การสร้างบล็อค


ลปรร ในองค์กร

ตามที่ผู้บริหารศูนย์บริการวิชาการ ได้ส่งเสริมให้บุคลากรจัดทำบล็อคเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่องต่าง ๆ นั้น...ดิฉันได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากคุณพิชชา  ถนอมเสียงในการให้คำปรึกษา แนะนำ การจัดทำบล็อคสิทธิบัตรและลิขสิทธิ์  ...ซึ่งคุณพิชชาได้อธิบายทีละ step ให้แก่ดิฉันทำให้ดิฉันมีความเข้าใจการทำบล็อคมากขึ้น...

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 14524เขียนเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2006 11:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
ยินดีมากค่ะที่ได้ share ประสบการณ์ และขอต้อนรับ blog ใหม่นี้ด้วยค่ะ
  • ยินดีด้วยครับ ขอต้อนรับบล็อกใหม่ อยาก SHARE ประสบการณ์ด้านทรัพย์สินทางปัญญา เกียวกับสิทธิบัตรและลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น
  •            พิชัย

เรียนถามครับ

 ผลงานที่แสดงในงาน "เทคโนโลยีและนวตกรรม ๒๐๐๖" ( Link )มีชิ้นงานใดที่สมควรได้รับการสนับสนุนให้จดสิทธิ์บัตรครับ

ก่อนอื่นก็ขอแสดงความยินดีกับการเริ่มต้นที่ดีในการ ลปรร ใน Blog กับเรื่องที่กำลัง hot  ในช่วงนี้ของภาระกิจของมหาวิทยาลัยคือ ทรัพย์สินทางปัญญา ในเรื่องคือสิทธิบัติและลิขสิทธ์ ด้วยค๊ะ
ในเรื่องสิทธิบัติและผลงานที่แสดงในงานเทคโนโลยีนวัตกรรม มหาวิทยาลัยมีนโยบายชัดเจนในการที่จะให้เจ้าของผลงานนวัตกรรมจดสิทธิบัติ โดยกระบวนการต่าง ๆ ในการรับบริการจดสิทธิบัติสามารถดำเนินการได้ที่ฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น (คุณนพพมาศ) ได้โดยตรง  ในส่วนนี้จะเป็นการเชื่อมโยงของงานของฝ่ายวิจัยเพื่อ นำงานวิจัยหรือนวตกรรม ของคณาจารย์ หรือ บุคลากร ไปสู่การจดสิทธิบัตรด้วย ดังที่เราเห็นมีโครงการที่นำไปใช้ได้จริงในโครงการ UBI (University Business Incubator?) เช่นเครื่องเคลือบเมล็ด ของ อาจารย์ …คณะเกษตร  หนึ่งในข้อดีของเครื่องเคลือบนี้คือจะยืดอายุการเก็บรักษาเมล็ดพืช ซึ่งกำลังดำเนินการในรูปการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชนในรูปของผลิตภัณฑ์
 
ดังนั้นมหาวิทยาลัยเราน่าจะมีฐานข้อมูลและผู้ที่ตอบคำถามตรงนี้ได้อย่างแม่นยำ จะเป็นการประชาสัมพันธ์ชักชวนให้ผู้ที่มีผลงานมี Incentive ในการจดสิทธิบัติ…. อย่างไรก็ตามสถานะในเรื่องการจดสิทธิบัติ สำหรับบุคคลากรในมหาวิทยาลัย น่าจะมีอยู่ 3 กรณีคือ
  1. จดสิทธิบัติแล้ว เช่น (ถ้าจำไม่ผิดจะมีเครื่องเครือบเมล็ดของคณะเกษตร  รถจักรยานของท่านอาจารย์กิตติ  บัลลาต์ประหยัดพลังงาน ของอาจารย์กิตต์ )
  2. กำลังจะจดแต่ยังไม่จด (เช่นเครื่องดักแมลงวันของท่านอาจารย์ประเสริฐ ดำรงค์ชัย) 
  3. ไม่มีแนวโน้มว่าจะจด (เช่น เครื่องควบแน่นพลาสติก เกมส์ระเบิดนิวเคลียร์ และ เครื่องตรวจจับคลื่นวิทยุ FM ของท่านอาจารย์ มงคล)
แล้วจะทำอย่างไรจึงจะเปลี่ยนใจกลุ่มที่ 3 ได้ ตรงนี้ใครช่วยตอบคำถามด้วยค๊ะ  หรือสนใจท่านใดที่อ่านช่วยแสดงความคิดเห็นด้วยค๊ะ

ผลงานที่นำมาแสดงในงานแสดงเทคโนโลยี ปี 49 ควรได้รับการจดสิทธิบัตร เนื่องจาก เจตนารมย์ของกฎหมายสิทธิบัตร มีความมุ่งหมายเพื่อจุดประกายให้มีการประดิษฐ์คิดค้น เมื่อผู้ประดิษฐ์ได้รับการตอบแทนจากสังคมโดยได้รับความคุ้มครองในสิ่งที่คิดค้นขึ้น ย่อมเป็นการจูงใจให้มีความพยามยามที่จะคิดค้นสิ่งใหม่ ๆ ที่มีประโยชน์ต่อสังคมมากขึ้น และอีกความมุ่งหมายหนึ่งที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าความมุ่งหมายประการแรก คือ เพื่อต้องการให้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยี การที่กฎหมายกำหนดให้มีการเปิดเผยรายละเอียดของสิ่งประดิษฐ์นั้น บุคคลอื่นสามารถที่จะมาขอดูข้อมูลเหล่านี้เพื่อนำไปศึกษา ค้นคว้า วิจัย และยังสามารถที่จะนำไปต่อยอดหรือปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้นไปอีกได้ ยกเว้นเพียงอย่างเดียว คือ "ห้ามลอกเลียนแบบ" เท่านั้น ข้อมูลเหล่านี้ นับว่ามีประโยชน์อย่างมากต่อการพัฒนาเทคโนโลยี เพราะจะช่วยลดระยะเวลาและค่าใช้จ่ายในการประดิษฐ์คิดค้นได้ กล่าวคือ ไม่ต้องเริ่มคิดค้นสิ่งที่มีคนอื่นได้ทำมาก่อนแล้ว สามารถที่จะพัฒนาต่อไปได้เลย และไม่ผิดกฎหมาย เหตุผลต่าง ๆ เหล่านี้ย่อมเป็นคำตอบได้อย่างดีว่า มีความจำเป็นมากน้อยเพียงใดที่ควรให้มีการจดสิทธิบัตร

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท