ปุ๋ยเคมีในนาข้าว


ปุ๋ยเคมีในนาข้าว

ปุ๋ยเคมีในนาข้าว

            การทำนาในปัจจุบัน เกษตรกรมีการใช้ปุ๋ยเคมีกันอย่างกว้างขวาง เรียกได้ว่าใส่แทบทุกคน แต่การใช้ปุ๋ยเคมีดังกล่าวยังไม่ถูกสูตร ถูกเวลา ถูกอัตรา ยังมีความเข้าใจผิด ๆ อยู่มาก ซึ่งบางครั้งการใส่ปุ๋ยอาจทำให้ต้นทุนสูงกว่าผลตอบแทนโดยไม่รู้ตัว

**********************

ผู้เขียน: “ขอถามหน่อยว่าพวกเราใส่ปุ๋ยในนาข้าวเพื่ออะไร

ประธาน : “ก็ใส่เพื่อให้ข้าวงามนะสิครับ

ผู้เขียน : “แสดงว่าเราปลูกข้าวเป็นไม้ประดับเพราะต้องการให้ต้นข้าวงามเหมือนดอกไม้

ประธาน: “อ๋อ..ไม่ใช่ครับ..ใส่ปุ๋ยให้ข้าวงามจะได้ผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้น 

ผู้เขียน : “สรุปว่าใส่ปุ๋ยเพื่อให้ได้ข้าวเพิ่มขึ้น สมมุติว่าก่อนใส่ปุ๋ยได้ข้าว 300 กิโลกรัม ใส่ปุ๋ยลงไป 1 กระสอบ ได้ข้าวเพิ่มขึ้นเป็น 320 กิโลกรัม แบบนี้ใช่ไหม

เลขา ฯ  : “แบบนั้นมันไม่คุ้มค่าปุ๋ยหรอกครับ..ค่าปุ๋ยมันแพง

ผู้เขียน:”แล้วเลขาใสปุ๋ยปีละกี่กระสอบ ได้ข้าวเพิ่มเท่าไหร่ละ

เลขา :”ผมใส่ปีละ 8 กระสอบ แต่ไม่รู้ว่าได้ข้าวเพิ่มเท่าไหร่เหมือนกัน แต่ถ้าไม่ใส่ ข้าวก็ไม่งามไม่ได้ผล เห็นคนอื่นใส่ก็ต้องซื้อมาใส่ 

ผู้เขียน :”แสดงว่าเรายังไม่มีข้อมูล รู้แต่ว่าต้นข้าวงามขึ้น แต่ไม่รู้ว่าข้าวเพิ่มขึ้นเท่าใหร่ คุ้มค่ากับราคาปุ๋ยหรือไม่ ไม่รู้ด้วยซ้ำว่าตัวเองขาดทุนหรือกำไร ถูกไหม..”

ประธาน:”ก็คงอย่างนั้นละครับ แล้วพวกผมจะต้องใส่ปุ๋ยเท่าไหร่ดีละครับ

ผู้เขียน   :”จะใส่เท่าไหร่ก็ต้องขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของพวกเราแต่ละคน ผมคงไม่สามารถตัดสินใจแทนทุกคนได้ เป็นได้แค่ผู้ให้ข้อมูล ขอถามอีกหน่อยว่าพวกเราใส่ปุ๋ยนาข้าวปีละกี่ครั้งประธาน:”ใส่ 2 ครั้งครับ ครั้งที่ 1 ช่วงที่ข้าวเริ่มเขียวหลังปักดำ ครั้งที่ 2 ใส่ช่วงข้าวตั้งท้อง

ผู้เขียน :”แล้วใช้ปุ๋ยสูตรไหนบ้าง

สมาชิก  :”ผมใช้สูตร 16-16-8 กับ 46-0-0 “

 “ผมใช้สูตร 15-15-15 กับ 16-20-0 “

ดิฉันใช้สูตร 16-8-8 คะ

ผู้เขียน   :”รู้ไหมว่าตัวเลขที่อยู่บนกระสอบปุ๋ยหมายความว่าอย่างไร ประธานตอบซิ

ประธาน:”เป็นธาตุอาหารใช่ไหมครับ ชื่อมันเป็นภาษาอังกฤษผมจำไม่ได้

ผู้เขียน:”เข้าใจถูกแล้วละ ตัวเลขสูตรปุ๋ยคือเปอร์เซ็นต์ธาตุอาหารแต่ละตัวที่มีในกระสอบปุ๋ย ตัวแรกคือธาตุไนโตรเจน ใช้ตัวย่อคือเอ็น(N) ตัวที่ 2 คือธาตุฟอสฟอรัส ตัวย่อคือพี (P) และตัวที่ 3 คือธาตุโปรตัสเซี่ยมตัวย่อคือเค (K) ยกตัวอย่างปุ๋ยสูตร16-16-8 ก็จะมีธาตุไนโตรเจน 16 เปอร์เซ็นต์ มีฟอสฟอรัส 16 เปอร์เซ็นต์ และมีโปรตัสเซี่ยม 8 เปอร์เซ็นต์ ส่วนที่เหลือก็จะเป็นสารตัวเติม เช่น ดิน ทราย เพื่อให้ครบน้ำหนัก 100 เปอร์เซ็นต์

เหรัญญิก:”ทำไมไม่ผลิตปุ๋ยให้มีธาตุอาหาร 100 เปอร์เซ็นต์เลยละคะ จะได้ไม่ต้องเติมหิน ทราย

ผู้เขียน :”มีข้อจำกัดในการผลิตเหมือนกันที่ไม่สามารถผลิตปุ๋ยให้มีธาตุอาหารล้วน ๆ ได้ เหมือนกับที่เราไม่สามารถเลี้ยงไก่เลี้ยงปลาให้มีเฉพาะเนื้อ ไม่มีกระดูก ไม่มีขนได้ แต่เราต้องรู้จักเลือกซื้อปุ๋ยโดยเปรียบเทียบราคาต่อธาตุอาหาร แทนการเปรียบเทียบราคาต่อกระสอบ

เลขา :”งั้นปุ๋ยสูตร 15-15-15 ก็ดีกว่าสิครับ เพราะมีธาตุอาหารมากกว่า มิน่าละคนขายถึงบอกว่าเป็นปุ๋ยหมาก(ผล) ให้ใส่ตอนข้าวตั้งท้อง

ผู้เขียน:” ปุ๋ยสูตร 15-15-15 เป็นปุ๋ยหมากก็จริง แต่เป็นหมากขาม หมากพร้าว หมากพลู เป็นปุ๋ยที่ใช้บนบก ถ้าเรานำมาใส่ในนาข้าวที่มีนำขัง ปุ๋ยชนิดนี้จะละลายเร็วมาก และธาตุอาหารไนโตรเจนก็จะละเหยไปในอาการอย่างเร็ว พืชดูดไปใช้ได้เพียงครึ่งเดียว ส่วนธาตุอาหาร 2 ตัวหลังจะเคลื่อนที่ช้า และถ้าใส่ในช่วงข้าวตั้งท้องซึ่งต้นข้าวหยุดการเจริญเติบโตทางลำต้น เปลี่ยนเป็นการเจริญเติบโตทางสืบพันธุ์แล้วจะเป็นการสิ้นเปลืองโดยเปล่าประโยชน์ ยกตัวอย่าง ถ้าใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ลงไป 100 กิโลกรัมหรือ 2 กระสอบ ข้าวจะดูดไนโตรเจนไปใช้ได้ประมาณ 7 กิโลกรัม ส่วนธาตุอีก 2 ตัวไม่มีผลต่อผลผลิตข้าว จึงเท่ากับว่า ใส่ปุ๋ย 15-15-15 จำนวน 100 กิโลกรัม หรือ 2 กระสอบ ข้าวใช้ประโยชน์ได้ 7-0-0 แบบนี้คิดว่าคุ้มค่าไหมเลขา     :”ก็คงไม่คุ้ม แล้วสูตร 46-0-0 ที่บางคนใส่ในช่วงข้าวตั้งท้องเป็นอย่างไรบ้างครับ

ผู้เขียน :” ข้าวตั้งท้อง ถ้าจะเปรียบก็เหมือนกับคนมีท้อง ต้องการอาหารบำรุงลูกในท้องเป็นพิเศษ ถ้าใช้ปุ๋ยสูตร 46-0-0 หว่านในนา 100 กิโลกรัม หรือ 2 กระสอบ ข้าวจะดูดไปใช้ได้เกือบทั้งหมด คือ 46-0-0 ทำให้ข้าวรวงโตขึ้น เมล็ดไม่ลีบ เมล็ดข้าวแกร่งขึ้น

เหรัญญิก:”แล้วใช้ปุ๋ย 46-0-0 ช่วงข้าวแตกกอได้ไหมคะ

ผู้เขียน :” ถ้าใช้ปุ๋ย 46-0-0 ช่วงข้าวแตกกอ ข้าวจะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว แตกใบมาก ต้นสูง ล้มง่าย ลำต้นอวบน้ำ โรคแมลงเข้าทำลายได้ง่าย ข้าวไม่แข็งแรง เปรียบเหมือนเด็กที่เลือกกินเฉพราะเนื้อสัตว์โดยไม่กินข้าวและผักผลไม้ เพราะไนโตรเจนก็คือธาตุหรือสารอาหารที่ช่วยในการเจริญของลำต้นคืออาหารโปรตีน เช่นเนื้อสัตว์ ส่วนธาตุฟอสฟอรัสก็เปรียบได้กับคาร์โบไฮเดรทที่ให้พลังงาน และธาตุโปรตัสเซี่ยมเปรียบเหมือนวิตามินที่ข้าวต้องการเพียงเล็กน้อย ดังนั้นเพื่อให้ข้าวเจริญเติบโต แข็งแรง ต้องใช้ปุ๋ยที่มีธาตุอาหารครบทั้ง 3 ตัวในช่วงข้าวแตกกอ ยกเว้นในนาดินเหนียวเพราะมีธาตุโปรตัสเซี่ยมเพียงพอประธาน:”อย่างเช่นปุ๋ยสูตร 16-16-8 หรือ 16-8-8 ใช่ไหมครับ

ผู้เขียน :”ใช่ครับ แต่ปุ๋ยสูตร16-16-8 มีธาตุอาหารรวม 40 กิโลกรัม ส่วนสูตร 16-8-8 มีธาตุอาหารรวมกันเท่ากับ 32 กิโลกรัม ถ้าราคาเท่ากันควรเลือกสูตรไหนดีประธาน:”ถ้าราคาเท่ากันก็ต้องเลือกซื้อสูตรที่มีธาตุอาหารรวมมากกว่า คือสูตร 16-16-8 แต่จริง ๆ ราคาสูตร16-8-8 ถูกกว่า ผมไม่แน่ใจว่าจะใช้สูตรไหนจึงจะประหยัดกว่า

ผู้เขียน   :”ถ้าราคาไม่เท่ากันเราต้องใช้ข้อมูลอย่างอื่นประกอบ เช่น เปรียบเทียบราคาต่อธาตุอาหารรวมแต่ละสูตร หรือเปรียบเทียบอัตราการใช้ ในกรณีนี้ปุ๋ยสูตร 16-16-8 แนะนำให้ใช้ 25-30 กิโลกรัมต่อไร่ ส่วนสูตร 16-8-8 แนะนำให้ใช้ 40-50 กิโลกรัมต่อไร่ ถ้าราคาไม่แตกต่างกันมาก เราควรเลือกซื้อสูตรไหนดี

ประธาน:”ราคาปุ๋ยทั้ง 2 สูตรไม่ต่างกันมาก แต่ถ้าอัตราใช้มากกว่ากันเกือบเท่าตัวแบบนี้ ผมว่าต้องเลือกใช้สูตร 16-16-8 น่าจะคุ้มค่ากว่าครับ

ผู้เขียน :”คราวนี้พวกเราก็มีข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจใส่ปุ๋ยในนาข้าวได้อย่างถูกต้องแล้วนะ และคณะกรรมการศูนย์ข้าวก็คงจัดซื้อปุ๋ยมาบริการสมาชิกให้ถูกสูตร ถูกเวลา และถูกอัตราต่อไป
********************** 

หมายเลขบันทึก: 148377เขียนเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2007 11:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 22:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (41)
เราเคยเรียนมาตอนประถม แต่ตอนนี้ลืมความรู้ไป แล้ว ดีนะที่คุณ...เอามาแลกเปลี่ยนทำให้คนอ่านอย่างเรได้เรียนรู้
  • ถูกใจข้อมูลจังค่ะ
  • ในฐานะผู้ค้าเคมีเกษตร
  • เห็นด้วยว่ายังมีเกษตรกรอีกมากที่ยังไม่มีความรู้เพียงพอสำหรับการใช้ปุ๋ย
  • น่าจะมีคนให้ข้อมูลกับเกษตรกรมากกว่านี้
  • แต่ปีนี้ปุ๋ยขึ้นราคามาก ๆ โดยเฉพาะตัวมอป ขึ้นมากถึงตันละ 2 พันกว่าบาท
  • เฮ้อ.. สงสารเกษตรกรไทยจริง ๆ ค่ะ
เนื่องจากในอนาคตผลผลิตทางการเกษตรที่ปลอดภัยจากสารพิษกำลังเป็นสิ่งที่สนใจและเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคในทุกระดับเพราะประเทศต่าง ๆ ได้นำข้อตกลงขององค์การค้าโลก (WTO) เรื่องมาตรการสุขอนามัย และสุขภาพอนามัยพืช (sanitary and phytosaniry agreement) มาควบคุมคุณภาพของผลผลิตพืชและพืชผักที่นำมาจากต่างประเทศ จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ประเทศไทยจำเป็นต้องรีบดำเนินการแก้ไขปัญหาสารพิษตกค้างในผลผลิตทางการเกษตรโดยเร่งด่วน แต่ปัญหาที่สำคัญคือ เกษตรผู้ผลิตยังขาดความรู้ความเข้าใจในการใช้สารเคมีป้องกัน และกำจัดศัตรูพืชอย่างไม่ถูกต้อง และ เหมาะสมส่งผลให้มีปริมาณสารพิษตกค้าง ในผลผลิต เกินค่ามาตรฐานความปลอดภัย ทำให้เป็นอันตราย คน สัตว์ สิ่งแวดล้อม ส่งผลให้ผลผลิตทางการเกษตรของประเทศไทยไม่สามารถส่งออกได้ตามมาตรฐานที่กำหนด จึงเป็นเรื่องที่สำคัญที่จะต้องรีบแก้ไขปัญหาสารพิษตกค้างในผลผลิตทางการเกษตร

          
เกษตรอินทรีย์ คือ ระบบที่การผลิตไม่มีการใช้สารเคมีในการป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืชใด ๆ ทั้งสิ้น รวมทั้งไม่มีการให้ปุ๋ยเคมีฮอร์โมนเพื่อการเจริญเติบโตของพืช ดังนั้นสภาพแวดล้อมและปัจจัยการผลิตที่ใช้ในการผลิตจะต้องสะอาดปลอดภัย ปราศจาสารพิษ และสารเคมีเป็นอันตรายต่อมนุษย์ ผลผลิตที่ได้จึงปราศจากสารเคมีใด ๆ ทั้งสิ้น

 

            หรือ คือระบบการปลูกผักที่สร้างสรรค์ให้ระบบนิเวศ การเกษตรได้ก่อให้เกิดการผลิตที่ยั่งยืน ปลอดภัยต่อผู้บริโภค อนุรักษ์และปรับปรุงสภาพแวดล้อมโดยใช้หลักการสร้างความหลากหลายทางชีวภาพ และทำให้เกิดการผสมผสานเกื้อกูลซึ่งกันและกันหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีสังเคราะห์เช่น ปุ๋ยเคมี ยาฆ่าหญ้า ยาป้องกันกำจัดศัตรูพืชและฮอร์โมน เน้นการหมุนเวียนใช้ทรัพยากรในไร่นาให้เกิดประโยชน์สูงสุด 

 ในฐานะเป็นบริษัทจำหน่ายผลิตภัณฑ์เกษตรชีวภาพ  ได้มีส่วนสำคัญในการแก้ปัญหาดังกล่าวนอกจากจะเป็นศูนย์ถ่ายทอดความรู้ และเทคโนโลยี วิธีการผลิต ให้เกษตรกรอย่างถูกต้องและเหมาะสมแล้ว เรายังมีผลผลิตทางอินทรีย์ชีวภาพปราศจากสารพิษใด ๆ ทั้งสิ้น เพื่อแก้ปัญหาสารพิษตกค้าง ให้คนไทยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ทำให้พืชผักที่สะอาดปลอดภัยจากสารเคมีบริโภคในชีวิตประจำวัน นอกจากนั้นยังมีการสร้างโอกาส และเพิ่มปริมาณการส่งออก ผลผลิตทางการเกษตรสู่ตลาดต่างประเทศให้มากขึ้น เพื่อนำเงินตราเข้าประเทศตามนโยบายผลักดันประเทศไทย ให้เป็น ครัวของโลก “Kitchen of the world” ความหมาย พืชผักปลอดจากสารพิษ หมายถึง ผักที่ปราศจากสารพิษตกค้าง (pesticide residue free) รวมทั้งพืชผักที่ยังคงมีสารพิษตกค้างเจือปนอยู่บ้างแต่ก็ไม่เกินค่า MRL (Maximum Residue Limit) ซึ่งเป็นที่ยอมรับของนานาประเทศ

ยินดีให้คำแนะนำผู้สนใจเข้าร่วมโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่  ลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต ปลอดภัยสารพิษ  

 โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายหรือผู้ค้าเคมีภัณฑ์สนใจผลิตภัณฑ์เกษตรชีวภาพ  โทร  086  8881322 (คุณก้อย)

 

           P  berger0123 

          ไม่มีรูป  ก้อย 

สวัสดีครับทั้ง 2 ท่าน

เห็นเข้ามาเยี่ยมนานแล้ว แต่ปัญหาชาวนาทำให้ต้องเร่งช่วยเหลือให้ใช้ปุ๋ยถูกต้องช่วงนาปรังที่เร่งด่วน ทำให้ตอบช้ามาก ๆ ต้องขออภัย

ช่วงนี้เร่งรณรงค์การใช้ปุ๋ยที่ถูกต้อง ถูกสูตร ลดอัตรา ทั้งกลางวันกลางคืน (ได้สูตรลดปุ๋ย 50 % แต่ได้ข้าว 1,200 กก./ไร่มา)

คืนก่อนได้ผู้ใหญ่บ้านช่วยประกาศเรียกชาวบ้านมาฟัง

คืนพรุ่งนี้เป็นกำนัน..

ถ้าคืนต่อไปเป้นนายอำเภอ เป็นผู้ว่าก็ดีหรอก..

ถ้ามีข่าวคราวก็มาเยี่ยมกันอีกนะ อย่าพึ่งน้อยใจที่ตอบช้าละ

 

สวัสดีค่า

ตามมาเยี่ยมค่ะ

ข้อมูลมีประโยชน์มากเลย ขอบคุณค่า

  • สวัสดีครับคุณจอยP
  • พอคุณจอยมาเยี่ยมเรื่องปุ๋ยก็มีปุ๋ยปลอมระบาด..(เกี่่ยวกันไหมนี่ 555)
  • ตามมาดูได้ข้างล่างครับ
  • ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมครับ

http://gotoknow.org/blog/pree-d2/191610

ท่านครับ...((ยกมือขึ้น)) ทำไมเราไม่ใช้ปุ๋ยชีวภาพหล่ะครับ หากส่งเสริมจริงๆ โรงเรียน น่าจะเริ่มสอนการใช้ปุ๋ย ทำปุ๋ยชีวภาพตั้งแต่เด็กๆเลยนะครับ ต่อไป ปท ไทยจะได้ปลอดปุ๋ยเคมีสักที

  • ปุ๋ยชีวภาพ ตาม พรบ.ใหม่ เช่น ไรโซเบียม และเชื้อจุลินทรีย์ย่อยสลายสารฟอสเฟต ระดับเกษตรกรทั่วไปยังไม่สามารถผลิตเองได้ครับ
  • ส่วนปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยหมักน้ำชีวภาพ สารสกัดสาหร่าย สารสกัดอมิโน ปุ๋ยน้ำหมักสมุนไพร ปุ๋ยปลา สารสกัดโปรตีน ถือเป็นปุ๋ยอินทรีย์
  • และทุกวันนี้ปุ๋ยอินทรีย์ หรือปุ๋ยชีวภาพก็มีปลอมเหมือนกันครับ...ไทยต้มไทยนี่ละครับ..
  • จริง ๆ ปุ๋ยเคมีก็ไม่ได้น่าเกลียดน่ากลัวขนาดต้องเลิกใช้
  • เพียงแต่ต้องใช้ให้ถูกต้อง เพราะเป็นปุ๋ยที่ให้ธาตุอาหารสูง
  • ควรใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมีนั้นละครับ คงจะยกเลิกเคมีทั้งหมดไม่ได้ (เหมือนกับบอกว่าต้องเลิกใช้น้ำมันเพราะมาจากต่างประเทศครับ)
  • ขอบคุณที่มาแลกเปลี่ยนครับ 

สวัสดีค่ะ

* เข้ามาดูปุ๋ยเคมีในนาข้าว

* เผื่อลาออกไปทำนาบ้าง

* รับค่าโฆษณาจากผู้ค้าปุ๋ยได้เลย

* อิอิ

Pสวัสดีครับครูพรรณา

  • ค่าโฆษณาปุ๋ยเขาไม่จ่ายคนทำนาครับ
  • เขาเก็บจากชาวนาไปจ่ายนายหน้าค้าปุ๋ย
  • อาจารย์ลองใช้สารเสริมรึยังครับ
  • เพื่อนที่ศูนย์วิจัยพึ่งยืนยันผลวันนี้ว่ายางพาราจากแปลงที่ใช้
  • ให้น้ำหนักมากกว่าแปลงที่ไม่ใช้
  • ว่าแต่บทพูดแบบนี้พอให้เข้าใจเกี่ยวกับปุ๋ยเพิ่มขึ้นหรือเปล่าครับ
  • สบายดีนะครับครู

กว่า 40 ปีที่ผ่านมา การใช้ปุ๋ยในนาข้าว ส่วนใหญ่มักเป็นการแนะนำ แบบครอบจักรวาล ให้ใช้ปุ๋ยสูตร 16-20-0 สลับกับ ปุ๋ยยูเรีย หรือ 46-0-0 โดยไม่ต้องให้ปุ๋ยตัวท้ายหรือโปตัสเซียมเลย โดยเฉพาะที่นาภาคกลางซึ่งเป็นดินเหนียว ด้วยเชื่อกันว่า ดินเหนียวมีโปตัสเซียมอุดมสมบูรณ์อยู่แล้ว

แต่ในความเป็นจริง เมื่อต้นข้าวให้ผลผลิต ย่อมต้องใช้ธาตุอาหารต่างๆ ในดินมาเป็นวัตถุดิบ ในการสร้างเมล็ดข้าวแต่ละเมล็ด การจัดการธาตุอาหารตามความต้องการของพืช หรือใส่ธาตุอาหารที่พืชต้องสูญเสียไปกับผลผลิต จึงเป็นสิ่งจำเป็น ที่จะช่วยให้เกิดความสมดุลและยั่งยืน ลองคิดดูนะครับ ต้นไม้ก็เหมือนคนเรา ที่ต้องการอาหารต่างๆเพื่อการเจริญเติบโต ถ้าขาดธาตุอาหารบางอย่างไป ก็จะเกิดภาวะที่เขาเรียกกันว่า ทุพโภชนาการ ทำให้ร่างกายอ่อนแอ แคระแกรน โตช้า พัฒนาการต่างๆ ก็พลอยถดถอยไปด้วย ต้นไม้ก็เช่นกัน ถ้าต้องเติบโตในดินที่เสียสมดุลของธาตุอาหาร เช่น มีธาตุอาหารที่จำเป็นในการเติบโต ธาตุใดธาตุหนึ่งขาดหายไป ต่อให้ใส่ปุ๋ยตัวอื่นครบถ้วน ต้นข้าวก็ไม่สามารถเติบโตได้อย่างสมบูรณ์หรอกนะครับ

ท่านทราบหรือไม่ว่า ในข้าวเปลือก 1 ตัน ประกอบด้วยไนโตรเจน 20 กก.ฟอสฟอรัส 5 กก.และโปตัสเซียม อีก 20 กก.ไม่นับรวมธาตุอาหารรองอื่นๆอีก และในฟางข้าว 1 ตัน ประกอบด้วย ไนโตรเจน 6 กก.ฟอสฟอรัส 800 กรัม และโปตัสเซียมอีก 17 กก.ในการเก็บเกี่ยวผลผลิตเราก็เอาธาตุอาหารต่างๆเหล่านี้ออกไปด้วย ถ้าเราไม่เติมสิ่งที่สูญเสียไปเหล่านี้คืนให้กับดิน แล้วอะไรจะเกิดขึ้น

ลองมาคิดดูกันนะครับ พื้นที่ปลูกข้าวในเมืองไทยกว่า 65 ล้านไร่ ได้ผลผลิต 25 ล้านตัน ถ้าเก็บเกี่ยวเอาเฉพาะผลผลิตออกไป แสดงว่าเราเอาปุ๋ยไนโตรเจนและโพแทสเซียม ออกจากที่นาข้าวอย่างละ 5 แสนตันและฟอสฟอรัส 1 แสนตันต่อปีครับ ในส่วนของฟางข้าว แต่ละปีเรามีฟางข้าวประมาณ 25 ล้านตัน มีสัดส่วนของไนโตรเจน 1.5 แสนตัน คิดเป็นเงินประมาณ 1,800 ล้านบาท ถ้าเราเผาฟางข้าวอย่างทุกวันนี้ ก็เท่ากับเผาเงินทิ้งไปมูลค่ามหาศาลนะครับ แถมยังต้องสูญเสียอินทรียวัตถุและสิ่งมีชีวิตต่างๆในดิน รวมทั้งยังทำลายสิ่งแวดล้อม ก่อให้เกิดสภาวะเรือนกระจก ที่ส่งผลให้อากาศร้อนขึ้น ร้อนขึ้น และร้อนขึ้นอย่างทุกวันนี้

ฉะนั้น ถ้ายังไม่เลิกเผาฟางข้าว ก็คงต้องก้มหน้าก้มตา เสียเงินซื้อปุ๋ยราคาแพงมาใช้ทดแทนกันตลอดไปละครับ อย่าลืมนะครับฟางข้าวมีประโยชน์ โปรดช่วยกันดูแลให้ย่อยสลายอยู่ในที่นาของเราเถอะนะครับ

ที่นี้กลับมาดูเรื่องปุ๋ยกันบ้าง เราจะเพิ่มธาตุอาหารให้ดินโดยใช้ปุ๋ยอะไรนั้น อันนี้คงต้องพิจารณากันให้รอบด้านนะครับแต่ยังยึดหลักความสมเหตุสมผล เหมาะกับทุนในกระเป๋า และที่ต้องไม่ละเลยกันก็คือ ต้องรักษาสิ่งแวดล้อมไว้ให้ลูกหลานด้วย ถ้าเราทำนาโดยไม่ใส่ปุ๋ยเคมีเลย ตามกระแสนิยมเกษตรอินทรีย์ ลองดูนะครับว่าปุ๋ยอินทรีย์ต่างๆมีธาตุอาหารเฉลี่ยแต่ละตัวเท่าไร

ไนโตรเจน 1-2 % ,

ฟอสฟอรัส 0.1-0.5 %

และ โปตัสเซียม 0.1-1 %

ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่าเราเลือกใช้วัตถุดิบอะไรด้วย ยกตัวอย่างเช่นถ้าใส่ขี้วัว ซึ่งมีอัตราส่วนปุ๋ยเท่ากับ 1.1-0.4-1.6 ก็หมายความว่าถ้าต้องผลิตข้าวให้ได้ไร่ละ 500 กก.ต้องใช้ขี้วัวแห้ง 1 ตัน จึงจะเท่ากับปริมาณไนโตรเจนที่ติดไปกับข้าวเปลือก ทีนี้คนที่ทำนาหลายไร่จะไปหาขี้วัวมาจากไหน สู้ราคาได้หรือไม่ ดังนั้นทางสายกลางดีที่สุดครับ ใส่ปุ๋ยอินทรีย์-ชีวภาพนำและปุ๋ยเคมีวิทยาศาสตร์เสริม แต่จะนำ จะเสริมอย่างไร ติดตามกันต่อฉบับหน้า สวัสดีครับ

ว่าด้วยเรื่องปุ๋ยไนโตรเจน[N]

สิ่งมีชีวิตใดๆในโลกนี้ ล้วนเกิดจากการรวมตัวของแร่ธาตุต่างๆ ดังเช่นร่างกายมนุษย์ที่ประกอบไปด้วยแร่ธาตุต่างๆ เมื่อตายแล้วเผาก็จะกลายเป็นอากาศธาตุ พืชก็เช่นเดียวกันแร่ธาตุหลักๆที่พืชต้องการคือ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โปตัสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม กำมะถัน เหล็ก ทองแดง สังกะสี แมงกานีส โบรอน โมลิบดีนัม เพราะฉะนั้น การที่เราจะนำผลผลิตออกไปจากพื้นที่ปลูก จึงควรนำแต่สิ่งที่จะใช้ประโยชน์จริงๆเท่านั้น ส่วนที่เหลือให้คืนลงดิน เช่นข้าวถ้าเป็นไปได้ ควรนำเฉพาะข้าวสารออกไปบริโภค ส่วนของเปลือกและตอซัง คืนสู่ผืนดินเพราะนั่นคือแร่ธาตุต่างๆที่พืชดูดเข้าไป ก้อจะเป็นการประหยัดค่าปุ๋ยอีกทางหนึ่ง ในต่างประเทศ เกษตรกรที่ปลูก สวนป่ายูคาลิปตัส รัฐบาลออกกฎหมาย ให้นำเฉพาะเนื้อไม้ที่ทำเยื่อกระดาษเท่านั้นออกจากแปลงปลูกได้ ส่วนของเปลือกและใบไม้ ให้นำมาย่อยคืนสู่ดิน แล้วเรายังเผาตอซังกันอยู่อีกหรือ นอกจากจะทำลายธาตุอาหารแล้ว ยังทำลายสิ่งมีชีวิตในดินอีกด้วย เช่น จุลินทรีย์,ไส้เดือน,แมลงที่เป็นประโยชน์ เช่นพวกตัวห้ำตัวเบียน เป็นต้น

แร่ธาตุ 3 ตัวแรกคือ

ธาตุคาร์บอน[C]นั้น ได้มาจาก อากาศ (ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่เราหายใจออกนั่นแหละ) และอินทรียวัตถุ ที่จะถูกย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ในดิน และเปลี่ยนกลับไปเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ อีกทีหนึ่ง ใช้ในการปรุงอาหารเพื่อการเจริญเติบโต และเปลี่ยนก๊าซนี้เป็นเนื้อเยื่อพืช

ธาตุออกซิเจน[O] ได้จาก อากาศ (ก๊าซออกซิเจนที่เราหายใจเข้าไป) และน้ำ[H2O]

ธาตุไฮโดรเจน[H]ได้จาก อากาศ(ก๊าซไฮโดรเจน)และน้ำH2O

แร่ธาตุอีก 3 ตัวถัดมา เรียกว่าแร่ธาตุอาหารหลัก ได้แก่ N-P-K ที่เราคุ้นตาคือบรรดาปุ๋ยเคมีสูตรต่างๆ

เรามาทำความรู้จักกับตัวแรกกันก่อนดีกว่า ตัว N เรียกว่าไนโตเจน ชาวนาส่วนใหญ่จะคุ้นเคยกับคำว่ายูเรีย จริงๆแล้วไม่ใช่เพียงปุ๋ยยูเรียเท่านั้นที่มีแร่ธาตุไนโตรเจน ธาตุไนโตรเจนมีที่มาดังนี้

กว่า 90% ได้มาจากกระบวนการธรรมชาติ

เช่น ใช้แบคทีเรียจากพืชตระกูลถั่วตรึงจากอากาศลงดิน,มากับน้ำฝน,มาจากมูลสัตว์(ปุ๋ยคอก)และซากพืช(ปุ๋ยพืชสด)ซึ่งบางส่วนพืชสามารถนำไปใช้ได้ทันทีและบางส่วนต้องใช้จุลินทรีย์ในดินย่อยเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบก่อนแล้วจึงปล่อยให้พืชอีกทีหนึ่ง ปริมาณไนโตรเจนที่ตรึงได้จากธรรมชาติ 175 ล้านตันต่อปี

อีก 10% ได้มาจากการสังเคราะห์ทางอุตสาหกรรม ประมาณ 40 ล้านตันต่อปี

กระบวนการสังเคราะห์ปุ๋ยไนโตรเจน

N2(ก๊าซไนโตรเจนจากอากาศ)+H2(จากก๊าซธรรมชาติ) ภายใต้อุณหภูมิและความดันสูง เพื่อผลิตเป็นก๊าซแอมโมเนีย ก๊าซแอมโมเนียที่ได้ จะนำไปผลิตเป็นปุ๋ยไนโตรเจนชนิดต่างๆ เช่น ทำปฏิกิริยา กับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ กลายเป็นปุ๋ยยูเรีย[46-0-0]เหลว แล้วมาเข้ากระบวนการปั้นเม็ด ทั้งแบบเม็ดสาคู(คุณสมบัติไม่แข็ง,เปราะ,ชื้นง่ายและแบบเม็ดโฟม(มีคุณสมบัติแข็ง,ชื้นยาก,ใช้ง่าย)

N2+H2 →NH3

2NH3+CO2 →{NH2}2CO+H20

{NH2}2CO+H20+H2O →{NH4}2CO3

{NH4}2CO3(ไม่สเถียร) →NH3+CO2+H2O

• ทำปฏิกิริยากับ กรดกำมะถันหรือกรดซัลฟูริค กลายเป็น ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต[21-0-0]

• ทำปฏิกิริยากับ ออกซิเจนเป็นกรดไนตริก เพื่อผลิต ปุ๋ยแอมโมเนียมไนเตรท[35-0-0] ใช้เป็นวัตถุระเบิด, แคลเซียมไนเตรท[15-0-0], โปตัสเซียมไนเตรท[13-0-46] ชาวนาบางรายนำใส่แปลงข้าวช่วงสร้างน้ำนม

• ทำปฏิกิริยากับ กรดฟอสเฟอริค กลายเป็น ปุ๋ยแอมโมเนียมฟอสเฟต เช่น ไดแอมโมเนียมฟอสเฟต หรือแดปDAP[18-46-0] และโมโนแอมโมเนียมฟอสเฟตหรือแมปMAP[12-52-0]

ไนโตรเจนมีประโยชน์อย่างไร

พืชดูดกินไนโตรเจน ในรูปแอมโมเนียและไนเตรท ส่วนปุ๋ยไนเตรทไม่เหมาะกับนาข้าวเพราะสูญเสียง่าย จึงใช้ในรูปปุ๋ยยูเรียและปุ๋ยแอมโมเนียม เท่านั้น พืชดูดกินไนโตเจนไปใช้ ในช่วงสร้างเนื้อเยื่อเช่นใบ,ลำต้น,เมล็ดและเนื้อผล

ผมอยากทราบว่า ใช้ปุ๋ยสูตร 16-8-8 ไปแล้ว นาเป็นดินทรายร่วน ดีหรือไม่ครับ

  • เรียน ผู้ไม่แสดงตน และ หนุ่มเกษตร ไทพวน (ไม่แน่ใจว่าท่านเดียวกันไหม..) 
  •  ขอบคุณที่เข้ามาให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับปุ๋ยครับ
  • จริง ๆ แล้ว ทุกวันนี้มีปุ๋ยที่ช่วยให้ต้นไม้โตทั้งกลางวันกลางคืน (สังเคราะห์แสงกลางคืนได้ด้วย..)
  • ผมทดสอบดูแล้วเข้าท่า อ.จาก มก.ก็ยืนยัน แต่ถ้าจะพูดมากไปก็หาว่าผมโฆษณาให้เขา....(ถือเป็นการค้า..ออกอากาศไม่ได้)
  • ครั้นจะพูดแค่นี้ก็จะมีผู้สวมรอย..อ้างว่าสินค้าเขาช่วยให้พืชสังเคราะแสงได้ไปหลอกชาวบ้านอีก...
  • ไม่รู้จะวางตัวอย่างไรเหมือนกัน..
  • ผมจึงขอ..พูดให้คนที่อยากฟังเท่านั้น...ครับ
  • ขอบคุณครับ
  • คุณ nakarin ครับ
  •  16-16-8 ให้ธาตุอาหารมากกว่า  ปุ๋ย 16-8-8
  • อัตราการใช้ก็ต่างกันครับ..เพราะ..
  • ....ปุ๋ยสูตร16-16-8 มีธาตุอาหารรวม 40 กิโลกรัม ส่วนสูตร 16-8-8 มีธาตุอาหารรวมกันเท่ากับ 32 กิโลกรัม
  • ......ปุ๋ยสูตร 16-16-8 แนะนำให้ใช้ 25-30 กิโลกรัมต่อไร่ ส่วนสูตร 16-8-8 แนะนำให้ใช้ 40-50 กิโลกรัมต่อไร่
  • สรุปคือ 16-16-8 หนึ่งกระสอบ ใส่นาได้ 2 ไร่ ส่วน 16-8-8 ใส่นาได้ไร่เดียว...
  • ก็อีกนั่นละ...ผมก็ใช้สารเสริมปุ๋ยให้ลดลงครึ่งหนึ่งได้อีก....แต่จะพูดกับคนที่อยากฟังเท่านั้น..
พอจะมีความรู้อยู่บ้าง

ได้อ่านแรกๆก็พอเข้าท่า มีความรู้ใช้ได้ แต่มาสะดุดตรงที่ว่า :” ข้าวตั้งท้อง ถ้าจะเปรียบก็เหมือนกับคนมีท้อง ต้องการอาหารบำรุงลูกในท้องเป็นพิเศษ ถ้าใช้ปุ๋ยสูตร 46-0-0 หว่านในนา 100 กิโลกรัม หรือ 2 กระสอบ ข้าวจะดูดไปใช้ได้เกือบทั้งหมด คือ 46-0-0 ทำให้ข้าวรวงโตขึ้น เมล็ดไม่ลีบ เมล็ดข้าวแกร่งขึ้น” ผมงงมาก ไม่ทราบคุณจบการเกษตรมาจากไหนไม่ทราบผมไม่รู้ แต่สำหรับตัวผมความรู้เรื่องเกษตรพอมีบ้างตั้งแต่ประถม ซึ่งเปนเรื่องง่ายๆ คือ 46-0-0 เหมือนที่คุณบอก ตัวเลขข้างหน้า 46 ก็คือ ไนโตรเจน มีหน้าที่เร่งสูงเร่งเขียว ตัวที่ 2 คือ 0 ตัวนี้คือฟอสฟอรัส ตัวนี้มีหน้าที่เร่งราก แตกกอ และ 0 ตัวสุดท้าย คือ โปแตสเซี่ยม มีหน้าที่ เร่งแป้งเร่งน้ำตาล หรือเข้าใจง่ายๆ ก็คือเร่งผล ไม่ว่าจะเป็น หัวมันหัวเผือก ตัวสุดท้ายสำคัญมาก แต่ในที่นี้ก็ คือ เม็ดข้าว ทีนี้มาเข้าเรื่อง ท่านผู้อ่านทุกคนลองคิดตามนะครับ คุณผู้เขียนดันบอกว่า เอา 46-0-0 ซึ่งมีแต่ไนโตรเจนที่เร่งสูงเร่งเขียว เอาไปใส่รับท้องข้าว จะทำให้ ข้าวรวงโตขึ้น เมล็ดไม่ลีบ เมล็ดข้าวแกร่งขึ้น” ผมถามหน่อย ข้าวมันจะโตขึ้นได้ยังไงมิทราบ????????? เอาไนโตรเจนไปเร่งเม็ดข้าวเนี่ยนะ มันต้องตัวเลขตัวสุดท้ายคือ โปแตสเซี่ยม ที่มีหน้าที่เร่งแป้งและน้ำตาล ซึ่งในที่นี้ 46-0-0 ไม่มี โปแตสเซี่ยมเลย ทุกท่านคิดเหมือนผมมั๊ยครับ!!!!!!!!! สรุป คือ เอาไนโตรเจนไปรับท้องผมว่ามันจะสูญเปล่าซะมากกว่า ไม่รู้เร่งอะไรกันแน่ ปลูกข้าวไม่ได้เอาต้นนะครับ เค้าเอาเม็ดข้าวกันที่ขายได้น่ะ

อืม!!!! ไม่แสดงตน มายืนฟัง คริ คริ คริ

ขอบคุณข้อความข้างต้นมากเลยครับ

งงๆๆจังเลย

แล้วตกลงต้องยังไง

ข้าวตั้งท้อง เนี่ย

อยากรู้จริงๆ เลย

สวัสดีครับคุณ dakanda

ขอบคุณที่ให้ได้ฉุกคิด...

ตอนแรกกะจะปล่อยไว้ให้ใช้ข้อมูลพิจารณากันเอาเอง..

ลืมไปว่าหลาย ๆ คนไม่มีความรู้พื้นฐานด้านพืชด้านปุ๋ย..(จนถูกหลอกให้หลงเชื่อได้ง่าย)

พอเจอเม้นของคุณเข้า..ฉุกคิด..แล้วตกลงต้องยังไง..??

..คืองี้ครับ..การเจริญของข้าว...แบ่งออกเป็น 2 ช่วงการเจริญ..

1. เจริญทางลำต้น (ตั้งแต่เริ่มงอกถึงจะออกรวง) พืชต้องการธาตุอาหารหลักทั้ง 3 ตัว คือ N-P-K

2. เจริญทางสืบพันธุ์ (ตั้งแต่ตั้งท้องถึงเก็บเกี่ยว) ข้าวจะหยุดการแตกกอ ไม่แตกใบ ไม่แทงรากใหม่

...การใส่ปุ๋ยจึงต้องใส่ให้ถูกต้องตรงกับช่วงระยะการเจริญเติบโตดังกล่าว...คือช่วงที่ 1 ใส่ที่มีธาตุทั้ง 3 ชนิด และช่วงที่ 2 ใส่ปู๋ย 46-0-0 เร่งให้รวงโต..(ห้ามใส่สูตรนี้ก่อนข้าวตั้งท้องเด็ดขาด)

...แต่ที่มีความสับสนคือ..ผลประโยชน์การขายปุ๋ยเข้ามาเกี่ยวข้อง...ผมเห็นว่าผิดวัถุประสงค์ของ G2K จึงลบโพสที่โฆษณาขายปุ๋ยออก..เขาคงโกรธ..ก็ธรรมดา..คนเรามีโลภ โกรด หลงกันได้เนาะ...

..พอจะเข้าใจนะครับ..ที่มาที่ไป..^^

ที่ใส่ปุ๋ยตามที่ผมแนะนำ...ก็ได้ข้าวแบบนี้ครับ..

ซ้ายเยี่ยม..ขวาแย่...

 

เห็นด้วยกับข้อความที่17. ดิชั้นว่าคุณเกษตรอยู่จังหวัดอะไรเนี่ยมั่วแล้วล่ะค่ะ.

สวัสดีค่ะ

อ่านจนจบ...คิดว่าเกือบจะปลูกข้าวได้แล้ว...(แต่ต้องปลูกบนเว็บ...)

ขอบคุณข้อมูลดี ๆ ค่ะ

(^___^)

ตอนเรียนเกษตรอาจารย์ให้คิดสูตรปุ๋ยได้เกรด Aนะ

ตอนนี้ลืมสิ้นแล้ว..

  • สวัสดีครับคนไม่มีราก
  • ปลูกแล้วอย่าลืมเกี่ยวนะครับ..ฮิฮิ..
  • สวัสดีครับคุณครู ป.1
  • เก่งจังครับได้ A เชียว...น่าจะรับสอนพิเศษวิชาเกษตรหลังเลิกงานนะครับ..^^
  • ของกินไม่กินก็เน่า...ของเก่าไม่เล่าก็ลืม...จรอง ๆ นะครับ

ขอแสดงความคิดเห็นเท่าที่มีนะครับ กรณีใส่ 46-0-0 ช่วงรับท้องแล้วได้ข้าวเพิ่มทั้งที่ N บำรุงต้นใบ เหตุผลน่าจะมาจาก ช่วงดังกล่าวข้าวเตรียมโครงสร้างต้นใบสำหรับตั้งท้องตั้งแต่ช่วงแรกแล้ว และในช่วงตั้งท้องข้าวจะหยุดเจริญเติบโตทางลำต้นและใบ ข้าวต้องสร้างพลังงานและใช้พลังงานจำนวนมากเพื่อเก็บสะสมพลังงานในรูปของแป้งไว้ที่เมล็ด N จึงสำคัญในช่วงนี้ เพราะต้องใช้ในการสังเคราะห์แสงเพื่อสร้างพลังงานแล้วเปลี่ยนไปเป็นแป้ง หากไม่มี N ในช่วงนี้ข้าวจะสร้างพลังงานได้น้อยลง การสะสมพลังงานในรูปของแป้งจะลดลง เพราะส่วนใหญ่ในช่วงนี้ข้าวจะไม่มี N จากชาวนาแล้ว เพราะหว่านตั้งแต่ช่วงแตกกอ และ N ก็สลายเร็ว

ดังนั้นการเพิ่ม N ในช่วงสืบพันธุ์ของข้าวน่าจะเป็นผลดีมากกว่าเสีย ขอบคุณครับ

  • สวัสดีครับคุณ เฉลิมชัย [IP: 180.183.33.44]
  • ขอบพระคุณที่ร่วมแสดงความคิดเห็นนะครับ...
  • เพราะผมพูดคนเดียวพอมีคนไม่เชื่อผมจะพูดอีกกี่คำเขาก็จะไม่ฟัง....
  • ต้องให้คนอื่นช่วยให้ข้อเสนอแนะแบบนี้...น่าจะดีกว่า...
  • เกษตรกรจะได้เลือกตัดสินใจได้ถูกต้องขึ้นครับ..
  • ขอบพระคุณอีกครั้งครับ...เที่ยวปีใหม่ให้สนุกและปลอดภัยนะครับ
  • อ๋อ..นาข้าวที่เห็นในความเห็นที่ 22
  • ตอนนี้ได้รางวัลชนะการประกวดในระดับจังหวัด กำลังลุ้นรางวัลระดับประเทศ ก็ใช้ปุ๋ยตามที่แนะนำข้างบนครับ

 

ใส่ 46-0-0 ช่วงข้าวตั้งท้อง กลัวว่าจะออกใบ ออกต้นหมดนะซิ ร่วงจะดีได้ยังไง ก็เมื่อตัวหน้า N มันเร่งต้น เร่งใบ หรือที่ชาวนาเรียกว่า ใบฟะ คือมันออกแต่ใบ เพราะเราใส่ N หรือ ยูเรีย มันไปเร่งการเติบโตทางลำต้น ทางใบ ต้นจะอ่อน อ่วมน้ำ ล้มง่าย เม็ดรีบต่อร่วง วัดกับแปลงที่ใส่ปุ๋ยที่มีตัวท้ายเช่น 16-8-8 ข้าวจะมีน้ำหนักกว่า

คุณไม่แสดงตนเม้นท์ที่ 30 ครับ

รบกวนอ่านคุณไม่แสดงตนอีกคนที่เม้นท์ที่ 28 นะครับ(เลขที่เครื่อง..คนละจังหวัดแน่นอน)

ขอบคุณครับ

ขอบคุณมากครับที่ให้ข้อมูล...ผมเชื่อครับ...เพราะได้นำไปทดสอบและปฏิบัติแล้ว...แตกต่างกันเยอะครับ...และได้แนะนำให้พ่อแม่พี่น้องที่บ้านทำตามคำแนะนำ...บางคนไม่เชื่อ...เขาหาว่าผมพึ่งหัดทำนา...ขนาดแม่ผมก็ยังไม่เชื่อเลยครับ...ก็จริงครับพึ่งปีแรกที่ทำนาด้วยตนเอง...แต่ผมหาข้อมูลครับ...ตอนนี้ตอนข้าวออกรวงแล้วประทับใจมากครับ...แตกต่างจากคนอื่นอย่างเห็นได้ชัด...ชาวนาบางคนมาถามผมว่าใส่ปุ๋ยอะไร...ข้าวถึงรวงใหญ่แท้...ผมก็ตอบเขาไปว่า...ใส่ปุ๋ยให้ถูกสูตร  ถูกที่ ถูกเวลาครับ...ชาวนาแถวบ้านผมชินกับวัฒนธรรมเก่า ๆ  อะไร ๆ ก็สูตร 15-15-15  ตลอด สะสมแนวคิดมา 20 -30 ปี  กลัวการเปลี่ยนแปลง....ไปบอกเขายากครับ...ก็มีคนที่เชื่อผม...เขาทำตามคำแนะนำ...มาชื่นชม...เรียกผมเป็นนักวิชาการเลยครับ...(ปลื้มแท้)ขอบคุณมากครับ

สวัสดีครับคุณ สุภาพชน คนสมถะ [IP: 180.180.33.178]
    ดีใจมาก ๆ ที่ได้ยินแบบนี้ครับ...ยินดีที่ท่านไม่ยึดติดกับสิ่งเดิม ๆ กล้าหาญที่จะออกนอกกรอบ กล้าเปลี่ยนแปลง..จนเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง..
เรื่องข้าวเรียนเท่าไหร่ก้ไม่จบสิ้นหรอกครับ....
จริง ๆ ผมมีสูตรอีหหลายสูตร แต่ก็ยากที่จะเผยแพร่..เพราะบางครั้งวิชาการที่ตีพิมพ์ก็ยังตามไม่ทัน...แต่คนที่กล้าลองเขาประสบผลสำเร็จไปแล้ว..
หวังว่าท่านคงช่วยเป็นแบบอย่างที่ดีให้เพื่อนบ้านต่อไป และได้แลกเปลี่ยนกันอีก..
ถ้าไงรบกวนข้อมูลเพิ่มเติม ทำนาที่ไหน..ขึ้น ทพศ.รึยัง น้ำท่วมไหม 555
ปลื้มที่มีคนเข้าใจ..นำไปใช้แล้วได้ผลครับ....
ภาพข้างล่าง ถอนกล้าจากแปลงเดียวกัน แต่ด้านซ้ายทำแบบเดิม ขวาทำแบบใหม่ครับ..ผลด้านขวาได้ข้าวมากกว่าเท่าตัว แถมชนะประกวดระดับจังหวัดด้วยครับ
 

ผมชาวนารุ่นใหม่ครับ ทำนาปรังในเขตชลประทาน โดยวิธีหว่าน หว่านเสร็จเวลาผ่านไป 20 วัน ปล่อยน้ำเข้านา ปรากฏว่าปู และหอยเชอรี่กัดกินต้นข้าวจำนวนมาก จึงปล่อยน้ำออกจนแห้ง เหลือเฉพาะในร่อง หว่านปุ๋ย 16-20-0 ได้ 1 วัน ปล่อยน้ำเข้านาอีก เขาว่าปุ๋ยจะไหลหนีหมดจริงหรือไม่ครับ ขอความรู้เป็นวิทยาทานด้วยครับ

สวัสดีครับคุณชาวนารุ่นใหม่..

ปกติถ้าหว่านปุ๋ย 1 วันแล้วปล่อยน้ำไหลผ่านปุ๋ยก็คงไหลไปกับน้ำหมด..เกือบหมด..

ยกเว้น..ผมแนะนำสารเสริมประสิทธิภาพปุ๋ยผสมก่อนหว่าน ช่วยพาปุ๋ยลงดิน ลดการสูญเสีย แก้กรดในดิน เร่งรากพืช ข้าวถึงได้งาม อย่างที่เห็นครับ

รายละเอียดลึก ๆ ติดต่อส่วนตัวครับ..^^

อ่านมาหลายข้อมูลครับ ยังสงสัยบางข้อมูล

        -บางข้อมูลให้ใส่ปุ๋ย 46-0-0 ระยะข้าวสร้างรวงอ่อน หรือระยะ กำเนิดช่อดอก หรือเรียกว่า แต่งก่อนท้อง คือใส่ปุ๋ยแต่งหน้าก่อนข้าวท้อง ใส่เพื่อให้ต้นข้าวดูดซึมเก็บสะสมไว้ที่ลำต้นและหน่อของข้าว เมื่อข้าวท้องต้นข้าวสามารถดึงธาตุอาหารมาใช้ ในการเจริญเติบโตของรวงข้าวได้ ซึ่งข้อมูลนี้เป็นข้อมูลของศูนย์เมล็ดพนธุ์ข้าวจังหวัดหนึ่ง ทางตะวันออก เป็นหน่วยงานราชการ ทางศูนย์ยังแนะนำเวลาปุ๋ยช่วงนี้มาด้วย คือให้ใส่ นับถอยหลังจากวันเก็บเกี่ยวที่แน่นอน ลงมา 60 วัน ซึ่งไม่ตรงกับข้อมูลของกระทู้นี้ เพราะกระทู้นี้ให้ใส่ตอนข้าวท้อง คือใส่ตอนข้าวสร้างรวงเส็รจแล้วแต่ยังอยู่ในลำต้น คือ ท้องก่อนแต่ง ส่วนเรื่องชนิดของปุ๋ยให้ข้อมูลตรงกันครับ คือ 46-0-0 ผมก็เลยเกิดข้อสงสัย และมีคำถามดังนี้ครับ

       -การใส่ก่อนหรือหลังข้าวท้องระยะใดให้ประสิทธิภาพและตรงความต้องการของต้นข้าวมากที่สุด..

   ขอข้อมูลเป็นวิทยาทานน่ะครับไม่ได้เข้ามาก่อกวนหรือทดสอบความรู้ใครๆเพราะตัวผมเองก็เพิ่งจะได้มรดกชาวนา มาเมื่อไม่นานมานี้ ทำมาสามฤดูแล้วครับ สอบถามข้อมูลของคนรุ่นเก่าที่ทำมา ก็ไม่ตรงกันซักรายเดียว ซ้ำร้ายบางคนไม่ยอมบอกกันตรงๆให้เราลองผิดลองถูกเอาเอง ก็เลยมาหาข้อมูลเองจากในคอม ก็เจอเว็ปนี้เข้าก็เลยถามเพื่อเพิ่มพูนความรู้ครับ เพราะคิดว่าคงต้องทำไปอีกนาน จนจะไม่มีแรงทำโน่นแหระครับเพราะรู้สึกชอบมาก สนุกกับการหาประสพการณ์ครับ..ขอบคุณครับ..

เหมือนกระทู้ถูกลบไป

ผมได้อ่านข้อมูลการใช้ปุ๋ยแล้วเห็นว่าเป็นประโยชน์มาก จากประสบการณ์การทำนามานานการใส่ปุ๋ยให้ครบท้ัง N-P-K.ในการใส่ปุ๋ยครั้งแรกช่วงข้าว 20-30วันเป็นสิ่งที่ถูกต้องเพราะปุ๋ย k (0-0-60)ต้องใช็เวลาเป็นเดือนในการดูดกินและสะสมในลำต้นเมื่อข้าวตั้งท้องถึงได้นำเอาปุ๋ยที่สะสมมาใช้ การดูดกินปุ๋ย k(0-0-60) จากรากเป็นเพียงส่วนน้อยเท่านั้นหากท่านใดไม่สบายใจกลัวว่าข้าวจะมีปุ๋ยตัว k(0-0-60) ไม่เพียงพอในการใส่ปุ๋ยรอบที่ 2 ห่างจากคร้ังแรกประมาณ30วันให้ใส่ปุ๋ย N (46-0-0)ผสมกับปุ๋ยK(0-0-60)อีกสัก 5กิโลกรัมต่อไร่ (จะเป็นการเพิ่มต้นทุนแต่สบายใจขึ้น) ส่วนท่านที่บอกว่าช่วงข้าวตั้งท้องข้าวจะต้องการปุ๋ย N นั้นผมเห็นด้วยครับแต่จะต้องใส่ให้พอเหมาะด้วยไม่มากจนเกินไปผมใช้ประมาณ 10 กิโลต่อไร่ การใส่ปุ๋ย K ในครั้งแรกจะเป็นการลดอาการของโรคข้าวได้หากข้าวมีอาการเป็นโรคเชื้อรา *เป็นประสบการณ์การทำนาด้วยตัวเองและได้รับการอบรมจากกรมการข้าว หากไม่ถูกต้องก็ต้องขอโทษด้วย

สวัสดีค่ะอยากทราบเกี่ยวกับตัวสารเสริมปุ๋ยสำหรับใส่นาข้าวหอมมะลิ มีตัวไหนแนะนำให้ได้ผลผลิตดีและลดต้นทุนได้บ้างมั้ยคะ

เกษตร(อยู่)จังหวัด

คุณ ชาลิสา ครับ ที่สอบถามเกี่ยวกับตัวสารเสริมปุ๋ยสำหรับใส่นาข้าวหอมมะลิ มีตัวไหนแนะนำให้ได้ผลผลิตดีและลดต้นทุนได้บ้างมั้ยคะ 

พอดีผมลืมรหัสเข้าเวปนี้แล้วนะครับ รบกวนติดต่อทางเมลล์ [email protected] นะครับ หรือเบอร์โทร/ไลน์ 081-0475390 นะครับ 

เกษตร(อยู่)จังหวัด

จริง ๆ แล้วข้าวตั้งท้องก็ต้องการ K นะครับ แต่การใส่ปุ๋ย K ในช่วงข้าวตั้งท้อง(ทางดิน) ข้าวจะดูดซึมไปใช้ไม่ทัน เพราะต้องใช้เวลาประมาณ 22 วัน จึงต้องใส่ปุ๋ย 16-16-8 ในช่วงขาวแตกกอ (หลังปักดำ หรือหว่าน 7-21 วัน) เพื่อให้ข้าวสะสมธาตุ K ไว้ใช้ตอนตั้งท้อง (ตามที่คุณ มนต์ IP: xxx.7.169.49 เขียนเมื่อ 4 ปีที่แล้ว)  

แต่สำหรับท่านที่ต้องการผลผลิตข้าวเพิ่มจริง ๆ ท่านจะต้องใช้ปุ๋ย K ที่มีลักษณะ ดูดซึมได้อย่างรวดเร็ว (ภายใน2ชั่วโมง) ซึ่งรายละเอียดลึกลงไปอีก ท่านจะยอมรับ หรือสับสนเพิ่มนี่(มะลิ 1,300-1,400 กิโลกรัมต่อไร่) 

ท่านที่เชื่อในแนวทางนี้ ก็ คุยกันได้ครับ ยินดีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท