ร่วม ลปรร. ประสบการณ์ ความหลากหลายทางวัฒนธรรม และ การปรับตัวเพื่อลดความขัดแย้ง


เรื่องนี้ ไม่ใช่หมายถึงการนินทาว่าร้ายนะครับ แต่เป็นการเรียนรู้เพื่ออยู่ร่วมและเข้าหากันเพื่อลดความขัดแ้ย้งทางใจ กาย วาจาและอื่นๆ

สวัสดีครับทุกท่าน

        สบายดีนะครับ หลายๆ ท่านคงเคยมีโอกาสเดินทางไปยังที่ต่างๆ นะครับ ไ่ม่ว่าจะต่างหมู่บ้าน ต่างชุมชน ต่างจังหวัด ต่างภาค ต่างประเทศ ต่างทวีป หรือต่างองค์กร ต่างรัฐบาล ต่างกลุ่ม ก็ตาม  ซึ่งแต่ละกลุ่มนั้นย่อมมีพื้นฐานหรือแก่นขององค์กรหรือกลุ่มที่ต่างๆ กัน ทั้งในรูปแบบการดำเนินชีวิต รูปแบบการใช้ชีวิต รูปแบบการกิน การแต่งกาย การพูดจา การศึกษา และอื่นๆ มามายนะครับ ล้วนเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม ในสิ่งที่แสดงออกถึงความเป็นเอกลักษณ์ทางสังคมของแต่ละกลุ่ม

        ทีนี้เมื่อสมาชิกจากกลุ่มต่างๆ ได้มีโอกาสไปพบกันและปฏิบัติต่อกันนั้น อาจจะมีพื้นฐานบางอย่างที่เหมือนกัน หรือต่างกันก็ได้ สิ่งที่น่าสนใจคือการปรับตัวเข้าหากันระหว่างสองความแตกต่างทางวัฒนธรรมนั้น จะมีการปรับตัวเข้าหากันได้อย่างไร เพื่อลดความต่างหรือว่าลดความขัดแย้งนั้นลงได้

        ผมจึงอยากจะชวนญาติมิตรทุกท่านร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์่ร่วมกันนะครับ เพื่อเอาไว้เป็นประสบการณ์ต่อผู้ื่อื่นในอนาคตได้ด้วย ไม่ว่าจะเป็นด้านใดๆ ก็ตาม หรือไ่ม่ว่าจะปรับตัวได้หรือปรับตัวไ่ม่ได้ก็ได้นะครับ

โดยท่านสามารถจะใส่รายละเอียดดังต่อไปนี้ คือ

  1. คู่ต่างของวัฒนธรรม ของท่าน และกลุ่มที่ท่านสังกัดเช่น  ไทย - เยอรมัน  หรือ ภาคใต้ - ภาคเหนือ

  2. เนื้อหาความต่างที่ท่านพบเจอ และรายละเอียด อื่นๆ เช่น เหตุที่เกิด

  3. แนวทางที่ท่านหรือคู่วัฒนธรรมของท่านได้ใช้ในการปรับตัวเข้าหากัน (ถ้ามี) และหรือ ผลของความขัดแย้งที่เกิดเพิ่มขึ้น (ถ้ามี)

  4. แนวทางออกเพิ่มเติม หรืออื่นๆ เพิ่มเติมได้ 

        ผมจะเล่าตัวอย่างที่ผมพบเจอก่อนนะครับ เอาง่ายๆ เรื่องวัฒนธรรมทางการกินก่อนเลยนะครับ การเล่าเรื่องนี้ ไม่ใช่หมายถึงการนินทาว่าร้ายนะครับ แต่เป็นการเรียนรู้เพื่ออยู่ร่วมและเข้าหากันเพื่อลดความขัดแ้ย้งทางใจ กาย วาจาและอื่นๆ

ตัวอย่างเช่น เรื่องอาหารการกิน

  1. ไทย - เยอรมัน

  2. การรับประทานอาหาร วัฒนธรรมการกิน

  3. เรื่อง การกินอาหารไทย จะกินอาหารไทยอย่างไร ตักอะไรก่อนหลัง ผมเคยมีโอกาสทำอาหารไทยให้เพื่อนเยอรมันและเพื่อนในละแวกยุโรปรับประทานหลายๆ ครั้ง แต่ละท่านก็ทานเผ็ดจืดได้แตกต่างกันครับ แต่สิ่งที่น่าสนใจคือ ระบบการตักอาหารจะต่างกัน เช่น

    1. คนไทยจะค่อยๆ ตักทีละช้อน มาใส่ในจานของตัวเองแล้วค่อยๆ กินไปเรื่อยๆ หมดแล้วก็ตักมาใส่ในจานเพิ่มเติม

    2. คนเยอรมันจะตักในสิ่งที่ต้องการมาใส่จานในครั้งเดียวแล้วก็กินจนหมดจานถึงจะตักใหม่

  4. ทางออกสิ่งที่ผมเจอ แบบน่ารักมากๆ คือ โปรเฟสเซอร์จะบอกว่า เม้งมาสอนพวกเราก่อนว่า จะตักและกินอย่างไร เพราะเป็นการเรียนรู้เพื่อจะได้กินและรับประทานได้เป็นตามวิถีของไทยด้วย ซึ่งอันนี้ ก็สามารถทำเป็นตัวอย่างให้ดูได้ครับ ว่าตักและกินอะไรอย่างไร ก่อนหลัง แน่นอนว่ามีความแตกต่างในความเป็นวัฒนธรรมของเพื่อนๆ แน่นอนครับ


    แต่หากเป็นแบบทั่วไปอาจจะมีงงๆ แน่ครับ ในการพบเห็นความต่างๆ กันนั้น ปัญหาไม่ได้อยู่เพยงแค่ความต่างของวัฒนธรรมก็ได้ แต่สิ่งที่น่าสนใจมากกว่านั้น คือ จะปรับตัวเข้าหากันได้อย่างไร ที่ในขณะที่คนไทยตักทีละช้อน และคนอีกทวีปหนึ่งตักทีละจาน โดยที่คนไทยไม่รู้ึสึกในทางลบ และเข้าใจในความเป็นแนวทางของเขา ในขณะเดียวกัน เป็นการปรับตัวเข้าหากันในทางสายกลางว่าจะทำอย่างไร เพื่อประสานความขัดแย้งนี้ได้

ในด้านอื่นๆ เช่น

  • การไปพบแพทย์ 

  • การไปใช้บริการห้องน้ำ

  • การไปบริจาคสิ่งของ

  • การเข้าไปช่วยเหลือคนที่ได้รับอุบัติเหตุ

  • การออกกำลังกาย

  • การแต่งตัว

  • การซื้อขาย

  • การทักทาย

  • การจราจร เดินทาง

  • การละเล่น เต้นรำ

  • และอื่นๆ

ร่วมกันมอง แลกเปลี่ยนเรียนรู้ (ลปรร.) ร่วมกันนะครับ น่าจะได้ประเด็นที่เกิดประโยชน์ร่วมกันนะครับ

ขอบพระคุณมากครับ

เม้งครับ 

หมายเลขบันทึก: 139632เขียนเมื่อ 18 ตุลาคม 2007 01:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 พฤษภาคม 2012 19:56 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีครับ  น้องเม้ง สบายดีนะครับ

  1. คู่ต่างของวัฒนธรรม ของท่าน และกลุ่มที่ท่านสังกัดเช่น  ไทย - เยอรมัน  หรือ ภาคใต้ - ภาคเหนือ

  2. เนื้อหาความต่างที่ท่านพบเจอ และรายละเอียด อื่นๆ เช่น เหตุที่เกิด

  3. แนวทางที่ท่านหรือคู่วัฒนธรรมของท่านได้ใช้ในการปรับตัวเข้าหากัน (ถ้ามี) และหรือ ผลของความขัดแย้งที่เกิดเพิ่มขึ้น (ถ้ามี)

  4. แนวทางออกเพิ่มเติม หรืออื่นๆ เพิ่มเติมได้ 

การอยู่ร่วมกัน ความสัมพันธ์เกิด  ความขัดแย้งเกิด 

เงื่อนไขภายในไม่สอดคล้อง  ปัญหาจะเกิด

การแก้ไข  อาจเริ่มที่ปรับแก้เงื่อนไขภายในให้สอดคล้องกัน  หรือ ปรับเงื่อนไขภายนอกให้สอดคล้องกัน    

เงื่อนไขภายใน   ปรับขบวนความรู้สึก  ปรับขบวนการรับรู้     เป็นต้น

เงื่อนไขภายนอก  ปรับบรรยากาศความสัมพันธ์  ปรับบรรยากาศการอยู่ร่วม      เป็นต้น

มาร่วมแสดงความคิดเห็นครับ  

ขอบคุณมากครับ ..............................................น้อรก

 

สวัสดีครับพี่เหลียง

  • มีลิงก์เกี่ยวกับวัฒนธรรม มาฝากครับ http://www.geocities.com/kat_natchaya/a2.html
  • มีเยอะหลายความหมาย หลากหลายดีครับ
  • การทำงานกับชุมชนจำเป็นต้องใช้วิธีการ หรือกระบวนการในการเรียนรู้ อย่างไรบ้างครับ ถึงจะเข้าถึงหัวใจชุมชนได้ครับ
  • ลองนึกๆ แล้วแลกเปลี่ยนร่วมกันนะครับ
  • ขอบคุณมากครับ

สวัสดีค่ะน้องเม้ง

หลังจากนั่งยิ้มชอบใจวิธีคิดแบบฐานข้อมูลของเม้งแล้ว  พี่แอมป์ก็นึกถึงเรื่องการสื่อสารข้ามวัฒนธรรมเลยอะค่ะ   เรื่องใหญ่นะคะเนี่ย....  

เรื่องการรับประทานอาหาร
อาจารย์ฝรั่งอเมริกันคนหนึ่งที่ตอนมาเมืองไทยใหม่ๆนะจ๊ะ    เธอดื่มน้ำกับขวด   พี่รินน้ำของพี่ใส่แก้วตามปกติ  และดื่มกับแก้ว  โดยไม่ได้พูดว่ากระไร
เธอก็สังเกตเรา  แล้วค่อยๆปรับตัวด้วยการดื่มจากแก้วในครั้งต่อๆไป

เรื่องการเดินทาง
ครั้งต่อมา  เธอจะติดรถพี่ออกไปในเมือง  ครั้นแล้วเธอก็เดินจ้ำพรวดๆไปเปิดประตูรถจะนั่งที่คนขับหน้าตาเฉย   ฝ่ายพี่ก็เดินอย่างสง่าผ่าเผยไปฝั่งคนนั่งเหมือนกัน  คือเป็นไปโดยอัตโนมัติทั้งคู่     พอนึกออกก็หัวเราะกันกลิ้ง   แล้วเดินกลับข้างกันใหม่  โดยไม่ได้พูดว่ากระไร  (คือหัวเราะกันจนเหนื่อยทั้งคู่อะค่ะ)

เรื่องการพักผ่อนนอนหลับ
อีกหนหนึ่ง ที่มีโอกาสไปเที่ยวเกาะด้วยกัน   และพักที่บ้านรับรองของอุทยานริมหาด   ตอนกลางคืนฝรั่งขอนอนเปิดประตูห้องโล่งโจ้ง  เธอว่าเธอร้อนชะมัด 
ไทยนี้รักสงบอย่างพี่ก็มิได้ขัดแย้งแต่ประการใด   ได้แต่ทำใจให้เป็นอุเบกขาสมาธิ  ถึงพร้อมด้วยสติปัญญา  : )

พอตกดึก  เธอหลับปุ๋ย  พี่ก็ย่องมางับเอ๊ยปิดประตูลงกลอนอย่างแน่นหนา   เธอตื่นขึ้นมาร้อนจนเหงื่อตก  แต่ยังรู้รักสามัคคี  ไม่ลุกมาเปิดประตูแต่ประการใด 

พออีกคืนนึง   พี่ปิดประตูเรียบร้อยแต่หัวค่ำ  แล้วหลับพักผ่อนอย่างมีความสุข   ตกดึกเธอก็ลุกไปเปิดประตูรับลมทะเลจนได้ โดยที่พี่มิได้สมรู้ร่วมคิดด้วย  
อย่างไรก็ตาม   รุ่งเช้าเราต่างไม่ว่ากล่าวกันว่ากระไร  ได้แต่มองหน้าแล้วยิ้มขำๆอย่างรู้ทันกัน 

ทั้งสามประการนี้  เป็นความแตกต่างที่ลงตัว  คือเราต่างยังไม่ค่อยเข้าใจวัฒนธรรมของอีกฝ่าย  แต่เราก็อยู่กันได้เพราะไม่คิดจะตำหนิกัน  เราอยากอยู่กันด้วยความเข้าใจ  จึงสังเกตและเรียนรู้ที่จะปรับตัวกันไป  (แบบทีใครทีมัน)อย่างนุ่มนวลอะค่ะ  อิอิ  : )

P
3. ดอกไม้ทะเล

สวัสดีครับพี่แอมป์

  • สบายดีนะครับพี่ ขอบคุณมากๆ เลยครับ
  • จริงๆ เรื่องนี้ มีอะไรฝังแน่นที่เป็นประโยชน์มากๆ ในการศึกษาความเป็นมนุษย์ที่ปรับตัวเข้าหากันเลยนะครับ ในเยอรมันเองก็มีการศึกษาในเรื่องนี้กันน่าสนใจครับ เพราะประเทศเยอรมันนั้นล้อมรอบไปด้วยประเทศต่างๆ มองๆ แล้วคล้ายๆ กับประเทศไทย เรามีพื้นบ้าน หลายๆ ประเทศเช่นกันครับ แม้ในประเทศเองก็มีความหลากหลายในเรื่องของภูมิภาคค่อนข้างชัดเจนครับ
  • เรื่องราวของพี่แอมป์น่ารักมากๆ เลยนะครับ เหมือนตอนที่โปรเฟสเซอร์ผมไปเมืองไทยหรือมีแขกจากเมืองไทยมาเยอรมัน นั่งรถผิดด้าน ก็จะมีการแซวกันเล็กๆ ครับ แบบน่ารักๆ นะครับ แต่เป็นมุกในการแซวตัวเอง เพราะไปนั่งปั๊บเจอพวงมาลัยเลยลุกออกมาเลยครับ
  • ผมจำได้ตอนปั่นจักรยานในช่วงแรกๆ ครับ เราปั่นชิดซ้าย เค้าก็ชิดซ้าย แต่สวนทางกันนะครับ แล้วมันจะชนกันดีไหมครับเนี่ย ท้ายทีุ่สุดจอดแล้วขอโทษเค้าพร้อมยิ้มให้กันครับ ฮ่าๆๆ
  • แล้วจะมาแลกเปลี่ยนกันอีกครับ มีเรื่องเล่ามากมายเลยครับผม
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท