นางเยาวเรศ
นาง นางเยาวเรศ หน่อย ทีปรักพันธ์

คู่มือการตรวจสอบภายในสถานศึกษา:หน่วยงานย่อย 2515


ขอบเขตการตรวจสอบเงินคงเหลือ

           การตรวจสอบเงินคงเหลือในสถานศึกษา เป็นการตรวจสอบตัวเงินสดที่มี เอกสารแทนตัวเงิน เงินฝากธนาคาร และเงินฝากส่วนราชการผู้เบิกว่าถูกต้องตรงกับรายงานเงินคงเหลือประจำวันหรือไม่ มีขั้นตอน ดังนี้

           1. การตรวจนับตัวเงินและเอกสารแทนตัวเงินคงเหลือ เปรียบเทียบกับรายงานเงินคงเหลือประจำวัน

           2. การตรวจสอบเงินฝากธนาคาร โดย

               - เปรียบเทียบสมุดคู่ฝากธนาคาร ทะเบียนคุมเงินฝากธนาคารประเภทกระแสรายวันกับรายงานเงินคงเหลือฯ

                - ตรวจสอบความถูกต้องของทะเบียนคุมเงินฝากธนาคารประเภทกระแสรายวัน

            3. การตรวจสอบเงินฝากส่วนราชการผู้เบิกของสถานศึกษา โดย

                - ตรวจเก็บข้อมูลการนำฝากจาก สพท.

                - ตรวจสอบยอดเงินคงเหลือของสมุดคู่ฝากส่วนราชการผู้เบิก เปรียบเทียบกับรายงานเงินคงเหลือฯ และข้อมูลที่เก็บจาก สพท.

                 - ตรวจสอบความถูกต้องของสมุดคู่ฝากส่วนราชการผู้เบิก

             4. การตรวจสอบการจัดทำรายงานเงินคงเหลือประจำวัน เพื่อให้ทราบว่าสถานศึกษาจัดทำไว้ถูกต้องตามที่ระเบียบกำหนด

             5. การตรวจสอบกระทบตัวเงิน เอกสารแทนตัวเงิน เงินฝากธนาคาร และเงินฝากส่วนราชการผู้เบิก กับทะเบียนคุมเงินทุกประเภทที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ทราบว่า ยอดคงเหลือของเงินแต่ละประเภทตามบัญชีอยู่ในสภาพของเงินประเภทใดบ้าง

แนวคิดและการประยุกต์ใช้  สามารถนำมาสร้างเครื่องมือในการตรวจสอบและตรวจสอบได้ถูกต้องตามขอบเขตการตรวจสอบ

หมายเลขบันทึก: 148342เขียนเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2007 09:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 พฤษภาคม 2012 20:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท