เหมือนหรือต่าง ระหว่าง Wisdom กับ Intuition?


ตกลงสรุปว่าตามความเข้าใจของผม Wisdom ไม่เหมือนกับ intuition ครับ

        ในบันทึกที่แล้ว คุณ zmen ถามมาว่า แล้ว Wisdom นี่ใช่อันเดียวกันกับ intuition หรือเปล่าครับ? ก่อนตอบก็คงต้องเตือนกันอีกทีนะครับเรื่อง ข้อจำกัด ของการสื่อสารกันด้วย ถ้อยคำ ภาษา ว่ามีโอกาสที่จะทำให้เราเข้าใจกันไปได้ต่างๆ นานา ขึ้นอยู่กับว่าเราจะ ตีความ ถ้อยคำ (ข้อความ) ที่ได้รับมานี้อย่างไร

        สำหรับผมคำว่า “Wisdom” ก็คือ ปัญญา ที่มีความหมายตามที่ได้อธิบายไปในบันทึกที่แล้ว ซึ่งคำนี้บางคนก็ตีความแตกต่างกันไป บ้างก็ให้ความหมายที่โน้มเอียงไปในเชิงของปัญญา ทางโลก สำหรับคำว่า “intuition” นั้น ในภาษาไทยมีใช้กันอยู่หลายคำครับ ที่เห็นกันเป็นประจำก็ได้แก่คำว่า การหยั่งรู้หรือญาณทัสสนะ แต่ที่ผมใช้ตอนแปลหนังสือที่ชื่อว่า “intuition: knowing beyond logic” ของ osho นั้น ผมใช้คำว่า ปัญญาญาณ ซึ่งท่านอาจารย์วิศิษฐ์ วังวิญญู ได้เรียกตามอาการที่เกิดขึ้นว่าเป็นการรู้แบบ ปิ๊งแว้บ

        ในหนังสือชื่อ ไอน์สไตน์พบ พระพุทธเจ้าเห็น ของ ทันตแพทย์สม สุจีรา หน้า 121 เขียนไว้ตอนหนึ่งว่า . . . การหยั่งรู้เกิดจากปัญญาญาณ ไม่ได้เกิดจากการคิด การคิดเป็นเรื่องของสมอง แต่การหยั่งรู้เป็นปรากฏการณ์ที่ผุดขึ้นมาผ่านช่องทางหรือสภาวะที่เรียกกันว่าสมาธิ . . . นอกจากนั้นท่านยังได้บอกอีกด้วยว่ากฎและทฤษฎีที่ยิ่งใหญ่มักจะได้มาจากการหยั่งรู้เป็นส่วนใหญ่ ตัวอย่างเช่น อาร์คิมีดีสคิดกฎของเขาได้ในตอนที่ปล่อยกายปล่อยใจให้สบาย (หลังจากคิดมาอย่างหนัก) คิด (รู้) ได้ตอนที่กำลังหย่อนตัวลงในอ่างน้ำที่มีน้ำเต็ม หรือกฎของนิวตันที่ผุดขึ้นมาในขณะที่นิวตันนั่งเล่นอยู่ใต้ต้นแอ๊ปเปิล เป็นต้น

        ตกลงสรุปว่าตามความเข้าใจของผม Wisdom ไม่เหมือนกับ intuition ครับ . . . แต่ผมอาจจะเข้าใจผิดก็ได้!!

หมายเลขบันทึก: 147730เขียนเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2007 21:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 11:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท