ใช้ KM เป็นเครื่องมือคุยกับลูก


ใช้ KM เป็นเครื่องมือคุยกับลูก

         ผมไปที่ไหนก็มักจะโปรโมทเครื่องมือ KM อยู่เสมอ   เมื่อวันที่ 27 ม.ค.49 ไปประชุมคณะกรรมการกำกับทิศทางโครงการ R2R ของศิริราช   ตอนพักกินข้าวเที่ยง  ผศ. นพ. เชิดชัย  นพมณีจำรัสเลิศ   ซึ่งทำหน้าที่เป็น Cluster Facilitator คนหนึ่งของโครงการ R2R   ได้มาบอกผมว่าได้จำวิธีการ AAR ที่ผมเล่า   เอาไปปรับใช้กับลูกซึ่งไปโรงเรียนแล้ว   เมื่อไปรับลูกจากโรงเรียนก็ให้ลูกเล่าความภูมิใจหรือเรื่องดี ๆ 5 เรื่องจากโรงเรียนในวันนั้น   ปรากฎว่าลูกชอบมาก   และมีความสุขมากในการที่ได้เล่าสิ่งที่ตนทำและมีความภูมิใจ   และพ่อสนใจเรื่องราวของตน  

ผมมองว่า
         - AAR แบบนี้เป็นเครื่องมือช่วยให้การสนทนาระหว่างลูกกับพ่อแม่ออกรส   สนุก  และให้ความสุขแบบปิติสุข
         - ที่จริงพ่อหรือแม่อาจ AAR ชีวิต 1 วันของตนเองให้ลูกฟังก็ได้   จะเป็นการ "สอนโดยไม่สอน" ลูก  เป็นการกล่อมเกลาจิตใจลูกโดยไม่รู้ตัว
         - เวลาพ่อแม่ลูกทำกิจกรรมด้วยกัน (เช่นไปพักผ่อนวันหยุดสัปดาห์ด้วยกัน) กลับมาก็อาจทำ AAR ร่วมกันได้

พ่อแม่ต้องไม่ลืม AAR ด้วยถ้อยคำและระดับความยากง่ายตามพัฒนาการของลูกด้วยนะครับ

วิจารณ์  พานิช
 31 ม.ค.49

คำสำคัญ (Tags): #km#ในครอบครัว
หมายเลขบันทึก: 14315เขียนเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2006 13:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 พฤษภาคม 2012 16:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ลืมระบุว่าลูกของ อ. หมอเชิดชัย เป็นลูกสาว อายุ ๔ ขวบ    เรื่องเล่าเรื่องหนึ่งของลูกสาวคือตนเองสวมเสื้อเองได้    แต่มีเพื่อนที่ยังสวมเองไม่เป็น    ลูกสาวของ อ. หมอเชิดชัยได้ช่วยเพื่อนสวมเสื้อ    และภูมิใจมากที่ได้ช่วยเพื่อน    ในสายตาของผมนี่เป็นการเรียนจริยธรรมระดับเด็กอนุบาลแบบที่เราไม่ต้องสอน

ผมนึกได้แล้ว    KM เป็นเครื่องมือเรียนจริธรรมคุณธรรมโดยไม่ต้องสอน

วิจารณ์ พานิช

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท