การทำปุ๋ยหมักสูตรเกษตรกรดีเด่นจังหวัดตราด


การทำปุ๋ยหมักสูตรเกษตรกรดีเด่นจังหวัดตราด

วันก่อนได้เล่าเรื่อง ไปเยี่ยมเกษตรกรที่จะเข้าประกวดระดับเขตมาครับ ซึ่งการไปในครั้งนั้นได้องค์ความรู้ต่างๆมากมายแต่ยังไม่มีโอกาสเล่าให้ทุกท่านได้รับฟัง วันนี้จะขอนำเรื่องของการทำปุ๋ยหมักมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับทุกท่าน

อาจารย์บัณฑิตเป็นเกษตรกรอีกท่านหนึ่งที่ดำเนินการผลิตตามแนวทางของเกษตรอินทรีย์มาหลายปีแล้ว และท่านก็เป็นหมอดินอาสาของกรมพัฒนาที่ดิน เป็นอาสาสมัครเกษตรและศูนย์เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้านของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อีกทั้งการที่ท่านเป็นคนมีน้ำใจชอบเผยแพร่ความรู้ และชอบศึกษาหาความรู้ทำให้ท่านเป็นที่รักของคนมากมาย ผมได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการเตรียมข้อมูล พบว่าอาจารย์บัณฑิตเป็นคนที่เก็บข้อมูลได้ดีมาก (เอาภาพหนังสือเก็บผลงานของอาจารย์มาให้ดุกันครับ หนากว่า 200 หน้า เนื้อหาข้อมูลครบถ้วนมากๆ)

 

สำหรับสูตรการทำปุ๋ยหมักมีดังนี้

การทำปุ๋ยหมักแห้งจากปุ๋ยคอกโดยใช้เชื้อ พ.ด.1
วัสดุอุปกรณ์
1. ปุ๋ยคอก (ขี้เป็ด,ขี้ไก่,ขี้วัว ฯลฯ)       20      ก.ก.
2. รำละเอียด                                2        ก.ก
3. พ.ด.1                                     1        ซอง
4. น้ำสะอาด                                               
วิธีการทำ          
1. กองปุ๋ยคอกเกลี่ยแผ่ให้หนาพอควร         
2. โรยรำละเอียดให้ทั่ว         
3. เชื้อ พ.ด.1 ฉีกซองแช่น้ำประมาณ 5-10 นาที ใช้ไม้กวน โปรยน้ำลงบนกองให้ทั่ว         
4. ใช้จอบผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน โปรยน้ำสะอาดลงไปอีกพอหมาดๆ มีความชื้นประมาณ 45% ใช้มือบีบคลายออก ปุ๋ยเป็นก้อน ไม่แตกออกและน้ำไม่ไหลออกตามง่ามมือถือว่าพอดีใช้ได้         
5. เกลี่ยกองปุ๋ยเป็นรูปสี่เหลี่ยมหนาพอควรใช้กระสอบคลุม         
6. หมักไว้ 7 วัน พลิกกองปุ๋ยทุกวันเพื่อระบายความร้อนและเติมอากาศให้กับจุลินทรีย์         
7. กองปุ๋ยจะเริ่มร้อนขึ้นเมื่อหมักครบ 24 ชม. และจะร้อนไปจนถึงวันที่ 4 ความร้อนจะเริ่มลดลงจนถึงวันที่ 7 เป็นปุ๋ยเย็นนำไปใช้ใส่ต้นไม้ได้
วิธีการใช้            
1. ใส่แปลงผักใช้ประมาณ 4 บุ้งกี๋ / 1 ต.ร.ม. ผสมคลุกเคล้ากับดิน         
2. ถ้าจะให้ดีใช้ปุ๋ยหมักแห้งจาก พ.ด.1 กับ พ.ด.3 อย่างละ 1 ส่วนเท่าๆกันจะได้ผลดีมากเพราะป้องกันโรคโคนเน่ารากเน่า         
3. ถ้าจะทำดินหมักให้ใช้ดินอีกเท่าตัวเกลี่ยแผ่ผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน รดน้ำพอหมาดหมักไว้ 7 วันคลุมกองด้วยกระสอบพลิกกองทุกวันเสร็จแล้วนำไปปลูกต้นไม้ได้เป็นดินผสมอย่างดี         
4. ถ้าจะให้ได้ผลดีควรใช้คู่กับปุ๋ยหมักน้ำ(น้ำหมักชีวภาพ พ.ด.2) เพื่อเป็นการเติมจุลินทรีย์ลงดิน 

การทำปุ๋ยหมักแห้งจากปุ๋ยคอกโดยใช้เชื้อ พ.ด.3
วัสดุอุปกรณ์
1. ปุ๋ยคอก (ขี้เป็ด,ขี้ไก่,ขี้วัว ฯลฯ)           20      ก.ก
2. รำละเอียด                                    2        ก.ก.
3. พ.ด.3                                         1        ซอง
4. น้ำสะอาด                                               
วิธีการทำ          
1. กองปุ๋ยคอกเกลี่ยแผ่ให้หนาพอควร         
2. โรยรำละเอียดให้ทั่ว         
3. ใช้เชื้อ พ.ด.3 ฉีกซองแช่น้ำประมาณ 5-10 นาที ใช้ไม้กวนโปรยน้ำลงบนกองให้ทั่ว         
4. ใช้จอบผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน โปรยน้ำสะอาดลงไปอีกพอหมาดๆ มีความชื้นประมาณ 45% ใช้มือบีบคลายออก ปุ๋ยเป็นก้อน ไม่แตกออกและน้ำไม่ไหลออกตามง่ามมือถือว่าพอดีใช้ได้         
5. เกลี่ยกองปุ๋ยเป็นรูปสี่เหลี่ยมหนาพอควรใช้กระสอบคลุม         
6. หมักไว้ 7 วัน พลิกกองปุ๋ยทุกวันเพื่อระบายความร้อนและเติมอากาศให้กับจุลินทรีย์         
7. กองปุ๋ยจะเริ่มร้อนขึ้นเมื่อหมักครบ 24 ชม. และจะร้อนไปจนถึงวันที่ 4 ความร้อนจะเริ่มลดลงจนถึงวันที่ 7 เป็นปุ๋ยเย็นนำไปใช้ใส่ต้นไม้ได้
วิธีการใช้            
1. ใส่แปลงผักใช้ประมาณ 4 บุ้งกี๋ /1 ต.ร.ม. ผสมคลุกเคล้ากับดิน
        
2. ถ้าจะให้ดีใช้ปุ๋ยหมักแห้งจาก พ.ด.1 กับ พ.ด.3 อย่างละ 1 ส่วนเท่าๆกันจะได้ผลดีมากเพราะป้องกันโรคโคนเน่ารากเน่า         
3. ถ้าจะให้ได้ผลดีควรใช้คู่กับปุ๋ยหมักน้ำ(น้ำหมักชีวภาพ พ.ด.2) เพื่อเป็นการเติมจุลินทรีย์ลงดิน 

การทำปุ๋ยหมักน้ำน้ำหมักชีวภาพ พ.ด.2
วัสดุอุปกรณ์
1. ผลไม้ เช่น สับปะรด,กระท้อน ฯลฯ        30      ก.ก
2. กากน้ำตาล                                    10      ก.ก.
3. น้ำสะอาด                                      30      ลิตร
4. พ.ด.2                                           1        ซอง
5. ถังพลาสติกหมักขนาด 200 ลิตร           1        ลูก
วิธีการทำ         
1.ล้างสับปะรดให้สะอาดใช้มีดหั่นสับเป็นแว่นๆทั้งเปลือก เทลงถังหมัก         
2. เทกากน้ำตาลลงในถังใช้ไม้กวนผสมให้ทั่ว         
3. เติมน้ำสะอาดลงไปตามจำนวน         
4. ฉีกซอง พ.ด.2 เทเชื้อลงไปใช้ไม้กวนให้ทั่ว         
5. ปิดถังด้วยถุงพลาสติกแล้วใช้เชือกผูกมัดปากถังให้เรียบร้อย         
6. หมักไว้ 3 สัปดาห์(21 วัน) เปิดถังใช้ไม้กวนเป็นบางครั้งบางคราวประมาณ 3 วัน/ครั้ง
วิธีการใช้         
1. กรองเอาแต่น้ำหมัก นำไปผสมน้ำตามอัตรส่วนดังนี้         
1.1  1 / 200 ฉีดพ่นไม้ผลต้นแก่ให้ผลแล้ว (5 ปีขึ้นไป)         
1.2  1 / 500 ฉีดพ่นไม้ผลต้นอ่อนยังไม่ให้ผล (1-5 ปี)         
1.3  1 / 1,000 ฉีดพ่นแปลงผัก,พืชผักสวนครัว         
2. เน้นการฉีดลงดิน        
 2.1 ไม้ผลควรฉีดให้ครบ 8 ครั้งในฤดูฝน         
2.2 แปลงผักผสมน้ำ1 / 1,000ใช้บัวรดน้ำรดทุกวัน         
2.3 ลองกองติดผลแล้ว ใช้ 1 / 200 ฉีดช่อผลป้องกันโรคราน้ำค้าง ประมาณ 5-7 วัน/ครั้ง         
2.4 ลองกองเป็นขี้กลากใช้ 1 / 10 ฉีดพ่นตามลำต้นและกิ่งที่เป็น ประมาณ 3-5วัน/ครั้ง

การทำน้ำหมักสมุนไพร พ.ด.7
วัสดุอุปกรณ์

1. สมุนไพร เช่นใบสะเดา,ตะไคร้หอม,สาบเสือฯลฯ  30 กก.                 
2. กากน้ำตาล                                  10      ก.ก.
3. น้ำสะอาด                                    30      ลิตร
4. พ.ด.7                                           1        ซอง
5. ถังพลาสติกหมักขนาด200ลิตร           1        ลูก
วิธีการทำ         
1. สับสมุนไพรให้เป็นท่อนยาวประมาณ 1-2 นิ้วเทลงถังหมัก         
2. เทกากน้ำตาลลงในถังใช้ไม้กวนผสมให้ทั่ว         
3. เติมน้ำสะอาดลงไปตามจำนวน         
4. ฉีกซอง พ.ด.7 เทเชื้อลงไปใช้ไม้กวนให้ทั่ว        
5. ปิดถังด้วยถุงพลาสติกแล้วใช้เชือกผูกมัดปากถังให้เรียบร้อย         
6. หมักไว้ 3 สัปดาห์(21 วัน) เปิดถังใช้ไม้กวนเป็นบางครั้งบางคราวประมาณ 3 วัน/ครั้ง
วิธีการใช้         
1. กรองเอาแต่น้ำหมักนำไปผสมน้ำตามอัตราส่วนดังนี้         
1.1 1 / 200 ฉีดพ่นไล่แมลงในไม้ผล         
1.2 1/500 ฉีดพ่นไล่แมลงในแปลงผัก         
2. ถ้าระบาดมากฉีด 3 วัน / ครั้ง      ถ้าระบาดน้อยฉีด 5-7 วัน / ครั้ง
3. ถ้าจะให้ได้ผลดีควรฉีดพ่นสลับกลิ่นอย่าใช้ชนิดเดียวซ้ำกัน

หมายเลขบันทึก: 140879เขียนเมื่อ 22 ตุลาคม 2007 15:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 15:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
  • ประมาณ 7 ปีที่แล้ว เคยมาศึกษาดูงานเกษตรอินทรีย์ที่ จ.ตราด ค่ะ (ก่อนมีโครงการเกษตรอินทรีย์ในโรงเรียน)
  • ถือได้ว่าเกษตรกรที่ จ.ตราดเป็นครูคนแรกในเรื่องเกษตรอินทรีย์ของโรงเรียนเกษตรอินทรีย์ค่ะ
  • ได้ชิมลองกองด้วย (รดด้วยน้ำหมักชีวภาพ)...หวานติดปากติดใจเลยค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ
  • สวัสดีครับอาจารย์ Gutjang
  • ผมคาดว่าน่าจะเป็นสวนลองกองของน้ายม (นิยม อภิบายศรี)หรือเปล่าครับ แกเป็นครูโรงเรียนเกษตรอินทรีย์ผมสมัยที่ผมยังเป็นเกษตรตำบลอยู่ครับ
  • ที่ตราดมีหลายที่ครับที่ทำเกษตรอินทรีย์แต่บางรายก็เปลี่ยนไปปลูกยางแล้วเพราะว่าอายุมากขึ้นการทำเกษตรอินทีย์ต้องใช้แรงงานมากครับ

 

  • สวัสดีครับ
  • เยี่ยมมากเลยครับตัวอย่างการเก็บผลงานของเกษตรกร
  • ขอบคุณครับที่นำสิ่งดีๆ ในพื้นที่มาแลกเปลี่ยน

 

  • สวัสดีครับพี่สิงห์ป่าสัก
  • ขอบคุณครับที่เข้ามาเยี่ยมเยียนครับ
  • อาจารย์บัณฑิตเป็นผู้ที่เก็บรวบรวมข้อมูลดีมากครับ ในเล่มดังกล่าวมีเอกสารต่างๆอย่างครบถ้วนครับ ทั้งหนังสือเชิญประชุมจนถึงประกาสเกียรติคุณต่างๆครับ
  • สวัสดีครับคุณ สุดทางบูรพา
  • สมควรได้รับรางวัลจริงๆครับ
  • สวัสดีครับพี่หนุ่มร้อยเกาะ
  • คนมีความสามารถและพร้อมที่จะถ่ายทอดหายากครับ อาจารย์แกเคยเป็นนักส่งเสริมการเกษตรเมื่อปี 2523 ครับ แต่ลาออกไปเป็นครูครับ บรรจุที่สนามชัยเขตครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท