ตัวอย่างวิจัยในชั้นเรียน


การประเมินการมีคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยมทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 โรงเรียนไพรธรรมคุณวิทยา ปีการศึกษา 2/2549
งานวิจัยในชั้นเรียน เรื่อง การประเมินการมีคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยมทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 โรงเรียนไพรธรรมคุณวิทยา ปีการศึกษา 2/2549 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา ในปัจจุบันผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในวิชาคณิตศาสตร์นั้นอยู่ในระดับที่ต่ำ ซึ่งเกิดจากปัจจัยหลายๆ ด้าน อาทิเช่น 1. ความแตกต่างระหว่างบุคคล ทำให้ผู้เรียนแต่ละคนมีศักยภาพในการเรียนรู้แตกต่างกัน 2. แหล่งเรียนรู้เพิ่มเติมนอกห้องเรียนมีจำนวนน้อยไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้เรียน เช่น หนังสือในห้องสมุด สื่อการเรียน เป็นต้น 3. ครูผู้สอนไม่มีเวลาเพียงพอในการจัดสอนซ่อมเสริมนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ 4. ในวันที่ครูไปราชการหรือลาโรงเรียนไม่สามารถจัดครูเข้าสอนแทนได้เพราะครูผู้สอนในแต่ละกลุ่มสาระมีน้อย ทำให้ผู้เรียนขาดโอกาสในการเรียน คุณธรรมจริยธรรมและค่านิยมทางคณิตศาสตร์ ก็เป็นอีกสิ่งที่แสดงถึงความนึกคิดของนักเรียนที่มีต่อ การเรียนคณิตศาสตร์ หากนักเรียนนักรักในวิชาคณิตศาสตร์ก็จะทำให้นักเรียนตั้งใจ และมีผลสัมฤทธิ์ที่ดีในวิชาคณิตศาสตร์ จากสภาพปัญหาและแนวคิดดังกล่าวจึงทำให้ผู้วิจัยสนใจที่จะสำรวจคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยมทางคณิตศาสตร์ของนักเรียน ซึ่งผลการศึกษาครั้งนี้จะเป็นแนวทางแก่ครู และผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาได้นำไปใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนในรายวิชาอื่น ๆ ต่อไป วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อสำรวจคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยมทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 โรงเรียนไพรธรรมคุณวิทยา ปีการศึกษา 2/2549 ความสำคัญของการวิจัย 1. เพื่อเป็นการศึกษานักเรียนเป็นรายบุคคล 2. เพื่อเป็นข้อสนเทศในการจัดการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ ขอบเขตการวิจัย นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 โรงเรียนไพรธรรมคุณวิทยา ปีการศึกษา 2/2549 จำนวน 28 คน วิธีดำเนินการวิจัย ประชากร นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 โรงเรียนไพรธรรมคุณวิทยา ปีการศึกษา 2/2549 จำนวน 28 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง แบบประเมินการมีคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยมทางคณิตศาสตร์ การดำเนินการ 1. แจกแบบประเมิน ให้นักเรียนทั้ง 28 คน 2. แล้วนำผลการประเมินไปวิเคราะห์ผลต่อไป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล 1. ร้อยละ 2. ค่าเฉลี่ย 3. ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ตารางแสดงร้อยละของนักเรียน แยกตามผลการประเมิน รายการ จำนวน ร้อยละ [ ] (1) ปฏิบัติโดยอาศัยผู้อื่นคอยบอก สั่ง กระตุ้น หรือกำกับดูแลให้ปฏิบัติ 0 0.0 [ ] (2) ปฏิบัติโดยอาศัยผู้อื่นชี้แนะ แนะนำ เตือน หรือให้กำลังใจ 4 14.3 [ ] (3) ปฏิบัติเองโดยไม่ต้องมีใครสั่งหรือเตือน 19 67.9 [ ] (4) ปฏิบัติเองจนเป็นนิสัย เป็นแบบอย่างแก่ผู้อื่นได้ 5 17.9 [ ] (5) ปฏิบัติเองจนเป็นนิสัย เป็นแบบอย่างแก่ผู้อื่น และแนะนำให้ผู้อื่นปฏิบัติได้ 0 0.0 รวม 28 100 ตารางแสดงผลการประเมินเป็นรายบุคคล และ แสดงค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ชื่อ ผลการประเมิน โกสนธิ์ 3 ธีรศักดิ์ 3 ปรเมศวร์ 4 พงษ์พัฒน์ 3 ศุภศิลป์ 4 สิทธิกร 3 บุญจันทร์ 3 บุญเสริม 3 กนกวรรณ 2 กมลชนก 3 กรทิพย์ 4 กรองกาญน์ 3 กาญจนา 3 ชนิตา 3 ญาณี 3 นงลักษณ์ 3 ปนัดดา 3 ปวีณา 3 มณีวรรณ 3 ลัดดาวัลย์ 3 สมพร 2 สุพัตรา (จ) 3 สุพัตรา 3 อักษรศรี 3 อัจฉรี 2 พรทิพย์ 2 พฤกษา 4 ประวิทย์ 4 ค่าเฉลี่ย 3.04 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.58 สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ สรุป / อภิปรายผล นักเรียนโดยมาก สามารถเองโดยไม่ต้องมีใครสั่งหรือเตือน ซึ่งสอดคล้องกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของห้อง ม.4/1 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่ดี และบางคนปฏิบัติเองจนเป็นนิสัย เป็นแบบอย่างแก่ผู้อื่นได้ ซึ่งถือว่าดีมากและควรยกย่องส่งเสริมนักเรียนเหล่านั้นต่อไป แต่สำหรับนักเรียนที่ปฏิบัติโดยอาศัยผู้อื่นชี้แนะ แนะนำ เตือน หรือให้กำลังใจ ควรให้กำลังใจในการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นการตรวจแบบฝึกหัด หรือการมอบหมายงานให้ทำ และควรนำผลการประเมินนี้ไปประกอบการมอบหมายงานต่อไป ข้อเสนอแนะ 1. ควรนำผลการประเมินนี้ไปประกอบการมอบหมายงานในวิชาต่างๆต่อไป 2. ควรมีการประเมินในห้องอื่นๆ หรือระดับชั้นอื่นๆ ต่อไป 3. ควรประเมินให้หลากหลายวิชา และนำมาเปรียบเทียบกัน ภาคผนวก แบบประเมินการมีคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยมทางคณิตศาสตร์ แบบประเมินการมีคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยมทางคณิตศาสตร์ คำชี้แจง 1. ให้นักเรียนอ่านรายการปฏิบัติต่อไปนี้ทีละรายการ แล้วพิจารณาการปฏิบัติของตนเองว่าอยู่ในระดับใด และเขียน / ลงในช่องการปฏิบัติที่ตรงกับการปฏิบัติจริงของตน การปฏิบัติมี 5 ระดับ คือ (1) ปฏิบัติโดยอาศัยผู้อื่นคอยบอก สั่ง กระตุ้น หรือกำกับดูแลให้ปฏิบัติ (2) ปฏิบัติโดยอาศัยผู้อื่นชี้แนะ แนะนำ เตือน หรือให้กำลังใจ (3) ปฏิบัติเองโดยไม่ต้องมีใครสั่งหรือเตือน (4) ปฏิบัติเองจนเป็นนิสัย เป็นแบบอย่างแก่ผู้อื่นได้ (5) ปฏิบัติเองจนเป็นนิสัย เป็นแบบอย่างแก่ผู้อื่น และแนะนำให้ผู้อื่นปฏิบัติได้ 2. เมื่อพิจารณาทุกด้านแล้วให้นับจำนวนเครื่องหมาย / ในแต่ละช่อง แล้วเขียนจำนวนในแถวรวมการปฏิบัติของช่องนั้น 3. จำนวนเครื่องหมาย / ในช่องใดมากที่สุด สรุปว่า นักเรียนมีคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยมทางคณิตศาสตร์ในระดับนั้น ________________________________________ ข้อที่ รายการปฏิบัติ การปฏิบัติ (1) (2) (3) (4) (5) 1 ปฏิบัติงานคณิตศาสตร์ด้วยความละเอียดรอบคอบ มีระเบียบวินัย 2 ปฏิบัติงานคณิตศาสตร์ด้วยความซื่อสัตย์ 3 ปฏิบัติงานคณิตศาสตร์ด้วยความรับผิดชอบ มุ่งมั่น ขยัน อดทน จนงานสำเร็จ 4 สนใจใฝ่หาความรู้ทางคณิตศาสตร์ด้วยตนเอง 5 ปฏิบัติงานคณิตศาสตร์ด้วยความเชื่อมั่นในตนเองกล้าแสดงออก 6 รวมกลุ่มกับเพื่อนปฏิบัติงานคณิตศาสตร์ ด้วยความสามัคคี เสียสละ มีน้ำใจ และมีความเป็นประชาธิปไตย 7 ปฏิบัติงานคณิตศาสตร์ด้วยความพึงพอใจ เห็นคุณค่า เห็นความงานในคณิตศาสตร์ รวมการปฏิบัติ สรุปผลการประเมิน [ ] (6) ปฏิบัติโดยอาศัยผู้อื่นคอยบอก สั่ง กระตุ้น หรือกำกับดูแลให้ปฏิบัติ [ ] (7) ปฏิบัติโดยอาศัยผู้อื่นชี้แนะ แนะนำ เตือน หรือให้กำลังใจ [ ] (8) ปฏิบัติเองโดยไม่ต้องมีใครสั่งหรือเตือน [ ] (9) ปฏิบัติเองจนเป็นนิสัย เป็นแบบอย่างแก่ผู้อื่นได้ [ ] (10) ปฏิบัติเองจนเป็นนิสัย เป็นแบบอย่างแก่ผู้อื่น และแนะนำให้ผู้อื่นปฏิบัติได้ ประเมิน ณ วันที่ ......... เดือน................................... พ.ศ.................
หมายเลขบันทึก: 140858เขียนเมื่อ 22 ตุลาคม 2007 14:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 20:35 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

น่าจะเป็นคนมีระเบียบกว่านี้ซักหน่อย เสียดายงานอ่านไม่รู้เรื่องเลยน่าจะเกิดประโยชน์กับคนอื่นๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท