สัตตศิลา (ตอนที่ ๓ จากวิจัยสู่โรงเรียน)


                ในวันนี้ มีโรงเรียน ๓ โรงเรียน ๑ มหาวิทยาลัยมาเล่าเรื่องความสำเร็จ ของการนำหลักสัตตศิลา ไปทดลองใช้ โรงเรียนระดับประถมศึกษา คือ โรงเรียนวัดเสาหิน โรงเรียนมัธยมคือโรงเรียนเฉลิมขวัญสตรี และมหาวิทยาลัยนเรศวร

                โรงเรียนวัดเสาหินนั้นอยู่ไม่ไกลจากมหาวิทยาลัยนเรศวรมากนัก นายอภิศักดิ์ ฟองจางวาง ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดเสาหินเล่าให้ฟังว่า โรงเรียนเป็นโรงเรียนที่กล้าอาสา กล้าทดลอง มีอะไรใหม่มา เสาหินรับ ผลที่ได้คือ ด้านผู้เรียน นักเรียน เกิด ๔ ร.อย่างถาวร

              การนำหลักสัตตศิลามาใช้ ส่งผลดีด้านการพัฒนาครู ด้านครูผู้บริหาร ครูวิจัยเป็น ครูสามารถส่งผลงานคศ.  ปัจจุบัน โรงเรียนวัดเสาหินมีครูอยู่ ๗ คนมีครูที่ร่วมวิจัย นำผลงานการทดลองใช้ และเก็บข้อมูล ส่งขอผลงาน ครู คศ. ๓ คศ ๔ 

              ประโยชน์ด้านการบริหาร โรงเรียนวัดเสาหิน ได้รับรางวัลมากมาย ได้ห้องสมุด ได้คอมพิวเตอร์มากมาย คณะครูไม่เคยรับโบนัส ครูมอบโบนัสให้กับโรงเรียน ให้กับนักเรียน

              ด้านเครือข่าย การเข้าร่วมเครือข่ายทำให้ โรงเรียน มีเครือข่าย กับ จุฬา ม.นเรศวร อบต. ชุมชน เขตพื้นที่

              ด้านผู้เรียนนักเรียนวัดเสาหิน มีความเรียบร้อย ชอบเรียนรู้  นักเรียนคิดเองทำเอง การเรียนแบบ Fun Find Focus Fullfilment ทำให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ สนุกกับการเรียนรู้

           ครู ติ้ง(นางเบญจา  พูลเกษร)

ครูติ้ง

  ครู คศ. 4 วัดเสาหิน เป็น อาจารย์ ระดับ 9 วัดเสาหิน
ครูติ้งใช้วิธีพัฒนาผู้เรียน โดยใช้ตลาดนัดวิชา ให้ผู้เรียน เรียนตามอิสระเสรี เลือกว่าจะเรียน แบบ C แบบ R หรือแบบ P  การเรียนรู้สารสนเทศ ไม่ใช่การใช้ไอที แต่เป็นการเรียนว่าผู้เรียนจะหา ความรู้ได้อย่างไร เรียน ทำกิจกรรม แล้วเขียน เป็นบันทึกไว้ สามารถนำมาเป็นผลงานได้ ปัจจุบันครูติ้งย้ายไปสอนวัดจันทร์ตะวันออก

ครูติ้งกล่าวว่า "อย่าทำเรื่องง่ายให้เป็นเรื่องยาก แต่ให้ทำให้เป็นเรื่องง่าย "

ส่วนโรงเรียนเฉลิมขวัญสตรี  ดร.สุมนา พุ่มประพาฬ ผู้อำนวยการโรงเรียน เล่าให้ที่ประชุมฟังว่า

            เข้าร่วมกับกับการวิจัยจุฬา ผู้บริหารต้องศึกษา ๗ หลักว่าคืออะไร จะนำมาใช้ในการบริหารโรงเรียนเราอย่างไร การบริหารการจัดการ MSPA เป็นตัวขับเคลื่อน เติมเต็ม การบริหารการจัดการ ใช้ CRP เป็นตัวขับเคลื่อนการเรียนรู้ การจัดการเรียนการสอน ส่วนตัวอื่นๆ เป็นองค์ประกอบ

               แต่ที่สำคัญที่สุดคือองค์ประกอบที่ ๑
            โรงเรียนประกาศเปลี่ยนเป้าหมายของโรงเรียน คือมี ๔ มิติ ๔ ร.
              ทีมในการบริหารโรงเรียน สำคัญที่สุด ต้องแม่น การนำหลักสัตตศิลาเข้าไปใช้โดยจุฬาเป็นพี่เลี้ยง พบว่าการเรียนรู้ โรงเรียนและผู้เรียนมีคุณภาพอย่างเห็นได้ชัด โรงเรียนเฉลิมขวัญสตรี ต่อยอดด้วยการนำหลักสัตตศิลา เป็นพื้นฐานในการบริหารงาน จนโรงเรียนได้รับรางวัล Best of The Best ของ สพฐ.


               คุณครูมีผลกระทบมากตอนนี้ คือ เรื่อง Backward Design  ที่โรงเรียนเฉลิมขวัญสตรี นำเรื่อง Backward Design ซึ่งก็คือการออกแบบการเรียนรู้มาใช้  แล้วไปเชื่อมต่อกับ CRP สุดท้ายให้ผู้เรียนเกิด ๔ ร.


                ผอ.นวลจันทร์ โรงเรียนนี้มีเด็กออทิสติก ๑๗ กว่าคน จากนักเรียน ๑๕๑ อายุเฉลี่ยครู ๕๑ ปี โรงเรียนนี้คือโรงเรียนบ้านวังสาร ผอ.นวลจันทร์กล่าวว่า ๗ หลัก ไม่ใช่เรื่องเหลือบ่ากว่าแรง แต่ทำอย่างไรจะให้ครูมีส่วนร่วม ที่สำคัญผู้บริหารใช้ความจริงใจ

                   เริ่มจากหลักแรก ผู้เรียนที่พึงประสงค์ เรื่องของหลักสูตรบูรณาการ ยอดเยี่ยมมาก โรงเรียนที่ดีมีคุณภาพต้องเป็นโรงเรียนที่ไม่มีห้องเรียนเดียวดาย ทำอย่างไร จัดหลักสูตรอย่างไรไม่มีห้องเรียนเดียวดาย หลักสูตร ฟัน ฟาย โฟกัส ผอ.นวลจันทร์ชวนครูโรงเรียนไปเยี่ยมโรงเรียนสาธิตจุฬา ใครมีเด็กหนีเรียน ใช้ฟัน ฟาย โฟกัส ปรับพฤติกรรมนักเรียน ให้กลับมาเรียน
 

               ผอ.นวลจันทร์เล่าให้ฟังว่า ที่โรงเรียนคุณครูทำโครงการหนังสือพิมพ์เล่มละบาท เอาหนังสือพิมพ์เก่ามาทำเป็นหนังสือพิมพ์ในความคิด และสำนวนของนักเรียนเอง ซึ่งนักเรียนชอบวิธีการเรียนแบบนี้มาก

              ผอ.ใช้วิธี ถามนักเรียน ว่าชอบวิธีการสอนแบบไหน ให้นักเรียนปรบมือให้กับวิธีการสอนของครูคนนั้น ผลปรากฏว่า วิธีสอนของครูธีระ เป็นวิธีที่นักเรียนชอบ เสียงปรบมือ ซึ่งม่มีค่ามีราคาค่าใช้จ่ายอะไร แต่เสียงปรบมือช่วยกระตุ้นวิญญาณ ความเป็นครูของครูธีระให้เกิดขึ้น เกิดความภาคภูมใจจากการเรียนการสอน

             การมีส่วนร่วมของผุ้ปกครองเป็นส่วนสำคัญในการสร้างความสำเร็จ ผู้ปกครองชาวบ้านหัวโบราณ ภายใต้เสื้อผ้าที่มอมแมมของเขา แต่เค้ารักลูกเค้า เค้าร่วมได้เท่าไรก็ให้เค้าเข้าร่วม

            ที่โรงเรียนโรงเรียนบ้านวังสาร ไม่ได้มีเงินทองมากมาย การมอบ รางวัลการเขียนเรื่องเล่าของนักเรียน ที่โรงเรียนให้รางวัลเป็นหมูยอ เป็นกุนเชียง พอเด็กได้รับไปกินดิบๆ ไม่ได้ ต้องเอาไปให้พ่อแม่ พ่อแม่ก็มีส่วนร่วมส่งเสริมให้เด็กๆ รักการอ่าน เพราะรางวัลที่เหมือนไม่มีราคา แต่เป็นรางวัลที่ได้จากเรื่องพื้นฐาน เรื่องอาหารการกิน ที่สำคัญเป็นรางวัลที่ถึงมือผู้ปกครอง ทำให้ผู้ปกครอบเห็นความสำคัญของการอ่าน การเรียน

              การส่งเสริม ชื่นชู การให้เกียรติ ให้โอกาส ทำให้พิษณุ นักเรียนที่เป็นออทิสติก ที่ถูกดูถูก ถูกเย้ยหยัน ทำให้พิษณุไม่หนีเรียน

         หมายเหตุ หากมีเวลา จะมาขยายความให้ครบถ้วนอีกครั้ง

            รายงานสดจากการประชุมเชิงปฏิบัติการ การเปลี่ยนผ่านการศึกษา "สัตตศิลา " จากโรงละครมหาวิทยาลัยนเรศวร จ.พิษณุโลก

หมายเลขบันทึก: 147923เขียนเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2007 15:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 พฤษภาคม 2012 11:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
  • ดีจังเลยครับ
  • การวิจัยแบบนี้จะเกิดประโยชน์แก่ครูอาจารย์
  • อยากให้อาจารย์ ดร. หนึ่งรายงานมาเรื่อยๆๆครับผม
  • ตามมาติดๆคะ
  • อืม นี่สิคะดีและเป็นประโยชน์
  • อยากได้งานวิจัยที่เป็นประโยชน์ทั้งครู เด็ก และชุมชนจริงๆ นะคะ

สวัสดีค่ะอ. หนึ่ง หนูสนใจงานวิจัยเรื่องนี้มากค่ะ แต่ที่ทราบก็เพียงว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องใหม่ ที่กำลังแพร่กระจายและนำไปปรับใช้กับสถานศึกษาหลายแห่ง และเช่นเดียวกันกับหนูค่ะ ที่หนูอยากนำหลักสัตตศิลา มาประยุกต์ใช้กับรายวิชาภาษาอังกฤษที่หนูสอนนักศึกษาอยู่ในตอนนี้

หวังว่าหนูจะขอรบกวนอ.ให้ปรึกษา หรือแนะนำเรื่องราวดีๆผ่านเว็บไซต์นี้ด้วยนะคะ ขอบคุณมากค่ะ

สวัสดีค่ะ..

  • ยอดเยี่ยมค่ะ
  • เป็นเรื่องราวที่ดีมากค่ะ..งานวิจัย..การใช้หลักสัตตศิลา
  • อาจารย์เขียนต่อนะคะ

ดีจังเลยนะครับ พอได้อ่านวิธีการเรียนแบบสัตตศิลา อยากให้โรงเรียนทั่วประเทศมีผู้บริหารที่มีความรู้และความสามารถอย่างท่านอาจารย์ทั้ง 3โรงเรียน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท