สถาบันจัดการความรู้เพื่อชุมชน


สถาบันจัดการความรู้เพื่อชุมชน มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ถ้าไม่มีอะไรทำ ทำไม่ได้เรื่อง หรือทำคนละเรื่องสถาบันก็ฝ่อไปเอง เช่นเดียวกับสถาบันทางสังคมทั้งหลายที่กลายเป็นสิ่งชำรุดทางประวัติศาสตร์ด้วยเหตุดังกล่าวข้างต้น

สถาบันจัดการความรู้เพื่อชุมชน มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็นสถาบันที่ตั้งขึ้นเองหลังจากมีแนวทางการทำงาน มีรูปธรรมการทำงานและมีผลงานที่ค่อนข้างชัดเจนแล้ว

จะตั้งชื่ออะไรก็ได้แต่จะทำให้คนยอมรับได้ก็ต้องมีผลงานที่มาจากความคิด ความตั้งใจในการทำงานที่ชัดเจนต่อเนื่องเพียงพอแล้ว

ถ้าไม่มีอะไรทำ ทำไม่ได้เรื่อง หรือทำคนละเรื่องสถาบันก็ฝ่อไปเอง เช่นเดียวกับสถาบันทางสังคมทั้งหลายที่กลายเป็นสิ่งชำรุดทางประวัติศาสตร์ด้วยเหตุดังกล่าวข้างต้น

สถาบันที่ผมตั้งขึ้นก็เช่นกัน ไม่มีข้อยกเว้นครับ

สถาบันจะเริ่มเปิดตัวด้วยงาน "จัดการความรู้แก้จนเมืองนคร" ด้วยการ รับสมัครภาคีที่สนใจทั้งบุคคล  หน่วยงานและองค์กร เพื่อร่วมทำงานสนับสนุนทางวิชาการด้านการจัดการความรู้แก้จนเมืองนคร

ภาคีที่สนใจ

๑)ขอให้เข้าไปอ่านรายละเอียด แนวความคิดการจัดการความรู้แก้จนเมืองนครในBlogนี้ และในBlogของ อ.วิจารณ์ พานิช ตอนห้องเรียนKMเมืองนครในงานมหกรรมจัดการความรู้

๒)บอกเล่าความสนใจ ประสบการณ์การทำงานของตนเองและองค์กร(Vision Mission และยุทธศาสตร์การทำงาน) โดยเล่าตัวอย่างให้เห็นภาพกระบวนการทำงานและเนื้อหางานที่ได้ด้วย

ผมจะขึ้น list รายชื่อบุคคล หน่วยงาน/องค์กรที่เข้าร่วมโครงการและเข้ามามีส่วนร่วมอย่างจริงจัง เพื่อจะทำAARตอนสิ้นสุดโครงการ ซึ่งผมตั้งไว้ 3 ปี  (เพื่อประกาศตัว      สนับสนุนความตั้งใจอย่างมุ่งมั่นของท่านผู้ว่าฯและน้ายงค์ที่จะพัฒนาเมืองนคร)

ตอนนี้ ผู้ใหญ่โกเมศร์ ทองบุญชู ซึ่งดูแลแผนแม่บทชุมชน165ตำบลในจังหวัดนครศรีธรรมราชโดยการสนับสนุนของศตจ. แจ้งความจำนงมาเป็นรายแรกแล้ว ผมนัดให้มาร่วมประชุมวันที่ 21 ก.พ.นี้ที่ศาลากลางจังหวัด เพื่อรับทราบแนวคิดของโครงการนี้ เพื่อสร้างความร่วมมืออย่างเหนียวแน่นร่วมกันต่อไป

วันที่ 21 ก.พ.จะมีการประชุมคณะทำงานโครงการนี้ทั้งระดับจังหวัดและอำเภอในคราวเดียวกัน ผมรู้ว่าโครงสร้างและระบบการทำงานที่ทำซ้ำต่อเนื่องจนกลายเป็นวัฒนธรรม สั่งการ/รับทราบ มากกว่าการเรียนรู้เพื่อคิดค้น พัฒนาเปลี่ยนแปลงของระบบราชการ     ซึ่งผมเคยเขียนวิเคราะห์ลงในมติชนรายวันชื่อ "ปฏิรูปรัฐราชการ"ไว้นานแล้ว(มี.ค. ๒๕๔๕)จะยังคงเป็นเช่นนั้น แต่ความเข้าใจที่ไม่ซ้ำเติมหรือท้อแท้ต่างหากที่จะสามารถปรับเปลี่ยนให้อะไรดีขึ้นได้

ขอเชิญชวนภาคีที่สนใจแจ้งความจำนงเข้าร่วมขบวนการฟื้นฟูระบบป้องกันตนเองที่ต้องทำพร้อมๆกันในครั้งนี้ด้วยครับ

(ทำประกาศเชิญชวนคล้ายกับการเชิญชวนไปชุมนุมขับไล่ใครบางคนนั่นแหละครับ     แต่คนเข้าร่วมงานนี้ดูท่าจะเรียนรู้กันนานหน่อย ต้องวางใจว่าเล่นเกมยาวครับ)

หมายเลขบันทึก: 14812เขียนเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2006 16:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ผมอ่านคำสั่งของ ผวจ. แล้ว    มีความเห็นว่าภายใน มวล. ต้องทำงานเรื่องนี้แบบที่เป็นทีมเดียวกัน   ให้คนภายนอกรู้ว่ามีการจัดการอย่างดีภายในองค์กร    อย่าให้ภายนอกสับสนนะครับ    การร่วมมือระดับนี้อธิการบดีต้องเข้ามาจัดระบบภายใน มวล. ครับ    จะปล่อยให้ต่างคนต่างทำไม่ได้    ทาง สคส. จะติดต่อกับท่านอธิการบดีหรือผู้ได้รับมอบหมายโดยตรงครับ จะไม่ติดต่อแบบมั่ว

วิจารณ์ พานิช

แร้วมีไว้ดักกระต่าย เมื่อจับได้แล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องใช้

การจัดการความรู้ภายในองค์กร-ภายในวลัยลักษณ์ เมื่อมีผู้รับผิดชอบดำเนินการแล้วก็หมดหน้าที่แล้ว ยิ่งมีการขยายเป็นแบบอย่างสู่ภายนอกยิ่งเป็นเรื่องดี ก็ติดตามข่าวด้วยมุทิตาจิตเสมอ

บทบาทที่ผมสนใจคือการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนและประชาสังคม

ในความหมายอย่างกว้าง องค์กรภาครัฐก็เป็นภาคประชาสังคมด้วย แต่จุดเน้นสำคัญคือ ภาคชุมชน ซึ่งควรจะเป็นเป้าหมาย   แต่กลายเป็นเครื่องมือของภาคส่วนต่างๆ ไม่อยากให้ใช้การจัดการความรู้เพื่อไปสู่ความสำเร็จของตนเองเช่นที่ภาคธุรกิจดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน

ผมไม่มีอำนาจในฐานะผู้บริหาร ถ้าจะมีก็เป็นความรู้และความตั้งใจเท่านั้น หลักจัดการความรู้ของผมคือ
1)มรรคแปด(คนสนใจKMต้องทำเป็นการส่วนตัว)
2)ทิศหก(คนสนใจKMต้องรู้จักทิศของตัวเองและทำกับทิศ   รอบตัวให้ถูกต้อง)
3)ทิฏฐิและศีลเสมอกัน(ขยายข้อ1และ2 คนสนใจKMต้องมีทิฏฐิในข้อ1และมีศีลคือข้อปฏิบัติในการอยู่ร่วมกันอย่างปกติตามบทบาทหน้าที่-ทิศของตนและรอบข้าง)

การจัดการความรู้จึงเป็นการทำงานเรื่องความรู้ที่ต้องมองตนเองจากภายในซึ่งทำได้ไม่ง่ายนัก
เพราะหากจัดการไม่ดี จะกลายเป็นความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด

จัดการความรู้คือ มีความรู้ที่เอาตัวรอดได้ จะรอดขนาดไหนก็ต้องวินิจฉัยกันเอาเอง ถ้าพูดตามภาษาธุรกิจก็ตามเป้าหมาย    ที่ตั้งไว้นั่นแหละครับ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท