ไม้ยมก กำลังถูกทำลาย


ในฐานะครูสอนภาษาไทยยอมไม่ได้ครับที่จะปล่อยให้มีการจงใจทำลาย อักษรไทย ไม่เช่นนั้นต่อไปอักษรไทย คงเพี้ยนเปลี่ยนไปเร็วกว่านี้

 

 

 

 

ไม้ยมก  กำลังถูกทำลาย

เขียนอย่างไร?  ใช้อย่างไร?  

 

        

                     ในบรรดาเครื่องหมายวรรคตอนของไทยที่เราใช้เขียน  อ่าน  กันอยู่ในปัจจุบัน พบว่ามีผู้ใช้ผิดพลาดกันอยู่บ้าง ซึ่งไม่ค่อยเป็นปัญหาทางภาษามากนัก แต่มีเครื่องหมายหนึ่งที่กำลังเป็นปัญหามาก นั่นคือ    ไม้ยมก    เพราะปรากฏว่าเด็กไทยอ่านไม่เป็น   ที่สำคัญเด็กไทยจำนวนมากเขียนรูปไม้ยมกผิด   คือ เขียนไม้ยมกโดยขีดเส้นขวางตรงหางไม้ยมก  ขีดเส้นเดียวบ้าง  สองเส้นบ้าง  จนกลายเป็นเครื่องหมายประหลาด  เรื่องนี้ในฐานะครูสอนภาษาไทยยอมไม่ได้ครับที่จะปล่อยให้มีการจงใจทำลาย  อักษรไทย   ไม่เช่นนั้นต่อไปอักษรไทย คงเพี้ยนเปลี่ยนไปเร็วกว่านี้  

       

รูปแบบไม้ยมกผิด  ที่พบมากในงานเขียนของนักศึกษา    

ไม้ยมก  ใช้อย่างไร  อ่านอย่างไร

 

               หลักเกณฑ์การใช้ไม้ยมกมีอย่างเดียวง่ายๆ คือ  ใช้เขียนหลังคำ วลี หรือประโยค ที่ต้องการให้อ่านซ้ำอีกครั้ง

      ซ้ำคำเดียว      สิ่งเล็กๆ เหล่านี้  - ซ้ำคำ  เล็ก  อ่านว่า สิ่งเล็กเล็ก

      ซ้ำสองคำ      ในวันหนึ่งๆ  - ซ้ำคำ วันหนึ่ง  อ่านว่า ในวันหนึ่งวันหนึ่ง

      ซ้ำสามคำ      แต่ละวันๆ  -  อ่านว่า  แต่ละวัน แต่ละวัน 

การใช้ไม้ยมกซ้ำคำ วลี หรือประโยค ใช้เพื่ออะไร ผู้เขียนต้องรู้และเข้าใจด้วย เช่น

      <h4 style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"> ซ้ำให้เป็นพหูพจน์   -   เด็กๆ  ไปเรียกพี่ๆมากินข้าว (แสดงว่ามีเด็กและพี่หลายคน)</h4>

ซ้ำเพื่อให้มีความหมายแยกส่วน - เธอควรอ่านเป็นหน้าๆ ไป (ให้อ่านทีละหน้า)

 ซ้ำเพื่อให้มีความหมายเบาลง - คนใส่เสื้อสีดำๆ เป็นใคร (สีดำๆ ดำน้อยกว่า สีดำ)

</span><h2 style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">

กรณีต่อไปนี้ห้ามใช้ไม้ยมก

 </h2><h2 style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">  </h2><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">(อ้างอิงภาษาวิทยานิพนธ์ รศ.ดร.บุญยงค์ เกศเทศ 2534)          </p><p> </p><h4>                ๑.เมื่อเป็นคนละบท คนละความ กัน เช่น</h4><h4>   - ฉันจะไปปทุมวันวันนี้ </h4><h4>   - เขาเคยมาทุกวันวันนี้ไม่มา</h4><h4>   - เขาซื้อสี 5 กระป๋อง  กระป๋องละ 50 บาท</h4><h4>   - นายดำดำนา </h4><h4>             ๒.รูปคำเดิมใช้ 2 พยางค์อยู่แล้ว  เช่น</h4><h4> - ต่างๆ นานา                                       - นานาประการ</h4><h4>- มองเห็นจะจะ                                     - นานาชาติ</h4><h4>           ๓. เมื่อเป็นคำคนละชนิดกัน เช่น</h4><h4>- คนคนนี้มีวินัย  (คำแรก เป็นคำนาม   คำที่สองเป็นลักษณนาม)</h4><h4>-รถเสียเสียแล้ว (คำแรก  เป็นคำกริยา  คำที่สองเป็นวิเศษณ์)</h4><h4>          ๔.ในคำประพันธ์ต้องการแสดงรูปคำตามข้อกำหนด (ยกเว้นในข้อกำหนดที่ต้องใช้ไม้ยมก) เช่น</h4><h4>หวั่นหวั่นจิตคิดหวนครวญครวญหา  </h4><h4>คอยคอยหายหลายหลายนัดผัดผัดมา</h4><h4>แทบเดือนเตือนเตือนว่าช้าช้าวัน</h4><p> </p><h4>            การเขียน การอ่านไม้ยมกดูจะเป็นเรื่องเล็กๆ แต่ถ้าเราปล่อยปละละเลยเชื่อว่าจะสร้างความเสียหายแก่ภาษาไทยเรามาก จนในที่สุด รูปไม้ยมกของไทยเรา จะกลายเป็น เครื่องหมายประหลาด และสร้างความแปลกประหลาดใจแก่คนต่างชาติมาก  เหมือนที่นักศึกษาต่างประเทศตั้งคำถามถามผมว่า </h4><p> </p><h4>          "ทำไมนักศึกษาไทยเขียนไม้ยมกอย่างนี้ แต่อาจารย์สอนอีกอย่างหนึ่ง  อันไหนถูกคะ? " </h4><p> </p><h4>         เพราะฉะนั้น ผมจึงยอมไม่ได้ที่ให้นักศึกษาเขียนไม้ยมกเป็นเครื่องหมายประหลาด  เป็นไงเป็นกันครับ </h4><p>           </p>

หมายเลขบันทึก: 149757เขียนเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2007 08:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 10:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)

สวัสดีครับ

เจอบ่อยครับ ไม่ทราบเป็นโรคติดต่อกันหรือเปล่า

บางทีที่ควรจะยมกก็ไม่ใส่ ที่ไม่ควรจะใส่ ก็ใส่เสียนี่

แต่ก็เป็นโอกาสดี ให้ครูได้สอนเรื่องการใช้ไม้ยมกอีกครั้งครับ ;)

สวัสดีค่ะ อ.กรเพชร

มาเติมความรู้เช่นเคยค่ะ แล้วก็พบว่าตัวเองอ่อนภาษาไทยจริงๆ เพราะไม่เคยรู้เลยว่า การใช้"สีดำๆ" แปลว่าสีอ่อนกว่าสีดำ  ถ้าให้อ่านประโยคนี้ ตัวเองจะต้องอ่านว่าสีดำดำ เป็นแน่ ไม่ทราบว่าอ่านออกเสียงว่า"สีดำ" เฉยๆ (ไม่ออกเสียงซ้ำ) หรือ "สีดำดำ" คะ

สวัสดีครับคุณธวัชชัย

              ดีใจครับที่เห็นความสำคัญ  ช่วยกันนะครับ

สวัสดีครับP

           สีดำๆ    อ่านว่า  สีดำดำ  ถูกต้องแล้วครับ  ความหมายเบาลงครับ  แต่ถ้าต้องการให้ความหมายหนักแน่นขึ้น คือ ให้มีความหมายว่า สีดำมากๆ  (สีดำมากมาก)  ต้องเน้นเสียงวรรณยุกต์ ว่า  สีด๊ำดำ (ไม่ต้องใส่ไม้ยมก) ครับ 

เขาซื้อสี 5 กระป๋อง  กระป๋องละ 50 บาท

ขอบพระคุณครับอ.กรเพชร แสดงว่าผมใช้ไม้ยมกกรณีนี้ผิดมาโดยตลอด เพราะผมจำมาจากโจทก์คณิตศาสตร์ครับ "ซื้อสีมา ๕ กระป๋องๆละ ๕๐ บาท"

ขอบพระคุณที่ทำให้ตาสว่างครับ

  • ขอบคุณ อ.กรเพชร ที่ช่วยกัน อนุรักษ์ สืบสาน
  • สร้างสรรค์ ภาษาไทย
  • ไม้ยมก นี้น่าจะวิวัฒนาการมาจากเลข ๒ ใช่ไหมครับ
  • เพราะผมเคยอ่านอักษรไทยโบราณ ใช้เลข ๒ เป็นไม้ยมก นี่เอง
  • รูปไม้ยมกบางที่จะพบตรงปลายหักเฉียงไปทางซ้าย
  • ขอบคุณ ที่นำสิ่งดีๆมีค่ามาฝากครับ
  • ผมเป็นคนหนึ่งที่รักภาษาไทย ก็เลยไม่กล้าเรียนภาษาอังกฤษเพราะเกรงว่า จะอธิบายความรู้สึกด้วยภาษาไทยไม่ได้ :-) แต่แล้วก็เลยไม่ได้เรื่องทั้งภาษาไทยและอังกฤษ เพราะมัวแต่รักประมาณว่า นกเฝ้าตอไม้
  • พอดีเมื่อเช้าเปิดใน msn ที่เขามีเนื้อที่ให้เราจับจองได้ฟรีๆ มาพร้อมกับ hotmail ไปเจอเข้ากับหน้าของเนื้อที่หนึ่ง ทำให้นึกถึงคำของลุงเนาวรัตน์.."วัยรุ่นปัจจุบัน จนภาษา"
  • หากอาจารย์กรเพชร เข้าไปอ่านแล้วจะยิ่งกว่า "รับไม่ได้อีกนะครับ" ผมไปหาสิ่งที่ผมอ้างถึงไม่เจอ แต่ขอเอาข้อความบางอย่างที่เบาๆจาก เวปที่อ้างถึงนั้นมาให้ดูนะครับ
  • วันนี้เรียนท้างวันเรยเหนื่อยโคตร....
  • เรียน อิ๊ง สามชั่วโมง ตั้งแต่สิบโมงเช้า ต่อมา เรียน Stat 2 ถึงสี่โมงครึ่ง ต่อด้วย เรียน บัญชี2 ถึงทุ่มก่าๆ แต่ดีหน่อย เรียนบัญชีม่ายค่อยเครียด อาจารย์ใจดีอย่างแรง
  • นี่ก็พึ่งกินข้าวเส็ด เรยมานั่งอัพสเปซซะหน่อย
  • แต่ม่ายมีครัยมาเม้นหั้ยเรย เซ็ง....งอลแล้ว ไปละ

  • จะให้ทำอย่างไรดีครับท่านอาจารย์
  • แวะมาเรียนภาษาไทยค่ะ อาจารย์
  • เจอกรณี ที่นักศึกษาเอาภาษาที่ใช้ใน msn มาเขียนรายงานเหมือนกัน...
  • คงต้องช่วยกันทุกฝ่ายนะคะ

สวัสดีครับP

        ดีใจครับที่สนใจ  เรื่องอย่างนี้คงต้องช่วยกันหลายๆ ฝ่ายนะครับ 

สวัสดีครับP

         เรื่องรูปไม้ยมกวิวัฒนาการมาจากเลข ๒ นั้นก็อาจเป็นได้นะครับ เพราะรูปร่างคล้ายคลึงกัน และมีความหมายว่าสองครั้ง หรือ ซ้ำกัน  แต่ผมยังไม่มีหลักฐานยืนยันครับ

สวัสดีครับP

       ผมอ่านข้อความสนทนาที่คุณนมินทร์(นม.)เอามาฝากแล้ว  รับไม่ได้จริงๆ อย่างที่คุณว่า  พื้นที่ทางอินเตอร์เน็ตเสรี คนที่ใช้พื้นที่ก็เสรี จนขาดมารยาทและ "วัฒนธรรมสาธารณะ"  สะท้อนความต่ำ ความเขลา ความไร้วัฒนธรรม  มุ่งแต่อารมณ์และประโยชน์ส่วนตนมาก ผมจึงต้องเลือกที่จะมาทาง Go To Know เพราะสุภาพและได้สาระความรู้ อีกทั้งยังมีความผูกพันแบบกัลยาณมิตรอีกด้วย  ขอบคุณครับ

สวัสดีครับP

         เห็นด้วยอย่างยิ่งครับ

หนูเป็นคนหนึ่งที่ชอบใช้ไม้ยมก จนเรียกได้ว่าบางครั้งต้องตรวจงานเขียนว่าใช้คำซ้ำแบบนี้เยอะไปไหม แต่รับรองว่าใช้ไม่ผิดแน่ๆ ค่ะ เพราะชอบใช้เลยจำหลักการใช้ได้

555 เดี๋ยวนี้แม้แต่การเขียนไม้ยมกเด็กนักเรียนก็เขียนผิดแล้วหรือ จบประถมผ่านมัธยมมาถึงมหาวิทยาลัยได้อย่างไร น่าอายจริงๆ

การใช้ไมยมก จำเป็นต้องเว้นวรรคเล็กไหมครับ เห็นบางคนเขียนติดกัน บางคนเว้น 1 ช่องไฟ บางคน 2 ช่องไฟ คือ เคาะ 1 หรือ เคาะ 2 หรือไม่เคาะ อะไรกันแน่ เราเรียนมา พอเห็นหลาย ๆ ครั้งชัดไม่แน่ใจครับ

การพิมพ์ไม้ยมกไม่จำเป็นต้องเคาะเว้นวรรค แต่เพื่อความสวยงามบางคนก็เคาะ 1 ครั้ง ทำนองการพิมพ์ตัวเลข เอาเป็นว่าดูให้เกิดความชัดเจน แต่อย่าเว้นวรรค /เคาะ ห่างเกินไป เดี๋ยวจะไม่งาม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท