อาหารกลางวันในโรงเรียน


โครงการอาหารกลางวัน  ครับจังหวัดน่านเป็นจังหวัดที่มีโครงการอาหารกลางในโรงเรียนมากที่สุดครับมี  26 โรงเรียน ซึ่งแต่ละโรงก็มีอยู่ในกิ่นทุระกันดานทั้งสิ้นการเดินทางถ่าฤดูฝนนั้นเข้าออกลำบากมาก ส่วนมากคณะครูจะอยู่ในพื้นที่ครับ อยู่กับนักเรียน โครงการอาหารกลางวันนั้นเป็นการทำการเกษตรเพื่อการบริโภคในโรงเรียนซึ่งมีความขาดแคลนในด้านอาหาร และการที่จะไปซื้อหาก็ยากแก่การเดินทาง แต่การที่จะให้เด็กมีการศึกษาและสุขภาพแข็งแรงต้องได้รับสารอาหารครบ 5 หมู่ เพื่อการเจิญเติมโตและเป็นกำลังของชาติได้ในอนาคตโครงการอหารกลางวันในโรงเรียน  เป็นการปลูกพืชผักสวนครัวเพื่อให้พอกับปริมาณที่ต้องการ ของโรงเรียนไม่ต้องซื้อจัดซื้อวัตถุดิบมาทดแทน ทางโรงเรียนได้ปลูกพืชผักหมุนเวียนติดต่อกันไปอย่างต่อเนื่อง ส่วนการผลิตถั่วเมล็ดแห้งและการผลิตไม้ผลในโรงเรียนได้ปริมาณยังไม่เพียงพอต้องรับการสนับสนุนจากสำนักงานเกษตรจังหวัด  ส่วนการเลี้ยงสัตว์ได้เลี้ยงไก่พันธุ์สามสายเลือด ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ ผลผลิตที่ได้จำหน่ายให้โครงการอาหารกลางวันและจำหน่ายให้กับชาวบ้าน โดยการหมุนเวียนในรูปของสหกรณ์ และการเลี้ยงปลากินพืช เพื่อนักเรียนส่วนใหญ่ได้รับประทานอาหารได้อย่างเพียงพอ และต้องคำนึงถึงคุณค่าอาหารที่นักเรียนได้รับในแต่ละมื้อด้วย และทางโรงเรียนได้วางแผนให้สอดคล้องกับแผนการประกอบอาหารที่ทางโรงเรียนได้จัดทำขึ้นมา                ผมมีหน้าที่ขับรถพาท่านเกษตรจังหวัดออกตรวจโครงการอาหารกลางวันของโรงเรียน ตชด.ที่อำเภอสองแควซึ่งคาดว่าจะเป็นโรงเรียนที่พระเทพฯ จะเสด็จมาในปีนี้ และโรงเรียนบ้านห้วยเลา เป็นหมู่บ้านเดียวที่อยู่ห่างไกลความเจริญมาก ชาวบ้านเป็นชนเผ่าขมุ ซึ่งมีอาชีพดั้งเดิมการหาของป่าขายและเป็นชนเผ่าที่หาเช้ากินค่ำจึงยากจน และระยะทางจากจังหวัดน่านนั้นก็ปาเข้าไป เป็น 100 กว่ากิโลแล้วครับ เป็นถนนลูกลังที่ยังไม่ได้มีการปรับปรุงเหมือนทางเกวียน และพอมาถึงโรงเรียนก็ได้รับการต้อนรับจากท่านผอ.โรงเรียน และพาเยี่ยมกิจกรรมรางการอาหารกลางวันในโรงเรียน ซึ่งมีหลายกิจกรรมนั้นแต่ด้านการเกษตรเป็นกิจกรรมที่ขาดไม่ได้ เนื่องจาเป็นปากท้องของเยาวชนและเกษตรกรเอง การติดตามโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียนนี้ก็เป็นสิ่งที่ดีมากที่เป็นการกระตุ้นให้ทางโรงเรียนเองได้มีการทำการเกษตรและทำให้อาหารที่จะบริโภคนั้นมีเท่ากับความต้องการของนักเรียนและถ้าเหลือก็นำไปขายยังผู้ปกครองของนักเรียน เป็นรายได้ให้กับโรงเรียนได้อีกทางหนึ่งครับ ก็เป็นกลยุทธที่เด็กพัฒนาขึ้นมีการปลูกพืชเพื่อการเกษตรไม่ใช่รอหาแต่ของป่าเหมือนกับบรรพบุรุษของชนเผ่า คนขับรถคนเดิมครับ
หมายเลขบันทึก: 149722เขียนเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2007 22:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 12:39 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

หวัดดีครับคุณอินทรีย์

  • ตอนผมอยู่ ไปเยี่ยมทุก ร.ร.แล้วครับ บางที่ต้องเดินอย่างเดียว ได้บรรยากาศดีครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท