ปัจจัยในการปฏิบัติงานที่ส่งผล


การจัดระบบข้อมูลและสารสนเทศ

ชื่อเรื่อง                        ปัจจัยในการปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อการจัดระบบข้อมูลและสารสนเทศ                               ในสถาบันอาชีวศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษาจังหวัดขอนแก่น ผู้วิจัย                           ปราการ  ผาติสุนทรกรรมการที่ปรึกษา    ดร.ยืนยง  ไทยใจดี  และ ผศ.ดร.สุวิน  ทองปั้นปริญญา                       ศษ.ม.                                       สาขาวิชา    การบริหารการศึกษามหาวิทยาลัย             มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ       ปีที่พิมพ์  2549 

บทคัดย่อ                   

                  การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยในการปฏิบัติงาน ที่ส่งผลต่อการจัดระบบข้อมูลและสารสนเทศในสถาบันอาชีวศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษาจังหวัดขอนแก่น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ประกอบ ด้วยผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 45 คน และครูผู้สอน จำนวน 246 คน รวม 291 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่ามี 2 ตอนคือแบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยในการปฏิบัติงานของบุคลากรในสถาบันอาชีวศึกษา มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง .46 ถึง .89 และมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ .96  และแบบ สอบถามเกี่ยวกับสภาพการจัดระบบข้อมูลและสารสนเทศในสถาบันอาชีวศึกษา มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง .51 ถึง .87 และมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ .96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณเชิงเส้นตรง  (Multiple Linear Regression Analysis)                  

ผลการวิจัยพบว่า                  

                 1.  ผลการปฏิบัติตามปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติงาน โดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีการปฏิบัติสูงสุดคือ ด้านความรับผิดชอบ รองลงมาคือ ด้านความสำเร็จในการปฏิบัติงาน และด้านที่มีการปฏิบัติต่ำสุดคือ ด้านนโยบายและการบริหาร   

                 2.  ผลการเปรียบเทียบ ปัจจัยในการปฏิบัติงานของบุคลากร พบว่าบุคลากรที่มีสถานภาพต่างกัน มีความคิดเห็น ไม่แตกต่างกัน 1 ด้าน คือด้านความรับผิดชอบ ส่วนด้านอื่น ๆ แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาสูงกว่าความคิดเห็นของครูผู้สอน

                 3.  ผลการปฏิบัติตามสภาพการจัดระบบข้อมูลและสารสนเทศอยู่ในระดับมากทั้งในภาพ รวม และรายด้าน  ด้านที่มีการปฏิบัติสูงที่สุด คือด้านการจัดเก็บข้อมูลและสารสนเทศ รองลงมา คือด้านการประมวลผลข้อมูล และด้านที่มีการปฏิบัติต่ำสุด คือด้านการตรวจสอบข้อมูล  

                 4.  ผลการเปรียบเทียบ สภาพการจัดระบบข้อมูลและสารสนเทศ พบว่าบุคลากรที่มีสถานภาพต่างกัน มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทั้งในภาพรวมและรายด้าน โดยความคิดเห็นของผู้บริหารสถาน ศึกษาสูงกว่าความคิดเห็นของครูผู้สอน                  

                 5.  พบปัจจัยในการปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อการจัดระบบข้อมูลและสารสนเทศ มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 อยู่ 5 ด้าน คือด้านสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน  ด้านความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน  ด้านความสำเร็จในการปฏิบัติงาน ด้านวุฒิการศึกษา และด้านประสบการณ์ในการทำงาน          

หมายเลขบันทึก: 145635เขียนเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2007 11:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 พฤษภาคม 2012 15:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท