AAR ในการเข้ารับการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร การประเมินผลและติดตามผลการฝึกอบรม


เนื่องจากเนื้อหาที่ได้ในการอบรมหลักสูตรนี้นั้น จะมีหลายส่วนที่น่าสนใจและมีรายละเอียดค่อนข้างเยอะ จะนำทยอยแจ้งในบันทึกต่อ ๆ ไปค่ะ

เมื่อสัปดาห์ที่แล้วดิฉันได้มีโอกาสเข้ารับการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร การประเมินผลและติดตามผลการฝึกอบรม (Training Evaluation and Follow-up) ณ โรงแรมดิเอมเมอรัลด์  กรุงเทพฯ  ซึ่งจัดโดยสมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย (PMAT) โดยมี ผศ.ขจรศักดิ์ หาญณรงค์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการฝึกอบรม  อดีตผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เอบีบี จำกัด  เป็นวิทยากรผู้ให้ความรู้ 
 
 เนื้อหาของการอบรมเป็นลักษณะการให้ความรู้โดยการบรรยายและจากการฝึกปฏิบัติ  ผ่าน case study และworkshop หลัก ๆ  ดังนี้
 
 case study :  ปัญหาในการติดตามผลการอบรม
 
 workshop 1 :  การกำหนดเกณฑ์/ตัวชี้วัดความสำเร็จของหลักสูตรฝึกอบรมและบทบาทผู้บังคับบัญชา

 workshop 2 : การวางแผนการประเมินผลและติดตามผล

 workshop 3 : การประเมินคุณภาพของแบบประเมิน/แบบทดสอบ

 workshop 4 : การเลือกวิธีการติดตามผล

 workshop 5 : การคำนวณค่าใช้จ่าย และประเมินผลตอบแทนจากการฝึกอบรมในเชิงความคุ้มค่า


ก่อนที่จะเล่ารายละเอียดของสิ่งที่ได้ไปเรียนรู้มา ในบันทึกนี้ ขอ AAR ในการเข้ารับการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร การประเมินผลและติดตามผลการฝึกอบรม นี้ก่อนนะคะ

• ความมุ่งหมาย/วัตถุประสงค์ ในการเข้ารับการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ 

 ดิฉันได้รับมอบหมายให้กลับมารับผิดชอบงานด้านการจัดฝึกอบรมให้กับบุคลากรของคณะวิทยาศาสตร์ อย่างเต็มตัว มาเป็นเวลาเกือบปีเต็ม  สิ่งหนึ่งที่ดิฉันตระหนักอยู่เสมอคือ หน้าที่ของผู้ที่ทำหน้าที่ฝึกอบรมอย่างดิฉัน ไม่ได้จบเพียงแค่การพัฒนาบุคลากรให้บรรลุตามแผนที่วางไว้ และส่งมอบบุคลากรที่ได้รับการพัฒนาแล้วคืนกลับสู่องค์กรเท่านั้น

 แต่การที่จะทำให้เราเป็นนักฝึกอบรมมืออาชีพได้นั้น  เราควรจะทำให้ผู้บริหาร เชื่อมั่นและเห็นคุณค่าของการฝึกอบรม ซึ่งเราควรจะประเมินผลและวัดค่าของการฝึกอบรมให้กับองค์กรได้ ทำให้ผู้บริหารเห็นว่า การฝึกอบรมไม่ใช่การลงทุนที่สิ้นเปลือง แต่เป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญในการทำให้องค์กรบรรลุตามเป้าหมายและพันธกิจขององค์กรได้

 นั่นหมายความว่าเราจะต้องมีระบบการประเมินผลและติดตามผลการฝึกอบรมที่มีประสิทธิภาพ ดังนั้น  นี่คือความมุ่งหมาย/วัตถุประสงค์หลักในการเข้ารับการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการของดิฉันในครั้งนี้

 ส่วนวัตถุประสงค์รอง นั่นคือ  ดิฉันจะนำความรู้ที่ได้มากำหนดแนวทางในการประเมินผลและติดตามผลการฝึกอบรม ในหลักสูตรที่ได้มีการดำเนินการไปแล้วในรอบปีที่ผ่านมา

• บรรลุผลเกินความคาดหมาย  เพราะเหตุใด

ตลอดเวลา 2 วัน ของการเข้ารับการฝึกอบรมฯ นี้ เป็นประโยชน์มาก  ถึงแม้ว่าในการทำ workshop แต่ละครั้งจะเครียด แต่จากการที่ได้เข้ากลุ่มกับผู้เข้าอบรมที่มาจากหลากหลายหน่วยงาน  ทำให้ได้แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์มาก และด้วยจำนวนผู้เข้าอบรมที่ไม่มากนัก ทำให้ได้มีโอกาสทำความรู้จัก และร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในงานที่รับผิดชอบ ซึ่งเป็นประโยชน์มากในการสร้างเครือข่ายผู้ที่รับผิดชอบงานด้านฝึกอบรมเหมือนกัน

• บรรลุผลน้อยเพราะเหตุใด

จากการที่ได้มีโอกาสเข้ารับการฝึกอบรมฯ นี้ ทำให้ดิฉัน ได้รับทราบข้อมูลว่า  ในการส่วนวัตถุประสงค์รอง ที่ระบุไว้ว่า  ดิฉันจะนำความรู้ที่ได้มากำหนดแนวทางในการประเมินผลและติดตามผลการฝึกอบรม ในหลักสูตรที่ได้มีการดำเนินการไปแล้วในรอบปีที่ผ่านมานั้น

ดิฉันคิดผิดถนัดค่ะ  เพราะในการติดตามและประเมินผล  ถ้าจะให้บรรลุผลนั้น ควรดำเนินการติดตามหลังการอบรมแล้วเสร็จ  ไม่ควรเกิน 3 เดือน  หรือสูงสุดไม่ควรเกิน 6 เดือน  โดยเฉพาะหลักสูตรที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ควรติดตามหลังการอบรมแล้วเสร็จไม่ควรเกิน 1 เดือน  เพราะทุกอย่างที่ได้รับการพัฒนามา เมื่อเข้าสู่สภาพแวดล้อมเดิม ๆ วัฒนธรรมเดิม ๆ ทุกอย่างก็จะกลับสู่สภาวะปกติ

นอกจากนี้ในการประเมินผลและติดตามผลการฝึกอบรม  ถ้าจะให้เห็นผลสัมฤทธิ์จริง ๆ จะต้องสามารถวัดให้เห็นผลในเชิงของความคุ้มค่าของการลงทุนที่วัดได้เป็นตัวเงิน ซึ่งถือว่าเป็นระดับของการประเมินสูงสุด (ระดับ 5)  แต่สำหรับการประเมินในระดับนี้  จะเหมาะกับองค์กรหรือหน่วยงานที่เป็นลักษณะของธุรกิจมากกว่าหน่วยงานที่เป็นส่วนราชการ ดังนั้น สิ่งที่จะนำมาปรับใช้กับหน่วยงานราชการได้ คือการประเมินในระดับ 1-4 (รายละเอียดของรูปแบบการประเมินในแต่ละระดับจะนำเสนอในบันทึกต่อๆ ไปค่ะ)

• ทำอะไรต่อ

นำสิ่งที่ได้รับจากการเข้ารับการฝึกอบรมในครั้งนี้  ถ่ายทอดให้รองคณบดีฯ ที่รับผิดชอบ และร่วมกันกำหนดรูปแบบการประเมินผลและติดตามผลการฝึกอบรม ที่เหมาะสม เพื่อใช้ประเมินผลความคุ้มค่าในการออกแบบหลักสูตรการพัฒนาบุคลากรในปีงบประมาณ 2551 และเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการปรับปรุงหลักสูตรพัฒนาบุคลากรในปีงบประมาณต่อ ๆไป

• อะไรคือสิ่งที่เราเรียนรู้ครั้งนี้

1. เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการพัฒนาบุคลากรนั้น หลายฝ่ายต้องร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่เข้ารับการพัฒนา  เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ  ผู้บริหารที่เกี่ยวข้อง ผู้บังคับบัญชาตามสายงาน  ตลอดจนผู้บริหารระดับสูง 

2. ในการออกแบบหลักสูตรพัฒนาบุคลากร เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด  หน่วยงานผู้รับผิดชอบ ควรกำหนดตัวชี้วัด เป้าหมาย  ตลอดจนรูปแบบของการประเมินและติดตามผลการฝึกอบรม ไว้ล่วงหน้า

3.สำหรับผู้ที่เริ่มเข้ามารับผิดชอบงานด้านพัฒนาบุคลากร  ถ้าจะให้สามารถเข้าใจ concetp ของการพัฒนาบุคลากรให้ได้ครอบคลุม  ควรจะหาโอกาสเข้ารับการอบรมครบทั้ง 3 หลักสูตร นั่นคือ หลักสูตรกลยุทธ์การวางแผนฝึกอบรมและการวิเคราะห์หาความจำเป็นเพื่อการพัฒนาบุคลากร, หลักสูตรการออกแบบและพัฒนาหลักสูตร และหลักสูตรสุดท้าย หลักสูตรการประเมินผลและติดตามผลการฝึกอบรม

 เนื่องจากเนื้อหาที่ได้ในการอบรมหลักสูตรนี้นั้น จะมีหลายส่วนที่น่าสนใจและมีรายละเอียดค่อนข้างเยอะ  จะนำทยอยแจ้งในบันทึกต่อ ๆ ไปค่ะ

หมายเลขบันทึก: 141840เขียนเมื่อ 25 ตุลาคม 2007 16:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 มิถุนายน 2012 14:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ถ้าคนอบรมได้มาเขียน blog เล่าสู่กันฟังอย่างที่คุณแป๊ดทำ  งานพัฒนาฝึกอบรม คงได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันมากขึ้น

ว่าแต่....อย่าลืมส่งโครงการมาให้ด้วยนะจ๊ะ

อิอิ

ดีมากเลยครับอาจารย์นำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างมาก

ขอบคุณพี่แป๊ดมากคะ

  • ที่นำประสบการณ์มาแบ่งปัน
  • มีประโยชน์มากคะ เพราะปัจจุบัน นอกจากที่ต้องกระตุ้น อำนวยความสะดวกให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อการพัฒนาระบบงาน การบริหารจัดการ ยังต้องจัดฝึกอบรมุ
  • และรู้ว่าการประเมินและติดตามผลการฝึกอบรมเรายังไม่ได้ทำและรู้ว่ายังขาดองค์ความรู้ด้านนี้
  • ทำให้บันทึกเล่าเรื่องของพี่แป็ดจึงจุดประกายให้น้องเมได้ศึกษาเพิ่มเติม และติดตามอ่านบันทึกของพี่แป็ดแน่แน่
  • ขอบคุณคะ
  • สวัสดีค่ะ ขอสมัครเป็นสมาชิกใหม่นะค่ะ
  • การประเมินผลและติดตามผลการฝึกอบรม ที่พี่นำมาแลกเปลี่ยนครั้งนี้ได้ความรู้อย่างมากเลยต้องขอขอบคุณที่นำสิ่งดี ๆ มาให้ค่ะ จะติดตามอ่านตอนต่อไปด้วยนะค่ะ ได้ความรู้เยาะจริง ๆ (ปลื้ม)
  • มาสมัครด้วยคนครับพี่
  • ขอเรียนด้วย
  • สบายดีไหมครับ

เข้ามาขอเรียนด้วย  แล้วจะเข้ามาอ่านอีกค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท