ชุมชนสาธิตวลัยลักษณ์ ก้าวย่างการพัฒนา(โหมโรง)


ภารกิจของโครงการคือ สนับสนุนการพัฒนาชุมชนสาธิตให้เป็นชุมชนคู่เคียงมหาวิทยาลัยตามปนิธานที่ตั้งไว้เมื่อตอนจัดตั้งมหาวิทยาลัย

เป้าหมายและความหมายของชุมชนคู่เคียง คือ (ในตัวโครงการ)

1)เป็นชุมชนพึ่งตนเองอย่างยั่งยืน มีสวัสดิการที่พอเพียงต่อการดำเนินชีวิต  ไม่ขาดไม่เกิน ทั้งทางร่างกาย จิตใจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
(ที่ระบายสี ผมเติมเอง)
2)เป็นพื้นที่เรียนรู้เพื่อดำเนินพันธกิจ4ด้านของมหาวิทยาลัยอย่างมีประสิทธิภาพ เกิดประโยชน์ต่อชุมชน สังคม และสร้างชื่อเสียงด้านวิชาการให้กับมหาวิทยาลัย และเป็นต้นแบบของการพัฒนาชุมชนอื่นๆ
3)สร้างรายได้ให้กับมหาวิทยาลัย

ผมนึกถึงโครงการชุมชนอินทรีย์ของจังหวัดที่ดำเนินการครอบคลุมทุกหมู่บ้าน/ตำบล แน่นอนว่าพื้นที่ชุมชนสาธิตมีส่วนเหลื่อมกับหมู่บ้าน/ตำบล จะประสานให้เข้าสู่ระบบของรัฐโดยเนียนเข้าไปในงานอย่างไร? ทั้งจังหวัดและอบต.

จะประสานการทำงานร่วมกับหน่วยพัฒนาองค์กรอย่างไรให้เกิดประโยชน์ เป็นการสร้างความเข้มแข็ง พัฒนามหาวิทยาลัยเป็นองค์กรเรียนรู้โดยมีโจทย์ในพื้นที่ชุมชนเป็นสนามเรียนรู้ร่วมกัน

ผมนึกถึงตัวอย่างของบริษัทปูนซีเมนต์ที่จัดกลุ่มพนักงานเป็นทีมเรียนรู้กลุ่มละ5-6คนลงไปศึกษาชุมชนรายรอบ คิดวิเคราะห์แนวทางการพัฒนาชุมชนอย่างมีส่วนร่วม ลงไปดำเนินโครงการร่วมกับชุมชน

ตัวอย่างของสำนักวิชาพยาบาลของเราเองที่เคยฟังผศ.ดร.เกียรติกำจร บรรยายให้ผู้เยี่ยมชมจากม.ราชภัฏเชียงใหม่เรื่องการเรียนการสอนของสำนักที่ให้นักศึกษาลงไปเป็นสมาชิกของครอบครัวในชุมชนสาธิต ร่วมศึกษาเรียนรู้สุขภาวะ การป้องกัน สร้างเสริม และเยียวยาคนในครอบครัว

ตัวอย่างของมอ.ที่อ.ประสาท มีแต้มจากคณะวิทยาศาสตร์ทำวิทยาเขตสีเขียว โดยให้นศ.จัดกลุ่มเรียนรู้ ศึกษาสภาพแวดล้อมในวิทยาเขต ทำประเด็นปัญหาเพื่อพัฒนาวิทยาเขตในหลักสูตรการเรียนการสอนทุกๆเรื่อง เช่น การใช้พลังงาน การบำบัดน้ำเสีย เป็นต้น

เรามีโครงการPBLของสำนักวิชาสหเวชก็น่าจะใช้พื้นที่ชุมชนสาธิตเป็นพื้นที่เรียนรู้ หรือทำอยู่แล้ว?

เพื่อนผมบอกว่าเดี๋ยวนี้เขาไม่ใช้PBLแล้ว เขาใช้RBLคือ Result Base Learning ผมไม่มีประสบการณ์ทั้งสองอย่าง

ผมเห็นว่า ในเบื้องต้นคณะกรรมการโครงการควรกำหนดนโยบายโดยตั้งปณิธานร่วมกันว่าจะพัฒนาชุมชนสาธิตให้เป็นชุมชนคู่เคียงมหาวิทยาลัย(เอาจริงนะ)

ให้รองอธิการบดีที่รับผิดชอบภารกิจแต่ละด้านของมหาวิทยาลัยทำการบ้านเพื่อเสนอแนวคิดและวิธีการดำเนินงานให้ผู้รับผิดชอบเชิงระบบตามกลไกของส่วนศูนย์สถาบันและสำนักวิชารับทราบและให้ข้อเสนอแนะ เพื่อร่วมกันจัดทำยุทธศาสตร์ ยุทธการและแผนงาน/โครงการ
แนวนี้ผมเลียนแบบมาจากการนำเสนอABC Researchของสกว.และการเข้าร่วมจัดทำroadmap เศรษฐกิจพอเพียงของอ.อภิชัย พันธเสน

ด่านแรกสำคัญที่ควรฟันฝ่าคือ ภาวะผู้นำทางความคิดของผู้บริหาร มิใช่ให้ผู้จัดการเสนอ รับทราบ เห็นชอบ มอบหมายดำเนินการ

ด่านที่2คือ ภาวะผู้นำการบริหารแบบมีส่วนร่วม

ด่านที่3คือ กระบวนการจัดการความรู้

ทั้งหลายทั้งปวงมิใช่งาน "รูตีน"แน่ (ยืมศัพท์ของอ.วิจารณ์ พานิช)

สงสัยผมทำหน้าที่ตามภาระงาน30%ผิดไปแล้ว ขอจบดีกว่า

คำสำคัญ (Tags): #no tag
หมายเลขบันทึก: 142000เขียนเมื่อ 26 ตุลาคม 2007 10:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 21:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวัสดีคะ พี่ภีม

  • ดีใจคะที่...พี่ภีมนึกถึง
  • และยินดีมากที่จะได้ร่วมงาน
  • อ่านไป คิดไป...ไม่รู่ว่าถูกหรือผิดนะคะ
  • เห็นดีว่า จะดีมากถ้าชุมชนสาธิตเติบโตเคียงคู่ไปกับมหาวิทยาลัย
  • แต่เมว่าสิ่งสำคัญเราต้องทราบก่อนว่า ขณะนี้ชุมชนสาธิตเป็นอย่างไร ต้องการอะไร มีอะไรที่ชุมชนสาธิตทำได้ดี หรือเป็นจุดแข็งที่ชุมชนมี อะไรบ้างที่ชาวมหาวิทยาลัยต้องไปเรียนรู้จากชุมชน อะไรที่เห็นว่าชุมชนยังขาดอยู่และต้องการการสนับสนุน
  • ซึ่งจะทำให้เราสามารถหาวิธีการสนับสนุน หาจุดร่วมที่จะเรียนรู้ร่วมกัน

ปล.ปีที่แล้วได้ไปร่วมงานวันเด็กที่โรงเรียนชุมชนใหม่ร่วมกับน้องๆ ชมรมอาสา ไม่ทราบว่าทาง ศบว. มีการคุยเรื่องนี้กันหรือไม่คะ อยากไปร่วมงานอีกและได้มีโอกาสร่วมกิจกรรมกับชุมชน

ขอบคุณคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท