อีกนานแค่ไหนกว่าเราจะได้สัมผัสกับวัฒนธรรม Open source


วัฒนธรรมแห่ง Open source คือการแบ่งปันอย่างแท้จริง ผู้ให้เป็นผู้ที่ได้รับ

สมัยผมยังเรียนอยู่ผมรู้ว่าซอฟต์แวร์มี 3 ware คือ Freeware, Commercialware, และ Pirateware (ที่หาซื้อได้จากห้างดังแถวประตูน้ำ) พบจบออกมาจึงได้รู้จักกับ PHP ที่เค้าบอกว่ามันเป็น Programming Language ที่เรียกว่า "Open source" ตอนแรกก็ไม่เข้าใจหรอกนะครับว่ามันคืออะไร รู้แต่ว่า เปิดเผย source code และให้ใช้ได้ฟรี อย่างระบบปฏิบัติเพนกวินชื่อดังที่เรียกว่า "Linux" ก็เป็น Open source ตัวหนึ่ง ตอนนั้นก็แอบสงสัยว่าแล้วจะทำไปทำไม Linux SIS และ Linux TLE สำหรับคนไทย แค่ให้ใช้ได้ฟรีหรือ? แต่เมื่อเห็นสถิติจาก Truehits.net บอกไว้ว่า เราใช้ Windows มากกว่า 90% ถ้าจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ในประเทศมีอยู่ 10 ล้านเครื่อง แปลง่ายๆ ว่า เราต้องซื้อ license ถึง 9 ล้านกล่อง นั้นคือเงินบาทที่ไหลออกนอกประเทศชนิดที่หยุดยั้งไม่ได้ อืมม... ชักเริ่มเห็นประโยชน์เชิงมหภาคจากเจ้า Software Open source แล้วหละ

วันเวลาผ่านเลยไป ผมก็ได้เห็นซอฟต์แวร์สำเร็จรูปอีกหลายตัวที่เป็น Open source ไม่ว่าจะเป็น CMS อย่าง Drupal ที่ได้รับการยกย่องว่าได้รับการพัฒนามาอย่างดีเยี่ยม สำหรับผู้ใช้บางคน มันก็แค่โปรแกรมที่เค้ามีให้ใช้ได้ฟรี แต่สำหรับนักพัฒนาที่รู้จักวิธีใช้ประโยชน์ เขาจะสามารถเรียนรู้ และปรับปรุงโปรแกรมที่คนอื่นทำมานี้ให้ดียิ่งขึ้น โดยปรัชญาแห่ง Open source ที่กล่าวไว้ว่า "Open source คือ กระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่เกิดจากพลังที่โปร่งใสของคนทุกคน สัญญาประชาคมของ open source คือ การทำให้คุณภาพดีขึ้น น่าเชื่อถือขึ้น ยืดหยุ่นขึ้น ค่าใช้จ่ายน้อยลง และไม่ต้องยึดติดกับผู้ขายรายใด"

P อาจารย์ ธวัชชัย เคยบรรยายให้ฟังในงานสัมมนาหนึ่งว่า Open source มีหัวใจ 3 อย่าง คือ
1. release more, release often
2. all hands are welcome
3. give enough eyeballs
(ถ้าผมจดตกไปอย่างไร ขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วยนะครับ)
ตรงจุดนี้มีสาระสำคัญคือ Open source เปิดกว้างสำหรับนักพัฒนาทุกคนที่จะมาช่วยกันทำให้ซอฟต์แวร์ดียิ่งๆ ขึ้น ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องปล่อยออกมาหลายเวอร์ชั่น เมื่อมีคนใช้งาน ก็จะมีคนเห็นปัญหา และเมื่อรู้ว่ามีปัญหาเกิดขึ้นก็จะต้องมาช่วยกันแก้ไข

แต่ก็อีกนั้นแหละครับที่จะมีบางคนบอกว่า เอามาใช้แล้วไม่ได้ดั่งใจ มันแย่บ้างหละ มันไม่ปลอดภัยบ้างหละ สำหรับผม Open source นี่แหละครับคือสุดยอด Secure environment เพราะเมื่อมันมีช่องโหว่ มันก็จะมีคนมาช่วยกันปิดรูรั่วเหล่านั้น และก็ไม่ใช่แค่คนคนเดียว แต่เป็นอีกหลายๆ คน จากทั่วทุกสาระทิศทั่วโลก แตกต่างจาก Commercialware ที่เราไม่อาจทราบได้เลยว่าเค้ามี backdoor หรือจุดบกพร่องของโปรแกรมที่ไหนบ้าง ใช้แล้วเกิดปัญหาก็ต้องรอผู้ผลิตซอฟต์แวร์ตัวนั้นทำ patch ออกมาให้ และที่สำคัญข้อมูลภายในเครื่องเรา จะเป็นข้อมูลส่วนตัวของเราหรือเปล่า ก็ยังไม่รู้ มันจะถูกส่งออกไปไหม ไม่สามารถทราบได้เลยครับ

แล้วทำไม Open source จึงไม่เป็นที่นิยมในประเทศไทย? ง่ายๆ ก็คือ เราไม่ใช่คนทำครับ เราคือคนใช้ สังคมและความคุ้นเคยของเราสั่งสมให้เราเป็นผู้บริโภคมากกว่าผู้ผลิต จากงานสัมมนาไทยเว็บมาสเตอร์ปี 2550 อาจารย์ครรชิต มาลัยวงศ์ ให้ความเป็นห่วงเรื่องที่คนไทยทำอะไรไม่เป็น ได้แต่ซื้อของเค้ามาใช้ ดังนั้น Open source software ที่ไม่ต้องซื้อ แต่มีให้ใช้ฟรีถ้าคุณใช้มันเป็น จึงไม่เป็นที่ยอมรับในสังคมไทยเสียเท่าไร ระดับการใช้งานของเราคือแค่สามารถเอาโปรแกรมมาคอนฟิกได้ก็เก่งแล้ว น้อยคนนักที่เป็นโปรแกรมเมอร์ซึ่งสามารถลงไปดูระดับ code และต่อยอดพัฒนา แล้วคืนกลับไปยัง community ของโปรแกรมนั้นๆ ผมอยากจะพูดว่า การใช้ Open source ให้เป็นคือ การฝึกเป็นผู้ให้ วัฒนธรรมแห่ง Open source คือการแบ่งปันอย่างแท้จริง ผู้ให้เป็นผู้ที่ได้รับ ผู้ที่สามารถ contribute ให้กับ community คือผู้ที่ได้รับการยกย่อง คือผู้ที่ได้พัฒนาตัวเอง คือผู้ที่ได้สร้างประโยชน์ให้สังคม จะมีใครอยากเป็นผู้ให้บ้างไหมครับ แล้วคุณหละคิดอย่างไร How do u think?

 

หมายเลขบันทึก: 142491เขียนเมื่อ 28 ตุลาคม 2007 01:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 21:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

บันทึกนี้มีประเด็นที่น่าสนใจมากครับ ผมขอเสริมเรื่อง methodology ของ open source ในสามข้อดังนี้ครับ

  1. Release More, Release Often
  2. All hands are welcome.
  3. Given enough eyeballs, all problems are shallow.

ในข้อแรกพูดถึงการออกซอฟต์แวร์มาให้ใช้บ่อยครับ ดังนั้นเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น ก็จะได้แก้ไขได้แต่เนิ่นๆ ส่วนในข้อที่สองพูดถึงการที่ทุกคนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นโปรแกรมเมอร์อย่างเดียวครับ และในข้อสามนั้นบอกว่า ปัญหาทุกอย่างที่เกิดขึ้นในโปรแกรมนั้น ไม่ว่าปัญหานั้นจะหนักหนาแค่ไหน หากช่วยกันคิดและแก้ไขปัญหานั้นก็ไม่ยากเย็นครับ

P

TheInk

เข้ามาลงชื่อว่า เพิ่งพบบล็อกของคุณโยมไม่นาน.....

เป็นเรื่องน่าสนใจส่วนตัว เพราะประเด็นที่คุณโยมเล่ามา บ่งชี้แนวโน้มของสังคมอนาคตได้... แม้ว่าเรื่องทั้งหมดอาตมาจะไม่ค่อยรู้เรื่อง และไม่รู้เรื่องเลยก็ตาม

ตามที่อ่านมา คุณโยมจัดเป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านนี้ ดังนั้น แม้นอาตมาอ่านบ่อยๆ สิ่งที่คุณโยมคาดเดาและคาดหวัง ก็จะแผ่มายังอาตมาบ้าง... ประมาณนั้น

เจริญพร 

นมัสการ P BM.chaiwut ครับ
ก่อนอื่นขอออกตัวว่า ถึงผมจะบวชเรียนมาแล้ว แต่ภาษาทางศาสนาไม่ค่อยได้ใช้ เลยออกจะพูดผิดพูดถูกนะครับ ขอโทษไว้ล่วงหน้าด้วยครับ
สำหรับน้ำใจที่หลวงพ่อมีให้ น้อมรับด้วยใจครับ คือผมก็ยังไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญอะไร แต่อยากจะเขียน เพราะรู้ว่า ถ้าเรายิ่งเป็นผู้ให้ ยิ่งใช้ความรู้ที่มีอยู่ มันจะยิ่งเพิ่มพูน ดีกว่าเก็บไว้ครับ

และก็ต้องขอบคุณ P อาจารย์ ธวัชชัย ตัวจริง เสียงจริงที่ช่วยมาเสริมครับ All hands are welcome ^_^

 

-*-

ถ้ามันตรงกับความต้องการเราพอดีเป๊ะ ๆ เลยมันก็น่าใช้ครับ

 แต่บางครั้ง มันเกือบจะ แต่มันไม่ตรงนี่ดิพี่

ครั้นจะเอามาแก้เพิ่มเติม ก็ต้องไปนั่งไล่

บางครั้ง ความคิดไม่หยุดนิ่ง คิดระบบได้เยอะแยะ บางอย่างยังไม่มีใครคิด มันเลยต้องทำเอง เหอๆๆๆๆ

T__T

ขอบคุณคับพี่ เป็นข้อคิดที่ดีมากเลย ไหน ๆ จะเป็นนักเบสบอลแล้ว ยังไงก็ต้องหวดมันทุกวัน  สักวันคงโฮมรันได้เองแหระ

อืมมม อ่านดีๆ นะครับแบงค์ (CybErPunK)
บทความนี้พี่ต้องการจะสื่อถึง วัฒนธรรม Open source ไม่ได้หมายถึง การนำ Software Open source มาใช้เสียทีเดียว
ถ้าเราสามารถเอามาใช้ได้ นับว่าผ่านขั้นที่ 1 ครับ
แต่ถ้าเราสามารถเอามาแก้ไขปรับปรุงและคืนกลับให้สังคม นี่สิครับ น่าสนใจ

อย่าง Drupal ที่ยกตัวอย่างในบทความ ถ้าลองเข้าไปศึกษา source code เค้าดู
เช่น
http://drupal.org/coding-standards
http://drupal.org/writing-secure-code
เราจะได้ความรู้เยอะเลย และถ้าเอามาต่อยอดได้ พี่ว่าเยี่ยมนะ เพราะเราหาคนประเภทนี้ในสังคมไทยไม่ค่อยเจอเท่าไร
ก็ไม่อยากให้ develop รุ่นใหม่ทำอะไรแค่หยิบๆ มาดม กลิ่นไม่หอมก็ทิ้งไป
อยากจะบอกว่าบางทีมันเป็นกลิ่นทุเรียนที่แม้ไม่หอมแต่ก็อร่อยนะ (สำหรับคนที่ชอบ)

อ้อ สำหรับผู้อ่านที่ผ่านมาเจอแล้วสงสัยว่า นักเบสบอล คืออะไร ลองอ่าน blog.aanthe.com ครับ
ผมไปเขียน comment ทิ้งเอาไว้ ;)

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท