เทคโนโลยีกับบทบาทในการจัดการศึกษา


เทคโนโลยีกับบทบาทในการจัดการศึกษา
เทคโนโลยีกับบทบาทในการจัดการศึกษาเทคโนโลยีสารสนเทศนั้น เป็นการรวมตัวของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีโทรคมนาคมเข้าด้วยกัน อาจกล่าวได้ว่าเป็นหัวใจสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศเลยทีเดียว เพราะเทคโนโลยีสารสนเทศจำเป็นต้องมีเทคโนโลยีอื่นเข้ามาช่วยในการจัดหา วิเคราะห์ ประมวล และจัดการกับข่าวสารข้อมูลจำนวนมหาศาล จึงขาดเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เสียมิได้ เทคโนโลยีที่เข้ามามีบทบาทในเทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น เทคโนโลยีที่ใช้ในการจัดเก็บ รวบรวมข้อมูล คอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และฐานข้อมูล เทคโนโลยีเหล่านี้เป็นหัวใจสำคัญในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีที่ใช้ในการเผยแพร่ แลกเปลี่ยนสารสนเทศ และแสดงผลของการประมวลข้อมูลเทคโนโลยีระบบสื่อสารมวลชน ได้แก่ วิทยุ และโทรทัศน์ในปัจจุบัน การที่จะจัดการศึกษาให้บรรลุอุดมการณ์การศึกษาตลอดชีวิตสำหรับทุกคน ไม่ว่าการจัดการศึกษาในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ ไม่ว่าเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีโทรคมนาคม และเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้โดยความจำเป็นในตัวเอง และปัจจุบันอีกเช่นกันที่เทคโนโลยีเหล่านี้เข้ามามีบทบาท มีส่วนสำคัญ ต่อการจัดการศึกษา พัฒนาการทางการศึกษาของประเทศไทย อาศัยความก้าวหน้าทางด้านการสื่อสาร เป็นส่วนประกอบสำคัญ ทั้งในระบบและนอกระบบโรงเรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาทางไกล ตัวอย่างที่ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชได้ใช้ระบบนี้ในการจัดการศึกษาซึ่งพบว่า การจัดการศึกษาเกี่ยวข้องกับการพัฒนาทางด้านการสื่อสารทั้งสิ้น เทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์และการสื่อสารโทรคมนาคมมีบทบาทที่สำคัญต่อการพัฒนาการศึกษา เข้ามามีส่วนช่วยเรื่องการเรียนรู้ สนับสนุนการเรียนรู้ ระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) ระบบสนับสนุนการรับรู้ข่าวสาร เช่น การค้นหาข้อมูลข่าวสารเพื่อการเรียนรู้ใน World Wide Web เข้ามาสนับสนุนการจัดการศึกษา โดยเฉพาะการจัดการศึกษาสมัยใหม่จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลข่าวสารเพื่อการวางแผน การดำเนินการ การติดตามและประเมินผลซึ่งอาศัยคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารโทรคมนาคมเข้ามามีบทบาทที่สำคัญ เทคโนโลยีสารสนเทศที่นำมาใช้สำหรับการสอนเป็นการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่หลายอย่าง ทำให้การเรียนการสอนด้วยอุปกรณ์ที่ทันสมัย ห้องเรียนสมัยใหม่ มีอุปกรณ์วิดีโอโปรเจคเตอร์ (Video Projector) มีเครื่องคอมพิวเตอร์ มีระบบการอ่านข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์แบบต่างๆ รูปแบบของสื่อการศึกษาที่นำมาใช้ในการเรียนการสอน ก็มีหลากหลาย เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ซีเอไอ (Computer-Assisted Instruction) เป็นการนำเอาเทคโนโลยีรวมกับการออกแบบโปรแกรมการสอนมาใช้ช่วยสอน การจัดโปรแกรมการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนในรูปของสื่อประสม (Multimedia) นำเสนอได้ทั้งภาพ ข้อความ เสียง ภาพเคลื่อนไหวฯลฯ เหมาะกับการศึกษาด้วยตนเองนๆ การเรียนการสอนโดยใช้เว็บเป็นหลัก การเรียนการสอนแบบนี้อาศัยศักยภาพและความสามารถของเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ซึ่งเป็นการนำเอาสื่อการเรียนการสอนเป็นเทคโนโลยีสูงสุดมาช่วยสนับสนุนการเรียนการสอนให้เกิดการเรียนรู้จากการสืบค้นข้อมูล และเชื่อมโยงเครือข่ายทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้ทุกสถานที่และทุกเวลา การใช้มัลติมีเดียก็เพิ่มทางเลือกในการเรียนและสนองต่อรูปแบบของการเรียนของนักเรียนที่แตกต่างกัน การจำลองสภาพการณ์ของวิชาต่างๆ เป็นวิธีการเรียนรู้ที่นำให้นักเรียนได้รับประสบการณ์ตรงก่อนการลงมือปฏิบัติจริง มัลติมีเดียมีความเหมาะสมสำหรับองค์ประกอบการเรียนรู้เป็นอย่างยิ่งเพราะเป็นสื่อเพื่อการเรียนรู้โดยตอบรับประสาทสัมผัสได้มากกว่า การประยุกต์อิเล็กทรอนิกส์บุคมาใช้ทางการศึกษา เพื่อเป็นสื่อแทนหนังสือ หรือตำรา หรือใช้เพื่อเป็นสื่อเสริมการเรียนด้วยตนเอง ผู้เรียนนำแผ่นซีดีที่บรรจุข้อมูลหนังสือทั้งเล่มมาอ่านด้วยคอมพิวเตอร์ และเมื่อต้องการข้อมูลส่วนใดก็สามารถคัดลอกและอ้างอิงนำมาใช้ได้ทันที การเรียนการสอนทางไกลเป็นช่องทางหนึ่งที่ใช้เพื่อกระจายการศึกษา ระบบการศึกษาที่ได้ผลในปัจจุบัน และเข้าถึงมวลชนจำนวนมาก ต้องใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเข้าช่วย ระบบโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเป็นวิธีการหนึ่งที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอนทางไกลเพื่อกระจายโอกาสทางการศึกษา เมื่อระบบการศึกษาเน้นระบบการกระจายการศึกษา การเรียนการสอนในห้องเรียนปกติและมีครูเป็นผู้สอนจำกัดเวลาเรียนตายตัว และต้องเรียนในสถานที่ที่จัดไว้ให้ก็อาจเปลี่ยนแปลงไปเป็นการจัดการศึกษาโดยใช้เทคโนโลยีเข้าไปมีส่วนช่วยในการเรียนรู้ และเชื่อมโยงการสอนของครูที่เก่า หรือเชี่ยวชาญไปสู่ผู้เรียนในสถานที่ต่างๆ ได้ทั่วถึงและรวดเร็ว ระบบการเรียนการสอนทางไกลจึงเกิดขึ้น ซึ่งสนองความต้องการของสังคม ปัจจุบันซึ่งเป็นสังคมข่าวสารการสอนทางไกลเป็นการเปิดโอกาสและกระจายโอกาสทางการศึกษาไปสู่บุคคลกลุ่มต่างๆ อย่างทั่วถึงทำให้เกิดการศึกษาตลอดชีวิต ด้านการศึกษาวิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์ ทำให้ผู้เรียนและผู้สอนสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ผ่านทางจอภาพ โทรทัศน์และเสียง นักเรียนในห้องเรียนที่อยู่ห่างไกลสามารถเห็นภาพและเสียงของครู สามารถเห็นอากับกิริยาของ ผู้สอน เห็นการเคลื่อนไหวและสีหน้าของครูในขณะเรียน อินเตอร์เน็ตก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่ง ที่มีประโยชน์ต่อการศึกษามากในระบบเครือข่ายมีข้อมูลข่าวสารที่ต้องการมากมาย อินเตอร์เน็ตมีบทบาทต่อการศึกษามากมาย ใช้เป็นระบบสื่อสารส่วนบุคคลหรือเรียกย่อๆ ว่า อีเมล์ (E-mail) เป็นระบบที่ทำให้การสื่อสารระหว่างกันเกิดขึ้นได้ง่าย การเติบโตของเทคโนโลยีสารสนเทศมีลักษณะเป็นแบบก้าวหน้า มีการพัฒนาทุกๆ สามปี พัฒนาการทางความเร็วของคอมพิวเตอร์จะเพิ่มขึ้นได้ประมาณสองเท่า ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศจึงมี แนวโน้มที่จะก้าวไปได้อีกมาก ซึ่งย่อมต้องมีบทบาทที่สำคัญต่อการศึกษา การนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อมวลมนุษย์จึงเป็นเรื่องสำคัญ ต้องเลือกสรรให้เหมาะสมกับการใช้ประโยชน์ ต้องมีการศึกษา และวางแผนให้เหมาะสมเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ให้บรรลุเป้าหมายที่สำคัญ ยกระดับคุณภาพของการศึกษา ให้เอื้อต่อการเรียนหลายประเภทและไปสู่การพัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยทั้งหมด
คำสำคัญ (Tags): #เทคโนโลยี
หมายเลขบันทึก: 140857เขียนเมื่อ 22 ตุลาคม 2007 14:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 พฤษภาคม 2012 15:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท