ยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขจังหวัดนครศรีธรรมราช


แต่ละอำเภอคัดเลือกหมู่บ้านต้นแบบการเรียนรู้อำเภอละ 2 หมู่บ้าน

วันนี้มีการประชุมจังหวัดเพื่อชี้แจงแนวทางการดำเนินโครงการภายใต้แผนงานยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขระดับจังหวัดประจำปีงบประมาณ2551

เริ่มด้วย
1)รายงานผลการดำเนินงานปีที่แล้ว

2)สรุปผลการติดตามประเมินผล
3)แนวทางการดำเนินโครงการภายใต้แผนงานยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขระดับจังหวัดประจำปีงบประมาณ2551

4)ข้อเสนอวิสัยทัศน์ยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขระดับจังหวัดปี2551-2553

เนื่องจากการดำเนินงานในปี2550 เป็นไปอย่างเร่งรีบ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมดจึงขาดความเข้าใจในหลักคิดและกระบวนการ ผมขอไม่เล่ารายละเอียดปัญหาที่พบ ซึ่งคงจะพบเจอกันอีก

ปี2551 ถือว่าเริ่มงานกันตั้งแต่ต้นปี น่าจะเตรียมการกันได้ดีขึ้น โดยสรุปคือ

งบอยู่ดีมีสุขรัฐบาลตั้งไว้15,000ล้านบาท รอบแรกจำนวน10,000ล้านบาท นครศรีธรรมราชได้มาตามเกณฑ์4ข้อและจัดสรรลงอำเภอคือ

1)เท่ากันทุกอำเภอ 50%

2)ตามสัดส่วนคนจน 10%

3)ผกผันกับรายได้ต่อครัวเรือน 15%

4)ตามจำนวนประชากร 25%

รวมจำนวน207ล้านบาท

ให้หมู่บ้าน/ชุมชนเป็นหน่วยดำเนินการตามกรอบ5เรื่องคือ

1)สร้างการเรียนรู้และความสามารถในการจัดการชุมชน

2)กำหนดตำแหน่งการพัฒนาอาชีพของชุมชนภายใต้ระบบและกลไกตลาด

3)พัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน

4)สนับสนุนชุมชนให้มีบทบาทรองรับความอ่อนแอของครอบครัวไทย

5)ดูแลความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธณรมชาติและสิ่งแวดล้อมของชุมชน

งบ5,000ล้านบาทแบ่งเป็น2ส่วน คือ

9%จำนวน1,350ล้านบาท สำหรับยุทธศาสตร์จังหวัดที่เสนอมาแข่งกัน จังหวัดตั้งทีมรับผิดชอบโดยคณะคุณอำนวยจังหวัดในโครงการชุมชนอินทรีย์ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์หลักของจังหวัด

1%จำนวน150ล้านบาท เป็นงบอำนวยการ

งบจัดสรรจำนวน207ล้านบาท แบ่งเป็น2รอบๆแรก156ล้าน

(ถ้าจำไม่ผิด)

ให้หมู่บ้านจัดระดับการพัฒนา(เกณฑ์ของพช.?)เป็นA B C
หมู่บ้าน
A B เสนอโครงการ/กิจกรรมด้วยงบ 80%ในรอบแรก รอบสอง 20%

หมู่บ้าน C จัดกระบวนการเรียนรู้ด้วยงบ 20% ในรอบแรก รอบสองเป็นงบกิจกรรม 80%

ให้แต่ละอำเภอคัดเลือกหมู่บ้านต้นแบบการเรียนรู้อำเภอละ 2 หมู่บ้าน

โดยว่าราชการจังหวัดจะลงตรวจเยี่ยมพื้นที่ต้นแบบก่อน

เกณียณราชการในเดือนกันยายน2551นี้

คำสำคัญ (Tags): #อยู่ดีมีสุข
หมายเลขบันทึก: 147917เขียนเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2007 14:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 21:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

การดำเนินงานของผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นสิ่งที่ดี การดำเนินการจำเป็นต้องมีการบูรณาการในพื้นที่กันอย่างจริงใจ งบประมาณ ทุกอย่างมองเห็นประโยชน์เพื่อส่วนรวมเป็นหลัก การขาดความเชื่อมโยงในแต่ละปีของผู้นำผู้บริหารระดับจังหวัดของหนวยงานต้นสังกัดกรณีมีการเปลี่ยนแปลงผู้บริหาร ทำให้แนวคิดการดำเนินงานในพืนที่ปรับเปลี่ยน ก็จะส่งผลให้พื้นที่หมู่บ้านใหม่ล่าสุดชงักการดำเนินการ ทำให้การเชื่อมต่อกิจกรรมขาดช่วงในพื้นที่ได้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท