บนพื้นฐานความเป็นครู


บนพื้นฐานความเป็นครู

คำว่า "อาชีพครู" กับ "ครูอาชีพ" ทั้งสองคำต่างมีด้วยกัน 3 พยางค์ แต่มากกว่ามากของจำนวนพยางค์คือความมุ่งหมายที่จะนำไปสู่การศึกษา นำไปสู่การพัฒนา มันอาจเป็นเพียงคำพูดเก่าๆที่เอามาเล่าใหม่ แต่ถามว่า...ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาจะมีสักกี่คนที่ได้ใคร่ควรญถึงภาระหน้าที่อย่างจริงจังโดยไม่ปล่อยให้เวลาก้าวล่วงผ่านไปโดยไม่แยแส โดยเฉพาะกรณีของครูในสามจังหวัดภาคใต้  การเดินทางไปเป็นวิทยากรติวเอ็นท์แต่ละครั้งให้โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาสำหรับผมบอกได้คำเดียวว่า "ค่อนข้างผิดหวังกับการจัดการเรียนการสอนในสามจังหวัด" เพราะบางครั้งครูจบคณิตไปสอนภาษาไทย  ครูจบภาษาไทยไปสอนอังกฤษ  อื่นอีกหลากกรณี ถามว่าสอนได้ไหม ได้ แต่ความลุ่มลึกของเนื้อหาวิชา เด็กจะต้องถูกตราหน้าว่าเป็นผู้รู้จริงเมือจบกระบวนการเรียนรู้มากน้อยเพียงใด  ใคร ใคร ใครช่วยตอบผมที  ขอเถอะครับหากมีใครที่จะกรุณาเข้ามาช่วยการศึกษาของสามจังหวัดอย่างจริงจัง มันก็น่าจะเป็นพลังขับเคลื่อนของสังคมได้เป็นอย่างดี จะด้วยวิธีใดขอแค่ให้ท่านได้คิด และลงมือทำจริงๆ แม้ผมเองอาจจะมีแค่สมองและสองมือไม่มีทุนอะไรนอกจากทุนสมองทางปัญญาที่คิดช่วยประเทศชาติแต่ผมก็คิดว่าตัวเองก็ยังดีกว่าใคร ใคร ใครและใครที่มีหน้าที่โดยตรงเข้ามาทำตรงนี้แต่กลับไม่ทำอย่างจริงจัง โครงการที่ลงมาแต่ละครั้งแน่ใจหรือว่าทั่วถึง หากคำนึงถึงงบประมาณอย่าได้เสียดายเลยครับที่จะช่วยกันพัฒนาเรื่องการศึกษาของเยาวชนในสามจังหวัด เพราะนี่ไม่ใช่แค่ความหวังของสังคม แต่มันคือความหวังของคนทั้งประเทศ(วัลลอฮฺอะลัม) ยังรอีโร่ที่จะโผล่มาช่วยหันรังสรรค์สังคมแห่งการศึกษาอย่างที่ควรจะเป็น

หมายเลขบันทึก: 145857เขียนเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2007 15:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 00:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

สวัสดีครับคุณเสียงเล็ก ๆ

                  อยู่ที่เราวางวัตถุประสงค์ไว้อย่างไร จะเป็นครูอาชีพหรืออาชีพครู

                  เมื่อวางวัตถุประสงค์ได้แล้ว อย่าไปวอกแวกกับเสียงนกเสียงกา หรือการได้มาของอีกฝ่าย

                  อย่าใจร้อน เรามีอุดมการณ์รองรับ ทุกวันนี้เทคโนโลยีก้าวไกลมาก ใช้เทคโนโลยีเป็นตัวช่วยในทางการศึกษา และให้ประเมินความก้าวหน้าทุกระยะ

                  จำไว้ว่า"สิ่งที่เราเห็น อาจไม่ใช่สิ่งที่เราคิด" ขอให้ใจเย็น ๆ ไว้ครับ

                        ขอให้โชคดีครับผม

ขอบคุณนายช่างใหญ่ที่เข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หวังว่าคงมีโอกาสได้ขอความช่วยเหลือเกี่ยวกับเทคโนโลยีการศึกษานะครับ...

สวัสดีครับคุณเสียงเล็ก ๆ

     ยินดีครับ ซึ่งพอจะช่วยเหลือได้ครับ

     ผมมีเพื่อนไม่ทราบว่าทำงานที่เดียวกับคุณหรือไม่ เป็นเพื่อนเรียนหนังสือมาด้วยกันตั้งแต่เด็ก ๆ ที่โคกโพธิ์ครับ ชื่อคุณสมเจตน์ นาคเสวีครับ

                        โชคดีครับผม

  • ครูอ้อย..มาเป็นเสียงเล็กๆด้วยค่ะ  แต่ตัวใหญ่ค่ะ  อิอิ

เป็นกำลังใจให้กันค่ะ

สวัสดีค่ะคุณเสียงเล็กๆ

P

ปัญหาดังกล่าวพวกเราเจอกันมานานแล้ว เด็กๆจะรู้หรือไม่..ก็เราอีกนั่นแหละที่ทราบและต้องแก้ปัญหากันเอง สรุปว่าต้องคิดเอง..ทำเอง..แก้ปัญหาเอง ที่สำคัญต้องด้วยใจและทำให้ดีที่สุดเพื่อเด็ก..ซึ่งเป็นอนาคตของชาติ..ครูภาคกลางขอเป็นกำลังใจให้นะคะ

ขอบคุณทุกกำลังใจ  P นายช่างใหย่ครับ อาจารย์สมเจต เป็นอาจารย์อยู่ ม.อ.ปัตตานีครับ แต่ผมอยู่ ม.อ.ย.(มหาวิทยาลัยอิสลามยะลาครับ)

  • ตามมาให้กำลังใจ
  • ขอให้มีจิตวิญญาณความเป็นครูก็พอครับ
  • ขอบคุณครับ
ขอบคุณสำหรับกำลังใจครับ และดีใจที่ด้รู้จัก พร้อมรับคำชี้แนะต่างๆครับ ได้ข่าวว่ากำลังเรียน ป.เอก ผมกำลังเรียน ป.โท คงมีโอกาสได้รบกวน ขอบคุรอีกครั้งครับพี่
ขอเป็นเสียงเล็ก ๆ ด้วยนะค่ะ

อัสสาลามุอะลัยกุม

อาจารย์ครับ ผมจะลองลำดับ ความเป็นไปและเป็นมาของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนา..

  • บุคคลในพื้นที่ด้อยการศึกษา ก็เกิดปอเนาะเพื่อนให้มีการศึกษา แต่วิชาที่สอนเป็นวิชาศาสนา ก็ไม่ผิดครับ เพราะมันคือพื้นฐานของชีวิตอยู่แล้ว
  • รัฐมาเปิดโรงเรียน .. แต่เด็กๆไม่ค่อยไปเรียนเพราะมีแนวคิดว่าเรียนหนังสือไทยไม่ได้ ทำให้เสียศาสนา(บางคนเป็นเช่นนั้นจริงๆด้วย)
  • รัฐเขาไปช่วยโรงเรียนปอเนาะ และนำหลักสูตร กศน.เข้าไปสอนด้วย ก็ทำให้หลายคนได้เรียนหนังสือไทยหรือสามัญมากขึ้น
  • เปลี่ยนจาก กศน. เป็นเปิดประถมสอนภาคบ่ายหลังจากเรียนศาสนาในภาคเช้า ทำให้เด็กๆที่พ่อแม่อยากให้เรียนศาสนาได้มีโอกาศเรียนสามัญด้วย
  • จากประถมก็เป็นมัธยม บางคนว่าเอาช่วงเวลาที่โตะครูนอนไปสอนสามัญ (หมายถึงภาคบ่าย) ทำให้มีเรื่องมีราวไป หาว่าดูถูก (ไปอ่านได้ในนิสัยเรื่อง ปอเนาะที่รัก)
  • รัฐสนับสนุนการเงินบ้าง(นิดหน่อยจริงๆ) และสนับสนุนครู (ครู สช.) เป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญในการพัฒนาปอเนาะหรือโรงเรียนเอกชนสอนศาสนา
  • ด้วยการศึกษาที่ควบคู่ทำให้เด็กๆในสามจังหวัดเรียนหนังสือมากขึ้น(เกือบร้อยเปอร์เซนต์ แต่หน่วยงานของรัฐยังรายงานว่าไม่เรียนอยู่ดี เพราะไม่ได้เรียนโรงเรียนมัธยมของรัฐหรือมัธยมสามัญ)
  • รัฐได้ช่วยเหลือการเกณฑ์โรงเรียนเอกชนทั่วๆไป ทำให้โรงเรียนมีเงินมากขึ้น
  • รัฐดึงครู สช. ออก คงไว้เงินอุดหนุนอย่างเดียว โรงเรียก็ได้ครูจบใหม่ๆไปสอนแทน
  • เกิดกรณีแย่งชิงเด็กด้วยทุกวิธีการเพื่อจะได้ค่าหัวเยอะๆ
  • โรงเรียนมัธยมของรัฐหลายแห่งครูว่างงานเยอะมาก เพราะไม่มีเด็ก ทำทุกอย่างเพื่อให้เขานับเป็นชั่วโมงทำการ ไม่งั้นเขาจะดึงครูออก
  • โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาคิดแต่เรื่องกำไร กับการดึงเด็กเขามาให้มากๆ (คุณภาพค่อยว่า)
  • เมือ่เป็นโรงเรียนสองระบบ(ศาสนา-สามัญ) ครูต้องมีจำนวนสองเท่า ค่าหัวเด็กที่ได้ไม่พอจ่าย ค่าจ้างที่ต้องให้แก่ครูก็ลดน้อยไปด้วย (หรือผู้บริหารเอาไปทำอย่างอื่นด้วยนั้นไม่รู้เหมือนกัน ต้องสืบกันเอาเอง)
  • ครูที่บรรจุแล้วปีสองปี ก็จะทยอยออกเรื่อยๆ เมื่อมีงานที่อื่นที่เงินเดือนน้อยกว่า โรงเรียนก็จะบรรจุครูจบใหม่ เรื่อยๆ (โรงเรียนก็จะได้ครูมือใหม่เรื่อย ถ้าเก่านั้นหมายถึงไม่มีที่ไป ก็คงรู้สาเหตุดี)
  • ข้าราชการครูในพื้นที่ยายกลับบ้าน (นอกเขตสามจังหวัด) เยอะมาก เพราะสถานการณ์
  • ทำให้อัตราตำแหน่งครูว่าง บรรจุใหม่ ครูโรงเรียนเอกชนก็เข้าไปแทนที
  • โรงเรียนเอกชนก็จะขาดแคลนครู .. ก็เอาใครก็ได้สอนไปก่อน ...ไม่อย่างนั้นเด็กจะไม่ได้เรียนเลย
  • และเป็นแบบนี้เรื่อยๆ จนกระทั่งทุกวันนี้
  • ผลเสีย คือใคร โรงเรียนหรือว่าเด็ก... แต่ผมว่า ประเทศชาติครับ
  • อยากให้ผู้ใหญ่มองการศึกษาในสามจังหวัดให้ครบทั้งระบบ .. ไม่ใช่ว่า แก้จุดนี้แต่ลืมอีกจุด หรืออาจคิดว่าเพราะเขาเป็นเอกชน .. ต้องรับผิดชอบเอง .. โดยลืมนึกว่านั้นคือ อนาคตของชาติ หรือเปล่า
  • อย่าลืมว่า ชาวบ้านยังคงนิยมส่งลูกไปเรียนที่โรงเรียนเอกชนอย่างเนียวแน่น... แม้ว่ารัฐจะเปิดโรงเรียนสองระบบก็ตาม..
  • ผมว่าโรงเรียนสองระบบไม่ใช่การแก้ตามที่ชาวบ้านอยากได้หรอกครับ .. เป็นการแก้ตามที่คนบางคนอ้างว่าชาวบ้านอยากได้.. หรือเกิดจากการตีความตามที่เขามองเห็น.. ลืมนึกถึงสิ่งที่อยู่ภายในจิตของบุคคลในพื้นที่..นั้นคือความศรัทธาที่แท้จริง
  • assalalmualaikum
  • มาขอบันทึก ลงในแพลนเน็ตของต้าค่ะ
  • โชคดีที่ได้รู้จักครูที่ดีๆอีกคนค่ะ
  • มีเวลาเข้ามาเยี่ยมที่บันทึกครูบ้านๆได้เสมอนะคะ
  • wassalam
ขอบคุณทุกความคิดเห็นPขอบคุณอาจารย์ที่ทำให้ผมเข้าใจประวัติความเป็นมาของการศึกษาในสามจังหวัดมากขึ้นและผมเห็นด้วยกับอาจารย์ในหลายประเด็นที่การศึกษาบ้านเราไม่เคลื่อนPขอบคุณครูAnitaที่มาร่วมแสดงความคิดเห็นมีโอกาสคงได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน...อินชาอัลลอฮฺ แม้จะเป็นครูบ้านๆหรือในเมือง เรื่องสำคัยคัญคือ อมานะฮฺในหน้าที่ครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท