เมื่อเยาวชนผู้พิการ/ด้อยโอกาสเข้าค่ายพัฒนาศักยภาพ


หลายหลายความพิการ/ด้อยโอกาสเข้าค่าย

เมื่อเยาวชนผู้พิการ/ด้อยโอกาสเข้าค่ายพัฒนาศักยภาพ

*นางสุนีย์  โตอินทร์

ศน. สพท.ลบ 1  

       บทบาทหน้าที่หนึ่งของข้าพเจ้าคือพัฒนางานด้านการศึกษาพิเศษทั้งส่วนที่เป็นนักเรียน  ครูผู้บริหารและด้านสภาพแวดล้อมโดยเฉพาะนักเรียนที่พิการและด้อยโอกาสต้องได้รับการพัฒนาให้สามารถช่วยตนเองได้  เทคนิควิธีปฏิบัติที่ใช้คือ ความร่วมมือของหน่วยงานต่างๆ อันได้แก่สำนักงานพื้นที่การศึกษาลพบุรีเขต 1 มูลนิธิคนตาบอดฯโรงเรียนการศึกษาคนตาบอดและคนตาบอดพิการซ้ำซ้อน ลพบุรีและหน่วยงานในสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษทั้งส่วนที่เป็นศูนย์การศึกษาพิเศษเขตการศึกษา 6 จังหวัดลพบุรี โรงเรียนลพบุรีปัญญานุกูลจังหวัดลพบุรี โรงเรียนโสตศึกษาปานเลิศจังหวัดลพบุรี  และโรงเรียนราชประชานุเคราห์ 33 จังหวัดลพบุรีในความร่วมมือของหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนจึงได้จัดกิจกรรมการเข้าค่ายพัฒนาศักยภาพเยาวชนผู้พิการและด้อยโอกาสขึ้น ตั้งแต่วันที่ 3 - 5 มีนาคม 2548 ณ โรงเรียนโสตศึกษาปานเลิศจังหวัดลพบุรีโดยไม่มีงบประมาณสนับสนุนแต่ด้วยความเชื่อที่ว่า ถ้าเราร่วมมือกัน ทำได้ จึงได้เริ่มประชุมวางแผนการทำงาน ซึ่งได้ประชุมกันหลายครั้งและครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2548  จึงเป็นงานที่เกิดจากความตั้งใจจริง ร่วมใจกันทำงาน โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้เยาวชนผู้พิการและด้วยโอกาสได้เรียนรู้และเข้าใจเพื่อนที่มีความพิการที่แตกต่างกัน เพื่อเป็นการพัฒนาความสามารถ  พัฒนาศักยภาพ  และเพื่อให้สังคมรับรู้และยอมรับคนพิการเมื่อไม่มีงบประมาณคณะทำงานได้หาความร่วมมือสนับสนุนจากสังคม ชุมชน องค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ศาสนา นักการเมืองท้องถิ่น ผู้นำชุมชนตลอดจนกระทั้งผู้มีจิตศรัทธา

       กลุ่มเป้าหมายคือนักเรียนทั้ง 5 สถาบัน  โรงเรียนละ 20 คน  ยกเว้นโรงเรียนการศึกษาคนตาบอดและคนตาบอดพิการซ้ำซ้อนลพบุรี และศูนย์การศึกษาพิเศษเขตการศึกษา 6 จังหวัดลพบุรี ให้นักเรียนเข้าร่วมได้สถาบันละ 10 คน รวม 80 คน

       ในการจัดนักเรียนเข้าค่ายนั้น จัดเป็นกลุ่มสี 6 สี  อันได้แก่ สีม่วง สีแดง สีฟ้า สีชมพู สีเหลืองและสีน้ำเงิน  จัดกลุ่มสีละ 13 คน  จำนวน 4 กลุ่ม จัดกลุ่มสีละ 14 จำนวน 2 กลุ่ม  และในแต่ละกลุ่มสีคละทุกความพิการ และด้อยโอกาส ในแต่ละกลุ่มสีจะมีนักเรียนครบทั้ง 5 สถาบัน

       ผลที่เกิดขึ้นจากการเข้าค่ายฯ ในวันที่ 3 - 5 มีนาคม  2548 พบว่า เยาวชนพิการและด้อยโอกาสของเราช่วยเหลือกัน ร่วมมือกันในการปฏิบัติกิจกรรมตามฐานต่างๆ มีความเอื้ออาทรต่อกัน เห็นใจและเข้าใจเพื่อนพิการอื่นๆ มีความสนุกสนานได้ใช้ความสามารถ ได้พัฒนาศักยภาพและได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากสังคม ชุมชนทั้งภาครัฐและเอกชนอันแสดงให้เห็นว่าสังคมรับรู้ ยอมรับคนพิการ  สำหรับสิ่งที่ต้องแก้ไขปรับปรุงคือ การประสานงานกระชั้นชิดเกินไปบางครั้งคาดเคลื่อนไปบ้างแต่โดยรวมแล้วนับว่าเป็นกิจกรรมที่ดี ที่ภาคภูมิใจ

หมายเลขบันทึก: 145862เขียนเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2007 15:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 พฤษภาคม 2012 13:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
ทัศนีย์ ไพฑูรย์พงษ์

อาจารย์คะ

      ถ้ามีการเพิ่มเติมอีกสักนิดหนึ่งว่าได้ความคิดมาจากไหน  ได้ความคิดอะไรเพิ่มขึ้น และชี้แนะสิ่งที่น่าจะทำต่อ   จะเป็นประโยชน์ยอดเยี่ยมสำหรับการจัดการความรู้สำหรับนักเรียนพิเศษในลักษณะนี้ค่ะ

       ติดตามอ่านเสมอค่ะ

ภาสิณี มาตยานุมัตย์

เรียน อ.สุนีย์

       โครงการที่อาจารย์ทำนั้นเป็นโครงการที่ดีมากค่ะ  เพราะให้โอกาสแก่เด็กพิการและด้อยโอกาส น่าจะทำต่อในปีต่อ ๆ... ไปนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท