบาย  6 C’s  มาช่วยเพื่อการวิเคราะห์สินเชื่อ  ซึ่งมีดังนี้คือ
  1. ควรมีการวิเคราะห์ในเรื่องของคุณสมบัติของธุรกิจที่จะมาติดต่อขอสินเชื่อว่ามีคุณสมบัติที่เหมาะสมที่จะให้สินเชื่อหรือไม่
  2. ธุรกิจดังกล่าวควรมีความสามารถในการชำระหนี้ เราด้วยมีการตรวจสอบดูว่าธุรกิจนี้มีความสามารถในการชำระหนี้มากเท่าใด เช่น จากแหล่งภายในธุรกิจเอง หรือจากแหล่งภายนอกอื่นๆ
  3. 3.ทั้งนี้ควรมีการขอดูงบการเงินต่างๆของธุรกิจ เช่น งบกำไรขาดทุน งบดุล เพื่อที่จะวิเคราะห์ในเรื่องของเงินทุนของธุรกิจ ว่ามีสาภาพคล่องมากน้อยเพียงใด
  4. 4.และการที่จะให้สินเชื่อแก่ธุรกิจLogistics นี้ ควรพิจารณาในเรื่องของหลักประกันของธุรกิจด้วย ว่าธุรกิจนี้จะมีความมั่นคงมากน้อยเพียงใดและจะส่งผลกระทบต่อการให้สินเชื่อมากน้อยเพียงใด
  5. 5.ในการที่จะให้สินเชื่อแก่ธุรกิจLogisticนี้ควรที่จะพิจารณาถึงสภาพเศรษฐกิจและความนิยมของสินค้าในปัจจุบันด้วยเพื่อที่จะก่อให้เกิดความเสี่ยงกับการให้สินเชื่อในครั้งนี้น้อยที่สุด
  6. 6.ถ้าเป็นการพิจารณาให้สินเชื่อกับธุรกิจLogistic (ธุรกิจขนส่ง) ภายในประเทศหรือนอกประเทศ หรือจะให้กับธุรกิจที่ติดต่อกับประเทศใดนั้นควรมีการพิจารณาให้ถี่ถ้วน เพราะอาจจะทำให้เกิดความเสี่ยงได้ในหลายๆปัจจัย เช่นสภาพสังคมและสภาพเศรษฐกิจของประเทศนั้นๆ ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อการให้สินเชื่อก็เป็นไปได้
และสุดท้ายนี้การที่จะวิเคราะห์ให้สินเชื่อให้กับธุรกิจ Logistic ก็ควรมีการวิเคราะห์ในภาพรวมกับอีกหลายๆฝ่ายอีกครั้งเพื่อไม่ให้เกิดความเสี่ยงและเกิดหนี้สูญ ในอนาคตอีกด้วย

โลจิสติกส์ หมายถึง ต้นทุนด้านการขนส่งของประเทศ การผลิตสินค้าหรือการบริการต่างๆ ย่อมต้องมีการติดต่อ ขนส่ง เช่น ขนส่งวัตถุดิบจากแหล่งวัตถุดิบไปยังโรงงานผ่านกระบวนการผลิตจนเป็นสินค้า จากนั้นต้องมีการขนส่งสินค้าสู่ตลาดเพื่อกระจายให้ถึงผู้บริโภค ต้นทุนด้านการขนส่งมิได้หมายถึงเฉพาะค่าใช้จ่ายของยานพาหนะ แต่รวมถึงวิธีการบรรจุ หีบห่อ ขนถ่าย และป้อนเข้าโรงงาน หากทำได้รวดเร็ว
ประหยัด มีการสูญเสียน้อย  นั่นยอมหมายถึงมีต้นทุนต่ำ ในการกระจายผลผลิตสู่ตลาดและผู้บริโภคก็ต้องมีต้นทุนต่ำด้วย
 
 ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับโลจิสติกส์ จึงครอบคลุมหลายฝ่าย ตั้งแต่แหล่งวัตถุดิบ วิธีการบรรจุ ขนถ่าย กระบวนการส่ง-รับของ ผู้จัดสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งต่าง ๆ ทั้งระบบถนน ระบบราง ท่าเรือ ท่าอากาศยาน ศุลกากร และโรงเก็บสินค้า เป็นต้นต้นทุนด้านการขนส่งจะต่ำได้ต่อเมื่อการขนถ่ายและนำส่งผลิตภัณฑ์ถึงจุดหมายโดยเร็ว สูญเสียน้อย สินค้าถึงมือผู้รับตามเวลาโดยเร็ว ขั้นตอนกระบวนการศุลกากรทั้งนำเข้า-ส่งออก สะดวกรวดเร็ว ไม่ต้องเสียค่าเช่าโรงเก็บสินค้าหรือตู้คอนเทนเนอร์นานวัน ลดดอกเบี้ยของต้นทุนลงได้ด้วย

การวิเคราะห์สินเชื่อธุรกิจ logistics
          ธนาคารจะสนับสนุนในเรื่องของการส่งออกโดยตรงและเรื่องการตรวจสอบคุณภาพสินค้า การให้สินเชื่อผู้ให้บริการโลจิสติกส์ให้เขามีเงินทุนหมุนเวียน และสามารถขยายกิจการได้  ขั้นตอนการพิจารณาให้สินเชื่อไม่แตกต่างจากการขอสินเชื่อทั่วไปพิจารณาจากศักยภาพของผู้ประกอบการเป็นหลัก เช่น
กำหนดว่าต้องทำธุรกิจอย่างน้อยประมาณ 3 ปี การให้บริการสินเชื่อมีทั้งรูปแบบเงินกู้ระยะกลางและระยะยาว โดยเปิดกว้างสำหรับอุตสาหกรรมทุกประเภท

สราพร สิงหพงษ์ 49473120039

โลจิสติกส์ หมายถึง ต้นทุนด้านการขนส่งของประเทศ การผลิตสินค้าหรือการบริการต่างๆ ย่อมต้องมีการติดต่อ ขนส่ง เช่น ขนส่งวัตถุดิบจากแหล่งวัตถุดิบไปยังโรงงานผ่านกระบวนการผลิตจนเป็นสินค้า จากนั้นต้องมีการขนส่งสินค้าสู่ตลาดเพื่อกระจายให้ถึงผู้บริโภค ต้นทุนด้านการขนส่งมิได้หมายถึงเฉพาะค่าใช้จ่ายของยานพาหนะ แต่รวมถึงวิธีการบรรจุ หีบห่อ ขนถ่าย และป้อนเข้าโรงงาน หากทำได้รวดเร็ว
ประหยัด มีการสูญเสียน้อย  นั่นยอมหมายถึงมีต้นทุนต่ำ ในการกระจายผลผลิตสู่ตลาดและผู้บริโภคก็ต้องมีต้นทุนต่ำด้วย
 
 ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับโลจิสติกส์ จึงครอบคลุมหลายฝ่าย ตั้งแต่แหล่งวัตถุดิบ วิธีการบรรจุ ขนถ่าย กระบวนการส่ง-รับของ ผู้จัดสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งต่าง ๆ ทั้งระบบถนน ระบบราง ท่าเรือ ท่าอากาศยาน ศุลกากร และโรงเก็บสินค้า เป็นต้นต้นทุนด้านการขนส่งจะต่ำได้ต่อเมื่อการขนถ่ายและนำส่งผลิตภัณฑ์ถึงจุดหมายโดยเร็ว สูญเสียน้อย สินค้าถึงมือผู้รับตามเวลาโดยเร็ว ขั้นตอนกระบวนการศุลกากรทั้งนำเข้า-ส่งออก สะดวกรวดเร็ว ไม่ต้องเสียค่าเช่าโรงเก็บสินค้าหรือตู้คอนเทนเนอร์นานวัน ลดดอกเบี้ยของต้นทุนลงได้ด้วย

การวิเคราะห์สินเชื่อธุรกิจ logistics
          ธนาคารจะสนับสนุนในเรื่องของการส่งออกโดยตรงและเรื่องการตรวจสอบคุณภาพสินค้า การให้สินเชื่อผู้ให้บริการโลจิสติกส์ให้เขามีเงินทุนหมุนเวียน และสามารถขยายกิจการได้  ขั้นตอนการพิจารณาให้สินเชื่อไม่แตกต่างจากการขอสินเชื่อทั่วไปพิจารณาจากศักยภาพของผู้ประกอบการเป็นหลัก เช่น
กำหนดว่าต้องทำธุรกิจอย่างน้อยประมาณ 3 ปี การให้บริการสินเชื่อมีทั้งรูปแบบเงินกู้ระยะกลางและระยะยาว โดยเปิดกว้างสำหรับอุตสาหกรรมทุกประเภท

นางสาวศิรินภา สุขแก้ว

   ตอบ   โลจิสติกส์  หมายถึง กระบวนการวางแผนการดำเนินการเพื่อควบคุมประสิทธิภาพการไหลเวียนสินค้า/บริการ ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบ การจัดการคลังสินค้า บริหารต้นทุน การขนส่ง ห่วงโซ่แห่งคุณค่า ไปจนถึงจุดที่มีการใช้งานหรือถึงมือผู้บริโภค

สำหรับการวิเคราะห์สินเชื่อ โลจิสติกส์  นั้นเป็นมุมมองที่กว้างโดยอาจจะดูที่โครงสร้างของธุรกิจที่จะขอสินเชื่อว่ามีคุณสมบัติมากน้อยเพียงไหน  โดยมีการตรวจสอบขอมูลของธุรกิจว่ามีความสามารถในการทำกำไรหรือมีความสามารถในการชำระหนี้ได้มากน้อยเพียงใด  อีกทั้งยังต้องพิจารณาหลักประกันที่จะนำมาขอสินเชื่อมีความเสี่ยงมากน้อย เพื่อที่จะได้คาดกาลสภาพเศรษฐกิจในภายภาคหน้าว่าจะมีสภาพคล่องอย่างไร

นางสาวศิรินภา สุขแก้ว 49473120088

นางสาวศิรินภา  สุขแก้ว ลืมใส่รหัสนักศึกษาค่ะ 

 

ขอโทษค่ะ

น.ส.พวงเพ็ชร กะการดี 49473120084

กระบวนการโลจิสติกส์

       การจัดการโลจิสติกส์จะเน้นไปที่การเชื่อมโยงระหว่างกิจกรรมตั้งแต่ขั้นตอนในการจัดหาวัตถุดิบ  สินค้ และบริการ  การเคลื่อนย้ายจากต้นทางไปยังผู้บริโภคปลายทางได้ทันเวลา และมีประสิทธิภาพ โดยมีการสร้างระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์   การแปลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์    และติดตั้งซอฟท์แวร์ที่ทันสมัย   เพื่อช่วยในการบริหารจัดการ

นอกจากนี้  การเคลื่อนย้ายสินค้าในความหมายของโลจิสติกส์ยังครอบคลุมถึงการขนส่งสินค้า  การเก็บรักษาสินค้า และการกระจายสินค้า กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อ  และกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการคาดคะเนของตลาด  โดยมีเป้าหมายที่สำคัญคือ

          1.    ความรวดเร็วในการส่งมอบสินค้า 

          2  .    การไหลลื่นของสินค้า 

          3.    การไหลลื่นของข้อมูลข่าวสาร

          4.    การสร้างมูลค่าเพิ่ม  

          5.    การลดต้นทุนการดำเนินการเกี่ยวกับสินค้า การดูแลและขนส่งสินค้า  โลจิสติกส์กับห่วงโซ่อุปทาน

          หลักการของห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) คือ การให้ความสำคัญกับทุกส่วนของการผลิต ตั้งแต่ผู้ผลิต โรงงาน ผู้ค้าส่ง จนถึงผู้ค้าปลีก ให้มีส่วนร่วมรับผิดชอบในการสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า โดยทุกส่วนต้องมีการประสานงานและแลกเปลี่ยนข้อมูลต่าง ที่เป็นประโยชน์ต่อการผลิต

          การวิเคราะห์การให้สินเชื่อโลจิสติกส์ก็ต้องมีการดูรายละเอียดของธุรกิจทั้งภายนอกและภายในว่าธุรกิจนั้นมีคุณสมบัติมากน้อยเพียงใด สภาพเศรษฐกิจขณะนั้นเป็นอย่างไร

นางสาวสุขศิริ อาสา 49473120074

        ans  โลจิสติกส์ ( logistics) หมายถึง กิจกรรมที่มีการเคลื่อนย้าย จัดเก็บ จากอีกที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง อาจมีการจัดเก็บระยะเวลานานหรือระยะเวลาชั่วคราว เช่น เอกสาร สินค้าสำเร็จรูป วัตถุดิบ และอื่น ๆ โดยโลจิสติกส์ มีศาสตร์แขนงต่างๆที่เกี่ยวข้องอยู่ 3 ศาสตร์ โดยจะมีมุมมองที่ต่างๆกัน ดังนี้

  1. วิศวกรรมศาสตร์ ซึ่ง ในส่วนวิศวกรรมศาสร์นี้จะมีสาขาที่เกี่ยวข้อง คือ สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ(Industrial Engineering) และ สาขาวิศวกรรมโยธา(Civil Engineering)โดยสาขานี้จะคำนึงถึงกิจกรรมในการเคลื่อนย้ายสินค้าเป็นหลัก เพื่อให้การขนส่งสินค้านั้น มีประสิทธิภาพสูงสุด ใช้ทรัพยากรณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเชื้อเพลิง หรือ เวลาในการขนส่งให้น้อยที่สุด
  2. บริหารธุรกิจ ซึ่ง สาขานี้จะมองในเรื่อง ของการขนส่งระหว่างประเทศโดยจะพิจารณา ภาษี กฎหมาย ค่าระวาง นโยบายหรือยุทธศาสตร์ทางด้านโลจิสติกส์ของแต่ละประเทศ และ การค้าระหว่างประเทศเพื่อนำมาประกอบ การวางแผนการขนส่งสินค้าไปยังประเทศต่างๆ
  3. การจัดการสารสนเทศ ซึ่ง จะศึกษาในส่วนของ software และ hardware นำมาควบรวมกันเป็น solution หรือ บริการ ที่จะช่วยให้การดำเนินกิจกรรมทาง โลจิสติกส์มีความคล่องตัวมากขึ้น

การวิเคราะห์สินเชื่อโลจิสติกส์  ต้องมีการพิจารณาทางด้านองค์ประกอบของธุรกิจนั้นทุกๆด้านอย่างละเอียด  เพราะธุรกิจประเภทนี้เน้นกลยุทธทางด้านการแข่งขันเป็นหลัก  การชำระหนี้คืนคงไม่มีปัญหาอะไร เนื่องจากธุรกิจต้องการเงินทุนสูงคงต้องทำเครดิตให้กับตนเองอย่างแน่นอน

นาย ชัยวัฒน์ จันทสนธิ์ 49473120077
โลจิสติกส์  (Logistics)  ศัพท์ใหม่ที่น่าเชื่อว่ายังมีอีกหลายคนไม่เข้าใจถึงความหมายของคำนี้       สิทธิชัย ฝรั่งทอง ให้ความหมายไว้ในมติชนรายวัน  ฉบับวันที่ 12 พฤษภาคม พ.. 2548  คอลัมน์คลื่นความคิด  ว่า  หมายถึง โลจิสติกส์  หมายถึง  กระบวนการวางแผนการดำเนินการเพื่อควบคุมประสิทธิภาพการไหลเวียนสินค้า/บริการ ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบ การจัดการคลังสินค้า บริหารต้นทุน การขนส่ง ห่วงโซ่แห่งคุณค่าไปจนถึงจุดที่มีการใช้งานหรือถึงมือผู้บริโภค ในขณะที่  The Council of Logistics Management (CLM) ได้ให้คำนิยามของโลจิสติกส์ ไว้ว่า กระบวนการวางแผน การดำเนินงาน และการควบคุมการเคลื่อนย้ายทั้งไปและกลับ การเก็บรักษาสินค้า บริการ และข้อมูลที่เกี่ยวข้องอย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล ตั้งแต่จุดเริ่มต้นของการผลิตไปสู่จุดสุดท้ายของการบริโภคเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า โดยสรุป  โลจิสติกส์  คือ ขบวนการทำงานต่างๆ  ที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนการดำเนินการ  และการควบคุมการทำงานขององค์กรให้เกิดการเคลื่อนย้าย การจัดเก็บ  การรวบรวม  และกระจายสินค้า  วัตถุดิบ  ชิ้นส่วนประกอบ  หรืออาจรวมการบริการที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด  โดยคำนึงถึงความต้องการและความพึงพอใจของลูกค้าเป็นสำคัญโดยเป็นส่วนหนึ่งในขบวนการโซ่อุปทาน   9                   กิจกรรมหลักโลจิสติกส์
1.การให้บริการลูกค้าและการบริการหลังการขาย (customer service & support) ระบบต้องตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ คนที่ให้บริการจะรู้ถึงความต้องการ ความคาดหวัง ความพึงพอใจ ความไม่พอใจของลูกค้า เพื่อจะได้นำข้อมูลกลับเข้ามา
2.
การพยากรณ์และการวางแผน (demand forecasting & planning) เป็นเรื่องที่สำคัญ ไม่มีการพยากรณ์ที่แม่นยำถึง 100% แต่อย่างน้อยพยายามให้แม่นยำที่สุดเท่าที่จะทำได้
3.
จัดซื้อและจัดหา (purchasing & procure ment) แตกต่างกัน ถ้าจัดซื้อ เซลส์วิ่งมาเสนอสินค้าว่าจะซื้อสินค้าหรือไม่ และเราก็ตัดสินใจเลือกซื้อ แต่ถ้าเป็นการจัดหา ต้องมีสเป็กล่วงหน้ารู้ว่าต้องการอะไร และวิ่งออกไปหาซัพพลายเออร์
4.
บริหารสินค้าคงคลัง (inventory manage ment) เป็นปัญหาโลกแตก ทำอย่างไรจะทำให้มีระดับสินค้าคงคลังที่ต่ำที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพราะเป็นต้นทุนแบบหนึ่ง แต่ต้องตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้
5.
การสื่อสารข้อมูลและการรับคำสั่ง (logistics communication & order process ing) เริ่มตั้งแต่กระบวนการรับคำสั่งซื้อไปจนถึงการส่งมอบตัวสินค้าหรือบริการให้ลูกค้า
6.
เครื่องมือที่ใช้ในการลำเลียงวัตถุดิบเข้ามาในตัวระบบ และบรรจุภัณฑ์ใส่สินค้า (material handling & packaging) ทำให้บริโภคตัวสินค้าได้ไม่เสียหาย
7.
การขนส่ง (transportation) เป็นเพียงหนึ่งในหลายๆ กิจกรรมของโลจิสติกส์ แต่กิจกรรมอื่นเกิดขึ้นก่อนภายในองค์กร คนภายนอกไม่เห็น เห็นแต่การขนส่ง คือ รถบรรทุกมาจอดข้างๆ เขียนว่า โลจิสติกส์ ทำให้เข้าใจว่า โลจิสติกส์ คือ การขนส่ง
8.
คลังสินค้า การกำหนดสถานที่ตั้งคลังสินค้า บทบาทของคลังสินค้า การกระจายสินค้า (facilities site selection, warehousing & storage) ตรงนี้เป็นกิจกรรมที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดจากภายนอก
9.
การรับสินค้ากลับคืนเข้ามาในระบบ (return goods handling and reverse logistics)
โลจิสติกส์ไม่ใช่เรื่องใหม่ สิ่งที่ใหม่ คือ ความพยายามเอากิจกรรมต่างๆ มาบริหารร่วมกัน เวลาเห็นกิจกรรมตรงนี้ อาจจะมีคำถามอยู่ในใจว่า การผลิตไปไหน โลจิสติกส์เป็นเรื่องของแนวความคิด ปัจจุบันมีอยู่ 2 แนวทางด้วยกันในประเทศไทย เนื่องจากผู้เชี่ยวชาญทางด้านโลจิสติกส์ในประเทศไทย ส่วนใหญ่จบทางด้านวิศวะ มุมมองที่ออกมาทางด้านวิศวกรรมค่อนข้างมาก
โรงเรียนทางด้านวิศวกรรมจะเป็นวิศวะอุตสาหการ กิจกรรมโลจิสติกส์ จะเริ่มต้นจากระบบการผลิต และออกสู่ข้างนอก แต่สำหรับสายบริหาร โลจิสติกส์ คือ ทุกสิ่งทุกอย่างที่ไม่ใช่การผลิต
แต่สุดท้ายต้องรู้เรื่องการผลิตเหมือนกัน คนที่อยู่ทางด้านสายวิศวกรรมการผลิตต้องเรียนรู้เรื่องการตลาด การทำบัญชี
โลจิสติกส์เป็นเรื่องการจัดระบบภายในองค์กร ทุกบริษัทจะต้องรู้ก่อนว่า ต้นทุนที่แท้จริงภายในองค์กรเป็นอย่างไร จะต้องไล่ตามกิจกรรมที่เกิดขึ้น หลายๆ บริษัทไม่รู้ต้นทุนของตัวเองที่แท้จริง ทำให้สับสนพอสมควร การวิเคราะห์สินเชื่อโลจิสติกส์ (logistics) ขึ้นอยู่กับศักยภาพของผู้ประกอบการ ส่วนจะปล่อยสินเชื่อได้มากน้อยแค่ไหน ก็ขึ้นอยู่กับเครดิตของผู้ประกอบการแต่ละราย ส่วนอัตราดอกเบี้ยก็ขึ้นอยู่กับเครดิตของผู้ประกอบการ ส่วนหลักประกันนั้น ธนาคารอนุญาตให้ผู้ขอสินเชื่อสามารถนำหลักประกันที่มีมูลค่าน้อยกว่าวงเงินมาขอสินเชื่อได้ 
นาย สัญชัย สุวรรณวงค์ 49473120072
โลจิสติกส์ ( logistics) หมายถึง กิจกรรมที่มีการเคลื่อนย้าย จัดเก็บ จากอีกที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง อาจมีการจัดเก็บระยะเวลานานหรือระยะเวลาชั่วคราว เช่น เอกสาร สินค้าสำเร็จรูป วัตถุดิบ และอื่น ๆ โดยโลจิสติกส์ มีศาสตร์แขนงต่างๆที่เกี่ยวข้องอยู่ 3 ศาสตร์ โดยจะมีมุมมองที่ต่างๆกัน ดังนี้วิศวกรรมศาสตร์ ซึ่ง ในส่วนวิศวกรรมศาสร์นี้จะมีสาขาที่เกี่ยวข้อง คือ สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ(Industrial Engineering) และ สาขาวิศวกรรมโยธา(Civil Engineering)โดยสาขานี้จะคำนึงถึงกิจกรรมในการเคลื่อนย้ายสินค้าเป็นหลัก เพื่อให้การขนส่งสินค้านั้น มีประสิทธิภาพสูงสุด ใช้ทรัพยากรณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเชื้อเพลิง หรือ เวลาในการขนส่งให้น้อยที่สุด บริหารธุรกิจ ซึ่ง สาขานี้จะมองในเรื่อง ของการขนส่งระหว่างประเทศโดยจะพิจารณา ภาษี กฎหมาย ค่าระวาง นโยบายหรือยุทธศาสตร์ทางด้านโลจิสติกส์ของแต่ละประเทศ และ การค้าระหว่างประเทศเพื่อนำมาประกอบ การวางแผนการขนส่งสินค้าไปยังประเทศต่างๆ

การจัดการสารสนเทศ ซึ่ง จะศึกษาในส่วนของ software และ hardware นำมาควบรวมกันเป็น solution หรือ บริการ ที่จะช่วยให้การดำเนินกิจกรรมทาง โลจิสติกส์มีความคล่องตัวมากขึ้น

 การวิเคราะห์สินเชื่อโลจิสติกส์ (logistics) ขึ้นอยู่กับศักยภาพของผู้ประกอบการ ส่วนจะปล่อยสินเชื่อได้มากน้อยแค่ไหน ก็ขึ้นอยู่กับเครดิตของผู้ประกอบการแต่ละราย ส่วนอัตราดอกเบี้ยก็ขึ้นอยู่กับเครดิตของผู้ประกอบการ ส่วนหลักประกันนั้น ธนาคารอนุญาตให้ผู้ขอสินเชื่อสามารถนำหลักประกันที่มีมูลค่าน้อยกว่าวงเงินมาขอสินเชื่อได้  

 

นางสาว เจษฎาภรณ์ วงค์วุฒิ 49473120083

 โลจิสติกส์ หมายถึง การจัดลำเลียงสินค้าเพื่อให้เกิดค่าใช้จ่ายโดยรวมในการกระจายสินค้าต่ำที่สุด โลจิสติกส์เกี่ยวข้องตั้งแต่กระบวนการจัดหาวัตถุดิบและไปสิ้นสุด ณ จุดที่มีการบริโภคสินค้านั้น หรือในอีกความหมายหนึ่ง โลจิสติกส์เป็นกระบวนการในการจัดการวางแผน จัดสายงานและควบคุมกิจกรรมทั้งในส่วนที่มีการเคลื่อนย้ายและไม่มีการเคลื่อนย้ายในการอำนวยความสะดวกของกระบวนการไหลของสินค้า ตั้งแต่จุดเริ่มจัดหาวัตถุดิบไปถึงจุดที่มีการบริโภคโลจิสติกส์ ประกอบด้วยกิจกรรมต่างๆ 2 ลักษณะ คือ กิจกรรมหลักและกิจกรรมสนับสนุน 

การวิเคราะห์สินเชื่อโลจิสติกส์ (logistics) ขึ้นอยู่กับศักยภาพของผู้ประกอบการ ส่วนจะปล่อยสินเชื่อได้มากน้อยแค่ไหน ก็ขึ้นอยู่กับเครดิตของผู้ประกอบการแต่ละราย ส่วนอัตราดอกเบี้ยก็ขึ้นอยู่กับเครดิตของผู้ประกอบการ ส่วนหลักประกันนั้น ธนาคารอนุญาตให้ผู้ขอสินเชื่อสามารถนำหลักประกันที่มีมูลค่าน้อยกว่าวงเงินมาขอสินเชื่อได้ 
นางสาว จิราพร วงค์วุฒิ 49473120085
โลจิสติกส์ หมายถึง ต้นทุนด้านการขนส่งของประเทศ การผลิตสินค้าหรือการบริการต่างๆ ย่อมต้องมีการติดต่อ ขนส่ง เช่น ขนส่งวัตถุดิบจากแหล่งวัตถุดิบไปยังโรงงานผ่านกระ บวนการผลิตจนเป็นสินค้า จากนั้นต้องมีการขนส่งสินค้าสู่ตลาด เพื่อกระจายให้ถึงผู้บริโภค  ต้นทุนด้านการขนส่งมิได้หมายถึงเฉพาะค่าใช้จ่ายของยานพาหนะ แต่รวมถึงวิธีการบรรจุ หีบห่อ ขนถ่าย และป้อนเข้าโรงงาน หากทำได้รวดเร็ว ประหยัด มีการสูญเสียน้อย  นั่นยอมหมายถึงมีต้นทุนต่ำ ในการกระจายผลผลิตสู่ตลาดและผู้บริโภคก็ต้องมีต้นทุนต่ำด้วยการวิเคราะห์สินเชื่อโลจิสติกส์  ต้องมีการพิจารณาทางด้านองค์ประกอบของธุรกิจนั้นทุกๆด้านอย่างละเอียด  เพราะธุรกิจประเภทนี้เน้นกลยุทธทางด้านการแข่งขันเป็นหลัก  การชำระหนี้คืนคงไม่มีปัญหาอะไร เนื่องจากธุรกิจต้องการเงินทุนสูงคงต้องทำเครดิตให้กับตนเองอย่างแน่นอน

สวัสดีปีใหม่นักศึกษาที่รักทุกคน  ผมอยากให้พวกเราให้ความสำคัญกับการเขียนรายงานการวิเคราะห์สินเชื่อให้มาก ๆ เพราะมันคือหัวใจของอาชีพนี้ครับ

ลำดับหัวข้อในรายงานการวิเคราะห์สินเชื่อ  ปกติมีดังนี้

1.  สรุปผลการวิเคราะห์  จะเป็นใบสรุปการวิเคราะห์สินเชื่อ  ปกติมักไม่เกิน  2  หน้า 

2.  ลักษณะการดำเนินงานและภาวะธุรกิจโดยละเอียด 

3.  ผู้บริหารคนสำคัญหรือเจ้าของกิจการ

4.  วิเคราะห์งบการเงิน  ประกอบด้วย งบกำไรขาดทุน  งบดุล  และ  งบกระแสเงินสด

5.  วิเคราะห์ภาระหนี้สินปัจจุบันและอนาคต

6.  การวิเคราะห์เปรียบเทียบกับคู่แข่งขัน

7.  ประมาณการผลกระทบต่อกิจการในแง่ของ การดำเนินงาน  ลูกหนี้ของกิจการ  และเจ้าหนี้ของกิจการ

8.  หลักประกัน

9.  การตรวจสอบเครดิต  จากแหล่งต่างๆ 

10.  ผลการติดต่อกับธนาคาร

  จากที่กล่าวมานี้  นักศึกษาคิดว่าธุรกิจที่คุณมีความสนใจอยู่  ถ้าธนาคารจะวิเคราะห์สินเชื่อ  ควรจะพิจารณากันในแง่ใดบ้างครับ  ลองยกตัวอย่างจริง ๆและมองให้ถี่ถ้วนด้วยนะ

ผมอยากทราบคำตอบจากพวกคุณก่อน  3  ทุ่มคืนวันศุกร์นี้ครับ

 
นายอภิวันทน์ บุบผา (49473120073)

การชำระคืน
คือ ความสามารถในการดำเนินงานของผู้ขอเครดิตจะสามารถทำได้ตามสัญญาหรือไม่,ระยะเวลาที่ขอมาสั้นหรือ
ยาวไปและควรจะแก้ไขหรือไม่,การชำระคืนจะทยอยชำระเป็นงวดๆหรือครั้งเดียว,พนักงานสินเชื่อแน่ใจหรือไม่ว่า
ผู้ขอกู้จะสามารถชำระหนี้คืนตามเงื่อนไขที่ตกลงกัน
การป้องกันการเสี่ยง
เรื่องการป้องกันความเสี่ยงนั้นจะพิจารณาถึงการเสี่ยงกันจะเกิดขึ้นจากการที่ลูกค้าไม่สามารถชำระหนี้ได้ ,ในกรณีที่
ธุรกิจของลูกค้าขาดทุนลูกค้าในจะเอาเงินจากที่อื่นเช่นจากญาติพี่น้องมาชำระหนี้ธนาคารได้หรือไม่ถ้าไม่ได้จะขาย
ทรัพย์สินมาชำระหนี้ได้พอคุ้มหรือไม่ถ้าธุรกิจมีความเสี่ยงสูงธนาคารก็ต้องดูคุณภาพของทรัพย์สินที่เอาประกันว่า
มูลค่าจากการขายทอดตลาดจะพอคุ้มกับหนี้ของธนาคารหรือไม่
ในการวิเคราะห์สินเชื่อมองดูในเเง่ต่างๆๆด้วยเช่น
1.Characterหมายถึงความซื่อสัตย์สุจริตชื่อเสียงความสามารถในการดำเนินงานของผู้ขอกู้

2.capacityคือความสามารถในการชำระคืนหนี้โดยปกติเงินที่จะนำมาชำระหนี้ควรเป็นเงินรับสุทธิจากการ
ดำเนินงานคือรายได้หลังจากหักค่าใช้จ่ายต่างๆแล้วอนึ่งหากฝ่ายบริหารบริษัทมีความสามารถสูงในการ
ดำเนินงานก็จะมีความสามารถในการชำระหนี้สูง

3.Capitalผู้ให้สินเชื่อจะต้องพิจารณาว่าผู้ขอกู้มีเงินทุนในธุรกิจของตัวเองมากน้อยแค่ไหนเพราะว่าเมื่อเกิดความ
เสียหายขึ้นผลเสียหายนั้นผู้ลงทุนจะต้องรับผิดชอบก่อนนักวิเคราะห์สินเชื่อต้องพิจารณาอัตราส่วนระหว่างหนี้สิน
กับทุนของลูกค้าด้วยลูกค้าจะต้องมีเงินทุนของตัวเองบ้างพอสมควรจะพึ่งเงินกู้จากธนาคาร 100%ย่อมเป็นไปไม่ได้

4.Collateralการค้ำประกันลูกหนี้จะช่วยลดความเสี่ยงของธนาคารการค้ำประกันต่างๆได้แก่การค้ำประกัน
โดยที่ดินและสิ่งปลูกสร้างการค้ำประกันส่วนบุคคลการใช้เครื่องจักรค้ำประกันเป็นต้น

5.Conditionsหมายถึงสภาวะการณ์หรือบรรยากาศธุรกิจที่ให้ผลดีแก่การค้าได้แก่นโยบายของรัฐบาล
ในการสนับสนุนอุตสาหกรรมบางชนิดความต้องการด้านการตลาดหรือลูกค้าอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
เป็นต้น

ศิริรัตน์ บุญเจริญรุ่งเรือ (49473120071)

    ควรพิจารณาในแง่

    1. คุณสมบัติของผู้ขอสินเชื่อ(Character) หรือ การชำระคืน (Payment) เป็นการพิจารณาในเเง่การมีรายได้ในการประกอบอาชีพ หรือการทำธุรกิจว่าเพียงพอที่จะสามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนดเเละวันเวลาได้หรือไม่ เเละมีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด

    2. คุณสมบัติของผู้ขอสินเชื่อ (Character) เป็นคุณสมบัติประการเเรกที่จะพิจารราว่าผู้ขอสินเชื่อมีนิสัย ความประพฤติ หรืออาชีพที่ทำนั้นมีความเสี่ยงมากน้อยเพียงใด

    3.หลักประกัน (Collateral) เป็นการนำหลักทรัพย์ที่เป็นที่ดิน หรือสิ่งปลูกสร้าง ไปคำประกันไว้กับธนาคาร เพื่อเป็นการช่วยลดความเสี่ยงของธนาคาร

    4.เงินทุน (Captital) ต้องพิจารณาว่า ผู้ที่ขอสินเชื่อนั้นมีมูลค่าทรัพย์สินมากกว่าหนี้สินอยู่เท่าใด

    5.สภาพทางเศรษฐกิจ (Condition) เป็นการพิจารณาถึงสภาพเเวดล้อมภายนอกที่ส่งผลทั้งในเเง่บวกเเลพเเง่ลบต่อผู้ขอสินเชื่อ

    6. การป้องกันความเสี่ยง(Protection) โดยเจ้าหน้าที่ต้องนำเอกสารการชำระคืนเเละวัตถุประสงค์มาพิจารณาร่วมกันเพื่อลดความเสี่ยงลง

เนตรนภา เอิบอิ่ม รหัส 49473120076

1. การชำระคืน(Payment)ผู้ให้สินเชื่อควรพิจารณาว่าลูกค้ามีเเผนการชำระหนี้อย่างไร เเละมีความเป็นไปได้ที่จะชำระตามกำหนดเวลาได้มากน้อยเพียงใด ซึ่งขึ้นอยู่กับการหารายได้ของบุคคลนั้นๆ

2.คุณสมบัติของผู้ขอสินเชื่อ(Character)หมายถึงความประพฤติ เเละลักษณะนิสัย อาชีพการงานว่ามีความเสี่ยงมากน้อยเพียงใดในการขอสินเชื่อ

3.การป้องกันความเสี่ยง(Protection)เป็นการที่นำเอาทั้งเอกสารการชำระคืน เเละวัตถุประสงค์มาประกอบร่วมกันถึงสภาพเเวดล้อม มาพิจารณาเพื่อลดความเสี่ยง

4.หลักประกัน(Collateral)ซึ่งถ้าหากว่าไม่มีหลักในการค้ำประกันโดยเฉพาะที่ดิน(อสังหาริมทรัพย์)ก็ไม่มีโอกาศได้รับสินเชื่อ เป็นการช่วยลดควงามเสี่ยงของธนาคาร โดยการนำเอาที่ดินมาค้ำประกันไว้

5.สภาพทางเศรษฐกิจ(Condition)เป็นการพิจารณาถึงสภาพเเวดล้อม เช่น กฎหมาย การเมือง สังคม เป็นต้น

6.เงินทุน(Capital)พิจารณาว่าผู้ขอกูนั้นมีหนี้สินหรือมูลค่าทรัพย์สินมากกว่ากัน ต้องพิจารณาอัตราส่วนระหว่างหนี้สินกับทุนของลูกค้า

ขอโทษน่ะค่ะ   ส่งงานช้ามาก  ลืมค่ะ! ว่ามีงานเพิ่มอีก

งานเก่าชิ้นที่  3

คำถาม.  ท่านคิดว่าจะมีมุมมองในการวิเคราะห์สินเชื่อธุรกิจ Logistics ได้อย่างไรบ้าง 

ก่อนอื่นขอกล่าวถึงความหมายของโลจิสติกส์

โลจิสติกส์ ( logistics) หมายถึง กิจกรรมที่มีการเคลื่อนย้าย จัดเก็บ จากอีกที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง อาจมีการจัดเก็บระยะเวลานานหรือระยะเวลาชั่วคราว เช่น เอกสาร สินค้าสำเร็จรูป วัตถุดิบ และอื่น ๆ โดยโลจิสติกส์ มีศาสตร์แขนงต่างๆที่เกี่ยวข้องอยู่ 3 ศาสตร์ โดยจะมีมุมมองที่ต่างๆกัน ดังนี้

  1. วิศวกรรมศาสตร์ ซึ่ง ในส่วนวิศวกรรมศาสร์นี้จะมีสาขาที่เกี่ยวข้อง คือ สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ(Industrial Engineering) และ สาขาวิศวกรรมโยธา(Civil Engineering)โดยสาขานี้จะคำนึงถึงกิจกรรมในการเคลื่อนย้ายสินค้าเป็นหลัก เพื่อให้การขนส่งสินค้านั้น มีประสิทธิภาพสูงสุด ใช้ทรัพยากรณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเชื้อเพลิง หรือ เวลาในการขนส่งให้น้อยที่สุด
  2. บริหารธุรกิจ ซึ่ง สาขานี้จะมองในเรื่อง ของการขนส่งระหว่างประเทศโดยจะพิจารณา ภาษี กฎหมาย ค่าระวาง นโยบายหรือยุทธศาสตร์ทางด้านโลจิสติกส์ของแต่ละประเทศ และ การค้าระหว่างประเทศเพื่อนำมาประกอบ การวางแผนการขนส่งสินค้าไปยังประเทศต่างๆ
  3. การจัดการสารสนเทศ ซึ่ง จะศึกษาในส่วนของ software และ hardware นำมาควบรวมกันเป็น solution หรือ บริการ ที่จะช่วยให้การดำเนินกิจกรรมทาง โลจิสติกส์มีความคล่องตัวมากขึ้น

ในการวิเคราะห์การให้สินเชื่อธุรกิจโลจิสติกส์   ต้องวิเคราะห์โดยอิงจากสภาวะการณ์ภายในและภายนอกโดยรวมว่ามีลักษณะอย่างไร      อย่างสภาวะการณ์ภายใน   ก็อาทิเช่น   ธุรกิจโลจิสติกส์นี้สภาพโดยรวมของกิจการเป็นไปในลักษณะใด    มีหนี้สินมากน้อยเท่าใด     มีการจัดทำบัญชีลักษณ์ใด      มีแผนการบริหารงานเป็นอย่างไร   เป็นต้น     ส่วนการวิเคราะห์โดยอิงจากสภาวะการณ์ภายนอก     อาทิเช่น    วิเคราะห์จากสภาพเศรษฐกิจ   ณ  ปัจจุบันว่าลักษณะเป็นอย่างไร   ประสบปัญหาอะไรบ้าง   ณ   ขณะนี้    ในตลาดด้านธุรกิจโลจิสติกส์ มีคู่แข่งทางการค้ามากน้อยเพียงใด     เป็นต้น  และที่สำคัญควรวิเคราะห์ถึงสภาวะการณ์ภายในและภายนอกประกอบกับการให้สินเชื่อว่า ควรให้สินเชื่ออยู่ในเกณฑ์มากน้อยเพียงใด   และวิเคราะห์ในเรื่องความเสี่ยงของธุรกิจที่ได้ทำการวิเคราะห์การให้สินเชื่อด้วย 

                                                       งานใหม่  

                                     ชิ้นที่4

คำถาม . นักศึกษาคิดว่าธุรกิจที่คุณมีความสนใจอยู่  ถ้าธนาคารจะวิเคราะห์สินเชื่อ  ควรจะพิจารณากันในแง่ใดบ้างครับ  ลองยกตัวอย่างจริง ๆและมองให้ถี่ถ้วนด้วยนะ

 ควรนำหลักการวิเคราะห์สินเชื่อมาใช้เป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจ


สิ่งที่พนักงานสินเชื่อของธนาคารพิจารณาเมื่อลูกค้าขอเครดิตมี 3ประการหรือที่เรียกง่ายๆว่า 3 Pคือ
1.วัตถุประสงค์ (purpose)
2.การชำระคืน (payment)
3.การป้องกันความเสี่ยง (protection)

วัตถุประสงค์
หมายถึงการพิจารณาถึงวงเงินที่ขอมา,ชนิดของเครดิตที่ต้องการ,เครดิตที่ได้จะนำไปใช้ทำอะไรจะเป็นเงินทุน
หมุนเวียนหรือเป็นการลงทุนในทรัพย์สินถาวร,จะมีเครื่องชี้อะไรหรือไม่ว่าเครดิตที่ขอกู้อาจจะถูกนำไปใช้ผิด
วัตถุประสงค์ก็ได้

การชำระคืน
หมายถึงความสามารถในการดำเนินงานของผู้ขอเครดิตจะสามารถทำได้ตามสัญญาหรือไม่,ระยะเวลาที่ขอมาสั้นหรือ
ยาวไปและควรจะแก้ไขหรือไม่,การชำระคืนจะทยอยชำระเป็นงวดๆหรือครั้งเดียว,พนักงานสินเชื่อแน่ใจหรือไม่ว่า
ผู้ขอกู้จะสามารถชำระหนี้คืนตามเงื่อนไขที่ตกลงกัน

การป้องกันการเสี่ยง
เรื่องการป้องกันความเสี่ยงนั้นจะพิจารณาถึงการเสี่ยงกันจะเกิดขึ้นจากการที่ลูกค้าไม่สามารถชำระหนี้ได้ ,ในกรณีที่
ธุรกิจของลูกค้าขาดทุนลูกค้าในจะเอาเงินจากที่อื่นเช่นจากญาติพี่น้องมาชำระหนี้ธนาคารได้หรือไม่ถ้าไม่ได้จะขาย
ทรัพย์สินมาชำระหนี้ได้พอคุ้มหรือไม่ถ้าธุรกิจมีความเสี่ยงสูงธนาคารก็ต้องดูคุณภาพของทรัพย์สินที่เอาประกันว่า
มูลค่าจากการขายทอดตลาดจะพอคุ้มกับหนี้ของธนาคารหรือไม่

หลักอื่นๆในการวิเคราะห์สินเชื่อได้แก่.-

1.Characterหมายถึงความซื่อสัตย์สุจริตชื่อเสียงความสามารถในการดำเนินงานของผู้ขอกู้

2.capacityคือความสามารถในการชำระคืนหนี้โดยปกติเงินที่จะนำมาชำระหนี้ควรเป็นเงินรับสุทธิจากการ
ดำเนินงานคือรายได้หลังจากหักค่าใช้จ่ายต่างๆแล้วอนึ่งหากฝ่ายบริหารบริษัทมีความสามารถสูงในการ
ดำเนินงานก็จะมีความสามารถในการชำระหนี้สูง

3.Capitalผู้ให้สินเชื่อจะต้องพิจารณาว่าผู้ขอกู้มีเงินทุนในธุรกิจของตัวเองมากน้อยแค่ไหนเพราะว่าเมื่อเกิดความ
เสียหายขึ้นผลเสียหายนั้นผู้ลงทุนจะต้องรับผิดชอบก่อนนักวิเคราะห์สินเชื่อต้องพิจารณาอัตราส่วนระหว่างหนี้สิน
กับทุนของลูกค้าด้วยลูกค้าจะต้องมีเงินทุนของตัวเองบ้างพอสมควรจะพึ่งเงินกู้จากธนาคาร 100%ย่อมเป็นไปไม่ได้

4.Collateralการค้ำประกันลูกหนี้จะช่วยลดความเสี่ยงของธนาคารการค้ำประกันต่างๆได้แก่การค้ำประกัน
โดยที่ดินและสิ่งปลูกสร้างการค้ำประกันส่วนบุคคลการใช้เครื่องจักรค้ำประกันเป็นต้น

5.Conditionsหมายถึงสภาวะการณ์หรือบรรยากาศธุรกิจที่ให้ผลดีแก่การค้าได้แก่นโยบายของรัฐบาล
ในการสนับสนุนอุตสาหกรรมบางชนิดความต้องการด้านการตลาดหรือลูกค้าอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
เป็นต้น

หรืออาจใช้หลักการ 2ทางออกคือ

First way outหมายถึงการคาดหวังว่าจะได้รับชำระคืนเงินต้นและดอกเบี้ยจากผลการดำเนินงานของผู้ขอกู้
เป็นอันดับแรก
Second way outหมายถึงถ้าผู้กู้ไม่สามารถชำระหนี้คืนได้ก็เป็นทางออกสุดท้ายนั่นก็คือการยึดหลักประกันของผู้กู้
เพื่อนำไปชำระหนี้   

เราจะเห็นว่าธนาคารส่วนใหญ่ก็นำหลักการวิเคราะห์สินเชื่อมาใช้เป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจให้สินเชื่อแก่ภาคธุรกิจ     เพราะหลักเกณฑ์นี้สามารถนำมาใช้ในการวิเคราะห์การให้สินเชื่อค่อนข้างละเอียด  และครอบคลุมถึงข้อมูลค่อนข้างมาก    

ตัวอย่างธุรกิจ    เช่น   

ธุรกิจ  e - commerce

เป็นธุรกิจที่ขยายตัวค่อนข้างไว     ควรวิเคราะห์ถึงสภาวะการณ์ทั้งภายในธุรกิจ   และสภาวะการณ์ภายนอกของธูรกิจด้วย    

โดยใช้นโยบาย   6 'C   และนโยบาย  3 'P

มาใช้ในการวิเคราะห์การให้สินเชื่อแก่ธุรกิจ   e - Commerce   จะทำให้การวิเคราะห์ไวขึ้น   และละเอียดขึ้น   เพราะหลักเกณฑ์นี้เป็นหลักเกณฑ์สากลที่ใช้กันอยู่ทุกมุมโลก   จึงทำให้ระยะเวลาในการวิเคราะห์สินเชื่อเร็วและละเอียดขึ้น    ซึ่งส่งผลให้ธุรกิจสามารถนำเงินทุนกู้ยืมจากธนาคารมาใช้ในการขยายตัวของธุรกิจได้ไวขึ้น    และส่งผลสะท้อนถึงสภาพทางเศรษฐกิจที่ดีอีกด้วย

                                                     ขอโทษค่ะ !   

                           ลืมกรอกรหัสนักศึกษา

รหัส     49473120089

นางสาวสุภาวรรณ จืแอ

หลักในการวิเคราะห์สินเชื่อ

1.Characterหมายถึงความซื่อสัตย์สุจริตชื่อเสียงความสามารถในการดำเนินงานของผู้ขอกู้

2.capacityคือความสามารถในการชำระคืนหนี้โดยปกติเงินที่จะนำมาชำระหนี้ควรเป็นเงินรับสุทธิจากการ
ดำเนินงานคือรายได้หลังจากหักค่าใช้จ่ายต่างๆแล้วอนึ่งหากฝ่ายบริหารบริษัทมีความสามารถสูงในการ
ดำเนินงานก็จะมีความสามารถในการชำระหนี้สูง

3.Capitalผู้ให้สินเชื่อจะต้องพิจารณาว่าผู้ขอกู้มีเงินทุนในธุรกิจของตัวเองมากน้อยแค่ไหนเพราะว่าเมื่อเกิดความ
เสียหายขึ้นผลเสียหายนั้นผู้ลงทุนจะต้องรับผิดชอบก่อนนักวิเคราะห์สินเชื่อต้องพิจารณาอัตราส่วนระหว่างหนี้สิน
กับทุนของลูกค้าด้วยลูกค้าจะต้องมีเงินทุนของตัวเองบ้างพอสมควรจะพึ่งเงินกู้จากธนาคาร 100%ย่อมเป็นไปไม่ได้

4.Collateralการค้ำประกันลูกหนี้จะช่วยลดความเสี่ยงของธนาคารการค้ำประกันต่างๆได้แก่การค้ำประกัน
โดยที่ดินและสิ่งปลูกสร้างการค้ำประกันส่วนบุคคลการใช้เครื่องจักรค้ำประกันเป็นต้น

5.Conditionหมายถึงสภาวะการณ์หรือบรรยากาศธุรกิจที่ให้ผลดีแก่การค้าได้แก่นโยบายของรัฐบาล
ในการสนับสนุนอุตสาหกรรมบางชนิดความต้องการด้านการตลาดหรือลูกค้าอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
เป็นต้น

6.Conditionเป็นการพิจารณาถึงสภาพเเวดล้อม เช่น กฎหมาย การเมือง สังคม เป็นต้น

นโยบาย 3P's

1.วัตถุประสงค์ (purpose)
2.การชำระคืน (payment)
3.การป้องกันความเสี่ยง (protection)



 

นายทักษ์ดนัย ธนหิรัญพัฒน์ (49473120029)

1.คุณสมบัติของผู้ขอสินเชื่อCharacterเป็นคุณสมบัติขั้นต้นที่ผู้ให้สินเชื่อพิจารณาว่าผู้ขอสินเชื่อมีลักษณะความประพฤติ เเละลักษณะนิสัย อาชีพการงานว่ามีความเสี่ยงมากน้อยเพียงใดในการขอสินเชื่อ

2.ความสามารถในการชำระหนี้capacityคือความสามารถในการชำระคืนหนี้ที่ผู้ขอสินเชื่อสามารถที่จะชำระได้หรือไม่ในแง่ของธุรกิจก็จะพิจารณาของงบการเงินในอดีตและประมานรายได้ในอนาคต

3.เงินทุนCapitalเป็นอีกคุณสมบัติในการขอสินเชื่อเป็นการดูที่ว่าผู้ขอสินเชื่อนั้นมีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สินในปัจจุบันอยู่เท่าไรเป็นการดูที่ว่าด้วยการที่มีหนี้สินหนี้นั้นเป็นการมีที่มากกว่าเงินทุนหรือไม่


 

4.หลักประกันCollateralหลักประกันเป็นส่วนสำคัญที่ผู้ที่จะให้สินเชื่อนั้นดูว่าเหมาะสมหรือไม่ในการให้สินเชื่อเพราะหลักประกันเป็นตัวประกันว่าเมื่อธุรกิจนั้นเกิดการล้มลงหรือทำธุรกิจต่อไปไม่ไว้หลักประกันจะเป็นสิ่งที่ช่วยให้ผู้ให้สินเชื่อมีความมั่นใจว่ามีเงินที่จะมาทดแทนในความเสียหายที่จะเกิดขึ้น

5.สภาพทางเศรษฐกิจConditionเป็นการพิจารณาในภาพรวมของสภาพเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในปัจจุบันว่ามีผลกระทบต่อผู้ขอสินเชื่อมากน้อยแค่ไหนโดยจะจากสภาพรอบตัวของธุรกิจ เช่น กฎหมาย การเมือง สังคม

และดูจากนโยบาย3p

1.การชำระคืน paymentคือความสามารถในการดำเนินงานของผู้ขอสินเชื่อว่าจะสามารถจะทำได้ตามข้อตกลงได้หรือไม่นั้นคือการจะชำระคืนของเงินกู้ที่ขอสินเชื่อมาได้หรือไม่โดยดูจากผลการนำเงินที่แล้วมาว่าได้ทำตามที่ว่างแผนตามเป้าหมายหรือไม่

2.วัตถุประสงค์ purposeคือการที่ผู้ขอสินเชื่อนั้นคิดอะไรถึงจะมาขอกู้กับเราหรือเป้าหมายที่ผู้ขอสินเชื่อวางไว้เพื่อที่จะดำเนินการของธุรกิจ เช่น การที่ผู้ขอสินเชื่อขอกู้เพื่อที่จะขยายกิจการเราก็ต้องดูว่าสาเหตุใดถึงต้องขอขยายกิจการการดูถึงเหตุผลของวัตถุประสงค์ว่าสมควรหรือไม่


3.การป้องกันความเสี่ยง protection การดูถึงภาพรวมในการให้สินเชื่อว่าสมควรที่จะให้ตอนนี้ได้หรือไม่โดยสังเกตุจากการที่ดู ภาคเศรษฐกิจ  สังคม การเมือง ว่าตอนนี้เมื่อผู้ขอสินเชื่อได้รับเงินไปแล้วสามารถที่จะดำเนินการทางธุรกิจได้หรือไม่แล้วจะมีอะไรเป็นผลกระทบต่อธุรกิจหรือเปล่า

ตัวอย่าง

ธุรกิจการส่งออกอาหารแช่แข็ง

เป็นธุรกิจที่เติบโตได้เร็วและมีความเสี่ยงภายในตัวเองมากเพราะอาหารแช่แข็งคือการที่เรานำอาหารสดมาทำวิธีการต่างๆให้ออกมาในรูปของอาหารแช่แข็งความเสี่ยงอยู่ที่ต้องนำอาหารสดมาใช้ในการผลติดสินค้าถ้าเกิดมีปัญหาเกิดขึ้นในขณะที่ต้องการทำการผลิตเช่น เกิดสภาวะเงินบาทอ่อนตัวทำให้ธุรกิจนี้ขาดทุนได้เพราะเงินบาทที่ได้กลับมาในการซื้อขายนั้นอาจไม่เท่าที่ได้วางเป้าหมายไว้เราทำให้ผู้ที่ขอสินเชื่ออาจจะไม่สามารถที่จะชำรพหนี้ได้ด้วย

 

นางสาว ศิรัญญา ยอดแก้ว 49473120019
นโยบาย3p

1.การชำระคืน paymentคือความสามารถในการดำเนินงานของผู้ขอสินเชื่อว่าจะสามารถจะทำได้ตามข้อตกลงได้หรือไม่นั้นคือการจะชำระคืนของเงินกู้ที่ขอสินเชื่อมาได้หรือไม่โดยดูจากผลการนำเงินที่แล้วมาว่าได้ทำตามที่ว่างแผนตามเป้าหมายหรือไม่

2.วัตถุประสงค์ purposeคือการที่ผู้ขอสินเชื่อนั้นคิดอะไรถึงจะมาขอกู้กับเราหรือเป้าหมายที่ผู้ขอสินเชื่อวางไว้เพื่อที่จะดำเนินการของธุรกิจ เช่น การที่ผู้ขอสินเชื่อขอกู้เพื่อที่จะขยายกิจการเราก็ต้องดูว่าสาเหตุใดถึงต้องขอขยายกิจการการดูถึงเหตุผลของวัตถุประสงค์ว่าสมควรหรือไม่


3.การป้องกันความเสี่ยง protection การดูถึงภาพรวมในการให้สินเชื่อว่าสมควรที่จะให้ตอนนี้ได้หรือไม่โดยสังเกตุจากการที่ดู ภาคเศรษฐกิจ  สังคม การเมือง ว่าตอนนี้เมื่อผู้ขอสินเชื่อได้รับเงินไปแล้วสามารถที่จะดำเนินการทางธุรกิจได้หรือไม่แล้วจะมีอะไรเป็นผลกระทบต่อธุรกิจหรือเปล่า

และอีกนโยบายที่ควรใช้

1.Characterหมายถึงความซื่อสัตย์สุจริตชื่อเสียงความสามารถในการดำเนินงานของผู้ขอกู้

2.capacityคือความสามารถในการชำระคืนหนี้โดยปกติเงินที่จะนำมาชำระหนี้ควรเป็นเงินรับสุทธิจากการ
ดำเนินงานคือรายได้หลังจากหักค่าใช้จ่ายต่างๆแล้วอนึ่งหากฝ่ายบริหารบริษัทมีความสามารถสูงในการ
ดำเนินงานก็จะมีความสามารถในการชำระหนี้สูง

3.Capitalผู้ให้สินเชื่อจะต้องพิจารณาว่าผู้ขอกู้มีเงินทุนในธุรกิจของตัวเองมากน้อยแค่ไหนเพราะว่าเมื่อเกิดความ
เสียหายขึ้นผลเสียหายนั้นผู้ลงทุนจะต้องรับผิดชอบก่อนนักวิเคราะห์สินเชื่อต้องพิจารณาอัตราส่วนระหว่างหนี้สิน
กับทุนของลูกค้าด้วยลูกค้าจะต้องมีเงินทุนของตัวเองบ้างพอสมควรจะพึ่งเงินกู้จากธนาคาร 100%ย่อมเป็นไปไม่ได้

4.Collateralการค้ำประกันลูกหนี้จะช่วยลดความเสี่ยงของธนาคารการค้ำประกันต่างๆได้แก่การค้ำประกัน
โดยที่ดินและสิ่งปลูกสร้างการค้ำประกันส่วนบุคคลการใช้เครื่องจักรค้ำประกันเป็นต้น

5.Conditionsหมายถึงสภาวะการณ์หรือบรรยากาศธุรกิจที่ให้ผลดีแก่การค้าได้แก่นโยบายของรัฐบาล
ในการสนับสนุนอุตสาหกรรมบางชนิดความต้องการด้านการตลาดหรือลูกค้าอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเป็นต้น

ตัวอย่าง

ธุรกิจการขายเสื้อเหลือง

เป็นธุรกิจที่เติบโตได้รวดเร็วมาในขณะหนึ่งในตอนนี้ถ้าเป็นธุรกิจเกี่ยวกับการขายเสื้อเหลืองคงจะไม่สามารถที่จะขายออกได้ดีในตอนนี้เพราะในสภาพสังคมตอนนี้การที่ทุกคนต้องการที่จะในเสื้อดำเพื่อเป็นการไว้อาลัยให้กับพระพี่นางเป็นการทำให้ธุรกิจเสื้อเหลืองเกิดการที่ประชาชนไม่สนใจเป็นการทำผู้ที่ได้รับสินเชื่อในธุรกิจเสื้อเหลืองที่มีสต๊อคเสื้อเหลืองมากไม่สามารถที่จะขายเสื้อได้ทำให้เกิดการที่สินค้าเกิดการค้างสต๊อคไม่สามารถที่จะจำหน่ายได้จึงเป้นการที่ทำให้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนด

น.ส. วิกานต์ดา ศรีเพ็ชร 49473120016

ฉันคิดว่า น่าจะเป็นลักษระการดำนินงานและภาวะธุรกิจโดยละเอียด  ในปัจจุบันนี้การที่เราจะให้ใครยืมเงิน หรือในฐานะที่เราเป็นพนักงานฝ่ายสินเชื่อของธนาคารใดธนาคารหนึ่งนั้น การที่เราจะให้สินเชื่อกับธุรกิจใดสักธุรกิจนึง เราจะต้องดูลักษณะการดำเนินงานของเขาว่าเขาประกอบธุรกิจประเภทใด มีสภาพคล้องดีมัย และต่อไปในอนาคตจะดีหรือไม่ ก็อยู่ที่เราจะต้องตัดสินใจในการให้สินเชื่อกับธุรกิจนั้น ลักษณะการดำเนินงาน และภาวะธุรกิจ จะประกอบด้วย

1.  ลักษณะธุรกิจ ให้เราดูสิว่าเขาประกอบธุรกิจเกี่ยวกับอะไร เป็นธุรกิจให้บริการ หรือขายสินค้า และเขามีผลิตภัณฑ์อะไรบ้าง

2.  ผลิตภัณฑ์  ประกอบด้วย ประเภทของผลิตภัณฑ์ แหล่งวัตถุดิบ แหล่งซื้อผลิตภัณฑ์ นโยบายการสั่งซื้อวัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์ นโยบายสต๊อคสินค้าคงคลัง เหล่านี้ก็ล้วนเป็นสิ่งสำคัญในการพิจารณาให้สินเชื่อเหมือนกัน เนื่องจากว่าการที่ธุรกิจใดธุรกิจนึงมีผลิตภัณฑ์หลาย ๆ ผลิตภัณฑ์ย่อมมีความเสี่ยงในการขายสินค้าน้อยมาก

3.  การผลิต  ประกอบด้วย เครื่องมือ เครื่องจักร โรงงาน คนงาน สวัสดิการ กำลังการผลิต กรรมวิธีการผลิต และนโยบายการสต๊อคสินค้าสำเร็จรูป อันนี้ก็เป็นสิ่งสำคัญที่เราต้องวิเคราะห์ดูเนื่องจากการที่โรงงานใดมีความพร้อมในการผลิตสินค้า หรือบริการธุรกิจนั้น ๆ ก็จะมีความมั่นคงแข็งแรงมาก เราสามารถเพิ่มหรือลดการผลิตได้ตามต้องการ

4.  การตลาด ประกอบด้วย วิธีการจำหน่าย นโยบายด้านราคา รายได้แยกตามผลิตภัณฑ์ และดูแนวโน้มของยอดขายในแต่ละผลิตภัณฑ์ การส่งเสริมการขาย คู่แข่งขัน ถ้าธุรกิจใดมีการโฆษณาส่งเสริมการขายที่ดีย่อมมีความได้เปรียบทางการตลาดเพิ่มมากขึ้น ยิ่งถ้าธุรกิจใดมีการวางแผนการตลาดที่เหมาะสมก็จะสามารถเอาชนะคู่แข่งทั้งหลายได้ด้วยความง่ายดาย และธุรกิจนั้นก็จะมีความแข่งแกร็งมากขึ้นด้วย จึงทำให้เราในฐานะที่เป็นพนักงานฝ่ายสินเชื่อเราก็จะพิจารณาให้เขาเป็นอันดับแรก

5.  การบริหารงานและการจัดองค์กร อันนี้เป็นอีกอย่างหนึ่งทีมีส่วนสำคัญในการพิจารณาปล่อยสินเชื่อ เพราะว่าถ้าธุรกิจใดมีผู้บริหารที่ดี พนักงานที่ดี มีการจัดการที่ดี และเหมาะสมธุรกิจนั้นก็จะย่อมมีการบริหารธุรกิจที่ดี ธุรกิจก็จะไม่ค่อยมีปัญหา

สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของลักษณะทางธุรกิจเรายังจะต้องมีการวิเคราะห์ปัญหาในการดำเนินงาน โครงการในอนาคต ถาวะธุรกิจของผลิตภัณฑ์และบริการ เพื่อความมั่นใจในการปล่อยสินเชื่อให้กับธุรกิจต่าง ๆ

น.ส.อัจฉรา อินทนนท์ 49473120091

หลักในการพิจารณาสินเชื่อ

              1. คุณสมบัติของผู้ขอสินเชื่Character ความน่าเชื่อถือที่จะชำระคืนหนี้ อาจดูได้จากฐานะหน้าที่การงาน การศึกษา ประสบการณ์ คุณภาพของผู้บริหาร ฐานะทางสังคม ประวัติการชำระหนี้เดิม เป็นต้น               2. ความสามารถในการชำระหนี้ Capacity พิจารณาจากความสามรถในการทำกำไรหรือความเสี่ยงในการประกอบธุรกิจ และพิจารณากระแสเงินสดของกิจการว่ามีความสามารถในการชำระหนี้หรือไม่ ตลอดจนอาจพิจารณาแหล่งเงินทุนสำรองของกิจการ                          3. เงินทุน Capital ทุนที่นำมาใช้ในกิจการที่เป็นส่วนของผู้ขอกู้เองไม่ใช่เงินที่มาจากการกู้ โดยดูว่าเงินส่วนที่ขอกู้เป็นเท่าใดต่อเงินส่วนที่ลูกหนี้เป็นเจ้าของเอง (Debt / Equity Ratio) ถ้าเงินในส่วนของผู้ขอกู้มีจำนวนมากกว่า การให้กู้ย่อมมีความเสี่ยงต่ำกว่า               4. หลักประกัน Collateral เป็นแหล่งในการชำระคืนหนี้หากลูกหนี้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ ซึ่งโดยปกติมูลค่าของหลักทรัพย์ค้ำประกันจะมีมูลค่ามากกว่ากว่าจำนวนเงินที่กู้              5. สภาพทางเศรษฐกิจ Conditions ต้องคำนึงถึงสภาพแวดล้อมของธุรกิจนั้น ๆ และปัจจัยต่าง ๆ ที่อาจมีผลกระทบต่อการดำเนินงานของกิจการ เช่นภาวะเติบโตทางเศรษฐกิจทั้งในและต่างประเทศ  สภาวะตลาด การผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีความแตกต่างและมีความสามารถในการแข่งขัน เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ เช่น ความผันผวนของอัตราเงินเฟ้อ อัตราแลกเปลี่ยน อัตราดอกเบี้ย เป็นต้น นโยบาย 3 P’s     1.       การชำระคืน (Payment) พิจารณาว่าลูกค้ามีความสามารถในการชำระหนี้มากน้อยเพียงใด2.       วัตถุประสงค์ (Purpose) ในการขอสินเชื่อว่าลูกค้าได้นำไปใช้เพื่อให้เกิดรายได้และสามารถชำระคืนหนี้ได้ตามกำหนด3.       การป้องกันความเสี่ยง ( Protection ) จะพิจารณาทั้งจากการชำระคืนและวัตถุประสงค์มาใช้ในการพิจารณารวมทั้งสภาพทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และผลการดำเนินงานของธุรกิจ         

น.ส. วิกานต์ดา ศรีเพ็ชร 49473120016

ตัวอย่าง...

บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด มหาชน

บริษัทนี้เป็นบริษัทที่มีผลิตภัณฑ์ที่ออกขายตามท้องตลาดมากมายหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น ไส้กรอกซีพี ซีพีอาหารสัตว์ เซเว่นอิเรฟเว้น ฯลฯ อีกหลาย ๆ อย่างทำให้ธุรกิจขิงเขามีความเจริญเติบโตทางธุรกิจไปในแนวทางที่ดี มีผลิตภัณฑ์หลาประเภทที่ตรงกับความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่ จึงทำให้เขามีส่วนแบ่งทางการตลาดค่อนข้างมากพอสมควร ธุรกิจแบบนี้จึงมีความเสี่ยงน้อยเมื่อเราดูจากลักษณะการดำเนินงานของเขา ซีพีนี้มีบริษัทในเครืออีกมากหลายบริษัท แต่ละบริษัทก็มีพนักงานหลายพันคนอยู่เหมือนกัน แต่เขาก็ยังมีสวัสดิการให้กับลูกน้อง ลูกจ้างดีกว่าบริษัทอื่น ๆ เพียวเท่านี้เราก็สามารถตัดสินใจได้แล้วว่าบริษัทนี้มีลักษณะเป็นอย่างไร พนักงาน โรงงาน เครื่องจัก เครื่องมือมากมายหลายอย่างจึงทำให้เรา ในฐานะที่เป็นพนักงานฝ่ายสินเชื่อของธนาคารก็มีแต่รีบที่จะให้เขากู้ยืมเมื่อเขาต้องการกู้ เพราะว่าเนื่องจากการพิจารณาถึงลักษณะทางธุรกิจของเขาแล้วเห็นได้ว่า บริษัทนี้มีความสามารถที่จะใช้หนี้ให้กับเราได้แน่นอน

น.ส.สุดาทิพย์ พลับลับโพธิ์ 49473120090

 หลักที่จะใช้ในการพิจารณาสินเชื่อ

นโยบาย 3P's

1.การชำระคืน paymentคือความสามารถในการดำเนินงานของผู้ขอสินเชื่อว่าจะสามารถจะทำได้ตามข้อตกลงได้หรือไม่นั้นคือการจะชำระคืนของเงินกู้ที่ขอสินเชื่อมาได้หรือไม่โดยดูจากผลการนำเงินที่แล้วมาว่าได้ทำตามที่ว่างแผนตามเป้าหมายหรือไม่

2.วัตถุประสงค์ purposeคือการที่ผู้ขอสินเชื่อนั้นคิดอะไรถึงจะมาขอกู้กับเราหรือเป้าหมายที่ผู้ขอสินเชื่อวางไว้เพื่อที่จะดำเนินการของธุรกิจ เช่น การที่ผู้ขอสินเชื่อขอกู้เพื่อที่จะขยายกิจการเราก็ต้องดูว่าสาเหตุใดถึงต้องขอขยายกิจการการดูถึงเหตุผลของวัตถุประสงค์ว่าสมควรหรือไม่


3.การป้องกันความเสี่ยง protection การดูถึงภาพรวมในการให้สินเชื่อว่าสมควรที่จะให้ตอนนี้ได้หรือไม่โดยสังเกตุจากการที่ดู ภาคเศรษฐกิจ  สังคม การเมือง ว่าตอนนี้เมื่อผู้ขอสินเชื่อได้รับเงินไปแล้วสามารถที่จะดำเนินการทางธุรกิจได้หรือไม่แล้วจะมีอะไรเป็นผลกระทบต่อธุรกิจหรือเปล่า

1. คุณสมบัติของผู้ขอสินเชื่อ(Character) พิจารณาว่าผู้ขอสินเชื่อมีลักษณะนิสัยเช่นไร มีความซื่อสัตย์ สามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนดเเละวันเวลาได้หรือไม่ เเละมีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด

2.คุณสมบัติของผู้ขอสินเชื่อ(Character)หมายถึงความประพฤติ เเละลักษณะนิสัย อาชีพการงานว่ามีความเสี่ยงมากน้อยเพียงใดในการขอสินเชื่อ

3.เงินทุน (Capital)ผู้ให้สินเชื่อจะต้องพิจารณาว่าผู้ขอกู้มีเงินทุนในธุรกิจของตัวเองมากน้อยแค่ไหนเพื่อลดความเสี่ยง

4.หลักประกัน(Collateral)การค้ำประกันลูกหนี้จะช่วยลดความเสี่ยงของธนาคารการค้ำประกันต่างๆได้แก่การค้ำประกันโดยที่ดินและสิ่งปลูกสร้างการค้ำประกันส่วนบุคคลการใช้เครื่องจักรค้ำซึ่งหลักทรัพย์ที่ใช้ในการคำประกันจะมีราคามากกว่าเงินที่กู้

5.Conditionsหมายถึงสภาวะการณ์หรือบรรยากาศธุรกิจที่ให้ผลดีแก่การค้าได้แก่นโยบายของรัฐบาล
ในการสนับสนุนอุตสาหกรรมบางชนิดความต้องการด้านการตลาดหรือลูกค้าอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ

นางสาวนิษา สังสำราญ 49473120017

 ธุรกิจที่มีความสนใจอยู่  เช่นธุรกิจเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย   ถ้าธนาคารจะวิเคราะห์สินเชื่อ  ควรจะพิจารณาดังนี้

หลักการในการวิเคราะห์สินเชื่อ

สิ่งที่พนักงานสินเชื่อของธนาคารพิจารณาเมื่อลูกค้าขอเครดิตมี 3ประการหรือที่เรียกง่ายๆว่า 3 Pคือ 1.วัตถุประสงค์ (purpose) 2.การชำระคืน (payment) 3.การป้องกันความเสี่ยง (protection)

1.วัตถุประสงค์(purpose)
หมายถึงการพิจารณาถึงวงเงินที่ขอมา,ชนิดของเครดิตที่ต้องการ,เครดิตที่ได้จะนำไปใช้ทำอะไรจะเป็นเงินทุน
หมุนเวียนหรือเป็นการลงทุนในทรัพย์สินถาวร,จะมีเครื่องชี้อะไรหรือไม่ว่าเครดิตที่ขอกู้อาจจะถูกนำไปใช้ผิด
วัตถุประสงค์ก็ได้

2.การชำระคืน(payment)
หมายถึงความสามารถในการดำเนินงานของผู้ขอเครดิตจะสามารถทำได้ตามสัญญาหรือไม่,ระยะเวลาที่ขอมาสั้นหรือ
ยาวไปและควรจะแก้ไขหรือไม่,การชำระคืนจะทยอยชำระเป็นงวดๆหรือครั้งเดียว,พนักงานสินเชื่อแน่ใจหรือไม่ว่า
ผู้ขอกู้จะสามารถชำระหนี้คืนตามเงื่อนไขที่ตกลงกัน

3.การป้องกันการเสี่ยง(protection)
เรื่องการป้องกันความเสี่ยงนั้นจะพิจารณาถึงการเสี่ยงกันจะเกิดขึ้นจากการที่ลูกค้าไม่สามารถชำระหนี้ได้ ,ในกรณีที่
ธุรกิจของลูกค้าขาดทุนลูกค้าในจะเอาเงินจากที่อื่นเช่นจากญาติพี่น้องมาชำระหนี้ธนาคารได้หรือไม่ถ้าไม่ได้จะขาย
ทรัพย์สินมาชำระหนี้ได้พอคุ้มหรือไม่ถ้าธุรกิจมีความเสี่ยงสูงธนาคารก็ต้องดูคุณภาพของทรัพย์สินที่เอาประกันว่า
มูลค่าจากการขายทอดตลาดจะพอคุ้มกับหนี้ของธนาคารหรือไม่
หลักอื่นๆในการวิเคราะห์สินเชื่อ1.Characterหมายถึงความซื่อสัตย์สุจริตชื่อเสียงความสามารถในการดำเนินงานของผู้ขอกู้

2.capacityคือความสามารถในการชำระคืนหนี้โดยปกติเงินที่จะนำมาชำระหนี้ควรเป็นเงินรับสุทธิจากการ
ดำเนินงานคือรายได้หลังจากหักค่าใช้จ่ายต่างๆแล้วอนึ่งหากฝ่ายบริหารบริษัทมีความสามารถสูงในการ
ดำเนินงานก็จะมีความสามารถในการชำระหนี้สูง

3.Capitalผู้ให้สินเชื่อจะต้องพิจารณาว่าผู้ขอกู้มีเงินทุนในธุรกิจของตัวเองมากน้อยแค่ไหนเพราะว่าเมื่อเกิดความ
เสียหายขึ้นผลเสียหายนั้นผู้ลงทุนจะต้องรับผิดชอบก่อนนักวิเคราะห์สินเชื่อต้องพิจารณาอัตราส่วนระหว่างหนี้สิน
กับทุนของลูกค้าด้วยลูกค้าจะต้องมีเงินทุนของตัวเองบ้างพอสมควรจะพึ่งเงินกู้จากธนาคาร 100%ย่อมเป็นไปไม่ได้

4.Collateralการค้ำประกันลูกหนี้จะช่วยลดความเสี่ยงของธนาคารการค้ำประกันต่างๆได้แก่การค้ำประกัน
โดยที่ดินและสิ่งปลูกสร้างการค้ำประกันส่วนบุคคลการใช้เครื่องจักรค้ำประกันเป็นต้น

5.Conditionsหมายถึงสภาวะการณ์หรือบรรยากาศธุรกิจที่ให้ผลดีแก่การค้าได้แก่นโยบายของรัฐบาล
ในการสนับสนุนอุตสาหกรรมบางชนิดความต้องการด้านการตลาดหรือลูกค้าอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
เป็นต้น


หรืออาจจะใช้หลักการ2ทางคือ
First way outหมายถึงการคาดหวังว่าจะได้รับชำระคืนเงินต้นและดอกเบี้ยจากผลการดำเนินงานของผู้ขอกู้
เป็นอันดับแรก
Second way outหมายถึงถ้าผู้กู้ไม่สามารถชำระหนี้คืนได้ก็เป็นทางออกสุดท้ายนั่นก็คือการยึดหลักประกันของผู้กู้เพื่อนำไปชำระหนี้
...............................................................................
นางสาวพิมศิริ ลาภโสภา 49473120024

ในการวิเคราะห์สินเชื่อควรดูจากนโยบาย3p

1.การชำระคืน paymentคือความสามารถในการดำเนินงานของผู้ขอสินเชื่อว่าจะสามารถจะทำได้ตามข้อตกลงได้หรือไม่นั้นคือการจะชำระคืนของเงินกู้ที่ขอสินเชื่อมาได้หรือไม่โดยดูจากผลการนำเงินที่แล้วมาว่าได้ทำตามที่ว่างแผนตามเป้าหมายหรือไม่

2.วัตถุประสงค์ purposeคือการที่ผู้ขอสินเชื่อนั้นคิดอะไรถึงจะมาขอกู้กับเราหรือเป้าหมายที่ผู้ขอสินเชื่อวางไว้เพื่อที่จะดำเนินการของธุรกิจ เช่น การที่ผู้ขอสินเชื่อขอกู้เพื่อที่จะขยายกิจการเราก็ต้องดูว่าสาเหตุใดถึงต้องขอขยายกิจการการดูถึงเหตุผลของวัตถุประสงค์ว่าสมควรหรือไม่


3.การป้องกันความเสี่ยง protection การดูถึงภาพรวมในการให้สินเชื่อว่าสมควรที่จะให้ตอนนี้ได้หรือไม่โดยสังเกตุจากการที่ดู ภาคเศรษฐกิจ  สังคม การเมือง ว่าตอนนี้เมื่อผู้ขอสินเชื่อได้รับเงินไปแล้วสามารถที่จะดำเนินการทางธุรกิจได้หรือไม่แล้วจะมีอะไรเป็นผลกระทบต่อธุรกิจหรือเปล่า

และควรดูจากสภาพโดยรวมต่างๆของธุรกิจที่ขอสินเชื่อว่ามีแนวโน้มที่จะเติบโตเป็นอย่างไรควรให้สินเชื่อแล้วจะมีความเสี่งน้อยที่สุด

นางสาวพรระวี แซ่อั้ง 49473120043

การวิเคราะสินเชื่อ

เช่นธุรกิจเกียวกับเครื่องประดับ  เครื่องประดับเป็นธุรกิจที่หลากหลายรูปแบบเช่นแหวน สร้อยคอ  สร้อยข้อมือ  และอื่นๆ  ทำให้เข้าถึงได้หลายกลุ่มเป้าหมาย ในการวิเคระห์สินเชื่อของธนาคารควรทำดังนี้

1.Characterหมายถึงความซื่อสัตย์สุจริตชื่อเสียงความสามารถในการดำเนินงานของผู้ขอกู้

2.capacityคือความสามารถในการชำระคืนหนี้โดยปกติเงินที่จะนำมาชำระหนี้ควรเป็นเงินรับสุทธิจากการ
ดำเนินงานคือรายได้หลังจากหักค่าใช้จ่ายต่างๆแล้วอนึ่งหากฝ่ายบริหารบริษัทมีความสามารถสูงในการ
ดำเนินงานก็จะมีความสามารถในการชำระหนี้สูง

3.Capitalผู้ให้สินเชื่อจะต้องพิจารณาว่าผู้ขอกู้มีเงินทุนในธุรกิจของตัวเองมากน้อยแค่ไหนเพราะว่าเมื่อเกิดความ
เสียหายขึ้นผลเสียหายนั้นผู้ลงทุนจะต้องรับผิดชอบก่อนนักวิเคราะห์สินเชื่อต้องพิจารณาอัตราส่วนระหว่างหนี้สิน
กับทุนของลูกค้าด้วยลูกค้าจะต้องมีเงินทุนของตัวเองบ้างพอสมควรจะพึ่งเงินกู้จากธนาคาร 100%ย่อมเป็นไปไม่ได้

4.Collateralการค้ำประกันลูกหนี้จะช่วยลดความเสี่ยงของธนาคารการค้ำประกันต่างๆได้แก่การค้ำประกัน
โดยที่ดินและสิ่งปลูกสร้างการค้ำประกันส่วนบุคคลการใช้เครื่องจักรค้ำประกันเป็นต้น

5.Conditionsหมายถึงสภาวะการณ์หรือบรรยากาศธุรกิจที่ให้ผลดีแก่การค้าได้แก่นโยบายของรัฐบาล
ในการสนับสนุนอุตสาหกรรมบางชนิดความต้องการด้านการตลาดหรือลูกค้าอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
เป็นต้น

และควรใช้หลัก

3 Pคือ

1.วัตถุประสงค์ (purpose)

2.การชำระคืน (payment)

3.การป้องกันความเสี่ยง (protection)
นางสาวอนุสรา เอี๋ยวประเสริฐ 49473120033

การวิเคราะห์สินเชื่อของธนาคารต่างๆที่มีต่อธุรกิจที่จะขอสินเชื่อควรที่จะมีหลักในการวิเคราะห์ดังนี้

หลักในการวิเคราะห์สินเชื่อได้แก่

1.Characterหมายถึงความซื่อสัตย์สุจริตชื่อเสียงความสามารถในการดำเนินงานของผู้ขอกู้

2.capacityคือความสามารถในการชำระคืนหนี้โดยปกติเงินที่จะนำมาชำระหนี้ควรเป็นเงินรับสุทธิจากการ
ดำเนินงานคือรายได้หลังจากหักค่าใช้จ่ายต่างๆแล้วอนึ่งหากฝ่ายบริหารบริษัทมีความสามารถสูงในการ
ดำเนินงานก็จะมีความสามารถในการชำระหนี้สูง

3.Capitalผู้ให้สินเชื่อจะต้องพิจารณาว่าผู้ขอกู้มีเงินทุนในธุรกิจของตัวเองมากน้อยแค่ไหนเพราะว่าเมื่อเกิดความ
เสียหายขึ้นผลเสียหายนั้นผู้ลงทุนจะต้องรับผิดชอบก่อนนักวิเคราะห์สินเชื่อต้องพิจารณาอัตราส่วนระหว่างหนี้สิน
กับทุนของลูกค้าด้วยลูกค้าจะต้องมีเงินทุนของตัวเองบ้างพอสมควรจะพึ่งเงินกู้จากธนาคาร 100%ย่อมเป็นไปไม่ได้

4.Collateralการค้ำประกันลูกหนี้จะช่วยลดความเสี่ยงของธนาคารการค้ำประกันต่างๆได้แก่การค้ำประกัน
โดยที่ดินและสิ่งปลูกสร้างการค้ำประกันส่วนบุคคลการใช้เครื่องจักรค้ำประกันเป็นต้น

5.Conditionsหมายถึงสภาวะการณ์หรือบรรยากาศธุรกิจที่ให้ผลดีแก่การค้าได้แก่นโยบายของรัฐบาล
ในการสนับสนุนอุตสาหกรรมบางชนิดความต้องการด้านการตลาดหรือลูกค้าอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
เป็นต้น

หรืออาจใช้หลักการ 2ทางออกคือ

First way outหมายถึงการคาดหวังว่าจะได้รับชำระคืนเงินต้นและดอกเบี้ยจากผลการดำเนินงานของผู้ขอกู้
เป็นอันดับแรก
Second way outหมายถึงถ้าผู้กู้ไม่สามารถชำระหนี้คืนได้ก็เป็นทางออกสุดท้ายนั่นก็คือการยึดหลักประกันของผู้กู้
เพื่อนำไปชำระหนี้
 

 

นางสาวศิรินภา สุขแก้ว 49473120088

ตอบ  ธุระกิจที่น่าสนใจในตอนนี้  น่าจะเป็นธุระกิจสินเชื่อที่อยู่อาศัยเพราะมีการปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยกันมากขึ้น

     หลักในการพิจารณาสินเชื่อ

1.ดูคุณสมบัติของผู้ขอสินเชื่อ  ต้องดูว่าผู้ที่ขอสินเชื่อมีลักษณะนิสัยอย่างไร หรือธุระกิจที่จะขอสินเชื่อมีความเสี่ยงมากน้อยเพียงใด คุณสมบัติที่ควรหลีกเลี่ยง  เช่น ผู้ที่มีอายุมาก มีโรคประจำตัว เพราะการขอสินเชื่อมีระยะเวลาที่นานผู้ขอสินเชื่ออาจจะตายไปก่อนได้

2.ความสามารถในการชำระหนี้   พิจารณาถึงรายได้ที่เค้าประกอบอาชีพว่าจะมีเพียงพอที่จะชำระหนี้ที่ตกลงกันไว้หรือไม่

3.เงินทุน   พิจารณาดูว่าผู้ขอสินเชื่อนั้นมีมูลค่าทรัพย์สินมากว่าหนี้สินในปัจจุบันอยู่เท่าไร เพื่อที่จะทำให้ผู้ให้กู้มีความเสี่ยงต่ำ

4. หลักประกัน มีความสำคัญมาก พิจารณาดูว่าหลักประกันที่เอามาประกันนั้นมีความเสี่ยงมากน้อยเพียงใดหรือมีมูลค่าเท่าไร่ ถ้าลูกหนี้ไม่มีหลักประกันก็ไม่อาจที่จะขอสินเชื่อได้เพราะทั้งนี้อาจจะทำให้เกิดความเสี่ยงแก่ผู้ให้กู้ได้

5. สภาพเศรษฐกิจ อาจจะพิจารณาดูถึงสภาพแวดล้อมในตอนนั้นๆและอนาคตข้างหน้า อาจจะมีการพยากรณ์ล่วงหน้าส่วนใหญ่ปัจจัยที่ต้องพิจารณาก็คือ การเมือง เศรษฐกิจ  อัตราดอกเบี้ย  อัตราภาษี   อัตราแลกเปลี่ยน  เป็นต้น

6.ประเทศที่มาติดต่อด้วย  เป็นปัจจัยที่สำคัญถึงแม้ว่าจะเป็นการให้สินเชื่อในประเทศก็ตาม แต่บางครั้งลูกหนี้อาจจะส่งออกซึ่งต้องพิจารณาดูอัตราการแลกเปลี่ยนระหว่างสกุลเงิน

 

 

น.ส.ศรีสุภางค์ แก้วผ่อง รหัส 49473120037

หลัการวิเคราะห์สินเชื่อ

   1.คุณสมบัติของผู้ขอสินเชื่อ  (Character) เป็นคุณสมบัติขั้นต้นที่ผู้ให้สินเชื่อพิจารณาว่าผู้ขอสินเชื่อมีลักษณะความประพฤติ เเละลักษณะนิสัย อาชีพการงานว่ามีความเสี่ยงมากน้อยเพียงใดในการขอสินเชื่อ

   2.ความสามารถในการชำระหนี้ (capacity) คือความสามารถในการชำระคืนหนี้ที่ผู้ขอสินเชื่อสามารถที่จะชำระได้หรือไม่ในแง่ของธุรกิจก็จะพิจารณาของงบการเงินในอดีตและประมานรายได้ในอนาคต

   3.เงินทุน (Capital) เป็นอีกคุณสมบัติในการขอสินเชื่อเป็นการดูที่ว่าผู้ขอสินเชื่อนั้นมีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สินในปัจจุบันอยู่เท่าไรเป็นการดูที่ว่าด้วยการที่มีหนี้สินหนี้นั้นเป็นการมีที่มากกว่าเงินทุนหรือไม่

   4.หลักประกัน (Collateral) หลักประกันเป็นส่วนสำคัญที่ผู้ที่จะให้สินเชื่อนั้นดูว่าเหมาะสมหรือไม่ในการให้สินเชื่อเพราะหลักประกันเป็นตัวประกันว่าเมื่อธุรกิจนั้นเกิดการล้มลงหรือทำธุรกิจต่อไปไม่ไว้หลักประกันจะเป็นสิ่งที่ช่วยให้ผู้ให้สินเชื่อมีความมั่นใจว่ามีเงินที่จะมาทดแทนในความเสียหายที่จะเกิดขึ้น

   5.สภาพทางเศรษฐกิจ (Condition) เป็นการพิจารณาในภาพรวมของสภาพเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในปัจจุบันว่ามีผลกระทบต่อผู้ขอสินเชื่อมากน้อยแค่ไหนโดยจะจากสภาพรอบตัวของธุรกิจ เช่น กฎหมาย การเมือง สังคม

นอกจากนี้ยังมี นโยบาย 3P's ที่นำมาใช้ในการวิเคราะห์สินเชื่อ ซึ่งมีดังนี้

   1.วัตถุประสงค์ (purpose) หมายถึงการพิจารณาถึงวงเงินที่ขอมา,ชนิดของเครดิตที่ต้องการ,เครดิตที่ได้จะนำไปใช้ทำอะไรจะเป็นเงินทุนหมุนเวียนหรือเป็นการลงทุนในทรัพย์สินถาวร,จะมีเครื่องชี้อะไรหรือไม่ว่าเครดิตที่ขอกู้อาจจะถูกนำไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ก็ได้

   2.การชำระคืน (payment) หมายถึงความสามารถในการดำเนินงานของผู้ขอเครดิตจะสามารถทำได้ตามสัญญาหรือไม่,ระยะเวลาที่ขอมาสั้นหรือยาวไปและควรจะแก้ไขหรือไม่,การชำระคืนจะทยอยชำระเป็นงวดๆหรือครั้งเดียว,พนักงานสินเชื่อแน่ใจหรือไม่ว่าผู้ขอกู้จะสามารถชำระหนี้คืนตามเงื่อนไขที่ตกลงกัน
 

   3.การป้องกันการเสี่ยง (protection) เรื่องการป้องกันความเสี่ยงนั้นจะพิจารณาถึงการเสี่ยงกันจะเกิดขึ้นจากการที่ลูกค้าไม่สามารถชำระหนี้ได้ ,ในกรณีที่ธุรกิจของลูกค้าขาดทุนลูกค้าในจะเอาเงินจากที่อื่นเช่นจากญาติพี่น้องมาชำระหนี้ธนาคารได้หรือไม่ถ้าไม่ได้จะขายทรัพย์สินมาชำระหนี้ได้พอคุ้มหรือไม่ถ้าธุรกิจมีความเสี่ยงสูงธนาคารก็ต้องดูคุณภาพของทรัพย์สินที่เอาประกันว่า
มูลค่าจากการขายทอดตลาดจะพอคุ้มกับหนี้ของธนาคารหรือไม่

หรือไม่ก็อาจจะใช้หลักการ 2 ทาง  คือ
    First way out  หมายถึงการคาดหวังว่าจะได้รับชำระคืนเงินต้นและดอกเบี้ยจากผลการดำเนินงานของผู้ขอกู้เป็นอันดับแรก
   Second way out  หมายถึงถ้าผู้กู้ไม่สามารถชำระหนี้คืนได้ก็เป็นทางออกสุดท้ายนั่นก็คือการยึดหลักประกันของผู้กู้เพื่อนำไปชำระหนี้


นางสาว พวงเพ็ชร กะการดี 49473120084

การวิเคราะห์สินเชื่อ

   1.ดูคุณสมบัติผู้ขอสินเชื่อ พิจารณาว่าผู้ขอสินเชื่อมีลักษณะนิสัย  ความประพฤติ  หรืออาชีพการงานที่มีความเสียงมากน้อยเพียงใด  คุณสมบัติของผู้ขอสินเชื่อที่ควรหลีกเลี่ยง   เช่น  ผู้มีอายุมาก  มีโรคประจำตัว  ผุ้มีนิสัยเกเร  ทำตัวเป็นผู้มีอิทธิพล เป็นต้น

   2.ความสามารถในการชำระหนี้  พิจารณาในแง่รายได้ในการประกอบอาชีพ  หรือการทำธุรกิจเพียงพอที่จะชำระหนี้ได้ตามที่ตกลงไว้ด้วยกันในแง่ธุรกิจก็จะพิจารณาในแง่ของงบการเงินในอดีตและประมาณการรายได้ในอนาคต

   3.เงินทุน  ผู้ให้สินเชื่อควรพิจารณาว่าผู้ขอสินเชื่อนั้นมีมูลค่าทรัพย์สินมากกว่าหนี้ในปัจจุบันอยู่เท่าใด

   4.หลักประกัน   เจ้าหนี้ผู้ให้สินเชื่อมักชอบหลักประกันที่เป็นอสังหาริมทรัพย์  โดยเฉพาะที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเพราะเชื่อว่าความเสี่ยงน้อยที่สุด   ในกรณีที่มีปัญหาในอนาคตสามารถใช้สิทธิครอบครองได้ง่าย  ต่างจากหลักประกันอื่น

   5.สภาพทางเศรษฐกิจ  ผู้ให้สินเชื่อต้องมีความรู้ถึงภาวะแวดล้อมภายนอกที่ส่งผลกระทบทั้งในแง่บวกและลบต่อผู้ขอสินเชื่อ

   6.ประเทศติดต่อด้วย  เป็นคุณสมบัติสำคัญในปัจจุบันที่ต้องพิจารณา  เพราะถึงแม้จะเป็นการให้สินเชื่อในประเทศ  แต่ลูกค้ารายนั้นทำธุรกิจนำเข้าส่งออก  ซึ่งมีความเสี่ยงจากกฎระเบียบในการค้าโลก

น.ส.ภูริดา เลาฉัตติกุล (49473120078)

ถ้าธนาคารจะวิเคราะห์สินเชื่อควรจะใช้

นโยบาย3'p

1.การชำระคืน paymentคือความสามารถในการดำเนินงานของผู้ขอสินเชื่อว่าจะสามารถจะทำได้ตามข้อตกลงได้หรือไม่นั้นคือการจะชำระคืนของเงินกู้ที่ขอสินเชื่อมาได้หรือไม่โดยดูจากผลการนำเงินที่แล้วมาว่าได้ทำตามที่ว่างแผนตามเป้าหมายหรือไม่

2.วัตถุประสงค์ purposeคือการที่ผู้ขอสินเชื่อนั้นคิดอะไรถึงจะมาขอกู้กับเราหรือเป้าหมายที่ผู้ขอสินเชื่อวางไว้เพื่อที่จะดำเนินการของธุรกิจ เช่น การที่ผู้ขอสินเชื่อขอกู้เพื่อที่จะขยายกิจการเราก็ต้องดูว่าสาเหตุใดถึงต้องขอขยายกิจการการดูถึงเหตุผลของวัตถุประสงค์ว่าสมควรหรือไม่


3.การป้องกันความเสี่ยง protection การดูถึงภาพรวมในการให้สินเชื่อว่าสมควรที่จะให้ตอนนี้ได้หรือไม่โดยสังเกตุจากการที่ดู ภาคเศรษฐกิจ  สังคม การเมือง ว่าตอนนี้เมื่อผู้ขอสินเชื่อได้รับเงินไปแล้วสามารถที่จะดำเนินการทางธุรกิจได้หรือไม่แล้วจะมีอะไรเป็นผลกระทบต่อธุรกิจหรือเปล่า

และอีกนโยบายที่ควรใช้

1.Characterหมายถึงคุณสมบัติเช่นความซื่อสัตย์สุจริตชื่อเสียงความสามารถในการดำเนินงานของผู้ขอกู้

2.Capacityหมายถึงความสามารถในการชำระคืนหนี้โดยปกติเงินที่จะนำมาชำระหนี้ควรเป็นเงินรับสุทธิจากการ
ดำเนินงานคือรายได้หลังจากหักค่าใช้จ่ายต่างๆแล้วอนึ่งหากฝ่ายบริหารบริษัทมีความสามารถสูงในการดำเนินงานก็จะมีความสามารถในการชำระหนี้สูง

3.Capitalหมายถึงผู้ให้สินเชื่อจะต้องพิจารณาว่าผู้ขอกู้มีเงินทุนในธุรกิจของตัวเองมากน้อยแค่ไหนเพราะว่าเมื่อเกิดความเสียหายขึ้นผลเสียหายนั้นผู้ลงทุนจะต้องรับผิดชอบก่อนนักวิเคราะห์สินเชื่อต้องพิจารณาอัตราส่วนระหว่างหนี้สินกับทุนของลูกค้าด้วยลูกค้าจะต้องมีเงินทุนของตัวเองบ้างพอสมควรจะพึ่งเงินกู้จากธนาคาร 100%ย่อมเป็นไปไม่ได้

4.Collateral หมายถึงการค้ำประกันลูกหนี้จะช่วยลดความเสี่ยงของธนาคารการค้ำประกันต่างๆได้แก่การค้ำประกัน
โดยที่ดินและสิ่งปลูกสร้างการค้ำประกันส่วนบุคคลการใช้เครื่องจักรค้ำประกันเป็นต้น

5.Conditionsหมายถึงสภาวะการณ์หรือบรรยากาศธุรกิจที่ให้ผลดีแก่การค้าได้แก่นโยบายของรัฐบาล
ในการสนับสนุนอุตสาหกรรมบางชนิดความต้องการด้านการตลาดหรือลูกค้าอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเป็นต้น

ธุระกิจที่ข้าพเจ้าสนใจคือ ธุรกิจขายวัสดุก่อสร้างตามต่างจังหวัด จากที่ข้าพเจ้าพบเห็น  เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันมีการแข่งขันกันสูงจึงทำให้บางพื่นที่นิยมทำธุรกิจนี้กันมากขึ้น แต่ก็ใช่ว่าแต่ละร้านจะขายดีเท่ากันหมดเพราะบางร้านผู้ขายมีการศึกษาที่ดีเช่นจบสถาปัตย์ วิศวะเป็นต้นจึงสามารถให้คำปรึกษาแก่ผู้ซื้อได้ ผู้ซื้อก็จะนิยมไปที่ร้านนั้น จึงทำให้บางร้านเงียบและขาดรายได้เป็นอย่างมาก จึงยากแก่การขอสินเชื่อเพื่อที่จะขยายกิจการ

นางสาวจิราวรรณ ใจประสิทธิ์ รหัส49473120004

หลัการวิเคราะห์สินเชื่อ

   1.คุณสมบัติของผู้ขอสินเชื่อ  (Character) เป็นคุณสมบัติขั้นต้นที่ผู้ให้สินเชื่อพิจารณาว่าผู้ขอสินเชื่อมีลักษณะความประพฤติ เเละลักษณะนิสัย อาชีพการงานว่ามีความเสี่ยงมากน้อยเพียงใดในการขอสินเชื่อ

   2.ความสามารถในการชำระหนี้ (capacity) คือความสามารถในการชำระคืนหนี้ที่ผู้ขอสินเชื่อสามารถที่จะชำระได้หรือไม่ในแง่ของธุรกิจก็จะพิจารณาของงบการเงินในอดีตและประมานรายได้ในอนาคต

   3.เงินทุน (Capital) เป็นอีกคุณสมบัติในการขอสินเชื่อเป็นการดูที่ว่าผู้ขอสินเชื่อนั้นมีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สินในปัจจุบันอยู่เท่าไรเป็นการดูที่ว่าด้วยการที่มีหนี้สินหนี้นั้นเป็นการมีที่มากกว่าเงินทุนหรือไม่

   4.หลักประกัน (Collateral) หลักประกันเป็นส่วนสำคัญที่ผู้ที่จะให้สินเชื่อนั้นดูว่าเหมาะสมหรือไม่ในการให้สินเชื่อเพราะหลักประกันเป็นตัวประกันว่าเมื่อธุรกิจนั้นเกิดการล้มลงหรือทำธุรกิจต่อไปไม่ไว้หลักประกันจะเป็นสิ่งที่ช่วยให้ผู้ให้สินเชื่อมีความมั่นใจว่ามีเงินที่จะมาทดแทนในความเสียหายที่จะเกิดขึ้น

   5.สภาพทางเศรษฐกิจ (Condition) เป็นการพิจารณาในภาพรวมของสภาพเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในปัจจุบันว่ามีผลกระทบต่อผู้ขอสินเชื่อมากน้อยแค่ไหนโดยจะจากสภาพรอบตัวของธุรกิจ เช่น กฎหมาย การเมือง สังคม

พนักงานสินเชื่อของธนาคารควรพิจารณาให้เครดิตลูกค้าตาม นโยบาย3'p ซึ่งมีดังนี้

1.การชำระคืน paymentคือความสามารถในการดำเนินงานของผู้ขอสินเชื่อว่าจะสามารถจะทำได้ตามข้อตกลงได้หรือไม่นั้นคือการจะชำระคืนของเงินกู้ที่ขอสินเชื่อมาได้หรือไม่โดยดูจากผลการนำเงินที่แล้วมาว่าได้ทำตามที่ว่างแผนตามเป้าหมายหรือไม่

2.วัตถุประสงค์ purposeคือการที่ผู้ขอสินเชื่อนั้นคิดอะไรถึงจะมาขอกู้กับเราหรือเป้าหมายที่ผู้ขอสินเชื่อวางไว้เพื่อที่จะดำเนินการของธุรกิจ เช่น การที่ผู้ขอสินเชื่อขอกู้เพื่อที่จะขยายกิจการเราก็ต้องดูว่าสาเหตุใดถึงต้องขอขยายกิจการการดูถึงเหตุผลของวัตถุประสงค์ว่าสมควรหรือไม่


3.การป้องกันความเสี่ยง protection การดูถึงภาพรวมในการให้สินเชื่อว่าสมควรที่จะให้ตอนนี้ได้หรือไม่โดยสังเกตุจากการที่ดู ภาคเศรษฐกิจ  สังคม การเมือง ว่าตอนนี้เมื่อผู้ขอสินเชื่อได้รับเงินไปแล้วสามารถที่จะดำเนินการทางธุรกิจได้หรือไม่แล้วจะมีอะไรเป็นผลกระทบต่อธุรกิจหรือเปล่า

 

ทัศนีย์ ภูศรีฤทธิ์ 49473120015

หลักการวิเคราะห์สินเชื่อ

   1.คุณสมบัติของผู้ขอสินเชื่อ  (Character) เป็นคุณสมบัติขั้นต้นที่ผู้ให้สินเชื่อพิจารณาว่าผู้ขอสินเชื่อมีลักษณะความประพฤติ เเละลักษณะนิสัย อาชีพการงานว่ามีความเสี่ยงมากน้อยเพียงใดในการขอสินเชื่อ

   2.ความสามารถในการชำระหนี้ (capacity) คือความสามารถในการชำระคืนหนี้ที่ผู้ขอสินเชื่อสามารถที่จะชำระได้หรือไม่ในแง่ของธุรกิจก็จะพิจารณาของงบการเงินในอดีตและประมานรายได้ในอนาคต

   3.เงินทุน (Capital) เป็นอีกคุณสมบัติในการขอสินเชื่อเป็นการดูที่ว่าผู้ขอสินเชื่อนั้นมีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สินในปัจจุบันอยู่เท่าไรเป็นการดูที่ว่าด้วยการที่มีหนี้สินหนี้นั้นเป็นการมีที่มากกว่าเงินทุนหรือไม่

   4.หลักประกัน (Collateral) หลักประกันเป็นส่วนสำคัญที่ผู้ที่จะให้สินเชื่อนั้นดูว่าเหมาะสมหรือไม่ในการให้สินเชื่อเพราะหลักประกันเป็นตัวประกันว่าเมื่อธุรกิจนั้นเกิดการล้มลงหรือทำธุรกิจต่อไปไม่ไว้หลักประกันจะเป็นสิ่งที่ช่วยให้ผู้ให้สินเชื่อมีความมั่นใจว่ามีเงินที่จะมาทดแทนในความเสียหายที่จะเกิดขึ้น

   5.สภาพทางเศรษฐกิจ (Condition) เป็นการพิจารณาในภาพรวมของสภาพเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในปัจจุบันว่ามีผลกระทบต่อผู้ขอสินเชื่อมากน้อยแค่ไหนโดยจะจากสภาพรอบตัวของธุรกิจ เช่น กฎหมาย การเมือง สังคม

พนักงานสินเชื่อของธนาคารควรพิจารณาให้เครดิตลูกค้าตาม นโยบาย3'p ซึ่งมีดังนี้

1.การชำระคืน paymentคือความสามารถในการดำเนินงานของผู้ขอสินเชื่อว่าจะสามารถจะทำได้ตามข้อตกลงได้หรือไม่นั้นคือการจะชำระคืนของเงินกู้ที่ขอสินเชื่อมาได้หรือไม่โดยดูจากผลการนำเงินที่แล้วมาว่าได้ทำตามที่ว่างแผนตามเป้าหมายหรือไม่

2.วัตถุประสงค์ purposeคือการที่ผู้ขอสินเชื่อนั้นคิดอะไรถึงจะมาขอกู้กับเราหรือเป้าหมายที่ผู้ขอสินเชื่อวางไว้เพื่อที่จะดำเนินการของธุรกิจ เช่น การที่ผู้ขอสินเชื่อขอกู้เพื่อที่จะขยายกิจการเราก็ต้องดูว่าสาเหตุใดถึงต้องขอขยายกิจการการดูถึงเหตุผลของวัตถุประสงค์ว่าสมควรหรือไม่


3.การป้องกันความเสี่ยง protection การดูถึงภาพรวมในการให้สินเชื่อว่าสมควรที่จะให้ตอนนี้ได้หรือไม่โดยสังเกตุจากการที่ดู ภาคเศรษฐกิจ  สังคม การเมือง ว่าตอนนี้เมื่อผู้ขอสินเชื่อได้รับเงินไปแล้วสามารถที่จะดำเนินการทางธุรกิจได้หรือไม่แล้วจะมีอะไรเป็นผลกระทบต่อธุรกิจหรือเปล่า

นิภาวรรณ บุญวงศ์ 49473120018

หลักการในการวิเคราะห์สินเชื่อ

สิ่งที่พนักงานสินเชื่อของธนาคารพิจารณาเมื่อลูกค้าขอเครดิตมี 3ประการหรือที่เรียกง่ายๆว่า 3 Pคือ 1.วัตถุประสงค์ (purpose) 2.การชำระคืน (payment) 3.การป้องกันความเสี่ยง (protection)

1.วัตถุประสงค์(purpose)
หมายถึงการพิจารณาถึงวงเงินที่ขอมา,ชนิดของเครดิตที่ต้องการ,เครดิตที่ได้จะนำไปใช้ทำอะไรจะเป็นเงินทุน
หมุนเวียนหรือเป็นการลงทุนในทรัพย์สินถาวร,จะมีเครื่องชี้อะไรหรือไม่ว่าเครดิตที่ขอกู้อาจจะถูกนำไปใช้ผิด
วัตถุประสงค์ก็ได้

2.การชำระคืน(payment)
หมายถึงความสามารถในการดำเนินงานของผู้ขอเครดิตจะสามารถทำได้ตามสัญญาหรือไม่,ระยะเวลาที่ขอมาสั้นหรือ
ยาวไปและควรจะแก้ไขหรือไม่,การชำระคืนจะทยอยชำระเป็นงวดๆหรือครั้งเดียว,พนักงานสินเชื่อแน่ใจหรือไม่ว่า
ผู้ขอกู้จะสามารถชำระหนี้คืนตามเงื่อนไขที่ตกลงกัน

3.การป้องกันการเสี่ยง(protection)
เรื่องการป้องกันความเสี่ยงนั้นจะพิจารณาถึงการเสี่ยงกันจะเกิดขึ้นจากการที่ลูกค้าไม่สามารถชำระหนี้ได้ ,ในกรณีที่
ธุรกิจของลูกค้าขาดทุนลูกค้าในจะเอาเงินจากที่อื่นเช่นจากญาติพี่น้องมาชำระหนี้ธนาคารได้หรือไม่ถ้าไม่ได้จะขาย
ทรัพย์สินมาชำระหนี้ได้พอคุ้มหรือไม่ถ้าธุรกิจมีความเสี่ยงสูงธนาคารก็ต้องดูคุณภาพของทรัพย์สินที่เอาประกันว่า
มูลค่าจากการขายทอดตลาดจะพอคุ้มกับหนี้ของธนาคารหรือไม่
หลักอื่นๆในการวิเคราะห์สินเชื่อ1.Characterหมายถึงความซื่อสัตย์สุจริตชื่อเสียงความสามารถในการดำเนินงานของผู้ขอกู้

2.capacityคือความสามารถในการชำระคืนหนี้โดยปกติเงินที่จะนำมาชำระหนี้ควรเป็นเงินรับสุทธิจากการ
ดำเนินงานคือรายได้หลังจากหักค่าใช้จ่ายต่างๆแล้วอนึ่งหากฝ่ายบริหารบริษัทมีความสามารถสูงในการ
ดำเนินงานก็จะมีความสามารถในการชำระหนี้สูง

3.Capitalผู้ให้สินเชื่อจะต้องพิจารณาว่าผู้ขอกู้มีเงินทุนในธุรกิจของตัวเองมากน้อยแค่ไหนเพราะว่าเมื่อเกิดความ
เสียหายขึ้นผลเสียหายนั้นผู้ลงทุนจะต้องรับผิดชอบก่อนนักวิเคราะห์สินเชื่อต้องพิจารณาอัตราส่วนระหว่างหนี้สิน
กับทุนของลูกค้าด้วยลูกค้าจะต้องมีเงินทุนของตัวเองบ้างพอสมควรจะพึ่งเงินกู้จากธนาคาร 100%ย่อมเป็นไปไม่ได้

4.Collateralการค้ำประกันลูกหนี้จะช่วยลดความเสี่ยงของธนาคารการค้ำประกันต่างๆได้แก่การค้ำประกัน
โดยที่ดินและสิ่งปลูกสร้างการค้ำประกันส่วนบุคคลการใช้เครื่องจักรค้ำประกันเป็นต้น

5.Conditionsหมายถึงสภาวะการณ์หรือบรรยากาศธุรกิจที่ให้ผลดีแก่การค้าได้แก่นโยบายของรัฐบาล
ในการสนับสนุนอุตสาหกรรมบางชนิดความต้องการด้านการตลาดหรือลูกค้าอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
เป็นต้น

น.ส สุปราณี แสนทวีสุข 49473120014

การวิเคราะสินเชื่อ

เช่นธุรกิจเกียวกับเครื่องประดับ  เครื่องประดับเป็นธุรกิจที่หลากหลายรูปแบบเช่นแหวน สร้อยคอ  สร้อยข้อมือ  และอื่นๆ  ทำให้เข้าถึงได้หลายกลุ่มเป้าหมาย ในการวิเคระห์สินเชื่อของธนาคารควรทำดังนี้

1.Characterหมายถึงความซื่อสัตย์สุจริตชื่อเสียงความสามารถในการดำเนินงานของผู้ขอกู้

2.capacityคือความสามารถในการชำระคืนหนี้โดยปกติเงินที่จะนำมาชำระหนี้ควรเป็นเงินรับสุทธิจากการ
ดำเนินงานคือรายได้หลังจากหักค่าใช้จ่ายต่างๆแล้วอนึ่งหากฝ่ายบริหารบริษัทมีความสามารถสูงในการ
ดำเนินงานก็จะมีความสามารถในการชำระหนี้สูง

3.Capitalผู้ให้สินเชื่อจะต้องพิจารณาว่าผู้ขอกู้มีเงินทุนในธุรกิจของตัวเองมากน้อยแค่ไหนเพราะว่าเมื่อเกิดความ
เสียหายขึ้นผลเสียหายนั้นผู้ลงทุนจะต้องรับผิดชอบก่อนนักวิเคราะห์สินเชื่อต้องพิจารณาอัตราส่วนระหว่างหนี้สิน
กับทุนของลูกค้าด้วยลูกค้าจะต้องมีเงินทุนของตัวเองบ้างพอสมควรจะพึ่งเงินกู้จากธนาคาร 100%ย่อมเป็นไปไม่ได้

4.Collateralการค้ำประกันลูกหนี้จะช่วยลดความเสี่ยงของธนาคารการค้ำประกันต่างๆได้แก่การค้ำประกัน
โดยที่ดินและสิ่งปลูกสร้างการค้ำประกันส่วนบุคคลการใช้เครื่องจักรค้ำประกันเป็นต้น

5.Conditionsหมายถึงสภาวะการณ์หรือบรรยากาศธุรกิจที่ให้ผลดีแก่การค้าได้แก่นโยบายของรัฐบาล
ในการสนับสนุนอุตสาหกรรมบางชนิดความต้องการด้านการตลาดหรือลูกค้าอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
เป็นต้น

น.ส.นพรัตน์ เสมอตระกูล 49473120041
 

หลักในการพิจารณาสินเชื่อ

1.คุณสมบัติของผู้ขอสินเชื่อCharacterเป็นคุณสมบัติขั้นต้นที่ผู้ให้สินเชื่อพิจารณาว่าผู้ขอสินเชื่อมีลักษณะความประพฤติ เเละลักษณะนิสัย อาชีพการงานว่ามีความเสี่ยงมากน้อยเพียงใดในการขอสินเชื่อ

2.ความสามารถในการชำระหนี้capacityคือความสามารถในการชำระคืนหนี้ที่ผู้ขอสินเชื่อสามารถที่จะชำระได้หรือไม่ในแง่ของธุรกิจก็จะพิจารณาของงบการเงินในอดีตและประมานรายได้ในอนาคต

3.เงินทุนCapitalเป็นอีกคุณสมบัติในการขอสินเชื่อเป็นการดูที่ว่าผู้ขอสินเชื่อนั้นมีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สินในปัจจุบันอยู่เท่าไรเป็นการดูที่ว่าด้วยการที่มีหนี้สินหนี้นั้นเป็นการมีที่มากกว่าเงินทุนหรือไม่


 

4.หลักประกันCollateralหลักประกันเป็นส่วนสำคัญที่ผู้ที่จะให้สินเชื่อนั้นดูว่าเหมาะสมหรือไม่ในการให้สินเชื่อเพราะหลักประกันเป็นตัวประกันว่าเมื่อธุรกิจนั้นเกิดการล้มลงหรือทำธุรกิจต่อไปไม่ไว้หลักประกันจะเป็นสิ่งที่ช่วยให้ผู้ให้สินเชื่อมีความมั่นใจว่ามีเงินที่จะมาทดแทนในความเสียหายที่จะเกิดขึ้น

5.สภาพทางเศรษฐกิจConditionเป็นการพิจารณาในภาพรวมของสภาพเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในปัจจุบันว่ามีผลกระทบต่อผู้ขอสินเชื่อมากน้อยแค่ไหนโดยจะจากสภาพรอบตัวของธุรกิจ เช่น กฎหมาย การเมือง สังคม

และดูจากนโยบาย3p

1.การชำระคืน paymentคือความสามารถในการดำเนินงานของผู้ขอสินเชื่อว่าจะสามารถจะทำได้ตามข้อตกลงได้หรือไม่นั้นคือการจะชำระคืนของเงินกู้ที่ขอสินเชื่อมาได้หรือไม่โดยดูจากผลการนำเงินที่แล้วมาว่าได้ทำตามที่ว่างแผนตามเป้าหมายหรือไม่

2.วัตถุประสงค์ purposeคือการที่ผู้ขอสินเชื่อนั้นคิดอะไรถึงจะมาขอกู้กับเราหรือเป้าหมายที่ผู้ขอสินเชื่อวางไว้เพื่อที่จะดำเนินการของธุรกิจ เช่น การที่ผู้ขอสินเชื่อขอกู้เพื่อที่จะขยายกิจการเราก็ต้องดูว่าสาเหตุใดถึงต้องขอขยายกิจการการดูถึงเหตุผลของวัตถุประสงค์ว่าสมควรหรือไม่


3.การป้องกันความเสี่ยง protection การดูถึงภาพรวมในการให้สินเชื่อว่าสมควรที่จะให้ตอนนี้ได้หรือไม่โดยสังเกตุจากการที่ดู ภาคเศรษฐกิจ  สังคม การเมือง ว่าตอนนี้เมื่อผู้ขอสินเชื่อได้รับเงินไปแล้วสามารถที่จะดำเนินการทางธุรกิจได้หรือไม่แล้วจะมีอะไรเป็นผลกระทบต่อธุรกิจหรือเปล่า

น.ส.ดวงฤทัย แสงสุวรรณ์ รหัส 49473120003
ธุรกิจที่ข้าพเจ้าสนใจคือธุรกิจโรงงานผลิตรองเท้าสตรี ซึ่งถ้าธนาคารจะพิจารณาให้สินเชื่อควรที่จะมีการพิจารณาในแง่ต่างๆ ดังนี้- การใช้นโยบาย 6C’s1.ดูคุณสมบัติผู้ขอสินเชื่อ คือการพิจารณาถึงลักษณะนิสัย ความประพฤติ หรือพิจารณาว่าธุรกิจที่ทำนั้นมีความเสี่ยงมากน้อยเพียงใด2. ความสามารถในการชำระหนี้ คือการพิจารณาในแง่การมีรายได้ในธุรกิจว่าเพียงพอที่จะชำระหนี้ที่ได้ตกลงกันไว้ได้หรือไม่3. เงินทุน คือการที่ธนาคารจะพิจารณาให้สินเชื่อแก่ธุรกิจ จำเป็นต้องพิจารณาถึงเงินทุนที่ธุรกิจนั้นๆมีซึ่งควรจะมีเงินทุนอยู่บ้างจำนวนหนึ่ง4. หลักประกัน คือการพิจารณาให้สินเชื่อควรที่จะมีหลักประกันที่เหมาะสมกับเงินทุนที่ขอสินเชื่อ5. สภาพทางเศรษฐกิจ ควรจะพิจารณาถึงภาวะแวดล้อมภายนอกในปัจจุบันหรือแม้กระทั่งคาดการณ์ไปถึงอนาคตที่จะส่งผลกระทบในแง่บวกและลบต่อธุรกิจแล้วจะส่งผลกลับมายังธนาคารที่ให้สินเชื่อได้6. ประเทศที่ติดต่อด้วย มีการพิจารณาถึงประเทศที่ธุรกิจที่ขอสินเชื่อติดต่อธุรกิจอยู่ด้วยว่ามีความมั่นคงหรือมีความเสี่ยงอย่างไร- การใช้นโยบาย 3P’s1.การชำระคืน คือการพิจารณาว่าลูกค้ามีแผนการชำระหนี้อย่างไรและมีความเป็นไปได้อย่างไร2.วัตถุประสงค์ ธนาคารที่จะให้สินเชื่อควรที่จะต้องทราบถึงว่าธุรกิจที่ต้องการขอสินเชื่อนั้นขอไปเพื่อทำอะไร3.การป้องกันความเสี่ยง  คือการพิจาณาภาพรวมๆทั้งในแง่จุลภาคและมหภาคเพื่อมาประกอบการพิจารณาลดความเสี่ยง-ในการพิจารณาให้สินเชื่อแก่ธุรกิจนั้นควรมีการทำรายงานวิเคราะห์สินเชื่อและควรที่จะมีข้อมูลที่สำคัญๆ ดังนี้1. การดำเนินธุรกิจ2. ผู้บริหาร3. ฐานะทางการเงิน4.ผลิตภัณฑ์ ประกอบด้วย ประเภทของผลิตภัณฑ์ แหล่งวัตถุดิบ  นโยบายการสั่งซื้อวัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์ นโยบายการสต๊อคสินค้าคงคลัง5.การผลิต ประกอบด้วย โรงงาน เครื่องมือเครื่องจักร จำนวนคนงาน จำนวนกะ สวัสดิการ กำลังการผลิต กรรมวิธีการผลิต นโยบายสต๊อคสินค้าสำเร็จรูป6.การตลาด ประกอบด้วย วิธีการจำหน่าย นโยบายด้านราคา รายได้ แยกตามผลิตภัณฑ์ การส่งเสริมการขาย คู่แข่งขัน7.การบริหารงานและการจัดการองค์กร8.ปัญหาในการดำเนินงาน9.โครงการในอนาคต

10.ภาวะธุรกิจของผลิตภัณฑ์และบริการ

ทั้งหมดนี้ที่เป็นข้อมูลในการประกอบการพิจารณาสินเชื่อที่ธนาคารควรที่จะมีเพื่อดูในหลายๆแง่ประกอบกันซึ่งจะทำให้การพิจารณาให้สินเชื่อแก่ธุรกิจมีประสิทธิภาพมากขึ้น 

 

 
น.ส.ชุธิมา เหมือนงิ้ว รหัส 49473120025
หลักการวิเคราะห์สินเชื่อ1. นโยบาย 3P’ S  ประกอบด้วย                1. การชำระคืน paymentคือความสามารถในการดำเนินงานของผู้ขอสินเชื่อว่าจะสามารถจะทำได้ตามข้อตกลงได้หรือไม่นั้นคือการจะชำระคืนของเงินกู้ที่ขอสินเชื่อมาได้หรือไม่โดยดูจากผลการนำเงินที่แล้วมาว่าได้ทำตามที่ว่างแผนตามเป้าหมายหรือไม่          2.วัตถุประสงค์ purposeคือการที่ผู้ขอสินเชื่อนั้นคิดอะไรถึงจะมาขอกู้กับเราหรือเป้าหมายที่ผู้ขอสินเชื่อวางไว้เพื่อที่จะดำเนินการของธุรกิจ เช่น การที่ผู้ขอสินเชื่อขอกู้เพื่อที่จะขยายกิจการเราก็ต้องดูว่าสาเหตุใดถึงต้องขอขยายกิจการการดูถึงเหตุผลของวัตถุประสงค์ว่าสมควรหรือไม่         
                3.การป้องกันความเสี่ยง protection การดูถึงภาพรวมในการให้สินเชื่อว่าสมควรที่จะให้ตอนนี้ได้หรือไม่โดยสังเกตจากการที่ดู ภาคเศรษฐกิจ  สังคม การเมือง ว่าตอนนี้เมื่อผู้ขอสินเชื่อได้รับเงินไปแล้วสามารถที่จะดำเนินการทางธุรกิจได้หรือไม่แล้วจะมีอะไรเป็นผลกระทบต่อธุรกิจหรือเปล่า
                นอกจากนี้ยังมีนโยบาย 6C’s ประกอบด้วย1 คุณสมบัติผู้ขอสินเชื่อ (Character) คือ การพิจารณาว่าผู้ขอสินเชื่อมีลักษณะนิสัย ความประพฤติ หรืออาชีพการงานที่มีความเสี่ยงมากน้อยเพียงใด2. ความสามารถในการชำระหนี้ (Capacity) คือ การพิจารณาในแง่การมีรายได้ในการประกอบอาชีพ หรือการทำธุรกิจเพียงพอที่จะชำระหนี้ได้ตามที่ตกลงไว้ด้วยกัน3. เงินทุน (Capital) คือ การพิจารณาว่าผู้ขอสินเชื่อนั้นมีมูลค่าสินทรัพย์สินมากกว่าหนี้สินในปัจจุบันอยู่เท่าใด4. หลักประกัน (Collateral) คือ การพิจารณาว่าผู้ขอสินเชื่อมีหลักค้ำประกันเพียงพอกับวงเงินกู้หรือไม่5. สภาพทางเศรษฐกิจ (Condition) คือ การพิจารณาเชิงมหภาคที่ผู้ให้สินเชื่อต้องมีความรู้ถึงภาวะแวดล้อมภายนอกที่ส่งผลกระทบทั้งในแง่บวกและลบต่อผู้ขอสินเชื่อ6. ประเทศที่ติดต่อด้วย (Country) เป็นคุณสมบัติประการสำคัญในปัจจุบันที่ต้องพิจารณา เพราะถึงแม้จะเป็นการให้สินเชื่อในประเทศ แต่ลูกค้ารายนั้นทำธุรกิจนำเข้า ส่งออก ซึ่งมีความเสี่ยงจากกฎระเบียบในการค้าโลก อัตราแลกเปลี่ยนระหว่างสกุลเงิน และภาวะต่างมากมาย

 

นางสาวประภา เลิศพัฒนวรกุล รหัส49473120026
หลักการวิเคราะห์สินเชื่อ 1.คุณสมบัติของผู้ขอสินเชื่อ  (Character) เป็นคุณสมบัติขั้นต้นที่ผู้ให้สินเชื่อพิจารณาว่าผู้ขอสินเชื่อมีลักษณะความประพฤติ เเละลักษณะนิสัย อาชีพการงานว่ามีความเสี่ยงมากน้อยเพียงใดในการขอสินเชื่อ คุณสมบัติของผู้ขอสินเชื่อที่ควรหลีกเลี่ยง   เช่น  ผู้มีอายุมาก  มีโรคประจำตัว  ผุ้มีนิสัยเกเร  ทำตัวเป็นผู้มีอิทธิพล เป็นต้น 2.ความสามารถในการชำระหนี้ (capacity) คือความสามารถในการชำระคืนหนี้ที่ผู้ขอสินเชื่อสามารถที่จะชำระได้หรือไม่ในแง่ของธุรกิจก็จะพิจารณาของงบการเงินในอดีตและประมานรายได้ในอนาคตในการชำระคืนหนี้โดยปกติเงินที่จะนำมาชำระหนี้ควรเป็นเงินรับสุทธิจากการดำเนินงานคือรายได้หลังจากหักค่าใช้จ่ายต่างๆแล้วอนึ่งหากฝ่ายบริหารบริษัทมีความสามารถสูงในการ
ดำเนินงานก็จะมีความสามารถในการชำระหนี้สูง

   3.เงินทุน (Capital) เป็นอีกคุณสมบัติในการขอสินเชื่อเป็นการดูที่ว่าผู้ขอสินเชื่อนั้นมีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สินในปัจจุบันอยู่เท่าไรเป็นการดูที่ว่าด้วยการที่มีหนี้สินหนี้นั้นเป็นการมีที่มากกว่าเงินทุนหรือไม่เพราะว่าเมื่อเกิดความเสียหายขึ้นผลเสียหายนั้นผู้ลงทุนจะต้องรับผิดชอบก่อนนักวิเคราะห์สินเชื่อต้องพิจารณาอัตราส่วนระหว่างหนี้สินกับทุนของลูกค้าด้วยลูกค้าจะต้องมีเงินทุนของตัวเองบ้างพอสมควรจะพึ่งเงินกู้จากธนาคาร 100%ย่อมเป็นไปไม่ได้

4.หลักประกัน (Collateral) หลักประกันเป็นส่วนสำคัญที่ผู้ที่จะให้สินเชื่อนั้นดูว่าเหมาะสมหรือไม่ในการให้สินเชื่อเพราะหลักประกันเป็นตัวประกันว่าเมื่อธุรกิจนั้นเกิดการล้มลงหรือทำธุรกิจต่อไปไม่ไว้หลักประกันจะเป็นสิ่งที่ช่วยให้ผู้ให้สินเชื่อมีความมั่นใจว่ามีเงินที่จะมาทดแทนในความเสียหายที่จะเกิดขึ้น

5.สภาพทางเศรษฐกิจ (Condition) เป็นการพิจารณาในภาพรวมของสภาพเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในปัจจุบันว่ามีผลกระทบต่อผู้ขอสินเชื่อมากน้อยแค่ไหนโดยจะจากสภาพรอบตัวของธุรกิจ เช่น กฎหมาย  การเมือง  สังคมนอกจากนี้ธนาคารอาจจะใช้นโยบาย 3‘P ก็ได้1.การชำระคืน (payment) คือความสามารถในการดำเนินงานของผู้ขอสินเชื่อว่าจะสามารถจะทำได้ตามข้อตกลงได้หรือไม่นั้นคือการจะชำระคืนของเงินกู้ที่ขอสินเชื่อมาได้หรือไม่โดยดูจากผลการนำเงินที่แล้วมาว่าได้ทำตามที่ว่างแผนตามเป้าหมายหรือไม่2.วัตถุประสงค์  (purpose) คือการที่ผู้ขอสินเชื่อนั้นคิดอะไรถึงจะมาขอกู้กับเราหรือเป้าหมายที่ผู้ขอสินเชื่อวางไว้เพื่อที่จะดำเนินการของธุรกิจ เช่น การที่ผู้ขอสินเชื่อขอกู้เพื่อที่จะขยายกิจการเราก็ต้องดูว่าสาเหตุใดถึงต้องขอขยายกิจการการดูถึงเหตุผลของวัตถุประสงค์ว่าสมควรหรือไม่3.การป้องกันความเสี่ยง (protection)  การดูถึงภาพรวมในการให้สินเชื่อว่าสมควรที่จะให้ตอนนี้ได้หรือไม่โดยสังเกตุจากการที่ดู ภาคเศรษฐกิจ  สังคม การเมือง ว่าตอนนี้เมื่อผู้ขอสินเชื่อได้รับเงินไปแล้วสามารถที่จะดำเนินการทางธุรกิจได้หรือไม่แล้วจะมีอะไรเป็นผลกระทบต่อธุรกิจหรือเปล่า

 

ประภาพรณ เรืองทอง 49473120027
ธนาคารจะวิเคราะห์สินเชื่อ  ควรจะพิจารณาโดยใช้ 3 P’s  1.การชำระคืน (payment) ต้องพิจารณาว่าลูกค้ามีแผนการที่จะชำระอย่างไรมีความสามารถในการทำกำไรมากน้อยเพียงใดรวมไปถึงสภาพคล่องของกิจการของลูกค้า  2.วัตถุประสงค์ (purpose) พิจารณาดูว่าการขอสินเชื่อจะนำไปใช้ในการทำอะไร  3.การป้องกันความเสี่ยง (protection) โดยเจ้าหนี้จะต้องนำเอาทั้งการชำระคืนและวัตถุประสงค์มาร่วมในการพิจารณาความเสี่ยงด้วย การดูถึงภาพรวมในการให้สินเชื่อว่าสมควรที่จะให้ตอนนี้ได้หรือไม่เมื่อผู้ขอสินเชื่อได้รับเงินไปแล้วสามารถที่จะดำเนินการทางธุรกิจได้หรือไม่แล้วจะมีอะไรเป็นผลกระทบต่อธุรกิจหรือเปล่า   

และในการให้สินเชื่อเราควรใช้ 6 C’s เข้าเป็นพื้นฐานหลักในการพิจารณาด้วย

 

1. ดูคุณสมบัติของผู้ขอสินเชื่อ (Character) เป็นพิจารณาว่าผู้ขอสินเชื่อมีนิสัยอย่างไรมีอาชีพการงานที่มีความเสี่ยงมากน้อยเพียงใด

 

2.  ความสามารถในการชำระหนี้ (Capacity) เป็นคุณสมบัติที่พิจารณาในแง่รายได้ในการประกอบอาชีพ

 

3. เงินทุน (Captital) ต้องพิจารณาว่า ผู้ที่ขอสินเชื่อนั้นมีมูลค่าทรัพย์สินมากกว่าหนี้สินอยู่เท่าใด และควรให้กู้กับลูกค้าที่มีเงินทุนอยู่แล้วจำนวนหนึ่งซึ่งจะทำให้ผู้กู้มีความเสี่ยงต่ำ

 

4. หลักประกัน (Collateral) เป็นการนำหลักทรัพย์ที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ พวกที่ดิน หรือสิ่งปลูกสร้าง ไปคำประกันไว้กับธนาคาร จะได้มีความความเสี่ยงน้อย

 

5.สภาพทางเศรษฐกิจ (Condition) เป็นการพิจารณาถึงสภาพเเวดล้อมภายนอกที่ส่งผลทั้งในเเง่บวกเเละเเง่ลบต่อผู้ขอสินเชื่อ

 6. ประเทศที่ติดต่อด้วย (Country ) สำคัญที่สุดในการพิจารณาเพราะการให้สินเชื่อในประเทศ จะมีความเสี่ยงมากเนื่องจากธุรกิจก็อาจมีการนำสินค้าส่งออก อัตราการแลกเปลี่ยนสกุลเงินที่ไม่เหมือนกัน มีการค้าที่ไม่ราบรื่นทำให้มีปัญหาต่อการชำระหนี้ที่ได้ตกลงไว้
นางสาวมลิศา ธนบัตร รหัส 49473120034

ตอบ อย่างธุรกิจที่น่าสนใจเช่น ธุรกิจการผลิตและส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูป ธนาคารที่จะให้สินเชื่อก็ควรที่จะทำการวิเคราะห์สินเชื่อด้วย   นโยบาย 6C's อันประกอบด้วย

1.คุณสมบัติของผู้ขอสินเชื่อ (Character)คือ ดูลักษณะนิสัย ความประพฤติและความเสี่ยงในอาชีพที่ทำว่ามีความเสี่ยงมากน้อยเพียงใด
2.ความสามารถในการชำระหนี้(capacity)คือพิจารณารายได้ในการประกอบอาชีพ ความสามารถในการชำระคืนหนี้ที่ได้ตกลงไว้ได้หรือไม่                                             3.เงินทุน(Capital)พิจารณาว่าผู้ขอสินเชื่อนั้นมีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สินในปัจจุบันอยู่เท่าไรคือเป็นการดูว่ากิจการมีเงินทุนอยู่จำนวนหนึ่งหรือไม่                                         4.หลักประกัน(Collateral)หลักประกันเป็นส่วนสำคัญมากจะพิจารณาดูว่ากิจการมีหลักประกันพอที่จะขอสินเชื่อหรือไม่                                                                        5.สภาพทางเศรษฐกิจ(Condition)เป็นการพิจารณาในภาพรวมของสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันว่ามีผลกระทบต่อผู้ขอสินเชื่อในแง่บวกหรือแง่ลบ                                       6.ประเทศที่มาติดต่อด้วย (Country) พิจารณาดูอัตราการแลกเปลี่ยนระหว่างสกุลเงิน รสนิยมที่เปลี่ยนปลงไป
และอีกนโยบายที่ควรใช้ร่วมกันคือ

นโยบาย3p's

1.การชำระคืน (payment)คือพิจารณาว่าลูกค้ามีแผนชำระหนี้อย่างไร                                                           2.วัตถุประสงค์ (purpose)พิจารณาว่าผู้นั้นขอสินเชื่อไปเพื่ออะไร  ประกอบกิจการอะไร                                     3. การป้องกันความเสี่ยง (protection) การพิจารณาร่วมกันระหว่างการชำระคืนและวัตถุประสงค์รวมถึงสภาพแวดล้อมในแง่มหภาคด้วย เช่น การเมือง เศรษฐกิจ เป็นต้น                                                                             ซึ่งนอกจากสิ่งที่กล่าวมานี้ธนาคารยังสามารถพิจารณาจากการดำเนินธุรกิจ ผู้บริหาร ผลิตภัณฑ์ งบการเงิน เป็นต้น ซึ่งจะทำให้การให้สินเชื่อของธนาคารมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

นางสาวสมจิตร ประมาพงค์ รหัส 49473120086

การวิเคราะห์ธุรกิจบ้านและที่อยู่อาศัย

มีหลักการวิเคราะห์คือ

1.ดูคุณสมบัติของผู้ขอสินเชื่อ คือ    เป็นคุณสมบัติขั้นต้นที่ผู้ให้สินเชื่อพิจารณาว่าผู้ขอสินเชื่อมีลักษณะความประพฤติ เเละลักษณะนิสัย อาชีพการงานว่ามีความเสี่ยงมากน้อยเพียงใดในการขอสินเชื่อ

2.ความสามารถในการชำระหนี้   พิจารณาถึงรายได้ที่เค้าประกอบอาชีพว่าจะมีเพียงพอที่จะชำระหนี้ที่ตกลงกันไว้หรือไม่

3.เงินทุน   พิจารณาดูว่าผู้ขอสินเชื่อนั้นมีมูลค่าทรัพย์สินมากว่าหนี้สินในปัจจุบันอยู่เท่าไร เพื่อที่จะทำให้ผู้ให้กู้มีความเสี่ยงต่ำ

4. หลักประกัน มีความสำคัญมาก พิจารณาดูว่าหลักประกันที่เอามาประกันนั้นมีความเสี่ยงมากน้อยเพียงใดหรือมีมูลค่าเท่าไร่ ถ้าลูกหนี้ไม่มีหลักประกันก็ไม่อาจที่จะขอสินเชื่อได้เพราะทั้งนี้อาจจะทำให้เกิดความเสี่ยงแก่ผู้ให้กู้ได้

5. สภาพเศรษฐกิจ อาจจะพิจารณาดูถึงสภาพแวดล้อมในตอนนั้นๆและอนาคตข้างหน้า อาจจะมีการพยากรณ์ล่วงหน้าส่วนใหญ่ปัจจัยที่ต้องพิจารณาก็คือ การเมือง เศรษฐกิจ  อัตราดอกเบี้ย  อัตราภาษี   อัตราแลกเปลี่ยน  เป็นต้น

6.ประเทศที่มาติดต่อด้วย  เป็นปัจจัยที่สำคัญถึงแม้ว่าจะเป็นการให้สินเชื่อในประเทศก็ตาม แต่บางครั้งลูกหนี้อาจจะส่งออกซึ่งต้องพิจารณาดูอัตราการแลกเปลี่ยนระหว่างสกุลเงิน

 

นางสาวสมจิตร ประมาพงค์ รหัส 49473120086

การวิเคราะห์บ้านและที่อยู่อาศัย

หลักการวิเคราะห์คือ

"ขอโทษค่ะส่งครั้งแรกไม่รู้เรื่อง"

1. Character   คือเป็นผู้ที่มีความซื่อสัตย์สุจริตควรดูลักษณะนิสัย ความประพฤติ ควรหลีกเลี่ยงผู้ที่มีอายุมาก มีโรคประจำตัว ตำรวจ นักการเมือง

2.capacityคือความสามารถในการชำระคืนหนี้โดยปกติเงินที่จะนำมาชำระหนี้ควรเป็นเงินรับสุทธิจากการ
ดำเนินงานคือรายได้หลังจากหักค่าใช้จ่ายต่างๆแล้วอนึ่งหากฝ่ายบริหารบริษัทมีความสามารถสูงในการ
ดำเนินงานก็จะมีความสามารถในการชำระหนี้สูง

3.Capitalผู้ให้สินเชื่อจะต้องพิจารณาว่าผู้ขอกู้มีเงินทุนในธุรกิจของตัวเองมากน้อยแค่ไหนเพราะว่าเมื่อเกิดความ
เสียหายขึ้นผลเสียหายนั้นผู้ลงทุนจะต้องรับผิดชอบก่อนนักวิเคราะห์สินเชื่อต้องพิจารณาอัตราส่วนระหว่างหนี้สิน
กับทุนของลูกค้าด้วยลูกค้าจะต้องมีเงินทุนของตัวเองบ้างพอสมควรจะพึ่งเงินกู้จากธนาคาร 100%ย่อมเป็นไปไม่ได้

4.Collateralการค้ำประกันลูกหนี้จะช่วยลดความเสี่ยงของธนาคารการค้ำประกันต่างๆได้แก่การค้ำประกัน
โดยที่ดินและสิ่งปลูกสร้างการค้ำประกันส่วนบุคคลการใช้เครื่องจักรค้ำประกันเป็นต้น

5.Conditionsหมายถึงสภาวะการณ์หรือบรรยากาศธุรกิจที่ให้ผลดีแก่การค้าได้แก่นโยบายของรัฐบาล
ในการสนับสนุนอุตสาหกรรมบางชนิดความต้องการด้านการตลาดหรือลูกค้าอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ

6.Countryหมายถึงลูกค้ารายนั้นอาจทำธุรกิจนำเข้าส่งออกซึ่งมีกฏระเบียบในการค้าโลก  อัตราแลกเปลี่ยนระหว่างสกุลเงิน  ซึ่งอาจส่งผลต่อรายรับและไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามที่ตกลงกันไว้

อรัญญา นันทพรสิริพงศ์ รหัส 49473120038

      ธุรกิจที่ข้าพเจ้าสนใจอยู่ในขณะนี้ คือ การส่งออกผักและผลไม้  ถ้าธนาคารคารจะวิเคาระห์สินเชื่อก็คงจพิจารณาด้วยหลัก 6 C's และ 3 P's ควบคู่กันไปด้วย

     1. ดูคุณสมบัติผู้ขอสินเชื่อ เป็นคุณสมบัติประการแรกที่ผู้ให้สินเชื่อพิจารว่าผู้ขอสินเชื่อมีลักษณะนิสัย ความประพฤติ หรือาชีพที่มีความเสี่ยงมากน้อยเพียงใด

     2. ความสามารถในการชำระหนี้  เป็นคุณสมบัติในแง่การมีรายได้ในการประกอบอาชีพ หรือการทำธุรกิจเพียงพอที่จะชำระหนี้ได้ตามที่ตกลงกันไว้หรือไม่ จะพิจารณาในแง่ของงบการเงินในอดีตและประมาณการรายได้ในอนาคต

     3.เงินทุน พิจารณาดูว่าธุรกิจมีเงินทุนอยู่เท่าใด  มากน้อยเพียงใด

     4. หลักประกัน  การขอสินเชื่อทุกครั้งต้องมีหลักประกันเพื่อป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นเพราะเมื่อเกิดปัญหาในอนาคตสามารถใช้สิทธิครอบครองได้ง่าย ดังนั้นหลักประกันจึงสำคัญมาก

     5.สภาพทางเศรษฐกิจ ผู้ให้สินเชื่อจะต้องพิจารณาทางมหภาค โดยต้องพิจารณาถึง กฎหมาย สภาพเศรษฐกิจ การเมือง สังคม เทคโนโลยี อัตราดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยน เป็นต้น

     6.ประเทศที่ติดต่อด้วย เป็นคุณสมบัติประการสำคัญในปัจจุบันที่ต้องพิจารณา เพราะเมื่อทำธุรกิจส่งมีความจำเป็นอย่างมากที่จะต้องพิจารณา เนื่องจากต้องมีความเสี่ยงจากกฎระเบียบในการค้าโลก อัตราแลกเปลี่ยนระหว่างสกุลเงิน การกีดกันทางการค้า เป็นต้น

     ส่วนหลกการวิเคราะห์สินเชื่อที่อาจนำไปใช้ควบคู่กันได้ คือ นโยบาย 3P's คือ

     1.การชำระคืน ต้องตรวจสอบความสามารถในการชำระหนี้ของธุรกิจเป็นอย่างไร มีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด ในการที่ลูกค้าจะชำระดอกเบี้ยและเงินต้นคืนได้ตามเงื่อนไข โดยอาจจะพิจารณาจาก ประเภทของธุรกิจ ภาวะการแข่งขัน การทำการตลาด ฐานะทางการเงินและการดำเนินงานของะรกิจ เป็นต้น

     2.วัตถุประสงค์  ดูวัตถุประสงค์ของผู้กู้ว่าจะนำไปใช้ทำอะไร ซึ่งวัตถุประสงค์นั้นต้องไม่ผิดต่อศีลธรรม สามารถทำกำไรและสามารถนำมาชำระหนี้ได้ ฌป็นต้น

     3. การป้องกันความเสี่ยง โดยเจ้าหนี้ต้องนำหลักทั้ง 2 มาร่วมพิจารณา อีกทั้งต้องพิจารณาถึงสภาพเศรษฐกิจ สังคม กฎหมาย เทคโนโลยี เป็นต้น เพื่อจะนำมาพิจารณาลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น

นางสาวสุขศิริ อาสา รหัส 49473120074

   ธุรกิจที่ข้าพเจ้าสนใจคือธุรกิจโรงงานผลิตเสื้อผ้า ซึ่งถ้าธนาคารจะพิจารณาให้สินเชื่อควรที่จะมีการพิจารณาในแง่ต่างๆ ดังนี้

  - การใช้นโยบาย 6C’s

1.  ดูคุณสมบัติผู้ขอสินเชื่อ คือการพิจารณาถึงลักษณะนิสัย ความประพฤติ หรือพิจารณาว่าธุรกิจที่ทำนั้นมีความเสี่ยงมากน้อยเพียงใด

2. ความสามารถในการชำระหนี้ คือการพิจารณาในแง่การมีรายได้ในธุรกิจว่าเพียงพอที่จะชำระหนี้ที่ได้ตกลงกันไว้ได้หรือไม่

3. เงินทุน คือการที่ธนาคารจะพิจารณาให้สินเชื่อแก่ธุรกิจ จำเป็นต้องพิจารณาถึงเงินทุนที่ธุรกิจนั้นๆมีซึ่งควรจะมีเงินทุนอยู่บ้างจำนวนหนึ่ง

4. หลักประกัน คือการพิจารณาให้สินเชื่อควรที่จะมีหลักประกันที่เหมาะสมกับเงินทุนที่ขอสินเชื่อ

5. สภาพทางเศรษฐกิจ ควรจะพิจารณาถึงภาวะแวดล้อมภายนอกในปัจจุบันหรือแม้กระทั่งคาดการณ์ไปถึงอนาคตที่จะส่งผลกระทบในแง่บวกและลบต่อธุรกิจแล้วจะส่งผลกลับมายังธนาคารที่ให้สินเชื่อได้

6. ประเทศที่ติดต่อด้วย มีการพิจารณาถึงประเทศที่ธุรกิจที่ขอสินเชื่อติดต่อธุรกิจอยู่ด้วยว่ามีความมั่นคงหรือมีความเสี่ยงอย่างไร

     - การใช้นโยบาย 3P’s1.การชำระคืน คือการพิจารณาว่าลูกค้ามีแผนการชำระหนี้อย่างไรและมีความเป็นไปได้อย่างไร2.วัตถุประสงค์ ธนาคารที่จะให้สินเชื่อควรที่จะต้อง

        - การใช้นโยบาย 3P’s1.การชำระคืน คือการพิจารณาว่าลูกค้ามีแผนการชำระหนี้อย่างไรและมีความเป็นไปได้อย่างไร2.วัตถุประสงค์ ธนาคารที่จะให้สินเชื่อควรที่จะต้องทราบถึงว่าธุรกิจที่ต้องการขอสินเชื่อนั้นขอไปเพื่อทำอะไร3.การป้องกันความเสี่ยง  คือการพิจาณาภาพรวมๆทั้งในแง่จุลภาคและมหภาคเพื่อมาประกอบการพิจารณาลดความเสี่ยง-ในการพิจารณาให้สินเชื่อแก่ธุรกิจนั้นควรมีการทำรายงานวิเคราะห์สินเชื่อและควรที่จะมีข้อมูลที่สำคัญๆ ดังนี้1. การดำเนินธุรกิจ2. ผู้บริหาร3. ฐานะทางการเงิน4.ผลิตภัณฑ์ ประกอบด้วย ประเภทของผลิตภัณฑ์ แหล่งวัตถุดิบ  นโยบายการสั่งซื้อวัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์ นโยบายการสต๊อคสินค้าคงคลัง5.การผลิต ประกอบด้วย โรงงาน เครื่องมือเครื่องจักร จำนวนคนงาน จำนวนกะ สวัสดิการ กำลังการผลิต กรรมวิธีการผลิต นโยบายสต๊อคสินค้าสำเร็จรูป6.การตลาด ประกอบด้วย วิธีการจำหน่าย นโยบายด้านราคา รายได้ แยกตามผลิตภัณฑ์ การส่งเสริมการขาย คู่แข่งขัน7.การบริหารงานและการจัดการองค์กร8.ปัญหาในการดำเนินงาน9.โครงการในอนาคต

10.ภาวะธุรกิจของผลิตภัณฑ์และบริการ

ทั้งหมดนี้ที่เป็นข้อมูลในการประกอบการพิจารณาสินเชื่อที่ธนาคารควรที่จะมีเพื่อดูในหลายๆแง่ประกอบกันซึ่งจะทำให้การพิจารณาให้สินเชื่อแก่ธุรกิจมีประสิทธิภาพมากขึ้น 

นายสัญชัย สุวรรณวงศ์ รหัส 49473120072

 หลักการวิเคราะห์สินเชื่อสินเชื่อ

    นโยบาย 3P's

1. paymentคือความสามารถในการดำเนินงานของผู้ขอสินเชื่อว่าจะสามารถจะทำได้ตามข้อตกลงได้หรือไม่นั้นคือการจะชำระคืนของเงินกู้ที่ขอสินเชื่อมาได้หรือไม่โดยดูจากผลการนำเงินที่แล้วมาว่าได้ทำตามที่ว่างแผนตามเป้าหมายหรือไม่

2.purposeคือการที่ผู้ขอสินเชื่อนั้นคิดอะไรถึงจะมาขอกู้กับเราหรือเป้าหมายที่ผู้ขอสินเชื่อวางไว้เพื่อที่จะดำเนินการของธุรกิจ เช่น การที่ผู้ขอสินเชื่อขอกู้เพื่อที่จะขยายกิจการเราก็ต้องดูว่าสาเหตุใดถึงต้องขอขยายกิจการการดูถึงเหตุผลของวัตถุประสงค์ว่าสมควรหรือไม่


3.protection การดูถึงภาพรวมในการให้สินเชื่อว่าสมควรที่จะให้ตอนนี้ได้หรือไม่โดยสังเกตุจากการที่ดู ภาคเศรษฐกิจ  สังคม การเมือง ว่าตอนนี้เมื่อผู้ขอสินเชื่อได้รับเงินไปแล้วสามารถที่จะดำเนินการทางธุรกิจได้หรือไม่แล้วจะมีอะไรเป็นผลกระทบต่อธุรกิจหรือเปล่า

คุณสมบัติผู้ขอสินเชื่อ

1. (Character) พิจารณาว่าผู้ขอสินเชื่อมีลักษณะนิสัยเช่นไร มีความซื่อสัตย์ สามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนดเเละวันเวลาได้หรือไม่ เเละมีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด

2.(Capacity)หมายถึงความประพฤติ เเละลักษณะนิสัย อาชีพการงานว่ามีความเสี่ยงมากน้อยเพียงใดในการขอสินเชื่อ

3.(Capital)ผู้ให้สินเชื่อจะต้องพิจารณาว่าผู้ขอกู้มีเงินทุนในธุรกิจของตัวเองมากน้อยแค่ไหนเพื่อลดความเสี่ยง

4.(Collateral)การค้ำประกันลูกหนี้จะช่วยลดความเสี่ยงของธนาคารการค้ำประกันต่างๆได้แก่การค้ำประกันโดยที่ดินและสิ่งปลูกสร้างการค้ำประกันส่วนบุคคลการใช้เครื่องจักรค้ำซึ่งหลักทรัพย์ที่ใช้ในการคำประกันจะมีราคามากกว่าเงินที่กู้

5.Conditionsหมายถึงสภาวะการณ์หรือบรรยากาศธุรกิจที่ให้ผลดีแก่การค้าได้แก่นโยบายของรัฐบาล
ในการสนับสนุนอุตสาหกรรมบางชนิดความต้องการด้านการตลาดหรือลูกค้าอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ

6.Country เป็นปัจจัยที่สำคัญถึงแม้ว่าจะเป็นการให้สินเชื่อในประเทศก็ตาม แต่บางครั้งลูกหนี้อาจจะส่งออกซึ่งต้องพิจารณาดูอัตราการแลกเปลี่ยนระหว่างสกุลเงิน

นายชัยวัฒน์ จันทสนธิ์ รหัส 49473120077

หลักการวิเคราะห์สินเชื่อ

   1.คุณสมบัติของผู้ขอสินเชื่อ  (Character) เป็นคุณสมบัติขั้นต้นที่ผู้ให้สินเชื่อพิจารณาว่าผู้ขอสินเชื่อมีลักษณะความประพฤติ เเละลักษณะนิสัย อาชีพการงานว่ามีความเสี่ยงมากน้อยเพียงใดในการขอสินเชื่อ

   2.ความสามารถในการชำระหนี้ (capacity) คือความสามารถในการชำระคืนหนี้ที่ผู้ขอสินเชื่อสามารถที่จะชำระได้หรือไม่ในแง่ของธุรกิจก็จะพิจารณาของงบการเงินในอดีตและประมานรายได้ในอนาคต

   3.เงินทุน (Capital) เป็นอีกคุณสมบัติในการขอสินเชื่อเป็นการดูที่ว่าผู้ขอสินเชื่อนั้นมีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สินในปัจจุบันอยู่เท่าไรเป็นการดูที่ว่าด้วยการที่มีหนี้สินหนี้นั้นเป็นการมีที่มากกว่าเงินทุนหรือไม่

   4.หลักประกัน (Collateral) หลักประกันเป็นส่วนสำคัญที่ผู้ที่จะให้สินเชื่อนั้นดูว่าเหมาะสมหรือไม่ในการให้สินเชื่อเพราะหลักประกันเป็นตัวประกันว่าเมื่อธุรกิจนั้นเกิดการล้มลงหรือทำธุรกิจต่อไปไม่ไว้หลักประกันจะเป็นสิ่งที่ช่วยให้ผู้ให้สินเชื่อมีความมั่นใจว่ามีเงินที่จะมาทดแทนในความเสียหายที่จะเกิดขึ้น

   5.สภาพทางเศรษฐกิจ (Condition) เป็นการพิจารณาในภาพรวมของสภาพเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในปัจจุบันว่ามีผลกระทบต่อผู้ขอสินเชื่อมากน้อยแค่ไหนโดยจะจากสภาพรอบตัวของธุรกิจ เช่น กฎหมาย การเมือง สังคม

พนักงานสินเชื่อของธนาคารควรพิจารณาให้เครดิตลูกค้าตาม นโยบาย3'p ซึ่งมีดังนี้

1.การชำระคืน paymentคือความสามารถในการดำเนินงานของผู้ขอสินเชื่อว่าจะสามารถจะทำได้ตามข้อตกลงได้หรือไม่นั้นคือการจะชำระคืนของเงินกู้ที่ขอสินเชื่อมาได้หรือไม่โดยดูจากผลการนำเงินที่แล้วมาว่าได้ทำตามที่ว่างแผนตามเป้าหมายหรือไม่

2.วัตถุประสงค์ purposeคือการที่ผู้ขอสินเชื่อนั้นคิดอะไรถึงจะมาขอกู้กับเราหรือเป้าหมายที่ผู้ขอสินเชื่อวางไว้เพื่อที่จะดำเนินการของธุรกิจ เช่น การที่ผู้ขอสินเชื่อขอกู้เพื่อที่จะขยายกิจการเราก็ต้องดูว่าสาเหตุใดถึงต้องขอขยายกิจการการดูถึงเหตุผลของวัตถุประสงค์ว่าสมควรหรือไม่


3.การป้องกันความเสี่ยง protection การดูถึงภาพรวมในการให้สินเชื่อว่าสมควรที่จะให้ตอนนี้ได้หรือไม่โดยสังเกตุจากการที่ดู ภาคเศรษฐกิจ  สังคม การเมือง ว่าตอนนี้เมื่อผู้ขอสินเชื่อได้รับเงินไปแล้วสามารถที่จะดำเนินการทางธุรกิจได้หรือไม่แล้วจะมีอะไรเป็นผลกระทบต่อธุรกิจหรือเปล่า

น.ส.พนิดา ศรีสกุล รหัส 49773120002

 หลักการพิจารณาสินเชื่อ

นโยบาย 3P’ S  ประกอบด้วย               

 1. การชำระคืน paymentคือความสามารถในการดำเนินงานของผู้ขอสินเชื่อว่าจะสามารถจะทำได้ตามข้อตกลงได้หรือไม่นั้นคือการจะชำระคืนของเงินกู้ที่ขอสินเชื่อมาได้หรือไม่โดยดูจากผลการนำเงินที่แล้วมาว่าได้ทำตามที่ว่างแผนตามเป้าหมายหรือไม่        

  2.วัตถุประสงค์ purposeคือการที่ผู้ขอสินเชื่อนั้นคิดอะไรถึงจะมาขอกู้กับเราหรือเป้าหมายที่ผู้ขอสินเชื่อวางไว้เพื่อที่จะดำเนินการของธุรกิจ เช่น การที่ผู้ขอสินเชื่อขอกู้เพื่อที่จะขยายกิจการเราก็ต้องดูว่าสาเหตุใดถึงต้องขอขยายกิจการการดูถึงเหตุผลของวัตถุประสงค์ว่าสมควรหรือไม่          
  3.การป้องกันความเสี่ยง protection การดูถึงภาพรวมในการให้สินเชื่อว่าสมควรที่จะให้ตอนนี้ได้หรือไม่โดยสังเกตจากการที่ดู ภาคเศรษฐกิจ  สังคม การเมือง

นโยบาย 6 C's เพื่อการวิเคราะห์สินเชื่อ

1. คุณสมบัติของผู้ขอสินเชื่อ (Character) เป็นคุณสมบัติประการแรกที่จะใช้พิจารณาว่าผู้ขอสินเชื่อมีลักษณะนิสัยอย่างไร

2. ความสามารถในการชำระหนี้ (Capacity) ดูว่าธุรกิจมีผลการดำเนินงานเป็นอย่างไรและมีความสามารถในการชำระหนี้ได้ตามข้อตกลงหรือไม่

3. เงินทุน (Capital) พิจารณาว่าผู้ขอสินเชื่อมีเงินทุนอยู่ในธุรกิจท่าใดและธุรกิจควรมีเงินทุนมากกว่าจำนวนเงินที่กู้มา

4. หลักประกัน (Collateral) เป็นสิ่งที่สำคัญมากและโดยทั่วไปหลักประกันที่นำมาใช้จะมีค่ามากกว่าจำนวนเงินที่ขอกู้

5. สภาพทางเศรษฐกิจ (Condition) จะพิจารณาถึงสภวะแวดล้อมโดยทั่วไป เช่น สภาพเศรษฐกิจ การเมือง สังคม ว่าจะมีผลกระทบต่อธุรกิจอย่างไร

6. ประเทศที่ติดต่อด้วย (Country) จะพิจารณาว่าประเทศที่ผู้ขอกู้ทำการติดต่อค้าขายกับประเทศใดและมีความเสี่ยงหรือไม่

นางสาวพรรษสิริ นามมัน รหัส 49473120060 บริหารฯ(การเงินฯ)

คำถาม   จากที่กล่าวมานี้  นักศึกษาคิดว่าธุรกิจที่คุณมีความสนใจอยู่  ถ้าธนาคารจะวิเคราะห์สินเชื่อ  ควรจะพิจารณากันในแง่ใดบ้างครับ  ลองยกตัวอย่างจริง ๆและมองให้ถี่ถ้วนด้วยนะ

ตอบ   ธุรกิจที่ข้าพเจ้ามีความสนใจนั้นการที่จะขอสินเชื่อกับธนาคารจะมีการวิเคราะห์สินเชื่อธุรกิจเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ   ควรจะทราบถึงที่ตั้ง  ธุรกิจนั้นมีการผลิตสินค้าประเภทใด  มี Order เข้าเยอะหรือเปล่า   เคยมีประวัติเกี่ยวกับการกู้ไหม  ต้องพิจารณาอย่างละเอียดมาก  จะต้องมีการลงพื้นที่ไปดูสถานที่เองด้วย  และต้องใช้หลักในการพิจารณาสินเชื่อดังนี้

ใช้หลัก  6 C's  และ 3 P's ดังนี้

1. Characterหมายถึงความซื่อสัตย์สุจริตชื่อเสียงความสามารถในการดำเนินงานของผู้ขอกู้

 

2. Capacityคือความสามารถในการชำระคืนหนี้โดยปกติเงินที่จะนำมาชำระหนี้ควรเป็นเงินรับสุทธิจากการดำเนินงานคือรายได้หลังจากหักค่าใช้จ่ายต่างๆแล้วอนึ่งหากฝ่ายบริหารบริษัทมีความสามารถสูงในการดำเนินงานก็จะมีความสามารถในการชำระหนี้สูง

 

3. Capitalผู้ให้สินเชื่อจะต้องพิจารณาว่าผู้ขอกู้มีเงินทุนในธุรกิจของตัวเองมากน้อยแค่ไหนเพราะว่าเมื่อเกิดความเสียหายขึ้นผลเสียหายนั้นผู้ลงทุนจะต้องรับผิดชอบก่อนนักวิเคราะห์สินเชื่อต้องพิจารณาอัตราส่วนระหว่างหนี้สินกับทุนของลูกค้าด้วยลูกค้าจะต้องมีเงินทุนของตัวเองบ้างพอสมควรจะพึ่งเงินกู้จากธนาคาร 100%ย่อมเป็นไปไม่ได้

 

4. Collateralการค้ำประกันลูกหนี้จะช่วยลดความเสี่ยงของธนาคารการค้ำประกันต่างๆได้แก่การค้ำประกันโดยที่ดินและสิ่งปลูกสร้างการค้ำประกันส่วนบุคคลการใช้เครื่องจักรค้ำประกันเป็นต้น

 

5. Conditionหมายถึงสภาวะการณ์หรือบรรยากาศธุรกิจที่ให้ผลดีแก่การค้าได้แก่นโยบายของรัฐบาลในการสนับสนุนอุตสาหกรรมบางชนิดความต้องการด้านการตลาดหรือลูกค้าอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเป็นต้น

 

6. Condition เป็นการพิจารณาถึงสภาพเเวดล้อม เช่น กฎหมาย การเมือง สังคม เป็นต้น

 นโยบาย 3P's

1.วัตถุประสงค์ (purpose)


2.การชำระคืน (payment)


3.การป้องกันความเสี่ยง (protection)
 
lส่งงานเก่าค่ะอาจารย์  ขอโทษนะคะที่ส่งช้า......
น.ส. สุพรรษา มานุช 49473120079
ขอโทษค่ะที่ส่งงานอาจารย์ช้า  และจะส่งงานเก่าที่ค้างค่ะ                     ธุรกิจที่ข้าพเจ้าสนใจนั้นที่จะต้องการมาขอสินเชื่อกับธนาคารนั้นทางธนาคารจะต้องจะต้องวิเคราะห์สินเชื่อ  โดยการวิเคาระห์ว่า  ธุรกิจดังกล่าวมีคุณภาพมากน้อยเพียงใดและมีความเสี่ยงหรือไม่  และต้องวิเคาระห์ถึงเชิงคุณภาพและปริมาณ   และในการทำธุรกิจนั้นมีการเบี้ยวการชำระหนี้ต่อผู้ที่เคยให้สินเชื่อหรือไม่  ถ้าไม่มีข้อเสียทางธนาคารก็ควรให้สินเชื่อกับกิจการนั้น      โดยพิจารณาตามหลักการดังนี้ใช้หลัก  6 C's  และ 3 P's ดังนี้นโยบาย 6 C's  1. Characterหมายถึงความซื่อสัตย์สุจริต   การมีชื่อเสียง   และความสามารถในการบริหารกิจการของผู้ขอกู้ให้ประบความสำเร็จ  2. Capacityคือความสามารถในการชำระคืนหนี้ให้กับผู้ที่ให้สินเชื่อกับกิจการของเรา   โดยปกติเงินที่จะนำมาชำระหนี้ควรเป็นเงินที่ได้รับสุทธิจากการดำเนินงาน  คือ   รายได้หลังจากหักค่าใช้จ่ายต่างๆแล้ว     หากฝ่ายบริหารบริษัทมีความสามารถสูงในการดำเนินงานก็จะมีความสามารถในการชำระหนี้สูง   ถ้ามีความสามารถน้อยในการดำเนินงานก็จะมีความสามารถในการชำระหนี้น้อย  ตามกัน
3. Capitalผู้ให้สินเชื่อจะต้องพิจารณาว่าผู้ขอกู้มีเงินทุนในธุรกิจของตัวเองมากน้อยแค่ไหนเพราะว่าถ้ามีเงินทุนอยุ่ในธุรกิจน้อยก็ทำให้ผู้ขอกู้จะไม่มีความสามารถในการชำระหนี้ให้กับผู้ให้กู้ได้ตรงตามเวลาที่ได้กำหนดหันไว้  เมื่อเกิดความเสียหายขึ้นผลเสียหายนั้นผู้ลงทุนจะต้องรับผิดชอบก่อนนักวิเคราะห์สินเชื่อต้องพิจารณาอัตราส่วนระหว่างหนี้สินกับทุนของลูกค้าด้วยลูกค้าจะต้องมีเงินทุนของตัวเองบ้างพอสมควร  จะมาพึ่งเงินกู้จากธนาคาร  เต็มอัตราในการที่จะนำเงินมาลงทุนในกิจการก็จะเป็นไปไม่ได้
  4. Collateralการค้ำประกันลูกหนี้จะช่วยลดความเสี่ยงของธนาคารการค้ำประกันต่างๆได้แก่การค้ำประกันโดยที่ดินและสิ่งปลูกสร้างการค้ำประกันส่วนบุคคลการใช้เครื่องจักรค้ำประกันเป็นต้น                 ถ้าไม่มีหลักค้ำประกันก็จะทำให้ธนาคารไม่สามารถให้สินเชื่อแก่ผู้ขอกู้ได้     ถ้ามีหลักค้ำประกันเมื่อผู้ขอกู้มีการผิดนัดในการชำระหนี้ก้จะทำให้ผู้ให้กู้สามารถยึดหลักค้ำประกันนั้ได้                                                                                                 5. Conditionหมายถึงสภาวะการณ์หรือบรรยากาศธุรกิจที่ให้ผลดีแก่การค้าได้แก่นโยบายของรัฐบาลในการสนับสนุนทางด้านความต้องการด้านการตลาดหรือลูกค้าอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเป็นต้น 6. Condition เป็นการพิจารณาถึงสภาพเเวดล้อม เช่น กฎหมาย การเมือง สังคม  เศรษฐกิจ  เป็นต้น  นโยบาย 3P's 1.การชำระคืน paymentคือความสามารถในการดำเนินงานของผู้ขอสินเชื่อว่าจะสามารถจะทำได้ตามข้อตกลงได้หรือไม่นั้น  คือการจะชำระคืนของเงินกู้ที่ขอสินเชื่อมาได้หรือไม่โ  ดยจะดูจากผลการนำเงินที่แล้วมาว่าได้ทำตามที่วางแผนตามเป้าหมายหรือไม่2.วัตถุประสงค์ purposeคือการที่ผู้ขอสินเชื่อนั้นคิดอะไรถึงจะมาขอกู้กับเราหรือเป้าหมายที่ผู้ขอสินเชื่อวางไว้เพื่อที่จะดำเนินการของธุรกิจ เช่น การที่ผู้ขอสินเชื่อขอกู้เพื่อที่จะขยายกิจการเราก็ต้องดูว่าสาเหตุใดถึงต้องขอขยายกิจการการดูถึงเหตุผลของวัตถุประสงค์ว่าสมควรหรือไม่   ถ้าเห็นว่าสมควรก็ควรจะต้องให้สินเชื่อกับกิจการนั้น
3.การป้องกันความเสี่ยง protection การดูถึงภาพรวมในการให้สินเชื่อว่าสมควรที่จะให้ตอนนี้ได้หรือไม่โดยสังเกตุจากการที่ดู ภาคเศรษฐกิจ  สังคม การเมือง ว่าตอนนี้เมื่อผู้ขอสินเชื่อได้รับเงินไปแล้วสามารถที่จะดำเนินการทางธุรกิจได้หรือไม่แล้วจะมีอะไรเป็นผลกระทบต่อธุรกิจหรือเปล่า            ถ้านำเงินมาแล้ว  แล้วนำไปใช้ในธุรกิจที่เคยวางแผนไว้ตามเป้าหมาย  ก็จำทำให้ลดความเสี่ยงได้
 

 

หางานไม่เจอ หายากจังค่ะ.....อาจารย์

อยากถามว่า?

นโยบาย 6C's และ 3P's มีความเกี่ยวข้องอย่างไรบ้าง

นางสาวเสาวภา พึ่งพรม

แนวคิดทฤษฎีการปล่ยอสินเชื่อต่อสภาวะเศรษฐกิจเป็นยังไงค่ะ

ช่วย หน่อย นะคะ

พอดีทำรายงานไม่ได่อ่ะคะ

อยากทราบว่า

"กระบวนการพิจารณาสินเชื่ออย่างมีขั้นตอนตลอดจนควบคุมติดตาม อบ่างไรบ้าง"

รู้ช่วยตอบหน่อยนะคะ ขอบคุณคะ ^^"

ช่วยหน่อยคะหาข้อมูลทำการบ้านไม่ได้ละเอียด

คืออยากทราบว่า

กิจการค้าปลีกมีวัตถุประสงค์ในการให้สินเชื่อต่างจากกิจการค้าส่งหรือไม่อย่างไร

นางสาวกุสุมา คำคล้าย รหัส 51127312035 (การเงินการธนาคาร)

ที่เขาบอกว่าเด็กที่เกิดมาก็มีหนี้แล้ว

เพราะอะไรค่ะที่ว่าเกิดมาก็มีหนี้ติดตัวมาเลย

แล้วเด็กจะใช้หนี้อย่างไรค่ะ

หรือว่าหนี้นี้คือภาษีหรือเปล่าค่ะ

แล้วมันเกี่ยวกับเศรษฐกิจปัจจุบันหรือป่าวค่ะ

ว่าจะเป็นหนี้เท่าไร

ขอบคุณล่วงหน้านะค่ะ

นาวสาวกุสุมา คำคล้าย

51127312035

การเงินการธนาคาร ปี2

นางสาวกุสุมา คำคล้าย รหัส 51127312035 (การเงินการธนาคาร)

รายชื่อบริษัทสมาชิกตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

คือใช่ broker หรือป่าวค่ะ

ไม่ค่อยแน่ใจค่ะ

วันนี้มาดูคำตอบคะ

สงสัยอาจารย์ยังไม่มา

งั้นหนูขอถามแทนนะค่ะ

ปัจจุบันเศรษฐกิจไทยอยู่ในภาวะไหนค่ะ

น.ส.เปนิมา พระสุรัตน์ รหัส 51127312029 การเงินการธนาคาร ปี 2

สวัสดีค่ะอาจารย์

คือมีข้อสงสัยที่ว่า ในปัจจุบันธุรกิจประกันภัยและประกันชีวิตมีหลากหลายมากขึ้น มีข้อเสนอที่ก็คล้ายๆๆกัน แล้วเราจะมีวิธีเลือกสรรอย่างไรค่ะ

เรื่องวิทย์ อุปชัย

สวัสดีครับ

คื่อผมมีข้อสงสัยเกี่ยวกับเรื่อง setนะครับ ระว่างset100 กับset50 มีความแตกต่างกันอย่างไรพูดเข้าเวฟsetแล้วเห็นแต่ยังไม่ค่อยเข้าจัยกับกับset100 set50เท่าไรนะครับพอจะอธิบายคราวคร่าวๆได้ใหมครับ

นายเรืองวิทย์ อุปชัย

51127312032

การเงินธนาคาร

สุพรรณิการ์ กันภัย

อยากถามอาจารย์เกี่ยวกับเรื่อง gold future ค่ะ

ถ้าร้านทองต่างเข้าสมัครในตลาด gold future จะได้รับสิทธิประโยชน์อะไรบ้างค่ะ .....

น.ส. สุพรรณิการ์ กันภัย

51127312031

การเงินการธนาคาร

สวัสดีค่ะอาจารย์

คืออยากทราบว่าข้อจำกัดของดัชนีราคาผู้ผลิตมี

อะไรบ้าง

ช่วยตอบหน่อย

ขอบคุรค่ะ

นางสาวอภิรนันท์ สุขนา รหัส 51127312033

สวัสดีค่ะ อาจารย์ หนูอยากทราบว่าบริษัทหลักทรัพย์ทำไมจึงเป็นตัวกลางทั้งตลาดแรกและตลาดรองค่ะ

รบกวนอาจารย์ช่วยตอบหน่อยนะค่ะ

นางสาวเปนิมา พระสุรัตน์ 51127312029 เอกการเงินการธนาคาร ปี2

ค่ะ อาจารย์ คือว่า

ทำไมราคาน้ำมันกับราคาทองคำจึงมักมีทิศทาง

การเปลี่ยนแปลงในทิศเดียวกัน

แล้ว

ราคาค่าขนส่งมีผลเกี่ยวข้องด้วย

มากน้อยแค่ไหนค่ะ

นางสาวอภิรนันท์ สุขนา รหัส 51127312033 การเงินการธนาคารปี 2

สวัสดีค่ะอาจารย์ คือหนูอยากทราบว่าสำนักงาน ก.ล.ต. มีส่วนช่วยพัฒนาตลาดทุนของไทยในแง่ใดบ้างค่ะ รบกวนอาจารย์ช่วยตอบหน่อยนะค่ะ ขอบคุณค่ะ

นางสาวรวีวรรณ กรรณโม

สวัสดีค่ะอาจารย์

วันนี้หนู้เข้ามาดูคำตอบค่ะ

และก้อเข้ามาทักทายอาจารย์ค่ะ

น.ส.จันทร์จีรา รสหอม(51127312015)

คำถาม

ณ ตอนนี้ทุกคนก็ทราบดีถึงปัญหาหยี้เกิดกับคนที่กู้นอกระบบ เเต่ทำไมยังมีคนกู้อิกเป็นเรื่อยๆๆค่ะ

อาจารย์งานเยอะหรอครับ

ไม่เห็นตอบคำถามนักศึกษาเลย

รักษาสุขภาพด้วยน่ะครับอาจารย์

จากนักศึกษาการเงินการธนาคาร

you're teach very funny different other teacher who I ever met.

อาจารย์น่ารักดีครับ ผมรักอาจารย์ครับ จุ๊บุ๊ๆ

สุพัตรา ทองสาดี( mayji)

1.ให้ท่านวิเคราะห์และแสดงความเห็นเกี่ยวกับนโยบายเศรษฐกิจ(รวมทั้งมติคณะรัฐมนตรีในวันอังคารที่ 13 กันยายน 2554) ของรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มาให้เข้าใจโดยละเอียดว่า มีส่วนแก้ปัญหาและสรรสร้างความเจริญ หรือก่อให้เกิดปัญหาและสร้างความยุ่งยากต่อสังคมไทยอย่างไรบ้าง

จากเดิมที่เสนอหลักการไปว่า หากกรมสรรพสามิตจะคืนภาษีสรรพสามิตจากรถยนต์ ไม่เกิน 100,000 บาท กรมสรรพากรอาจจะเข้าไปช่วยในส่วนของการให้นำมาหักค่าลดหย่อนประจำปี โดยให้ทะยอยหักปีละ 20 % ของภาษีสรรพสามิตจะกว่าจะครบ เช่น รถ 1 คัน มีภาษีสรรพสามิตซ่อนอยู่ 100,000 บาท ก็ให้หักค่าลดหย่อนได้ปีละ 20,000 บาท เป็นระยะเวลา 5 ปี ทั้งนี้เฉพาะรถ Eco-car และรถกระบะราคาไม่เกิน 1 ล้านบาท

1. ขยายเงื่อนไขประเภทรถยนต์ให้กว้างขึ้น โดยให้สิทธิสำหรับรถทุกประเภทราคาไม่เกิน 1 ล้านบาท

2. ได้คืนภาษีสรรพสามิตไม่เกิน 100,000 บาท (จากราคาขายของรถหน้าโรงงาน เช่น รถราคา 1,000,000 บาท มีภาษีสรรพสามิตซ่อนอยู่ 100,000 บาท กรมสรรพสามิตจะดำเนินการคืนภาษีให้ในลักษณะคูปองเงินสดหรือเช็ค โดยทะยอยจ่ายเป็นระยะเวลา 3 ปีเท่าๆกัน)

3. ต้องมีการซื้อ ก่อนวันที่ 31 ธันวาคม 2555 ส่วนจะมีผลเริ่มใช้บังคับเมื่อใด ต้องรอมติครม.ก่อน คาดว่าจะนำเข้าที่ประชุมครม.ในวันที่ 13 กันยายน 2554 นี้

4. ผู้ซื้อรถยนต์คันแรก ต้องถือกรรมสิทธิ์ไม่น้อยกว่า 5 ปี (ห้ามขายต่อภายใน 5 ปีหลักจากซื้อรถ) ถ้าขายก่อนระยะเวลาที่กำหนด จะยกเลิกสิทธิการคืนเงินภาษีทันที

5. รายละเอียดและเงื่อนไขอื่นๆ เช่น กรณีซื้อสด หรือผ่อน อยู่ระหว่างพิจารนา แต่คาดว่าจะได้ cover ทุกกรณี

เคาะคืนภาษีรถคันแรก ชงครม.13กย.

ธีระขอเพิ่มชดเชยนาล่ม 'ธกส.'ทวงค่าข้าวแสนล.

'คลัง'ชง ครม. 13 ก.ย.นี้ เคาะคืนภาษีวงเงิน 1 แสน สำหรับรถยนต์คันแรกราคาไม่เกินล้าน พร้อมขยายสิทธิเลือกซื้อได้ทุกชนิด จากเดิมจำกัดเฉพาะ'อีโคคาร์-ปิกอัพ' รมว.เกษตรฯเสนอจ่ายชดเชยชาวนาเพิ่มอีก 1.5-2 พันบาทต่อไร่ 'ธ.ก.ส.'ขอรัฐบาลเคลียร์ค่าข้าวรับจำนำเดิม 1 แสนล้าน

เมื่อวันที่ 11 กันยายน ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในวันที่ 13 กันยายน กระทรวงการคลัง จะนำเสนอแนวทางและมาตรการลดภาษีให้แก่ผู้ซื้อรถยนต์คันแรกเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) โดยนายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรี ช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ระบุว่า ในหลักการได้ขยายมาตรการให้ครอบคลุมผู้มีรายได้น้อยมากขึ้นจากเดิมที่ให้สิทธิเฉพาะผู้ซื้อรถยนต์อีโคคาร์และรถปิกอัพ เนื่องจากรัฐบาลต้องการสนับ สนุนให้มีการลงทุนและเน้นที่รถประหยัดพลังงานเท่านั้น เป็นการขยายสิทธิให้สามารถซื้อรถยนต์ประเภทใดก็ได้ในราคาไม่เกินคันละ 1 ล้านบาท โดยให้สิทธิลดหย่อนภาษีสรรพสามิตในอัตราตามจริงของรถยนต์แต่ละประเภท แต่ไม่เกิน 1 แสนบาท

สำหรับวิธีการให้สิทธิประโยชน์จะออกแบบให้บุคคลที่ใช้สิทธิซื้อรถยนต์ในราคาเต็มรวมภาษีมาใช้สิทธิขอคืนภาษีในภายหลัง ซึ่งจะไม่ทำให้รถยนต์ที่ซื้อมีราคาลดลงใน ทันที แต่จะเป็นการทยอยคืนภาษีในระยะเวลา 1-3 ปี ขึ้นกับพิจารณาของ ครม. แต่ส่วนตัวมองว่าไม่ควรใช้สิทธิลดภาระภาษีภายใน 1 ปี เพราะอาจมีปัญหาการขายต่ออย่างรวดเร็ว หรือมีการสวมสิทธิหรือโอนลอย ถือว่า ถูกใจผู้ซื้อรถแน่ๆ เพราะเห็นชัดว่า ผู้ซื้อรถอาจไม่จำเป็นต้องจ่ายเงินดาวน์รถเลยก็ได้รถยนต์ ถือเป็นปัจจัยสำคัญของชีวิต ไม่ใช่ของฟุ่มเฟือยอีกต่อไป ที่สำคัญภาคธุรกิจที่เกี่ยวกับรถยนต์ขนาดใหญ่มีสัดส่วนถึง 12% ของจีดีพี เท่ากับภาคการเกษตรของไทย

ดังนั้น ถ้าสามารถกระตุ้นให้เกิดการบริโภคมากขึ้น ก็จะกลายเป็นแรงผลักขนาดใหญ่ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ซึ่งปัจจุบันมีทั้งตลาดบริโภคภายในประเทศและส่งออก แต่ปัญหาก็คือ จะทำอย่างไรให้เกิดการบริโภคอย่างยั่งยืน ไม่เป็นฟองสบู่ เพราะอุตสาหกรรมนี้จะสามารถสร้างความมั่งคั่งให้กับประเทศได้อย่างมหาศาล

สำหรับความคืบหน้าการตรวจสอบกรณี สต๊อกข้าวรัฐบาลในความรับผิดชอบขององค์การคลังสินค้า (อคส.) จำนวน 1.4 ล้านตัน จากทั้งหมด 2.1 ล้านตัน ซึ่งพบว่ามีสภาพสมบูรณ์เพียงร้อยละ 30 ส่วนที่เหลือเป็นข้าวเสื่อมคุณภาพ และอาจต้องโละขายเป็นอาหารสัตว์ นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ส่งรายงานผลการตรวจสอบสภาพข้าวของบริษัทตรวจสอบคุณภาพข้าวหรือเซเวเยอร์มาดูแล้ว เพื่อดูว่าข้าวที่เสียหายจริงมีจำนวนเท่าไร ซึ่งขณะนี้ยังไม่รายงานขึ้นมา

นายกิตติรัตน์กล่าวต่อว่า สำหรับการระบายข้าวสต๊อกรัฐบาล จำนวน 2.1 ล้านตัน มีหลายวิธีทั้งการนำไปแลกกับสินค้า หรือนำไปมอบให้แก่ประเทศที่ขาดแคลนอาหารตามหลักมนุษยธรรม คงต้องขอเวลาหารือกับทูตประเทศต่างๆ ก่อนว่า สนใจหรือไม่ อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ทำได้เลยในขณะนี้ คือ การนำข้าวในสต๊อกที่มีคุณภาพดีไปบรรจุถุงแจกจ่ายให้กับประชาชนที่ประสบปัญหาน้ำท่วม ซึ่งในการประชุมคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) เมื่อวันที่ 9 กันยายน ได้อนุมัติระบายข้าว จำนวน 6 หมื่นตัน เพื่อดำเนินการเรื่องนี้แล้ว

"ข้าวจำนวน 6 หมื่นตัน จะนำมาจากคลังของ อคส. 3 หมื่นตัน และองค์การตลาดเพื่อการเกษตรกร (อ.ต.ก.) 3 หมื่นตัน บรรจุถุงละ 4 กิโลกรัม จะได้ข้าวจำนวน 1.5 ล้านถุง เพื่อนำไปช่วยพี่น้องประชาชนในพื้นที่ที่ประสบปัญหาน้ำท่วมในขณะนี้ อย่างเท่า เทียมกัน การดำเนินการเรื่องนี้เท่ากับเป็นการยิงปืนนัดเดียวได้นก 3 ตัว คือ 1.ช่วยพี่น้องประชาชนที่ประสบปัญหา 2.รู้ว่าสภาพข้าวในสต๊อกรัฐบาลเป็นอย่างไร และ 3.จะได้รู้ว่ากระบวนการ

ทำงานในเรื่องการนำข้าวไป บรรจุถุงของหน่วยงานราชการเป็นอย่างไรด้วย"

นายกิตติรัตน์ยังกล่าวด้วยว่า ในการดำเนินงานเรื่องข้าวของรัฐบาลรวมถึงงานเรื่องต่างๆ ต่อไปนี้จะพยายามพูดให้น้อยลง เพราะที่ผ่านมามีความเห็นหลายเรื่องที่พูดไปแล้วถูกนำไปตีความจนผิดเพี้ยนไปจากสิ่งที่ตั้งใจจะทำ ดังนั้น จะเน้นการทำงานเป็นหลัก ทำให้ดูเลยว่าเป็นอย่างไง

แหล่งข่าวจากกระทรวงพาณิชย์กล่าวว่า ในการระบายข้าวจำนวน 6 หมื่นตัน ดังกล่าว กขช.ไม่ได้ให้เปล่า แต่จะใช้วิธีให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใช้งบประมาณของตัวเองเข้ามารับซื้อข้าวในราคาถูกเป็นพิเศษ เพื่อบรรจุถุงแจกจ่ายให้กับประชาชนในพื้นที่ที่อยู่ในความรับผิดชอบของตนเอง

ด้านนายธีระ วงศ์สมุทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า ในการประชุม ครม.วันที่ 13 กันยายน จะขอหารือที่ประชุมเกี่ยวกับแนวทางการช่วยเหลือเกษตรกรผู้เพาะปลูกข้าวที่ประสบปัญหา น้ำท่วม ซึ่งขณะนี้เป็นช่วงรอยตัวระหว่างโครงการประกันรายได้ของรัฐบาลชุดเดิม และการเริ่มโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลปัจจุบัน โดยจะเสนอให้ความช่วยเหลือเพิ่มเติม นอกเหนือจากการจ่ายเงินชดเชยไร่ละ 2,222 บาท ซึ่ง ครม.เห็นชอบไปก่อนหน้านี้

"การจ่ายเงินเยียวยาเพิ่มเติม อาจจะเอาหลักการในโครงการประกันรายได้เดิมเข้ามาช่วย เช่น ชดเชยให้ในส่วนต่างระหว่างราคารับจำนำข้าวที่รัฐบาลกำหนดกับราคาขายข้าวปัจจุบัน ซึ่งเท่าที่ดูข้อมูลเบื้องต้น จำนวนเกษตรกรที่จะได้รับการช่วยเหลือในขณะนี้มีจำนวนไม่มากนัก คำนวณวงเงินออกมาแล้วน่าจะอยู่ประมาณ ไร่ละ 1,500-2,000 บาท แต่เรื่องนี้ ก็ต้องขึ้นอยู่กับรัฐบาลว่าจะเห็นชอบหรือไม่ หรือจะมีวิธีการช่วยเหลืออะไรที่ดี กว่านี้" นายธีระระบุ

นายลักษณ์ วจนานวัช ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) กล่าวว่า โครงการรับจำนำข้าวเปลือกที่จะเริ่มในวันที่ 7 ตุลาคม โดยรัฐบาลจะรับจำนำผลผลิตข้าวนาปี 2554/2555 ไม่จำกัดจำนวนและวงเงิน คาดว่าฤดูกาลผลิตนี้จะมีผลผลิตข้าวประมาณ 25 ล้านตัน ธ.ก.ส.คาดว่าจะต้องใช้เงินในการรับจำนำประมาณ 4 แสนล้านบาท ซึ่ง ธ.ก.ส.ได้ยืนยันไปแล้วว่า มีสภาพคล่องดำเนินการได้ก่อนในช่วงแรกจำนวน 9 หมื่นล้านบาท รองรับปริมาณข้าว ได้ 6 ล้านตันเท่านั้น เพียงพอจะใช้ได้ถึงประมาณกลางเดือนธันวาคมนี้ หลังจากนั้นกระทรวงการคลังจะให้ทางสำนักบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) จัดหาเงินกู้ในรูปของการปล่อยกู้ร่วมของธนาคารพาณิชย์ในวงเงินอีก 1 แสนล้านบาท

นายลักษณ์กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ต้องการให้รัฐบาลดำเนินการให้ชัดเจนกับหนี้ที่คงค้างกับ ธ.ก.ส. ประมาณ 1 แสนล้านบาท จากโครงการ รับจำนำสินค้าเกษตรครั้งก่อน ที่ได้ปิดบัญชีไปแล้ว เพื่อจะได้บริหารจัดการให้ชัดเจนแยกต่างหาก จากโครงการรับจำนำที่เกิดขึ้นใหม่ โดยจะเสนอให้รัฐบาลแปลงหนี้ที่ค้างกับ ธ.ก.ส.เป็นพันธบัตรรัฐบาลจะกี่ปี่ก็ได้

นายชาญชัย รักษ์ธนานนท์ นายกสมาคมโรงสีข้าวไทย กล่าวว่า เห็นด้วยที่รัฐบาลจะ มีการระบายข้าวในสต๊อกรัฐบาลเพื่อนำไปจำหน่าย แต่ควรเป็นการจำหน่ายในภาคอุตสาหกรรมอาหารสัตว์และการส่งออกทั้งหมด เพื่อไม่ให้มีผลกระทบต่อราคาข้าวในประเทศ ส่วนข้าวที่มีการเก็บนานตั้งแต่ปี 2547-2548 มีโอกาสสูงที่ข้าวจะเสื่อมสภาพ เนื่องจากไทยเป็นประเทศที่มีอากาศร้อนชื้น ประกอบกับมีปัญหาน้ำท่วมต่อเนื่อง ดังนั้น หากขาดการดูแลในการปรับปรุงข้าว จะเกิดการเสื่อมสภาพเร็วกว่าปกติ ซึ่งในส่วนของโรงสีทั่วไปจะมีข้าวหมุนเวียนไม่เกิน 3-6 เดือน จึงอยากให้รัฐบาลจัดวางกรอบการดูแลข้าวจากที่รับจำนำเพื่อไม่ให้ข้าวเสื่อมสภาพ

"ไม่ต้องกังวลว่าการระบายข้าวสูงเป็น ล้านตันจะกระทบราคาข้าวในประเทศ เพราะ หากมีการบริหารจัดการไม่ให้มีการนำข้าวที่ระบายมาหมุนเวียนขายในประเทศ น่าจะเป็นผลดีต่อทั้งระบบ แต่อยากให้รัฐบาลเปิดประมูลให้สาธารณชนรับรู้ไม่ต้องปกปิดข้อมูลอย่างที่ผ่านมา รวมถึงเปิดเผยข้อมูลการสต๊อกข้าวว่ามีการจัดเก็บมาตั้งแต่ปีไหน เพื่อให้ผู้ซื้อและผู้ขายได้มีข้อมูลในการซื้อขายที่ถูกต้อง จะไม่เป็นผลเสียต่อระบบราคาข้าว" นาย ชาญชัยกล่าว

สินค้าเกษตรหลายตัว มีราคาปรับตัวสูงขึ้น ยกเว้นข้าวทั้งที่ข้าวเป็นอาหารหลักในการบริโภคของประชากรโลก เพราะอะไร แล้วการที่เราจะไม่คิดผลักดันให้ราคาสูงขึ้นเท่าเป็นการยอมจำนน คนปลูกข้าวเลี้ยงคน ไม่มีทางลืมตาอ้าปากได้ ฉันเชื่อว่านโยบายมีทางสำเร็จ มันต้องมีวิธีการไล่ราคา ของสินค้าเกษตร อย่างแรกข้าวควรจะมีราคาตลาดอ้างอิง เพราะมันจะสะท้อนความต้องการที่แท้จริง ไม่ใช่จะยอมให้ผู้ผลิตถูกกดหัวอยู่แบบนี้ อ่านแล้วต้องยอมรับใช่มัยว่าชาวนาควรจะจนต่อไป .. หรือไม่ก้อเลิกปลูกข้าวกันดีกว่า เพราะ ใครจะยอมเสียสละสร้างอาหารเลี้ยงคนทั้งโลก แล้วตัวเองยอมอดตายและยิ่งตอนนี้แล้วประเทศไทยเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติไม่ว่าจะเป็นน้ำท่วมดินถล่มซึ่งส่งผลเสียหายเป็นอย่างมากต่อเศรษฐกิจการส่งออกข้าวของประเทศรวมถึงส่งผลให้ชาวนายิ่งเสียหายหนักทำให้ผลผลิตที่จะได้รับน้อยลงและขาดทุนอย่างรุนแรง

2.มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาอันเป็นที่รักของท่านนั้น มีความพร้อมในประเด็นใดบ้างและขาดความพร้อมในด้านใดบ้างเมื่อประเทศไทยจะเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี ค.ศ. 2015 และอยากทราบข้อเสนอแนะจากท่านในการปรับปรุง ทั้งนี้เพราะท่านมีส่วนร่วมในประชาคมนี้เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 4 ปี

ASEAN Community คืออะไร

อาเซียน (ASEAN) ประกอบด้วย 10 ประเทศ ได้แก่ ไทย (2510) สิงคโปร์ (2510) อินโดเนเซีย (2510) มาเลเซีย (2510) ฟิลิปปินส์ (2510) บรูไน (2527) เวียตนาม (2538) ลาว (2540) พม่า (2540) กัพูชา (2542) มีประชากรรวมกันประมาณ 570 ล้านคน มีขนาดเศษฐกิจที่โตมาก

เมื่อเดือนตุลาคม 2546 ผู้นำอาเซียนได้ร่วมลงนามในปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมืออาเซียน ที่เรียกว่า ข้อตกลงบาหลี 2 เห็นชอบให้จัดตั้ง ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) คือการให้อาเซียนรวมตัวเป็นชุมชนหรือประชาคมเดียวกันให้สำเร็จภายในปี พ.ศ. 2563 (ค.ศ. 2020) แต่ต่อมาได้ตกลงร่นระยะเวลาจัดตั้งให้เสร็จในปี พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015) เนื่องจากการแข่งขันรุนแรง เช่น อัตราการเติบโตทางด้านเศรษฐกิจของจีนและอินเดียสูงมากในช่วงที่ผ่านมา

ในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 14 ที่ชะอำ หัวหิน เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2552 ผู้นำอาเซียนได้ลงนามรับรองปฏิญญาชะอำ หัวหิน ว่าด้วยแผนงานจัดตั้งประชาคมอาเซียน (ค.ศ. 2009-2015) เพื่อจัดตั้งประชาคมอาเซียนภายในปี 2558ในส่วนของภาคการศึกษา โดยเฉพาะในระดับอุดมศึกษานั้น ขณะนี้ มีความชัดเจนในแนวนโยบายเกิดขึ้นแล้วจาก สกอ. (สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาแห่งชาติ) โดย สกอ.ได้กำหนดเป็น “ยุทธศาสตร์อุดมศึกษาไทยในการเตรียมความพร้อมสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. 2558” ไว้ทั้งหมด 3 ยุทธศาสตร์ สรุปได้ดังนี้

1.การเพิ่มขีดความสามารถของบัณฑิตให้มีคุณภาพมาตรฐานในระดับสากล กำหนดกลยุทธ์ดังนี้

1.1พัฒนาสมรรถนะด้านการใช้ภาษาอังกฤษของนักศึกษาไทยในระดับที่ใช้การทำงานได้

1.2พัฒนาสมรรถนะด้านการประกอบวิชาชีพและการทำงานข้ามวัฒนธรรมของบัณฑิตไทย

2.การพัฒนาความเข้มแข็งของสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาประชาคมอาเซียน กำหนดกลยุทธ์ดังนี้

2.1พัฒนาอาจารย์ให้มีสมรรถนะสากล

2.2ส่งเสริมการสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับอาเซียนในสถาบันอุดมศึกษา

2.3พัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอนให้มีคุณภาพระดับสากล

2.4พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้มีคุณภาพระดับสากล

2.5พัฒนาวิชาการและการวิจัยสู่ความเป็นเลิศ

2.6พัฒนาระบบอุดมศึกษาแห่งอาเซียน

3.การส่งเสริมบทบาทอุดมศึกษาไทยในประชาคมอาเซียน กำหนดกลยุทธ์ดังนี้

3.1ส่งเสริมบทบาทความเป็นผู้นำของสถาบันอุดมศึกษาไทยที่เกี่ยวข้องกับสามเสาหลักในการสร้างประชาคมอาเซียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเสาด้านประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน

3.2สร้างความตระหนักในการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนและบทบาทของอุดมศึกษาไทยในการพัฒนาประชาคมอาเซียนทั้งในด้านบวกและด้านลบ

3.3ส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการศึกษาในกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน

3.4พัฒนาศูนย์ข้อมูลเกี่ยวกับสถาบันอุดมศึกษาในอาเซียน

สกอ. ยังได้มีการกำหนดมาตรการที่ควรพิจารณาดำเนินการในแต่ละกลยุทธ์และยุทธศาสตร์ไว้ด้วย รายละเอียดจะยาวมากเกินไป ขอไม่นำมาเสนอในที่นี้ แต่ท่านสามารถศึกษาต่อได้จากลิงค์ที่อยู่ด้านล่าง

สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นมีผลทำให้หลายๆภาคส่วน โดยเฉพาะการศึกษาของประเทศไทยต้องปรับตัวครั้งใหญ่ ให้สามารถรับมือกับสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้น บัณฑิตที่จบออกไปจะต้องเป็นอย่างไร จะมีอัตลักษณ์เช่นไร จึงจะยืนหยัดได้ในสภาพการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญนี้ เป็นโจทย์ที่สถาบันการศึกษาทุกแห่ง ซึ่งรวมถึงสถาบันผู้ผลิตรังสีเทคนิคทุกแห่งต้องเร่งเครื่องอย่างเต็มที่ อย่างน้อยก็ต้องเร่งมือปรับหลักสูตร ทั้งเนื้อหาและกระบวนการเรียนการสอน ให้สอดรับกับสถานะการณ์ที่กำลังเกิดการเปลี่ยนแปลง

อย่างไรก็ตามโดยส่วนตัวเห็นว่า กลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะด้านการใช้ภาษาอังกฤษของนักศึกษาไทยในระดับที่ใช้การทำงานได้ กลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะด้านการประกอบวิชาชีพและการทำงานข้ามวัฒนธรรมของบัณฑิตไทย อาจทำให้เราเพลิดเพลินไป ฉะนั้นประการหนึ่งที่จะลืมไม่ได้คือ ต้องไม่ลืมเรื่องการปลูกฝังความเป็นไทย ต้องไม่ลืมเน้นการสื่อสารทั้งพูดและเขียนให้ผู้อื่นรู้เรื่อง หากความเป็นไทยเจือจางลงก็เป็นอันตราย หากการพูดและเขียนไม่รู้เรื่องก็เป็นอุปสรรคหรือเป็นพิษต่อการทำงาน

ผลกระทบมีอะไรบ้าง

1.การศึกษาในภาพใหญ่ของโลก มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง ต้องไม่ให้การเปลี่ยนแปลงนี้มากระชากลากเราไปอย่างทุลักทุเล เราต้องเตรียมความพร้อมทันที ตลอดเวลา โดยเฉพาะบุคลากรต้องตามให้ทันและยืดหยุ่นปรับตัวให้รับสถานะการณ์ได้

2.ภาษาอังกฤษจะเป็นภาษากลางของ ASEAN บุคลากรและนักศึกษา ต้องเพิ่มทักษะทางด้านภาษาอังกฤษ ให้สามารถสื่อสารได้

3.ปรับปรุงความเข้าใจทางประวัติศาสตร์ เพื่อลดข้อขัดแย้งในภูมิภาคอาเซียน (Conflict Management) จึงต้องคำนึงถึงการสร้างบัณฑิตให้มีความรู้ความเข้าใจเรื่อง ASEAN ให้มากขึ้น

4.สร้างบัณฑิตให้สามารถแข่งขันได้ใน ASEAN เพิ่มโอกาสในการทำงาน ไม่เช่นนั้น จะถูกแย่งงานเพราะเกิดการเคลื่อนย้ายแรงงาน/บริการอย่างเสรี คณะกรรมการวิชาชีพ สภาวิชาชีพ ต้องเตรียมการรองรับผลกระทบนี้อย่างเร่งด่วน

5.โอกาสในการเป็น Education Hub โดยอาศัยความได้เปรียบในเชิงภูมิศาสตร์ของประเทศไทย แต่ต้องเน้นในเรื่องของคุณภาพการศึกษาเป็นตัวนำ

6.เราต้องการเครื่องมือในการ Transform คน การเรียนแบบ PBL หรือ Project Based Learning น่าจะได้มีการวิจัยอย่างจริงจังและนำมาปรับใช้ ห้องเรียนไม่ใช่แค่ห้องสี่เหลี่ยมเล็กๆอีกต่อไป ต้องเพิ่มการเรียนจากชีวิตจริง ลงมือทำเป็นทีม อยู่คนละประเทศก็ทำร่วมกันได้ด้วยไม่มีข้อจำกัดทางด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร ประเด็นนี้ อาจารย์จะสอนได้ยากขึ้น แต่เป็นผู้ที่ช่วยให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้ได้แสดงว่าอาจารย์ต้องมีความพร้อมมากกว่าเดิมและเก่งจริงๆเราคงต้องปรับตัวอย่างมากเพราะเมื่อเปลี่ยนแปลงแล้วการแข่งขันในการทำงานการจบออกไปมีการแข่งขันสูงต้องมีความสามารถความรู้เยอะๆถึงจะส่งผลดีกับตัวเรา

1.ให้ท่านวิเคราะห์และแสดงความเห็นเกี่ยวกับนโยบายเศรษฐกิจ(รวมทั้งมติคณะรัฐมนตรีในวันอังคารที่ 13 กันยายน 2554) ของรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มาให้เข้าใจโดยละเอียดว่า มีส่วนแก้ปัญหาและสรรสร้างความเจริญ หรือก่อให้เกิดปัญหาและสร้างความยุ่งยากต่อสังคมไทยอย่างไรบ้าง

จากเดิมที่เสนอหลักการไปว่า หากกรมสรรพสามิตจะคืนภาษีสรรพสามิตจากรถยนต์ ไม่เกิน 100,000 บาท กรมสรรพากรอาจจะเข้าไปช่วยในส่วนของการให้นำมาหักค่าลดหย่อนประจำปี โดยให้ทะยอยหักปีละ 20 % ของภาษีสรรพสามิตจะกว่าจะครบ เช่น รถ 1 คัน มีภาษีสรรพสามิตซ่อนอยู่ 100,000 บาท ก็ให้หักค่าลดหย่อนได้ปีละ 20,000 บาท เป็นระยะเวลา 5 ปี ทั้งนี้เฉพาะรถ Eco-car และรถกระบะราคาไม่เกิน 1 ล้านบาท

1. ขยายเงื่อนไขประเภทรถยนต์ให้กว้างขึ้น โดยให้สิทธิสำหรับรถทุกประเภทราคาไม่เกิน 1 ล้านบาท

2. ได้คืนภาษีสรรพสามิตไม่เกิน 100,000 บาท (จากราคาขายของรถหน้าโรงงาน เช่น รถราคา 1,000,000 บาท มีภาษีสรรพสามิตซ่อนอยู่ 100,000 บาท กรมสรรพสามิตจะดำเนินการคืนภาษีให้ในลักษณะคูปองเงินสดหรือเช็ค โดยทะยอยจ่ายเป็นระยะเวลา 3 ปีเท่าๆกัน)

3. ต้องมีการซื้อ ก่อนวันที่ 31 ธันวาคม 2555 ส่วนจะมีผลเริ่มใช้บังคับเมื่อใด ต้องรอมติครม.ก่อน คาดว่าจะนำเข้าที่ประชุมครม.ในวันที่ 13 กันยายน 2554 นี้

4. ผู้ซื้อรถยนต์คันแรก ต้องถือกรรมสิทธิ์ไม่น้อยกว่า 5 ปี (ห้ามขายต่อภายใน 5 ปีหลักจากซื้อรถ) ถ้าขายก่อนระยะเวลาที่กำหนด จะยกเลิกสิทธิการคืนเงินภาษีทันที

5. รายละเอียดและเงื่อนไขอื่นๆ เช่น กรณีซื้อสด หรือผ่อน อยู่ระหว่างพิจารนา แต่คาดว่าจะได้ cover ทุกกรณี

เคาะคืนภาษีรถคันแรก ชงครม.13กย.

ธีระขอเพิ่มชดเชยนาล่ม 'ธกส.'ทวงค่าข้าวแสนล.

'คลัง'ชง ครม. 13 ก.ย.นี้ เคาะคืนภาษีวงเงิน 1 แสน สำหรับรถยนต์คันแรกราคาไม่เกินล้าน พร้อมขยายสิทธิเลือกซื้อได้ทุกชนิด จากเดิมจำกัดเฉพาะ'อีโคคาร์-ปิกอัพ' รมว.เกษตรฯเสนอจ่ายชดเชยชาวนาเพิ่มอีก 1.5-2 พันบาทต่อไร่ 'ธ.ก.ส.'ขอรัฐบาลเคลียร์ค่าข้าวรับจำนำเดิม 1 แสนล้าน

เมื่อวันที่ 11 กันยายน ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในวันที่ 13 กันยายน กระทรวงการคลัง จะนำเสนอแนวทางและมาตรการลดภาษีให้แก่ผู้ซื้อรถยนต์คันแรกเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) โดยนายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรี ช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ระบุว่า ในหลักการได้ขยายมาตรการให้ครอบคลุมผู้มีรายได้น้อยมากขึ้นจากเดิมที่ให้สิทธิเฉพาะผู้ซื้อรถยนต์อีโคคาร์และรถปิกอัพ เนื่องจากรัฐบาลต้องการสนับ สนุนให้มีการลงทุนและเน้นที่รถประหยัดพลังงานเท่านั้น เป็นการขยายสิทธิให้สามารถซื้อรถยนต์ประเภทใดก็ได้ในราคาไม่เกินคันละ 1 ล้านบาท โดยให้สิทธิลดหย่อนภาษีสรรพสามิตในอัตราตามจริงของรถยนต์แต่ละประเภท แต่ไม่เกิน 1 แสนบาท

สำหรับวิธีการให้สิทธิประโยชน์จะออกแบบให้บุคคลที่ใช้สิทธิซื้อรถยนต์ในราคาเต็มรวมภาษีมาใช้สิทธิขอคืนภาษีในภายหลัง ซึ่งจะไม่ทำให้รถยนต์ที่ซื้อมีราคาลดลงใน ทันที แต่จะเป็นการทยอยคืนภาษีในระยะเวลา 1-3 ปี ขึ้นกับพิจารณาของ ครม. แต่ส่วนตัวมองว่าไม่ควรใช้สิทธิลดภาระภาษีภายใน 1 ปี เพราะอาจมีปัญหาการขายต่ออย่างรวดเร็ว หรือมีการสวมสิทธิหรือโอนลอย ถือว่า ถูกใจผู้ซื้อรถแน่ๆ เพราะเห็นชัดว่า ผู้ซื้อรถอาจไม่จำเป็นต้องจ่ายเงินดาวน์รถเลยก็ได้รถยนต์ ถือเป็นปัจจัยสำคัญของชีวิต ไม่ใช่ของฟุ่มเฟือยอีกต่อไป ที่สำคัญภาคธุรกิจที่เกี่ยวกับรถยนต์ขนาดใหญ่มีสัดส่วนถึง 12% ของจีดีพี เท่ากับภาคการเกษตรของไทย

ดังนั้น ถ้าสามารถกระตุ้นให้เกิดการบริโภคมากขึ้น ก็จะกลายเป็นแรงผลักขนาดใหญ่ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ซึ่งปัจจุบันมีทั้งตลาดบริโภคภายในประเทศและส่งออก แต่ปัญหาก็คือ จะทำอย่างไรให้เกิดการบริโภคอย่างยั่งยืน ไม่เป็นฟองสบู่ เพราะอุตสาหกรรมนี้จะสามารถสร้างความมั่งคั่งให้กับประเทศได้อย่างมหาศาล

สำหรับความคืบหน้าการตรวจสอบกรณี สต๊อกข้าวรัฐบาลในความรับผิดชอบขององค์การคลังสินค้า (อคส.) จำนวน 1.4 ล้านตัน จากทั้งหมด 2.1 ล้านตัน ซึ่งพบว่ามีสภาพสมบูรณ์เพียงร้อยละ 30 ส่วนที่เหลือเป็นข้าวเสื่อมคุณภาพ และอาจต้องโละขายเป็นอาหารสัตว์ นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ส่งรายงานผลการตรวจสอบสภาพข้าวของบริษัทตรวจสอบคุณภาพข้าวหรือเซเวเยอร์มาดูแล้ว เพื่อดูว่าข้าวที่เสียหายจริงมีจำนวนเท่าไร ซึ่งขณะนี้ยังไม่รายงานขึ้นมา

นายกิตติรัตน์กล่าวต่อว่า สำหรับการระบายข้าวสต๊อกรัฐบาล จำนวน 2.1 ล้านตัน มีหลายวิธีทั้งการนำไปแลกกับสินค้า หรือนำไปมอบให้แก่ประเทศที่ขาดแคลนอาหารตามหลักมนุษยธรรม คงต้องขอเวลาหารือกับทูตประเทศต่างๆ ก่อนว่า สนใจหรือไม่ อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ทำได้เลยในขณะนี้ คือ การนำข้าวในสต๊อกที่มีคุณภาพดีไปบรรจุถุงแจกจ่ายให้กับประชาชนที่ประสบปัญหาน้ำท่วม ซึ่งในการประชุมคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) เมื่อวันที่ 9 กันยายน ได้อนุมัติระบายข้าว จำนวน 6 หมื่นตัน เพื่อดำเนินการเรื่องนี้แล้ว

"ข้าวจำนวน 6 หมื่นตัน จะนำมาจากคลังของ อคส. 3 หมื่นตัน และองค์การตลาดเพื่อการเกษตรกร (อ.ต.ก.) 3 หมื่นตัน บรรจุถุงละ 4 กิโลกรัม จะได้ข้าวจำนวน 1.5 ล้านถุง เพื่อนำไปช่วยพี่น้องประชาชนในพื้นที่ที่ประสบปัญหาน้ำท่วมในขณะนี้ อย่างเท่า เทียมกัน การดำเนินการเรื่องนี้เท่ากับเป็นการยิงปืนนัดเดียวได้นก 3 ตัว คือ 1.ช่วยพี่น้องประชาชนที่ประสบปัญหา 2.รู้ว่าสภาพข้าวในสต๊อกรัฐบาลเป็นอย่างไร และ 3.จะได้รู้ว่ากระบวนการ

ทำงานในเรื่องการนำข้าวไป บรรจุถุงของหน่วยงานราชการเป็นอย่างไรด้วย"

นายกิตติรัตน์ยังกล่าวด้วยว่า ในการดำเนินงานเรื่องข้าวของรัฐบาลรวมถึงงานเรื่องต่างๆ ต่อไปนี้จะพยายามพูดให้น้อยลง เพราะที่ผ่านมามีความเห็นหลายเรื่องที่พูดไปแล้วถูกนำไปตีความจนผิดเพี้ยนไปจากสิ่งที่ตั้งใจจะทำ ดังนั้น จะเน้นการทำงานเป็นหลัก ทำให้ดูเลยว่าเป็นอย่างไง

แหล่งข่าวจากกระทรวงพาณิชย์กล่าวว่า ในการระบายข้าวจำนวน 6 หมื่นตัน ดังกล่าว กขช.ไม่ได้ให้เปล่า แต่จะใช้วิธีให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใช้งบประมาณของตัวเองเข้ามารับซื้อข้าวในราคาถูกเป็นพิเศษ เพื่อบรรจุถุงแจกจ่ายให้กับประชาชนในพื้นที่ที่อยู่ในความรับผิดชอบของตนเอง

ด้านนายธีระ วงศ์สมุทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า ในการประชุม ครม.วันที่ 13 กันยายน จะขอหารือที่ประชุมเกี่ยวกับแนวทางการช่วยเหลือเกษตรกรผู้เพาะปลูกข้าวที่ประสบปัญหา น้ำท่วม ซึ่งขณะนี้เป็นช่วงรอยตัวระหว่างโครงการประกันรายได้ของรัฐบาลชุดเดิม และการเริ่มโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลปัจจุบัน โดยจะเสนอให้ความช่วยเหลือเพิ่มเติม นอกเหนือจากการจ่ายเงินชดเชยไร่ละ 2,222 บาท ซึ่ง ครม.เห็นชอบไปก่อนหน้านี้

"การจ่ายเงินเยียวยาเพิ่มเติม อาจจะเอาหลักการในโครงการประกันรายได้เดิมเข้ามาช่วย เช่น ชดเชยให้ในส่วนต่างระหว่างราคารับจำนำข้าวที่รัฐบาลกำหนดกับราคาขายข้าวปัจจุบัน ซึ่งเท่าที่ดูข้อมูลเบื้องต้น จำนวนเกษตรกรที่จะได้รับการช่วยเหลือในขณะนี้มีจำนวนไม่มากนัก คำนวณวงเงินออกมาแล้วน่าจะอยู่ประมาณ ไร่ละ 1,500-2,000 บาท แต่เรื่องนี้ ก็ต้องขึ้นอยู่กับรัฐบาลว่าจะเห็นชอบหรือไม่ หรือจะมีวิธีการช่วยเหลืออะไรที่ดี กว่านี้" นายธีระระบุ

นายลักษณ์ วจนานวัช ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) กล่าวว่า โครงการรับจำนำข้าวเปลือกที่จะเริ่มในวันที่ 7 ตุลาคม โดยรัฐบาลจะรับจำนำผลผลิตข้าวนาปี 2554/2555 ไม่จำกัดจำนวนและวงเงิน คาดว่าฤดูกาลผลิตนี้จะมีผลผลิตข้าวประมาณ 25 ล้านตัน ธ.ก.ส.คาดว่าจะต้องใช้เงินในการรับจำนำประมาณ 4 แสนล้านบาท ซึ่ง ธ.ก.ส.ได้ยืนยันไปแล้วว่า มีสภาพคล่องดำเนินการได้ก่อนในช่วงแรกจำนวน 9 หมื่นล้านบาท รองรับปริมาณข้าว ได้ 6 ล้านตันเท่านั้น เพียงพอจะใช้ได้ถึงประมาณกลางเดือนธันวาคมนี้ หลังจากนั้นกระทรวงการคลังจะให้ทางสำนักบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) จัดหาเงินกู้ในรูปของการปล่อยกู้ร่วมของธนาคารพาณิชย์ในวงเงินอีก 1 แสนล้านบาท

นายลักษณ์กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ต้องการให้รัฐบาลดำเนินการให้ชัดเจนกับหนี้ที่คงค้างกับ ธ.ก.ส. ประมาณ 1 แสนล้านบาท จากโครงการ รับจำนำสินค้าเกษตรครั้งก่อน ที่ได้ปิดบัญชีไปแล้ว เพื่อจะได้บริหารจัดการให้ชัดเจนแยกต่างหาก จากโครงการรับจำนำที่เกิดขึ้นใหม่ โดยจะเสนอให้รัฐบาลแปลงหนี้ที่ค้างกับ ธ.ก.ส.เป็นพันธบัตรรัฐบาลจะกี่ปี่ก็ได้

นายชาญชัย รักษ์ธนานนท์ นายกสมาคมโรงสีข้าวไทย กล่าวว่า เห็นด้วยที่รัฐบาลจะ มีการระบายข้าวในสต๊อกรัฐบาลเพื่อนำไปจำหน่าย แต่ควรเป็นการจำหน่ายในภาคอุตสาหกรรมอาหารสัตว์และการส่งออกทั้งหมด เพื่อไม่ให้มีผลกระทบต่อราคาข้าวในประเทศ ส่วนข้าวที่มีการเก็บนานตั้งแต่ปี 2547-2548 มีโอกาสสูงที่ข้าวจะเสื่อมสภาพ เนื่องจากไทยเป็นประเทศที่มีอากาศร้อนชื้น ประกอบกับมีปัญหาน้ำท่วมต่อเนื่อง ดังนั้น หากขาดการดูแลในการปรับปรุงข้าว จะเกิดการเสื่อมสภาพเร็วกว่าปกติ ซึ่งในส่วนของโรงสีทั่วไปจะมีข้าวหมุนเวียนไม่เกิน 3-6 เดือน จึงอยากให้รัฐบาลจัดวางกรอบการดูแลข้าวจากที่รับจำนำเพื่อไม่ให้ข้าวเสื่อมสภาพ

"ไม่ต้องกังวลว่าการระบายข้าวสูงเป็น ล้านตันจะกระทบราคาข้าวในประเทศ เพราะ หากมีการบริหารจัดการไม่ให้มีการนำข้าวที่ระบายมาหมุนเวียนขายในประเทศ น่าจะเป็นผลดีต่อทั้งระบบ แต่อยากให้รัฐบาลเปิดประมูลให้สาธารณชนรับรู้ไม่ต้องปกปิดข้อมูลอย่างที่ผ่านมา รวมถึงเปิดเผยข้อมูลการสต๊อกข้าวว่ามีการจัดเก็บมาตั้งแต่ปีไหน เพื่อให้ผู้ซื้อและผู้ขายได้มีข้อมูลในการซื้อขายที่ถูกต้อง จะไม่เป็นผลเสียต่อระบบราคาข้าว" นาย ชาญชัยกล่าว

สินค้าเกษตรหลายตัว มีราคาปรับตัวสูงขึ้น ยกเว้นข้าวทั้งที่ข้าวเป็นอาหารหลักในการบริโภคของประชากรโลก เพราะอะไร แล้วการที่เราจะไม่คิดผลักดันให้ราคาสูงขึ้นเท่าเป็นการยอมจำนน คนปลูกข้าวเลี้ยงคน ไม่มีทางลืมตาอ้าปากได้ ฉันเชื่อว่านโยบายมีทางสำเร็จ มันต้องมีวิธีการไล่ราคา ของสินค้าเกษตร อย่างแรกข้าวควรจะมีราคาตลาดอ้างอิง เพราะมันจะสะท้อนความต้องการที่แท้จริง ไม่ใช่จะยอมให้ผู้ผลิตถูกกดหัวอยู่แบบนี้ อ่านแล้วต้องยอมรับใช่มัยว่าชาวนาควรจะจนต่อไป .. หรือไม่ก้อเลิกปลูกข้าวกันดีกว่า เพราะ ใครจะยอมเสียสละสร้างอาหารเลี้ยงคนทั้งโลก แล้วตัวเองยอมอดตายและยิ่งตอนนี้แล้วประเทศไทยเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติไม่ว่าจะเป็นน้ำท่วมดินถล่มซึ่งส่งผลเสียหายเป็นอย่างมากต่อเศรษฐกิจการส่งออกข้าวของประเทศรวมถึงส่งผลให้ชาวนายิ่งเสียหายหนักทำให้ผลผลิตที่จะได้รับน้อยลงและขาดทุนอย่างรุนแรง

2.มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาอันเป็นที่รักของท่านนั้น มีความพร้อมในประเด็นใดบ้างและขาดความพร้อมในด้านใดบ้างเมื่อประเทศไทยจะเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี ค.ศ. 2015 และอยากทราบข้อเสนอแนะจากท่านในการปรับปรุง ทั้งนี้เพราะท่านมีส่วนร่วมในประชาคมนี้เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 4 ปี

ASEAN Community คืออะไร

อาเซียน (ASEAN) ประกอบด้วย 10 ประเทศ ได้แก่ ไทย (2510) สิงคโปร์ (2510) อินโดเนเซีย (2510) มาเลเซีย (2510) ฟิลิปปินส์ (2510) บรูไน (2527) เวียตนาม (2538) ลาว (2540) พม่า (2540) กัพูชา (2542) มีประชากรรวมกันประมาณ 570 ล้านคน มีขนาดเศษฐกิจที่โตมาก

เมื่อเดือนตุลาคม 2546 ผู้นำอาเซียนได้ร่วมลงนามในปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมืออาเซียน ที่เรียกว่า ข้อตกลงบาหลี 2 เห็นชอบให้จัดตั้ง ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) คือการให้อาเซียนรวมตัวเป็นชุมชนหรือประชาคมเดียวกันให้สำเร็จภายในปี พ.ศ. 2563 (ค.ศ. 2020) แต่ต่อมาได้ตกลงร่นระยะเวลาจัดตั้งให้เสร็จในปี พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015) เนื่องจากการแข่งขันรุนแรง เช่น อัตราการเติบโตทางด้านเศรษฐกิจของจีนและอินเดียสูงมากในช่วงที่ผ่านมา

ในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 14 ที่ชะอำ หัวหิน เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2552 ผู้นำอาเซียนได้ลงนามรับรองปฏิญญาชะอำ หัวหิน ว่าด้วยแผนงานจัดตั้งประชาคมอาเซียน (ค.ศ. 2009-2015) เพื่อจัดตั้งประชาคมอาเซียนภายในปี 2558ในส่วนของภาคการศึกษา โดยเฉพาะในระดับอุดมศึกษานั้น ขณะนี้ มีความชัดเจนในแนวนโยบายเกิดขึ้นแล้วจาก สกอ. (สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาแห่งชาติ) โดย สกอ.ได้กำหนดเป็น “ยุทธศาสตร์อุดมศึกษาไทยในการเตรียมความพร้อมสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. 2558” ไว้ทั้งหมด 3 ยุทธศาสตร์ สรุปได้ดังนี้

1.การเพิ่มขีดความสามารถของบัณฑิตให้มีคุณภาพมาตรฐานในระดับสากล กำหนดกลยุทธ์ดังนี้

1.1พัฒนาสมรรถนะด้านการใช้ภาษาอังกฤษของนักศึกษาไทยในระดับที่ใช้การทำงานได้

1.2พัฒนาสมรรถนะด้านการประกอบวิชาชีพและการทำงานข้ามวัฒนธรรมของบัณฑิตไทย

2.การพัฒนาความเข้มแข็งของสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาประชาคมอาเซียน กำหนดกลยุทธ์ดังนี้

2.1พัฒนาอาจารย์ให้มีสมรรถนะสากล

2.2ส่งเสริมการสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับอาเซียนในสถาบันอุดมศึกษา

2.3พัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอนให้มีคุณภาพระดับสากล

2.4พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้มีคุณภาพระดับสากล

2.5พัฒนาวิชาการและการวิจัยสู่ความเป็นเลิศ

2.6พัฒนาระบบอุดมศึกษาแห่งอาเซียน

3.การส่งเสริมบทบาทอุดมศึกษาไทยในประชาคมอาเซียน กำหนดกลยุทธ์ดังนี้

3.1ส่งเสริมบทบาทความเป็นผู้นำของสถาบันอุดมศึกษาไทยที่เกี่ยวข้องกับสามเสาหลักในการสร้างประชาคมอาเซียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเสาด้านประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน

3.2สร้างความตระหนักในการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนและบทบาทของอุดมศึกษาไทยในการพัฒนาประชาคมอาเซียนทั้งในด้านบวกและด้านลบ

3.3ส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการศึกษาในกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน

3.4พัฒนาศูนย์ข้อมูลเกี่ยวกับสถาบันอุดมศึกษาในอาเซียน

สกอ. ยังได้มีการกำหนดมาตรการที่ควรพิจารณาดำเนินการในแต่ละกลยุทธ์และยุทธศาสตร์ไว้ด้วย รายละเอียดจะยาวมากเกินไป ขอไม่นำมาเสนอในที่นี้ แต่ท่านสามารถศึกษาต่อได้จากลิงค์ที่อยู่ด้านล่าง

สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นมีผลทำให้หลายๆภาคส่วน โดยเฉพาะการศึกษาของประเทศไทยต้องปรับตัวครั้งใหญ่ ให้สามารถรับมือกับสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้น บัณฑิตที่จบออกไปจะต้องเป็นอย่างไร จะมีอัตลักษณ์เช่นไร จึงจะยืนหยัดได้ในสภาพการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญนี้ เป็นโจทย์ที่สถาบันการศึกษาทุกแห่ง ซึ่งรวมถึงสถาบันผู้ผลิตรังสีเทคนิคทุกแห่งต้องเร่งเครื่องอย่างเต็มที่ อย่างน้อยก็ต้องเร่งมือปรับหลักสูตร ทั้งเนื้อหาและกระบวนการเรียนการสอน ให้สอดรับกับสถานะการณ์ที่กำลังเกิดการเปลี่ยนแปลง

อย่างไรก็ตามโดยส่วนตัวเห็นว่า กลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะด้านการใช้ภาษาอังกฤษของนักศึกษาไทยในระดับที่ใช้การทำงานได้ กลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะด้านการประกอบวิชาชีพและการทำงานข้ามวัฒนธรรมของบัณฑิตไทย อาจทำให้เราเพลิดเพลินไป ฉะนั้นประการหนึ่งที่จะลืมไม่ได้คือ ต้องไม่ลืมเรื่องการปลูกฝังความเป็นไทย ต้องไม่ลืมเน้นการสื่อสารทั้งพูดและเขียนให้ผู้อื่นรู้เรื่อง หากความเป็นไทยเจือจางลงก็เป็นอันตราย หากการพูดและเขียนไม่รู้เรื่องก็เป็นอุปสรรคหรือเป็นพิษต่อการทำงาน

ผลกระทบมีอะไรบ้าง

1.การศึกษาในภาพใหญ่ของโลก มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง ต้องไม่ให้การเปลี่ยนแปลงนี้มากระชากลากเราไปอย่างทุลักทุเล เราต้องเตรียมความพร้อมทันที ตลอดเวลา โดยเฉพาะบุคลากรต้องตามให้ทันและยืดหยุ่นปรับตัวให้รับสถานะการณ์ได้

2.ภาษาอังกฤษจะเป็นภาษากลางของ ASEAN บุคลากรและนักศึกษา ต้องเพิ่มทักษะทางด้านภาษาอังกฤษ ให้สามารถสื่อสารได้

3.ปรับปรุงความเข้าใจทางประวัติศาสตร์ เพื่อลดข้อขัดแย้งในภูมิภาคอาเซียน (Conflict Management) จึงต้องคำนึงถึงการสร้างบัณฑิตให้มีความรู้ความเข้าใจเรื่อง ASEAN ให้มากขึ้น

4.สร้างบัณฑิตให้สามารถแข่งขันได้ใน ASEAN เพิ่มโอกาสในการทำงาน ไม่เช่นนั้น จะถูกแย่งงานเพราะเกิดการเคลื่อนย้ายแรงงาน/บริการอย่างเสรี คณะกรรมการวิชาชีพ สภาวิชาชีพ ต้องเตรียมการรองรับผลกระทบนี้อย่างเร่งด่วน

5.โอกาสในการเป็น Education Hub โดยอาศัยความได้เปรียบในเชิงภูมิศาสตร์ของประเทศไทย แต่ต้องเน้นในเรื่องของคุณภาพการศึกษาเป็นตัวนำ

6.เราต้องการเครื่องมือในการ Transform คน การเรียนแบบ PBL หรือ Project Based Learning น่าจะได้มีการวิจัยอย่างจริงจังและนำมาปรับใช้ ห้องเรียนไม่ใช่แค่ห้องสี่เหลี่ยมเล็กๆอีกต่อไป ต้องเพิ่มการเรียนจากชีวิตจริง ลงมือทำเป็นทีม อยู่คนละประเทศก็ทำร่วมกันได้ด้วยไม่มีข้อจำกัดทางด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร ประเด็นนี้ อาจารย์จะสอนได้ยากขึ้น แต่เป็นผู้ที่ช่วยให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้ได้แสดงว่าอาจารย์ต้องมีความพร้อมมากกว่าเดิมและเก่งจริงๆเราคงต้องปรับตัวอย่างมากเพราะเมื่อเปลี่ยนแปลงแล้วการแข่งขันในการทำงานการจบออกไปมีการแข่งขันสูงต้องมีความสามารถความรู้เยอะๆถึงจะส่งผลดีกับตัวเรา

1 เป้าหมายขั้นสุดท้ายของนโยบายการเงินไทยมีอะไรบ้างและปัจจัยรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตรใช้เครื่องมือของนโยบายการเงินใดบ้างเป็นหลักในการบริหารประเทศ

ตอบ ธนาคารแห่งประเทศไทยดำเนินนโยบายการเงินภายใต้กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อแบบยืดหยุ่น (Flexible Inflation Targeting) มาตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2543 ซึ่งหมายความว่า ธปท. ไม่ได้ให้ความสำคัญกับการดูแลอัตราเงินเฟ้อเพียงอย่างเดียว แต่ ธปท. ยังให้ความสำคัญกับการดูแลการขยายตัวทางเศรษฐกิจ รวมทั้งเสถียรภาพด้านอื่นๆ อาทิ ภาคธุรกิจ ภาคครัวเรือน ภาคสถาบันการเงิน และตลาดการเงินด้วย

ปัจจัยที่รัฐบาลใช้บริหารประเทศ

กนง. และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเห็นชอบร่วมกันที่จะยังคงใช้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเฉลี่ยรายไตรมาสที่ร้อยละ 0.5 -3.0 ต่อปี ซึ่งเป็นเป้าหมายเงินเฟ้อต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2552 โดยเห็นว่ายังคงเป็นเป้าหมายที่มีความเหมาะสมในการช่วยสนับสนุนให้เศรษฐกิจไทยมีเสถียรภาพและเติบโตได้อย่างยั่งยืนในระยะต่อไป ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติเป้าหมายดังกล่าวเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2553

กรณีที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเคลื่อนไหวออกนอกช่วงเป้าหมาย

ข้อตกลงร่วมกันระหว่างคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้กำหนดไว้ว่า

“กรณีที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเคลื่อนไหวออกนอกช่วงเป้าหมาย ตามที่ได้ตกลงร่วมกันไว้ ให้ กนง. ชี้แจงสาเหตุ แนวทางแก้ไข และระยะเวลาที่คาดว่าอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานจะกลับเข้าสู่ช่วงที่กำหนดไว้โดยเร็ว รวมทั้งให้รายงานความคืบหน้าของการแก้ไขปัญหาเป็นระยะตามสมควร”

2 ท่านคิดว่าตลาดการเงินในส่วนของตลาดทุนนั้นควรมีทิศทางในการพัฒนาอย่างไร เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบจากการไหลเข้าออกของกระแสเงินเสรี

ตอบ การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศย่อมต้องอาศัยเงินทุนเป็นปัจจัยสำคัญ ตลาดทุนช่วยให้ธุรกิจต่างๆ ทั้งที่เพิ่งเริ่มก่อตั้งและที่ต้องการขยายธุรกิจสามารถจะระดมทุนมาได้โดยการออกหุ้นและนำมาจำหน่ายในตลาดทุน วิธีระดมทุนเช่นนี้มีข้อดีต่อธุรกิจ คือ เป็นเงินทุนระยะยาว และในกรณีของการระดมทุนเป็นตราสารหนี้ก็จะมีภาระดอกเบี้ยน้อยกว่ากู้จากสถาบันการเงิน การนำหุ้นออกขายในตลาดทุน ทำให้ธุรกิจที่ออกหุ้นสามารถใช้เป็นเงินทุนในการขยายธุรกิจในอนาคต

ส่วนด้านของผู้ที่ต้องการลงทุนการนำเงินมาซื้อหลักทรัพย์ก็อาจจะได้รับประโยชน์สูงกว่านำเงินไปฝากธนาคาร เมื่อเวลาผ่านไปราคาหุ้นมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นจากผลการดำเนินงานที่ดีของธุรกิจผู้ลงทุนก็จะได้รับกำไรมากขึ้น อย่างไรก็ตามการลงทุนซื้อหลักทรัพย์ในตลาดทุนก็มีอัตราความเสี่ยงเช่นกัน ทั้งนี้เพราะผลกระทบจากปัจจัยภายนอกที่เราไม่สามารถควบคุมได้ อาจทำให้ราคาหุ้นตกต่ำลง แต่ถ้าเลือกถือหุ้นที่มีผลประกอบการดีก็อาจจะได้รับผลตอบแทนในรูปของเงินปันผลที่จ่ายในอัตราคุ้มค่ากับการลงทุน

โลกที่มีการเคลื่อนย้ายเงินทุนแบบเสรี

โลกของเราทุกวันนี้แตกต่างจากโลกที่อยู่ในตำราของนักเศรษฐศาสตร์ค่อนข้างมาก กระแสโลกาภิวัฒน์ได้ทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายของสินค้า เงินทุน และข้อมูลข่าวสาร ข้ามพรมแดนไปมาอย่างรวดเร็ว ภาวะเศรษฐกิจของแต่ละประเทศจึงได้รับอิทธิพลจากภาวะเศรษฐกิจโลกด้วย ปัจจุบันยังไม่มีนักเศรษฐศาสตร์คนไหนที่สามารถสร้างแนวคิดหรือหลักการอะไรที่จะใช้อธิบายความเป็นไปของระบบเศรษฐกิจที่ได้รับอิทธิพลจากโลกภายนอกมากถึงขนาดนี้

ระบบเศรษฐกิจในตำราเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ที่เราได้เรียนกันมักจะตั้งอยู่บนสมมติฐานว่าระบบเศรษฐกิจเป็นระบบปิดที่ ไม่มีการติดต่อกับโลกภายนอกมากนักโดยเฉพาะอย่างยิ่งไม่มีการไหลเข้าออกของเงินทุนระหว่างประเทศ แต่ โรเบิร์ต มัลเดล (Robert Mundell: 1932-) นักเศรษฐศาสตร์ชาวแคนาดาเจ้าของรางวัลโนเบลดูเหมือนจะเป็นคนแรกๆ ที่พยายามบุกเบิกเรื่องนี้ และสามารถสร้างแนวคิดที่สามารถอธิบายระบบเศรษฐกิจแบบเปิดได้อย่างชัดเจนและน่าสนใจมาก

ตามแนวคิดของมัลเดล เศรษฐกิจของประเทศส่วนใหญ่ในโลกอาจมองได้ว่าเป็นระบบเศรษฐกิจขนาดเล็กแบบเปิด (small open economy) หมายความว่าเป็นระบบเศรษฐกิจที่มีการพึ่งพาการค้าระหว่างประเทศมาก ทำให้ต้องมีนโยบายเสรีเรื่องการไหลเข้าออกของเงินทุน การไหลเข้าออกของเงินทุนอย่างรวดเร็วจะทำให้ประเทศเหล่านี้ได้รับอิทธิพลจากความผันผวนของเศรษฐกิจโลกมาก มัลเดลอธิบายว่า การไหลเข้าออกของทุนได้อย่างเสรีจะทำให้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงภายในประเทศเหล่านี้วิ่งเข้าหาอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงของโลก เนื่องจากเงินทุนข้ามชาติจะวิ่งออกจากบริเวณที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำไปสู่บริเวณที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงเพื่อแสวงหาผลตอบแทนทำให้อัตราดอกเบี้ยทั่วโลกมีแนวโน้มที่จะวิ่งเข้าหากัน ปรากฎการณ์นี้จะส่งผลกระทบต่อการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจภายในประเทศ

สมมติว่ามีประเทศเล็กๆ ประเทศหนึ่งที่มีการติดต่อกับโลกภายนอกมากๆ พยายามส่งเสริมการส่งออกและการลงทุนด้วยการใช้นโยบายอัตราแลกเปลี่ยนแบบผูกไว้กับค่าเงินสกุลหลักของโลก ได้แก่ เงินดอลล่าร์สหรัฐฯ ในขณะเดียวกันก็เปิดให้มีการไหลเข้าออกของเงินทุนได้อย่างเสรี เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับนักลงทุนต่างประเทศอีกทางหนึ่ง ปกติแล้วในการผูกค่าเงิน ธนาคารกลางของประเทศนี้จะต้องใช้ทุนสำรองเข้าไปซื้อ(ขาย)เงินของประเทศตัวเองในตลาดโดยใช้ทุนสำรองที่มีอยู่เพื่อรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยน การลดลง(เพิ่มขึ้น)ของเงินทุนสำรองจะส่งผลทำให้ปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจภายในประเทศลดลง(เพิ่มขึ้น) ตามไปด้วยเสมอ ดังนั้นธนาคารกลางจึงไม่มีอิสระในการควบคุมปริมาณเงินในประเทศเนื่องจากปริมาณเงินภายในประเทศต้องเพิ่มหรือลดไปตามการดูแลอัตราแลกเปลี่ยน

เพื่อลดผลกระทบของปริมาณเงินภายในประเทศจากการดูแลค่าเงิน ธนาคารกลางอาจใช้วิธีทำธุรกรรมหักล้าง (Sterilization) การดูแลค่าเงินโดยการซื้อ(ขาย)พันธบัตรในตลาดพันธบัตรร่วมด้วยเพื่อให้ปริมาณเงินในประเทศที่เปลี่ยนไปเพราะการดูแลค่าเงินกลับมาอยู่ที่จุดเดิมก่อนที่ธนาคารกลางจะใช้นโยบายการเงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศอีกที

อย่างไรก็ตาม ในระบบเศรษฐกิจแบบเปิด แม้ธนาคารกลางจะพยายามทำธุรกรรมหักล้างก็จะไม่ได้ผล เนื่องจากมีการไหลเข้าออกของเงินทุนได้อย่างเสรี ไม่ว่าธนาคารกลางจะพยายามทำให้อัตราดอกเบี้ยภายในประเทศเป็นเท่าไร ก็มีจะมีเงินทุนไหลเข้าและออกเพื่อทำให้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงภายในประเทศวิ่งเข้าหาอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงของโลกอยู่ดี ธนาคารกลางจึงสูญเสียความสามารถในการบริหารจัดการระบบเศรษฐกิจภายในประเทศโดยใช้นโยบายอัตราดอกเบี้ยจากการเปิดเสรีเรื่องเงินทุน

ถ้าหากประเทศนี้ยังต้องการมีนโยบายอัตราดอกเบี้ยเป็นของตนเองอยู่ ประเทศนี้จะต้องเปลี่ยนไปใช้นโยบายควบคุมการไหลเข้าออกของเงินทุน หรือมิฉะนั้นก็ต้องหันไปใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัวแทน อัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัวจะช่วยป้องกันอัตราดอกเบี้ยภายในประเทศไม่ให้วิ่งเข้าหาอัตราดอกเบี้ยของโลกได้เพราะ เมื่อธนาคารกลางประกาศลดดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ เงินทุนจะไหลออกจากประเทศไปหาที่ที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงกว่า แต่การไหลออกของเงินทุนจะทำให้ค่าเงินอ่อนลงด้วย เมื่อค่าเงินอ่อนลง การส่งออกก็จะดีขึ้น เมื่อการส่งออกดีขึ้น เศรษฐกิจภายในประเทศก็จะดีขึ้นตาม การลดดอกเบี้ยจึงช่วยทำให้เศรษฐกิจภายในประเทศดีขึ้นได้ผ่านทางการส่งออกที่ดีขึ้น นโยบายดอกเบี้ยจึงยังคงมีประสิทธิผลอยู่

มัลเดลสรุปว่า ในระบบเศรษฐกิจแบบเปิด ประเทศจะไม่สามารถมีเป้าหมายสามอย่างต่อไปนี้ได้พร้อมกัน จำเป็นต้องสละเป้าหมายใดเป้าหมายหนึ่งออกไปเพื่อให้อีกสองเป้าหมายที่เหลือเป็นไปได้

1. นโยบายอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่

2. นโยบายเปิดเสรีเรื่องการไหลเข้าและออกของเงินทุน

3. นโยบายอััตราดอกเบี้ยสำหรับบริหารจัดการเศรษฐกิจภายในประเทศ

ก่อนที่ประเทศไทยจะเกิดวิกฤตต้มยำกุ้ง ประเทศไทยเคยใช้นโยบายอัตราแลกเปลี่ยนแบบผูกค่าเงิน และมีการควบคุมการไหลเข้าออกของเงินทุนมาก่อน ซึ่งทำให้ประเทศไทย

สามารถมีนโยบายอัตราดอกเบี้ยของตัวเองได้ แต่อยู่ดีๆ การมีการผ่อนคลายเรื่องการไหลเข้าออกของเงินทุนผ่านทาง BIBF เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับนักลงทุน ทำให้นโยบายอัตราดอกเบี้ยใช้ไม่ได้ผลอีกต่อไป เมื่อธนาคารแห่งประเทศไทยพยายามแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อสูงด้วยการขึ้นอัตราดอกเบี้ยในประเทศ ความปั่นป่วนของปริมาณเงินภายในประเทศก็เกิดขึ้น เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยในบ้านเราสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยนอกประเทศมาก เงินทุนต่างประเทศพากันไหลเข้ามาเก็งกำไรส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่อง เงินที่ไหลเข้ามาทำให้ปริมาณเงินในประเทศเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจนเกิดภาวะฟองสบู่ในตลาดสินเชื่อและเกิดการเก็งกำไรในตลาดสินทรัพย์ประเภทต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตลาดอสังหาริมทรัพย์ จนฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์แตกในเวลาต่อมา

ปัจจุบัน ประเทศไทยหันมาใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัวแล้ว ทำให้ประเทศไทยสามารถมีนโยบายอัตราดอกเบี้ยเป็นของตัวเองได้ทั้งที่ปล่อยให้มีการไหลเข้าออกของเงินทุนได้อย่างเสรีตามแนวคิดของมัลเดล ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัวเป็นระบบที่เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน เพราะทุกวันนี้นักค้าเงินข้ามชาติมีเงินทุนรวมกันมากกว่าเงินทุนสำรองของประเทศใดๆ ในโลก การปกป้องค่าเงินด้วยการผูกค่าเงินจึงเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยากเพราะจะตกเป็นเป้าหมายของการโจมตีค่าเงินในที่สุด ทุกวันนี้ประเทศไทยก็มีการติดต่อกับโลกภายนอกเป็นอย่างมาก เพราะประเทศไทยมีการส่งออกเป็นจำนวนมหาศาล การปล่อยให้มีการเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างเสรีจึงนับว่าเป็นนโยบายที่เหมาะสมกับประเทศไทยด้วย

หากพิจารณาจากแนวคิดของมัลเดล ทุกวันนี้ ถ้าหากประเทศไทยยังต้องการใช้นโยบายอัตราดอกเบี้ยในการบริหารจัดการเศรษฐกิจภายในประเทศ ประเทศไทยก็ควรปล่อยให้อัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวอย่างแท้จริง การพยายามแทรกแซงค่าเงินให้อ่อนกว่าความเป็นจริงเพื่อเป็นการสร้างความได้เปรียบในการส่งออกจะส่งผลให้้้นโยบายดอกเบี้ยภายในประเทศขาดประสิทธิภาพ

. . . .นอกจากนี้ มัลเดลยังค้นพบด้วยว่า ภายใต้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัวและการไหลเข้าออกของเงินทุนอย่างเสรี การใช้นโยบายการคลังเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจจะใช้ไม่ได้ผลเนื่องจากเมื่อรัฐบาลกู้เงินมาใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ดอกเบี้ยในประเทศก็จะเพิ่มขึ้น ทำให้มีเงินทุนจากต่างประเทศไหลเข้ามามาก ค่าเงินก็จะแข็ง ทำให้การส่งออกแย่ลง เมื่อการส่งออกแย่ลงก็จะไปหักล้างผลของการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยรัฐบาล นโยบายการคลังจึงไม่มีประสิทธิภาพ ประเทศที่ใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัวและมีการไหลเข้าออกของเงินทุนได้อย่างเสรีจึงควรใช้นโยบายอัตราดอกเบี้ยเป็นเครื่องมือหลักในการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ และใช้นโยบายการคลังให้น้อยที่สุด

ในทางตรงกันข้ามประเทศที่เลือกใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่แต่มีการไหลเข้าออกของเงินทุนอย่างเสรี นโยบายการเงินจะเป็นนโยบายที่ไม่มีประสิทธิภาพอย่างที่กล่าวมาแล้ว ในกรณีเช่นนี้ รัฐบาลควรหันมาใช้นโยบายการคลังเป็นเครื่องมือหลักในการกระตุ้นเศรษฐกิจแทนจะได้ผลมากกว่า เพราะการกู้เงินของรัฐบาลจะไม่ทำให้ค่าเงินแข็งภายใต้ระบบนี้

. . . .

แนวคิดของมัลเดลยังช่วยทำให้เราเข้าใจว่า สำหรับประเทศที่ใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัวอย่างแท้จริงโดยปราศจากการแทรกแซงใดๆ จากธนาคารกลาง และมีการไหลเข้าออกของเงินทุนได้อย่างเสรี การขาดดุลการค้าจะถูกชดเชยด้วยการไหลเข้าของเงินทุนเป็นจำนวนที่เท่ากันเสมอ (ถ้าขาดดุลการค้าก็จะเกินดุลบัญชีทุนเป็นจำนวนเท่ากัน หรือถ้าเกินดุลการค้าก็จะขาดดุลบัญชีทุนเป็นจำนวนเท่ากันด้วย) ในทางตรงกันข้าม การได้ดุลการค้าก็จะถูกหักล้างด้วยการไหลออกของเงินทุนเป็นจำนวนที่เท่ากันด้วย ประเทศที่ใช้ระบบนี้จึงมีดุลการชำระเงินของประเทศที่สมดุลเสมอ และการที่ประเทศเหล่านี้จะขาดดุลการค้ามากหรือน้อย (ซึ่งหมายถึงจะมีเงินทุนไหลเข้าออกมากหรือน้อยด้วยโดยอัตโนมัติ) จะไม่ได้ขึ้นอยู่กับความสามารถในการส่งออกสินค้า (เพราะค่าเงินแข็งและอ่อนตามความเป็นจริง อัตราแลกเปลี่ยนจึงไม่มีผลต่อการส่งออก) แต่จะขึ้นอยู่กับส่วนต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยในประเทศ กับอัตราดอกเบี้ยของโลกเป็นสำคัญ หากธนาคารกลางใช้นโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ เงินจะไหลออกมาก ทำให้ประเทศต้องได้ดุลการค้าโดยอัตโนมัติ (เพราะดุลการค้าต้องชดเชยกับเงินที่ไหลออกเสมอ) ในทางตรงกันข้าม หากธนาคารกลางกำหนดอัตราดอกเบี้ยในประเทศให้สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยโลก เงินก็จะไหลเข้า ทำให้ประเทศต้องขาดดุลการค้าด้วย เพราะฉะนั้นในระบบเศรษฐกิจแบบเปิด การได้ดุลการค้าจะไม่ใช่สิ่งที่บ่งบอกถึงความสามารถในการส่งออกของประเทศเหมือนอย่างที่เคยเข้าใจกันอีกต่อไป แต่หมายถึง ในช่วงเวลานั้น มีเงินไหลออกจากประเทศ เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยภายในประเทศถูกกำหนดไว้ให้ต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยของโลก

3 สถาบันการเงินระหว่างประเทศมี ไอเอ็มเอฟ เอโอบี และworld Bank มีส่วนต่อการพัฒนาเศรษฐกิจไทยอย่างไรเมื่อเปรียบเทียบกับธนาคารออมสิน ธอส และธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย

วัตถุประสงค์ของการก่อตั้ง IMF คือ จัดการและควบคุมระบบการเงินของโลกและช่วยเหลือประเทศที่เผชิญกับวิกฤตเศรษฐกิจ โดยจะประสานการทำงานกับกระทรวงการคลัง และแบงก์ชาติของแต่ละประเทศ หน้าที่หลักของ IMF มีอยู่ 3 ประการคือ

1. จัดระบบการเงินโลก

2. กำกับกติกาทางเศรษฐกิจของโลก เพื่อให้เกิดความมั่นคงมีเสถียรภาพ

สร้างเงินซึ่งเป็นเงินสำรองระหว่างประเทศ เป็นเงินที่เป็นกลาง ไม่ได้เป็นเงินของประเทศใดประเทศหนึ่ง Development Bank - ADB) ADB เป็นสถาบันการเงินเพื่อการพัฒนาแบบพหุภาคีที่อุทิศให้กับการลดความยากจนในภูมิภาคเอเชีย

world Bank เพื่อช่วยเหลือประเทศสมาชิกที่ได้รับความเสียหายจากสงครามโลกครั้งที่สอง โดยให้สมาชิกกู้ยืมไปเพื่อบูรณะซ่อมแซมและพัฒนาประเทศ ต่อมาได้ขยายขอบเขตของการบริการออกไปเป็นการสนับสนุนการลงทุนเพื่อการพัฒนาและเพิ่มผลผลิตในประเทศที่กำลังพัฒนา เพื่อยกระดับชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนในประเทศสมาชิก ตามลักษณะกิจการที่จะลงทุนและตามความจำเป็นและยังช่วยเหลือสมาชิกด้วยการให้บริการด้านความรู้และคำแนะนำเกี่ยวกับการวางแผนการลงทุนและบริหารการเงิน

ธนาคารออมสิน

หน้าที่ของธนาคารออมสิน

1) หน้าที่ด้านการออมสิน

(1) รับฝากเงินออมสิน ผู้ฝากเงินประเภทนี้เป็นหน่วยราชการ องค์การธุรกิจ

วัดหรือบุคคลธรรมดา โดยผู้ฝากจะต้องมีอายุตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไป และจะต้องฝากเงิน

ครั้งละไม่ต่ำกว่า 1 บาท

(2) ออกสลากออมสินพิเศษ สลากออมสินพิเศษราคาฉบับละ 20 บาท

(3) เพื่อผู้กู้จักได้สร้าง ขยาย หรือซ่อมแซมอาคารของตนเอง

(4) เพื่อผู้กู้จักได้ไถ่ถอนจำนองอันผูกพันที่ดินหรืออาคารของตนเอง

(5) เพื่อผู้กู้จักได้ไถ่ถอน ซึ่งการขายฝากที่ดินหรืออาคารของตนเอง

(6) เพื่อผู้กู้จักได้ใช้ในการลงทุนจัดการเคหะ

2) รับจำนำหรือจำนองทรัพย์สิน เพื่อเป็นประกันเงินกู้ยืม

3) รับฝากเงินที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถามหรือเมื่อสิ้นระยะเวลาที่กำหนดไว้

4) กิจการของธนาคารตามพระราชกฤษฎีกา

ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธอน.)

ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย จัดตั้งขึ้นตาม

พระราชบัญญัติ ธอน. โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นผู้ดูและรับผิดชอบ

การดำเนินงานของธนาคาร เนื่องจากในปัจจุบันธุรกิจการนำเข้า และส่งออกของ

ประเทศไทยมีจำนวนมากขึ้น ผู้ประกอบธุรกิจจึงมีความต้องการให้รัฐบาลได้มีส่วน

ช่วยเหลือ ในด้านการค้าระหว่างประเทศให้มากขึ้น วัตถุประสงค์ของ ธสน. จัดตั้งขึ้น

เพื่อให้การสนับสนุน ส่งเสริม การนำเข้า การส่งออก การลงทุนโดยดำเนินการต่าง ๆ

ที่ไม่เป็นการแข่งขันกับธนาคารพาณิชย์ อันได้แก่

1) การให้สินเชื่อ เพื่อสนับสนุนการส่งออกของประเทศ

2) การค้ำประกัน ให้บริการค้ำประกันแก่ผู้ส่งออกที่มีหลักทรัพย์ไม่เพียงพอขอกู้

จากสถาบันกรเงินอื่น

3) การรับประกัน ให้บริการรับประกันแก่ผู้ส่งออก กรณีผู้ซื้อไม่สามารถชำระเงิน

ให้แก่ผู้ส่งออกได้

4) การรับช่วงตั๋วสัญญาใช้เงินจากสถาบันการเงินที่ให้กู้ระยะสั้นแก่ผู้ส่งออก

5) การเข้าร่วมลงทุนในกิจการต่างประเทศ เพื่อสนับสนุนการนำเข้าสินค้าจาก

ประเทศไทย และร่วมลงทุนในกิจการในประเทศเพื่อสนับสนุนการส่งออกสินค้าของ

ประเทศไทย

เมื่อปี พ.ศ. 2490 รัฐบาลได้ตั้ง ธนาคารเพื่อการสหกรณ์ขึ้น เพื่อทำหน้าที่เป็นแหล่ง เงิน ทุนอำนวยสินเชื่อ แก่สหกรณ์ทั้งหลาย ที่มีอยู่ในประเทศไทยขณะนั้น ธนาคาร เพื่อการสหกรณ์ ดำเนินงานให้กู้เงินแก่สหกรณ์มาจนถึง พ.ศ. 2509 รัฐบาลจึงได้พิจารณาจัดตั้ง ธนาคารขึ้นใหม่ เพื่อทำหน้าที่แทน ธนาคารเพื่อการสหกรณ์ โดยมีเหตุผลดังนี้ ธนาคารเพื่อการสหกรณ์ ไม่มีอำนาจในการให้เงินกู้แก่เกษตรกร ที่ไม่ใช่สมาชิกสหกรณ์ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมาก ธนาคารเพื่อการสหกรณ์ ไม่ได้ทำหน้าที่ในการพิจารณาคำขอกู้ ธนาคารเพื่อการสหกรณ์ ไม่ได้ทำหน้าที่ให้สินเชื่อแบบกำกับแนะนำ และยังไม่มีหน่วยงานใดทำหน้าที่นี้ได้ การดำเนินงานและองค์การของธนาคารเพื่อการสหกรณ์ยังไม่ได้รับ การรับรองจากต่างประเทศ จึงเป็นเหตุให้ กำลังเงินธนาคารไม่เพียงพอ ด้วยเหตุผลดังกล่าว รัฐบาลจึงได้จัดตั้ง ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2509 โดยให้เป็นสถาบันระดับชาติ มีฐานะเป็น รัฐวิสาหกิจ สังกัดกระทรวงการคลัง ทำหน้าที่อำนวยสินเชื่อ ให้แก่เกษตรกร อย่างกว้างขวาง ทั้งในด้านเกษตรกรโดยตรงและสถาบันเกษตรกร

เป็นธนาคารที่จัดตั้งขึ้นโดย ในหลวงมีพระบรมราชโองการ ให้จัดตั้งธนาคารอาคารสงเคราะห์เพื่อจะได้ช่วยให้บริการทางการเงินด้านที่อยู่อาศัยอย่างครบวงจร เพื่อให้ประชาชนได้มีที่อยู่อาศัย ตามสมควรแก่อัตภาพ และสามารถตอบสนองความคาดหวังของลูกค้า รัฐบาล และสังคม ภายใต้แนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ก้อจะมีบริการเงินฝาก เงินกู้ สินเชื่อ ผ่อนผันประนอมหนี้ และรับชำระค่าสาธารณูปโภคต่างๆแต่หลักๆเกี่ยวกับเงินกู้ ก้อจะเป็นกู้ซื้อบ้าน กู้เพื่อผู้ประกอบการ

ซึ่งจะเห็นได้ว่าสถาบันการเงินระหว่างประเทศมี ไอเอ็มเอฟ เอดีบี และworld Bank มีแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจของรัฐบาลตั้งอยู่บนพื้นฐาน

ของการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ รัฐบาลเน้นการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานทาง

กายภาพ การสร้างความแข็งแกร่งให้ตลาดทุนภายในประเทศ และการพัฒนาบรรยากาศการลงทุน

ให้เอื้อต่อการลงทุนของภาคเอกชน นอกจากนี้ ยังมีความจำเป็นที่รัฐบาลจะต้องจัดตั้งกลไกการคุ้มครอง

ทางสังคมอย่างเป็นระบบ เพื่อช่วยเหลือผู้ว่างงานและผู้ด้อยโอกาสกลุ่มอื่นๆ รวมทั้งคนยากจน เด็ก

ผู้สูงอายุ และผู้พิการ

อีกทั้งยังช่วยในการพัฒนาประเทศไทยในเรื่องการรักษาเสถียรภาพทางการเงินระหว่างประเทศให้ดีขึ้นและช่วยแก้ไขปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจในภาวะที่ตกต่ำและถดถอยให้มีการพัฒนายิ่งๆขึ้นไปและยังเป็นตัวช่วยในการให้กู้ยืมเงินเพื่อไปพัฒนาประเทศอีกด้วย

ซึ่งแตกต่างจากโดยธนาคารดังกล่าวที่กล่าวมาข้างต้นจะช่วยเหลือโดยการเน้นที่ตัวบุคคลเมื่อเกิดปัญหาทางการเงินสำหรับคนที่ขาดแคลนขึ้น ผู้ประกอบธุรกิจจึงมีความต้องการให้รัฐบาลได้มีส่วน

ช่วยเหลือ ในด้านการค้าระหว่างประเทศให้มากขึ้น เพื่อให้การสนับสนุน ส่งเสริม การนำเข้า การส่งออก การลงทุนโดยดำเนินการต่าง ๆ

ที่ไม่เป็นการแข่งขันกับธนาคารพาณิชย์ให้จัดตั้งธนาคารอาคารสงเคราะห์เพื่อจะได้ช่วยให้บริการทางการเงินด้านที่อยู่อาศัยอย่างครบวงจร เพื่อให้ประชาชนได้มีที่อยู่อาศัย ตามสมควรแก่อัตภาพ และสามารถตอบสนองความคาดหวังของลูกค้า รัฐบาล และสังคม ภายใต้แนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ก้อจะมีบริการเงินฝาก เงินกู้ สินเชื่อ ผ่อนผันประนอมหนี้ และรับชำระค่าสาธารณูปโภคต่างๆแต่หลักๆเกี่ยวกับเงินกู้ ก้อจะเป็นกู้ซื้อบ้าน กู้เพื่อผู้ประกอบการ

4 ท่านคิดว่าเมื่อจบการศึกษาแล้วท่านจะต้องการเข้าสู่ตลาดตลาดแรงงานใดในทางการ การเงินและการธนาคารให้เหตุผลประกอบด้วยว่าเป็นเพราะที่มีความรู้อย่างดีในเนื้อหาใดบ้าง

ตอบ เจ้าหน้าที่ฝ่ายสินเชื่อ

1. พื้นความรู้ เจ้าหน้าที่สินเชื่อที่ดี ควรจะมีความรู้ในด้านต่างๆ เช่น บัญชี การเงิน เศรษฐศาสตร์ การจัดการและการบริหาร การตลาด กฎหมายเชิงพาณิชย์ ซึ่งอาจจะเรียนรู้เพิ่มเติมได้โดยการฝึกอบรมทั้งภายในและภายนอกหรือจากประสบการณ์ (On the Job Training) ก็ได้ โดยใช้ความรู้ด้านต่างๆ ในการวิเคราะห์สินเชื่อ และจัดทำงบการเงินจำลอง เพื่อศึกษาและประเมินฐานะทางการเงินตลอดจนผลการดำเนินงานของผู้ขอสินเชื่อ โดยอาศัยข้อมูลในอดีตที่ผ่านมาเป็นสมมติฐานในการจัดทำ

2. การวางแผน เจ้าหน้าที่สินเชื่อต้องศึกษาข้อมูลและวางแผนรายละเอียดของข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับผู้ขอสินเชื่อ เพื่อให้ประหยัดเวลาในการเจรจาสินเชื่อและทำให้การตกลงสินเชื่อเป็นไปได้อย่างราบรื่น รวมทั้งต้องมีการติดตามงานสินเชื่อที่ดีอีกด้วย

3. ความรู้ทางด้านภาษาต่างประเทศ ในปัจจุบันจะเห็นว่า ทั่วโลกมีการติดต่อการค้าระหว่างกัน ทำให้เกิดการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ จึงมีความจำเป็นที่เจ้าหน้าที่สินเชื่อควรจะมีความรู้ทางภาษาต่างประเทศ เพื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องในกรณีที่ลูกค้าผู้ขอสินเชื่อเป็นชาวต่างประเทศ หรือกรณีที่ธุรกรรมของลูกค้าจำเป็นต้องอาศัยสินเชื่อต่างประเทศ

4. การมีหัวการค้า เนื่องจากรายได้หลักที่จะได้รับการให้สินเชื่อ คือ อัตราดอกเบี้ยที่ตกลงกันระหว่างผู้ให้สินเชื่อและผู้ขอสินเชื่อ ดังนั้น เจ้าหน้าที่สินเชื่อจะต้องทราบต้นทุนของเงินกู้ที่จะปล่อยสินเชื่อว่าอยู่ในระดับใด เพื่อที่จะได้สามารถต่อรองกับผู้ขอสินเชื่อได้ อันนำซึ่งประโยชน์สูงสุดแก่หน่วยงานของตน

5. มีบุคลิกภาพและความสามารถในการแก้ปัญหา ควรเป็นบุคคลที่มีอารมณ์มั่นคง มีความเป็นกันเอง เป็นผู้นำ ตัดสินใจได้ดี มีวิจารณญาณในการพิจารณาและสามารถแก้ปัญหาต่างๆ ได้ สามารถสร้างความน่าเชื่อถือให้กับลูกค้าได้ และสามารถอธิบายให้ลูกค้าเข้าใจและพอใจได้ รวมถึงต้องมีความสามารถในการปรับตัว มีความสนใจศึกษาและติดตามภาวะเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ที่จะมีส่วนช่วยให้การปฏิบัติงานด้านสินเชื่อมีประสิทธิภาพ

6. หาข้อมูลและวิเคราะห์ เจ้าหน้าที่สินเชื่อต้องรู้จักแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ และสามารถบอกแหล่งของข้อมูลนั้นๆ ได้ รวมทั้งสามารถวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ที่ได้รับมา

7. การนำเสนอ สามารถนำเอาข้อมูลที่รวบรวมมาได้และเกี่ยวข้องกับงานสินเชื่อมา จัดทำรายงานเพื่อนำเสนอ รวมทั้งรายงานผลการวิเคราะห์สินเชื่อต่อผู้บริหารองค์กรให้เข้าใจได้

8. ชอบงานและซื่อสัตย์ เจ้าหน้าที่สินเชื่อควรจะเป็นบุคคลที่มีไหวพริบดี ฉลาดทันคน และที่สำคัญต้องมีความซื่อสัตย์ต่องานของตนเอง เพื่อให้การปฏิบัติงานด้านสินเชื่อเป็นไปอย่างถูกต้อง

5 ท่านเคยใช้บริการโรงรับจำนำบ้างหรือไม่และให้แสดงความคิดเห็นว่าควรมีอะไรปรับปรุงแก้ไขขึ้นบ้าง

. ตอบ โรงรับจำนำ เป็นธุรกิจขนาดเล็กที่ปล่อยเงินกู้ในวงเงินที่ต่ำมาก ลูกค้าที่มาใช้บริการส่วนใหญ่จะเป็นคนที่มีฐานะยากจนในปัจจุบันโรงรับจำนำ มี 3 ประเภท ได้แก่

7.1 โรงรับจำนำที่ดำเนินการโดยเอกชน เช่น อยู่ในรูปของห้างหุ้นส่วนจำกัด

7.2 โรงรับจำนำที่ดำเนินการโดยกรมประชาสงเคราะห์

7.3 โรงรับจำนำที่ดำเนินการโดยเทศบาลที่เรียกว่า สถานธนานุบาล

-ไม่เคยใช้บริการโรงรับจำนำ ควรมีการปรับปรุงในเรื่องดอกเบี้ยโรงรับจำนำบางแห่งซึ่งเป็นของเอกชนจะคิดดอกแพงเป็นอย่างมากซึ่งแตกต่างจากสถานธนานุบาลที่คิดดอกน้อยสำหรับคนยากจนแต่ส่วนมากซึ่งยอมรับว่าคนส่วนใหญ่เลือกบริการแบบของเอกชนเพราะมีเยอะเดินทางสะดวกและมีความจำเป็นอย่างมากก็ต้องจำใจเข้าใช้บริการอยากให้ลดดอกเบี้ยในการรับฝากลงพอๆกันกับของรัฐเพราะยังไงคนก็ต้องใช้บริการโรงรับจำจำอยู่เรื่อยๆ

สถานธนานุบาลกรุงเทพมหานคร โดยมติคณะรัฐมนตรี ในคราวประชุมปรึกษาเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2503 มอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยรับนโยบายไปจัดตั้งสถานธนานุบาล (โรงรับจำนำ) เพื่อเป็นการช่วยเหลือ ประชาชนผู้เดือดร้อนและยากจน จะได้ไม่ต้องไปกู้ยืมเงิน จากเอกชนโดยเสียดอกเบี้ยในอัตราสูง และแม้จะมีทรัพย์ไปจำนำ เพื่อเอาเงินมาใช้จ่าย ยามจำเป็น ก็ถูกโรงรับจำนำเอกชน เอารัดเอาเปรียบเกินควรได้ ดังนั้น กระทรวงมหาดไทย จึงได้จัดตั้งสถานธนานุบาลขึ้นเองส่วนสถานธนานุบาลกรุงเทพมหานคร ไม่ต้องปรับปรุงแล้วเพราะมีการวางแผนจัดการในการช่วยเหลือประชาชนดีแล้ว

6.บริษัท เอไอเอ จำกัดและบริษัทสินมั่นคงประกันภัย จำกัดมีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไรสำหรับผู้ต้องการความคุ้มครอง

• มีการให้ความคุ้มครองบริษัทประกันภัยและบริษัทประกันชีวิต เป็นสถาบันทางการเงินที่ช่วยเหลือผู้ประสบภัยให้ผ่อนหนักเป็นเบาได้ สถาบันนี้ไม่ค่อยประสบผลสำเร็จเพราะขาดการประชาสัมพันธ์ และประชาชนไม่เห็นผลประโยชน์ที่พึงได้รับจากการนำเงินไปลงทุน ทำให้หลายบริษัทล้มเหลวและในที่สุดขาดความมั่นคงให้กับผู้ประกันภัย

เปิดแบบประกันชีวิตใหม่ AIA Sure Saving 350 (Par) เงินคืน ตลอดสัญญารวมทั้งสิ้น 350% + เงินปันผล

บริษัท เอไอเอ จำกัด

เอไอเอปลื้มผลตอบรับกรมธรรม์ยูนิเวอร์แซลไลฟ์ ซื้อภายในสิ้นปีนี้ รับผลตอบแทนปีแรกรวม 7%

1 บทบาทและหน้าที่ของผู้บริหารทางการเงินในองค์กรธุรกิจ

ปัจจุบันภาวะเศรษฐกิจและการเงินมีความผันผวนอย่างมาก อัตราดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยนของเงินสกุลต่าง ๆ การขึ้นลงประจำวันของราคาน้ำมัน การขึ้นลงของอัตราเงินเฟ้อ การปฏิรูปทางกการเงินและการเกิดนวัตกรรมทางการเงิน ทำให้ผู้บริหารการเงินต้องเรียนรู้ และปรับตัวให้ทันกับสถานการณ์ ต่าง ๆ ตลอดจนการนำเทคโนโลยีและวิทยาการทางการเงินสมันใหม่เข้ามาใช้ บทบาทและหน้าที่ของผู้บริหารการเงินจึงต้องมีขอบข่ายงานกว้างขวางจากเดิม เพื่อให้ครอบคลุมถึงหน้าที่และความรับผิดชอบต่อบุคคลหลายฝ่ายที่เข้ามาเกี่ยวข้องรวมทั้งรัฐบาลได้เพิ่มบทบาทเข้ามาควบคุมการดำเนินงานของธุรกิจ เพื่อเป้าหมายของการพัฒนาเศรษฐกิจและสวัสดิการแก่สังคมมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ธุรกิจจำเป็นต้องดำเนินงานและประสานงานกับหลาย ๆ ฝ่าย ทำให้การบริหารงานของผู้บริหารการเงินต้องคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อผู้ที่เกี่ยวข้องด้านต่าง ๆ ดังนี้

1. ความรับผิดชอบต่อเจ้าของหรือผู้ถือหุ้น คือ ต้องการให้ผู้ถือหุ้นได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนในอัตราสูงสุด2. ความรับผิดชอบต่อลูกจ้าง (พนักงาน) คือ ต้องส่งเสริมให้ลูกจ้างมีความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่ และความมั่นคงในการทำงาน ตลอดจนจัดให้มีสวัสดิการแก่ลูกจ้างด้วย

3. ความรับผิดชอบต่อเจ้าหนี้ คือ การบริหารงานให้มีความมั่นคงทางการเงิน เพื่อเจ้าหนี้จะได้มีความมั่นใจว่าธุรกิจสามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนดเวลา

4. ความรับผิดชอบต่อรัฐบาล คือ ธุรกิจต้องดำเนินงานโดยไม่ขัดต่อรัฐบาล และกฎหมายของประเทศที่ตนดำเนินงานอยู่

5. ความรับผิดชอบต่อชุมชนในสังคม คือ ธุรกิจต้องดำเนินงานโดยไม่เป็นภัยต่อสุขภาพ หรือศีลธรรมอันดีต่อประชาชน

ความหมายของเงิน

เงิน คือสิ่งที่คนในสังคมได้สมมติขึ้น เพื่อใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความสำคัญของเงินไม่ว่ามนุษย์จะอยู่ในระบบเศรษฐกิจแบบใด ย่อมต้องอาศัยเงินเป็นประการสำคัญ เพราะเงินช่วยอำนวยความสะดวกในการแลกเปลี่ยน การผลิต และการจัดสรรทรัพยากรได้อย่างเหมาะสม

คุณสมบัติของเงินที่ดี

เนื่องจากเงินเป็นสิ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้น ดังนั้น วัสดุที่เหมาะสมที่จะนำมาใช้ผลิตเงินควรจะมีคุณสมบัติดังนี้

1. เป็นที่ยอมรับกันทั่วไป เงินมีอยู่หลายชนิด มีความแตกต่างกันไปในแต่ละสังคมประเทศ เช่น บางประเทศนิยมใช้ใบชา ยาสูบ ลูกปัด หอยมุก หนังสัตว์ ก็นำสิ่งของที่กล่าวมาเหล่านี้มาใช้เป็นเงิน เพื่อแลกซื้อสินค้าและบริการ เนื่องจากเป็นที่ยอมรับของทุกคนในสังคม

2. มีมูลค่าคงตัว วัสดุที่นำมาใช้ทำเงิน เช่น โลหะ หรือกระดาษจะต้องมีความทนทานโดยมีมูลค่าคงตัวไม่เปลี่ยนแปลง เช่น เหรียญเงิน 1 บาท ณ ปัจจุบันก็จะมีมูลค่าคงตัวหรือเท่าเดิมเป็นเหรียญเงิน 1 บาท

3. มีความคงทนถาวร วัสดุที่นำมาใช้ทำเงินจะต้องมีความคงทนถาวร ไม่เน่าเปื่อยสึกหรอหรือขาดง่าย และเพื่อความสะดวกสบายในการใช้เงิน จึงนิยมนำโลหะเงิน โลหะทองคำ และกระดาษที่มีความทนทานมาผลิตเงินเพื่อใช้เป็นสื่อในการแลกเปลี่ยน

4. สามารถดูออกง่าย และแบ่งเป็นหน่วยย่อยๆ ได้ง่าย เงินที่ผลิตขึ้นมาใช้ควรจะมีลักษณะเด่นที่จดจำได้ง่ายและแยกออกได้ว่าเป็นเงินจริงหรือเงินปลอม นอกจากนี้ เงินควรจะแบ่งเป็นหน่วยย่อยๆ ได้ เพื่อความสะดวกในการกำหนดราคาสินค้าและบริการ เมื่อเทียบกับหน่วยเงินตราของแต่ละประเทศ เช่น ประเทศไทยใช้เงินเหรียญ

เทียบกับหน่วยเงินตราของแต่ละประเทศ เช่น ประเทศไทยใช้เงินเหรียญ

3

• หลัก 5’C ในการวิเคราะห์สินเชื่อ

ปัจจุบันมีผู้สอบถามมาทางโพสต์ทูเดย์จำนวนมาก เกี่ยวกับเกณฑ์ของธนาคารในการปล่อยสินเชื่อให้กับประชาชนว่า ธนาคารหรือสถาบันการเงินมีเกณฑ์ในการวิเคราะห์สินเชื่ออย่างไร คำนึงถึงปัจจัยอะไรบ้าง ในการอนุมัติสินเชื่อ เพราะมีปัญหาในการขอสินเชื่อบ่อยครั้ง ธนาคารเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ เนื่องจากปริมาณหนี้เสียมีเพิ่มขึ้นทุกวัน จึงขอให้ทนายคลายทุกข์นำหลักเกณฑ์ในการวิเคราะห์สินเชื่อมานำเสนอในโพสต์ทูเดย์ ด้วยความยินดีทนายคลายทุกข์จึงขอจัดเต็มเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ที่ธนาคารจะให้ความสำคัญ และพิจารณาว่าจะปล่อยสินเชื่อให้กับท่านหรือไม่ หรือจะปล่อยมากหรือน้อย หรือปล่อยแบบมีเงื่อนไขหรือไม่ เป็นข้อ ๆ ดังนี้ ซึ่งเรียกกันว่า หลัก 5’C ได้แก่

1. อุปนิสัยของลูกค้า (CHARACTER)

2. ความสามารถในการชำระหนี้ (CAPACITY)

3. เงินทุน (CAPITAL)

4. หลักประกัน (COLLATERALS)

5. สถานการณ์ (CONDITION)

1. อุปนิสัยของลูกค้า (CHARACTER)

อุปนิสัยของลูกค้า เป็นปัจจัยสำคัญข้อแรกของการพิจารณาตัวผู้กู้ว่าเป็นคนอย่างไร มีความซื่อสัตย์สุจริตเพียงใด มีความรู้และประสบการณ์ทางธุรกิจที่ประกอบการขนาดไหน มีประวัติที่ไม่ดีทางด้านการเงินหรือไม่ หากเป็นลูกค้าเก่าของธนาคารก็จะดูได้จาก ผลการติดต่อกับทางธนาคารที่ผ่านมาว่า ปฏิบัติตามเงื่อนไขหรือข้อตกลงที่มีไว้กับธนาคารดีหรือไม่ หรืออาจสืบจากวงการธุรกิจไม่ว่าจะเป็น SUPPLIERS หรือ CUSTOMER ของลูกค้าในตลาดว่าเป็นอย่างไร พึงระลึกว่าถ้าคนไม่ดีแล้ว ให้โครงการดีแค่ไหนก็จะมีปัญหาเกิดขึ้นได้

2. ความสามารถในการชำระหนี้ (CAPACITY)

เป็นหัวใจสำคัญในการพิจารณาสินเชื่อ เจ้าหน้าที่สินเชื่อต้องศึกษาถึงธุรกิจของลูกค้าว่ามีความสามารถในการชำระหนี้คืนให้กับธนาคารเพียงใด โดยส่วนใหญ่แล้วควรเป็นรายได้ที่ธุรกิจนั้นสามารถจะทำกำไรเพื่อนำมาชำระหนี้คืนได้ หากวิเคราะห์แล้วพบว่า โครงการนั้น ๆ ไม่สามารถทำกำไรได้เพียงพอกับการชำระหนี้ ก็ไม่ควรพิจารณาให้สินเชื่อไป รายได้ที่จะนำมาชำระหนี้ควรเป็นรายได้สุทธิ จากการดำเนินธุรกิจหลังจากค่าใช้จ่ายต่าง ๆ แล้ว และควรเป็นรายได้ประที่แน่นอนมากกว่าเป็นรายได้ชั่วครั้งชั่วคราว เช่น รายได้จากค่านายหน้าเกี่ยวกับเรื่องนี้ เจ้าหน้าที่สินเชื่อควรจะต้องติดตามผลด้วยว่ามีการชำระหนี้คืนตามกำหนดหรือไม่ เพราะมักจะเกิดเหตุการณ์ดังนี้ขึ้นเสมอ ๆ คือเมื่อลูกค้ามีรายได้แล้วแทนที่จะนำมาชำระหนี้ กลับนำไปใช้ในทางอื่น เช่น นำไปใช้ในการขยายกิจการโดยนำเงินทุนหมุนเวียนไปใช้ดำเนินการ ฉะนั้น การกำหนดระยะเวลาชำระหนี้คืน จึงเป็นส่วนสำคัญในการปล่อยสินเชื่อด้วย

3. เงินทุน(CAPITAL)

โดยทั่วไปแล้วสถาบันการเงินจะให้สินเชื่อแก่ธุรกิจใดก็ตามต้องพิจารณาด้วยว่า ผู้กู้ได้นำเงินทุนส่วนตัวมาลงทุนด้วยเท่าไร เพราะยิ่งผู้กู้นำเงินทุนส่วนตัวมาลงมากเท่าใด ความเสี่ยงของธนาคารก็น้อยลงเท่านั้น เพราะการที่ผู้กู้นำเงินทุนส่วนตัวมาลงมากก็จำเป็นอยู่เอง ที่จะต้องทุ่มเทแรงกายแรงใจให้กับธุรกิจจนสุดความสามารถ ฉะนั้น สัดส่วนระหว่างเงินทันกับหนี้ (D/E RATIO) จะต้องมาพิจารณาด้วย ทั้งนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับธุรกิจแต่ละประเภทว่าควรจะมี D/E RATIO เท่าไร เช่น ธุรกิจที่มีผลกำไรต่ำ ก็ควรต้องมีเงินลงทุนสูง เช่น ธุรกิจ APARTNENT ให้เช่า ซึ่งมีรายรับไม่มากนักเมื่อเทียบกับเงินลงทุน ผู้กู้คงต้องใช้เงินลงทุนของตนเองเป็นส่วนใหญ่ มองอีกด้านหนึ่ง ก็คือรายได้ของธุรกิจที่เป็นข้อกำหนดความสามารถในการขอสินเชื่อได้เป็นจำนวนเท่าไร แต่ในทางธุรกิจแล้วการที่ธุรกิจประสบผลสำเร็จได้นั้น จะต้องมีเงินทุนเพียงพอในการดำเนินงาน ดังนั้น เมื่อไม่สามารถขอสินเชื่อได้ตามที่กำหนด ผู้กู้ควรเพิ่มทุนเพียงพอ และธนาคารก็ไม่ควรที่จะให้กู้ ทั้ง ๆ ที่รู้ว่าไม่เพียงพอกับการประกอบธุรกิจ มิฉะนั้น จะเป็นผลเสียแก่ทั้งสองฝ่าย

4. หลักประกัน (COLLATERALS)

ในการวิเคราะห์สินเชื่อ ถึงแม้ว่าจำเป็นต้องวิเคราะห์ข้อมูลดังกล่าวข้างต้น จะเป็นหัวใจสำคัญแล้ว สิ่งที่ต้องคำนึงถึงก็คือ หลักประกัน เพราะธุรกิจจะดีเพียงใดก็ตามอาจถูกสภาวะแวดล้อมหรือเหตุอันไม่คาดหมาย ทำให้ธุรกิจเกิดปัญหาได้ เพื่อเป็นการป้องกันความเสี่ยงที่ธนาคารอาจได้รับก็คือหลักประกัน ซึ่งแล้วแต่การพิจารณาว่าควรมีหลักประกันมากน้อยเพียงไร โดยพิจารณาจากความเสี่ยง ถ้ามีความเสี่ยงน้อยหลักประกันก็น้อย ถ้ามีความเสี่ยงมากหลักประกันก็ควรมากเช่นกัน

แม้ว่าหลักประกันจะสำคัญมีอยู่บ่อยครั้งที่ธนาคารจะให้สินเชื่อชนิดที่ไม่มีหลักประกัน (CLEAN BASIS) เนื่องจากเห็นว่า ลูกค้ามีฐานะทางการเงินดี มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับของสังคม ติดต่อกับธนาคารมาเป็นเวลานาน และบางครั้งก็ขึ้นอยู่กับประเภทของสินเชื่อที่ขอด้วยว่ามีความเสี่ยงเพียงใด อาจจะเสี่ยงน้อย เข่น การขอออก L/G (ยื่นซอง) โดยไม่เอางาน การขายลดงวดงาน ซึ่งผู้กู้ได้ส่งมอบงานแล้ว ขอรับเงินเท่านั้น หรือการเปิด L/C สั่งซื้อเครื่องจักร ธนาคารอาจเรียกหลักประกันแค่บางส่วน เพราะจะได้เครื่องจักรมาเป็นหลักประกันอีกส่วนหนึ่ง

5. สถานการณ์ (CONDITION)

เป็นสิ่งที่อยู่นอกเหนือการควบคุมอันมีปัจจัยหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นปัญหาที่เกิดจากภาวะเศรษฐกิจทั้งในและนอกประเทศ ปัญหาทางด้านนโยบายของรัฐบาล การเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา ปัญหาสิ่งแวดล้อม ความผันผวนของตลาด การขึ้นลงของราคาวัตถุดิบ เจ้าหน้าที่สินเชื่อควรวิเคราะห์ถึงสถานการณ์ต่างๆ เหล่านี้ และคาดหมายสถานการณ์ล่วงหน้าที่เกิดขึ้นกับธุรกิจอยู่เสมอ หมั่นศึกษาและติดตามข้อมูลข่าวสารอย่างใกล้ชิด ก็จะสามารถปล่อยสินเชื่อได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือแก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงที วิธีลดความเสี่ยงอีกประการหนึ่งคือ ไม่ควรปล่อยสินเชื่อให้แก่ธุรกิจใดธุรกิจหนึ่งมากจนเกินไป ควรกระจายไปในธุรกิจหลาย ๆ ประเภท

สินเชื่อธุรกิจ TMB SME - ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน)

สินเชื่อเงินด่วน บัตรเครดิต ktc

สินเชื่อเพื่อการศึกษาในประเทศ - บมจ.ธนาคารกรุงไทย

6 . ดัชนีราคาผู้บริโภคกำเนิดขึ้นจากความต้องการศึกษาชีวิตความเป็นอยู่ของครอบครัว และการวัดระดับการครองชีพของประชากร เพื่อยกระดับมาตรฐานการครองชีพของประชาชนให้ดียิ่งขึ้น

แนวความคิดพื้นฐานของดัชนีราคาผู้บริโภค พัฒนามาจากแนวความคิดของดัชนี ค่าครองชีพ (COST OF LIVING INDEX) ซึ่งต้องการวัดค่าใช้จ่ายในการบริโภคของผู้บริโภคในเดือนหนึ่ง ๆ โดยยังคงรักษามาตรฐานการครองชีพตามระดับที่กำหนดไว้ได้ ซึ่งเป็นไปได้ยาก

ในทางปฏิบัติ เนื่องจากมาตรฐานการครองชีพยังขึ้นกับปัจจัยอื่น ๆ ได้แก่ รายได้ จำนวนสมาชิกในครอบครัว ภาษี คุณภาพสินค้า เทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปและราคาสินค้าที่เปลี่ยนแปลง

ดังนั้น ได้มีการนำดัชนีราคาผู้บริโภคให้มีปริมาณและลักษณะของสินค้าคงที่ แต่เปลี่ยนแปลงเฉพาะราคาสินค้าเท่านั้น แก้ปัญหานี้โดยการกำหนดให้กลุ่มสินค้าอุปโภคและบริโภคที่ประชาชนใช้บริโภคคงที่ แทนการกำหนดให้มาตรฐานการครองชีพคงที่และวัดค่าใช้จ่ายในการบริโภคของเดือนหนึ่ง ๆ เพื่อผู้บริโภคยังคงบริโภคสินค้าและบริการอย่างเดิม ถึงแม้ดัชนีราคาผู้บริโภคจะไม่สามารถแทนดัชนีค่าครองชีพได้อย่างสมบูรณ์ แต่อาจกล่าวได้ว่าดัชนีราคาผู้บริโภคเป็นตัวประมาณค่าดัชนีค่าครองชีพได้ดีในเรื่องของค่าใช้จ่ายในการบริโภค

9 ภาวะเงินเฟ้อ (อังกฤษ: inflation) หมายถึง การที่ระดับราคาราคาของสินค้าหรือการบริการในช่วงระยะเวลาหนึ่งราคาสูงขึ้นเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นหน่วยวัดในรูปแบบของอัตราร้อยละจากดรรชนีราคา เงินเฟ้อ เป็นภาวะตรงข้ามกับ ภาวะเงินฝืด อัตราเงินเฟ้ออาจมีได้หลายอัตรา เนื่องจากเราสามารถคำนวณหาอัตราเงินเฟ้อได้จากสินค้าแต่ล่ะชนิด หรือ อัตราเงินเฟ้อที่มีอิทธิพลและผลกระทบเฉพาะกลุ่ม เป็นต้น ดัชนีเงินเฟ้อที่สำคัญมี 2 ดัชนี ได้แก่ ดรรชนีราคาผู้บริโภค (CPI) , เกิดจากการสุ่มสินค้าบางตัวมาคำนวณ, ตัวหักลด GDP (GDP deflator) , ค่าที่แสดงระดับราคาของ GDP ในช่วงระยะเวลานั้นเปรียบเทียบกับระดับราคาของผลิตภัณฑ์ในปีฐาน

โดยสรุปคือ ภาวะเงินเฟ้อใช้เพื่อวัดค่าครองชีพของประชาชน ภาวะเงินเฟ้อจะเกิดขึ้นต่อเมื่อราคาสินค้าและบริการโดยทั่วไปสูงขึ้นต่อเนื่อง หากสูงขึ้นแล้วปรับลดลง จะไม่นับว่าเกิดภาวะเงินเฟ้อ ซึ่งเงินเฟ้อในระดับอ่อนๆ จะไม่สร้างความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจ แต่หากเกิดภาวะเงินเฟ้อสูงๆ จะทำให้ค่าของเงินที่เรามีอยู่ด้อยค่าลงไป ทำให้ซื้อของได้น้อยลง ธุรกิจไม่สามารถผลิตหรือลงทุนได้เพราะมีความไม่แน่นอนเรื่องราคาอยู่สูง ซึ่งจะมีผลกระทบทางลบต่อระบบเศรษฐกิจในที่สุด

กลุ่มบุคคลที่ได้เปรียบจากภาวะเงินเฟ้อ

1) เจ้าของกิจการ ผู้ผลิตสินค้า นักอุตสาหกรรม เมื่อบุคคลเหล่านี้ผลิตสินค้าออกมา สินค้าขึ้นราคาก็ต้องขายตามราคาสินค้าที่สูงขึ้น ถ้ามีสินค้าอยู่ในคลังสินค้าผลิต หรือซื้อมาในราคาต่ำ จะทำให้ได้ผลกำไรมากขึ้น สำหรับเกษตรกร สามารถขายผลผลิตได้กำไรราคาสูงขึ้น แต่ได้เท่าเดิม ต้องซื้อสินค้าอื่น ๆ ที่จำเป็นในราคาแพง และฐานะของเกษตรกรยังยากจนอยู่แล้ว ทำให้การผลิตในเนื้อที่จำกัดและขนาดเล็ก เมื่อเกิดภาวะเงินเฟ้อ เกษตรกรก็ได้รับความเดือดร้อนมากกว่าผู้ใด ทั้ง ๆ ที่ผลิตอาหารได้เอง

2) พ่อค้าและนักธุรกิจ จะได้ประโยชน์จากสินค้าและบริการที่มีราคาสูง เพราะสินค้าค้างสต็อค การกักตุนสินค้าซื้อถูกขายแพง แต่เมื่อเกิดภาวะเงินเฟ้ออย่างรุนแรง ค่าของเงินต่ำลงจนไม่มีค่า สินค้าขายไม่ออก พ้อค้า นักธุรกิจก็ไม่ได้รับประโยชน์เช่นกัน

3) ลูกหนี้ เมื่อค่าของเงินลดลง เงินหาง่ายขึ้น แต่ลูกหนนี้ยังคงชำระหนี้เช่นเดิม

4) ผู้ถือหุ้น สินค้าราคาทำให้ยอดขายสูงขึ้น กำไรเพิ่มขึ้น ผู้ถือหุ้นจึงเป็นฝ่ายได้เปรียบจากภาวะเงินเฟ้ออย่างปานกลาง

กลุ่มบุคคลที่เสียเปรียบจากภาวะเงินเฟ้อ

1) ผู้ที่ได้รับเงินเดือน ค่าจ้าง และบำนาญ เป็นรายได้ประจำเพราะได้น้อย ค่าของเงินลดลง ราคาสินค้าสูงขึ้น ถึงแม้จะมีการปรับเงินเดือน ค่าจ้างตามดัชนีราคาสินค้าอุปโภคบริโภค แต่ราคาสินค้าได้ขึ้นราคาไปรอล่วงหน้าก่อนแล้ว ฉะนั้นการปรับเงินเดือน ค่าจ้าง จึงเดินสวนทางกับราคาสินค้า

2) เจ้าหนี้ ค่าของเงินลดลงแต่การชำระหนี้เงินกู้ยังคงได้รับดอกเบี้ยเท่าเดิม เป็นไปตามสัญญาที่ทำไว้ก่อนที่จะเกิดภาวะเงินเฟ้อ

3) ผู้ที่มีรายได้จากค่าเช่า ค่าเช่าจะขึ้นเหมือนดัชนีราคาสินค้าอุปโภคบริโภคไม่ได้ แต่จะเป็นการขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไป

4) ผู้มีรายได้ไม่แน่นอน จะเป็นผู้ที่เสียเปรียบมากที่สุด เพราะรายได้น้อยมาก และไม่แน่นอน แต่ราคาสินค้า เปลี่ยนแปลงสูงขึ้น

5) ผู้ที่มีเงินออม ค่าของเงินลดลงแต่ดอกเบี้ยยังไม่เพิ่มให้สูงขึ้น ตามดัชนีราคาสินค้าซึ่งโดยทั่วไปมีราคาสูงขึ้น

ผลกระทบเงินฝืด

เงินฝืดมักจะเป็นผลพวงมาจากภาวะฟองสบู่แตกทำให้เกิดปัญหาเกิดหนี้เสียและความเชื่อมั่นต่อการลงทุนลดน้อยลง ทำให้ภาคการเงินระมัดระวังในการปล่อยสินค้าเชื่อมั่นมากขึ้นเมื่อสถาบันการเงินไม่ยอมปล่อยสินเชื่อทำให้ภาคธุรกิจภาคการเงินไม่สามารถที่จะหาเงินมาหมุนเวียนจนทำให้กิจการบางแห่งต้องปิดตัวลง ยังทำให้ต้องเลิกจ้างพนักงานเป็นจำนวนมาก เมื่อพนักงานส่วนหนึ่งกลายเป็นคนตกงาน ทำให้ประชาชนไม่มีเงินจับจ่ายซื้อสินค้า ซึ่งจะส่งผลโดยตรงไปยังธุรกิจการค้า และมีผลต่อภาคการผลิตอื่น ๆ ทำให้เกิดปรากฏการณ์โดมิโนทางเศรษฐกิจทำให้เศรษฐกิจล้มระเนระนาดเฉกเช่นประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2539 เป็นต้นมา

กลุ่มผู้ได้เปรียบจากกภาวะเงินฝืด

1) ผู้ที่มีรายได้ที่ประจำแน่นนอน เช่น ผู้ที่รับรายได้เป็นเงินเดือน ค่าจ้างแรงงาน บำนาญ

2) ผู้ที่มีรายได้จากดอกเบี้ย หุ้นกู้ ผู้ถือหุ้น ซึ่งมีฐานะเป็นเจ้านี้

3) ผู้ที่เก็บเงินไว้กับตัวเอง

4) ผู้มีรายได้จากค่าเช่า ผู้เช่าก็ต้องจ่ายในราคาเท่าเดิม เพราะได้ทำสัญญาผูกมัดแล้ว

กลุ่มบุคคลที่เสียเปรียบจากภาวะเงินฝืด

1) ผู้ที่มีรายได้ไม่แน่นนอน ไม่สามารถกำหนดได้ว่าแต่ละวันจะมีรายได้เท่าไร บางวันมีรายได้น้อย บางวันมีรายได้มาก และบางวันไม่มีรายได้เลย เช่น ผู้ที่รับจ้างทั่ว ๆ ไปไม่มีหลักแหล่ง

2) เจ้าของกิจการ ผู้ผลิตสินค้า นักอุตสาหกรรม เมื่อระดับราคาสินค้าที่ผลิตออกมามีราคาลดตำลงเรื่อย ๆ แต่ต้นทุนวัตถุดิบ ตนทุนในการผลิตสูง ผู้ผลิตจะไม่ทำการผลิตอีกต่อไป หรืออาจจะลดการผลิตออกมาให้น้อยลง

3) พ่อค้านักธุรกิจ เมื่อการผลิตชะลอตัวลง และหยุดชะงักการผลิต พ่อค้า นักธุรกิจ ก็ต้องขาดรายได้ คือ กำไร ตามไปด้วย แถมยังตกงานอีก

4) ลูกหนี้ ขณะที่ทำสัญญาขอกู้ยืมเงินมูลค่าของ เงินคงที่ แต่เมื่อเกิดภาวะเงินฝืด มูลค่าของเงินมีค่ามากขึ้น และการทำมาหากินฝืดเคือง รายได้ไม่พอกับรายจ่าย เงินหายากขึ้น แต่ต้องชำระหนี้ในมูลค่าเท่าเดิม

5) ผู้เช่า การผลิตก็ชะลอตัวลง และลดตำลงเรื่อย ๆ ราคาสินค้าก็ลดลง ด้านทุนการผลิตสูงขึ้น รายได้ที่รับเข้ามาก็ไม่คุ้มกับค่าใช้จ่าย ผู้เช่าก็ต้องจ่ายเงินให้กับผู้ให้เช่าในราคาเท่าเดิม ไม่ได้ลดไปตามราคาสินค้า

4. ระบบเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันเกิดภาวะเงินเฟ้อหรือเงินฝืด ยกตัวอย่างประกอบคำอธิบาย

เงินเป็นน้ำมันหล่อลื่นให้เศรษฐกิจเคลื่อนไหวได้ คือ ทำให้เกิดการค้าขายสินค้าและบริการได้ ถ้าไม่มีเงินในสังคมของเรา เราผลิตสินค้าออกมาแล้วก็นั่งมองกัน ไม่มีการซื้อขาย จะเอาสินค้ามาแลกกันก็ไม่สะดวกเงินเป็นเครื่องมือหารายได้สำหรับผู้ที่ออกเงินกู้และเก็งกำไรสินค้า ในปัจจุบันที่ประเทศไทยธนาคารแห่งประเทศไทยเห็นว่าประชาชนกู้เงินกันมากไป ทำให้ฟุ่มเฟือย เป็นหนี้มากขึ้น และ เกิดเงินเฟ้อได้ จึงหาทางลดการใช้เงิน เช่น ให้ดอกเบี้ยสูงๆ ให้ลดบัตรเครดิต เป็นต้น

ภาวะเงินฝืด หรือเงินฝืด (Deflation) เป็นภาวะที่ระดับราคาสินค้าและบริการทั่วไปลดต่ำลงเรื่อยๆ อันเนื่องมาจากอุปสงค์รวมมีน้อยเกินไป ไม่เพียงพอที่จะซื้อสินค้าและบริการทำให้ผู้ผลิตต้องลดราคาสินค้าเพื่อที่จะทำให้ขายได้ และลดการผลิตลงเพราะว่าถ้าผลิตออกมาเท่าเดิมก็ขายได้น้อย ผลที่ตามมาจะก่อให้เกิดผลเลวร้ายต่อเศรษฐกิจเพราะการจ้างงานจะลดลงตามไปด้วย ส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ต่อมาตราฐานความเป็นอยู่ของประชาชน ดังนั้นเมื่อเกิดภาวะเงินฝืด อำนาจซื้อ

กลุ่มผู้ได้เปรียบจากกภาวะเงินฝืด

1) ผู้ที่มีรายได้ที่ประจำแน่นนอน เช่น ผู้ที่รับรายได้เป็นเงินเดือน ค่าจ้างแรงงาน บำนาญ

2) ผู้ที่มีรายได้จากดอกเบี้ย หุ้นกู้ ผู้ถือหุ้น ซึ่งมีฐานะเป็นเจ้านี้

3) ผู้ที่เก็บเงินไว้กับตัวเอง

4) ผู้มีรายได้จากค่าเช่า ผู้เช่าก็ต้องจ่ายในราคาเท่าเดิม เพราะได้ทำสัญญาผูกมัดแล้ว

กลุ่มบุคคลที่เสียเปรียบจากภาวะเงินฝืด

1) ผู้ที่มีรายได้ไม่แน่นนอน ไม่สามารถกำหนดได้ว่าแต่ละวันจะมีรายได้เท่าไร บางวันมีรายได้น้อย บางวันมีรายได้มาก และบางวันไม่มีรายได้เลย เช่น ผู้ที่รับจ้างทั่ว ๆ ไปไม่มีหลักแหล่ง

2) เจ้าของกิจการ ผู้ผลิตสินค้า นักอุตสาหกรรม เมื่อระดับราคาสินค้าที่ผลิตออกมามีราคาลดตำลงเรื่อย ๆ แต่ต้นทุนวัตถุดิบ ตนทุนในการผลิตสูง ผู้ผลิตจะไม่ทำการผลิตอีกต่อไป หรืออาจจะลดการผลิตออกมาให้น้อยลง

3) พ่อค้านักธุรกิจ เมื่อการผลิตชะลอตัวลง และหยุดชะงักการผลิต พ่อค้า นักธุรกิจ ก็ต้องขาดรายได้ คือ กำไร ตามไปด้วย แถมยังตกงานอีก

4) ลูกหนี้ ขณะที่ทำสัญญาขอกู้ยืมเงินมูลค่าของ เงินคงที่ แต่เมื่อเกิดภาวะเงินฝืด มูลค่าของเงินมีค่ามากขึ้น และการทำมาหากินฝืดเคือง รายได้ไม่พอกับรายจ่าย เงินหายากขึ้น แต่ต้องชำระหนี้ในมูลค่าเท่าเดิม

5) ผู้เช่า การผลิตก็ชะลอตัวลง และลดตำลงเรื่อย ๆ ราคาสินค้าก็ลดลง ด้านทุนการผลิตสูงขึ้น รายได้ที่รับเข้ามาก็ไม่คุ้มกับค่าใช้จ่าย ผู้เช่าก็ต้องจ่ายเงินให้กับผู้ให้เช่าในราคาเท่าเดิม ไม่ได้ลดไปตามราคาสินค้า

10 ตั๋วสัญญาใช้เงิน (Promissory Note) เป็นเงินฝาก รูปแบบใหม่ที่ธนาคารอาคารสงเคราะห์ได้เปิดให้บริการ แก่ลูกค้าในลักษณะเป็นตราสารที่แสดงการกู้ยืมเงินที่ ธนาคารฯออกให้แก่ลูกค้าโดยมีสัญญาว่าจะจ่ายเงิน คืนพร้อมดอกเบี้ย ในอัตราที่กำหนด และ วัน เดือน ปี ที่กำหนดบนหน้าตั๋วสัญญาใช้เงินหรือเมื่อทวงถาม อย่างไรก็ตามผู้ฝากสามารถถอนเงิน ก่อนครบ กำหนดได้และได้รับดอกเบี้ยตามกฎเกณฑ์ที่ธนาคารฯ กำหนดไว้

• ประเภทของตั๋วสัญญาใช้เงิน

• เงื่อนไขในการให้บริการ

• สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

ประเภทของตั๋วสัญญาใช้เงิน

• ประเภทเมื่อทวงถาม (Call Deposit) หรือเผื่อเรียก

• ประเภทรายวัน (Day Deposit) มี 2 ชนิดคือ 7 วัน และ 14 วัน

• ประเภทกำหนดระยะเวลาครบกำหนด (Term Deposit ) หรือ ตั๋วสัญญาใช้เงินประเภท 1-2-3-6-12 เดือน และ 1-2-3-5 ปี

ตั๋วสัญญาแลกเงิน ( Promissory Notes )

มีลักษณะเป็นสัญญาจ่ายเงิน เพราะลูกหนี้เป็นผู้ออกตราสารสัญญาว่าจะชำระหนี้แก่เจ้าหนี้หรือบุคคลที่สามตามคำสั่งของเจ้าหนี้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้นิยามตั๋วสัญญาใช้เงินไว้ดังนี้ “ ตั่วสัญญาใช้เงิน คือ หนังสือหรือตราสารซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่าผู้ออกตั๋วให้คำมั่นสัญญาว่าจะใช้เงินจำนวนหนึ่งที่ให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง หรือใช้ให้ตามคำสั่งของบุคคลอีกคนหนึ่งเรียกผู้รับเงิน” เนื่องจากตั๋วสัญญาใช้เงินเป็นเอกสารทางกฎหมาย ดังนั้น จึงจำเป็นต้องระบุข้อความให้ครบถ้วนตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ข้อความอื่นใดที่เพิ่มเติมขึ้นเองจะไม่มีผลบังคับใช้ตามกฎหมาย ตั๋วสัญญาใช้เงินที่มีข้อความไม่ครบตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ ถือว่า เป็นตั๋วเงินที่ไม่สมบูรณ์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท