KM จังหวัดน่าน


KM จังหวัดน่าน

         ผมได้รับหนังสือด่วนที่สุด  ลงวันที่ 27 ม.ค.49   จาก ผวจ. น่าน   แจ้งเรื่องแต่งตั้งทีมจัดการความรู้  จังหวัดน่าน   โดยมี นพ. ชาตรี  เจริญศิริ เป็นหัวหน้า KM Team   และมีผมร่วมอยู่ในคณะที่ปรึกษาด้วย  

         ในเอกสาร "คำรับรองการปฏิบัติราชการ ปีงบประมาณ 2549  ด้านการพัฒนาและจัดการความรู้ในองค์กร  จังหวัดน่าน"   ระบุประเด็นสำคัญดังนี้

ขอบเขต KM (KM Focus Area)
         ขอบเขต KM (KM Focus Area) ที่สนับสนุนประเด็นยุทธศาสตร์ทั้งหมดประกอบด้วย
 1. ความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์ทรัพยากรธรรมชาติในจังหวัดน่าน  ด้านป่าไม้
 2. ความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์ทรัพยากรธรรมชาติในจังหวัดน่าน  ด้านปริมาณน้ำและคุณภาพน้ำ
 3. ความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์ปัญหาขยะ  และการจัดการขยะ
 4. ความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมของจังหวัดน่าน   เพื่อดำเนินการอนุรักษ์  ฟื้นฟู  สร้างคุณค่าเพิ่มและสร้างเศรษฐกิจระดับฐานรากที่อิงวัฒนธรรมให้ชุมชนได้มาซึ่งรายได้อย่างยั่งยืนและเตรียมความพร้อมในการนำคุณค่าสู่สากล


ขอบเขต KM (KM Focus Area) ที่จะเลือกดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในงบประมาณประจำปี พ.ศ.2549 (ได้คะแนนสูงสุด) คือ ....ความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมของจังหวัดน่าน   เพื่อดำเนินการอนุรักษ์  ฟื้นฟู  สร้างคุณค่าเพิ่มและสร้างเศรษฐกิจระดับฐานรากที่อิงวัฒนธรรมให้ชุมชนได้มาซึ่งรายได้อย่างยั่งยืนและเตรียมความพร้อมในการนำคุณค่าสู่สากล


เป้าหมาย KM (Desired State)
         เป้าหมาย KM (Desired State) ทั้งหมดที่สอดรับกับขอบเขต KM ที่จะเลือกดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในงบประมาณประจำปี พ.ศ.2549  ประกอบด้วย
 1. องค์ความรู้ด้านวัฒนธรรมซึ่งบ่งบอกเอกลักษณ์น่านได้ถูกประมวลไว้ให้ทุกหน่วยงานนำไปสร้างคุณค่าเพิ่ม  โดยการทำการตลาดแบบบูรณาการ (IMC)
 2. เกิดระบบเศรษฐกิจระดับฐานรากที่อิงวัฒนธรรมทำให้ชุมชนได้มาซึ่งรายได้อย่างยั่งยืน  เช่น  หมู่บ้านหัตถกรรม
 3. มีการสำรวจ  รวบรวม  ค้นคว้า  วิจัยหลักฐานทางโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์เพื่อประกอบการขอขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก

เป้าหมาย KM (Desired State) เพียงเป้าหมายเดียวที่ทีมงานจะเลือกดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในงบประมาณ พ.ศ.2549 คือ...องค์ความรู้ด้านวัฒนธรรมซึ่งบ่งบอกเอกลักษณ์น่านได้ถูกประมวลไว้ให้ทุกหน่วยงานนำไปสร้างคุณค่าเพิ่ม  โดยการทำการตลาดแบบบูรณาการ (IMC)


ปัจจัยแห่งความสำเร็จ (Key Success Factor)
         ปัจจัยแห่งความสำเร็จ (Key Success Factor) เพื่อให้ดำเนินการจัดการความรู้ตามเป้าหมาย KM ที่เลือกทำ   สามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรมภายในองค์กรคือ
 1. จัดตั้งทีมงานที่ทำงานบูรณาการด้านรวบรวม  ประมวล  สร้างความรู้ด้านวัฒนธรรม
 2. มีการพัฒนาทักษะการเป็น K Facilitator
 3. การเสาะหาและยึดกุมความรู้ (K Capture) โดยเฉพาะความรู้ฝังลึกในคน (Tacit K)
 4. มีการบันทึกข้อมูล  ความรู้ให้อยู่ในรูปแบบความรู้ที่เปิดเผย (Explicit K)
 5. มีการกระจายและแลกเปลี่ยนความรู้ (K Disemination and K Sharing) ทั้งนี้ต้องให้ความเคารพแหล่งความรู้หรือบุคคลที่ให้ความรู้นั้น   โดยระบุชื่อคนหรือแหล่งความรู้
 6. มีการนำความรู้ไปใช้ (K Utilization) โดยเฉพาะประกอบการตัดสินใจ
  7. ประยุกต์วงจร Plan-Do-Check-Act ของ Deming มาใช้จนเป็นนิสัย
 8. สร้างระบบคุณค่าและรางวัลแก่บุคคลและหน่วยงานที่ใช้ KM สร้างคุณประโยชน์แก่ชุมชน  จังหวัดน่านและประเทศ

ผมให้ความเห็นในฐานะที่ปรึกษา 2 ประเด็น  ดังนี้
(1) การแต่งตั้ง นพ. ชาตรี  เจริญศิริ เป็นหัวหน้า KM Team มีความเหมาะสมอย่างยิ่ง
(2) ความเสี่ยงของ KM จังหวัดน่าน   ก็คือการที่ KM จะเป็นภาระงานอีกชิ้นหนึ่งที่เพิ่มงาน   เพิ่มความยากลำบากให้แก่ข้าราชการและเจ้าหน้าที่   โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดทำรายงานเพื่อการประเมิน   หาก KM จังหวัดน่านอยู่ในสภาพนี้ก็จะล้มเหลว   สภาพที่จะประสบความสำเร็จคือ KM เข้าไปเนียนอยู่ในเนื้องาน   ช่วยส่งเสริมให้งานประสบความสำเร็จอย่างมีคุณภาพสูง

วิจารณ์  พานิช
 7 ก.พ.49


 

หมายเลขบันทึก: 14782เขียนเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2006 14:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบพระคุณท่านอาจารย์เป็นอย่างยิ่งที่ชี้แนะ

จะเนียนหรือไม่เนียนนั้น ทีมเราคุยกันแล้วว่าจะทำ KM แบบสองเท้าติดดิน คือ ไม่เขย่งทำ และจะโยงสู่การตัดสินใจในประเด็นที่เกี่ยวข้อง ทำแบบค่อยๆ ลามไปจนหลายคนคุ้นชินครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท