การพัฒนาชุดกิจกรรมฝึกการอ่านจับใจความ เพื่อส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน สำหรับนักเรียนชั้นป.๑


ชุดกิจกรรม,อ่านจับใจความ,นิสัยรักการอ่าน

 ผลงาน การพัฒนาชุดกิจกรรมฝึกการอ่านจับใจความ เพื่อส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน สาระการเรียนรู้ภาษาไทย   สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑   

 เจ้าของผลงาน นางธันย์ชนก  แดนโพธิ์   ครูคศ. ๒ 

 โรงเรียนบ้านร่องฟอง ศูนย์เครือข่ายหลักเมือง สพท.แพร่ เขต ๑

 

ความเป็นมา         จากการวิจัยสภาพชั้นเรียน ปัญหา  สาเหตุและนวัตกรรมแก้ปัญหาการเรียนรู้ภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่๑ โรงเรียนบ้านร่องฟอง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาแพร่  เขต๑  ภาคเรียนที่๑ปีการศึกษา๒๕๕๐ (ธันย์ชนก แดนโพธิ์.การวิจัยสภาพชั้นเรียน,สาเหตุและนวัตกรรมกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่๑,๒๕๕๐) พบว่า นักเรียนไม่ผ่านผลการเรียนรู้ที่คาดหวังข้อที่๓.๑๒  เข้าใจความสำคัญและรายละเอียดของเรื่อง หาคำสำคัญของเรื่องจากการอ่านและผลการเรียนรู้ที่คาดหวังข้อที่ ๓.๑๓พูดแสดงความคิดเห็นและเขียนข้อคิดที่ได้รับจากการอ่าน มาตรฐานการเรียนรู้ ท.๑.๑. ใช้กระบวนการอ่าน สร้างความรู้ และความคิดไปใช้ตัดสินใจ แก้ปัญหาและสร้างวิสัยทัศน์ ในการดำเนินชีวิต มีนิสัยรักการอ่าน จากการวิจัยสาเหตุโดยการวิเคราะห์หลักฐานการเรียน และการสัมภาษณ์ผู้ปกครอง และตัวนักเรียนสรุปสาเหตุสำคัญของปัญหาได้ว่า

๑.นักเรียนไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่จากผู้ปกครองในเรื่องการฝึกฝนในการอ่าน ขาดนิสัยรักการอ่าน จากการไปเยี่ยมบ้านและสัมภาษณ์ผู้ปกครองผู้ปกครองไม่ค่อยมีเวลามาส่งเสริมลูกอ่านหนังสือมากนักเนื่องด้วยฐานะทางครอบครัวและการประกอบอาชีพ

.นักเรียนอ่านคำบางคำไม่ได้และไม่รู้ความหมายของคำ

.นักเรียนอ่านแล้วหาคำสำคัญเขียนแผนภาพโครงเรื่องในเรื่องสับสน ไม่เข้าใจเรื่องส่งผลต่อการบอกข้อคิดจากการอ่านได้ไม่ดี

                เพื่อแก้ปัญหาตามสาเหตุที่พบจึงได้นำแนวทฤษฎีพัฒนาการทางเชาว์ปัญญาของเพียเจต์และของ

วีก็อทสกี้เป็นรากฐานที่สำคัญของทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism)และ แนวทฤษฎีการเชื่อมโยงของ

ธอร์นไดค์(Thorndike’s Classical Connectionism)  จากแนวทฤษฎีและการใช้ทฤษฎีในการเรียนการสอนดังกล่าว  นวัตกรรมที่ควรทำคือชุดกิจกรรมฝึกการอ่านจับใจความ เพื่อส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน

วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ Best Practice           

๑.ศึกษาวิเคราะห์หลักสูตร คำอธิบายรายวิชา สาระการเรียนรู้ภาษาไทย

ช่วงชั้นที่ ๑               

 ๒.ออกแบบการเรียนรู้จากมาตรฐานรายวิชาและผลการเรียนที่คาดหวังสู่หน่วยการเรียนวิธีวัดผลและประเมินผล               

 ๓.วิจัยสภาพชั้นเรียนพบปัญหารายบุคคลดำเนินการแก้ไขและพบปัญหาวิกฤติที่เป็นปัญหาส่วนรวมนักเรียนอ่านเรื่องแล้วจับใจความได้ไม่ดีและบอกข้อคิดที่ได้รับจากการอ่านอยู่ในระดับที่ไม่น่าพอใจ               

 ๔.วิจัยหาสาเหตุและออกแบบนวัตกรรม ศึกษาแนวทฤษฎีที่เกี่ยวข้องพัฒนาชุดกิจกรรมฝึกการการอ่านจับใจความ เพื่อส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑              

  ๕.ทดลองใช้นวัตกรรมเพื่อปรับปรุงแก้ไขและนำไปใช้กับนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย               

๖.ประเมินประสิทธิภาพชุดกิจกรรมฝึกการอ่านจับใจความได้ผลที่พึงพอใจ               

๗.เผยแพร่ผลงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้และนำไปพัฒนาผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง สรุปผลและรายงานผลแก่ผู้เกี่ยวข้องทราบ

ผลการดำเนินงาน              

๑.นักเรียนมีทักษะในการอ่านเรื่องแล้วสามารถหาคำสำคัญของเรื่องโดยใช้แผนภาพความคิดบอกได้ว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไรและบอกข้อคิดจากเรื่องได้               

๒.นักเรียนมีนิสัยรักการอ่าน มีเจตคติที่ดีต่อการอ่านหนังสือ               

 ๓.ผู้ปกครองเห็นความสำคัญของการดูแลลูกในการอ่านหนังสือ               

๔.ครูได้รับการยกย่องเป็นครูต้นแบบปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้,ห้องเรียนภาษาไทยตัวอย่าง

ปัจจัยความสำเร็จ/ผลที่ได้รับ              

 ๑.ครูเห็นความสำคัญของการแก้ไขปัญหานักเรียนทั้งรายบุคคลและส่วนรวมจากการวิจัยสภาพชั้นเรียน               

 ๒.มีนวัตกรรมที่แก้ไขปัญหานักเรียน               

๓.พัฒนานักเรียนอย่างเป็นระบบ นักเรียนได้รับการฝึกทักษะด้วยกิจกรรมที่หลากหลายส่งผลต่อการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน              

  ๔.ครูและผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาให้กับนักเรียน              

  ๕.เป็นแนวคิดหรับครูในการจัดทำชุดกิจกรรมในการจัดทำชุดกิจกรรมในกลุ่มสาระการเรียนรู้สาระอื่นๆต่อไป 

หมายเลขบันทึก: 147724เขียนเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2007 20:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 00:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

สวัสดีครับ

แวะมาอ่านครับ ;)

ครูอ้อยก็ตามน้องธวัชชัยมาอ่านนะคะ

ขอบคุณค่ะ

เป็นงานที่เยี่ยมมาก ๆ ค่ะ

อ่านแล้วดีมาก กำลังทำของตัวเองอยู่ ขอเอาเ็ป็นแนวทางในการจัดทำด้วยนะ ขอบคุณคะ

เป็นนวัตกรรมที่น่าสนใจมาก สามารถนำไปใช้ได้จริง

ศศิกานต์ เกิดแสงสุริยงค์

เป็นงานวิจัยที่ดีมาก ควรได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างยิ่ง เพราะคุณครูเลือกที่จะแก้ปัญหาเด็กตั้งแต่ป.1 ซึ่งจะส่งผลดีกับเด็กในการเรียนรู้วิชาอื่นและระดับชั้นอื่นๆ ต่อไป สู้ๆ นะคะคุณครู จะคอยเป็นกำลังใจให้นะคะ

ดาว เพื่อนรัก

    ประเด็นที่เป็นข้อเสนอแนะ คือ

1. ผลการวิจัยที่ระบุว่า ผู้ปกครองเห็นความสำคัญของการดูแลลูกในการอ่านหนังสือ   ในขั้นตอนของการใช้นวัตกรรม ต้องแสดงให้เห็นว่า ผู้ปกครองมีส่วนร่วมด้วย  ในขั้นตอนใด และทำให้ ผู้ปกครองเห็นความสำคัญของการดูแลลูกในการอ่านหนังสือ   อย่างไร

2. ความเป็น Best Practice มีเกณฑ์ หรือตัวชี้วัดใดมาบ่งบอก หรือเพียงแค่ได้รางวัล ก็เป็น   Best Practice  แล้วใช่หรือไม่

อย่างอื่น ๆ คงไม่น่าห่วงนะ

นิคม (คนน่านไปอยู่พิดโลก)        

เป็นนวัตกรรมที่ดีมาก เดี่ยวตามไปดูของจริงฮิๆ
เป็นสิ่งที่ดีนะที่เพื่อนมีความตั้งใจ และความมุ่งมั่นทำได้ขนาดนี้ ขอชมด้วยใจจริง
ด.ญ.อาทิติยา บุตรศรี

ถึงจะเป็นศิษย์เก่าไปแล้ว แต่ก็ไม่เคยลืมโรงเรียนแรกที่อยู่มา

ดีเยี่ยมมาก ๆ ๆเลยค่ะ

เยี่ยมมากคุณเพื่อน สามารถนำไปใช้ได้จริง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท