3P ใน Knowledge sharing


การนำเสนอผลการพัมนางานตามแนวทางการจัดการความรู้ที่คณะแพทย์ มอ. แต่ละทีมจะนำเสนอเป็นลำดับตามแนวทาง 3 P ของอาจารย์หมอพิเชฐ อุดมรัตน์

           เมื่อคราวที่ไปงานวันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งที่ 4 ของคณะแพทย์ มอ. ทำให้ผมได้คว้าเอาความรู้ของการนำเสนอผลงานKMของคณะแพทย์ มอ.มาเผยแพร่ด้วย

           3P ทำให้การนำเสนอเรื่องเล่าของการพัฒนาเป็นระบบระเบียบมากขึ้น สามารถตอบได้ง่ายว่าทำอะไร อย่างไร ได้ผลอย่างไร จึงเหมาะสำหรับผู้ที่ไม่รู้จะเริ่มเล่าเรื่องอย่างไรดี ไม่รู้จะเล่าอย่างไร

            3P ประกอบไปด้วย

P1 = Purpose วัตถุประสงค์ เป้าหมาย สิ่งที่ต้องการ สิ่งที่อยากได้ จะเรียกว่าKnowledge visionก็ได้

P2= Process ทำอย่างไรบ้าง มีกระบวนการ ที่มา การปฏิบัติอย่างไรบ้าง

P3= Product ได้ผลลัพธ์อะไรแล้วบ้าง

              การนำเสนอดดยการเดินเรื่องด้วย 3P ทำให้ผู้นำเสนอและผู้ฟัง เสนอและรับฟังได้เป็นระบบ มองทิศทางออกว่ามาอย่างไร ไปอย่างไรและได้อะไร

              แต่ในความเห็นผมการนำเสนอแบบนี้ อาจจะดูเป็นวิชาการหรือเป็นทางการไปหน่อย บางทีอาจขาดอรรถรสของความละเอียดอ่อนทางจิตใจหรือการสัมผัสเพราะอาจจูงให้เราใช้คำทางวิชาการมากเกินไปได้ และอีกประเด็นหนึ่งก็คือมักจะต้องเริ่มเรื่องด้วยปัญหา ว่าเจอปัญหาอะไร แล้วก็เกิดการรวมกลุ่มกันเรียนรู้เพื่อแก้ปัญหา ทำอย่างไร แล้วได้อะไร อาจจะแยกความแตกต่างของKMกับงานวิจัยหรือCQI story ได้ยาก

              แต่หากเปลี่ยนเป็นว่า เราจะเสนอความสุข ความสำเร็จที่เราได้รับในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ซึ่งก็คือเอาProductขึ้นก่อน แต่เป็นผลทางใจที่ได้จากProductนั้นๆ แล้วเราก็ค่อยๆเล่ามาว่าที่เราทำได้อย่างนั้น อย่างนี้ มาได้อย่างไร เราทำอะไรกันบ้าง เราพบคาวมสุข ความสำเร็จและการเรียนรู้อะไรบ้าง สิ่งที่ได้นั้นเราสะกัดออกมาเป็นความรู้อย่างไรบ้าง ก็จะกลายเป็นรูปแบบเรื่องวเล่าแห่งความสุขแห่งความสำเร็จได้และลดความเป็นทางการลงไป คนจะกล้าเล่ามากขึ้น

               อย่างไรก็ตาม การนำเสนอแบบนี้ก็มีข้อดีตามที่ผมได้กล่าวไปแล้ว และสามารถนำมาใช้ในการเปรียบเทียบหรือประกวดผลงานการพัมนาด้วยKMได้ดีกว่าเรื่องเล่าเร้าพลังธรรมดา โดยได้ถอดบทเรียนออกไปแล้ว และนำมาเสนอเพื่อให้ที่อื่นได้เห็นว่าเราได้ทำอะไร สำเร็จไปบ้างแล้ว เราทำอะไรได้ดีแล้ว ยิ่งถ้าอยู่ในแวดวงนักวิชาการด้วยแล้ว จะช่วยสร้างความเชื่อถือได้เยอะกว่าการใช้เรื่องเล่าเร้าพลัง ซึ่งบางคนอาจเห็นว่าเป็นเรื่องเสียเวลา เยิ่นเย้อ ใช้ความรู้สึกมากไป เป็นต้น

หมายเลขบันทึก: 14263เขียนเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2006 17:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 09:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขออนุญาตเรียนปรึกษาในประเด็นของ Knowledge sharing ค่ะ

  Attitude ของคนเรามีผลกับ Behavior ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของคนเราด้วยใช่ไหมคะ ถ้าเราจะวัด ทั้งทัศนคติและพฤติกรรมในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของคนที่อยู่ในโรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการจัดการความรู้ เราควรจะวัด ทัศนติในประเด็นไหนบ้างคะ และพฤติกรรมเราควรวัดอย่างไรดีคะ  

                                                            ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท